ไทยเตรียมยกเลิกบังคับสวมหน้ากากอนามัย หลังพิจารณาโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น คาดกลาง มิ.ย. 65 เริ่มถอดเฉพาะพื้นที่นำร่อง

คนไทยเตรียมตัวปลดแมสก์! หลังจากที่หลายประเทศทั่วโลกเริ่มทยอยยกเลิกกฎข้อบังคับการใส่หน้ากากอนามัยในที่สาธารณะกันเรื่อยๆ คนไทยได้แต่อิจฉาว่าเมื่อไรจะถึงคิวเราบ้างนะ  ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 พ.ค. ที่ผ่านมา ปลัด สธ. เผย กลาง มิ.ย.นี้ จะมีการยกเลิกบังคับสวมหน้ากากอนามัย (เฉพาะในพื้นที่นำร่อง) และยังคงบังคับให้ใส่ใน 3 กรณี คือ ผู้ป่วยหนัก สถานที่ปิด อากาศไม่ถ่ายเท และกิจกรรมที่คนร่วมเยอะ  นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคนอกสถานที่ ครั้งที่ 3 ประจำปีงบประมาณ 2565 ที่โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า จ.สุราษฎร์ธานี ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานสำคัญ รวมทั้งการเตรียมการของพื้นที่เพื่อรับการเปลี่ยนผ่านโรคโควิด-19 เข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น โดยระบุว่า ปัจจุบันสถานการณ์ดีขึ้นต่อเนื่องและเร็วกว่าที่คาดการณ์ มั่นใจว่าจะเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นตามเวลาที่วางแผนไว้ หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่จึงต้องมีการบริหารด้านสังคมร่วมด้วย โดยนำร่องกิจกรรมในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโควิด-19 อย่างปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจกับประชาชน ทั้งนี้ ประมาณกลางเดือนมิถุนายน จะนำร่องปรับคำแนะนำในบางพื้นที่ที่มีความพร้อม ให้สวมหน้ากากอนามัยใน 3 กรณี คือ 1. กลุ่มผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยง 608 2. อยู่ในสถานที่ปิด […]

เจ้านายอ้วนขึ้น! ผลสำรวจในอังกฤษและอเมริกาบอกตรงกัน แมว-หมาน้ำหนักขึ้นช่วงโควิด

การพักผ่อนหย่อนใจของหลายคนในช่วงโควิด-19 อาจเป็นการดูคลิปวิดีโอเจ้าเหมียว เจ้าหมา หรือแม้แต่การมีเพื่อนสี่ขาอยู่ข้างกายอาจจะช่วยให้ไม่รู้สึกเปลี่ยวเหงา หรือช่วยเยียวยาจิตใจหลายคนได้เลย แน่นอนว่ามนุษย์อย่างเราๆ ต่างก็ได้รับผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจจากโควิด-19 แต่ไม่ใช่แค่พวกเราเท่านั้น สัตว์เลี้ยงสี่ขาคู่กายหลายๆ คนก็อาจจะได้รับผลกระทบด้วยเหมือนกัน! ผลสำรวจจากองค์กรที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงทั้งในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกาฉายให้เห็นข้อมูลตรงกันว่า พบแนวโน้มสำคัญว่าสัตว์เลี้ยงทั้งสุนัขและแมวมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 เป็นต้นมา  ผลสำรวจของโรงพยาบาลสัตว์แบนฟิลด์ (Banfield Pet Hospital) ของสหรัฐอเมริกา ในปี 2020 ปีแรกของโควิด-19 ที่เกิดการล็อกดาวน์แทบทุกประเทศในโลกนั้นพบว่า แมวกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ และสุนัขเกือบ 35 เปอร์เซ็นต์มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน และองค์กรอาสาด้านสัตว์เลี้ยงในประเทศอังกฤษที่ชื่อ PDSA ได้ออกรายงานประจำปี 2021 และเปิดเผยผลสำรวจจากเจ้าของสัตว์เลี้ยงว่า เจ้าของสุนัขกว่า 9 เปอร์เซ็นต์ในอังกฤษเห็นว่าเจ้าสี่ขาของตนมีน้ำหนักมากขึ้น และเจ้าของแมวกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ก็ให้ข้อมูลในทางเดียวกัน จริงอยู่ว่าเมื่อมองภายนอกสัตว์เลี้ยงที่อ้วนตุ้บป่องอาจจะดูน่ารักน่ากอด แต่จากน้ำหนักที่มากนั้นอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ นั่นคือโรคภัยไข้เจ็บอย่างโรคอ้วน กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง จนถึงอายุขัยที่สั้นกว่าสัตว์เลี้ยงที่น้ำหนักตัวพอดี แน่นอนว่าปัญหาสัตว์เลี้ยงน้ำหนักเกินนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่ตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 เป็นต้นมานั้นพบแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ  ปรากฏการณ์นี้อาจหาเหตุผลจากมุมมองเชิงจิตวิทยาสัตว์ที่ว่า สัตว์เลี้ยงนั้นรับรู้ได้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของเจ้าของ ถ้าพวกเรารู้สึกอย่างไร พวกเขาก็รับรู้ไปด้วย หรือหากทาสหมา ทาสแมวต้องเก็บตัวอยู่ในพื้นที่จำกัดเพราะล็อกดาวน์หรือต้องกักตัว เจ้านายก็อาจจะเกิดความเครียดสะสมจนนำไปสู่ ‘การกินอาหารเพราะความเครียด […]

