ชวนแลกเปลี่ยนเรื่องเพศแบบสับๆ ที่งาน GENDER FAIR 2023 สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 12 ก.พ. 66

ในมิติของความหลากหลายเรื่อง ‘เพศ’ คงไม่ใช่ทุกคนที่รู้และเข้าใจได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าคุณมีความสนใจและอยากเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ‘GENDER FAIR 2023’ เป็นอีกหนึ่งงานที่ไม่ควรพลาด GENDER FAIR 2023 คืองานแฟร์ที่รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับเพศเอาไว้ เพื่อเป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้มาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องเพศในประเด็นต่างๆ ไปพร้อมๆ กัน ผ่าน 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ นอกจากนี้ ภายในงาน GENDER FAIR 2023 ยังมีกิจกรรมเวิร์กช็อปให้เข้าร่วมอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้เรื่องเพศ, SOGIE Study, ตกแต่งหน้าคุกกี้เจนเดอร์ หรือบูทจากองค์กรที่ทำงานเพื่อสิทธิและความเท่าเทียมทางเพศ GENDER FAIR 2023 จะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผู้เข้าร่วมงานสามารถ Walk-in เข้าร่วมงานได้ฟรี  สำหรับใครที่อยากเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมหลักอย่างการโต้วาที พูดคุยเรื่องเพศ และตอบคำถามชิงเงินรางวัล สามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่วันนี้ – 12 กุมภาพันธ์ […]

ร่วมฉลอง Pride Month กับเสื้อยืด ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’ คอลเลกชันพิเศษ มอบรายได้ให้องค์กรเพื่อ LGBTQIA+

ใครอยากร่วมสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ เราขอชวนทุกคนสั่งซื้อเสื้อยืด ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’ คอลเลกชัน ‘Pride Month (Limited Edition)’ ที่ออกแบบโดย ศรัณยา ตั้งวรเชษฐ์ พัฒนามาจากข้อความที่สกรีนอยู่บนเสื้อยืดของ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ต้นฉบับออกแบบโดย ศุภวิชญ์ ถิตตยานุรักษ์  เสื้อยืดคอลเลกชันพิเศษนี้ผลิตโดย ‘Better Bangkok’ หรือ ‘ชมรมกรุงเทพฯ น่าอยู่กว่าเดิม’ กลุ่มคนที่รวมตัวกันภายใต้เป้าหมายขับเคลื่อนและผลักดันประเด็นทางสังคมที่เชื่อมโยงกับ ‘คน’ และ ‘เมือง’ เพื่อร่วมมือกันทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน ทีมงาน Better Bangkok จะมอบรายได้ส่วนหนึ่งจากการขายเสื้อยืดรุ่น Pride Month ให้กับองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเรื่องความหลากหลายทางเพศ โดยเสื้อยืดล็อตแรกจะพร้อมจัดส่งรอบแรกในวันที่ 10 มิถุนายน 2565 และจะพร้อมจัดส่งรอบถัดไปในวันที่ 15 มิถุนายน 2565 เสื้อยืด ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’ คอลเลกชัน Pride Month มีจำหน่ายไซซ์ S […]

ถึงโลกในปี 2022 จะเปิดกว้างและผู้คนก็ดูเหมือนจะเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศมากขึ้น รวมทั้งมีกฎหมายหรือนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ทุกเพศอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม ทำให้สังคมค่อย ๆ ขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยความพยายามที่จะทลายมายาคติผิด ๆ ที่ติดเป็นภาพจำเก่า ๆ ของกลุ่มเพศทางเลือก แต่อคติหรือความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับเรื่องเพศก็ยังคงมีให้เห็นอยู่ในสื่อออนไลน์ ละคร/ภาพยนตร์ ข่าว หรือแม้แต่ในที่ทำงาน ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม เช่น ข่าวการจำกัดคุณสมบัติตอนรับสมัครงาน ว่าไม่รับ LGBTQ (ในข่าวใช้คำว่าสาวสอง) รับเฉพาะเพศชายและหญิงเท่านั้น หรือการตั้งธงว่า ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า ย่อมเหมาะกับการเป็นผู้นำหรือผู้บริหาร ส่วนผู้หญิงจะมีความละเอียดละออ จึงเหมาะกับงานเอกสาร หรือเลขาฯ หรือแม้แต่คำพูดติดปากในที่ทำงาน สวัสดิการ ไปจนถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  เมื่ออคติทางเพศยังไม่หายไปจากบริบทต่าง ๆ รวมทั้งในที่ทำงาน  UN Women จึงอยากชวนทุกคนมาทำเซอร์เวย์ออนไลน์เพื่อสำรวจตัวเองว่ามีแนวโน้มที่จะมีอคติทางเพศในที่ทำงานหรือไม่ พร้อมทั้งเรียนรู้และตระหนักถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นใกล้ตัว โดยที่เราอาจไม่รู้มาก่อนในเรื่องอคติทางเพศ ซึ่งเมื่อทำเซอร์เวย์ครบทุกข้อ นอกจากจะได้ขจัดอคติของตัวเองแล้ว ยังได้ผลลัพธ์เป็นสปิริตหน้าตาน่ารัก ๆ 3 แบบ – Cloudy, Binder และ Rainbow แทนระดับการมีอคติทางเพศที่ต่างกัน เอาไว้แชร์และบอกต่อเพื่อน ๆ […]

