รวมข้อมูลเส้นทางและกำหนดการเบี่ยงการจราจรเพื่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม กระทบเส้นทางและผู้อาศัยหลายย่านในกรุงเทพฯ

อย่างที่ทราบกันว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มคือรถไฟฟ้าช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ที่มีทั้งหมด 12 สถานี เริ่มต้นจากสถานีบางขุนนนท์ เป็นอุโมงค์วิ่งตามแนวทางรถไฟเดิมไปยังโรงพยาบาลศิริราช บริเวณสถานีศิริราช ผ่านพื้นที่ย่านราชดำเนิน อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ยมราช เพชรบุรี ประตูน้ำ ดินแดง ก่อนเชื่อมต่อไปยังสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ที่ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินได้ เพื่อเตรียมเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีส้มในปี 2573 ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ร่วมกับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) จึงปิดเบี่ยงจราจร ชิดทางเท้า 1 ช่องจราจร ตลอด 24 ชั่วโมง ในบริเวณถนนรอบ 5 สถานี คือ สถานีบางขุนนนท์ สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สถานียมราช และสถานีประตูน้ำ ยกเว้นสถานีศิริราช เพื่อรื้อย้ายสาธารณูปโภค โดยประชาชนยังสามารถเดินทางได้ตามปกติ ส่วนใครที่อยากรู้ว่าตัวเองได้รับผลกระทบมาก-น้อยแค่ไหน และช่วงเวลาในการเบี่ยงการจราจรจะลากยาวถึงเมื่อไร […]

มีอะไรอยู่บน (สถานีรถไฟ) ฟ้า

ระหว่างที่รอรถไฟฟ้าอยู่เพลินๆ ไม่กี่นาที พลันสายตาก็เหลือบสำรวจไปทั่วว่ามีอะไรบ้างนะในวิวระดับตึกชั้น 3 ที่ทอดออกไปยังตึกต่างๆ โดยรอบ มันไม่ได้มีแค่หลังคาบ้าน ไม่ได้มีแค่ตึกที่สูงลดหลั่นกัน หากมองดีๆ มันมีดีเทลมากกว่านั้น และบางดีเทลก็ซ่อนอยู่หลังแผงเหล็กของสถานีรถไฟฟ้า ที่สังเกตได้ง่ายเลยก็คือดาดฟ้าของห้องแถว บางคูหาเป็นลูกกรงเหล็กครอบอีกที มีเสาอากาศอยู่ บ่งบอกถึงยุคหนึ่งที่มีทีวีตู้นูน หากอยากจะดูให้คมชัดกว่านี้ แค่เสาแบบตัววีคงไม่พอ ต้องเป็นเสาอากาศก้างปลา เสียบชั้นบนสุดของตึกเท่านั้น และเพื่อยกระดับให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่สูงสมฐานะ การยกให้ศาลพระภูมิไปอยู่บนดาดฟ้าจึงถือเป็นที่ตั้งที่เหมาะสุดแล้ว แดดยามบ่าย ไม่เพียงแต่เล่นแสงและเงาให้กับทางของรถไฟฟ้าที่ทอดยาวสุดลูกหูลูกตา มันยังสร้างเหลี่ยม สร้างมุม เล่นกับตึกแถวที่หน้าตึกเหลื่อมกันได้ดี ซึ่งในแต่ละคูหา ลูกกรงและสีอาคารก็ต่างสไตล์กันไปอีก หากเดินอยู่ข้างล่าง เราคงไม่ได้สังเกตว่าชั้น 2 ของบางคูหาก็แอบมีลูกเล่นตรงหน้าต่าง ความงามนี้เพิ่งจะถูกเปิดเผยก็ตอนที่มีสถานีรถไฟฟ้ามาตั้งขนาบข้าง บางคูหาใช้วิกฤตเป็นโอกาส ไหนๆ ตึกก็หันมาเกือบประชิดกับทางสถานีรถไฟฟ้าที่มีคนผ่านไปมา ก็ขอโฆษณาสักหน่อย ถ้าไม่ได้อยู่ในความสูงระดับตึกชั้น 4 ของ MRT เตาปูน เราคงไม่ได้สังเกตเลยว่า วิวสุดลูกหูลูกตานี้ มีบ้านหลังไหนบ้างที่เก่าแก่แต่ยังคงสภาพสมบูรณ์ ที่ดินตรงไหนที่ยังคงเขียวขจีอยู่ท่ามกลางเมืองหลวงที่ร้อนระอุ รวมถึงการหดตัวของพื้นที่สีเขียวไปเรื่อยๆ หลังคาของบางบ้าน บางร้าน ก็เป็นที่เก็บของชั้นดี ในเมื่อของที่ไม่ค่อยใช้แล้วมันเกะกะพื้นที่ที่คนใช้สอยบ่อย ก็เอาไปเก็บไว้ในพื้นที่ที่คนไม่ได้ใช้สอยอะไรมากก็แล้วกัน ผนังสูงๆ ของตึกบางแห่ง เป็นที่ทดลองทำกราฟฟิตี้แบบง่าย […]