‘Deleted Scenes in SEA’ หนังสั้นจากบทละครที่ถูกเซนเซอร์ในเทศกาลหนังออนไลน์ FTP 2022

‘ห้องเรียนประวัติศาสตร์’, ‘INSURGENCY (ลุกฮือต่อสู้)’ , ‘Suksesi (ผู้สืบทอด)’ ทั้ง 3 คำนี้คือชื่อตอนจากบทละครของประเทศไทย สิงคโปร์ และอินโดนีเซียที่ถูกตัดออกจากการแสดงจริงเพราะการเซนเซอร์จากรัฐและตัวศิลปินเอง  และนี่คือที่มาของภาพยนตร์ความยาว 47 นาที ในชื่อ ‘Deleted Scenes in SEA’ บทละครที่ถูกตัดออกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยฝีมือกำกับของธนพล อัควทัญญู และ อีรฟานูดิน กอซาลี (Irfanuddien Ghozali)  ภาพยนตร์นำบทละครทั้งสามเรื่องมาเล่าใหม่ ผ่านวิธีการอ่านบทละคร บันทึกการแสดง เทคนิคแสง-เสียง หรือแม้แต่การประชุมผ่านซูม และเสริมด้วยแง่มุมทางศิลปะการละคร การเปรียบเปรยในเนื้อหา แม้แต่เสียดสีสภาพสังคม ตลอด 47 นาที ภาพยนตร์จะพาเราไปทำความรู้จักกับบทละคร รวมถึงดูว่าส่วนที่ถูกแบนนั้นเนื้อหาเป็นแบบไหน แล้วทำไมถึงถูกกดดัน คณะผู้เขียนและนักแสดงในเวลานั้นถูกคุกคามจากทางภาครัฐอย่างไรบ้าง  กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลภาพยนตร์ออนไลน์ที่ชื่อ ‘The Segal Center Film Festival on Theatre and Performance’ (FTP) ซึ่งเป็นเทศกาลภาพยนตร์ออนไลน์ที่รวมผลงานของศิลปิน นักการละครกว่า […]

