‘Toy Storey Residence’ กำแพงบ้านในอินเดียที่ทำขึ้นจากของเล่นพลาสติก ช่วยกำจัดขยะและสร้างความยั่งยืนให้ชุมชน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า พลาสติกกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ไปแล้ว และหลายคนอาจนึกไม่ถึงว่าพลาสติกในรูปแบบของเล่นนั้นมีมากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก หลายบ้านต้องประสบปัญหากับการมีของเล่นล้นบ้านและไม่รู้จะกำจัดอย่างไร เพราะบางชิ้นก็ไม่เหมาะแก่การนำไปรีไซเคิล สุดท้ายแล้วของเล่นเหล่านั้นก็จบลงด้วยการเผา ฝังกลบ หรือกลายเป็นขยะลอยอยู่ในทะเล เมืองวาดาการา รัฐเกรละตอนเหนือของประเทศอินเดีย ก็เป็นหนึ่งในเมืองที่ชื่อว่ามีการบริโภคของเล่นมากที่สุดแห่งหนึ่ง สถาปนิกจาก Wallmakers จึงหาวิธีการจัดการขยะพลาสติกจากของเล่นกว่า 6,200 ชิ้นด้วยการนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบการเป็นส่วนหนึ่งของกำแพงในโครงการ ‘Toy Storey Residence’ โครงการ Toy Storey Residence ออกแบบมาในลักษณะ ‘บ้านภายในบ้าน’ ที่เพื่อนบ้านและสมาชิกในชุมชนสามารถมาใช้พื้นที่อยู่อาศัยได้ ในขณะที่พื้นที่ส่วนตัวนั้นก็จะถูกกั้นด้วยฉากโชจิโปร่งแสงแบบญี่ปุ่น ให้ความรู้สึกเปิดกว้างแต่ยังรักษาความเป็นส่วนตัว และเมื่อลงไปยังชั้นใต้ดินก็จะพบกับห้องสมุดและห้องนอนที่เงียบสงบ ส่วนพื้นที่บริเวณส่วนกลางนั้นมีกำแพงที่ทำจากกระเบื้อง Mangalore แบบดั้งเดิม และของเล่นที่ถูกทิ้งขว้างมาเป็นส่วนประกอบช่วยให้พื้นที่ของบ้านมีชีวิตชีวามากขึ้นด้วยของเล่นเหล่านี้ โดยของเล่นแต่ละชิ้นจะทำหน้าที่ค้ำช่องกำแพง เพื่อให้มีแสงลอดเข้าสู่ภายในและมีการระบายอากาศตามธรรมชาติ ทำให้โครงการนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นการนำเอาของเล่นที่ไร้ค่ากลับมาใช้งานใหม่ แต่ยังช่วยสร้างความยั่งยืนผ่านโครงสร้างบ้านอีกด้วย นอกจากนี้ เด็กๆ ในชุมชนยังกลับมาเยี่ยมเยียนอดีตของเล่นชิ้นโปรดของพวกเขาที่ไม่ได้ทำหน้าที่ของเล่นอีกต่อไป แต่กลายเป็นโครงสร้างบ้านที่ทำประโยชน์ต่อคนจำนวนมากได้อีกด้วย Sources :Designboom | tinyurl.com/ycky6at4Wallmakers | tinyurl.com/yne7vt6n

