ให้ ‘หลับ’ เยียวยาใจ ไม่ว่าจะเจอเรื่องหนักหนาอะไรมา การนอนช่วยรักษาและฟื้นฟูอารมณ์ให้ดีขึ้นได้

แต่ละคนมีวิธีการจัดการความเครียดแตกต่างกันออกไป บางคนอาจกินเพื่อคลายเครียด บางคนอาจเลือกเล่นเกมให้ลืมความกดดันที่ต้องเจอ และบางคนอาจเลือกให้การนอนช่วยหยุดความวิตกกังวลนี้ แม้ปกติแล้วเวลาเครียดมากจะทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น และอาจส่งผลให้ฝันร้ายจนนอนไม่เต็มอิ่ม แต่หากเราปล่อยให้ตัวเองเครียดแถมยังไม่ยอมนอน ก็จะทำให้ร่างกายเครียดทับถมมากขึ้นไปอีก แล้วตกลงว่าถ้ากำลังเครียดควรนอนหรือไม่ ‘Matthew Walker’ ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาและจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการนอนเอาไว้ว่า การนอนหลับลึกจะช่วยลดความวิตกกังวลผ่านการจัดระเบียบในสมองใหม่ เรียกได้ว่าเป็นยาลดความวิตกกังวลตามธรรมชาติที่เราจะได้รับตลอดตราบใดที่นอนหลับทุกๆ คืน เพราะร่างกายของเราใช้เวลาตอนที่นอนหลับปรับสมดุลทางเคมีและชีวภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งในการลดฮอร์โมนความเครียดและลดระดับฮอร์โมนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเครียดในช่วงเวลาที่เรานอนหลับ เช่น ฮอร์โมนคอร์ติซอลหรืออะดรีนาลิน ตามที่ ‘Laura DeCesaris’ แพทย์ด้านเวชศาสตร์สมรรถภาพและผู้ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีได้พูดถึงการนอนหลับเอาไว้ เช่นเดียวกับที่ ‘Bill Fish’ ผู้ให้คำปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์การนอนหลับที่มองว่า ช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนอย่างแท้จริงคือการนอนหลับ เพราะในขณะที่เรานอนหลับนั้น ร่างกายและสมองจะได้รับการฟื้นฟูจากการใช้งานมาตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นการเติมพลังงานให้กับเซลล์ในร่างกายซ่อมแซมร่างกายจากอาการบาดเจ็บเล็กๆ น้อยๆ ผ่านการปล่อยฮอร์โมนให้เนื้อเยื่อใหม่เติบโต สร้างเม็ดเลือดขาวในเซลล์ ช่วยลดอาการเจ็บป่วยของเรา จัดการของเสียในสมอง และเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สมองแทบจะไม่มีเรื่องเครียดที่กระทบจิตใจให้นึกถึงอีกด้วย การนอนจึงถือเป็นหนทางฟื้นฟูร่างกายที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะด้วยเรื่องของสุขภาพกายหรือสุขภาพใจ แต่อย่างไรก็ตาม การนอนหลับที่ว่านั้นไม่ควรเป็นการบังคับให้ตัวเองหลับ เพราะจะยิ่งเป็นการกระตุ้นความเครียด แต่ควรจะหากิจกรรมเบาๆ ทำ เช่น การอ่านหนังสือ ฟังเพลงบรรเลง และที่สำคัญคือการงดอยู่กับหน้าจอก่อนนอน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการนอนที่มีคุณภาพ สภาพจิตใจที่บอบช้ำจะได้กลับมาสดใสเหมือนเดิม Sources : Baylor […]