UNICEF Box of Life ชวนร่วมบุญส่งท้ายปี เพื่อส่งต่อลมหายใจให้กับเด็กๆ

เนื่องด้วยในปีที่ผ่านมามีเด็กจำนวนมากในประเทศไทยและทั่วโลกได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ขณะเดียวกันเด็กอีกกว่า 2 ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคขาดสารอาหารรุนแรง และเด็กอีกกว่า 23 ล้านคนทั่วโลกกำลังเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพราะขาดวัคซีนพื้นฐานที่จำเป็น องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย จึงร่วมกับนักแสดงชื่อดัง แอน ทองประสม, เจมส์-จิรายุ ตั้งศรีสุข และ ฟรัง-นรีกุล เกตุประภากร ชวนคนไทยร่วมสร้างปาฏิหาริย์ที่ยิ่งใหญ่ ต่อลมหายใจให้กับเด็กๆ ในโครงการ Box of Life เพื่อส่งความช่วยเหลือที่จำเป็นในแต่ละด้านไปยังเด็กๆ ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก เพื่อลดการสูญเสียอย่างเร่งด่วน ในปีนี้กล่อง Box of Life จะแบ่งเป็น 3 ประเภท สอดคล้องกับสถานการณ์วิกฤตที่เด็กๆ กำลังเผชิญและความช่วยเหลือที่พวกเขาต้องการอย่างเร่งด่วน ประกอบด้วย 1. กล่อง “Box of Life สู้โควิด-19” บรรจุของจำเป็นเพื่อปกป้องเด็กๆ ในพื้นที่เสี่ยงในประเทศไทย รวมถึงการจัดส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อสนับสนุนการทำงานของแพทย์ โรงพยาบาล และชุมชนในการต่อสู้กับวิกฤตโควิด-19 ในประเทศไทย  2. กล่อง “Box of Life ช่วยชีวิต” เพื่อจัดส่งเม็ดทำน้ำสะอาดที่ใช้เปลี่ยนน้ำสกปรกให้กลายเป็นน้ำสะอาด […]

มื้อนี้ไม่ง้อแมสก์ ประสบการณ์มื้ออาหารใต้โคมโบราณป้องกันโควิด-19

เรียวกังชื่อ Hoshinoya ในเมืองโตเกียวหัวใส จัดมื้ออาหารในโรงแรมที่เรียกว่า Tokyo Lantern Dinner ซึ่งมีการจัดเตรียมโคมใสที่สร้างสรรค์จากไวนิลให้บรรดาแขกที่มากินข้าว ได้ร่วมมื้ออาหารโดยไม่ต้องสวมแมสก์ให้รำคาญใจกันอีกต่อไป ซึ่งนี่คือหนึ่งในผลผลิตของงานดีไซน์ ที่ทำให้เราเห็นว่าอุตสาหกรรมการออกแบบทั่วโลกต่างก็รับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่แผงกั้นระหว่างโต๊ะกินข้าว หรือรถส่งอาหารแบบไร้การสัมผัส แสดงให้เห็นว่าดีไซเนอร์พยายามจะทำให้การกินข้าวนอกบ้านเป็นเรื่องเป็นไปได้ในช่วงสามปีที่ผ่านมา แม้แต่ในปี 2021 นี้ ผลกระทบของโควิดที่มีต่อการกินข้าวนอกบ้านก็ยังคงมีอยู่เสมอ ส่งผลให้ยังเกิด New Normal เวอร์ชันใหม่ๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ เช่นเดียวกับที่โรงแรม Hoshinoya ในย่าน Otemachi ของกรุงโตเกียว ที่ได้ออกแบบประสบการณ์การกินอาหารในยุคนี้ให้สะดวกสบายมากขึ้น โดยสร้างโคมแทนแผงกั้นใสให้แขกของโรงแรมได้ใช้งาน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิดระหว่างมื้ออาหาร สิ่งนี้ออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าได้รู้สึกถึงความเป็นอิสระ โดยที่ไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยระหว่างมื้ออาหาร แผงกั้นจากโคมนี้ถูกคิดค้นขึ้นโดยโรงแรมเอง ซึ่งบันดาลใจมาจากความคุ้นเคยในวัฒนธรรมการใช้โคมของญี่ปุ่น  โดยที่ส่วนยอดของโคมแต่ละอัน จะให้แสงอุ่นนุ่มนวลส่องลงมาจากบริเวณเหนือหัว ทำให้ใบหน้าของผู้ใช้บริการดูสว่างสดใส มองแล้วดูสบายตา เช่นเดียวกับแสงที่ตกกระทบจานอาหาร เจ้าโคมตัวนี้ผลิตโดยร้านโคมเจ้าเก่าแก่ชื่อ Kojima Shoten ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเกียวโต โดยที่โคมแต่ละชิ้นจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 75 เซนติเมตร และสูงถึง 102 เซนติเมตร ทำให้มีพื้นที่เหลือเฟือในการเพลิดเพลินกับมื้ออาหาร โดยไม่ต้องกังวลหรือกลัวว่าการทานอาหารจะหกเลอะเทอะตัวโคมที่มีความหนา 0.15 เซนติเมตร  ดีไซเนอร์ผู้อยู่เบื้องหลังมื้ออาหารที่มีโคมรูปแบบนี้ […]

