FYI

เปลี่ยนห้องเป็นป่าด้วย ‘SCG Bi-ion’ ระบบไอออนที่ช่วยเพิ่มคุณภาพอากาศที่ดีภายในอาคาร

หนึ่งในปัญหากวนใจของคนเมืองหนีไม่พ้นเรื่องมลภาวะทางอากาศ ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 หรือหมอกควันจากการเผาป่าที่พัดมาเยือนทุกปี จนพาลให้มนุษย์กรุงเทพฯ (รวมถึงปริมณฑล) รู้สึกว่าอากาศที่เราสูดเข้าปอดนั้นไม่สะอาดเอาเสียเลย แถมยังส่งผลต่อการดำรงชีวิตชนิดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วย ครั้นจะมองหาอากาศดีๆ ก็ต้องหนีออกไปให้ไกลจากตัวเมือง เดินเข้าป่า ลุยภูเขา ออกไปทะเล ตามหาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ทำให้สูดลมหายใจได้อย่างสดชื่น แต่เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมตามธรรมชาติเหล่านี้ถึงทำให้เรารู้สึกเฟรช หายใจได้อย่างปลอดภัยไร้กังวล “ยิ่งปริมาณไอออนในอากาศสูง คุณภาพอากาศบริเวณนั้นยิ่งดี” – ไอออนคืออะไร แล้วบริเวณที่ว่านี้มักจะอยู่ตรงไหนกันนะ? ไอออน (Ion) คืออนุภาคอิสระที่มีทั้งประจุบวกและลบ ซึ่งตามปกติแล้ว ธรรมชาติจะสร้างไอออนขึ้นมาหมุนเวียนอยู่ในอากาศรอบตัวเราอย่างสมดุล โดยเฉพาะจากปรากฏการณ์ที่เกิดความเคลื่อนไหวในธรรมชาติอย่างฟ้าผ่าตอนฝนตก คลื่นที่เข้ามากระทบกับชายหาด น้ำไหลตามลำธาร หรือน้ำตกที่ลงมากระทบกับหินเบื้องล่าง ล้วนแต่ทำให้เกิดประจุไอออนในอากาศ ทว่าพื้นที่ที่เรียกได้ว่าเป็นบ่อเกิดของเหล่าประจุไอออนเลยคือ ‘ป่าไม้’ เพราะขณะที่ต้นไม้ผลิตออกซิเจน ก็มีสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาด้วย นั่นก็คือไอออนทั้งประจุลบและบวก ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการดังกล่าว ‘อาบป่า’ ให้ร่มไม้โอบกอดเพื่อบำบัดร่างกายที่เหนื่อยล้า ยิ่งในผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ ถือเป็นแหล่งที่มีประจุไอออนมากกว่าใครเพื่อน ทำให้เวลาที่เรามีโอกาสได้ทำกิจกรรมต่างๆ ภายในป่า จึงรู้สึกว่าสูดลมหายใจได้เต็มปอดกว่าที่อื่น จนกระทั่งพักหลังมานี้เกิดเทรนด์ ‘อาบป่า’ (Forest Bathing) หรือการบำบัดร่างกายด้วยธรรมชาติ ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจาก ‘Shinrin yoku’ ที่แปลตรงตัวว่าการอาบป่าในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าการเข้าไปให้ป่าไม้โอบกอดสามารถช่วยฟื้นฟูร่างกายและลดความเครียดได้จริง […]

กชกร วรอาคม กับปณิธานการออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อผู้คนในยุคนี้และยุคหน้า

