วิถี คน | เรือ | โยง
คน เรือ โยง คือคำนิยามที่เราใช้เรียกอาชีพ ‘นายท้ายเรือกล’ คนขับเรือลำเล็กที่คอยยึดโยงเรือลำใหญ่มีให้เห็นจนชินตาที่แม่น้ำเจ้าพระยา
คน เรือ โยง คือคำนิยามที่เราใช้เรียกอาชีพ ‘นายท้ายเรือกล’ คนขับเรือลำเล็กที่คอยยึดโยงเรือลำใหญ่มีให้เห็นจนชินตาที่แม่น้ำเจ้าพระยา
ในอดีต “คลอง” เป็นดั่งสายเลือดของคนกรุงเทพฯ เป็นสายน้ำแห่งวิถีชีวิต วัฒนธรรม และเชื่อมโยงผู้คนไปมาหาสู่ แต่หลายสิบปีที่ผ่านมา การเข้ามาของความเจริญ ทำให้คนหันไปพัฒนาถนนหนทาง คลองถูกลดบทบาทกลายเป็นหลังบ้านของใครๆ เป็นที่ระบายน้ำเสีย ผู้คนรุกล้ำพื้นที่ริมคลองจนเกิดชุมชนแออัด
คนสุพรรณบุรี มีความหลากหลายซุกซ่อนอยู่ ความแตกต่างของเชื้อชาติ วัฒนธรรม และประเพณีที่มาจากคนละถิ่น หากแต่เมื่อมารวมตัวกันแล้ว กลับผสานเป็น “คนเมืองสุพรรณ” ได้อย่างกลมกลืน เราเลยจะพาไปเรียนรู้ รับฟังเรื่องราวต่างถิ่นที่มาของ “คนสุพรรณ” ที่ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านถ้อยคำ “เหน่อเสน่ห์” แสนน่ารักและเป็นกันเอง
สาวสวยนักสังคมสายเฮลท์ตี้ “พี่แซ-ตรีชฎา หวังพิทักษ์” ที่จะมาบอกเล่าเรื่องราว “การเปลี่ยนแปลงตัวเอง” ผ่านการ “วิ่ง” กิจกรรมง่ายๆ แต่ได้ผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่
ในหนึ่งรอบชีวิตของคนหนึ่งคน เรามักถูกเฝ้ามองเมื่อครบกำหนดที่ต้องเข้าสู่พิธีกรรมเปลี่ยนผ่านจากช่วงวัยหนึ่งสู่อีกช่วงวัยหนึ่งอยู่เสมอ ยิ่งเป็นช่วงของ วัยรุ่นตอนปลาย ที่กำลังจะก้าวขาเผชิญหน้ากับความจริงในโลกของผู้ใหญ่ ยิ่งมีดวงตาที่ชื่อ ความคาดหวัง ความพร้อม และความเปลี่ยนแปลง มาเฝ้ามอง และลุ้นผลลัพธ์ที่จะเกิดในอนาคตมากขึ้นเป็นเท่าตัว การเผชิญหน้าที่พูดถึง คงไม่มีใครสัมผัส และรู้สึกกับมันได้มากไปกว่ากลุ่มคนจำนวนหลายพันชีวิตที่ถูกจัดอยู่ในสเตตัส ‘นักศึกษา’ เราจึงชวนน้องฝึกงานรุ่นแรก 3 คนของออฟฟิศ มาพูดคุย และแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับ อาชีพในฝัน มุมมองโลกของการทำงาน และความพร้อมที่กำลังจะต้องเปลี่ยนผ่านสู่ชีวิต มนุษย์เงินเดือน Designing Life With A Heart That Loves Design | Pun Khanhathai Prakaiphetkul ‘ปั้น’ คือน้องฝึกงานคนแรก จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เราขอตัวมานั่งคุยด้วยกัน ปั้นเป็นพี่คนโตในบรรดาแก๊งน้องฝึกงานในออฟฟิศ เพราะคณะน้องเรียน 5 ปี มาฝึกงานที่นี่จึงเรียนอยู่ชั้นปีที่ 4 แล้ว ปั้นสร้างรอยยิ้มให้กับออฟฟิศ พร้อมมอบมุมมองใหม่ๆ ในการทำงานแบบเด็กสถาปัตย์ให้กับเรา โลกแปลกใหม่ คือคำนิยามที่ปั้นให้กับการทำงานก่อนมาสัมผัสจริง “ปั้นมองว่า มันเป็นอีกโลกใบหนึ่งที่แปลก […]