Hello Stranger คลายข้อสงสัย เหตุใดเราถึงไว้ใจเล่าเรื่องส่วนตัวให้คนแปลกหน้าฟัง

ก่อนจะเริ่มเขียนเรื่องนี้ ผู้เขียนเพิ่งเข้าไปใน TikTok และบังเอิญไปเจอหมอดูคนหนึ่งกำลัง Live เปิดไพ่อยู่ ก็เลยถามคำถามที่อยากรู้กับหมอดู ‘แปลกหน้า’ คนนี้ ซึ่งผู้เขียนไม่เคยรู้จักหรือได้ยินชื่อเขามาก่อน แต่เราก็ไว้ใจเหลือเกินที่จะให้เขาตอบหน่อยว่า “การเงินเดือนนี้จะเป็นอย่างไรคะ” โชคดีที่เป็นเรื่องเงิน ซึ่งสำหรับตัวผู้เขียนไม่ได้กลัวว่าจะได้ยินอะไรบาดใจ และโชคดีอีกที่คำตอบออกมาในระดับที่พอรับได้ “คุณไม่ต้องกังวลนะคะ มีพอใช้ ไม่ได้เยอะ แต่พอใช้แน่นอน” ตัดภาพมาที่คุณผู้หญิงอีกคนที่ถามคุณหมอดูว่า “สามีกำลังนอกใจอยู่หรือเปล่า” “นอกใจค่ะ เขาไม่ได้มีคุณคนเดียว” หมอดูเปิดไพ่อย่างรวดเร็ว แล้วรีบตอบแบบไม่มีการเกริ่นใดๆ จนถึงตอนนี้ ผู้เขียนก็ยังนึกถึงหญิงสาวคนนั้นอยู่ว่าจิตใจจะเป็นอย่างไรบ้างนะ การทำนายอนาคตคงต้องใช้ศาสตร์เฉพาะ หากต้องการรู้ก็ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญศาสตร์นี้เป็นคนตอบให้ แต่ก็มีหลายเรื่องราวส่วนตัว โดยเฉพาะปัญหาที่มีความซับซ้อนและเจ็บปวดใจ ที่หลายคนไว้ใจให้คนแปลกหน้าหรือคนที่ไม่ได้สนิท ไม่ได้เข้าใจความเป็นเราขนาดนั้น เป็นผู้รับฟังและช่วยชี้แนะ มอบกำลังใจ อะไรใน ‘ความไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัว’ ของคนอื่น ที่ทำให้เราอยากเล่า ‘เรื่องราวส่วนตัว’ ให้ฟังขนาดนี้ เรากับคนแปลกหน้าไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียทางความรู้สึกต่อกัน หลายครั้งหลายคราที่เรามีปัญหาเดิมๆ กับเรื่องเดิมๆ คอยฟังคำแนะนำ (หรือบางครั้งก็เป็นคำบ่น) จากคนที่สนิทกันจนชินชา กลายเป็นการฟังหูซ้ายทะลุหูขวา นั่นทำให้เราไม่มีแรงบันดาลใจมากพอที่จะลุกขึ้นมาแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เป็นอยู่ แม้จะไม่ได้ชอบสถานการณ์ตอนนี้มากนักก็ตาม แต่พอได้ฟังคำแนะนำจากคนที่ไม่เคยถามเขามาก่อน กลับรู้สึกเหมือนได้รับมุมมองแปลกใหม่ ไม่เคยลองมองสถานการณ์ที่เป็นอยู่ด้วยเลนส์นี้มาก่อน ราวกับได้รีเฟรช เห็นภาพชัดรอบด้าน […]

ไม่ใช่ทุกคนที่อยากโตเป็นผู้ใหญ่ เพราะภาระที่ล้นตัว ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่อยากเติบโต

