EAT

กินอย่างไร ให้เป็นมิตรต่อท้องทะเล

ในขณะที่เรากังวลว่าอาหารทะเลที่ซื้อมาจากตลาดจะสะอาดปลอดภัยดีหรือไม่ ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 รอบนี้ เราได้รู้จักกับ ‘Fisherfolk’ หรือ ‘ร้านคนจับปลา’ ร้านค้าของกลุ่มชาวประมงเรือเล็กกลุ่มหนึ่งที่รวมตัวกันก่อตั้งกิจการขายปลาและอาหารทะเลของตนเอง ซึ่งเรียกความมั่นใจให้เราได้ว่าสะอาด ปลอดภัยแน่นอน เมื่อมีโอกาสพวกเขาจึงพากันมาเปิดตลาดที่งานเทศกาลอาหารดี(ย์) ประจำปี ‘มหาส้มมุทร’ ที่สวนครูองุ่น ทองหล่อซอย 3 เมื่อปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ความพิเศษของร้านคนจับปลาไม่เพียงแค่ขายอาหารทะเลสด สะอาด ปลอดสารเคมีในกระบวนการแช่แข็งหรือแปรรูปเท่านั้น แต่สินค้าในร้านสามารถตรวจสอบที่มาที่ไปว่าใช้เครื่องมืออะไรในการจับ มีวิธีเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ได้มาอย่างไร อีกทั้งเบื้องหลังของคนกลุ่มนี้ไม่ใช่แค่ทำประมงอย่างเดียว แต่ยังสวมบทบาทเป็นนักอนุรักษ์และฟื้นฟูท้องทะเลไทยควบคู่ไปด้วย “ทุกหนึ่งปีนอกจากจะปันหุ้นให้สมาชิกในกลุ่มแล้ว เราจะแบ่งกำไรส่วนหนึ่งกลับไปฟื้นฟูดูแลทะเลในรูปแบบของบ้านปลา ซึ่งหมู่บ้านเราจะทำกันปีละ 3 ครั้ง โดยครั้งแรกจะทิ้งลงทะเลในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้” คำบอกเล่าของคุณลุงจากร้านคนจับปลา จ.ประจวบคีรีขันธ์  และเนื่องจากร้านคนจับปลาเป็นศูนย์กลางในการรับและกระจายสินค้าที่ส่งตรงมาจากกลุ่มประมง จึงมีสมาชิกในเครือข่ายหลายจังหวัด หนึ่งในนั้นคือหมู่บ้านชาวประมงแหลมสิงห์ จ.จันทบุรี “หมู่บ้านชาวประมงแหลมสิงห์ของเรา นอกจากไม่ใช้เครื่องมือที่ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมแล้ว ในทุกๆ ปีคนในหมู่บ้านจะรวมตัวกันจัดเตรียมอุปกรณ์บ้านปลา เพื่อทำที่อยู่อาศัยให้สัตว์น้ำ ก่อนขนใส่เรือไปวางตามจุดต่างๆ ในทะเลใกล้ๆ กับแนวปะการังเทียม” คุณป้าจากหมู่บ้านชาวประมงแหลมสิงห์เล่าให้เราฟัง การได้รู้จักและพูดคุยกับสมาชิกร้านคนจับปลาวันนั้น นำพาให้เรามานั่งอยู่กลางวงสนทนาร่วมพูดคุยเรื่องระบบอาหารยั่งยืน รู้ที่มา เข้าใจเส้นทางอาหาร และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค กับ ‘พี่แท็ป-วิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี’ […]

EAT

ลูกชิ้น – มันสมองหมูไทยทำ เมนูระดับตำนานหากินยาก ที่ทำจากวัตถุดิบชวนอี๋

หากถามคุณว่าเคยกินเมนูที่ทำจากเครื่องในสัตว์กันไหมคะ ? เราเชื่อว่าหลายคนต้องเคยลิ้มลองกันมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่ถ้าเป็น “สมองหมู” ล่ะเคยกินหรือเปล่า เราคนหนึ่งแหละที่ส่ายหัว ทั้งไม่เคยกินและไม่กล้ากิน