กล่าวหาวัคซีนแบบผิดๆ เตรียมช่องปลิว! YouTube ประกาศแบนวิดีโอ และปิดช่อง เนื้อหาเท็จ ต่อต้านวัคซีนที่ WHO รับรอง

ต่อไปนี้ใครกล่าวหาว่าวัคซีนจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพเรื้อรัง วัคซีนไม่ลดการแพร่เชื้อ ทำให้เป็นมะเร็ง ออทิซึม มีบุตรยาก หรือข้อมูลเท็จอื่นๆ เตรียมโดนแบน แอ็กเคานต์ปลิวจาก YouTube ได้เลย! เพราะ YouTube แพลตฟอร์มวิดีโอชื่อดังประกาศมาตรการตรวจสอบคอนเทนต์เมื่อวันพุธที่ 29 กันยายน 2564 ว่า ‘ห้าม’ ผู้ใช้บัญชีโพสต์คลิปซึ่งเป็นการให้ข้อมูลที่ ‘ผิด’ เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ซึ่งผ่านการรับรองจาก องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) หรืออยู่ในการดูแลของหน่วยงานด้านสุขภาพในท้องถิ่น ว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ หากฝ่าฝืนครบ 3 ครั้ง (หรือที่เรียกว่า Strike) ภายในระยะเวลา 90 วัน จะถูกลบบัญชีผู้ใช้ทันที แต่หากเนื้อหาถูกประเมินว่าร้ายแรงมาก ก็จะถูกลบบัญชีไปเลย แม้โพสต์วิดีโอเพียงครั้งเดียว YouTube จำกัดความ ‘ข้อมูลที่ผิด’ ไว้ว่า เป็นเนื้อหาที่พูดถึงวัคซีน (ซึ่งได้รับการอนุมัติแล้ว) ว่าก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพเรื้อรัง อ้างว่าวัคซีนไม่ลดการแพร่เชื้อ ไม่ลดการหดตัวของโรค หรือมีข้อมูลที่ผิดเกี่ยวกับสารที่มีอยู่ในวัคซีนโควิด-19 โดย YouTube มีข้อยกเว้นในการโพสต์ว่า หากเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการทดลองวัคซีนใหม่ หรือเล่าเกี่ยวกับการประสบความสำเร็จ […]

คนกลัวเข็มมีลุ้น! นักวิทยาศาสตร์กำลังคิดค้น แผ่นแปะวัคซีน 3 มิติ ไม่ต้องใช้เข็มฉีดยา

