#saveตูดคอร์กี้ หนังสั้น 15 นาทีที่ชวนตั้งคำถามขอบเขตของ Political Correctness

Spoiler Alert : บทความนี้เปิดเผยรายละเอียดบางส่วนของภาพยนตร์สามารถรับชมเรื่อง #saveตูดคอร์กี้ เต็มๆ ก่อนอ่านได้ที่ (https://tv.line.me/v/20392024) ฉากจบของภาพยนตร์สั้น #saveตูดคอร์กี้ ดึงดูดความสนใจของผู้เขียนไม่น้อย เพราะลุ้นใจจดใจจ่อว่าตัวละครหลักอย่าง ‘โบล่า’ (ก้อย-อรัชพร โภคินภากร) ที่กำลังเก้ๆ กังๆ จะเลือกโพสต์หวีดศิลปินที่ชื่นชอบอย่างไรดี แม้โบล่าสรรหาคำสารพัดมาบรรยายความรู้สึกกรี๊ดกร๊าดข้างในใจ แต่คำที่ใช้กลับเอนเอียงไปทาง ‘Sexual Harassment’ ถึงเจตนาข้างในแค่อยากตะโกนบอกความน่ารักของศิลปินให้คนทั้งโลกฟัง ซึ่งเหตุการณ์นั้น ทำให้โบล่าคิดไม่ตก กดลบกดพิมพ์ข้อความอยู่นานสองนาน ก่อนภาพยนตร์จะตัดจบไป สถานการณ์ที่โบล่าเจอ ทำให้ผู้เขียนกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองในฐานะที่คลั่งรักศิลปินหลายสิบคน และอยากโพสต์หวีดความน่ารักของเขา แต่ก็ต้องลบข้อความทิ้งอยู่เป็นประจำ แล้วแชร์โพสต์เปล่า เพราะกลัวว่าข้อความของเราอาจเผลอ Political Incorrectness (ความไม่ถูกต้องทางการเมือง) ต่อเพื่อนสักคนบนโลกออนไลน์ และทำให้เขารู้สึกไม่สบายใจ #saveตูดคอร์กี้ ภายในระยะเวลา 15 นาที หนังพาเราไปตามชีวิตของโบล่า หญิงสาวผู้ยึดมั่นในหลักความเท่าเทียมกันของทุกสิ่งบนโลกมนุษย์ เวลาเห็นใครโพสต์ข้อความที่แสดงถึงความไม่เท่าเทียมลงโซเชียล โบล่าจะเข้าไปตักเตือนและให้ความรู้กับคนนั้นทันที ซึ่งบางฉากทำให้เราเห็นความลังเลของโบล่า และการฉุกคิดกับตัวเองว่าคนโพสต์เขากำลังมีเจตนาแบบไหนอยู่ ซึ่ง ‘แคลร์-จิรัศยา วงษ์สุทิน’ ผู้กำกับและคนเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง #saveตูดคอร์กี้ หยิบเหตุการณ์จริงของตัวเอง โดยเฉพาะฉากจบ […]

World-shaped Box เพลงจากคนธรรมดาที่กระซิบข้างหูรัฐบาลว่า “ทำอะไร อย่าคิดว่าประชาชนไม่รู้”

รัฐบาลดันทุรังจัดซื้อเรือดำน้ำในขณะที่ประชาชนกำลังล้มตายจากพิษเศรษฐกิจ แต่กลับทำอะไรไม่ได้เพราะถูกขังอยู่ในห้องสี่เหลี่ยม จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของเพลงที่อยากลุกขึ้นมาสะท้อนการเมืองในปัจจุบัน

Pyra ศิลปินที่ใช้เพลง ‘yellow fever’ บอกชายตะวันตกว่าหยุดหื่นใส่สาวเอเชียค่ะ ขอบคุณ!

Pyra นำทัพพาเปิดโคมแดงที่เต็มไปด้วย ‘Fetish’ ตั้งแต่โชว์ปิงปองด้วยอวัยวะเพศ ไปจนถึงซูชิเปลือยกายที่สลับบทบาทมาเป็น ‘ผู้ชาย’ โดนกันดูบ้าง พร้อมชวนแกะอาการ ‘คลั่งสาวเอเชีย’ ของชายตะวันตก ไปกับผลงานเพลงแนว Dystopian Pop ในเพลง ‘yellow fever’ ที่ไปฟีเจอริงกับสองสาว Ramengvrl ศิลปินฮิปฮอปจากอินโดนีเซีย และ Yayoi Daimon แรปเปอร์จากญี่ปุ่น เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้ผู้หญิงทั่วเอเชียว่า ‘อย่าเห็นผู้หญิงเป็นแค่วัตถุทางเพศ’

mediums พื้นที่สร้างสรรค์แห่งย่านเอกมัย อาร์ตคอมมูนิตี้ที่เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง

ชวนจับดินสอ หยิบสี เตรียมกระดาษ และพกไอเดียสร้างสรรค์ไป mediums อาร์ตคอมมูนิตี้ที่เปิดตลอด 24 ชม.