โปรเจกต์ ‘Guilty Flavours’ ไอศกรีมจากพลาสติกรีไซเคิล ทางเลือกการกำจัดขยะในอนาคต

ดูเหมือนว่าขยะพลาสติกจะเป็นปัญหาที่ยังหาทางแก้ไม่ได้อย่างสมบูรณ์ แม้ว่าจะมีกระบวนการรีไซเคิลที่ช่วยลดขยะพลาสติกได้ แต่งานรีไซเคิลในปัจจุบันก็มักเข้าสู่กระบวนการออกแบบขึ้นมาใหม่พร้อมกับเรซินหรือวัสดุอื่นๆ ที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้อีกครั้ง จากปัญหานี้ทำให้ ‘Eleonora Ortolani’ นักศึกษาปริญญาโทจาก Central Saint Martins ได้แรงบันดาลใจในการทำโปรเจกต์ปีสุดท้ายของเธอ เนื่องจากมองว่าการรีไซเคิลอาจไม่ได้เป็นวิธีการแก้ปัญหาพลาสติกที่แท้จริง เธอจึงตั้งข้อสงสัยว่า มีวิธีไหนที่ทำให้คนกำจัดพลาสติกได้อย่างสมบูรณ์ด้วยการ ‘กิน’ ได้บ้าง หลังจากคิดค้นมานาน ในที่สุดก็เกิดเป็นโปรเจกต์ ‘Guilty Flavours’ ซึ่งเธอได้ ‘Hamid Ghoddusi’ หัวหน้าหลักสูตรวิทยาศาสตร์การอาหารแห่งมหาวิทยาลัย London Metropolitan และ ‘Joanna Sadler’ นักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Edinburgh ที่ใช้แบคทีเรียดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อสังเคราะห์ ‘วานิลลิน’ จากพลาสติกมาร่วมงานด้วยกัน วานิลลินคือสารให้กลิ่นสังเคราะห์คล้ายกลิ่นวานิลลาที่เป็นทางเลือกที่ราคาถูกกว่าวานิลลาธรรมชาติ และมักผลิตจากน้ำมันดิบที่มีต้นกำเนิดจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเช่นเดียวกับพลาสติก ทำให้นักวิทยาศาสตร์เลือกโมเลกุลของสารชนิดนี้มาใช้ในการทดลอง ในการทดลองนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ออกแบบเอนไซม์ที่สามารถสลายพันธะที่แข็งแกร่งระหว่างโมเลกุลในโครงสร้างของพลาสติก เพื่อให้เอนไซม์อีกตัวสังเคราะห์โมเลกุลที่ไม่เชื่อมโยงเหล่านี้ให้เป็นวานิลลิน Ortolani อธิบายเพิ่มเติมว่า เมื่อเอนไซม์ตัวแรกทำลายโครงสร้างลง มันจะไม่เป็นพลาสติกอีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีใครที่ได้ลองชิมสารชนิดนี้ เพราะถือเป็นสารสังเคราะห์ที่เกิดขึ้นใหม่ และนักวิทยาศาสตร์จะไม่อนุญาตให้ชิมจนกว่าจะมั่นใจว่ามีความปลอดภัยต่อร่างกายจริงๆ ตอนนี้ Guilty Flavours เป็นไอศกรีมที่แช่อยู่ในตู้เย็น และแสดงอยู่ในนิทรรศการ CSM […]

‘HO Micro’ เครื่องทำความสะอาดชายหาดจาก Hoola One ที่แยกไมโครพลาสติกออกจากทราย

ช่วงเดือนนี้มีวันหยุดยาวหลายวัน บางครอบครัวอาจจะเลือกไปพักผ่อนรับลมเย็นๆ กันที่ชายทะเล แต่ปัญหาที่มักจะเจอคือชายหาดส่วนใหญ่มีขยะพลาสติกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นขวดน้ำ ภาชนะใส่อาหาร ช้อนส้อม ถุงขนมต่างๆ กระจายอยู่บนผืนทรายรบกวนสายตาอยู่เป็นประจำ ซึ่งพลาสติกที่ทิ้งอยู่บนชายหาดไม่ได้ทำลายทัศนียภาพของทะเลเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดการสะสมของ ‘ไมโครพลาสติก’ ที่นอกจากจะเป็นพิษและไม่สามารถย่อยสลายได้เองแล้ว ยังกำจัดได้ยากอีกด้วย เพราะมีขนาดที่เล็กและฝังตัวอยู่ทั่วผืนทราย ทำให้หลายคนมองไม่เห็นความสกปรกและอันตรายของขยะประเภทนี้ การกำจัดไมโครพลาสติกบนชายหาดอาจทำได้ยาก แต่บริษัท ‘Hoola One’ ที่ริเริ่มโดยนักศึกษาปริญญาโทมองเห็นปัญหาที่เกิดจากไมโครพลาสติกบนหาด ‘Kamilo’ ในฮาวาย จึงตัดสินใจออกแบบและผลิตเครื่องจักรที่สามารถทำความสะอาดชายหาดเพื่อลดปัญหามลพิษบนชายหาดและมหาสมุทร เครื่องทำความสะอาดชายหาดนี้มีชื่อว่า ‘HO Micro’ ที่ออกแบบมาเพื่อกู้คืนอนุภาคพลาสติกที่มีขนาดเล็กถึง 10 ไมครอน โดยทำงานได้บนหลายสภาพพื้นผิว ทั้งทรายละเอียด ทรายหยาบ ทรายเปียก หิน หรือแม้แต่บนกองเปลือกหอยก็ได้เหมือนกัน การทำงานของเครื่องทำความสะอาดนี้จะใช้หลักการลอยตัว โดยจะดูดวัสดุทั้งหมดเข้าไปในภาชนะที่เต็มไปด้วยน้ำ ซึ่งไมโครพลาสติกจะลอยตัวขึ้นมาเหนือน้ำ ส่วนเม็ดทรายที่ดูดติดมาด้วยนั้นจะจมลง ทำให้เครื่อง HO Micro นี้สามารถแยกพลาสติกออกและคืนเม็ดทรายกลับสู่ชายหาดได้อีกครั้ง HO Micro เครื่องแรกผลิตออกมาในปี 2020 โดยนำไปทดสอบการใช้งานบนชายหาด Kamilo เป็นระยะเวลาสองสัปดาห์ และสามารถเก็บไมโครพลาสติกมาได้กว่า 104 กิโลกรัมเลยทีเดียว Sources […]

