สะท้อนสังคม LGBTQ+ ในดินแดนญี่ปุ่นผ่านมังงะ ‘One Piece’

เปิดมุมมองสังคม LGBTQ+ ในดินแดนญี่ปุ่นผ่าน ‘เกาะกะเทย’ ใน “One Piece” มังงะที่สะท้อนภาพความหลากหลายทางเพศได้อย่างชัดเจน และหลายแง่มุม ทั้งตัวละคร การสร้างเกาะ การนำเรื่องราว สังคม วัฒนธรรม ในโลกแห่งความจริงมาแต่งแต้มสีสันให้กับโลกของวันพีซ นับว่าเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้วันพีซนั้นประสบความสำเร็จไปทั่วโลก และเป็นอีกหนึ่งมังงะที่กลายเป็นเครื่องมือซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในการสื่อสารตั้งแต่วัฒนธรรม เยาวชน สู่ผู้คนทั่วโลก ทั้งยังสะท้อนวัฒนธรรม และภาพสังคม LGBTQ+ ในประเทศญี่ปุ่นได้อย่างดีเยี่ยม

ภาษีที่จ่ายไป ได้อะไรกลับมา

รู้หรือไม่ รายได้ของรัฐบาลในหลายประเทศมาจากการเก็บภาษีประชาชน โดยในปี พ.ศ. 2562 กรมสรรพากรเก็บภาษีได้มากถึง 2.01 ล้านล้านบาท มาจากภาษีมูลค่าเพิ่มถึง 8 แสนล้านบาท รองลงมาเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคล 6.94 แสนล้านบาท ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 3.36 แสนล้านบาท ตามลำดับ

ห้องน้ำโปร่งใส จะทึบแสงเมื่อล็อก

ชิเงรุ บัน (Shigeru Ban) สถาปนิกชื่อดังชาวญี่ปุ่น ที่โดดเด่นด้วยการออกแบบอาคารจากวัสดุรีไซเคิล เมื่อปี ค.ศ. 2011 เขาได้ออกแบบที่พักชั่วคราวให้กับผู้ประสบภัยพิบัติที่เมืองมิยางิ ประเทศญี่ปุ่น และเมื่อปี ค.ศ. 2014 ชิเงรุ บัน ได้รับรางวัล ‘Pritzker Prize’ ที่จะมอบให้แก่งานสถาปัตยกรรมดีเด่นที่มีคุณภาพในระดับสากลนั่นเอง

