7 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ไอเดียแก้ปัญหาเล็กๆ ที่ยุ่งยาก แต่พาเมืองไปต่อได้อย่างยิ่งใหญ่

พูดได้ว่า สตาร์ทอัพ ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทยแล้ว แต่ก็พูดได้อีกเช่นกันว่า ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่าสตาร์ทอัพคืออะไร ทำอะไร แล้วใครได้ประโยชน์บ้าง จากเอกสาร ‘Set Your Startup Business Guide รู้จักธุรกิจสตาร์ทอัพ’ ที่จัดทำโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้สรุปนิยามของธุรกิจสตาร์ทอัพว่า  “เป็นกิจการที่เริ่มต้นธุรกิจจากจุดเล็กๆ สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วแบบก้าว กระโดด ออกแบบให้ธุรกิจมีการทำซ้ำได้โดยง่าย (Repeatable) และขยายกิจการได้ง่าย (Scalable) มีการนำเทคโนโลยี และ/หรือ นวัตกรรมมาใช้เป็นหัวใจหลักในการสร้างธุรกิจ มักเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นจากไอเดียเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน หรือเห็นโอกาสทางธุรกิจที่ยังไม่มีใครเคยคิดหรือทำมาก่อน” พอหันกลับมามองสถานการณ์สตาร์ทอัพในไทย แม้ว่าเราอาจจะยังไม่สามารถพาตัวเองไปถึงระดับเอเชียหรือสากลได้ แต่แนวโน้มที่ผ่านมาก็พอพูดได้เต็มปากว่าสตาร์ทอัพไทยมีทิศทางที่ดี นั่นคือ นอกจากตัวธุรกิจจะได้รับการสนับสนุนจากทั้งเอกชนและรัฐบาลแล้ว ไอเดียต่างๆ ที่เหล่าชาวสตาร์ทอัพคิดค้นก็ช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันให้ผู้คนได้ตั้งแต่ระดับปัจเจกจนถึงระดับเมืองเลย เราจึงขอรวบรวม 7 สตาร์ทอัพไทยที่น่าจับตามอง และมีไอเดียเป็นประโยชน์กับคนเมือง ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากโครงการ Hack BKK จัดโดยกรุงเทพมหานคร ร่วมกับสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทยเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาด้วย iTAX เทคโนโลยีด้านภาษี iTAX คือเทคโนโลยีจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยปริญญาเอกด้านกฎหมายภาษีของ ผศ. ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ (ปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งนายกสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย) ด้วยความที่เชื่อว่าผู้เสียภาษีคือฮีโร่ตัวจริงของประเทศ เขาจึงหยิบเอาเทคโนโลยีชั้นสูงและดีไซน์ที่เรียบง่ายมาทำให้ภาษีกลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน […]

เปลี่ยนร้านซักรีด เป็นห้องตรวจคนไข้ สตาร์ทอัปแก้ปัญหาคนไม่มีเวลาว่าง ให้มนุษย์เงินเดือนเข้าถึงหมอง่ายขึ้น