ใส่ใจสิ่งแวดล้อมกับ PlasticFree แพลตฟอร์มรวบรวมข้อมูลวัสดุ สำหรับการออกแบบเพื่อความยั่งยืน

นับวันกระแสความใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมยิ่งได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลายคนเริ่มตระหนักถึงผลกระทบต่อการใช้พลาสติกและวัสดุที่ย่อยสลายได้ยาก ทำให้เหล่านักออกแบบหันมาศึกษาข้อมูลว่ามีวัสดุประเภทใดบ้างที่สามารถนำมาใช้ทดแทนพลาสติกได้ แพลตฟอร์ม PlasticFree สร้างขึ้นโดยองค์กร A Plastic Planet (APP) และพัฒนาโดยนักออกแบบ ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุ นักวิทยาศาสตร์ และผู้นำทางธุรกิจกว่า 40 คน ในการให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวัสดุบรรจุภัณฑ์ เพื่อลดการใช้พลาสติกที่อันตรายและทำลายสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีเป้าหมายในการเป็นแหล่งข้อมูลให้นักสร้างสรรค์และนักออกแบบทั่วโลกได้ใช้ประโยชน์ในการออกแบบชิ้นงานหรือโปรดักต์ เนื่องจากคนทำงานส่วนนี้ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการสร้างอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ให้เป็นอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง หน้าที่หลักของแพลตฟอร์มนี้คือการให้ความรู้ คำแนะนำ และเคล็ดลับที่เหมาะสมในการผสมผสานวัสดุที่ยั่งยืนสำหรับการผลิตบรรจุภัณฑ์แก่นักออกแบบ โดยประกอบด้วยกรณีศึกษากว่า 100 กรณีทั่วโลกที่ให้รายละเอียดและประโยชน์ของวัสดุแต่ละชนิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นไม้ไผ่ ตะไคร่น้ำ สาหร่าย หรือแม้แต่อะลูมิเนียมก็ตาม ทั้งยังมีการนำเสนอข่าวสารและโปรเจกต์ออกแบบต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จในด้านความยั่งยืนด้วย นักออกแบบคนไหนที่กำลังมองหาแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติและมีความยั่งยืน เพื่อนำมาปรับใช้ในการออกแบบของตัวเอง สมัครสมาชิกแพลตฟอร์มในราคา 250 ปอนด์หรือประมาณ 10,000 บาทต่อปีได้ที่ plasticfree.com  Sources : DesignTAXI | bit.ly/3XvsVgo  DieLine | bit.ly/3CSQGqU

เครื่องอัดขยะขนาดครัวเรือน ช่วยเปลี่ยนขยะพลาสติกแบบบาง ให้เป็นก้อนอิฐที่ง่ายต่อการรีไซเคิล