กลัวเข็มฉีดยาจนเครียด เกิดอาการแพนิกกลัวฉีดวัคซีนแล้วเจ็บแทบจะเป็นลม นี่เป็นปัญหาใหญ่ที่หลายคนกำลังเผชิญในช่วงที่ต้องตบเท้ากันไปฉีดวัคซีนโควิด-19 และเป็นปัญหาที่ทำให้หลายคนเลือกที่จะปฏิเสธการฉีดวัคซีน หรือเลื่อนออกไปก่อน ส่วนปัญหาสำหรับคุณภาพวัคซีนแบบฉีดที่พบตอนนี้คือการที่วัคซีนต้องจัดเก็บในอุณหภูมิเย็นที่ถูกต้องเพื่อคงประสิทธิภาพไว้ ทว่าเรากลับเห็นกรณีวัคซีนเสียในบางล็อตเพราะคลาดเคลื่อนทางการจัดเก็บ เพื่อให้คนกลัวเข็ม คนที่เป็นโรคแพนิก หรือคนที่วิตกกังวล ได้เบาใจลง แถมประชาชนสบายใจได้ว่าวัคซีนจะไม่เสียเพราะอุณหภูมิ ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา แชเปิลฮิลล์ จึงพัฒนา ‘แผ่นแปะวัคซีน 3 มิติ’ โดยใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ฝังวัคซีนบนแผ่นพอลิเมอร์ไว้แปะบนผิวหนัง ซึ่งแทบจะใช้เวลาไม่นานในการส่งวัคซีนเข้าผิวหนัง โดยไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนด้วยเข็ม  จากการศึกษาพบว่าแผ่นแปะวัคซีนดังกล่าวตอบสนองต่อเซลล์ภูมิต้านทานที่มีหน้าที่กำจัดเซลล์ที่ติดเชื้อ (T-cell) และยังเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายมากกว่าการฉีดใต้ผิวหนัง 50 เท่า ซึ่งการตอบสนองภูมิคุ้มกันที่เพิ่มขึ้นโดยใช้แผ่นแปะเล็กๆ จะช่วยในการประหยัดวัคซีนได้ เพราะจากการศึกษาโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ Proceedings of the National Academy of Sciences ก็พบอีกว่าแผ่นแปะวัคซีนมีผลตอบสนองมากกว่าการฉีดวัคซีนที่แขนถึง 10 เท่า จากการทดลองกับสัตว์ พวกเขาพยายามคิดค้นเทคโนโลยีนี้ที่สามารถส่งวัคซีนไปยังที่ใดก็ได้บนโลกโดยไม่ต้องมีการจัดเก็บแบบพิเศษโดยห้องเย็น ช่วยประหยัดการใช้โดส ลดความเจ็บปวด ความเครียด ความวิตกกังวล และผู้คนสามารถนำแผ่นแปะอันจิ๋วไปติดเองได้ด้วย จริงๆ การศึกษาเรื่องแผ่นแปะวัคซีนไม่ได้เพิ่งมี แต่งานของสแตนฟอร์ด และนอร์ทแคโรไลนา แชเปิลฮิลล์ […]

