น้ำขวดไหนหมดอายุ แค่กดก็รู้ได้ด้วย ‘Mimica Bump Cap’ ฝาขวดน้ำอัจฉริยะไวต่ออุณหภูมิ 

เชื่อว่าในตู้เย็นของหลายบ้าน นอกจากจะมีมะนาวครึ่งซีกที่ใช้ไม่หมดวางไว้แล้ว ในช่องใส่ขวดน้ำก็ยังเต็มไปด้วยขวดน้ำที่เหลือครึ่งขวดวางเรียงรายอยู่เต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นน้ำเปล่า น้ำผลไม้ หรือนม ครั้นนานๆ เข้าจะหยิบมากินก็เริ่มไม่มั่นใจว่าน้ำเหล่านั้นจะหมดอายุหรือยัง เพื่อไม่ให้คนหยิบเอาของเสียที่หมดอายุเข้าปาก หรือเผลอทิ้งของที่ยังไม่หมดอายุไปเพราะความกลัว สองบริษัทผลิตฝาผลิตภัณฑ์ ‘United Caps’ และ ‘Mimica’ จึงร่วมมือกันนำเสนอโซลูชันสุดล้ำสำหรับการรับรองความปลอดภัยของอาหาร ‘Mimica Bump Cap’ ฝาขวดพลาสติกที่ออกแบบมาให้แยกผลิตภัณฑ์ที่ยังสดใหม่หรือเสียแล้วออกจากกันได้ หลักการทำงานของ Mimica Bump Cap ง่ายมาก แค่กดบริเวณฝาขวดโดยไม่ต้องเปิดขวดเพื่อดมกลิ่นหรือลิ้มรสให้ยุ่งยาก เพราะถ้าผลิตภัณฑ์อยู่ในสภาพดีและบริโภคได้ ฝาจะอยู่ในสภาพเรียบเนียนเป็นปกติ แต่ถ้ากดลงไปแล้วรู้สึกถึงเทกซ์เจอร์ปุ่มนูนซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนประกอบภายในฝา แสดงว่าได้เวลาโยนเครื่องดื่มนั้นทิ้งได้แล้ว เนื่องจากการยุบตัวของฝาขวดเกิดจากการทำปฏิกิริยาของเจลที่ทำจากพืชที่อยู่ภายในฝา ซึ่งถ้าผลิตภัณฑ์ภายในเน่าเสีย ตัวเจลจากพืชที่ไวต่ออุณหภูมิจะสลายตัวเป็นของเหลว ทำให้เรากดฝาจนรู้สึกถึงปุ่มนูนได้นั่นเอง ถือเป็นนวัตกรรมที่ออกมาเพื่อแก้ปัญหาความท้าทายด้านความยั่งยืน ลดการเกิดขยะอาหารโดยไม่จำเป็น อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อผู้พิการทางสายตาได้มากกว่าการเขียนวันหมดอายุไว้ที่ข้างขวดแบบเดิมๆ Sources :Mimica | www.mimicalab.com/bumpcapinfoUnited Caps | www.unitedcaps-innovations.com/mimicaYanko Design | t.ly/i22Lj

Makro เปิดตัว ‘Sticker Salva-vidas’ สติกเกอร์แนะนำผลไม้ตามความสุก เพื่อสู้กับปัญหาขยะอาหารในโคลอมเบีย

จากรายงานขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) พบว่า ปัจจุบันปริมาณขยะอาหารทั่วโลกกว่า 40 เปอร์เซ็นต์เป็นผลมาจากผักและผลไม้เหลือทิ้ง ที่ส่วนหนึ่งมาจากการจ่ายตลาดโดยไม่มีความเข้าใจต่อวัตถุดิบ เพราะความสุกหรือดิบของผักผลไม้แต่ละชนิดล้วนส่งผลต่อการนำไปประกอบอาหาร เช่น ส้มตำที่ใช้มะละกอดิบ ยำมะม่วงที่ต้องให้รสชาติเปรี้ยวจี๊ด ไปจนถึงข้าวผัดสับปะรดรสชาติกลมกล่อม ซึ่งหากเราเลือกซื้อผักผลไม้ที่ยังสุกหรือดิบไม่พอดี อาจทำให้นำมาใช้ทำอาหารไม่ได้ จนก่อให้เกิดขยะอาหารจำนวนมาก ‘Makro’ และเอเจนซีโฆษณา ‘Grey Colombia’ ได้จับมือกันเปิดตัว ‘Sticker Salva-vidas’ สติกเกอร์สำหรับแนะนำผลไม้ตามความสุกให้แมตช์กับการประกอบอาหารประเภทต่างๆ Sticker Salva-vidas แต่ละชิ้นถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นวงกลมคล้ายโดนัตที่ภายนอกล้อมรอบด้วยการไล่ระดับสี แสดงถึงระดับความสุกที่แตกต่างกัน เพื่อแนะนำความเป็นไปได้ในการทำอาหารที่หลากหลาย รวมถึงมีรูตรงกลางเพื่อเปรียบเทียบกับสีจริงของผักผลไม้ อาทิ กล้วย มะม่วง มะละกอ อะโวคาโด และมะเขือเทศ Makro และ Grey Colombia หวังว่าสติกเกอร์อัจฉริยะเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ขยะอาหารจากผักและผลไม้ภายในประเทศลดลง และทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อของสดได้อย่างรอบคอบมากขึ้น รวมไปถึงให้ความรู้แก่ลูกค้าเกี่ยวกับวิธีการใช้ผักและผลไม้ในระดับความสุกที่ต่างกัน ปัจจุบันผักและผลไม้ที่มีการติดสติกเกอร์ Sticker Salva-vidas ถูกวางขายเฉพาะวันพุธและวันอาทิตย์บน Makro ในประเทศโคลอมเบีย เพื่อเป็นการนำร่องโครงการ และตรวจสอบปริมาณขยะที่ลดลงเมื่อเทียบกับวันอื่นๆ ในสัปดาห์เดียวกัน ก่อนที่ในอนาคตอาจมีการขยายวันเพิ่มเติมออกไป Sources : DesignTAXI | […]

Oho! แอปฯ สั่งของกินเมนูพิเศษที่ทั้งอร่อย ถูกกว่า และได้ช่วยร้านค้าลดขยะอาหาร

ในสายตาของคนที่รักของเซลล์เป็นชีวิตจิตใจ ไม่ว่าจะไปไหน ซื้ออะไร เรามักตาเป็นประกายเสมอเมื่อเห็นส่วนลด แม้แต่อาหารที่กดสั่งเดลิเวอรีทุกวัน เชื่อว่าหลายคน (ที่เป็นคนแบบเรา) ไม่พลาดที่จะเช็กโค้ดโปรโมชัน บางครั้งถึงกับตั้งเวลาปลุกให้เข้าไปออเดอร์ช่วง Flash Sale ให้ทัน ฟังดูเหมือนจริงจังไปนิด แต่เราก็ทำถึงขนาดนั้นเลย แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราได้อาหารที่ลดราคาแบบสุดๆ แถมยังเป็นมิตรต่อโลกด้วย เรารู้จักแอปพลิเคชัน Oho! ครั้งแรกราวกลางปีที่ผ่านมา ในฐานะแอปฯ สั่งอาหารที่ละลานตาไปด้วยการลดราคาอย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป เลขเปอร์เซ็นต์สุดว้าวนั้นจูงใจให้คนรักของเซลล์อย่างเราโหลดมาใช้ ก่อนจะพบว่าแอปฯ นี้มีความพิเศษมากกว่าราคาที่ลดแล้วลดอีกไปมากโข แท้จริงแล้ว Oho! คือแอปฯ ขายอาหารเมนูป้ายเหลืองเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่แค่อาหารใกล้หมดอายุอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน แต่บางเมนูมีความสดใหม่และคุณภาพอยู่ในระยะเวลาจำกัด ถ้าปล่อยไว้นาน คุณภาพนั้นจะดร็อปลงจนร้านค้าต้องจำใจทิ้งไป  Oho! เกิดขึ้นเพราะอยากช่วยแบ่งเบาภาระนั้นจากร้านอาหาร ทุกเมนูบนแอปฯ จึงลดราคาได้แบบจัดหนักจัดเต็มอย่างที่เห็น ฟังดูเป็นโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจ แต่ลึกลงไปมากกว่านั้น ‘วริทธิ์ธร มังกรทองสกุล’, ‘สมิทธ์ ชัยชาญชีพ’ และ ‘Richard Armstrong’ ผู้ก่อตั้งทั้ง 3 คนตั้งใจอยากให้ Oho! เป็นแอปฯ ของคนรุ่นใหม่ที่อยากแบ่งเบาภาระโลกจากปัญหา Food Surplus […]

