‘Design & Politics’ งานดีไซน์เพื่อการเลือกตั้งจากไต้หวัน ที่ช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

การเลือกตั้งที่ไทยจบลงไปแล้วกับชัยชนะของฝั่งประชาธิปไตย แต่หนึ่งในสิ่งที่น่าสนใจแต่เราอาจมองข้ามไปคือ การสร้างสรรค์ดีไซน์หรือฮาวทูต่างๆ ที่จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงและเข้าใจการเลือกตั้งได้อย่างชัดเจนขึ้น เพราะก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้าใจในกติกาหรือรายละเอียดการเลือกตั้ง จนกลายเป็นผลเสียตามมา Urban Creature ขอพามาดูตัวอย่างงานออกแบบการเมืองของประเทศไต้หวัน ที่พยายามใช้งานดีไซน์ทำให้ประชาชนเข้าใจการเลือกตั้งได้ง่ายขึ้น จาก ‘Golden Pin Design Award’ งานรางวัลการออกแบบที่มีชื่อเสียงที่สุดในตลาดการออกแบบแห่งไต้หวัน จีน มาเก๊า และฮ่องกง ที่ต้องการเปิดโอกาสและสนับสนุนงานออกแบบหลากหลายประเภทจากประเทศต่างๆ ในเอเชีย ไต้หวันมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกๆ 4 ปี โดยจัดสลับกันระหว่างสองการเลือกตั้งนี้ในทุกๆ 2 ปี แน่นอนว่าต้องมีการโปรโมตเพื่อหาเสียงเหมือนกับการเลือกตั้งในบ้านเรา และแนวคิดที่ชาวไต้หวันเลือกนำมาใช้คือการออกแบบการหาเสียงที่จะช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน หนึ่งในงานออกแบบการหาเสียงที่น่าสนใจคือ การเปิดช่องทางให้ประชาชนทั่วไปได้ทำความเข้าใจนโยบายของผู้สมัครเลือกตั้งในด้านต่างๆ เช่น นโยบายในประเทศ นโยบายต่างประเทศ ความมั่นคงของชาติ และระบบเศรษฐกิจ ผ่านการออกแบบฟังก์ชัน ‘ห้องแชตประธานาธิบดี’ โดย ‘Block Studio’ เพื่อเป็นช่องทางให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายต่างๆ เริ่มต้นจากการเลือกผู้สมัครที่สนใจ และระบบจะนำเราเข้าสู่ห้องแชตที่อธิบายนโยบายต่างๆ ในรูปแบบของบทสนทนาที่ใช้กันทั่วไป จากนั้นระบบจะประมวลผลจากการสื่อสารและนโยบายที่ผู้ใช้งานได้เลือกระหว่างสนทนาว่า พรรคไหนคือพรรคที่มีนโยบายตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด ซึ่งวิธีดังกล่าวนอกจากจะทำให้ประชาชนเข้าใจและเลือกนโยบายที่ตอบโจทย์แล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้เลือกผู้สมัครที่มีวิสัยทัศน์ตรงกับตัวเอง โดยไม่ตัดสินจากตัวพรรคที่สังกัดอย่างที่เคยเป็นมา อีกหนึ่งการออกแบบคือ ‘คู่มือการเลือกตั้ง’ ซึ่งเป็นผลงานจาก ‘graphic room’ […]