สตาร์ทอัปเปลี่ยนร้านซักรีดให้กลายเป็นห้องตรวจสุขภาพ เพราะอยากให้บริการด้านสุขภาพเข้าถึงผู้คนได้ง่ายขึ้นในยุคที่พวกเขาแทบไม่มีเวลาเพียงพอ และสถานที่ที่ผู้คนมีเวลาว่างก็คือระหว่างการรอซักและอบผ้านั่นเอง  ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ร้านซักรีดในนอร์ท ฟิลาเดลเฟีย ขณะที่ผู้คนรอเสื้อผ้าให้แห้ง แทนที่จะใช้เวลาไปกับการไถฟีดโทรศัพท์ หรือนั่งจมปลักอย่างเหนื่อยหน่าย พวกเขาสามารถเลือกที่จะตรวจคัดกรองมะเร็ง ตรวจความดันโลหิต หรือเลือกสมัครประกันสุขภาพแทน ประชาชนที่ต้องดิ้นรนให้อยู่รอดแทบไม่มีเวลาสำหรับครอบครัว ไม่ต้องพูดถึงการถ่อไปโรงพยาบาล Allister Chang ผู้ร่วมก่อตั้ง Fabric Health บอกว่าปัญหาเรื่องสุขภาพอาจจะแก้ได้ด้วยการเข้าไปหาผู้คนที่มีงานล้นมือในที่ที่พวกเขาอยู่ภายใต้เวลาที่พวกเขามีอยู่ โดยเฉลี่ยผู้ที่ไปยังร้านซักรีดมักจะใช้เวลาราว 2 ชั่วโมง บนเก้าอี้พลาสติกขณะที่รอผ้าจำนวนมากกำลังผ่านกระบวนการซักและอบ และจากภารกิจที่รัดตัวในช่วงสุดสัปดาห์เวลาสำหรับการไปพบแพทย์ในวันหยุดจึงแทบเป็นไปไม่ได้ การตรวจแมมโมแกรมเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมากสำหรับผู้หญิงในวัย 40 – 65 ปี สำหรับวันธรรมดาการปลีกตัวไปพบแพทย์เป็นเรื่องยากมาก ตารางเวลาและงานของพวกเธอไม่อนุญาตให้ทำแบบนั้น และช่วงพักเที่ยงก็ไม่เพียงพอ รวมถึงการนัดหมายบางครั้งต้องทำล่วงหน้าถึง 6 เดือน ซึ่งบางครั้งคุณอาจจะเจอแจ็กพอตที่ต้องเข้ากะในวันหยุดสุดสัปดาห์ นั่นหมายความว่าอาจจะต้องรอถึงครึ่งปีกว่าจะได้ตรวจสุขภาพที่เป็นสิ่งสำคัญแทบจะมากที่สุดสำหรับตัวเอง  Fabric Health จึงร่วมมือกับโรงพยาบาลในพื้นที่นำเครื่องตรวจแมมโมแกรมเคลื่อนที่ไปที่ลานจอดรถในช่วงสุดสัปดาห์ ซึ่งช่วยได้มาก พวกเขายังทำงานร่วมกับบริษัทประกันสุขภาพเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า ในหลายกรณีบริษัทประกันไม่มีแม้แต่ข้อมูลในการติดต่อ Fabric Health จึงเดินหน้าเข้าไปยังร้านซักรีดในช่วงไพรม์ไทม์เพื่อเสนอความช่วยเหลือ ในเคสหนึ่งพวกเขาได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงที่เกษียณแล้วและไม่มีเงินสำหรับจ่ายค่ารักษาโรคเบาหวานของตนเอง ปัญหาของเธอคือแผนประกันสุขภาพมีความสับสน และเข้าถึงยากจนเกินไป การมีเจ้าหน้าที่มาช่วยเหลือถึงที่ ในช่วงเวลาที่เธอไม่ได้เร่งรีบไปไหน ก็ช่วยจัดเก็บข้อมูลและนำมาซึ่งแผนประกันสุขภาพที่สามารถเข้าถึงยารักษาโรคเบาหวานที่จับต้องได้  ปัจจุบัน Fabric Health […]

Startup Village เปลี่ยนที่ว่างในอัมสเตอร์ดัมเป็นหมู่บ้านสตาร์ทอัปจากคอนเทนเนอร์มือสอง