ปกติแล้วผู้คนมักเก็บ ‘ถุงพลาสติก’ ที่ได้จากการซื้อของไว้เพื่อการใช้งานในครั้งต่อๆ ไป ถึงแม้ว่าถุงประเภทนี้จะนำกลับมาใช้งานใหม่ได้จริง แต่ความแข็งแรงอาจจะไม่คงทน ยิ่งถ้าเก็บไว้นานๆ ก็อาจจะแห้งกรอบจนใช้งานไม่ได้อีกเลย ก่อนจะเปลี่ยนสภาพเป็นขยะที่ต้องใช้เวลานานหลายร้อยปีกว่าจะย่อยสลายได้ เพื่อแก้ปัญหาขยะพลาสติกล้นบ้าน สตาร์ทอัปสัญชาติอเมริกันอย่าง Clear Drop จึงได้ออกแบบ ‘เครื่องอัดพลาสติกแบบอ่อน (Soft Plastic Compactor : SPC)’ ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานจัดการพลาสติกในครัวเรือนได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย ถ้าดูผ่านๆ เจ้าเครื่องอัดพลาสติกนี้มีขนาดและหน้าตาคล้ายกับถังขยะในครัวเรือนทั่วไป เหมาะที่จะตั้งไว้ใช้งานตามมุมต่างๆ ของบ้าน ส่วนการทำงานของ SPC ก็ง่ายมากๆ แค่นำพลาสติกประเภทอ่อน เช่น ถุงพลาสติกหรือฟิล์มบรรจุภัณฑ์ ใส่เข้าไป ตัวเครื่องจะอัดขยะเหล่านั้นจนกลายเป็นลูกบาศก์แข็ง จากนั้นจะได้ก้อนอิฐที่สามารถนำไปใช้งานต่อ หรือจะทิ้งในขยะรีไซเคิลเพื่อส่งไปยังโรงงานคัดแยกขยะต่อไปก็ได้ มากไปกว่านั้น เครื่องอัดพลาสติกประเภทนี้ยังปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม เพราะมันปล่อยควันในระดับที่กฎอนามัยและความปลอดภัยกำหนดไว้ เครื่อง SPC จะเปิดให้สั่งซื้อล่วงหน้าในเดือนมกราคม 2566 ทาง bit.ly/3VXTpXM หากใครที่กำลังมองหาวิธีเปลี่ยนขยะพลาสติกในบ้านให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง ก็อาจลองสั่งเจ้าเครื่องนี้มาใช้ดูได้นะ ดูวิธีใช้งานเครื่องอัดขยะพลาสติกได้ที่ shorturl.at/fQX34 Source : DesignTAXI | bit.ly/3uOuFFj 

‘Song From Plastic’ ขยะพลาสติกที่ทำหน้าที่แทนแผ่นเสียง ผลงานที่ตระหนักถึงการทิ้งขยะไว้เบื้องหลัง

หลายคนอาจเคยเห็น ‘แผ่นเสียง’ ที่ทำจากขยะหรือพลาสติกชีวภาพกันมาบ้างแล้ว เพื่อเป็นทางออกให้กับปัญหามลภาวะที่เกิดจากอุตสาหกรรมดนตรี และสื่อสารประเด็นเรื่องความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม แต่ผลงานแผ่นเสียงของศิลปินดูโอจากเกาหลีอย่าง Ujoo + Limheeyoung นั้นแตกต่างออกไป เพราะพวกเขาไม่ได้นำขยะพลาสติกมาแปรสภาพให้เป็นของชิ้นใหม่ แต่เลือกที่จะนำขยะเหล่านั้นมาใช้แทนแผ่นเสียงไปเลย  ศิลปินบรรเลงเพลงผ่านสิ่งของแต่ละชิ้น ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกา กล่องเทปคาสเซต หรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือที่ใช้งานไม่ได้แล้วก็ตาม โดยสร้างร่องบนพื้นผิวของวัตถุเพื่อให้เกิดเป็นเสียงเพลงหรือเสียงต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เมื่อนำไปติดตั้งเซนเซอร์แล้ว อุปกรณ์เหล่านี้ก็จะเริ่มบรรเลงดนตรีเมื่อมีคนเข้าใกล้ภายในรัศมี 1.5 เมตร แผ่นเสียงรูปทรงแปลกตาทั้งหมดนี้กลายเป็นผลงานชื่อว่า ‘Song From Plastic’ ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ Amorepacific กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อไม่นานมานี้ ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานชุดนี้กล่าวว่า พวกเขาได้แรงบันดาลใจมาจากสารคดีเรื่อง Anthropocene ที่พูดถึงเสียงของสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้วดังออกมาจากฟอสซิลพลาสติกที่ค้นพบโดยสิ่งมีชีวิตจากอนาคตหลายหมื่นปี จึงเกิดเป็นผลงาน Song From Plastic สร้างจากอุปกรณ์ที่สามารถบันทึกและเล่นเสียงจากขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งแล้ว  แม้ว่า Song From Plastic จะเป็นเพียงการบันทึกเสียงธรรมดาๆ ที่หาฟังได้ทั่วไป แต่ตัวผลงานได้แสดงให้เห็นเอกลักษณ์ของความเป็นมนุษย์ผ่านเสียงที่ออกมาจากขยะพลาสติก และอยากให้ผู้คนได้ตระหนักและตั้งคำถามว่า หากจะทิ้งร่องรอยของความเป็นมนุษย์สำหรับการค้นพบในอีกหลายหมื่นปีข้างหน้า สิ่งที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังควรจะเป็นของอย่างอื่นมากกว่าขยะพลาสติกหรือไม่ Sources : Designboom | bit.ly/3FZmPzD  […]