City for Women, City for All ดีไซน์เมืองในฝันที่ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้หญิงอย่างรอบด้าน

จะดีแค่ไหนถ้ามี ‘เมือง’ ที่ออกแบบเพื่อรองรับการใช้ชีวิตของ ‘ผู้หญิง’ รอบด้าน ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตประจำวันอยู่บนความไม่แน่นอนตั้งแต่ก้าวเท้าออกนอกบ้าน ทั้งความเสี่ยงจากการเดินบนท้องถนนเปลี่ยวและคุณภาพแย่ ความไม่เท่าเทียมในที่ทำงาน ระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่เอื้อต่อภารกิจประจำวันของผู้หญิงที่ต้องทำหลายหน้าที่ในหนึ่งวัน เช่น ทำงาน ซื้อของเข้าบ้าน และดูแลลูก รวมไปถึงความเหลื่อมล้ำทางเพศในพื้นที่สาธารณะ เช่น โดนผู้ชายปฏิเสธไม่ให้ใช้สนามกีฬาหรือพื้นที่ส่วนกลาง ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีปัจจัยจาก ‘การออกแบบเมือง’ ที่ไม่ได้คำนึงถึงผู้ใช้งานที่เป็นผู้หญิงอย่างครบทุกมิติ ข้อมูลจาก Handbook for Gender-Inclusive Urban Planning and Design ของ World Bank ระบุว่า ตั้งแต่ในอดีต เมืองต่างๆ วางแผนและออกแบบเพื่อ ‘ผู้ชาย’ โดย ‘ผู้ชาย’ ซึ่งสะท้อนให้เห็น ‘ทัศนคติทางเพศ’ และ ‘บทบาททางเพศแบบดั้งเดิม’ ดังนั้น เมืองเหล่านี้จึงมีฟังก์ชันและดีไซน์ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้ชายมากกว่าผู้หญิงไปโดยปริยาย นอกจากนี้ ข้อมูลยังเปิดเผยว่ามีผู้หญิงเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ที่มีตำแหน่งสูงสุดในสำนักงานวางผังเมืองและบริษัทสถาปัตยกรรมชั้นนำของโลก จึงไม่น่าแปลกใจที่การออกแบบพื้นที่สาธารณะจะไม่ค่อยคำนึงถึงหรือครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้หญิงและคนกลุ่มน้อยทางเพศเท่าที่ควร คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองออกแบบ ‘เมืองสำหรับผู้หญิง’ เพื่อสร้างสมดุลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของทุกคนอย่างเท่าเทียม […]

นิวซีแลนด์ออกกฎหมายให้‘การบำบัดเปลี่ยนเพศวิถี’ มีความผิด เพื่อปกป้องสิทธิของ LGBTQ+