5 ซีรีส์ดาร์กเกาหลีที่เล่าว่าสังคมป่วย ซ่อมได้ด้วยการทำงานอย่างซื่อสัตย์

‘อาชีพบริการสังคม’ ถือเป็นกลุ่มอาชีพที่ต้องเสียสละและมีความอดทนสูง เพราะต้องทำงานเกี่ยวกับสุขทุกข์ของประชาชน ดังนั้น จึงต้องมีสติ มีจรรยาบรรณ ปฏิบัติต่อทุกคนด้วยความเที่ยงตรงและเสมอภาค ที่สำคัญ ต้องไม่ใช้อำนาจเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน

เช็กก่อนชม! Doesthedogdie.com เว็บไซต์สำหรับคนไม่ชอบฉากสะเทือนใจ

เคยไหม? ดูหนังแล้วเจอฉากสุดสะเทือนใจแล้วทำให้ไม่อยากดูหนังต่อ วันนี้เราจะมาแนะนำเว็บไซต์ Doesthedogdie.com ที่จะช่วยให้ทุกคนสามารถเลี่ยงฉากที่เราไม่ชอบเพียงแค่เสิร์ชชื่อหนังเท่านั้น เว็บไซต์นี้จะรวบรวมข้อมูลว่าในหนังเรื่องไหนมีฉากหมาตาย แถมยังบอกด้วยว่าฉากนั้นอยู่ช่วงนาทีที่เท่าไร เราจะได้ตัดสินใจได้ทันทีว่าจะไม่ดูหรือแค่กดข้ามฉากเหล่านั้นไป นอกจากฉากสัตว์ตายแล้วก็ยังมีฉากอื่นๆ ที่มีหลายคนไม่ชอบ เช่น ฉากสะเทือนใจต่างๆ ฉากฆาตกรรมสยองขวัญ หรือฉากชวนสะดุ้ง แถมเว็บนี้ยังมีสปอยล์หนังสือ ซีรีส์ รายการทีวี และการ์ตูนอีกด้วย  คนไม่ชอบสปอยล์หนังอาจมองว่าเว็บนี้ทำให้การดูหนังสนุกน้อยลง แต่สำหรับกลุ่มคนที่ตกใจง่ายหรือมีเรื่องฝังใจกับเรื่องราวเหล่านั้น เว็บไซต์นี้ก็ถือเป็นตัวเลือกที่จะช่วยให้พวกเขาไม่ต้องดูไปลุ้นไปได้ Sources :Catdumb | https://bit.ly/39vTb3L Doesthedogdie | https://bit.ly/2O6FFfs 

เนเธอร์แลนด์ จับมือ Fieldlab ทดลองจัดอีเวนต์ช่วงโควิด-19 หาความเป็นไปได้ใหม่ช่วยฟื้นตัวเศรษฐกิจ

หลังจากเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมายอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 สะสมของประเทศเนเธอร์แลนด์ทะลุ 1 ล้านคน เป็นชาติที่ 21 ของโลก รัฐบาลก็สานต่อโครงการที่เตรียมการมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ร่วมกับคณะนักวิจัย Fieldlab องค์กรที่ดำเนินการวิจัยให้กับรัฐบาล เพื่อหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการจัดงานอีเวนต์อย่างปลอดภัยช่วงการแพร่ระบาดนี้

รักษาโปสต์การ์ดให้เหมือนวันแรกที่ได้รับ ผ่านเวิร์กช็อปการจัดเก็บงานศิลปะด้วยตัวเอง

