‘Nusantara’ เมืองหลวงใหม่อินโดนีเซีย ที่ต้องย้ายเพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมและกระจายความเจริญ

อีก 10 ปีนับจากนี้เราคงจะได้ยลโฉมกับเมืองหลวงใหม่ของอินโดนีเซียที่ชื่อ ‘นูซันตารา (Nusantara)’  หากใครสงสัยว่าทำไมอินโดนีเซียถึงต้องย้ายเมืองหลวง? ลองไปดูข้อมูลสถิติกันเล็กน้อย เมืองหลวงในขณะนี้ของอินโดนีเซียคือ ‘จาการ์ตา’ ตั้งอยู่ในหมู่เกาะชวาที่เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทางการเมืองและเศรษฐกิจ มีประชากรอาศัยอยู่ราว 10.5 ล้านคน แต่มีพื้นที่แค่ 661.5 ตารางกิโลเมตร (ถ้านึกภาพตามไม่ออกคือพื้นที่น้อยกว่ากรุงเทพฯ 3 เท่า แต่มีประชากรหนาแน่นเกือบเท่ากัน) นั่นทำให้เกิดปัญหาหลากหลาย ตั้งแต่ความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจกับส่วนภูมิภาค การจราจรติดขัด พื้นดินยุบเพราะน้ำประปาถูกสูบไปใช้ มลพิษทางอากาศ ฝุ่น PM 2.5 รวมไปถึงความกังวลว่าเมืองจะจมน้ำในอนาคต ‘นูซันตารา’ เป็นภาษาท้องถิ่นชวาที่แปลว่า ‘หมู่เกาะ’ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะบอร์เนียว ในจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก (East Kalimantan) จะมีพื้นที่ราว 2,000 ตารางกิโลเมตร นั่นคือใหญ่กว่าเมืองหลวงเดิมกว่า 3 เท่า หลังจากเริ่มการศึกษาแนวทางการย้ายเมืองหลวงอย่างละเอียดตั้งแต่ปี 2016 ในสมัยการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี โจโก วิโดโด (Joko Widodo) ในที่สุดรัฐสภาก็ได้ผ่านร่างกฎหมายในวันอังคารที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา และมีการระบุแผนโยกย้ายว่าจะใช้ระยะเวลา 10 ปี […]

‘สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)’ สัญลักษณ์ยิ่งใหญ่ในสยามยุคอาณานิคม สู่อนาคตว่าจะไปทางไหนดี

ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา กระแสการย้ายศูนย์กลางการเดินรถไฟจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปที่สถานีกลางบางซื่ออย่างฉับพลันทันด่วน ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ทั้งจากประชาชน นักเรียน-นักศึกษา นักวิชาการจากสถาบันการศึกษา รวมถึงบุคลากรในหน่วยงานของรถไฟเช่นกัน เสียงสะท้อนต่อการตัดสินใจจะเปลี่ยนแปลงมีตั้งแต่ การไม่คิดคำนึงถึงความเดือดร้อนของคนที่ใช้เส้นทางสัญจรเป็นประจำเพราะการย้ายจะทำให้ค่าใช้จ่าย และเวลาเดินทางเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงคำถามเชิงคุณค่าทางวัฒนธรรมต่อการใช้งานพื้นที่หัวลำโพง รวมไปถึงคำถามภาพใหญ่ที่ตั้งคำถามถึงระบบขนส่งสาธารณะของประเทศไทยทั้งหมด ว่าสรุปแล้วควรจะไปทิศทางไหน ถึงจะไม่สะเปะสะปะ และเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนคนเดินถนน ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศจริงๆ เมื่อมองกลับไปที่ประวัติศาสตร์ของ ‘สถานีกรุงเทพ’ สถานที่แห่งนี้บน ‘ถนนพระราม 4’ ในปัจจุบัน เคยเป็นทั้งศูนย์กลางขนส่งทางรางและตัวแทนอันน่าภาคภูมิของ ‘ความเป็นสมัยใหม่’ ของชนชั้นนำสยาม แต่ทำไมอนาคตของสถานีรถไฟในปัจจุบันกลับดูไม่แน่นอนว่าจะไปทางไหนต่อ หลังจากเสียงวิจารณ์เกือบหนึ่งเดือนเต็มๆ เมื่อ 20 ธันวาคม 2564 ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็ได้หยุดการ ‘ย้ายหัวลำโพง’ นี้ไปก่อน และให้มีรถไฟวิ่งเข้าออกสถานีตามปกติ นั่นทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์หยุดลงไปชั่วคราว แต่ปัญหาที่รอการหาทางออกร่วมกันในประเด็นนี้ยังคงอยู่ไม่หายไปไหน ดังคำกล่าวอันโด่งดังของนักปรัชญา ฟริดริช เฮเกล (Friedrich Hegel) ที่ว่า ‘เราเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ว่าพวกเราไม่เรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์เลย’ อาจจะเป็นประโยคเจ็บแสบล้อเลียนประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แต่ประเด็นสำคัญคือมันกระตุ้นเตือนให้เราตั้งคำถามกับสิ่งที่กำลังจะทำตลอดเวลา ว่าจะมีผลกระทบอะไรบ้าง และเราเรียนรู้จาก ‘ประวัติศาสตร์’ […]