ถ้าบอกว่าสังคมไหนเปิดกว้างกับความหลากหลายทางเพศ อาจจะไม่ได้ดูแค่สิ่งที่พูดเพื่อประชาสัมพันธ์ แต่คงต้องไปดูตัวกฎหมายที่ออกมามีผลบังคับใช้จริงๆ  ความก้าวหน้าในเรื่องกฎหมายทางเพศนี้ขยับไปอีกก้าวหนึ่งในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา เมื่อรัฐสภานิวซีแลนด์โหวตผ่านกฎหมายที่กำหนดให้ ‘การบำบัดเปลี่ยนเพศวิถี (Conversion Therapy)’ มีความผิด โดยผลโหวตมีมติเกือบเป็นเอกฉันท์อยู่ที่ 112 ต่อ 8 เสียง ซึ่งกฎหมายนี้ช่วยปกป้องสิทธิของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศในนิวซีแลนด์ได้ ‘การบำบัดเปลี่ยนเพศวิถี’ คือ การรักษาหรือ ‘บำบัด’ คนที่มีการแสดงออกหรือตัวตนทางเพศที่ไม่ตรงกับความเป็น ‘ชาย-หญิง’ แบบอนุรักษนิยม เป็นแนวคิดที่เห็นว่าเพศวิถีอื่นนอกจากชายหรือหญิงเป็นสิ่งผิดปกติ เป็นโรคภัยไข้เจ็บที่ต้องรักษาให้หาย และไม่ใช่สิ่งที่ควรยอมรับ ในบริบทของประเทศนิวซีแลนด์นั้น มีผู้นับถือศาสนาคริสต์เกือบ 37 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการบำบัดนี้มักจะเกิดที่โบสถ์ในรูปของการสารภาพบาป และในหลายกรณีก็เป็นการสะกดจิตหรือช็อตไฟฟ้าที่อาจส่งผลร้ายแรงต่อร่างกายของผู้เข้ารับการบำบัด  กฎหมายฉบับใหม่ที่ผ่านการลงมติในวันอังคารที่ผ่านมา โดยมีสาระสำคัญคือ “ห้ามทำการบำบัดให้กับคนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี หรือผู้บกพร่องทางการตัดสินใจ” และ “ห้ามการบำบัดที่อาจส่งผลร้ายแรง” ต่อร่างกายไม่ว่าจะเป็นคนอายุเท่าไรก็ตามโดยเด็ดขาด ทั้งหมดนี้มีโทษจำคุก 3 และ 5 ปี ตามลำดับ  กฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นด้วยการผลักดันของพรรคแรงงาน (Labor Party) ที่มีผู้นำและนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือจาร์ซินดา อาร์เดิร์น […]

ที่ทำงานต้องเท่าเทียม Netflix มีสัดส่วนผู้บริหารผิวดำ และพนักงานหญิงเพิ่มขึ้น

Netflix ได้เพิ่มความหลากหลายของพนักงานในสหรัฐอเมริกา รวมถึงผู้บริหารระดับสูงที่เป็นคนผิวดำ เพราะอยากให้องค์กรเป็นภาพสะท้อนถึงประชากรหมู่มาก  Bloomberg รายงานว่าจำนวนพนักงานผิวดำที่ Netflix เพิ่มขึ้นมากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ในช่วงสองปีที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วน 10.7 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานประจำ และในรายงานประจำปีที่เผยแพร่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาของสตรีมมิงยักษ์ใหญ่ยังบอกว่า ขณะนี้มีพนักงานผิวดำประจำอยู่ในตำแหน่งบริหารในแดนลุงแซมถึง 13 เปอร์เซ็นต์ ทว่าพนักงานกลุ่ม Hispanic หรือผู้ที่มาจากประเทศที่ใช้ภาษาหรือวัฒนธรรมแบบสเปนเช่น Mexico, Puerto Rico หรือ Cuba มีสัดส่วนเพียง 8.6 เปอร์เซ็นต์และยังมีบทบาทไม่เพียงพอ  ตามที่มีการบันทึกมา พนักงานของ Netflix จำนวนมากเกือบถึง 1 ใน 4 ขององค์กรเป็นชาวเอเชีย และพนักงานผู้ชายก็มีอัตราส่วนมากขึ้น ซึ่งความหลากหลายทางเพศและเชื้อชาติได้ถูกหยิบยกมาพูดถึงมากขึ้นในแต่ละองค์กรในช่วงหลายปีมานี้ Starbuck และ Target เริ่มเปิดเผยข้อมูลด้านความเท่าเทียมของพนักงาน รวมถึง Intel ก็รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายเงินตามเพศและเชื้อชาติด้วย  ที่ผ่านมาสตรีมมิงชื่อดังจากสหรัฐฯ ได้ว่าจ้างหัวหน้าฝ่าย Diversity & Inclusion หรือความหลากหลายและการผนวกรวมให้เกิดความเท่าเทียมกันในปี 2018 และส่งเสริมการเป็นตัวแทนชนกลุ่มน้อยและชาติพันธุ์ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เมื่อปีที่ผ่านมา Netflix […]