กรอบนอกละมุนในไปกับ ‘Canelé’ ขนมหวานหาทานยากทางตอนใต้แห่งฝรั่งเศส

เมื่อถามถึงข้อสงสัยที่ได้ยินมาเกี่ยวกับ ‘Canelé’ ว่าจริงไหม? ที่ขนมชนิดนี้เป็นหนึ่งในขนมปราบเซียน พี่อู๋นิ่งไปสักพักก่อนเปรยยิ้มแล้วพูดว่า “จริง !” หนึ่งคำพูดของ ‘พี่อู๋ สัจวัต’ เชฟขนมหวานและเจ้าของร้าน Entree Coffee & Brunch ที่ในระหว่างการพูดคุยเราสามารถรับรู้ได้ถึงความรักจวบจนความสุขของคนทำขนมซึ่งล้วนแล้วแต่แอบแฝงอยู่ในคานาเลทุกชิ้น

ตามล่าที่มาของฉายา Super Fruit ที่วงการผลไม้ต่างยกให้แก้วมังกร

หากถามคนรักผลไม้ว่าฉายา ‘Super Fruit’ คือผลไม้ชนิดใด หนึ่งในคำตอบของผลไม้นั้น คือ ‘แก้วมังกร’ ผลไม้กลีบสวย สีสดใส รสหวานชื่นใจ มีหลากพันธุ์ แก้วมังกรไม่ได้มีดีแค่รูปร่างหรือ รสชาติเท่านั้น แต่สรรพคุณยังเหลือล้น ดีต่อสุขภาพ และหากได้รับการต่อยอดยังส่งผลดีต่อเกษตรกรอีกด้วย Hunt จะพาไปสวนเกษตรแก้วมังกร Kenny Dragonfruit สวนแก้วมังกรที่ลงรากฝังดินตั้งแต่แก้วมังกรยังไม่เป็นที่นิยม จนมีประสบการณ์มากกว่า 24 ปี เพื่อตามล่าเบื้องหลังความเป็นสุดยอดผลไม้ว่าเป็นอย่างไร

EAT

ตามรอย ‘ชา’ ข้ามโพ้นทะเล ผ่านเส้นทางเสื่อผืนหมอนใบของ ‘ชาเทพพนม’

เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นลิ้นกับรส ‘ชา’ กันดี เพราะเมื่อไหร่ที่อยากพักผ่อนก็มักจะปล่อยตัวเองให้มีช่วงเวลาTea Time กันอยู่เสมอ ซึ่งชาที่เรากินกันประจำนั้นมีหลายรูปแบบ แล้วแต่จริตนิยมแตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็น ชานม ชาเย็น หรือชาอุ่นๆ สักแก้ว

‘ปลาร้าพาสเจอร์ไรซ์’ วัตถุดิบไทยอีสานสู่ความเป็นสากล

หากนึกถึงอาหารอีสาน หนึ่งวัตถุดิบที่อยู่คู่ครกเคียงจานมายาวนานคือ ‘ปลาร้า’. รสนัวแซ่บถึงใจของปลาร้าสร้างความหลงใหลให้ผู้รักการกินแบบไทยอีสาน จนปัจจุบันเราสามารถเห็นปลาร้าบรรจุขวดตามท้องตลาดมากขึ้น ลบภาพจำที่เครื่องปรุงรสจะมีเพียงน้ำปลา น้ำตาล ซีอิ๊ว เท่านั้น . Hunt ในตอนนี้จึงออกไปตามล่าเบื้องหลังปลาร้าบรรจุขวดที่ไม่ได้มีหมุดหมายเพียงเพื่อขยายอุตสาหกรรมปลาร้า แต่ยังเป็นหนึ่งในวิธีพาสเจอร์ไรซ์ ทลายกำแพงที่บางคนมองปลาร้าว่าเป็นอาหารไม่สะอาด โดยผู้ที่จะมาเผยเบื้องลึกการทลายกำแพงนี้คือ ‘โรงงานปลาร้าปลายจวัก’ ผู้สืบสานวิถีอาหารพื้นถิ่นจากโรงหมักปลาร้าแม่สาย จังหวัดสระบุรี ที่ทั้งชีวิตคลุกคลีกับปลาร้ามาถึง 30 กว่าปี ทั้งหมดเพื่อออกไปค้นพบคุณค่าของปลาร้ายุคใหม่ที่ไม่ได้เพียงหยิบรสชาติลงจานแต่ยังส่งผ่านวัฒนธรรมการกินลงไปในขวดส่งออกสู่สากล