‘สะพานควาย’ ที่เราคุ้นเคยในทุกวันนี้ เมื่อก่อนคือพื้นที่ที่เรียกว่า ‘ทุ่งศุภราช’ ทุ่งนากว้างใหญ่ไพศาลทางทิศเหนือของทุ่งพญาไท และเมื่อถึงช่วงฤดูแล้ง นายฮ้อยจากแดนอีสานก็จะนำฝูงควายมาให้ชาวนาแห่งทุ่งศุภราชได้จับจองเป็นเครื่องมือในการทำนา และบริเวณจุดเชื่อมถนนพหลโยธินกับถนนประดิพัทธ์ ก็มีสะพานไม้ที่ชาวบ้านสร้างเอาไว้เป็นทางสัญจร เพื่อให้ทั้ง ‘คน’ และ ‘ควาย’ ได้ใช้เดินทางข้ามคูคลองกันอย่างสะดวก พื้นที่นี้จึงถูกเรียกว่า ‘สะพานควาย’ มาจนถึงปัจจุบัน
งาน ! งาน ! งาน ! คนเมืองเดี๋ยวนี้ให้ความสำคัญกับงานกันสุดๆ วนลูปอยู่ในชีวิตเร่งรีบ เทเพื่อนจนทุกคนเบือนหน้าหนี แฟนมีก็เหมือนไม่มี ส่วนครอบครัวก็นานๆ ที ถึงจะมีแอควิทิตี้ร่วมกัน ใครรู้ตัวว่ากำลังตกอยู่ในสภาวะแบบนี้ เราขอเตือนว่า อย่าเผลอทำแต่งานจนชีวิตด้านอื่นๆ เฟลไปหมด ! มาส่องทริคที่จะช่วยบาลานซ์ชีวิต สนุกกับด้านอื่นๆ หมดเวลาหาข้ออ้างเรื่องงานแล้ว !
ในพื้นที่ 1.5 ล้านตารางกิโลเมตรของเมืองกรุงเรานั้น รู้ไหมว่ายังมีพื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่ที่ไม่มีทะเบียนราษฎร์ ซึ่งนั่นทำให้ระบบการบริหารของภาครัฐ เช่น การเข้าถึงของน้ำประปา หรือไฟฟ้า ไม่สามารถเข้าถึงชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย เช่น เรื่องสุขอนามัย ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิต บึงบางซื่อ บึงน้ำกลางกรุงขนาด 61 ไร่ ที่ล้อมรอบด้วย 5 ชุมชน จนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ประมาณ 250 หลังคาเรือน เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ไม่มีทะเบียนราษฏร์ และเป็นพื้นที่ตาบอดที่ไม่มีทางเข้าออก ในอดีตเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว บึงบางซื่อเป็นแหล่งดินดำ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตปูนซีเมนต์ของโรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ SCG ได้สร้างบ้านให้กับคนงานและครอบครัวเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยรอบบริเวณบึง แต่หลังจากเลิกใช้งาน บึงบางซื่อก็เริ่มมีคนต่างถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นชุมชนแออัดในที่สุด “ตอนที่บ้านยังไม่ขึ้น การเป็นอยู่มันก็อยู่ในสภาพบ้านโทรมๆ ย้อนหลังไปปี พ.ศ. 2535 ตอนนั้นทางผู้ใหญ่ยังไม่ได้ยื่นมือเข้ามาช่วย เราก็จัดตั้งคณะกรรมการ บุกเบิกกันมา การทำงานช่วงนั้นก็เหนื่อยกันมาก เพราะทั้งถูกด่า ถูกแช่ง ซ้ำเติมกันว่าบ้านจะขึ้นได้หรอ เพราะคำดูถูกคำนี้แหละ ทำให้เมื่อมีประชุมที่ชุมชนไหน เราก็ต้องไป กลับมาแล้ว เราก็มาทำที่บ้านเรา” […]