ชาวญี่ปุ่นยอมจ่ายภาษีท้องถิ่น แลกของดีประจำเมืองที่รัฐจัดส่งถึงหน้าบ้าน

‘เสียภาษี’ ได้ยินคำนี้ทีไรเป็นต้องทำหน้ามุ่ย เพราะว่าบางคนก็ต้องยอมควักเงินจ่ายในอัตราที่สูง แม้แต่คนญี่ปุ่นเองก็เช่นกัน เขามีการเก็บภาษีคนในเมืองเพื่อบำรุงท้องถิ่น ซึ่งอัตราน่าจะสูงกว่าประเทศไทยด้วยซ้ำ ประชาชนรู้ และรัฐบาลก็รู้ดีว่าคนจ่ายนั้นทรมานใจแค่ไหน รัฐบาลจึงคิดหาวิธีว่า จะทำอย่างไรดีที่จะทำให้ชาวเมืองนั้นรู้สึกดีขึ้นเมื่อจ่ายภาษี รัฐบาลญี่ปุ่นจึงคิดระบบ ‘Furusato Nozei’ หรือเรียกอีกอย่างว่า ‘ภาษีบ้านเกิด’ ที่รัฐบาลจะนำเงินไปพัฒนาถิ่นกำเนิดที่โตมา หรือหากเรายินดีจ่ายไปยังเมืองอื่นๆ ก็ย่อมได้  ซึ่งเป็นส่วนที่จ่ายเพิ่มเติมจากการเสียภาษีปกติ โดยความน่ารักของชาวญี่ปุ่น คือเมื่อเราจ่ายภาษีบ้านเกิดให้กับทางเมืองนั้นๆ ไป เขาจะส่งของดีประจำท้องถิ่นมาให้เราถึงหน้าบ้านแทนคำขอบคุณ  โดยของขอบคุณนั้นช่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นที่เรายอมควักเงินจ่ายภาษีไป ไม่ว่าจะเป็นองุ่นเขียวจากเมืองยามานาชิ เนื้อหมูสไลด์อย่างดี 4 กิโลกรัมจากเมืองโทกาจิ ฮอกไกโด และปูขนจากเมืองยาคุโมะ ฮอกไกโด นับว่าเป็นสินค้ายอดนิยมของการเสียภาษี นอกจากนี้ยังมีข้าวสาร ผักดอง กุ้งหวาน กุ้งทะเล เนื้อวัว เนื้อหมู หรือเมล่อนพันธุ์ดี ซึ่งสินค้าบางอย่างถ้าไปซื้อเองอาจจะมีราคาสูง แต่พอจ่ายภาษีและได้สินของเหล่านี้กลับมาตอบแทน พวกแม่บ้านญี่ปุ่นจึงรู้สึกว่าคุ้มค่า ทำให้ตอนนี้แม่บ้านญี่ปุ่นจ่ายภาษีเสมือนการชอปปิงกันเลย เพราะมีบริษัทเอกชนเข้ามาทำเว็บไซต์ เพื่อตอบโจทย์การจ่ายภาษีที่สะดวกขึ้น คือสามารถคลิกได้เลยว่าจะจ่ายภาษีให้บ้านเกิดตัวเองหรือท้องถิ่นอื่นๆ ที่ไหน และจะได้ของตอบแทนเป็นอะไรบ้าง เมื่อเลือกแล้วสามารถจ่ายภาษีผ่านบัตรเครดิตได้เลย เป็นไงล่ะเสมือนชอปปิงของออนไลน์ไม่มีผิด วิธีของรัฐบาลญี่ปุ่นนั้นเป็นการใช้แนวคิดที่มีความเห็นอกเห็นใจเป็นพื้นฐานสำคัญ โดยผลลัพธ์ที่ได้ช่างคุ้มค่า นอกจากจะได้เก็บภาษีมากขึ้นโดยคนจ่ายนั้นรู้สึกสบายใจเปราะหนึ่งแล้ว อีกทางคือเป็นการช่วยอุดหนุนเกษตรกรในเวลาเดียวกัน  […]

‘Kintsugi’ ศิลปะแห่งการแตกร้าว ร่องรอยสวยงามแห่งความบอบช้ำ

สังคมในปัจจุบันนี้ หลายสิ่งหลายอย่างกำลังสร้างให้มนุษย์ทุกคนเต็มไปด้วยความสมบูรณ์แบบ ต้องประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย หรือที่เรียกว่า Perfectionist ที่แม้ผิดพลาดเพียงเล็กน้อยกลับถูกมองว่าเป็นเรื่องใหญ่คล้ายกับบาดแผลที่ไม่มีวันจางหายไปจากชีวิต เหมือนกับว่าชีวิตนี้จะไม่สามารถเดินออกนอกกรอบแห่งความสมบูรณ์แบบที่ตั้งเอาไว้ — หลุมพรางของความสมบูรณ์แบบ — แม้อาการของมนุษย์สมบูรณ์แบบจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็เป็นอันตรายไม่เบา เพราะจากผลการศึกษาของโทมัส เคอร์แรน (Thomas Curran) และคณะจากมหาวิทยาลัยบาธ ประเทศอังกฤษ ระบุว่า การยึดติดในความสมบูรณ์แบบคือปัญหาด้านสุขภาพจิต ทั้งความกังวล ความกดดัน ความเครียด ที่ส่งผลให้เหล่า Perfectionist มีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้า มีโอกาสทำร้ายตัวเอง หรือถึงกับฆ่าตัวตายได้มากกว่าคนทั่วไป นี่จึงนำมาสู่สิ่งที่เรียกว่า คินสึงิ (Kintsugi) ศิลปะเยียวยาบาดแผลที่เรากำลังจะพูดถึง — คินสึงิ (Kintsugi) คือศิลปะการซ่อมแซมด้วยทองและยางไม้ — หากทุกคนรู้จักยอมรับ ความผิดพลาดก็เป็นส่วนหนึ่งที่ขับเคลื่อนชีวิตให้เป็นชีวิตที่สมบูรณ์แบบ เราได้ครูคนใหม่ที่สอนให้เรารู้จักเรียนรู้และปรับตัวให้เราเป็นคนใหม่ที่ดีขึ้น คล้ายคลึงกับแนวความคิดที่ได้มาจากศิลปะซ่อมแซมถ้วยชามแตกด้วยรักทองที่ชื่อว่า ‘คินสึงิ’ (Kintsugi) หนึ่งในงานฝีมือสัญชาติญี่ปุ่นที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน กลายเป็นปรัชญาและความเชื่อที่ว่า ถ้วยชามที่แตกบิ่นนั้นไม่ควรทิ้งขว้าง แต่ควรซ่อมเพื่อให้พวกมันกลับคืนมามีชีวิตอีกครั้ง เพราะในการดำเนินชีวิตของเราทุกคนนั้น ล้วนหลีกหนีความเจ็บปวดไปไม่พ้นทั้งทางกายและทางใจ ซึ่งบาดแผลทางใจเหล่านี้ควรได้รับการเยียวยาให้กลับมาดีดังเดิม ดังนั้นปรัชญา ‘คินสึงิ’ จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อซ่อมแซมบาดแผลทางใจที่หนักหนาและค้างคา เพื่อที่เราจะได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและเข้มแข็งมากขึ้น โดยศาสตร์นี้มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 สมัยโชกุนคนที่ 8 […]