FYI

‘อายิโนะโมะโต๊ะ’ สร้างความอร่อยและคุณค่าในสังคมคู่คนไทย เพื่อความสุขในอนาคตของทุกคน

หากถามถึงเคล็ดลับความอร่อยคู่คนไทยที่มีมานานกว่า 62 ปี คงหนีไม่พ้นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์จากกรดอะมิโนระดับโลกอย่าง ‘กลุ่มบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ’ แต่นอกจากการผลิตและส่งมอบผลิตภัณฑ์ความอร่อยที่หลากหลายและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในประเทศไทยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2503 อีกสิ่งสำคัญที่อายิโนะโมะโต๊ะต้องการคือ การช่วยแก้ไขปัญหาสังคมและสร้างคุณค่าผ่านธุรกิจ ภายใต้แนวคิด ‘อายิโนะโมะโต๊ะสร้างคุณค่าร่วมกับสังคม (ASV)’ เพื่อก้าวสู่การเป็นกลุ่มบริษัทผู้ส่งมอบแนวทางการแก้ปัญหาและนวัตกรรมที่เกี่ยวกับอาหารและสุขภาพระดับโลก อายิโนะโมะโต๊ะสร้างคุณค่าร่วมกับสังคม (ASV) กลุ่มบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาสังคม ผ่าน ‘การสร้างสังคมสุขภาพดี’ ‘ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า’ และ ‘การสร้างความยั่งยืนของโลก’ ที่เป็น 3 แนวทางหลักสำหรับการดำเนินกิจกรรม ASV เพื่อมุ่งสู่การประสบความสำเร็จกับ 2 เป้าหมาย ดังนี้  1. ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมทางธุรกิจของอายิโนะโมะโต๊ะให้ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2030 หรือ พ.ศ. 2573 2. มุ่งขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) รวมถึงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ให้สำเร็จภายในปี 2050 หรือ พ.ศ. 2593  ทางบริษัทได้ร่วมป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ผ่านการบูรณาการแนวคิด เทคโนโลยี และกระบวนการผลิตในทุกขั้นตอน […]