Politic 0.4 – การเมืองไทยผ่านถุงกล้วยแขก

‘ถุงกล้วยแขก’ บรรจุภัณฑ์อาหารริมทางที่ผลิตจากหน้าหนังสือพิมพ์กับแป้งเปียก เราเชื่อว่านี่คือสิ่งที่ปรากฏให้เห็นอย่างคุ้นชินในสภาพสังคมยุคหลังสงครามเย็น ข้อความต่างๆ บนถุงกล้วยแขกล้วนบ่งบอกถึงเหตุการณ์ต่างๆ ของสภาพสังคม เศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งบริบททางการเมือง ในปีพุทธศักราช 2557 ได้เกิดการรัฐประหาร โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. โดยคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองครั้งนี้ประกอบด้วย กองทัพไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเราทุกคนไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เหตุการณ์ในครั้งนั้นส่งผลกระทบต่อสภาพสังคมในหลากหลายมิติ ผลงานชุด Politic 0.4 ใช้หน้าหนังสือพิมพ์หลากหลายฉบับที่มีข้อความข่าวสารต่างๆ ปรากฏอยู่ มาประกอบสร้างเป็นถุงกล้วยแขก ซึ่งเปรียบเสมือนวัตถุจากอดีตที่ถูกผลิตซ้ำทางประวัติศาสตร์ ในยุคที่มีสงคราม เศรษฐกิจดิ่งลงเหว ชีวิตล้มเหลว ผู้คนสิ้นหวัง ความปรารถนาในการมีชีวิตที่ดีขึ้นมลายหายไป ถุงกล้วยแขกนับเป็นวัตถุง่ายๆ ที่ช่วยให้ทุกคนรับรู้ความจริง ผลงานชุดนี้ผลิตขึ้นในปีพุทธศักราช 2561 บัดนี้เวลาล่วงเลยมานับสี่ปี ข้าพเจ้าไม่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงใดที่เป็นไปตามนโยบายแผนพัฒนาเศรษฐกิจ Thailand 4.0 ข้าพเจ้าจึงหวังเพียงแค่ว่า ขอให้ทุกอย่างดีขึ้น ขอให้คุณมีแสงสว่างในการดำรงชีวิตอย่างมั่งคั่ง และขอให้ไฟแห่งความฝันของทุกคนกลับมาอย่างมั่นคงและยั่งยืนเหมือนเดิม

จากนักอสังหาฯ ถึงผู้พัฒนาเมือง ‘ดร.ยุ้ย’ ผู้วางนโยบายแห่งทีมชัชชาติ

ทำงาน ทำงาน ทำงาน ก่อนหน้านี้ Urban Creature มีโอกาสได้พูดคุยกับบุรุษผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพีอย่าง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ถึงการก่อตั้งกลุ่ม Better Bangkok ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยชุมชนแก้ไขสารพัดสารพันปัญหา และนำองค์ความรู้ไปสนับสนุนการพัฒนาคนและพื้นที่อย่างยั่งยืน หลังจากปล่อยบทสัมภาษณ์และติดตามการทำงานกันมาพักใหญ่ วันนี้เรามีโอกาสได้คุยกับอีกหนึ่งขุนพลในทีมชัชชาติ อย่าง ดร.ยุ้ย-ผศ. ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ที่เพิ่งเปิดตัวในฐานะทีมนโยบายไปหมาดๆ หากใครมีโอกาสได้ติดตามการทำงานของเสนา จะพบว่าบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายนี้ก็มีส่วนช่วยขับเคลื่อนเมืองอยู่ไม่น้อย ทั้งโครงการบ้านที่ราคาจับต้องได้ง่าย บ้านที่ขายแล้วนำเงินไปบริจาคเพื่อโรงพยาบาล และอีกหลายโครงการ CSR ที่หยิบมาพูดทั้งหมดคงมีพื้นที่ไม่พอ ในฐานะสื่อที่สนใจเรื่องเมือง เราเตรียมชุดคำถามในมือ พกไปพร้อมความสงสัยในใจว่า CEO ของบริษัทอสังหาฯ ที่มองว่าการให้ไม่ใช่ทางออกของปัญหา และการแก้ไขอาจเป็นคำตอบที่ถูกต้องมากกว่า ในการพลิกบทบาทจากนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Developer มาทำนโยบายผ่านการเป็น Regulator  ว่าจะพัฒนาเมืองฟ้าอมรแห่งนี้ไปในทิศทางไหน สารพัดปัญหาของเมืองเทพสร้างจะแก้ยังไง สโลแกนของ Better Bangkok ที่บอกว่าจะทำให้กรุงเทพเป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน จะทำให้พวกเรามีชีวิตดีๆ ที่ลงตัวกว่าเดิมได้จริงหรือเปล่า ใครที่สงสัยไม่ต่างจากเราก็ขอเชิญมาอ่านพร้อมกันได้เลยครับ  เล่าเรื่องตัวเองให้ฟังหน่อยว่าปกติแล้วคุณติดตามเรื่องการเมือง หรือนโยบายเมืองอย่างไรบ้าง  […]