Plastic SAKE Brewery โปรเจกต์สุดล้ำ หมักเหล้าสาเกจากขยะพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

ใครจะไปคิดว่าวันหนึ่งโลกของเราจะมาอยู่ในจุดที่สามารถหมัก ‘สาเก’ จากเศษขยะพลาสติกพอลิเมอร์กันได้แล้ว ความคิดสุดครีเอทีฟนี้เกิดขึ้นจากโปรเจกต์ ‘Plastic SAKE Brewery’ ของ Fumiaki Goto นักออกแบบชาวญี่ปุ่น ที่นำเสนอประเพณีการบูชาธรรมชาติและวัฒนธรรมการบริโภคของญี่ปุ่นผ่าน ‘ไวน์ข้าวสาเก’ ที่มีส่วนผสมหลักคือ ‘ขยะพลาสติกพอลิเมอร์’ ซึ่งเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ โดยปกติแล้ว สาเกต้นตำรับแท้จากประเทศญี่ปุ่น จะผลิตโดยใช้พันธุ์ข้าวอย่างดีหมักกับเชื้อราชนิดพิเศษจนทำให้เกิดเป็นแอลกอฮอล์รสชาติดี ทำให้สาเกกลายเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมสาเกซบเซาลงทุกปี เนื่องจากความนิยมที่ลดลง รวมไปถึงทางเลือกในตลาดเครื่องดื่มที่มีมากขึ้น ดังนั้น Goto จึงตั้งใจทำโปรเจกต์ ‘Plastic SAKE Brewery’ นี้ เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูอุตสาหกรรมการผลิตสาเก โดยหวังว่าสุราประจำชาติของญี่ปุ่นจะกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง แถมยังได้ช่วยโลกของเราขจัดขยะพลาสติกไปพร้อมกันด้วย กระบวนการผลิตสาเกจากพลาสติกพอลิเมอร์แทบจะไม่ต่างจากการผลิตสาเกแบบดั้งเดิม ที่มีส่วนผสมหลักเป็นข้าวญี่ปุ่นและเชื้อราที่ใช้ในการหมัก แต่สิ่งที่ Goto เพิ่มเข้าไป ก็คือบรรดาพลาสติกพอลิเมอร์ชนิดใหม่ที่สามารถสลายตัวได้ด้วยจุลินทรีย์ชนิดเดียวกันกับที่ใช้ทำเหล้าสาเกทั่วไป ดังนั้น การทำสาเกหนึ่งครั้ง นอกจากที่เราจะได้แอลกอฮอล์รสชาติดีมาดื่มกันแล้ว เรายังสามารถย่อยสลายเศษขยะพลาสติกพอลิเมอร์ไปพร้อมๆ กันได้ด้วย ถือเป็นมิติใหม่สำหรับการแก้ปัญหาขยะพลาสติกที่หลายคนอาจไม่เคยนึกถึง ด้าน Goto หวังว่าโปรเจกต์นี้จะเป็นหนึ่งในตัวช่วยในการลดขยะพลาสติกและกลายเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในอนาคตได้ เพราะการกลั่นสาเกจากขยะไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์พิเศษ และสามารถทำในโรงสาเกขนาดเล็กรอบๆ ตัวเราได้ทันที Source :Designboom | […]