Food Matter ธีสิสแพลตฟอร์มสั่งอาหารส่วนเกิน ที่อยากช่วยลด Food Waste ในแต่ละวัน

คุณรู้ไหมว่าอาหารที่ร้านผลิตเกินมาในแต่ละวันถูกจัดการอย่างไร?  สำหรับคนที่ชอบเดินซูเปอร์มาร์เก็ตช่วงค่ำๆ จะเห็นหลายร้านนำอาหารที่ยังคุณภาพดีเหล่านี้มาติด ‘ป้ายเหลือง’ และลดราคาในช่วงสุดท้ายของวัน แต่ก็ยังมีอีกหลายร้านเช่นกันที่แม้จะมีอาหารเหลือจำนวนมาก แต่พวกเขาเลือกที่จะทิ้งโดยเสียเปล่าเพราะเป็นมาตรการด้านความสะอาดและเพื่อรักษามาตรฐานของร้าน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม การทิ้งอาหารที่ยังคุณภาพดีเหล่านี้ทำให้เกิด ‘ขยะอาหาร (Food Waste)’ ปริมาณมากในแต่ละวัน แค่ลองคิดเล่นๆ ว่าแต่ละร้านต้องทิ้งอาหารวันละ 1 กก. ทั้งเดือนก็ไม่ต่ำกว่า 30 กก. และถ้าทุกร้านมีขยะที่ต้องทิ้งทุกวัน กรุงเทพฯ จะมีขยะอาหารเยอะมากแค่ไหน? จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถนำอาหารส่วนเกินเหล่านี้มาทำเป็น ‘อาหารป้ายเหลือง’ และขายผ่านช่องทางเดลิเวอรีได้ ทำให้ผู้คนในเมืองนี้ได้เข้าถึงอาหารคุณภาพดีในราคาที่ถูกลง และยังมีส่วนช่วยในการลดขยะอาหารที่เกิดขึ้นในทุกๆ วันได้อีกด้วย คอลัมน์ Debut สัปดาห์นี้เราจะพาไปรู้จักกับ ‘Food Matter’ แพลตฟอร์มสั่งอาหารส่วนเกินจากร้านอาหารที่ทำให้คนเมืองเข้าถึงอาหารคุณภาพดีในราคาที่ถูกลง เหมือนได้เข้าไปเดินเลือกซื้ออาหารป้ายเหลืองในซูเปอร์มาร์เก็ตด้วยตัวเอง  ธีสิสนี้ออกแบบโดย กรีน-เมธพร ทุกูลพาณิชย์ บัณฑิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ CommDe (Communication design) กรีนเป็นผู้เห็นถึงปัญหาของอาหารส่วนเกินที่เหลือทิ้งจากร้านอาหารในแต่ละวัน เธออยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดขยะ และอยากทำให้ผู้บริโภคในเมืองนี้มีทางเลือกในการกินมากขึ้นด้วย จึงทำแอปฯ ฉบับทดลองใช้ 11 วันขึ้นมาเพื่อดูว่าจะช่วยลดขยะอาหารในเมืองนี้ได้มากแค่ไหน ทดลองใช้เว็บไซต์ได้ที่นี่ www.foodmatterth.com  […]

More Meat อาหารทางเลือก กินเนื้อไม่ใช่เนื้อ l Urban เจอนี่ EP.3

กระแสรักสุขภาพและเทรนด์การบริโภคอาหารทางเลือกลดการบริโภคเนื้อสัตว์ให้น้อยที่สุด กำลังเป็นที่นิยม URBAN เจอนี่ EP. นี้ ขอเอาใจสายโปรตีน พาไปเจอ More Meat : Plant Based Food โปรตีนจากพืช อาหารทางเลือกของคนยุคใหม่ ที่ใช้วัตถุดิบจากเกษตรกรชุมชนไทย มาพัฒนาให้รสสัมผัสเสมือนเนื้อสัตว์ บอกเลยว่าหากคุณหลับตากินเข้าไป นึกว่าเนื้อสัตว์จริงๆ! ติดตามรายการ URBAN เจอนี่ ได้ทุกวันเสาร์ เวลา 20.00 น. ช่องทาง Facebook และ Youtube : Urban Creature หากมีข้อติชมหรืออยากให้เราไปที่ไหน ร่วม Comment เป็นกำลังใจให้ทีมงานได้เลยครับ #urbancreature #ReinventTheWayWeLive #URBANเจอนี่ #Moremeat #PlantBasedFood #food