เข้าใจ 2 ทศวรรษวิกฤตการเมืองไทย กับ ‘โอลด์รอยัลลิสต์ดาย’

ชวนทำความเข้าใจวิกฤตการเมืองไทยตลอด 2 ทศวรรษตั้งแต่กรณีนิรโทษกรรม ขบวนการเสื้อเหลือง-แดง จนถึงอำนาจนำของกษัตริย์ที่เพิ่มขึ้นผ่านหนังสือ ‘โอลด์รอยัลลิสต์ดาย’

ภาคีSaveบางกลอย ชวนระดมอาหารช่วยคนบางกลอยที่ขาดสารอาหารอย่างหนัก

ชาวหมู่บ้านบางกลอยคือกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่มีบ้านอยู่ใน ‘ใจแผ่นดิน’ แถบจุดศูนย์กลางของป่าแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งแต่เดิมทุกคนอาศัยอยู่ที่นั่นมาเป็นเวลาร่วม 100 ปี ก่อนการเป็นอุทยานแห่งชาติ ด้วยวิถีการเกษตรที่มีความเกื้อกูลกันระหว่างคนและป่า แต่ในตอนนี้ชาวบางกลอยกลับถูกรัฐขับไล่ให้ออกจากบ้านที่เคยอยู่กันมาชั่วชีวิต ด้วยการให้เหตุผลว่าคนเหล่านี้บุกรุกพื้นที่ป่า จนต้องย้ายมาอยู่ที่บางกลอยล่าง และบ้านโป่งลึก สถานที่ที่ปลูกพืชไม่ได้ ทำเกษตรกรรมไม่ได้ ทำให้ชาวบางกลอยตัดสินใจเดินทางกลับบ้านที่เคยอยู่ ในขณะที่รัฐตอบโต้ด้วยวิธีการที่แข็งกร้าว และดำเนินคดีกับพี่น้องบางกลอยโดยไม่ใส่ใจมิติทางวัฒนธรรม ซึ่งแม้ช่วงต้นปี 2564 ชาวบางกลอยจะลุกขึ้นมาเรียกร้องความยุติธรรมให้ตัวเอง แต่จนปัจจุบันจะสิ้นปีแล้ว ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ และแน่นอน ทุกคนยังคงมีชีวิตที่ยากลำบาก เพราะไม่มีที่ดินทำกิน ไม่มีรายได้ ไม่มีอาหาร นำมาสู่การตกงาน และการเข้ามาดิ้นรนในเมืองแต่กลับได้เงินค่าตอบแทนน้อยมาก  ที่สำคัญคือภาวะการขาดสารอาหารของคนในชุมชน โดยเฉพาะแม่ลูกอ่อนที่ไม่มีน้ำนมให้ลูกกิน เด็กจึงมีภาวะผอมหัวโต ทำให้สถานการณ์ต่างๆ อยู่ในระดับวิกฤติ และเมื่อมีความป่วยไข้ทั้งจากภาวะขาดสารอาหารหลักร้อยคน และจากการเกิดโรคระบาดตามฤดูกาล แต่พวกเขากลับเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ยากมากอีกด้วย ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการที่ ภาคี Saveบางกลอย ชวนทุกคนให้มาช่วยระดมอาหารและปัจจัยที่จำเป็นต่อสถานการณ์วิกฤติในตอนนี้อย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น แม้ปัญหาเหล่านี้จะเป็นปัญหาลูกโซ่ที่รัฐไม่แก้ให้เหมาะสมสักทีก็ตาม  สิ่งที่ชาวหมู่บ้านบางกลอยจำเป็นต้องใช้อย่างมากก็คือ 1. ข้าวสาร 2. อาหารแห้ง จำพวกอาหารทะเลแห้ง ปลาแห้ง และหมูแห้ง เป็นต้น 3. นมผงสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก […]