โควิดหลบไป ฟินแลนด์จะผลิตวัคซีนแบบพ่นจมูก

ได้ยินครั้งแรกก็รู้สึกเซอร์ไพรส์สุดๆ ว่าวัคซีนอะไร ทำไมถึงใช้พ่นทางจมูกได้นะ แต่นี่คือเรื่องจริงที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ เพราะโลกของเรากำลังจะได้ยลโฉมเจ้าวัคซีนชนิดนี้แบบเต็มตา นวัตกรรมนี้มาจากฐานการวิจัยของสองพันธมิตรอย่าง ‘มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ’ และ ‘มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นฟินแลนด์’ ในประเทศฟินแลนด์ และอีกไม่นานเกินรอนัก การทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนก็จะเริ่มต้นขึ้นในปลายปีนี้แล้ว ที่น่าตื่นเต้นพอๆ กับวัคซีนแบบละออง ก็คือการที่ศูนย์วิจัยในฟินแลนด์ใช้หัวมนุษย์เทียมในห้องทดลองเพื่อให้นักวิจัยได้ตรวจสอบกลไกของการหยด และการส่งละอองวัคซีนเข้าไปในจมูก ศีรษะประดิษฐ์สุดล้ำนี้ เปิดตัวตั้งแต่เมื่อต้นปี 2564 ซึ่งหายใจ ไอ จามได้ และเหมาะกับการทดสอบละอองลอยในรูปแบบต่างๆ มาก ซึ่งนอกจากเป็นตัวช่วยของการทดลองวัคซีน ยังนำมาช่วยด้านการทดสอบประสิทธิภาพของหน้ากาก เครื่องฟอกอากาศ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจในท้องตลาดได้อีกด้วย ผู้ออกแบบสเปรย์เล่าว่าส่วนประกอบของวัคซีนพ่นจมูกสำหรับป้องกันโคโรนาไวรัสที่พัฒนาขึ้นในฟินแลนด์ตัวนี้ ได้รับการปรับปรุงแก้ไขในช่วงฤดูร้อน (ก.ค. – ก.ย.) เพื่อให้แน่ใจว่ามันจะช่วยป้องกันเราจากสายพันธุ์ไวรัสโดยทั่วไปได้ดียิ่งขึ้น ผู้นำโปรเจกต์ที่เป็นศาสตราจารย์ด้านไวรัสวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิอย่าง Kalle Saksela บอกว่านอกจากจะพ่นวัคซีนทางจมูก เป้าหมายสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันโควิด-19 สายพันธ์ุต่างๆ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ยิ่งไปกว่านั้น ทีมวิจัยก็ไม่ได้ทำงานอย่างโดดเดี่ยว เพราะในเบื้องต้น เจ้าวัคซีนที่นำเข้าสู่ร่างกายคนผ่านรูจมูกตัวนี้ยังได้เงินทุนประมาณ 9 ล้านยูโรจากนักลงทุนมาพัฒนางานวิจัยให้ดีขึ้น แถมยังได้บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการทดลองทางคลินิกเข้ามาช่วยซัปพอร์ตทีม สำหรับวัคซีนเวอร์ชันอัปเดตล่าสุดนั้น พบว่าจะช่วยเรื่องการป้องกันเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าและสายพันธุ์ใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยัง…ยังไม่จบแค่นั้น ภูมิคุ้มกันประเภทนี้ยังมีฟังก์ชันที่ใช้งานเป็นวัคซีนเสริม […]

แฟลตลังเหล็ก ที่พักคนไร้บ้านยามโควิด-19 จากตู้คอนเทนเนอร์

ตู้คอนเทนเนอร์เก่าทำอะไรได้มากกว่า ‘กำแพงเหล็ก’ เพราะ ‘County Supervisor’ ของเมืองลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกาผุดโครงการบ้านพัก The Hilda L. Solis Care First Village บนย่านดาวน์ทาวน์ เพื่อดูแลประชาชนที่ประสบปัญหาไร้บ้าน โดยแบ่งเป็น 2 อาคารและใช้ตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมด 66 ตู้มาแบ่งเป็นยูนิตและเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกเข้าไปจนเหมือนบ้าน เดิมทีมันถูกแพลนไว้เป็น ‘เรือนจำใหม่’ จนกระทั่งปี 2019 ก็เปลี่ยนแผนยกใหญ่อีกครั้ง เพราะประชาชนในลอสแอนเจลิสมากกว่า 60,000 คน กำลังประสบปัญหาการ ‘ไร้บ้าน’ ทำให้ภาครัฐต้องการสร้างที่พักพิงสำหรับคนไร้บ้านมากกว่า ประจวบกับวิกฤตโรคระบาดที่เพิ่มจำนวนคนไร้บ้านขึ้นเรื่อยๆ แถมยังมีความเสี่ยงติดเชื้อสูง จึงเป็นตัวเร่งให้ ‘แฟลตลังเหล็ก’ แห่งนี้เกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิด โดยมี ‘NAC Architecture’ และ ‘Bernards’ เป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบและก่อสร้าง The Hilda L. Solis Care First Village ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 5,946 ตร.ม. ประกอบไปด้วยอาคาร 3 […]