Chitofoam พลาสติกชีวภาพจากหนอนนก ทางเลือกใหม่ของการผลิตบรรจุภัณฑ์ ไม่มีมลพิษ ย่อยสลายในธรรมชาติได้

ปัจจุบันทั่วโลกเพาะเลี้ยง ‘หนอนนก’ กันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นอาหารที่มีโปรตีนและไขมันสูง เกษตรกรจึงนิยมนำมาใช้เป็นอาหารแก่สัตว์น้ำและสัตว์ปีกเช่นนกและไก่ ส่วนในประเทศไทยก็นิยมเอาหนอนชนิดนี้ทำเมนูทานเล่นที่เห็นได้ทั่วไปอย่าง ‘รถด่วนทอด’ นอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงแล้ว โครงกระดูกภายนอกของเจ้าหนอนนกยังเปลี่ยนเป็น ‘แพ็กเกจจิ้งทางเลือก’ ที่มีน้ำหนักเบา ทนน้ำ และย่อยสลายตามธรรมชาติได้ด้วย ‘Chitofoam’ คือบรรจุภัณฑ์ผลิตจากระบบหมุนเวียนที่เปลี่ยนโครงกระดูกภายนอก (Exoskeletons) ของหนอนนก (Mealworms) ให้เป็นวัสดุสำหรับทดแทน ‘พอลิสไตรีน’ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า ‘โฟม’ พลาสติกที่ทั่วโลกนิยมใช้ทำแพ็กเกจจิ้งอาหารอย่างแพร่หลาย เช่น ถ้วย จาน และแก้ว ซึ่งขยะเหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และต้องใช้เวลานับร้อยๆ ปีจนกว่าจะเสื่อมสภาพตามชีววิทยา ก่อนจะกลายเป็นขยะธรรมดา ผู้พัฒนาวงจรหมุนเวียนรักษ์โลกนี้ก็คือ Charlotte Böhning นักออกแบบเชิงอุตสาหกรรมชาวอเมริกัน ร่วมกับ Mary Lempres ศิลปินจากสตูดิโอออกแบบ Doppelgänger ในอเมริกา พวกเขาเลือกใช้โครงกระดูกภายนอกของหนอนนก (หนอนของแมลงปีกแข็ง) ทำแพ็กเกจจิ้งทดแทน เพราะพวกมันกินพลาสติกเป็นอาหารอยู่แล้ว โดยในหนึ่งวัน หนอนนก 100 ตัว สามารถกินพลาสติกได้ถึง 40 มิลลิกรัม หรือปริมาณเทียบเท่ากับยาหนึ่งเม็ด โดยขั้นตอนของการผลิต Chitofoam เบื้องต้นมีดังต่อไปนี้ […]