14 ตุลาฯ 16 เมื่อ 48 ปีที่แล้ว ดอกไม้ความหวังเคยผลิบาน

14 ตุลาคม 2564 วันนี้เมื่อ 48 ปีที่แล้ว ดอกไม้แห่งความหวังและเสรีภาพของประชาชนไทยเคยผลิบาน ดอกไม้ที่ว่าคือบริบทแวดล้อมของสังคมเสรีประชาธิปไตยที่ออกดอกออกผลหลังจากการ Rising ของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516สาเหตุที่เมล็ดพันธุ์ผลิบานอย่างเต็มที่ เพราะระบอบการปกครองคณาธิปไตยของกลุ่มทหารที่ควบคุมประเทศกระตุ้นให้ประชาชนไทยที่ได้รับความเดือดร้อนต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ และขับไล่รัฐบาลที่ปกครองและบริหารประเทศอย่างไร้ทิศทาง ภายใต้การปกครองของนายกรัฐมนตรี จอมพล ถนอม กิตติขจร ซึ่งเต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชัน ทำให้เศรษฐกิจย่ำแย่ และค่าครองชีพพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ภายในระยะเวลายาวนานถึง 15 ปี ชนวนที่ทำให้เกิดการลุกฮือต่อต้านของผู้คนก็คือเหตุการณ์ล่าสัตว์ป่าที่ทุ่งใหญ่นเรศวร ของกลุ่มอภิสิทธิ์ชน คณะนายทหาร และตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ส่งผลให้เกิดการชุมนุมประท้วงโดยเหล่านิสิต นักศึกษา และประชาชน ซึ่งออกมารวมตัวกันกว่าห้าแสนคนบริเวณถนนราชดำเนิน เพื่อเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญเต็มใบ และผลักดันให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง จนเกิดเหตุการณ์ปะทะระหว่างตำรวจและมวลชน กระทั่งบาดเจ็บนองเลือด ซึ่งเท่าที่มีการบันทึกไว้ได้ ภายหลังมีผู้เสียชีวิตจำนวนถึง 77 คน และมีผู้บาดเจ็บถึง 857 คน นำไปสู่การที่ จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพล ประภาส จารุเสถียร และ พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร […]

กฎหมายนิรโทษกรรม : ชวน ‘เป๋า iLaw’ คุยเรื่องการลบล้างมลทินไม่ให้มัวหมอง

Welcome to Thailand ยินดีต้อนรับเข้าสู่ประเทศไทย ประเทศสุดมหัศจรรย์ ดินแดนแห่งการทำความผิด แต่ไม่ต้องรับผลกรรมใดใด มิหนำซ้ำยังถนัดกลับตาลปัตรจากเรื่องขาวให้เป็นดำ และกลับดำให้เป็นขาวได้อย่างมืออาชีพ เมื่อ ‘ระบบตุลาการ’ ของประเทศ กำลังเอื้อให้คนกลุ่มหนึ่งได้รับสิทธิพิเศษจากกฎหมาย ทำให้หลักผดุงยุติธรรมอันเท่าเทียมของคนในสังคมหล่นหาย กลายเป็นเครื่องมือเลือกปฏิบัติ ปราบปราม และกดขี่ เหล่าชนชั้นปกครองกระหยิ่มยิ้มย่องและลอยนวล ซ้ำยังถืออำนาจ ‘บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ’ อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยเฉพาะ ‘การนิรโทษกรรม’ กระบวนการล้างมลทินของรัฐเผด็จการในตอนนี้ ที่ทำต่อเนื่องมายาวนานกว่า 7 ปีแล้ว เห๊อะ…ถ้าจะให้ลิสต์วีรกรรมหมกเม็ดทางกฎหมายทั้งหมดน่ะเหรอ เสียเวลา คงต้องใช้หลายบรรทัดเหมือนกัน ในช่วงนี้ ‘นิรโทษกรรม’ เป็นประเด็นที่ถูกหยิบมาพูดถึงอีกครั้ง นั่นเพราะรัฐบาลประยุทธ์และพรรคพวกเป็น ‘บิดาแห่งการยกเว้น’ แบบไร้ที่ติ เมื่อเดือนสิงหาคม 64 หัวข้อนี้กลับมาอยู่บนหน้าข่าวและความสนใจของประชาชนจำนวนมาก เพราะคณะรัฐมนตรีจะเสนอแก้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ ด้วยการเพิ่มสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ต้องการตีเนียนละเว้นความผิดให้เจ้าหน้าที่ และนิรโทษกรรมคนตัดสินใจเรื่องการจัดการวัคซีน ซึ่งการเสนอกฎหมายเพื่อเว้นความผิดเป็นสิ่งที่ประยุทธ์และคณะทำอย่างสุดความสามารถมาตั้งแต่สมัยรัฐประหาร ปี 2557  ว่าไหม การใช้กฎหมายข่มขืนประชาชนของรัฐนี้ ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ แต่มันไม่ควรเป็นเรื่องปกติในสังคม ถ้า ‘ความยุติธรรม’ […]

