‘ตั๋วรถไฟใส่นิ้ว’ ที่ญี่ปุ่น บอกที่หมายผ่านสีและตัวอักษร
‘Ippei Tsujio’ กราฟิกดีไซเนอร์ชาวญี่ปุ่นปิ๊งไอเดีย ‘ตั๋วรถไฟสวมนิ้ว’ เพื่อแก้ปัญหาตั๋วหล่นหาย
‘Ippei Tsujio’ กราฟิกดีไซเนอร์ชาวญี่ปุ่นปิ๊งไอเดีย ‘ตั๋วรถไฟสวมนิ้ว’ เพื่อแก้ปัญหาตั๋วหล่นหาย
ชวนดูการออกแบบ YORIDOKO ศูนย์จ้างงานสำหรับคนพิการ ประเทศญี่ปุ่น โดยสถาปนิกท้องถิ่น
‘เสียภาษี’ ได้ยินคำนี้ทีไรเป็นต้องทำหน้ามุ่ย เพราะว่าบางคนก็ต้องยอมควักเงินจ่ายในอัตราที่สูง แม้แต่คนญี่ปุ่นเองก็เช่นกัน เขามีการเก็บภาษีคนในเมืองเพื่อบำรุงท้องถิ่น ซึ่งอัตราน่าจะสูงกว่าประเทศไทยด้วยซ้ำ ประชาชนรู้ และรัฐบาลก็รู้ดีว่าคนจ่ายนั้นทรมานใจแค่ไหน รัฐบาลจึงคิดหาวิธีว่า จะทำอย่างไรดีที่จะทำให้ชาวเมืองนั้นรู้สึกดีขึ้นเมื่อจ่ายภาษี รัฐบาลญี่ปุ่นจึงคิดระบบ ‘Furusato Nozei’ หรือเรียกอีกอย่างว่า ‘ภาษีบ้านเกิด’ ที่รัฐบาลจะนำเงินไปพัฒนาถิ่นกำเนิดที่โตมา หรือหากเรายินดีจ่ายไปยังเมืองอื่นๆ ก็ย่อมได้ ซึ่งเป็นส่วนที่จ่ายเพิ่มเติมจากการเสียภาษีปกติ โดยความน่ารักของชาวญี่ปุ่น คือเมื่อเราจ่ายภาษีบ้านเกิดให้กับทางเมืองนั้นๆ ไป เขาจะส่งของดีประจำท้องถิ่นมาให้เราถึงหน้าบ้านแทนคำขอบคุณ โดยของขอบคุณนั้นช่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นที่เรายอมควักเงินจ่ายภาษีไป ไม่ว่าจะเป็นองุ่นเขียวจากเมืองยามานาชิ เนื้อหมูสไลด์อย่างดี 4 กิโลกรัมจากเมืองโทกาจิ ฮอกไกโด และปูขนจากเมืองยาคุโมะ ฮอกไกโด นับว่าเป็นสินค้ายอดนิยมของการเสียภาษี นอกจากนี้ยังมีข้าวสาร ผักดอง กุ้งหวาน กุ้งทะเล เนื้อวัว เนื้อหมู หรือเมล่อนพันธุ์ดี ซึ่งสินค้าบางอย่างถ้าไปซื้อเองอาจจะมีราคาสูง แต่พอจ่ายภาษีและได้สินของเหล่านี้กลับมาตอบแทน พวกแม่บ้านญี่ปุ่นจึงรู้สึกว่าคุ้มค่า ทำให้ตอนนี้แม่บ้านญี่ปุ่นจ่ายภาษีเสมือนการชอปปิงกันเลย เพราะมีบริษัทเอกชนเข้ามาทำเว็บไซต์ เพื่อตอบโจทย์การจ่ายภาษีที่สะดวกขึ้น คือสามารถคลิกได้เลยว่าจะจ่ายภาษีให้บ้านเกิดตัวเองหรือท้องถิ่นอื่นๆ ที่ไหน และจะได้ของตอบแทนเป็นอะไรบ้าง เมื่อเลือกแล้วสามารถจ่ายภาษีผ่านบัตรเครดิตได้เลย เป็นไงล่ะเสมือนชอปปิงของออนไลน์ไม่มีผิด วิธีของรัฐบาลญี่ปุ่นนั้นเป็นการใช้แนวคิดที่มีความเห็นอกเห็นใจเป็นพื้นฐานสำคัญ โดยผลลัพธ์ที่ได้ช่างคุ้มค่า นอกจากจะได้เก็บภาษีมากขึ้นโดยคนจ่ายนั้นรู้สึกสบายใจเปราะหนึ่งแล้ว อีกทางคือเป็นการช่วยอุดหนุนเกษตรกรในเวลาเดียวกัน […]
ชวนฟังเสียงเด็กไทยที่อยู่ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในญี่ปุ่น กับการรับมือสุดชิลของรัฐบาล
สังคมในปัจจุบันนี้ หลายสิ่งหลายอย่างกำลังสร้างให้มนุษย์ทุกคนเต็มไปด้วยความสมบูรณ์แบบ ต้องประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย หรือที่เรียกว่า Perfectionist ที่แม้ผิดพลาดเพียงเล็กน้อยกลับถูกมองว่าเป็นเรื่องใหญ่คล้ายกับบาดแผลที่ไม่มีวันจางหายไปจากชีวิต เหมือนกับว่าชีวิตนี้จะไม่สามารถเดินออกนอกกรอบแห่งความสมบูรณ์แบบที่ตั้งเอาไว้ — หลุมพรางของความสมบูรณ์แบบ — แม้อาการของมนุษย์สมบูรณ์แบบจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็เป็นอันตรายไม่เบา เพราะจากผลการศึกษาของโทมัส เคอร์แรน (Thomas Curran) และคณะจากมหาวิทยาลัยบาธ ประเทศอังกฤษ ระบุว่า การยึดติดในความสมบูรณ์แบบคือปัญหาด้านสุขภาพจิต ทั้งความกังวล ความกดดัน ความเครียด ที่ส่งผลให้เหล่า Perfectionist มีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้า มีโอกาสทำร้ายตัวเอง หรือถึงกับฆ่าตัวตายได้มากกว่าคนทั่วไป นี่จึงนำมาสู่สิ่งที่เรียกว่า คินสึงิ (Kintsugi) ศิลปะเยียวยาบาดแผลที่เรากำลังจะพูดถึง — คินสึงิ (Kintsugi) คือศิลปะการซ่อมแซมด้วยทองและยางไม้ — หากทุกคนรู้จักยอมรับ ความผิดพลาดก็เป็นส่วนหนึ่งที่ขับเคลื่อนชีวิตให้เป็นชีวิตที่สมบูรณ์แบบ เราได้ครูคนใหม่ที่สอนให้เรารู้จักเรียนรู้และปรับตัวให้เราเป็นคนใหม่ที่ดีขึ้น คล้ายคลึงกับแนวความคิดที่ได้มาจากศิลปะซ่อมแซมถ้วยชามแตกด้วยรักทองที่ชื่อว่า ‘คินสึงิ’ (Kintsugi) หนึ่งในงานฝีมือสัญชาติญี่ปุ่นที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน กลายเป็นปรัชญาและความเชื่อที่ว่า ถ้วยชามที่แตกบิ่นนั้นไม่ควรทิ้งขว้าง แต่ควรซ่อมเพื่อให้พวกมันกลับคืนมามีชีวิตอีกครั้ง เพราะในการดำเนินชีวิตของเราทุกคนนั้น ล้วนหลีกหนีความเจ็บปวดไปไม่พ้นทั้งทางกายและทางใจ ซึ่งบาดแผลทางใจเหล่านี้ควรได้รับการเยียวยาให้กลับมาดีดังเดิม ดังนั้นปรัชญา ‘คินสึงิ’ จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อซ่อมแซมบาดแผลทางใจที่หนักหนาและค้างคา เพื่อที่เราจะได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและเข้มแข็งมากขึ้น โดยศาสตร์นี้มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 สมัยโชกุนคนที่ 8 […]
ปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกแก้ไม่ตกคือ ‘ขยะ’ ที่พอกพูนจนกลายเป็นภูเขากองโต ปีที่แล้วประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้น 27.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ราว 1.64% โดยถูกคัดแยกและนำกลับไปใช้ประโยชน์ 34% กำจัดอย่างถูกต้อง 39% และกำจัดไม่ถูกต้อง 27% นอกจากตัวเลขที่เราเห็น ยังมีขยะตกค้างสะสมที่เพิ่มขึ้นทุกปีไม่ต่ำกว่าปีละ 10 ล้านตัน
เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักสิ่งที่เรียกว่า ‘โอทอป (OTOP)’ ผลิตภัณฑ์อันโด่งดังของคนไทย วันนี้ Urban Creature จึงพาบินลัดฟ้าไปทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ไปดูพื้นที่ต้นแบบของโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของไทย ที่อยู่ใน โออิตะ (Oita) จังหวัดที่ได้รับฉายาว่าเป็น “เกียวโตน้อยแห่งคิวซู” เมืองเล็กๆ ที่ไม่ได้หรูหราฟู่ฟ่า แต่เปี่ยมไปด้วยมนต์เสน่ห์มากมาย ทั้งจากธรรมชาติ อาหารการกิน ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่แสนเรียบง่ายของผู้คน รวมไปถึงวิธีการพัฒนาท้องถิ่นของตัวเองจนเกิดความยั่งยืน ผ่านโครงการ One Village, One Product (OVOP) หรือหนึ่งชุมชนหนึ่งผลิตภัณฑ์ จนกลายเป็นต้นแบบการพัฒนาให้กับหลายประเทศทั่วโลก | หมู่บ้านโอยามา ณ ที่แห่งนี้ คือต้นกําเนิด OVOP เพราะความยากจนแร้นแค้นของผู้คน จนนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในปี พ.ศ 2504 ชาวบ้านกว่า 1000 หลังคาเรือนในหมู่บ้านโอยามา จังหวัดโออิตะจึงได้รวมตัวกันลุกขึ้นมา คิดริเริ่ม สร้างสรรค์โครงการ “บ๊วย และเกาลัดแบบใหม่” (New Plum and Chestnut: NPC) ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมการเพาะปลูกบ๊วยและเกาลัดโดยใช้รูปการเกษตรแบบผสมผสานเข้ามาแทนการปลูกข้าวที่เป็นพืชหลักเดิม […]
พาไปส่องย่านที่อยู่อาศัยของชาวโตเกียวในมุมมองที่แปลกตาออกไป สัมผัสความเจแปนนิสแบบคนโตเกียวแท้ๆ ที่ไม่ใช่ย่านดังอย่างที่ใครรู้จักกัน
นอกจากวิวจะสวยแล้ว เค้าก็ให้ความสำคัญกับรถไฟมากๆ แต่ละขบวนพิเศษจะมี ธีม เรื่องราว และ ดีไซน์ ที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป แบบที่เค้าเรียกกันว่าเป็น design&story train
หากจะพูดถึงประเทศที่มีสุนทรียะและรื่นรมย์กับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลมากที่สุด คงจะมีญี่ปุ่นประเทศเดียวนี่แหละที่ผุดขึ้นมาทันทีในความคิดและอาหารก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวแห่งฤดูกาลต่างๆได้อย่าง
จับต้องได้