ล้ำไปอีกขั้น! นักวิจัยจีนค้นพบวิธีผลิตพลาสติกจาก ‘อสุจิแซลมอน’ ย่อยสลายได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทุกวันนี้ทั่วโลกคิดค้นวิธีต่างๆ เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติก ทั้งการรณรงค์ลดใช้พลาสติก รวมไปถึงการทำวัสดุทดแทนที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติจากพืชชนิดต่างๆ อย่าง ข้าวโพด ข้าวสาลี มันฝรั่ง มันเทศ และมันสำปะหลัง  ไอเดียล่าสุดที่น่าสนใจก็คือการผลิตพลาสติกจาก ‘อสุจิปลาแซลมอน’ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนจากมหาวิทยาลัยเทียนจิน ขั้นตอนในการผลิตก็คือ การแยกสายดีเอ็นเอสองสายออกจากอสุจิปลาแซลมอน หลังจากนั้นก็นำสายดีเอ็นเอไปผสมกับสารเคมีที่สกัดจากน้ำมันพืช เมื่อโมเลกุลจับตัวกันก็จะได้ ‘ไฮโดรเจลสังเคราะห์’ สารประกอบเนื้อเจลที่สามารถกักเก็บและรักษาปริมาณน้ำได้ 99% เมื่อมีเจลแล้วก็นำไปเทใส่พิมพ์รูปทรงต่างๆ อย่างเช่น แก้วมัค จิ๊กซอว์ โมเดลดีเอ็นเอ และของชิ้นเล็กๆ ก่อนจะนำพิมพ์ไปทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze Dry) เพื่อให้รูปทรงต่างๆ เซตตัวอย่างสมบูรณ์ ท้ายที่สุดก็จะได้วัสดุที่ทีมนักวิทยาศาสตร์เรียกว่า ‘พลาสติกที่ทำจากดีเอ็นเอ’ (DNA-based Plastic) แม้ว่าการผลิตพลาสติกจากอสุจิแซลมอนยังคงต้องใช้ความร้อนและพลังงาน แต่ Dayong Yang หัวหน้าทีมวิจัย เปิดเผยว่า พลาสติกชนิดนี้เป็นวัสดุที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในบรรดาพลาสติกที่รู้จัก เนื่องจากการผลิตปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 5% เมื่อเทียบกับการผลิตพลาสติกทั่วๆ ไป อีกข้อดีของพลาสติกชนิดนี้คือรีไซเคิลง่าย เพียงแค่ใช้เอนไซม์พิเศษสำหรับย่อยสลายดีเอ็นเอ หรือจะนำไปจุ่มน้ำเพื่อเปลี่ยนพลาสติกกลับไปเป็นเจลก็ได้ เพราะพลาสติกชนิดนี้จะนิ่มและยืดหยุ่นเมื่อโดนน้ำ  ในขณะเดียวกัน คุณสมบัติการย่อยสลายง่ายทำให้พลาสติกดีเอ็นเอยังไม่เหมาะที่จะเป็นภาชนะสำหรับบรรจุของเหลวหรือน้ำ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กำลังเร่งหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการกันน้ำให้แก่วัสดุประเภทนี้อยู่ ทั้งนี้ […]

บริจาคพลาสติกให้ Qualy Design รีไซเคิลเป็นของแต่งบ้าน

ยิ่งอยู่บ้าน Work from Home กันนานๆ พลาสติกเริ่มจะล้นบ้านไม่มีที่ทิ้ง ไม่ว่าจะกล่องพลาสติกจากอาหาร ขวดน้ำ หรือ​​ขยะพลาสติกอื่นๆ ที่มาจากการบริโภคของเรา ขยะเหล่านี้มักจะถูกนำกลับมารีไซเคิลน้อยมาก ส่งให้ซาเล้งขายต่อก็ไม่ค่อยมีใครอยากจะรับ สุดท้ายจึงลงเอยที่เตาเผาหรือหลุมฝังกลบ ทั้งที่จริงๆ แล้วพลาสติกเหล่านี้ควรมีชีวิตใหม่ที่ดีกว่านี้  จะทิ้งก็เสียดาย จะขายก็ยาก Qualy Design แบรนด์ไทยที่ผลิตสินค้ารีไซเคิลจากขยะพลาสติกเป็นของน่าใช้ ดีไซน์เก๋ และส่งออกกว่า 60 ประเทศทั่วโลก จึงขอรับบริจาคพลาสติกเหลือใช้ที่ทำความสะอาดแล้วจากทุกบ้าน เพื่อนำมารีไซเคิลผลิตเป็นสินค้าใหม่ที่ผ่านการออกแบบมาอย่างดีในโครงการ Qualy Circular (QC) และให้ส่วนลดในการซื้อสินค้าเป็นการตอบแทน รับรองว่าพลาสติกจากบ้านคุณจะแปลงโฉมเป็นของใช้ หรือของแต่งบ้านชิ้นใหม่ที่น่าใช้มากกว่าเดิม พลาสติกที่นำมาบริจาคทุกๆ 1 กก. สามารถใช้เป็นส่วนลด 20 บาท ต่อผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น เฉพาะการซื้อสินค้าที่ Qualy Design Space ประเภทพลาสติกที่รับ ได้แก่ PETE / HDPE / LDPE / PP / […]