Shenzhen Nanshan Sky Park เปลี่ยนที่ว่างบนดาดฟ้าสถานีรถไฟเป็นสวนสาธารณะ

จะเป็นอย่างไรถ้ารัฐยอมเปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่าให้เป็นพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาใช้ประโยชน์ได้? Shenzhen Nanshan Sky Park คือสวนสาธารณะลอยฟ้าแห่งใหม่ในเขตหนานซาน เมืองเซินเจิ้น มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน เป็นโครงการที่นำโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่มีอยู่แต่เดิมมาปรับปรุงใหม่ และใช้ประโยชน์จากภูมิทัศน์ของเมืองอย่างเต็มที่ โครงการนี้ออกแบบโดยบริษัทสถาปนิก Crossboundaries เป็นโปรเจกต์ที่เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2018 และเพิ่งเปิดให้ใช้งานในปี 2021 เป็นโครงการที่เปลี่ยนดาดฟ้าขนาดใหญ่ของอาคารโรงจอดและโรงซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าของรัฐให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะ โดยออกแบบให้เป็นสวนสาธารณะลอยฟ้า มีความยาว 1.2 กม. และมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการออกกำลังกายกลางแจ้งไว้บริการ เปิดให้ประชาชนเข้ามาออกกำลังกายหรือใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจได้ เพราะบนสวนลอยฟ้าแห่งนี้ถือเป็นจุดชมวิวที่สวยงามแห่งหนึ่งของเมืองเซินเจิ้น เห็นเส้นขอบฟ้าของเมืองเซินเจิ้นเป็นฉากหลัง และมองไปสุดปลายสะพานจะเห็นฮ่องกงอยู่ไม่ไกลนัก เพราะตั้งอยู่ใกล้กับสะพานเซินเจิ้น-ฮ่องกง  Hao Dong ผู้ร่วมก่อตั้ง Crossboundaries กล่าวว่า “ในประเทศจีนโครงสร้างพื้นฐานและพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมมักจะเป็นของรัฐบาล และเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้ถูกกำหนดให้ใช้งานเพื่อสาธารณประโยชน์เลย โดยเฉพาะหลังคาของอาคารแห่งนี้ที่มีศักยภาพมหาศาลในการเปลี่ยนเป็นสวนสาธารณะที่ให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์และเข้าถึงได้ในวงกว้างมากขึ้น ทำให้สภาพแวดล้อมของเมืองโดยรอบสวยงามมากยิ่งขึ้นอีกด้วย” สวนลอยฟ้าแห่งนี้ออกแบบพื้นที่ให้เหมาะกับคน 3 กลุ่ม คือประชาชนทั่วไป โรงเรียนในละแวกใกล้เคียง และคนที่ชื่นชอบการเล่นกีฬา พื้นที่นี้จึงไม่ได้สร้างแค่สวนเปล่าๆ แล้วจบไป แต่เต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬา ตั้งแต่สนามบาสเกตบอล สนามฟุตบอลแบบ 5 คน ไปจนถึงสนามเทนนิสระดับมืออาชีพพร้อมที่นั่งสำหรับผู้ชม และเส้นทางวิ่งระยะทาง 1.2 กม. […]