ปลุกคน ผี ปีศาจ ผ่าน 5 พื้นที่ประวัติศาสตร์ 6 ตุลาฯ ในกรุงเทพฯ

5 สถานที่ซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวและเลือดเนื้ออันเกี่ยวเนื่องกับวันที่ 6 ตุลาฯ 19 แม้การจดจำความเจ็บปวดอาจขื่นขม แต่การคืนความเป็นธรรมให้ทุกคนเป็นเรื่องจำเป็น เพราะนี่คือเรื่องราวที่เกิดจริง

‘หยุดเลือกปฏิบัติทางเพศ’ ความหวัง LGBTQ+ เกาหลีที่ถูกกดทับหลายสิบปี

I 01 ชีวิต LGBTQ+ ในเกาหลีไม่ง่าย สิทธิการรับบริการขั้นพื้นฐานที่สะดวกสบายของประชาชนเกาหลีใต้ อาจเป็นเรื่องยากมากเพียงเพราะคุณเป็น LGBTQ+ Park Edhi หญิงข้ามเพศชาวเกาหลี ที่อาศัยในโซล เป็นผู้ประสานงานประจำ DDing Dong ศูนย์ช่วยเหลือเยาวชน LGBTQ แห่งเดียวในเกาหลี ยังต้องเจอกับปัญหามากมาย เพียงเพราะเอกสารราชการระบุว่าเธอเป็นผู้หญิงข้ามเพศ ตัวตนของเธอจึงถูกตั้งคำถามตลอดเวลา ดังนั้นเรื่องง่ายๆ อย่างการสมัครบัตรเครดิต ก็ต้องใช้เวลานานมาก เพราะต้องมีการเช็กเวชระเบียนเพื่อรับรองว่าเธอเทคฮอร์โมนเพศหญิงอยู่ ดังนั้นเลยพูดอย่างเต็มปากได้ว่าชุมชน LGBTQ ในเกาหลีใต้ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก สำหรับกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยกัน อัตราการยอมรับความหลากหลายทางเพศของเกาหลี ถือว่าอยู่ในอันดับต่ำมาก ซ้ำยังไม่มีการคุ้มครองด้านกฎหมายสำหรับ LGBTQ+ ด้วย ต้นปี 2564 นี้มีเคสคนข้ามเพศเลือกจบชีวิตในบ้านบนหน้าสื่อถึงสองคน คนแรกคือ Kim Ki-hong นักเคลื่อนไหวและนักการเมืองข้ามเพศ และคนถัดมาคือ Byun Hee-soo ที่ต้องออกจากกองทัพ เพื่อเข้ารับการผ่าตัดยืนยันเพศสภาพ I 02 โควิด-19 กำลังทำร้าย LGBTQ+ เกาหลี ไม่น่าเชื่อว่า COVID-19 จะสร้างผลกระทบร้ายแรงต่อชุมชน […]