“เป็นผู้ใหญ่ ทำไมยากจัง” นี่เป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้เขียนในฐานะนักจิตบำบัดได้ยินคนไข้บ่นให้ฟังบ่อยๆ ในชั่วโมงบำบัด ไม่ว่าจะด้วยความซับซ้อนที่มากขึ้นของความสัมพันธ์ การบริหารการเงิน กระทั่งการผ่านพ้นดราม่าในครอบครัว และในวันนี้ เรื่องที่ผู้เขียนอยากชวนคุยเป็นพิเศษคือ ความยากในการเติบโตด้านอาชีพการงาน ถ้ามาพิจารณาดูมุมมองที่คนแต่ละรุ่นให้ความหมายและคุณค่าแก่การทำงาน ก็ต้องบอกว่า จากบทความของ PubMed Central ได้พูดถึงชาว Gen Z หรือกลุ่มคนที่เกิดในช่วงกลางยุค 90 ไปจนถึงต้นยุค 2010 ไว้อย่างน่าสนใจ คุณลักษณะเด่นของคนกลุ่มนี้คือ มีความมั่นใจในตัวเองและมุ่งมั่นกับงานที่ทำสูง ต้องการจะพุ่งไปถึงงานในฝันให้ได้ และโหยหาโอกาสที่จะเพิ่มทักษะในสายงานที่ตัวเองรัก ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาให้ความสำคัญกับการทำงานที่มีความยืดหยุ่น ไม่เคร่งเครียดจนเกินไป สุขภาพจิตพวกเขาต้องไหว เพราะชีวิตนอกเหนือจากสถานที่ทำงานก็สำคัญมากสำหรับพวกเขาเช่นเดียวกัน ถ้าคนกลุ่มนี้รู้ตัวว่าไม่ชอบสิ่งที่ทำอยู่เมื่อไหร่ พวกเขาจะเปลี่ยนงานทันที สรุปโดยรวมคือ เป็นกลุ่มคนที่ทุ่มเทให้อาชีพในฝันสุดๆ แต่ก็ชัดเจนในจุดยืนมากเหมือนกันว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่าสิ่งที่ทำอยู่ไม่ใช่ทางหรือไม่ใช่ที่ของตนแล้ว ก็พร้อมจะเดินจากไปเพื่อตามหาเส้นทางใหม่ที่คู่ควร แต่ในยุคก่อนหน้าชาว Gen Z ที่เป็นคนวัยผู้เขียน หลายคนมักรู้สึกว่า พวกเราคือรุ่นคาบเกี่ยว คือใจหนึ่งก็อยากวิ่งตามฝัน สร้างคุณค่าในงานที่อยากแสดงออกมาให้ทุกคนเห็น แต่อีกใจหนึ่งก็เป็นเดอะแบกซะเหลือเกิน บางคนแบกภาระของครอบครัวในฐานะคนดูแลหลัก ส่วนบางคนแบก ‘ความหวังหรือความกดดัน’ ที่ครอบครัวโยนมาให้เราโดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว หรือกระทั่งเรานั่นแหละที่โยนให้ตัวเอง จะเห็นว่าผู้คนรุ่นพวกเรามากมายที่ตั้งใจทำงานจนในที่สุดก็เหมือนจะเดินมาสู่ทางแยก ระหว่างเดินต่อไปให้สุด […]

เมื่อศิลปินที่รักดันไม่เป็นอย่างที่คิด พาไปดูวิธีการรักคนดังยังไงให้เซฟใจตัวเองไปด้วย