“Can we fix the climate problem in one generation?” เป็นคำถามที่กชกร วรอาคม ถามกับตัวเอง เป็นคำถามที่ทำให้เธอที่เป็นมนุษย์ตัวเล็กๆ บนโลก เริ่ม ‘ลงมือทำ’ หลายสิ่งหลายอย่าง เป็นคำถามที่เธอพูดในคลิป ที่ท่านเซอร์ เดวิด แอทเทนเบอเรอห์ นักธรรมชาติวิทยาคนสำคัญ นำไปเปิดประกอบสปีชที่ COP26 หรือการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งกชกรได้เข้าร่วมเพื่อรับรางวัลด้านการออกแบบจาก UN เป็นคำถามที่เธอถามกับผู้คนที่มาร่วมงานประกาศเดินหน้าธุรกิจควบคู่กับการกู้วิกฤตโลกของ SCG หรือ SCG ESG Pathway เริ่มด้วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก ในครั้งนี้ และ My answer would be yes. We have to. เป็นประโยคที่เธอตอบคำถามของตัวเอง ‘กชกร วรอาคม’ หรือที่หลายคนเรียกว่า ‘อาจารย์กช’ ตามบทบาทภูมิสถาปนิก พ่วงด้วยอาจารย์พิเศษด้านภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นทีมงานออกแบบโปรเจกต์พื้นที่สาธารณะเด่นๆ หลายที่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ, สวนหลังคาอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ที่ธรรมศาสตร์ รังสิต, Siam Green Sky สวนเกษตรลอยฟ้า สยามสแควร์, สวนบำบัดลอยฟ้าที่โรงพยาบาลรามาธิบดี, ทางเดินคนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ที่ดัดแปลงจากโครงสร้างเดิมของโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน, สวนสาธารณะเลียบคลองช่องนนทรี และงานอื่นๆ อีกมากมาย สาวแพสชันสูงคนนี้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีระดับโลกต่างๆ เธอเป็นคนไทย 1 ใน 3 คน ที่ติดอยู่ในลิสต์ ‘TIME 100 […]

หนึ่งวันภารกิจเสียภาษีให้โลกกับ เม้ง-ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ และครอบครัว

เมื่อก่อนเคยคิดว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องไกลตัวเป็นภาพใหญ่ ทั้งเรื่องโลกร้อน ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ขยะใต้มหาสมุทร ฝุ่น PM 2.5 ปัญหาดังกล่าวล้วนใหญ่เกินกว่าที่เราจะคิดแก้ไข คงต้องเรียกหาฮีโร่อย่าง Captain Planet สักคนมาต่อสู้ถึงจะเอาชนะได้ แต่จริงๆ แล้วสิ่งแวดล้อมมันอยู่รอบตัวตั้งแต่ตื่นขึ้นมาสูดหายใจรับเอาอากาศเข้าสู่ร่างกาย อาบน้ำ กินข้าว ไปจนถึงตอนเรานอน การหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมอาจไม่จำเป็นต้องเริ่มจากการช่วยโลกทั้งใบ แต่อาจจะเริ่มจากโลกใบเล็กๆ ที่คุณแคร์ในชีวิตประจำวัน แต่บางคนก็ยังอาจไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้ควรต้องเริ่มต้นอย่างไร ในการรักษาบ้านหลังใหญ่ที่ชื่อว่าโลก เราจึงชวนไปพูดคุยกับ ‘เม้ง’ ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ นักคิดสร้างสรรค์ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม กับภารกิจการเสียภาษีคืนให้โลกด้วยการหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน ในฐานะคนธรรมดา และในฐานะพ่อ ที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมเพราะอยากให้โลกของลูกดีขึ้นในอนาคต  สอง สาม ก้าวของ ‘เม้ง’ คนธรรมดาที่หันมาสนใจสิ่งแวดล้อม คนมักจะรู้จักเม้งในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ชูใจ กะ กัลยาณมิตร’ เอเจนซีที่มีเป้าหมายในการทำงานเพื่อสังคม แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าในอีกมุมหนึ่งเขาคือตัวจริงด้านสิ่งแวดล้อม ที่ชักชวนตัวเองและคนรอบข้างให้เห็นถึงความสำคัญกับธรรมชาติให้มากขึ้น เราจึงเริ่มต้นบทสนทนาด้วยคำถามที่ว่าเม้งเริ่มสนใจสิ่งแวดล้อมได้ยังไง  “คำถามนี้มีคนถามผมหลายครั้ง มันเป็นคำถามที่ตอบยากมากเลยนะ” เม้งหยุดคิดอยู่ครู่ใหญ่ และเล่าเรื่องราวช่วงเรียนมหาลัยให้เราฟังว่า ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมของเขาเกิดในช่วงมหาวิทยาลัย ซึ่งตอนนั้นเม้งเลือกเรียนภูมิสถาปัตยกรรม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติที่สุดคณะหนึ่ง เพราะต้องไปลงพื้นที่ ต้องเข้าป่า ดูต้นไม้ […]

CPAC เปิดตัวรถโม่พลังงานไฟฟ้าคันแรกของไทย ใช้ขนส่งคอนกรีตด้วยพลังงานสะอาด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้คันละ 26.5 ตัน/ปี