ชวนปิดทองฝังลูก ‘เฟมนิมิตร (Femnimitr)’ เว็บไซต์รวมความรู้เรื่องเพศที่จะบอกเล่าว่าเรื่องเพศมีแง่มุมกว่าที่เห็น

ในโลกปัจจุบัน เรื่อง ‘เพศ’ นับว่าเป็นหนึ่งในประเด็นที่คนหยิบมาพูดถึงมากที่สุด อย่างประเทศไทยเองนอกจากมูฟเมนต์ในมิติการเมืองที่เห็นได้จากแคมเปญ การรณรงค์ และม็อบแล้ว คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยก็มักถกเถียงแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องเพศกันอย่างแพร่หลาย  ทว่าขณะเดียวกันการถกเถียงเหล่านี้หลายครั้งก็เป็นการนำเรื่องเก่ามารีรันซ้ำแล้วซ้ำเล่า ข้อมูลใดที่เคยอธิบายไปแล้วต้องมีคนออกมาอธิบายอีก เพราะขาดแหล่งเก็บและรวบรวมข้อมูลเรื่องเพศอย่างเป็นระบบในที่เดียว เพราะเหตุนี้จึงมีกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนเรื่องเพศทำเว็บไซต์ที่มีชื่อว่า ‘เฟมนิมิตร คอลเลคทีฟ’ (theread.co/femnimitr) ขึ้น จุดประสงค์คือต้องการปิดช่องว่างของข้อมูลและความรู้เรื่องเพศ ด้วยการรวบรวมข้อมูลสถิติทางเพศที่กระจัดกระจาย จัดการข้อมูล และทำให้สามารถเข้าถึงได้อย่างเป็นระบบ มากไปกว่าชื่อเว็บไซต์ที่เล่นกับคำว่า ‘เฟมินิสต์-เฟมนิมิตร’ ที่ชวนให้อมยิ้มเพราะคนชอบเรียกสลับกันอยู่บ่อยๆ ความครีเอทีฟยังปรากฏให้เราเห็นในกราฟิกและลูกเล่นต่างๆ ตั้งแต่หน้าเว็บไซต์ที่ประกอบด้วยส่วน Gender Knowledge Hub, Invisible Violence และ Soon ที่คอนเทนต์จะตามมาในอนาคต หลังจากไปทัวร์จักรวาลว่าด้วยเรื่องเพศของเฟมนิมิตรมา เราพบว่า Gender Knowledge Hub เป็นส่วนที่ดีและตอบโจทย์คนต้องการศึกษาด้านนี้มากๆ เพราะมีข้อมูลและความรู้เรื่องเพศทั้งแบบพื้นฐานอย่างหัวข้อเพศหลากหลาย คำศัพท์เบื้องต้นเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศ ไปจนถึงหัวข้อเพศกับมิติทางสังคมต่างๆ ไม่ว่าจะสิทธิในที่อยู่อาศัย สุขภาพและสิทธิร่างกาย อำนาจทางการเมือง ทุนนิยม เชื้อชาติ เป็นต้น ทั้งนี้ยังมีกลุ่มข้อมูลอย่างรายชื่อหนังสือเกี่ยวกับเพศ เหล่าสื่อไทยที่สื่อสารเรื่องเฟมินิสต์ เพื่อเป็นการแนะนำแหล่งความรู้ต่อยอดสำหรับผู้ที่สนใจด้วย ส่วนเซกชัน Invisible Violence ก็ดีไม่แพ้กัน […]

ไม่ต้องโป๊ก็ลงแข่งได้ สหพันธ์แฮนด์บอลนานาชาติยอมเปลี่ยนกฎ ให้นักกีฬาหญิงใส่กางเกงขาสั้นแทนบิกินี