พลอยวรินทร์ ชิวารักษ์ : “กลัวว่าวันที่มีประชาธิปไตยจริงๆ จะไม่มีเพนกวินอยู่ด้วย”

ไม่ว่า เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ จะเป็นแกนนำอันเป็นที่รักของมวลชนแค่ไหน จะเป็นเด็กก้าวร้าวรุนแรงในสายตาใคร จะเป็นพลเมืองจองหองของรัฐผู้แสนดี หรือจะเป็นผีร้ายหลอกหลอนชนชั้นปกครอง แต่สำหรับน้องสาวอย่าง พ้อย-พลอยวรินทร์ ชิวารักษ์ เพนกวินคือพี่ชายเพียงคนเดียว ที่เธอมี ถึงจะขี้แกล้ง ชอบยียวนกวนตีน แต่เขาโคตรจะห่วงน้องยิ่งกว่าใคร โลกภายนอกเพนกวินคือผู้กล้าที่ออกมาเคลื่อนไหวสั่นคลอนขั้วอำนาจทางการเมืองตั้งแต่เขาเรียนมัธยมฯ ถูกยุดยื้อออกจากห้องประชุมที่มีผู้นำทหารบ้าน้ำลายบนเวที  แต่เมื่อก่อนเรื่องการเมืองก็ยังดูจะเป็นเรื่องไกลสายตาพ้อยอยู่ดี  และแม้เพนกวินจะเป็นแค่นักศึกษา แต่เมื่อลงสนามรับบทแกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เพื่อเรียกร้องให้ประเทศเน่าเฟะนี้ได้มีประชาธิปไตยจริงๆ สักที เขาก็ต้องแลกอุดมการณ์กับการถูกคุกคาม ไม่ใช่แค่คุกคามเพนกวิน แต่อันตรายยังทอดเงาสีดำไปยังครอบครัวชิวารักษ์ ถูกตีตราเป็นครัวเรือนคนชังชาติ และเป็นไอ้พวกตัวน่ารำคาญของผู้กดขี่  จากไกล การเมืองกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวพ้อยขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีอีกแล้วครอบครัวชนชั้นกลางที่เคยใช้ชีวิตสามัญ เพราะวันนี้พวกเขาสะกดคำว่าสงบ ร่วมกับพวกเผด็จการคลั่งอำนาจไม่ได้อีกต่อไป นี่จึงเป็นแรงขับสำคัญให้เด็กสาวที่ไม่เคยออกมาเคลื่อนไหว และไม่ไยดีการเมือง ตัดสินใจออกตามหาความยุติธรรม ด้วยการลุกมาต่อสู้ และทวงคืนความสุขที่แท้จริงให้สังคม เรารู้ว่าพ้อยไม่ได้คาดหวังให้คุณเห็นด้วยกับตัวเธอหรอก แต่ถ้ามองเพนกวินเป็นคนในครอบครัวตัวเอง คุณจะเลือกแสยะยิ้มอย่างสะใจ หรือเสียใจที่วัยรุ่นคนหนึ่งกำลังถูกทำร้าย เพียงเพราะเขาแค่อยากเห็นอนาคตที่ดีของทุกคน ไม่ว่าใครจะคิดยังไงก็ช่าง แต่พ้อยตัดสินใจหนักแน่นแล้วว่าจะออกมายืนเคียงข้างพี่ชาย ผู้ฝันจะได้เห็นประชาธิปไตยเต็มใบ แม้ต้องแลกกับความมอดไหม้ของตัวเองก็ตาม ลำปาง พีทกับพ้อยเป็นสองพี่น้องสายประชาธิปไตย “ตั้งแต่เกิดกวินชื่อพีท แต่นางบอกว่าอุ๊ย นกเพนกวินน่ารักจังเลย ขอเปลี่ยนชื่อเป็นเพนกวินดีกว่า (หัวเราะ) แล้วตอนเด็กๆ เราจะชอบเอาสีมาเขียนกำแพง […]