ปัจจุบันปัญหาฝุ่นควันโดยเฉพาะ PM 2.5 ที่เกิดจากการเผาในที่โล่ง การคมนาคมขนส่ง อุตสาหกรรม ฯลฯ นั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชากรทั่วโลก CPAC บริษัทผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้างในเครือ SCG มองเห็นปัญหานี้ จึงมุ่งมั่นยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมการก่อสร้างของประเทศ สู่ Green Construction ให้เติบโตควบคู่กับการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยการนำรถโม่พลังงานไฟฟ้า (EV Mixer Truck) มาใช้ในการขนส่งคอนกรีต เพื่อลดมลพิษ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เมื่อเทียบกับรถโม่ที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันดีเซลแล้ว รถโม่พลังงานไฟฟ้าลดปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 และ PM 10 ได้ถึง 45 กรัม ต่อการขนส่ง 1 เที่ยว ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) กลุ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้ถึงคันละ 26.5 ตัน/ปี หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น 2,800 ต้น/ปี ถือเป็นการนำแนวคิดการขนส่งสีเขียว (Green Fleet) มาใช้ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างในประเทศเป็นเจ้าแรกของไทย โดยวางแผนเริ่มใช้รถโม่พลังงานไฟฟ้าในการจัดส่งคอนกรีตครั้งแรกที่โครงการ One Bangkok ก่อนจะขยายไปใช้ตามหัวเมืองใหญ่ๆ […]

“เพราะเรามีโลกแค่ใบเดียว” รักษาทรัพยากรอย่างยั่งยืนและแก้วิกฤตประเทศ ด้วย ‘หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน’

หลายคนกำลังนับถอยหลังให้ปี 2020 จบลงโดยเร็ว จากสารพัดปัญหาที่โหมกระหน่ำอย่างไม่หยุดยั้ง นอกจากโควิด-19 ที่เป็นวิกฤตครั้งใหม่ ภัยธรรมชาติที่คุ้นเคยก็ดาหน้าเข้ามาเล่นงานอย่างต่อเนื่อง เราเจอกับภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี ขยะที่เพิ่มขึ้นจากการใช้ทรัพยากรมากขึ้นด้วยวิถีชีวิตแบบ New Normal และในเวลาไล่เลี่ยกัน ฝุ่น PM2.5 เจ้ากรรมก็ทำท่าจะกลับมาประจำการอีกต่างหาก แม้จะฟังดูหดหู่แต่อย่ารีบหมดหวัง เพราะเชื่อว่าทุกคนก็พร้อมจะร่วมใจกันแก้ปัญหา  เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้คนจากหลายภาคส่วนได้มาร่วมระดมความคิด และค้นหาแนวทางที่ดีที่สุดในการที่เราจะอยู่ร่วมกันบนโลกได้อย่างยั่งยืนในงาน SD Symposium 2020 “Circular Economy: Actions for Sustainable Future” ที่จัดขึ้นโดย เอสซีจี  ซึ่งทำให้เห็นถึงความสำคัญของ ‘เศรษฐกิจหมุนเวียน’ ที่จะเป็นทางออกให้กับปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อไปถึงสังคม และเศรษฐกิจ จึงอยากชวนทุกคนมาดูส่วนหนึ่งจากกว่า 200 โครงการ ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของพันธมิตร เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนไปด้วยกัน  ขยะเป็นศูนย์ทำได้ หากร่วมมือกัน ย้อนไปช่วงที่ชาวไทยล็อกดาวน์ เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ปริมาณขยะจากบริการส่งอาหารเพิ่มขึ้นถึง 15 เปอร์เซ็นต์ และมีมากถึง 6,300 ตัน/วัน […]

‘ใช้คุ้ม แยกเป็น ทิ้งถูก’ จิ๊กซอว์ชิ้นเเรกของอนาคตขยะไทย

ตามไปส่องเคล็ดไม่ลับของ SCG พวกเขามีวิธีการช่วยโลกลดขยะอย่างไร ? ไม่แน่ว่าเราอาจจะได้ทริคน่าสนใจ ติดไม้ติดมือกลับมาใช้ในบ้านเราได้อีกด้วย จะมีอะไรบ้างตามไปส่องกัน !