City in Bloom – ปลอมในจริง

เมื่อปลูกต้นไม้จริง ไฉนเลยผลและดอกที่ออกกลับกลายเป็น ‘สิ่งไร้ชีวิต’ ที่มองแล้วดูคุ้นตา จนเกิดเป็นภาพความลงตัวที่ไม่ลงตัวแบบไทยๆ ราวกับว่าธรรมชาติเบ่งบานออกดอกออกผลเป็นสิ่งนั้นจริงๆ ทำให้ต้องเหลียวมอง พร้อมตั้งคำถามถึงความแปลก และประโยชน์ใช้สอยทุกครั้งที่เดินผ่าน “บานเป็นขวดสีใส” “บานเป็นขวดหลากสี” “บานเป็นเปลือกไข่” “บานเป็นซีดี” “บานเป็นดอกไม้พลาสติก” “บานเป็นขวดคละสี” “บานเป็นดอกกระดาษ” “บานเป็นถุงพลาสติก” (แอบมีพวงมาลัย)

LARQ กระบอกน้ำใบแรกของโลกที่ทำความสะอาดตัวเองและน้ำให้ปลอดภัยดื่มได้ใน 60 วินาที

ซาร่า (นามสมมติ) คุณเคยประสบปัญหานี้หรือไม่ อยากลดพลาสติกใจจะขาด แต่เจออากาศร้อนๆ ทีไร ก็ต้องแวะเข้าไปซื้อน้ำมาดื่มให้เย็นชุ่มชื่นหัวใจทุกที  ใช่ค่ะ จอร์จ​ (นามสมมติ) ครั้นจะพกกระบอกน้ำติดตัวแต่บางทีก็มีกลิ่นเหม็นอับเหมือนไม่ได้ล้างมาหลายวัน ดื่มแต่ละทีแทบจะเบือนหน้าหนี มันทำให้ชีวิตของฉันลำบากมากๆ เลยล่ะ  อย่าพึ่งตกใจไปซาร่า เพราะถ้าคุณใช้กระบอกน้ำของ LARQ ที่มีเทคโนโลยี UV-C LED ปัญหาทุกอย่างจะหมดไป ชีวิตของคุณจะดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น เพราะมีแสงยูวีคอยฆ่าเชื้อโรคให้โดยไม่ต้องเสียเวลาล้างกระบอกน้ำ แถมยังทำให้น้ำประปา หรือน้ำจากแหล่งน้ำในธรรมชาติ สะอาดจนดื่มได้ภายใน 60 วินาที  โอ้วว มันเยี่ยมไปเลยค่ะจอร์จ แล้วถ้าฉันอยากได้บ้างต้องทำอย่างไร  ไม่ต้องด่วนตัดสินใจหรอกซาร่า และก็ไม่ต้องรีบต่อสายไปที่ไหน ลองอ่านบทความข้างล่างนี่ก่อน แล้วค่อยตัดสินใจก็ไม่เสียหายยย  (เหตุการณ์ข้างต้นก็เป็นเรื่องสมมติ แต่เหตุการณ์ข้างล่างเป็นเรื่องจริง) กระบอกน้ำทำความสะอาดตัวเองใบแรกของโลก ในเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ LARQ มีคำอธิบายตัวตนของพวกเขาแบบง่ายๆ ด้วยถ้อยคำไม่กี่ประโยคว่า “LARQ ถือกำเนิดขึ้นจากวิสัยทัศน์ที่เรียบง่าย ด้วยการนำเทคโนโลยีล้ำสมัยมาผสมผสานกับการออกแบบที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจ เพื่อช่วยให้ผู้คนเข้าถึงน้ำดื่มบริสุทธิ์ได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน”  อย่างที่ทราบกันตั้งแต่ประถมวัยครับว่า ‘น้ำ’ คือต้นกำเนิดของชีวิต และเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตอยู่ทั้งในเชิงอุปโภคและบริโภค เพียงแต่ว่าในหลายสิบปีให้หลังมานี้ บรรจุภัณฑ์ที่บรรจุน้ำดื่มกลายเป็นขยะพลาสติกจำนวนมหาศาลที่เริ่มกระทบกระเทือนและเป็นอันตรายต่อชีวิตของพวกเรามากขึ้นเรื่อยๆ Justin Wang ในฐานะ […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.