ฝนตกใหญ่ น้ำท่วมฉับพลัน ทำไมระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของไทยถึงน้ำไม่ท่วม

ที่ผ่านมา หลายคนคงได้เห็นข่าวที่ฝนตกหนักจนน้ำท่วมเข้าไปในระบบรถไฟฟ้าของหลายประเทศ เช่น จีน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และล่าสุดคือกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ที่ชาวเน็ตพากันแชร์คลิปน้ำท่วมไหลบ่าจากพื้นดินสู่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ไปจนถึงสิ่งก่อสร้างภายในที่ได้รับความเสียหายจากน้ำที่ซึมผ่านเข้ามา เห็นเหตุการณ์แบบนี้ เราเลยสงสัยว่าไทยเองก็น้ำท่วมบ่อย แถมเมื่อปี 2554 กรุงเทพฯ เองก็เจอน้ำท่วมใหญ่นานเป็นเดือนๆ จนหลายคนถึงขนาดต้องทิ้งบ้านทิ้งรถหนีน้ำย้ายไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว แล้วระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) บ้านเราเป็นยังไงบ้างนะ จะโดนน้ำท่วมหรือได้รับผลกระทบแบบที่ประเทศอื่นเจอหรือไม่ หลังจากหาข้อมูลและสอบถามคนกรุงเทพฯ รอบตัว ผลปรากฏว่า ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินบ้านเราไม่เคยมีน้ำท่วมแบบที่ต่างประเทศประสบเลย นั่นเพราะ MRT ไทยมีมาตรการและระบบป้องกันน้ำท่วมที่ออกแบบมาแล้ว ทำให้ไม่ว่าจะฝนตกหนักแค่ไหน หลายพื้นที่ประสบน้ำท่วมจนต้องดับรถ เดินลุยน้ำสูงระดับเอว ผู้ใช้งานที่ติดอยู่ในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน จะไม่ประสบกับน้ำท่วมไหลบ่าเข้ามาในสถานีจนเป็นอันตรายต่อชีวิตแน่นอน คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนไปดูเบื้องหลังมาตรการความปลอดภัยของ MRT ในไทย ว่าทำไมเราถึงไม่ต้องกังวลว่าจะประสบภัยแบบที่ต่างประเทศพบเจอ ก่อนอื่นชวนมาทำความเข้าใจก่อนว่า ด้วยความที่กรุงเทพฯ มักประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่บ่อยๆ ทำให้ระบบรถไฟฟ้า MRT มีการออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและป้องกันน้ำท่วมภายในสถานีกับอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินไว้ตั้งแต่แรกแล้ว โดยใช้ค่าระดับน้ำท่วมสูงสุดในรอบ 200 ปีของกรุงเทพฯ เป็นเกณฑ์ในการออกแบบทางเข้า-ออก และช่องเปิดต่างๆ เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า  การยกระดับทางเข้า-ออกสถานี ปล่องระบายอากาศ และช่องเปิดต่างๆ MRT […]