‘บ้านมดตะนอย’ ชุมชนเล็กๆ ที่ไม่ยอมให้ขยะทะเลมาทำลายบ้านพะยูน

ออกสำรวจปัญหาขยะทะเลไทย ทางออกของปัญหา ไปจนถึงการส่งต่อความรู้จากชุมชนสู่ชุมชนในแบบฉบับบ้านมดตะนอย

หญ้าทะเล ป่าโกงกาง วิถีธรรมชาติเพื่อบำบัดธรรมชาติของ “ชุมชนบ้านมดตะนอย”

รักทะเลเวลามีเธอด้วย ‘เธอ’ สำหรับเราในที่นี้ หมายถึง มนุษย์และธรรมชาติรอบผืนน้ำสีครามที่อยู่ร่วมกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย เหมือนที่ ‘ชุมชนบ้านมดตะนอย’ ชุมชนเล็กๆ ในอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ซึ่งอบอวลไปด้วยกลิ่นอายทะเล เกลียวคลื่น หาดทรายสะอาด และระบบนิเวศที่สมบูรณ์ เลือกใช้วิธี ‘ธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ’ เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน ให้ธรรมชาติ | บำบัดธรรมชาติ ความสวยงามของทะเลที่โอบล้อมชุมชนบ้านมดตะนอย คือสิ่งที่เราประทับใจทุกครั้งเมื่อได้มาเยือน รวมถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านที่เป็นกันเอง และอยู่อย่างเข้าใจธรรมชาติ ซึ่งถึงแม้ก่อนหน้านี้ชุมชนบ้านมดตะนอย จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน จนเกิดภัยแล้งที่รุนแรงและยาวนานกว่าปกติ แต่ปัญหานี้ก็ได้รับการเยียวยาด้วยวิธี ‘ธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ’ ผ่านความร่วมมือของเอสซีจี หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ชุมชน และเครือข่ายจิตอาสา จ.ตรัง ร่วมมือกันใช้ธรรมชาติรอบตัวอย่าง ‘หญ้าทะเล’ และ ‘ป่าโกงกาง’ มาบำบัดภัยแล้ง และภาวะโลกร้อน เอสซีจียังจัดโครงการ “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสารักษ์น้ำ” น้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ตลอดจนปลายน้ำ มาเป็นแนวทางดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องกว่า 10 ปี ช่วยให้ชุมชนแก้ปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วมได้เป็นอย่างดี พร้อมชวนจิตอาสามาร่วมสืบสาน […]

“บึงบางซื่อ” พื้นที่ตาบอดกลางเมือง สู่ชุมชนต้นแบบแห่งการพัฒนา

ในพื้นที่ 1.5 ล้านตารางกิโลเมตรของเมืองกรุงเรานั้น รู้ไหมว่ายังมีพื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่ที่ไม่มีทะเบียนราษฎร์ ซึ่งนั่นทำให้ระบบการบริหารของภาครัฐ เช่น การเข้าถึงของน้ำประปา หรือไฟฟ้า ไม่สามารถเข้าถึงชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย เช่น เรื่องสุขอนามัย ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิต บึงบางซื่อ บึงน้ำกลางกรุงขนาด 61 ไร่ ที่ล้อมรอบด้วย 5 ชุมชน จนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ประมาณ 250 หลังคาเรือน เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ไม่มีทะเบียนราษฏร์ และเป็นพื้นที่ตาบอดที่ไม่มีทางเข้าออก ในอดีตเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว บึงบางซื่อเป็นแหล่งดินดำ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตปูนซีเมนต์ของโรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ SCG ได้สร้างบ้านให้กับคนงานและครอบครัวเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยรอบบริเวณบึง แต่หลังจากเลิกใช้งาน บึงบางซื่อก็เริ่มมีคนต่างถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นชุมชนแออัดในที่สุด “ตอนที่บ้านยังไม่ขึ้น การเป็นอยู่มันก็อยู่ในสภาพบ้านโทรมๆ ย้อนหลังไปปี พ.ศ. 2535 ตอนนั้นทางผู้ใหญ่ยังไม่ได้ยื่นมือเข้ามาช่วย เราก็จัดตั้งคณะกรรมการ บุกเบิกกันมา การทำงานช่วงนั้นก็เหนื่อยกันมาก เพราะทั้งถูกด่า ถูกแช่ง ซ้ำเติมกันว่าบ้านจะขึ้นได้หรอ เพราะคำดูถูกคำนี้แหละ ทำให้เมื่อมีประชุมที่ชุมชนไหน เราก็ต้องไป กลับมาแล้ว เราก็มาทำที่บ้านเรา” […]