Food Matter แพลตฟอร์มสั่งอาหารส่วนเกิน ที่ชวนคนลด Food Waste ด้วยการกิน

ในแต่ละวันมีอาหารที่ผลิตมาเกินความต้องการของผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าแต่ละร้านจะคำนวณการผลิตให้พอดีต่อความต้องการของผู้บริโภคแล้ว แต่แทบทุกวัน และแทบทุกร้านจะต้องมี ‘อาหารส่วนเกิน หรือ Surplus Food’ ที่ไม่มีใครซื้อเกินมาเสมอ จนกลายเป็นอาหารเหลือทิ้งหรือเกิด Food Waste ขึ้นเสมอ เพื่อแก้ปัญหานี้ Food Matter แพลตฟอร์มสั่งอาหารที่ต้องการจะช่วยให้โลกมีขยะอาหารน้อยลง จากการลดปริมาณอาหารส่วนเกิน (Surplus Food) และช่วยให้คุณได้กินของอร่อยที่มีคุณภาพและราคาสบายกระเป๋า Food Matter เป็นธีสิสของ กรีน-เมธพร ทุกูลพาณิชย์ นักศึกษาปี 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคออกแบบนิเทศศิลป์ (CommDe) ที่สนใจประเด็นเรื่องอาหารเหลือทิ้ง อยากหาวิธีช่วยลดขยะอาหาร เพราะเชื่อว่าอาหารดีๆ เหล่านี้ควรถูกกิน มากกว่าถูกทิ้งลงถังขยะ  เนื่องจากเป็นธีสิส Food Matter จึงอยู่ในช่วงทดลองใช้ และเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 4 – 22 เมษายน 2565 นี้เท่านั้น และเปิดให้เราสั่งซื้อได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ในเวลา 18.00 – 19.00 น. เท่านั้น กรีนเล่าให้ฟังถึงการทำงานหลังบ้านของ […]

Chiangmai Food Bank ขออาหารค้างตู้ที่ยังกินได้ ส่งต่อ 3 กลุ่มเพื่อหยุดความหิวโหย

ขอเวลาคนละ 10 นาที สำรวจตู้เย็น ตู้กับข้าว พอมีอาหารเหลือทิ้งที่ยังกินได้อยู่หรือเปล่า เพราะอาหารค้างตู้ของคุณ อาจกลายเป็นอาหารอีกมื้อของคนที่ขาดแคลนในตอนนี้!

จีนออกมาตรการ ‘ปฏิบัติการณ์จานเปล่า’ สั่งแค่พอกินแก้ปัญหาอาหารเหลือทิ้ง

การกินอาหารพร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัวถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชาวจีน และมักจะนั่งล้อมวงมีอาหารวางเสิร์ฟแบบฟูลออปชัน วัฒนธรรมชาวจีนถือว่าการกินอาหารเป็นการเข้าสังคมอย่างหนึ่ง การสั่งอาหารขึ้นโต๊ะจึงเป็นเรื่องสำคัญ ในอดีตสังคมจีนมีวิถีการกิน ‘แค่พออิ่ม’ แต่เมื่อเศรษฐกิจก้าวหน้าไปมากชาวจีนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นก็เปลี่ยนมากินแบบ ‘อิ่มหมีพลีมัน’

แจกสูตรเปลี่ยน ‘เศษอาหาร’ เป็น ‘ปุ๋ยหมัก’ วิธีง่ายๆ ที่ทำได้ทุกบ้าน

กินอาหารเหลือ ไม่ต้องทิ้งให้เสียของ แค่แยกเศษอาหารไว้ แล้วนำมาทำเป็น ‘ปุ๋ยหมัก’ กับ ‘พี่ชูเกียรติ โกแมน’
เจ้าของไอเดีย ‘กล่องปุ๋ยหมัก’ สุดเจ๋งจาก My City Farm ที่ออกแบบมาอย่างเข้าใจคนยุคใหม่ มาพร้อมสูตรการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารเพียง 3 ขั้นตอนง่ายๆ ก็ได้ปุ๋ยหมักไปปลูกต้นไม้งามๆ แล้ว !

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.