‘ค่ารถไฟฟ้าทะลุ 100’ ทำอย่างไรให้ราคาไม่พุ่ง ทุกคนจ่ายไหว

ทุกปีจะปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าขึ้นไปเรื่อยๆ และไม่มีทางจะลดลงง่ายๆ จึงทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า จะมีแนวทางไหนที่ช่วยลดค่ารถไฟฟ้าได้บ้าง

8 โปรเจกต์รัฐบาลที่จะเกิดขึ้นใน ‘กรุงเทพฯ ปี 2564’

ขออาสาไปติดตามความคืบหน้าโปรเจกต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้า รถเมล์ เรือ สถานีขนส่งสาธารณะ ทางเท้า หรือแม้กระทั่งศาลาพักผู้โดยสารรถประจำทาง ว่าแล้วจะมีอันไหนอยู่ใกล้ตัวเพื่อนๆ บ้าง ตามไปส่องกันเถอะ!

Free Fire World ขึ้นขบวนสู่โลกแห่งเกมเอาตัวรอด

ลองคิดดูสิว่าในโลกความเป็นจริงทุกวันนี้ เราต้องเจอกับเรื่องเครียดๆ ในชีวิตมากมาย เรียกว่าวันจันทร์ – ศุกร์ มนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ ก็แทบจะอยู่กับงานตลอดเวลา จนไม่ได้พักหาความผ่อนคลายให้ตัวเอง ดังนั้นเมื่อเราจริงจังกับงานเต็มที่แล้ว ถึงเวลาเล่นก็ต้องเล่นให้จริงจัง ซึ่งเกมบนมือถือก็เป็นตัวเลือกยอดฮิตที่คนทุกเพศทุกวัยเล่นกันทั้งบ้านทั้งเมือง อย่าง ‘Garena Free Fire’ เกมใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมซึ่งมียอดดาวน์โหลดสูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย

บัตรตั๋วร่วมใช้แน่ ! เริ่มเดือนมิถุนายน 2563 รวมทุกการขนส่งในบัตรเดียว BTS + MRT + ARL + รถเมล์

ปลัดกระทรวงคมนาคม เร่งให้เกิดระบบ ‘ตั๋วร่วม’ ใบเดียวที่ใช้ข้ามขนส่งสาธารณะได้ทั้งหมด เพื่อสะดวกในการเชื่อมการเดินทางในกรุงเทพฯ ได้อย่างครอบคลุม โดยวางแผนไว้ว่าจะใช้จริงตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป หากไม่มีปัญหาขัดข้อง

ย่านเก่าเยาวราช

ประเดิมนั่ง MRT สถานีใหม่ ‘วัดมังกร’ ไปสัมผัสเสน่ห์ย่านเก่าเยาวราชที่โด่งดังเรื่องสตรีทฟู้ด จนได้ชื่อว่า ‘ไชน่าทาวน์’ ไม่ว่าชาวไทยหรือชาวต่างชาติก็ต้องมาเช็คอินกินของอร่อย แต่วันนี้เราจะพาไปเปิดมุมมองชมสถาปัตยกรรม ซึ่งโดดเด่นและมีเรื่องราวน่าหลงใหลไม่แพ้กันเลย พร้อมสำรวจวิถีชีวิตของผู้คนในเยาวราชและกลิ่นอายวัฒนธรรมจีน ผูกโยงไลฟ์สไตล์ใหม่เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน

‘‘ราชเทวี – สามย่าน’ ย่านที่ไม่เคยหลับ ไลฟ์สไตล์เมืองแห่งอนาคต

‘ราชเทวี – สามย่าน’ เป็นพื้นที่ที่ไม่เคยตกเทรนด์ ครบทุกด้านไลฟ์สไตล์ และเป็นที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์คนทุกวัย ไม่ว่าวัยเรียน วัยงาน หรือครอบครัว ด้วยการ เดินทางถึงกันได้เพียงไม่กี่นาทีด้วยรถไฟฟ้า ทำให้ใครๆ อยากมาใช้ชีวิตในย่านนี้ ซึ่งในวันนี้เราจะพาทุกคนไปส่องย่าน ‘ราชเทวี – สามย่าน’ ว่าปัจจุบันมีอะไรอัปเดตกันบ้าง และย่านนี้มีอะไรน่าสนใจ