แจกสูตร ‘โมเดลเมือง Zero Waste’ ฉบับ Akira Sakano ฮีโร่สาวผู้พลิกโฉมเมืองปลอดขยะ

ปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกแก้ไม่ตกคือ ‘ขยะ’ ที่พอกพูนจนกลายเป็นภูเขากองโต ปีที่แล้วประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้น 27.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ราว 1.64% โดยถูกคัดแยกและนำกลับไปใช้ประโยชน์ 34% กำจัดอย่างถูกต้อง 39% และกำจัดไม่ถูกต้อง 27% นอกจากตัวเลขที่เราเห็น ยังมีขยะตกค้างสะสมที่เพิ่มขึ้นทุกปีไม่ต่ำกว่าปีละ 10 ล้านตัน

OITA – One Village One Product โออิตะ จังหวัดเล็กๆ ในญี่ปุ่น ต้นแบบ ‘หนึ่งชุมชนหนึ่งผลิตภัณฑ์’

เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักสิ่งที่เรียกว่า ‘โอทอป (OTOP)’ ผลิตภัณฑ์อันโด่งดังของคนไทย วันนี้ Urban Creature จึงพาบินลัดฟ้าไปทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ไปดูพื้นที่ต้นแบบของโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของไทย ที่อยู่ใน โออิตะ (Oita) จังหวัดที่ได้รับฉายาว่าเป็น “เกียวโตน้อยแห่งคิวซู” เมืองเล็กๆ ที่ไม่ได้หรูหราฟู่ฟ่า แต่เปี่ยมไปด้วยมนต์เสน่ห์มากมาย ทั้งจากธรรมชาติ อาหารการกิน ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่แสนเรียบง่ายของผู้คน รวมไปถึงวิธีการพัฒนาท้องถิ่นของตัวเองจนเกิดความยั่งยืน ผ่านโครงการ One Village, One Product (OVOP) หรือหนึ่งชุมชนหนึ่งผลิตภัณฑ์ จนกลายเป็นต้นแบบการพัฒนาให้กับหลายประเทศทั่วโลก | หมู่บ้านโอยามา ณ ที่แห่งนี้ คือต้นกําเนิด OVOP เพราะความยากจนแร้นแค้นของผู้คน จนนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในปี พ.ศ 2504 ชาวบ้านกว่า 1000 หลังคาเรือนในหมู่บ้านโอยามา จังหวัดโออิตะจึงได้รวมตัวกันลุกขึ้นมา คิดริเริ่ม สร้างสรรค์โครงการ “บ๊วย และเกาลัดแบบใหม่” (New Plum and Chestnut: NPC) ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมการเพาะปลูกบ๊วยและเกาลัดโดยใช้รูปการเกษตรแบบผสมผสานเข้ามาแทนการปลูกข้าวที่เป็นพืชหลักเดิม […]

อยู่ อย่าง อยาก อยู่ในดินแดนเมือง “โตเกียว”

พาไปส่องย่านที่อยู่อาศัยของชาวโตเกียวในมุมมองที่แปลกตาออกไป สัมผัสความเจแปนนิสแบบคนโตเกียวแท้ๆ ที่ไม่ใช่ย่านดังอย่างที่ใครรู้จักกัน

10 ขบวนรถไฟสวยสุดยอดในประเทศญี่ปุ่น

นอกจากวิวจะสวยแล้ว เค้าก็ให้ความสำคัญกับรถไฟมากๆ แต่ละขบวนพิเศษจะมี ธีม เรื่องราว และ ดีไซน์ ที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป แบบที่เค้าเรียกกันว่าเป็น design&story train

1 2 3 4 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.