หลายคนอาจเคยโหยหาธรรมชาติอยากย้อนเวลากลับไปในอดีตเพราะชีวิตในเมืองเราอยู่กับความเร่งรีบและความเครียดที่สะสมลองใช้ชีวิตให้ช้าลงเพื่อเพิ่มความสุขให้มากขึ้นกับพื้นที่ที่ยังคงอนุรักษ์เสน่ห์ของวิถีชีวิตคนริมน้ำ “ชุมชนหัวตะเข้” ภาพบ้านเรือนแถวไม้โย้เย้ริมคลองหลังคาสังกะสีผุเก่าหากจะบอกว่าเป็นความสวยงามก็คงไม่ใช่แต่ถ้าบอกว่าเป็น ‘เสน่ห์’ น่าจะเหมาะกว่า เพราะความเก่าแก่ใช่ว่าจะหมายถึงความทรุดโทรมผุพังเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงการผ่านร้อนผ่านหนาวและผ่านเรื่องราวมากมายที่หากมองข้ามความผุพังทรุดโทรมเข้าไปให้ลึกก็จะเห็นเสน่ห์ในความเก่านั้น | คน + น้ำ = ชีวิต ชุมชนหัวตะเข้ หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ ชุมชนหลวงพรต-ท่านเลี่ยม ที่หลายคนอาจสงสัยว่า “ที่นี่คือที่ไหนต่างจังหวัดหรือเปล่า ?” แต่ชุมชนนี้อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลในเขตลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานครนี่เองซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนริมน้ำ ‘คลองประเวศบุรีรมย์’ อายุกว่า 100 ปี ที่ยังคงวิถีชีวิตริมน้ำไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ซึ่งประวัติการขุดคลองนี้มีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยการขุดในครั้งนี้เพื่อเป็นการเชื่อมต่อการคมนาคมทางน้ำจากคลองพระโขนงไปยังปากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา แต่ระหว่างที่ขุดคลองนั้นมีการขุดค้นพบหัวจระเข้ใหญ่อยู่กลางสี่แยกซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ‘สี่แยกคลองหัวตะเข้’ และหัวจระเข้ที่ขุดได้มานั้นชาวบ้านสมัยนั้นเชื่อว่าเป็นจระเข้ศักดิ์สิทธิ์จึงได้นำหัวจระเข้ขึ้นมาบูชาโดยคนสมัยก่อนจะเรียก ‘จระเข้’ แบบสั้นๆว่าตะเข้จึงเพี้ยนมาเป็นคำว่า “หัวตะเข้” จึงกลายเป็นชื่อชุมชนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วิถีชีวิตของชาว ‘ชุมชนหัวตะเข้’ ทำให้ย้อนนึกไปถึงสมัยก่อนเราผูกพันกับคลองโดยเห็นได้จากการปลูกบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งคลองและอาศัย ‘น้ำ’ เพื่อความสะดวกในการทำมาหากินหาสัตว์น้ำด้วยอุปกรณ์พื้นบ้าน เช่น “การยกยอ” หรือ “ทอดแห” การเดินทางไปมาหาสู่กันด้วยเรือเป็นหลักและที่เป็นเอกลักษณ์เลยคือการขายของบนเรือไม่ว่าจะเป็น ก๋วยเตี๋ยวเรือป๊อกๆ(ที่เรียกว่าป๊อกๆเพราะมาจากเสียงเคาะเรียกให้คนออกออกมาซื้อนั่นเอง) หรือเรือขายของชำของจิปาถะทุกอย่างที่มีมาให้เลือกตามใจชอบรวมไปถึงการเติบโตของสัตว์หายากที่อาศัยอยู่เฉพาะริมน้ำที่อุดมสมบูรณ์เท่านั้น ทั้งหมดนี้กลายเป็นสายใยที่สานความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่ยังคงใช้ชีวิตอยู่ริมน้ำอย่างสงบและเรียบง่ายตลอดมา และอีกพื้นที่สำคัญที่ทำให้เห็นภาพวิถีชีวิตริมน้ำอย่างชัดเจนมากขึ้นนั่นคือ ‘ศาลาท่าน้ำ’ ซึ่งเป็นเหมือนพื้นที่อเนกประสงค์ของคนที่อยู่บ้านริมน้ำคล้ายกับชานของบ้านที่สมาชิกทุกคนในบ้านจะมารวมกันที่นี่เหมือนเป็นพื้นที่ต้อนรับเพื่อนบ้าน นั่งสังสรรค์กินข้าว ตกปลา สนทนา พักผ่อนนอนกลางวันบางคนก็นั่งอยู่ทั้งวันตั้งแต่เช้าจรดบ่ายทั้งการซื้อของกินของใช้จากพ่อค้าแม่ค้าที่พายเรือมาขายตลอดวัน […]