‘ถ้าสองคนนี้เลิกกันนะ ฉันจะไม่เชื่อเรื่องความรักอีกแล้ว’ หลายคนน่าจะเคยคิดอะไรแบบนี้ จากการเฝ้ามองคู่รักคนดังที่ตัวเองชื่นชอบ ที่ลุ้นให้พวกเขารักกันยั่งยืน แต่ที่สุดแล้วก็ไปไม่รอดถึงฝั่งฝัน การได้รับรู้ข่าวเลิกราของคู่ที่เราเชียร์มานาน มันบาดใจเหมือนเราเจ็บแทนเขา ทั้งๆ ที่ ก็ไม่มีใครรู้จักชีวิตส่วนตัวของคู่รักคนดังอย่างลึกซึ้งและละเอียดเท่าเจ้าตัวเอง ต่อให้คนดังเหล่านั้นจะเล่าเรื่องความรักของตัวเองออกสื่อบ่อยแค่ไหนก็ตาม ความสัมพันธ์ที่ดูมีเส้นขีดไว้ชัดเจน แต่ความรู้สึกเราเลยเถิดออกไปได้ยังไง ‘เธอไม่รู้จักเขาจริงๆ ด้วยซ้ำ’ อาจเป็นสิ่งที่คนนอกมองเข้ามา ด้วยความไม่เข้าใจในความสัมพันธ์ของคนคนหนึ่งที่หลงใหลคนดังอย่างหัวปักหัวปำ ทั้งในแง่ตัวตนที่เขานำเสนอออกมา หรือความคิดสร้างสรรค์อันสวยงามจากผลงานของเขา คอยติดตามชีวิตตลอด ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็คอยเป็นกำลังใจหรือออกตัวปกป้อง หากศิลปินในดวงใจเจอความทุกข์ ความรู้สึกนั้นก็เสียดแทงใจเหมือนตัวเองเจ็บแทน เว็บไซต์ findapsychologist.org อธิบายความสัมพันธ์พิเศษที่มีชื่อเรียกว่า Parasocial Relationship ว่า เป็นความสัมพันธ์ข้างเดียว ที่คนหนึ่งมอบทั้งพลังงานด้านอารมณ์ ความสนใจ และเวลาให้ โดยที่อีกคนไม่รับรู้ถึงการมีอยู่ของอีกฝ่าย ซึ่งมักเกิดในความสัมพันธ์ที่แฟนคลับมีต่อศิลปินหรือทีมกีฬา อย่างในตอนนี้ อีกหนึ่งกลุ่มคนดังที่หลายคนเลือกมีความสัมพันธ์แบบ Parasocial ด้วยคือนักการเมือง ‘ความคุ้นชิน’ ทำให้เกิดความผูกพัน  เมื่อไหร่ก็ตามที่คนเราผูกพันกับอะไร เมื่อนั้นจะยิ่งทำให้ตนรู้สึกว่า เรารู้จักคนคนนี้หรือสิ่งสิ่งนี้ดีพอ ยกตัวอย่าง พ่อแม่หลายคนที่คิดว่าตัวเองรู้จักนิสัยใจคอหรือความฝันของลูกดี ซึ่งเขาไม่ผิดที่จะคิดอย่างนั้น เพราะอยู่ด้วยกันในบ้านทุกวัน แต่จริงๆ แล้วก็มีอีกหลายเรื่องที่ลูกเลือกจะไม่แสดงออกมาให้พ่อแม่เห็น ไม่ต่างจากศิลปินหรือคนดังที่เราหลงรัก ขนาดตัวอย่างแรกที่ยกมาเมื่อตอนเปิดเรื่อง แม้ตัวเองอาจไม่ได้เป็นแฟนคลับเหนียวแน่น แต่การแค่เห็นใครคนหนึ่งผ่านสื่อบ่อยๆ […]

‘อยู่กันดีๆ ให้ได้ได้ไหม’ จะใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวใหญ่อย่างไรให้สงบสุข ในยุคที่ใครก็ไม่เข้าใจกัน