เบนจา อะปัญ : ทิ้งชีวิตวัยรุ่นสู่นักเคลื่อนไหวในรัฐบัดซบ

ถ้าประเทศไทยมีประชาธิปไตยอย่างที่เขาไม่หลอกลวง เบนจา อะปัญ สมาชิกแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม วัย 22 คงได้ใช้ชีวิตโง่ๆ แบบที่วัยรุ่นหลายคนชอบพูดกันจนเกร่อ ทว่านี่คือโลกขั้วตรงข้ามอันแสนโหดร้าย ชีวิตจริงเบนจาไม่มีวันไหนได้หยุดพัก งานนักเคลื่อนไหวทำให้โลกของวัยรุ่นคนหนึ่งพังทลาย จำต้องสลัดฝันสามัญธรรมดาทิ้งหมดสิ้น ยิ่งไปกว่านั้น เธอยังถูกดำเนินคดีโดยรัฐ อาทิ คดีมาตรา 112 มาตรา 116 คดี พ.ร.บ.ชุมนุม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และคดีละเมิดอำนาจศาล บวกกับคดียิบย่อยอื่นๆ รวมจำนวนสิบห้าคดีเป็นรางวัลตอบแทน เราเจอเบนจาครั้งแรกเมื่อหนึ่งปีก่อน ตอนนั้นเธอยืนกดดันให้รัฐปล่อยตัว รุ้ง ปนัสยา และเพนกวิน พริษฐ์ สหายจากแนวร่วมฯ ที่ถูกจองจำ บริเวณหน้าประตูเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ดวงตาอันโกรธแค้นปนเศร้าของเด็กสาวมองทะลุลอดแว่น  หลังเหตุการณ์นั้นเบนจาถูกสถานการณ์ทางการเมืองโบยตี ดังสารเร่งโตอย่างมุทะลุ เพียงผ่านมาไม่กี่เดือนเธอออกไปยืนถือป้ายประท้วงที่ห้างสรรพสินค้าใหญ่ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยขับไล่ไสส่งและตบฉาดเข้าที่ใบหน้า คลิปวิดีโอบันทึกเหตุการณ์นั้นไวรัลในโลกทวิตเตอร์เพียงชั่วพริบตาเดียว จากนั้นพลังของความอัดอั้นตันใจยิ่งผลักดันให้เธอออกมาเดินบนถนน กระโจนขึ้นเวทีปราศรัย ลุกขึ้นมาหยัดยืนท้าทายอำนาจคร่ำครึของรัฐคลั่งประเพณี และโปรยเอกสารบทกวี ‘มหาตุลาการ’ ประท้วงอยุติธรรมดำมืดด้วยการเปล่งตะโกนหน้าศาลอาญาดังก้องซ้ำๆ ว่า “ตุลาการเช่นนี้อย่ามีเลย! ตุลาการเช่นนี้อย่ามีเลย! ตุลาการเช่นนี้อย่ามีเลย!” ภายใต้ฟ้าอันดำมืด คืนที่คุยกับเบนจา ฝนเพิ่งหยุดตกไม่นานนัก ก่อนเริ่มบทสนทนา เรามองลอดหน้าต่างออกไปด้านนอก […]

‘ประชาธิปไทป์’ ฟอนต์สะท้อนการเมืองไทย

ในวันที่ตัวอักษรกำลังช่วยกู่ร้องเพื่อ #ประชาธิปไตย ชวนลงลึกเรื่อง ‘ตัวอักษรสะท้อนการเมือง’ อย่างถึงแก่นกับ ประชาธิปไทป์ (Prachathipatype) เพจของนักออกแบบฟอนต์ผู้เชี่ยวชาญด้านตัวอักษร และกราฟิตี้มือฉมังเทคนิคลายฉลุ Headache Stencil ซึ่งร่วมมือกันทำงานเพื่อสร้าง ‘เซ็ทตัวอักษร’ ให้เป็นชุดเครื่องมือศิลปะแห่งประชาธิปไตยที่ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของได้

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.