การจะสร้างคอมมูนิตี้ของสตาร์ทอัปให้เกิดขึ้นได้จริง นอกจากต้องการการสนับสนุนอย่างเอาจริงเอาจังจากรัฐแล้ว ยังจำเป็นต้องมีพื้นที่ที่เหมาะสมในการทำงานของเหล่าสตาร์ทอัปด้วย  โปรเจกต์ Startup Village หรือหมู่บ้านสตาร์ทอัปในอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นอีกโปรเจกต์หนึ่งที่น่าสนใจ เพราะเป็นโครงการเปลี่ยนพื้นที่ร้างให้กลายเป็นศูนย์รวมเทคโนโลยีชั้นนำของเมือง โดยที่ใช้งบประมาณการก่อสร้างอย่างจำกัด แต่ทำออกมาแล้วเวิร์กสุดๆ  Startup Village หรือหมู่บ้านสตาร์ทอัป เป็นส่วนหนึ่งของ Amsterdam Science Park ที่รวมผู้ประกอบการ สตาร์ทอัป งานวิจัย และนวัตกรรมเอาไว้ที่เดียว ทำให้ที่นี่เป็นพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะกับการสร้างสรรค์ ต่อยอด และพัฒนาเทคโนโลยีของเหล่าสตาร์ทอัปภายในประเทศ เพราะรวมคนเจ๋งๆ จากหลายด้านเอาไว้กว่า 55 บริษัท  เปลี่ยนที่ว่างเป็นหมู่บ้าน โปรเจกต์นี้เริ่มต้นเมื่อปี 2016 โดย Julius Taminiau สถาปนิกชาวเนเธอร์แลนด์ ผู้ริเริ่มโครงการหมู่บ้านสตาร์ทอัปได้รับโอกาสจาก UvA Ventures Holding และ Amsterdam Science Park ให้มาทำโปรเจกต์หมู่บ้านให้เกิดขึ้นจริง โดยการพลิกฟื้นพื้นที่ดินร้างและว่างเปล่าแห่งนี้ให้เป็นพื้นที่ใช้สอยที่มีประโยชน์สำหรับสตาร์ทอัปและคนที่สนใจเรื่องนวัตกรรมในเมืองอัมสเตอร์ดัม ก่อนจะย้ายกลับมาที่เนเธอร์แลนด์ Julius เคยทำงานในลอนดอนให้กับ Carl Turner Architects ในระหว่างการออกแบบและสร้าง Pop […]

สตาร์ทอัปไทย กับการก้าวไปให้ทันโลก | ความรู้รอดตัว EP.4 ‘Start-up Class’

สตาร์ทความคิดใหม่ๆ กับ ‘Start-up Class’ Start ความคิด Up ชีวิตสู่จุดสุดยอด ! คลาสที่จะชี้ให้เห็นโอกาสของสตาร์ทอัปไทยที่ยังไปได้อีกไกล หากช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น โดยมี ‘คุณโจ้-รังสรรค์ พรมประสิทธิ์’ ผู้ก่อตั้งแอปพลิเคชัน QueQ สตาร์ทอัปที่แก้ปัญหาการรอคิวได้อย่างตรงจุด และ ‘ผศ. ดร. กวิน อัศวานันท์’ อาจารย์ภาควิชาพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเผยเบื้องลึกสตาร์ทอัปว่าคืออะไรกันแน่ แล้วตอนนี้สตาร์ทอัปในบ้านเราไปได้ไกลแค่ไหน เพื่อมองทิศทางของสตาร์ทอัปไทยว่าควรก้าวต่อไปอย่างไรให้อยู่ยั้งยืนยง

ส่องซีรีส์เกาหลี ‘Start Up’ คัดแยกขยะอย่างไร ให้เป็นต้นแบบเมืองรีไซเคิล

ประเทศเกาหลีใต้นั้นขึ้นชื่อเรื่องการคัดแยกขยะสุดเฮี๊ยบ อย่างที่เราเห็นในซีรีส์เกาหลีเรื่อง Start Up ฉากที่ห้วหน้าทีมฮันทิ้งต้นไม้ของซอดัลมีลงถังขยะประเภทรีไซเคิล เรื่องเหมือนจะจบด้วยดี แต่สุดท้ายโดนเจ้าหน้าที่เรียกมาตักเตือน เพราะคัดแยกขยะไม่ถูกต้องและคืนต้นไม้ให้ไปจัดการทิ้งเสียใหม่ด้วย