เวลาพูดถึงจุดร่วมของ ‘สังคมไทย’ หลายครั้งภาพที่ฉายออกมาคือการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ภายในรั้วบ้านหลังคาเดียวกันจะมีสมาชิกอยู่หลากรุ่น หลายเครือญาติ ใครที่มีรูปแบบครอบครัวเช่นนี้ คงจะคุ้นเคยกับความสนุกสนาน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสนิทสนมอย่างเต็มที่ แต่ในขณะเดียวกัน ความบาดหมางและความเจ็บปวดใจที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารในครอบครัวใหญ่ ก็เป็นความทุกข์ที่หลายครั้งเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเปี่ยมไปด้วยความรู้สึกมากมายที่ซับซ้อนและตีกันวุ่นไปหมด ยิ่งในช่วงที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ และเงื่อนไขชีวิตที่หลายคนเลือกมีพื้นที่ของตัวเองด้วยการย้ายออกมาอยู่คนเดียวไม่ได้ จะมีวิธีไหนบ้างที่ช่วยจัดการสภาพจิตใจต่อความกระอักกระอ่วนที่อาจเกิดขึ้นบ่อยๆ ภายในครอบครัว ไม่มีใครเป็นตัวเอก ไม่มีใครเป็นตัวร้าย แต่เราแค่มาจากหนังคนละเรื่องกัน หลายครั้ง ความไม่ลงรอยกันภายในครอบครัวใหญ่ มักเกิดจากความไม่เข้าใจและความไม่พร้อมเปิดใจรับฟัง ทำให้ต่างฝ่ายต่างไม่รู้สึกได้รับการเห็นค่าจากคนที่รัก โดยเฉพาะญาติอาวุโสที่ยิ่งใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้มานานเท่าไหร่ ยิ่งง่ายที่จะยึดมั่นทั้งความเชื่อและแบบแผนการใช้ชีวิตที่พวกเขาเชื่อว่าถูก ผ่านการเลี้ยงดูและคำสอนจากคนรุ่นอาวุโสกว่าพวกเขามาอีกที คุณค่าบางอย่างที่พวกเขาให้ความสำคัญ แม้ไม่ใช่ว่ามันเป็นสิ่งไม่ดี แต่นั่นอาจไม่ได้เป็นสิ่งที่ทุกคนเห็นตรงกันเสมอไป ยกตัวอย่าง กรณีศึกษาที่ผู้เขียนในฐานะนักจิตบำบัดความสัมพันธ์และครอบครัวพบบ่อยในชั่วโมงบำบัด คือการที่คนรุ่นพ่อแม่หรือบางครั้งก็เป็นรุ่นปู่ย่าตายายเลยด้วยซ้ำ พยายามพร่ำบอกให้ลูกหรือหลานตัวเองยึดแนวทางการใช้ชีวิตให้เหมือนเขา เพราะการใช้ชีวิตในรูปแบบนั้นนำพาความสำเร็จและชีวิตที่สุขสบายมาให้ รูปแบบการใช้ชีวิตที่ว่า หนึ่งในนั้นคือ ‘ความอดทน’ ไม่ว่าจะทั้งทางกายหรือใจ การพร่ำบอกให้อดทนต่องานที่ทำ ทำไมถึงบ่นกับเรื่องแค่นี้ ทำไมถึงไม่หาข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มในเวลาว่าง ทำไมหยุดงานหรือเปลี่ยนงานบ่อยจัง หรือการบอกให้อดทนต่อความรู้สึก เช่น เรื่องแค่นี้ทำไมต้องร้องไห้ เรื่องมันเกิดมานานแล้ว ทำไมยังคิดเล็กคิดน้อยอยู่ได้ ทะเลาะกันแค่นี้ ทำไมเลือกที่จะหย่า ฯลฯ แน่นอนว่าความเจ็บปวดเป็นเรื่องปัจเจก สิ่งที่ทำให้อารมณ์แต่ละคนสั่นสะเทือนล้วนมีหน้าตาต่างกันออกไป ไม่ว่าจะด้วยเจตนาที่ดีหรือไม่ก็ตาม การปฏิเสธความรู้สึกของใครคนหนึ่งยิ่งสร้างความห่างเหินในใจ […]

รักไม่ได้แปลว่ารับได้ทั้งหมด หาเหตุผลว่า ทำไมคนที่เรารักถึงเป็น ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ให้เราไม่ได้