Project ผลบุญ : คนกินได้รส ชาวสวนได้รับ สังคมได้รอด

“หัวเราะทั้งน้ำตา! ชาวสวนมังคุดใต้อ่วม ราคาตกต่ำเหลือโลละ 4 บาท”“ชาวสวนมังคุดลุกฮือจี้แก้ปัญหาราคาตกต่ำช้ำถูกกดราคาอย่างหนัก” สถานการณ์ COVID-19 ลากยาวมามากกว่า 1 ปี ผู้ประกอบการไทยต่างเข้าเนื้อ ทุนหาย กำไรหด เจ็บและเจ๊งกันเป็นแถบๆ เมื่อ ‘พลังของประชาชน’ คือความหวังเดียวที่จะช่วยกันเองให้รอด Urban Creature จึงพลิก ‘วิกฤต’ ให้เป็น ‘โอกาส’ ถือโอกาสบอกบุญ กับโปรเจกต์ ‘ผลบุญ’ ร้านผลไม้เฉพาะกิจของ Urban Creature ที่เปิดมาชวนผู้อ่านระดมทุน #อุดหนุน มังคุดเบตง กู้วิกฤตราคาผลผลิตตกแบบดิ่งลงเหว ขนส่งไม่ได้ขายไม่ออก ไป #ส่งต่อ ให้ผู้ต้องการเสบียงในพื้นที่จังหวัดยะลาได้อิ่มท้องในช่วงการระบาดของ COVID-19 อย่าง – กองสาธารณสุขเทศบาลเมืองเบตง กระจายต่อไปยังเจ้าหน้าที่เทศบาลและโรงพยาบาลสนาม– ชมรมมุสลิมสัมพันธ์เบตง เพื่อการศึกษาและเด็กกำพร้า กระจายต่อไปยังชุมชนที่ล็อกดาวน์และเด็กกำพร้าที่ชุมชนดูแล– ที่ว่าการอำเภอเบตง หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง นายอำเภอ ปลัดอำเภอ กระจายต่อไปยังเจ้าหน้าที่ อสม. และชุมชนหมู่ 4 ต.ตาเนาะแมเราะ อ.เบตง […]

FYI

ธุรกิจที่หายไปเพราะผลกระทบจาก COVID-19

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระเทือนรุนแรงมากไปกว่าสุขภาพของผู้คน แต่กระเทือนไปถึงภาคเศรษฐกิจที่รุนแรงเสียยิ่งกว่าวิกฤติต้มยำกุ้ง หรือวิกฤติการณ์ไหนๆ ในประเทศไทย สิ่งที่เราต้องรับรู้ทุกวันนอกจากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น คือจำนวนของเหล่าธุรกิจน้อยใหญ่ที่ ทยอยปิดตัวกันเป็นใบไม้ที่ร่วงโรยลงสู่พื้นดิน เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาให้มากขึ้น เราจึงอยากชวนทุกคนไปดูธุรกิจประเภทต่างๆ ที่ปิดกิจการอย่างถาวรเหลือไว้เพียงความทรงจำให้ผู้คนอย่างไม่ทันตั้งตัว และไม่เหลือแม้แต่โอกาสให้เราได้กลับไปเยี่ยมเยือนอีกครั้ง รถเมล์สาย 203 – แม้กระทั่งธุรกิจขนส่งมวลชนยังต้องบอกลาผู้โดยสาร ตำนานรถเมล์สาย 203 เส้นทางสายบุกเบิกที่ประชาชนที่ต้องการเดินทางในเส้นทาง ท่าอิฐ-สนามหลวงใช้บริการ ต้องปิดตัวลงเนื่องจากจำนวนผู้ใช้ที่ลดลงอย่างน่าตกใจ นโยบายการล็อกดาวน์ลดจำนวนการเคลื่อนย้ายนอกพื้นที่ กลายเป็นยาเร่งให้รถเมล์สายนี้ยื้อต่อไปไม่ไหว จนต้องจำใจปิดตำนานหลังจากทำหน้าที่รับส่งผู้คนมาเป็นระยะเวลากว่า 44 ปี เหลือไว้เพียงร่องรอยบนพื้นถนนและเส้นทาง ที่รถสายนี้เคยวิ่งผ่าน เซ็นทรัลหาดใหญ่ – ธุรกิจขนาดใหญ่ก็ต้องปรับตัว กับการปิดตัวถาวรของห้างสรรพสินค้าที่เก่าแก่ และนับเป็นห้างเซ็นทรัลสาขาแรกของภาคใต้อย่างเซ็นทรัลหาดใหญ่ ชวนให้ใจหายเพราะสถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เคยเป็นแหล่งนัดพบกันของคนหนุ่มสาว เคยเป็นพื้นที่แห่งความสุขสำหรับใครหลายๆ คน แต่ก็ต้องปิดตำนานลงเพราะผู้คนหวาดระแวงที่จะออกจากบ้าน ชาวต่างชาติไม่เข้ามาจับจ่ายใช้สอยเหมือนในอดีต ทำให้รายได้หลักสูญหาย นำมาสู่การปิดตัวของห้างสรรพสินค้านี้ไปด้วยระยะเวลา 26 ปี เหลือไว้เพียงชื่อให้คนรุ่นเก่าได้บอกเล่าให้คนรุ่นหลานจดจำ สวนเสือศรีราชา – พื้นที่แห่งความสุขที่เราเคยร่วมสนุกไปกับครอบครัวใน ‘สวนเสือศรีราชา’ ก็ต้องเลือนหายไป หลังจากประคับประคองธุรกิจด้วยวิธีต่างๆ ทั้งขายอาหารริมทาง เปิดให้เข้าชมฟรี จัดโปรโมชันต่างๆ แต่ก็ไม่อาจทนพิษของบาดแผลในครั้งนี้ไหวเพราะการล็อกดาวน์อย่างต่อเนื่องส่งผลให้นักท่องเที่ยวไทยไม่สามารถเดินทางมาใช้บริการได้ รวมถึงเป้าหมายหลักที่เป็นชาวต่างชาติก็กลายเป็นศูนย์และยังไม่มีทีท่าจะกลับมาได้ […]