เผ็ดร้อนเครื่องแกงใต้ เสน่ห์จากวัตถุดิบชุมพรถึงปากคนกรุง

Neighbourfoods คือแพลตฟอร์มขายอาหารใต้จากวัตถุดิบและรสชาติแบบชาวใต้แท้ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของ ‘ชีพจรลง South’ โปรเจกต์เรียนรู้และร่วมล่าวัตถุดิบจากมือเชฟท้องถิ่นชาวใต้มาปรับนิดผสมหน่อยในฝีมือแบบเชฟชาวเมือง

‘เต้าหู้ดำ’ ซึมซับรสชาติแห่งโพธาราม

หากพูดถึงสีของเต้าหู้คุณจะนึกถึงสีอะไร ? ด้วยภาพจำของคนทั่วไป ‘สีขาว’ น่าจะเป็นคำตอบแรกที่ผุดขึ้นมาทันที แต่ครั้งนี้จะต่างออกไปเล็กน้อย เพราะเราจะ ไปตามล่าเต้าหู้ที่อยู่คู่ตรงข้ามกับภาพจำทั่วไป เพราะเต้าหู้ชนิดนี้มีสี ‘ดำ’ ภายใต้สิ่งที่ซ่อนอยู่ในเนื้อเต้าหู้สีดำ คือ วิธีการกลั่นรสชาติให้รสเค็มนำรสหวา นกำลังพอดี พ่วงด้วยความหอมจากเครื่องพะโล้ที่เป็นตัวทวีความอร่อยให้กลมก ล่อมยิ่งขึ้น ซึ่งการรังสรรค์ความนุ่ม เนียนละมุนลิ้นจนเป็นเอกลักษณ์นั้นมีเบื้องหลัง มาจากร้าน ‘เต้าหู้ดำแม่เล็ก’ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ผู้พัฒนาเต้าหู้ดำให้กลายเป็น ของขึ้นชื่อให้กับชุมชน ด้วยวิถีชีวิตผูกพันกับเทศกาลกินเจ ทำให้การถนอมอาหารเกิดเป็นวัตถุดิบเฉ พาะถิ่นมานานกว่า 50 ปี เราจึงพาไปล้วงลึกถึงเบื้องหลังใน “เต้าหู้ดำจากการ ถนอมอาหาร สู่รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์”

EAT

สูดเส้นพาสต้าสด เคี้ยวรสต้นตำรับแฝงประวัติศาสตร์ที่ ‘La Dotta’ พาสต้าบาร์อิตาเลียนแท้

บางครั้งหากอยากกินอาหารอิตาเลียน อาจต้องเข้าไปนั่งในร้านใหญ่ๆ ที่เสิร์ฟเป็นเซ็ตตามแบบฉบับการกินแบบมีพิธีรีตอง (Formal Dinner) จนบางคนไม่กล้าเข้า ทั้งเมนูเรียกน้ำย่อย อาหารจานแรก สลัด ของหวาน และเครื่องดื่ม ทำให้ ‘คุณโชติพงษ์ และ คุณเด็บบี้ ลีนุตพงษ์’ สองสามีภรรยาผู้ชอบกินพาสต้าเป็นชีวิตจิตใจเปิด ‘La Dotta’ ร้านพาสต้าบาร์รสต้นตำรับซึ่งเสิร์ฟเป็นจานเดี่ยว เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงอาหารอิตาเลียนง่ายกว่าเดิม