กล่องอาหารใช้ซ้ำได้พันครั้ง ! ไอเดียสุดเจ๋งจากสตาร์ทอัพอาหารเดลิเวอรีในนิวยอร์ก

สนามการแข่งขันส่งอาหารแบบเดลิเวอรี ทั้งผู้ผลิต และเว็บไซต์ต่างๆ ช่วงชิงความเป็นที่หนึ่งเพื่อให้ลูกค้านั้นพึ่งพอใจมากที่สุด แน่นอนว่าการแข่งขันด้านราคาคืออันดับแรกที่ผู้ผลิตให้ความสำคัญ แต่ลึกลงไปกว่านั้น ยังมีผู้ผลิตที่ส่งอาหารแบบใส่ใจโลกอีกด้วย เราพามาทำความรู้จักกับ ‘DeliverZero’ สตาร์ทอัพจากนิวยอร์ก ที่เลือกใช้ภาชนะรีไซเคิล DeliverZero ส่งอาหารแบบไร้ขยะ สตาร์ทอัพ DeliverZero จากนิวยอร์กได้เริ่มขึ้นแล้ว เปิดบริการส่งอาหารให้กับลูกค้าซึ่งเป็น Food delivery ที่ไร้ขยะ เพราะภาชนะบรรจุอาหารของเขานั้น ลูกค้าสามารถส่งกลับคืน เพื่อใส่อาหารครั้งถัดไปได้ หรือจะเก็บไว้ใช้เองก็ได้เช่นกัน โดย DeliverZero คือไอเดียของ Adam Farbiarz, Lauren Sweeney และ Byron Sorrells สามผู้ประกอบการซึ่งมีแนวคิดตรงกัน คืออยากเชิญชวนลูกค้าให้มาสนใจเรื่องขยะ แต่ไม่บังคับให้เขาเปลี่ยนนิสัยของตัวเอง จึงให้ลูกค้าสามารถสั่งอาหารอยู่บ้านได้อย่างสบาย แต่แค่ปรับภาชนะให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ภาชนะใช้ได้มากกว่า 1,000 ครั้ง ความพิเศษของกล่องนอกจากมีหลากหลายไซซ์แล้ว เนื้อในของมันเองทำมาจากโพลีโพรพีลิน ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่มีความทนทานสูง ใส่อาหารร้อนได้ ปลอดภัยสำหรับใช้กับไมโครเวฟและเครื่องล้างจาน ลักษณะพิเศษที่สุดคือสามารถนำกลับมาใช้งานได้มากกว่า 1,000 ครั้ง โดยผ่านการรับรองจาก NSF International เป็นที่เรียบร้อย สิ่งที่บริษัททำอยู่นั้น สอดคล้องกับประกาศของเมืองนิวยอร์กเมื่อปี พ.ศ. […]

EAT

กิน ‘อากาศ’ ก็อยู่ได้ ! สตาร์ทอัพฟินแลนด์ทดลองเปลี่ยน ‘อากาศ’ ให้เป็น ‘อาหาร’

นักวิทยาศาสตร์ฟินแลนด์ได้สร้างนวัตกรรมที่จะทำให้มนุษย์ต้องตกตะลึงอีกครั้ง ! กับ ‘Solein (โซลีน)’ ส่วนผสมอาหารที่ทำจากน้ำ อากาศ และไฟฟ้า โดยพวกเขาเชื่อว่านวัตกรรมโซลีนจะปฏิวัติแนวทางการผลิตอาหารของมนุษย์ได้ เพราะหลายฝ่ายกังวลเรื่องก๊าซเรือนกระจกจากปศุสัตว์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการเกิดปรากฎการณ์ ‘Climate Change’ ที่ทำให้มนุษย์อย่างเราต้องร้อง Cry Cry Cry ผงโปรตีน นามว่า ‘Solein’ Solein มาจากคำว่า Solar + Protein คือแหล่งธรรมชาติใหม่ที่เหล่าสตาร์ทอัพกำลังเร่งพัฒนาอย่างไม่หยุดมือ ซึ่งคล้ายกับโปรตีนเสริมทั่วไป ลักษณะเป็นผง ไม่มีรสชาติ และสามารถผสมลงในขนมหรืออาหารได้ แต่บริษัท Solar Foods เจ้าของความคิดโซลีนระบุว่า “การผลิตโซลีนจะมีก๊าซเรือนกระจก แต่มีเพียงขี้ประติ๋วเท่านั้น” เปลี่ยนอากาศให้เป็นอาหาร วิธีการของมันคล้ายกับการหมักเบียร์ โดยใช้พลังงานหมุนเวียนน้ำ และไฟฟ้า เพื่อสร้างคาร์บอนไดออกไซด์และไฮโดรเจนขึ้นมา ก่อนเติมจุลินทรีย์ลงในถังหมัก จากนั้นมันจะกินไฮโดรเจน และเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นโปรตีนเซลล์เดียว ซึ่งผงที่ได้จะให้โปรตีน 65% โลว์คาร์โบไฮเดรต (Carb) 20 – 25% และไขมัน 5 – 10% […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.