คำว่า ‘พื้นที่ปลอดภัย’ เป็นอีกหนึ่งคำที่พวกเราได้ยินกันบ่อยมาก เมื่อกำลังพูดถึงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพจิต ซึ่งจริงๆ แล้ว ถ้าจะให้ฟังดูสมเหตุสมผล คนที่สามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กันและกันได้ ก็ควรเป็นคนสนิทหรือคนที่เรารักเขา-เขารักเราที่สุด แต่ในความเป็นจริง หลายครั้งเราก็ไม่อาจรู้สึกปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์จากคนที่เรารักหรือผูกพันที่สุด แม้ว่าเขาจะไม่ได้ตั้งใจทำให้เรารู้สึกแบบนั้นเลยก็ตาม และจุดนี้แหละที่ทำให้มันเป็นความจริงที่น่าเศร้า ใช่ เรายังรักเขาต่อไปได้ สิ่งนี้ไม่จำเป็นต้องกระทบความเข้มข้นและลึกซึ้งของความรักที่เรามีให้เขา แต่วันนี้มาลองทำความเข้าใจกันดีกว่าว่า มีความท้าทายไหนบ้างที่ยากจะทำให้คนรักของเราเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้เรา และเราเองนั้นควรระวังอะไรบ้าง เพื่อจะยังคงเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้คนที่เรารักได้อย่างดีที่สุด พื้นที่ปลอดภัย ไม่ใช่พื้นที่เลิศหรูสมบูรณ์แบบ ผู้เขียนยังไม่เคยได้ยินใครเปรียบเทียบความรู้สึก ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ว่าเป็นปราสาทราชวังหรือเมืองหรูๆ ที่ไหน บางคนบอก พื้นที่ปลอดภัยคือพื้นที่ที่ได้คุยกับนักจิตวิทยาหรือนักจิตบำบัด บางคนบอก พื้นที่ปลอดภัยคือสนามบอลที่ได้ใช้เวลากับเพื่อน คือมุมชงกาแฟที่ให้ตัวเองได้พักจากความเครียดในที่ทำงาน คือวงเหล้าในบาร์ที่คุ้นเคย ฯลฯ พื้นที่ไหนทำให้เราได้เป็นตัวของตัวเอง ไม่ทำให้เรารู้สึกแปลกแยก แม้มันอาจจะไม่สบายตัวบ้าง หรือแตกต่างจากพื้นที่ของคนอื่นแค่ไหน แต่ความสบายใจที่ได้รับมันก็ชนะทุกอย่างอยู่ดี พื้นที่ปลอดภัย คือพื้นที่ที่ต้อนรับทุกอารมณ์และความรู้สึก ผู้เขียนเคยไปบรรยายในงานเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตงานหนึ่ง เขาตั้งคำถามว่า ทำอย่างไรลูกถึงจะรู้สึกว่าพ่อแม่คือพื้นที่ปลอดภัยของเขา โดยเฉพาะเวลาเกิดเหตุอันตราย เช่น ลูกถูกล่อลวงหรือโดนหลอกผ่านอินเทอร์เน็ต แล้วไม่กล้าบอกพ่อแม่ ทำให้ไม่มีที่พึ่งเพราะไม่รู้จะหันไปหาใครดี พวกเราโตมาพร้อมกับความเชื่อที่แบ่งแยกบางความรู้สึกว่า นี่คือความรู้สึกที่ดี ควรรู้สึกให้ได้บ่อยๆ และบางความรู้สึกก็เป็นความรู้สึกที่แย่ […]

‘คนรักมวลเมฆ’ ชมรมคนชอบมองท้องฟ้าเยียวยาจิตใจ และสอนดูฝน ฟ้า อากาศให้เป็นเรื่องใกล้ตัว