Passion For Better : เสน่ห์วิถีชาวประมงจังหวัดตรัง ที่เราอยากให้คุณไปสัมผัส

เสียงคลื่นกระทบฝั่ง หาดทราย สายลม ชวนให้นึกถึงบรรยากาศอันสวยงามของท้องทะเลไทย แต่คนเมืองอย่างเรากว่าจะหาโอกาสไปสัมผัสบรรยากาศทะเลแบบฟินๆก็ยากอยู่เหมือนกันเนอะ จนเรามีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมของทาง SCG กับโครงการ “รักษ์น้ำจากภูผา สู่มหานที” โดยโครงการนี้เป็นการดูแลตั้งแต่ต้น กลางถึงปลายน้ำกันเลยทีเดียว ซึ่งครั้งนี้เรามากันที่ปลายน้ำชุมชนบ้านมดตะนอย อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง และเมื่อนึกถึงทะเลก็ต้องคู่กับ ‘ชาวประมง’ ซึ่งอาชีพการทำประมงนั้นนับเป็นอาชีพหลักที่สำคัญของชุมชนริมทะเลโดยการไปทำกิจกรรมครั้งนี้ทำให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ และเห็นถึงความงดงามของวิถีชีวิตอันแฝงไปด้วยมนต์เสน่ห์ที่เราอยากให้คุณไปสัมผัส 01| วิถีชีวิตชาวประมง ก้าวแรก..เมื่อมาถึงที่ชุมชนบ้านมดตานอยแล้วต้องขอบอกเลยว่าสวยมากสวยเกินคำบรรยายรูปภาพคงจะบอกเล่าเรื่องราวได้ดีกว่าซึ่งที่นี่ยังเป็นชายหาดที่มีความอุดมสมบูรณ์มากๆ ถ้ามีโอกาสอยากให้ลองมาสัมผัสด้วยตัวคุณเองแล้วคุณจะหลงรักเสน่ห์ความเรียบง่าย และวิถีชีวิตของชาวบ้านแบบใกล้ชิดแบบหายใจรดต้นคอ สนิทกันเหมือนญาติคล้ายกับพี่น้องที่คลานตามกันออกมาเลยล่ะ ซึ่งวิถีชีวิตของคนที่นี่คือ ‘การทำประมงพื้นบ้าน’ โดยจะทำมาหากินออกหาสัตว์น้ำจำพวกกุ้ง หอย ปู ปลา แถบชายฝั่งทะเลเป็นการทำประมงแบบวันเดียว และต้องทำมาหากินตามฤดูกาล โดยใช้เครื่องมือประมงแบบง่ายๆที่ทำขึ้นเอง ดังนั้น ‘ทะเล’ จึงเปรียบเสมือนลมหายใจของชาวบ้านที่คอยหล่อเลี้ยงและผูกพันกับ ‘วิถีชีวิตชาวประมง’ ตั้งแต่เกิดจนเติบโตซึ่งดูเป็นชีวิตที่เรียบง่ายและพอเพียงแต่เปี่ยมไปด้วยความสุข จึงทำให้เรารู้ว่าพื้นที่ทำมาหากินแห่งนี้เป็นที่รักและหวงแหน เพราะอนาคตทั้งหมดได้ฝากไว้กับชายฝั่งซึ่งเป็นที่พึ่งแรกและที่พึ่งสุดท้ายของชาวประมง แต่วิถีชีวิตประจำวันคือการทำประมงเพียงอย่างเดียวนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาเมื่อช่วงเวลาที่เกิดมรสุมและการหาปลาที่เน้นปริมาณมากจนเกินไปจึงส่งผลกระทบอย่างหนักต่อชาวบ้าน ดังนั้นเพื่อให้ทะเลอันเป็นแหล่งวิถีชีวิตและบ้านของพวกเขายังคงความอุดมสมบูรณ์อยู่นั้นการทำประมงอย่างมีความรับผิดชอบและเป็นมิตรต่อท้องทะเลนี่เองคือทางออกของการปกป้องทรัพยากรทางทะเลของไทย 02 | รักษ์น้ำ จากภูผา สู่มหานที รู้หมือไร่? เอ้ย! รู้หรือไม่? ประเทศไทยมีทำเลที่ตั้งดีที่สุดแห่งหนึ่งเพราะมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมและมีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายพอเพียงแก่การดำรงชีวิตโดยเฉพาะทรัพยากรน้ำ เช่นกันถ้าไม่มีน้ำก็ไม่มีชาวประมงเหมือนฉันต้องคู่กับเธอ มีเพียงแต่เธอ แค่เธอเท่านั้นประมาณนี้เลยแหละ SCG […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.