แกะเส้นทาง ‘มะพร้าวน้ำหอมออร์แกนิค’ ของดีราชบุรี หอมจริงไม่เปรี้ยวซ่า

อะไรเอ่ย ? ผลกลมเขียว แต่เผยผิวจะขาวเนียน เนื้อชวนสัมผัสแถมยังมีกลิ่นหอม ดื่มทีไรก็สดชื่น โอ้ นี้คงเป็นมะพร้าวน้ำห๊อมมมมมมม……หอม กว่าจะเป็นมะพร้าวน้ำหอมสักหนึ่งลูกให้เราได้ดื่มชื่นใจ เส้นทางของมันไม่หอมหวานสักเท่าไหร่หรอกนะ เพราะมะพร้าวน้ำหอมที่มาจากวิถีธรรมชาติ ต้องต่อสู้กับศัตรูพืชตัวร้ายหากไม่แข็งแรงพอก็ต้องล้มหายตายจาก แต่การรักษาดูแลให้อยู่รอดอย่างมีคุณภาพ จนถึงมือผู้บริโภค คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปสำหรับชาวเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมแบบออร์แกนิคที่ “Aromatic Farm” ครั้งนี้ เรามีโอกาสไปเยือน “Aromatic Farm” ที่จังหวัดราชบุรี โดยมี “พี่อร” สาวเก่งเจ้าของสวน พาเราไปคลุกคลีกับสวนมะพร้าวน้ำหอมเกือบทั้งวัน พร้อมกับเล่าขั้นตอนการทำสวนมะพร้าวน้ำหอมให้ฟังแบบหมดเปลือก ตั้งแต่การปลูก ดูแลรักษา ตัดเก็บ หรือแม้กระทั่งเคล็ดลับการเลือกมะพร้าวน้ำหอมแท้นั้นต้องดูอย่างไร เส้นทางของเจ้ามะพร้าวน้ำหอมจะไปอย่างไรไปติดตามพร้อมๆ กัน เส้นทางอันหอมหวานที่ไม่เหมือนใคร “มะพร้าวน้ำหอม” ผลไม้ลูกกลม สีเขียวที่กินได้ทั้งน้ำและเนื้อ ส่วนรสชาติก็ตามชื่อเรียกเพราะหอม หวาน แถมชื่นใจในคราวเดียว ทำเอาถูกปากถูกใจทั้งชาวไทยและต่างชาติ หากจะถามหาถึงถิ่นกำเนิด บางที่ก็บอกว่าเกิดในเขตร้อนทวีปเอเชีย และในหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะเดียวกันก็มีบางแหล่งข้อมูลบอกว่าเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์กันมา ต่อมามีการกระจายไปปลูกในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ด้วยดินและน้ำที่อุดมสมบูรณ์ มะพร้าวจึงกลายมาเป็นผลไม้เศรษฐกิจของบ้านเรา โดยมีการส่งออกอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น หรือสหรัฐอเมริกา มะพร้าวน้ำหอม ของแท้ต้องมาจาก 4 […]

“พี่อร” คนเมืองหัวใจออร์แกนิค ที่อยากให้เราได้กินมะพร้าวน้ำหอมระดับเทพ

HEART : “พี่อร” คนเมืองหัวใจออร์แกนิค ที่อยากให้เราได้กินมะพร้าวน้ำหอมระดับเทพ จากอดีตสวนมะพร้าวที่เคยแปดเปื้อนสารเคมีในจังหวัดราชบุรี สาวร่างเล็กใจแกร่งจากเมืองใหญ่ สลัดลุคสาวออฟฟิศทิ้งทุกอย่างมาเป็นเกษตรกร พลิกสวนมะพร้าวแห่งนี้ให้เป็นออร์แกนิค 100% ในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี.

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.