ผ่อนคลายกับบรรยากาศช่วงปลายปีที่ ICONSIAM

ช่วงปลายปีแบบนี้คือช่วงเวลาที่เหมาะกับการออกจากบ้านไปรับลมและอากาศดีๆ ริมแม่น้ำมากที่สุด อากาศแบบนี้ถ้าเราได้นั่งชิลๆ กินอาหารอร่อย กับบรรยากาศริมแม่น้ำ ช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลายไปได้เยอะ สถานที่ที่เรานึกถึงทุกครั้งและต้องมาเยือนเพื่อมาชมวิวโค้งน้ำที่สวยที่สุดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ก็คือ ICONSIAM แลนด์มาร์กระดับโลกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่มอบประสบการณ์ความรื่นรมย์ให้ทุกคนได้มาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ทุกวัน เพราะมีทั้งพื้นที่สีเขียวที่ร่มรื่นให้นั่งพักผ่อน คาเฟ่และร้านอาหารริมน้ำที่ได้รับลมเย็นๆ ตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวมของสิ่งที่ดีที่สุดของไทยที่ทำให้เราได้กินและได้ช้อปกันอย่างจุใจได้ตลอดวัน เหมาะชวนเพื่อนออกจากบ้านไปใช้เวลาด้วยกันทั้งวันแบบสุดๆ มาดูกันว่า 1 วันที่ ICONSIAM ในช่วงนี้มีที่ไหนน่าไปบ้าง Starbucks Reserve® Chao Phraya Riverfront  ถ้าหากถามว่าสตาร์บัคส์สาขาไหนสวยที่สุดในประเทศไทย เราขอส่ง Starbucks Reserve® Chao Phraya Riverfront ที่ตั้งอยู่บนชั้น 7 ของ ICONSIAM เข้าประกวด เพราะที่นี่เป็นสาขาที่ใหญ่ที่สุดและวิวดีที่สุดในประเทศไทย เพราะจะได้เห็นวิวแม่น้ำเจ้าพระยาแบบพาโนรามา มองเห็นอาคารเก่าย่านเจริญกรุงที่อยู่บริเวณฝั่งตรงข้าม เช่น สถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกส, โรงภาษีร้อยชักสาม, วัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) ฯลฯ จึงไม่แปลกใจที่หลายคนเลือกให้เป็นที่นั่งพักผ่อน นั่งคุยงาน หรือแม้กระทั่งมานั่ง Work from Cafe เพราะเป็นบรรยากาศที่รื่นรมย์และลมดีสุดๆ  นอกจากนี้ยังเป็นสาขาที่มีขนาดใหญ่และพื้นที่กว้างขวางกว่า 1,260 […]

Cloud Markt ร้านชำคราฟต์ฟู้ดแห่งภูเก็ต ที่สร้างคอมมูนิตี้ครีเอทีฟให้เกิดขึ้นจริงในบ้านเกิด

เมื่อช่วงต้นปี 2021 ทีมงาน Urban Creature แวะเวียนไปเยือนเมืองภูเก็ตมา ซึ่งหนึ่งในจุดหมายปลายทางก็คือ Cloud Markt (คลาวด์-มาร์ต) ร้านชำเล็กๆ ที่สรรหาฟู้ดคราฟต์จากกิจการท้องถิ่นไทยมาให้คนภูเก็ต รวมถึงคุณได้อุดหนุน ผมพูดคุยกับเจ้าของร้านจนติดลม พลางจิบคราฟต์เบียร์ ลิ้มรสคราฟต์ฟู้ดแสนอร่อย พร้อมบันทึกเสียงสนทนาไปด้วย เพื่อที่กลับมากรุงเทพฯ จะได้นั่งถอดเทปอย่างสบายใจ ตู้ม! คลัสเตอร์ภูเก็ตมาเยือน ภูเก็ตต้องเปิด-ปิด เกาะอยู่หลายครั้ง พวกเราจึงตัดสินใจพักงานชิ้นนี้ไว้ก่อน และรอวันที่สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น วันแล้ววันเล่า รอนานจนไม่รู้ว่าจะได้กลับไปเตร็ดเตร่ที่ภูเก็ตอีกเมื่อไหร่ แม้โควิดจะเป็นอุปสรรคในการปล่อยงานชิ้นนี้ แต่เชื่อไหมว่า โควิดไม่ใช่ปัญหาหลักของชาว Cloud Markt แต่กลับเป็นทั้งสารตั้งต้นของร้าน และด่านสำคัญที่เจ้าของร้านชำจะต้องผ่านไปให้ได้ ซึ่งทันทีที่เปิดประเทศ ผมก็ไม่รอช้า รีบหยิบเรื่องราวของ Cloud Markt ที่เราดองไว้ มาเสิร์ฟ เอ้ย! มาถ่ายทอดให้ทุกคนได้ทำความรู้จักกับร้านชำแห่งนี้ 01เหล่ามนุษย์ภูเก็ตที่ไม่พร่องเรื่องกิน เมื่อผมและทีมมาถึง ป้ายร้าน Cloud Markt สีส้มก็เด่นชัดมาแต่ไกล เหล่าเจ้าของร้านชำต้อนรับพวกผมอย่างเต็มใจ และไม่รีรอที่จะแนะนำตัวให้ผมทราบว่า หุ้นส่วนร้านชำแห่งนี้มี 3 คน ซึ่งทุกคนล้วนเป็นชาวภูเก็ต เริ่มที่ มอนด์-สุวิจักขณ์ […]

เที่ยววัดชมปริศนาธรรม พบหลักธรรมที่สอดแทรกอยู่ I วัดชลประทานรังสฤษดิ์ฯ The Series