‘บิกินี’ ซึ่งเป็นยูนิฟอร์มของนักกีฬาแฮนด์บอลหญิงได้กลายเป็นประเด็นถกเถียงตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2021 หลังจากสหพันธ์แฮนด์บอลยุโรป (EHF) สั่งปรับทีมนักกีฬาแฮนด์บอลหญิงนอร์เวย์เป็นเงิน 1,500 ยูโร (ราว 58,000 บาท) เนื่องจากพวกเธอสวมกางเกงขาสั้นแนบเนื้อแทนบิกินีในการแข่งขันแฮนด์บอลชายหาดชิงแชมป์ยุโรปปี 2021 โดยทาง EHF อ้างว่า พวกเธอ ‘แต่งกายไม่เหมาะสม’  กรณีดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก และทำให้หลายฝ่ายตั้งคำถามถึงความจำเป็นที่นักกีฬาหญิงต้องสวมชุดบิกินีระหว่างลงแข่งขัน นอกจากนั้น การลงโทษครั้งนั้นยังถูกตีตราว่าเป็น ‘การแบ่งแยกทางเพศ’ หรือ ‘การเหยียดเพศ’ จนนำไปสู่การเรียกร้องและกดดันให้มีการยกเลิกข้อบังคับดังกล่าวด้วย โดยในเดือนกันยายน 2021 รัฐมนตรีกีฬาของเดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน ได้เรียกร้องให้สหพันธ์แฮนด์บอลนานาชาติ (IHF) ทบทวนข้อกำหนดเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายของนักกีฬาหญิงใหม่ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศ กระแสต่อต้านชุดบิกินีที่ยืดเยื้อส่งผลให้ IHF ตัดสินใจเปลี่ยนระเบียบการแต่งกายสำหรับนักกีฬาในที่สุด โดยเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2021 IHF ได้ออกกฎใหม่ที่ไม่กำหนดให้นักกีฬาหญิงสวมบิกินีระหว่างลงแข่งขัน แต่ระบุว่า นักกีฬาแฮนด์บอลหญิงสามารถสวมใส่ ‘เสื้อกล้ามที่พอดีตัว’ และ ‘กางเกงขาสั้นแนบเนื้อ’ (จากเดิมที่กำหนดให้ใส่เสื้อครอปแขนกุดและกางเกงทรงบิกินี) ส่วนนักกีฬาชายสามารถสวมกางเกงขาสั้นที่ไม่หลวมจนเกินไป แต่กางเกงต้องอยู่เหนือเข่าราว 10 […]

FYI

Your Pride, Your Future ส่งเสียง “อนาคตที่อยากเห็น…” จาก LGBTQIA+ ให้สังคมได้ยิน

“อนาคตที่อยากเห็น…” ส่งเสียงแห่งความหลากหลายทางเพศให้ดังยิ่งขึ้น ฟังอนาคตที่ LGBTQIA+ อยากเห็นในหัวข้อ ‘Your Pride, Your Future’ ครอบคลุมตั้งแต่อนาคตเมือง กฎหมาย ครอบครัว ความรัก การเหยียดกัน ไปจนถึงการเปิดกว้างทางความคิดที่อยากให้เป็น เจี๊ยบ-มัจฉา พรอินทร์ ครอบครัวไม่จำเป็นต้องมีพ่อ-แม่-ลูก มิติครอบครัวในสังคมไทย ถูกปลูกฝังว่าต้องมี พ่อ-แม่-ลูก ซึ่งกรอบที่เชื่อกันว่าถูกกลับสร้างบาดแผลให้กับชีวิตของใครหลายคน รวมถึง เจี๊ยบ-มัจฉา พรอินทร์ ผู้นิยามตัวตนว่าเลสเบี้ยน (Lesbian) เจี๊ยบคือผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ องค์กรสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน, ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการหลักสูตร The School Of Feminists : Feminist Theory and Practice, Co-President, International Family Equality Day – IFED, กรรมการ สมาคมผู้หญิง กฎหมายและการพัฒนาแห่งเอเชียแปซิฟิก – APWLD, ผู้ประสานงานประจำประเทศไทย องค์กร V-Day และผู้ที่มีครอบครัวแบบ […]

มอร์ วสุพล เส้นทางศิลปินเดี่ยวและการกำกับโฆษณา #เลิกเล่นมุกดูถูกผู้หญิง

มอร์ – วสุพล เกรียงประภากิจ ในมุมเส้นทางที่เขาเลือกเดินอย่างไม่ย้อนกลับหลัง ทั้งเบื้องหน้าด้านการทำเพลงในชื่อ Morvasu และเบื้องหลังการทำงานในบทบาทผู้กำกับโฆษณา #เลิกเล่นมุกดูถูกผู้หญิง

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.