ฉันคือยอดนักสะสมโปสต์การ์ด และตกหลุมรักการเขียนจดหมายเป็นชีวิตจิตใจ แถมยังเคยได้รับโปสต์การ์ดรูปโมนาลิซา ส่งตรงจากพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ โดยคน (เกือบ) แปลกหน้าชาวฝรั่งเศสที่รู้จักผ่านเว็บไซต์ Postcrossing ทันทีที่ฉันเห็นโปสต์การ์ดก็ร้องกรี๊ดดีใจยกใหญ่ แต่เวลาผ่านไป 6 เดือน ภาพโมนาลิซาค่อยๆ สะบักสะบอม จากการซ้อนโปสต์การ์ดหลายสิบใบทับกัน ทำให้เหลือเพียงเศษเสี้ยวของภูเขาเท่านั้นแหละ ฉันอดบ่นกับตัวเองไม่ได้ ว่าทำไมถึงไม่รักษาของให้ดี และแน่นอนว่าฉันจะไม่ยอมให้เกิดขึ้นกับโปสต์การ์ดชิ้นอื่นๆ อีกเด็ดขาด! ฉันตัดสินใจลงเวิร์กช็อป การจัดเก็บงานศิลปะบนกระดาษและภาพถ่าย เพื่อเรียนรู้วิธีการเก็บอย่างถูกต้อง จัดขึ้นโดย SAC Gallery แวบแรกสมองของฉันนึกไปถึงอุปกรณ์นับสิบอย่าง และน้ำยาอีกร้อยชนิด เลยรู้สึกท้อแท้ไปก่อนล่วงหน้า แต่ความจริงแล้วภาพถ่ายและกระดาษทั่วไป ก็จัดเก็บได้ด้วยวิธีง่ายๆ โดยใช้อุปกรณ์เพียงไม่กี่อย่างเช่นกัน อนุรักษ์งานศิลป์ให้คงอยู่ ช่วงสายของวันอาทิตย์ ฉันนั่งฟังบรรยายจาก ‘ดร.จิราภรณ์ อรัณยะนาค’ ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom อาจารย์บอกเหตุผลว่าทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับการจัดเก็บงานศิลปะ ภาพถ่าย ไปจนถึงกระดาษ นั่นเป็นเพราะการจัดเก็บจะช่วยยืดอายุและป้องกันความเสียหาย เพื่อรักษาสภาพเดิมและคงคุณค่าของมันไว้ตราบนานเท่านาน ฉันนึกไปถึงโปสต์การ์ดหลายใบ และกระดาษหลายแผ่นในกรุของสะสม มีบางอย่างเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา บางอย่างสีเพี้ยนจากเดิมจนเกือบลืมต้นฉบับไปสนิท และบางอย่างก็เต็มไปด้วยรอยสีน้ำตาลเต็มไปหมด ซึ่งอาจารย์บอกว่าร่องรอยเหล่านั้น คือผลลัพธ์จากการจัดเก็บผิดวิธี ทำให้กรดในกระดาษทำปฏิกิริยาต่อชิ้นงาน อีกทั้งอาจารย์ยังยกตัวอย่างลักษณะความเสียหายที่มักเกิดบนภาพหรือกระดาษ ซึ่งสรุปออกมาได้ […]

Oui J’aime โรงแรมที่ลึกเพียง 7 เมตร ของทายาทร้านขนมเปี๊ยะแห่งฉะเชิงเทรา

ชวนนอนและพักใจที่ Oui J’aime โรงแรมไซซ์กะทัดรัดของทายาทร้านขนมเปี๊ยะเมืองแปดริ้ว

9 ไอเทมสัตว์โลก ชวนตระหนักปัญหาสิ่งแวดล้อม

“ถุงพลาสติกที่ถูกทิ้งกว่า 300 ล้านใบ มีจุดจบอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก” ข้อความด้านบนคือประโยคที่ถูกพิมพ์ลงบนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งห่อหุ้มเหล่าสัตว์โลกย่อส่วนบนเชลฟ์วางสินค้า ชวนให้เราพลิกซ้ายพลิกขวาดูว่าฟังก์ชันของมันทำอะไรได้บ้าง บรรดาข้าวของกระจุกกระจิกตรงหน้าไม่ได้แค่จับวางไว้มุมไหนก็น่ารัก หากยังหยิบจับใช้งานได้ถนัดมือและแอบซ่อนกิมมิกสนุกๆ เอาไว้

เอาใจทาสหมาทาสแมว ด้วยคอนโดฯ เปิดใหม่ใจกลางเอกมัย ที่เป็นมิตรกับคนและสัตว์เลี้ยง

ทุกครั้งที่จะย้ายบ้านหรือซื้อคอนโดฯ ใหม่ หนึ่งปัญหาใหญ่ของทาสหมาทาสแมวคือไม่มีพื้นที่ให้สัตว์เลี้ยงตัวโปรดได้วิ่งเล่นอย่างอิสระ แต่เดี๋ยวนี้เดเวลอปเปอร์ด้านอสังหาริมทรัพย์หลายเจ้าก็หันมาให้ความสนใจเทรนด์ Pet Friendly มากขึ้น หนึ่งในนั้นคือโครงการ MARU Ekkamai 2 จากเมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ คอนโดฯ สุดชิกที่ตั้งอยู่ย่านสุดชิลอย่างเอกมัย ความโดดเด่นของ MARU Ekkamai 2 นอกจากการออกแบบที่เน้นยูนิตพิเศษ เลือกใช้วัสดุทำความสะอาดง่าย มีพื้นที่ส่วนกลางหลากหลาย ที่สำคัญ ที่นี่ยังเลี้ยงสัตว์ได้ มีพื้นที่สำหรับอาบน้ำสัตว์เลี้ยงอยู่ทางด้านหลังโครงการไว้ให้บริการ ใครที่กังวลว่าเพื่อนสี่ขาของตัวเองจะไม่มีที่อยู่ก็สบายใจหายห่วง หากสนใจก็อย่ารอช้า จูงเจ้าสี่ขาไปจับจองกันได้ที่โครงการ MARU Ekkamai 2 หรือลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลโครงการได้ที่ https://bit.ly/3jF7Ptl

1 3 4 5 6 7 16

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.