ทำความรู้จัก “รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเส้นใหม่” อนาคตพี่ใหญ่ที่เชื่อมทุกย่านเข้าด้วยกัน

ทำความรู้จัก “รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเส้นใหม่” อนาคตพี่ใหญ่ที่กำลังจะเปิดทดลองขึ้นฟรี 5 สถานี จะมีอะไรบ้างและไปทำความรู้จักกับสายสีน้ำเงินให้สนิทขึ้นกันเลย

Art on Train : มาดูไอเดียดีๆ ในการเปลี่ยนรถไฟฟ้าให้กลายเป็นพื้นที่ศิลปะกัน

เช้าวันใหม่อันสดใสของคนกรุงเทพฯ จำนวนไม่น้อยได้ถูกทำลายลงอย่างย่อยยับเพียงเพราะการขึ้นโดยสารรถไฟฟ้าสาธารณะ สำหรับหลายๆ คน ระบบขนส่งมวลชนเป็นทางเลือกเดียวในการเดินทาง ซึ่งหากจะให้พูดว่าเป็นการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว และราคาเหมาะสม ก็คงจะพูดกันได้อย่างไม่เต็มปาก นี่ยังไม่รวมไปถึงความยากลำบากในการพยายามใช้บริการระบบเหล่านั้นในชั่วโมงเร่งด่วน ที่ก่อนจะเดินทางไปถึงหน้าประตูออฟฟิศอันเป็นที่รัก พลังงานอันน้อยนิดของพวกเราก็ได้ถูกสูบสิ้นออกไปโดยขั้นตอนอันซับซ้อนของการโดยสารรถไฟฟ้าสาธารณะทั้งหลาย ตั้งแต่ยังไม่เข้าแถวซื้อบัตรด้วยซ้ำ ซึ่งจริงๆ แล้วสิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่ก็เป็นปัญหา Top Hit ของหลายประเทศบนโลกเช่นกัน ในยุคสมัยที่ชีวิตของมนุษย์รวมศูนย์เข้าสู่เมืองใหญ่ การเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนเป็นสิ่งที่ไม่ว่ายังไงก็เลี่ยงไม่ได้ และความแออัดก็เป็นข้อเสียตามธรรมชาติของระบบขนส่งสาธารณะทุกประเภท โชคดีตรงที่ว่าเราสามารถใช้ประเทศเหล่านั้นเป็น Case Study ที่ดีในการแก้ปัญหาได้ หลากวิธีการสร้างสรรค์ที่เคยเกิดขึ้นอาจนำมาประยุกต์ใช้กับบ้านเราเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้โดยสารได้ แน่นอนว่าวิธีเหล่านี้ไม่ใช่การแก้ปัญหาในระยะยาวที่ดี แต่ก็เป็นการทำให้การใช้เวลาโดยสารไปกับระบบขนส่งมวลชนในปัจจุบันเป็นไปได้อย่างราบรื่น และน่าจะเป็นการเริ่มต้นวันที่ดีกว่าการเบียดเสียดไปกับคนทั้งเมืองในขบวนรถไฟที่เต็มไปด้วยโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารในร้านสะดวกซื้อแน่นอน 1. Art on Track The World’s Largest Mobile art Gallery Art on Track เป็นโปรเจกต์ศิลปะที่เริ่มต้นโดยนักศึกษาจาก School of Art Institute of Chicago เมื่อปี 2008 ด้วยไอเดียเริ่มต้นที่จะมองหาพื้นที่ใหม่ๆ ในการแสดงงานของศิลปินในพื้นที่และเหล่านักศึกษาศิลปะ ซึ่งพื้นที่เหล่านั้นก็คือภายในตัวโบกี้ของรถไฟใต้ดินที่ชาวเมืองคุ้นเคยกันดี Art […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.