ขอชวนคุณผู้อ่านทุกท่านพักความเหนื่อยล้าจากการทำงานเพียงสักนิด และลองมองออกไปนอกหน้าต่างชมท้องฟ้าใกล้ตัวกันสักหน่อย เพราะวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักเพื่อนใหม่ที่ชื่อว่า ‘ก้อนเมฆ’ และ ‘ท้องฟ้า’ กัน ถ้าตอนนี้สภาพท้องฟ้าปลอดโปร่งสดใส คาดว่าจะได้เจอน้องหมั่นโถว เมฆสีขาวลอยตัวเป็นก้อนเดี่ยวๆ ลักษณะคล้ายกับขนมหมั่นโถวรูปทรงกลม จริงๆ มีชื่อทางการคือ คิวมูลัส (Cumulus) หากเจอน้องโผล่มาทักทายเมื่อไหร่ ก็เป็นสัญญาณบอกได้เลยว่า ตอนนี้อากาศกำลังดี แต่ถ้าเมฆหมั่นโถวก้อนนี้เริ่มมีขนาดสูงขึ้นจนมากกว่าความกว้างของเมฆ และฐานเมฆเป็นสีเทาเข้ม ขอให้ทุกคนรีบหาร่มให้ไว เพราะน้องกำลังปล่อยฝนลงมาหาพวกเราแล้ว ถ้าคุณดูท้องฟ้าตอนเย็นช่วงพระอาทิตย์ตกไปสักพักหนึ่ง ก็อาจจะเจอ ‘Twilight Arch’ สังเกตขอบท้องฟ้าเป็นสีเหลือง ส้ม แดง และม่วงโผล่ขึ้นมาประมาณ 5 นาที (สามารถเจอตอนพระอาทิตย์ขึ้นได้เช่นเดียวกัน) หรืออาจเจอ ‘Vanilla Sky’ ท้องฟ้าสีส้มอมชมพูคล้ายกับสีขนมหวานมาทักทายก่อนที่ท้องฟ้าจะเปลี่ยนเป็นสีดำมืดเข้าสู่ตอนกลางคืน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ดูท้องฟ้าแล้วรู้สึกเพลิดเพลิน แถมยังชอบเหม่อมองก้อนเมฆทุกๆ วัน แสดงว่าตอนนี้คุณอาจจะตกหลุมรักก้อนเมฆเข้าให้แล้ว อาการแบบนี้มีชื่อเรียกว่า ‘Ouranophile’ เป็นคำมาจากภาษากรีกแปลว่า ‘ผู้หลงรักในท้องฟ้า’ ปัจจุบันมีคนไทยหลายแสนคนที่ชื่นชอบก้อนเมฆรวมตัวกันแบ่งปันภาพท้องฟ้าในแต่ละท้องที่ให้เชยชมกันใน ‘ชมรมคนรักมวลเมฆ’ กลุ่มคอมมูนิตี้ในเฟซบุ๊กที่จัดตั้งโดย ‘ชิว-ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ’ นักวิทยาศาสตร์และคอลัมนิสต์ผู้ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มากมาย ที่วันนี้เขาจะเล่าให้เราฟังว่าความสุขของการดูก้อนเมฆนั้นช่วยเยียวยาจิตใจคนได้อย่างไร และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับเจ้าก้อนสีขาวนี้ไปพร้อมกัน ก่อมวลเมฆ […]

‘สู้ๆ นะ เธอทำได้’ ปลอบใจอย่างไรให้คนฟังไม่ท้อและคนพูดดูไม่เฟก

หากเราอยากปลอบใจใครสักคน เมื่อคนพูดอยากจะแสดงความห่วงใยแต่จะทำอย่างไรให้คนฟังรู้สึกไม่ท้อ เราจึงขอคำปรึกษาจาก ‘แพทย์หญิงชัชชญา เพียรจงกล’ จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการให้คำปรึกษาปัญหาด้านจิตใจจาก ooca แพลตฟอร์มปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาออนไลน์ที่จะช่วยแนะนำวิธีปลอบใจที่คนฟังและคนพูดรู้สึกดี

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.