ติด Covid-19 รัฐจ่ายอะไรให้บ้าง?

แม้จะมีข่าวโรงพยาบาลเรียกเก็บเงินเพิ่มอยู่เป็นระยะ แต่ถ้าว่ากันตามกฎหมายแล้วผู้ป่วยโควิด-19 จะได้รับการรักษา ‘ฟรี’ เนื่องจากเป็นโรคติดต่ออันตราย และถือว่าผู้ติดเชื้อเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินต้องได้รับการรักษาทั้งจากโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชนที่จะส่งบิลไปเรียกเก็บกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แล้วรัฐออกอะไรให้เราบ้าง แต่ละกระบวนการมีราคาเท่าไหร่ สิทธิ์ของเรามีแค่ไหน ดูกันได้ที่นี่ ค่าตรวจ 2,300 บาท  ราคาแรกที่รัฐต้องจ่ายเพื่อคัดกรองผู้ติดเชื้อมีหลายวิธีด้วยกัน แต่ถ้าเป็นการคัดกรองเฉพาะบุคคลไม่ได้ตรวจหาเป็นกลุ่มจะนิยมด้วยกัน 2 วิธีคือ RT-PCR ซึ่งเป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำเพราะมีความแม่นยำสูงตรวจได้ทั้งเชื้อเป็นและเชื้อตายและทราบผลได้ใน 24 ชั่วโมง และอีกวิธีคือ Rapid Antigen Test ที่ใช้งานง่ายกว่าและทราบผลได้ในเวลาไม่เกิน 30 นาที ข้อเสียคือไม่สามารถตรวจหาเชื้อโรคที่ปริมาณน้อยได้ ทำให้ไม่แม่นยำเท่า RT-PCR ซึ่งแต่เดิมตรวจฟรีเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสัมผัสสูง แต่ปัจจุบันมีการเปิดจุดตรวจฟรีเพิ่มขึ้นในพื้นที่เสี่ยงโดยใช้วิธี Walk-in หรือรับบัตรคิวล่วงหน้า  RT-PCR 2,300 บาท  Rapid Antigen Test 1,200 บาท เฉพาะในกรณีฉุกเฉิน (*หากตรวจร่วมกับ RT-PCR ไม่เกิน 500 บาท)  รายละเอียดเพิ่มเติม : shorturl.at/envIJ ค่ารักษา […]

1 2 3 7

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.