เวลาเราไปเที่ยววัดเรามักคุ้นชินกับรูปปั้น จิตรกรรมต่างๆ หรือไม่ก็ป้ายคำสอน หากพินิจดูดีๆ และคิดหาความหมาย สิ่งเหล่านี้เหมือนตำราธรรมะอีกรูปแบบหนึ่งแต่มาในรูปแบบศิลปะธรรม วัดชลประทานรังสฤษดิ์ฯ The Series ในตอนนี้ พระมหาบุญฤทธิ์ ฐิตเมโธ เลขานุการเจ้าอาวาสวัดชลประทานฯ จะพาเรามาเดินทัวร์ในวัดว่าแต่ละจุดมีสิ่งใดแอบแฝงอยู่เป็นปริศนาธรรมน่าเล่า และอะไรคือธรรมะที่ซ่อนอยู่ #UrbanCreature #CitySurvive #วัดชลประทานรังสฤษดิ์ #ปริศนาธรรม

Smart Card : บัตรร่วมขนส่ง ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว ที่ไทยไม่มี (สักที)

หลายประเทศทั่วโลกเริ่มใช้ ‘สมาร์ตการ์ด’ หรือ ‘บัตรร่วม’ สำหรับระบบขนส่งสาธารณะมานานแล้ว ผู้คนสามารถเดินทางโดยระบบขนส่งมวลชนประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟ รถไฟใต้ดิน รถบัส และเรือ ได้เพียงแค่มีบัตรใบเดียว ทำให้คุณภาพชีวิตของคนง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น  แต่การใช้งานสมาร์ตการ์ดไม่ได้หยุดอยู่แค่ขนส่งมวลชนเท่านั้น เพราะในหลายประเทศได้ขยายขอบเขตบริการเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานของผู้คนมากยิ่งขึ้น นอกจากจะใช้จ่ายค่าเดินทางแล้ว บัตรใบเดียวกันยังสามารถใช้ซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ไปจนถึงจ่ายค่าจอดรถ ค่ายา และค่าบิลต่างๆ ได้ด้วย และประเทศต่างๆ ยังมีแนวโน้มที่จะครอบคลุมวิถีชีวิตของคนเมืองมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น สมาร์ตการ์ดในต่างแดนยังล้ำหน้าไปอีกขั้น เพราะในหลายประเทศอย่างฮ่องกง ไต้หวัน และสิงคโปร์ ได้พัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับสมาร์ตการ์ดเพื่อตอบโจทย์ชีวิตของคนยุคดิจิทัล ผู้คนสามารถชำระค่าบริการโดยใช้สมาร์ตโฟนแทนบัตรจริงๆ ได้เลย ไม่ต้องพกบัตรให้ยุ่งยากและล้นกระเป๋าอีกต่อไป แต่สำหรับประเทศไทย เคยนับไหมว่าแต่ละวันคุณใช้บัตรกี่ใบและใช้ไปกับอะไรบ้าง? กระทรวงคมนาคม และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดตัวบัตรร่วมอย่าง ‘บัตรแมงมุม’ มาตั้งแต่ปี 2008 แต่จนถึงปัจจุบันปี 2021 บัตรใบนี้ก็ยังไม่สามารถเชื่อมโยงการเดินทางทั้งหมดได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ชาวไทยต้องรอบัตรร่วมในฝันกันต่อไป Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปดูว่าสมาร์ตการ์ดในแต่ละประเทศเขาขยายขอบเขตการบริการไปถึงไหน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนอย่างไรบ้าง 01 | Suica ญี่ปุ่น สำหรับญี่ปุ่น แต่ละภูมิภาคใช้สมาร์ตการ์ดแตกต่างกัน […]

มาแชร์บุญ ซูเปอร์มาร์เก็ตที่ซื้อของต่ำกว่าราคาและได้เงินทอนเป็นบุญ | วัดชลประทานรังสฤษดิ์ฯ The Series EP2

ชาวพุทธโดยส่วนใหญ่ล้วนเคยถวายสังฆทาน แต่เราเคยตั้งคำถามกันหรือไม่ว่าถวายแล้วสังฆทานนั้นไปไหนต่อ จากคำบอกเล่าของผู้ที่เคยไปดูงานบางที่ เขากล่าวว่า “สังฆทานวางกองกันเป็นชั้นๆ ขึ้นไป ของบางอย่างใช้ไม่ทันก็เสีย” หากใช้ไม่ได้ เก็บไว้ไม่เป็นระบบ บุญที่เราจะได้จะเป็นบุญได้อย่างไร ในเมื่อบุญนั้นกลายเป็นของเสียไปหมด ในวันที่โลกต่างพูดถึงกระแส Waste Management กันมากขึ้น ที่วัดชลประทานฯ ก็มีการจัดการไม่ให้ของต่างๆ เสียเปล่า โดยใช้ระบบสังฆะ และหนึ่งในผลพลอยได้จากระบบนี้คือร้านที่มีชื่อว่า ‘มาแชร์บุญ’ มาแชร์บุญ คือร้านของชำในวัด แต่ไม่ได้ขายเพื่อมุ่งกำไร ทุกบาททุกสตางค์คือการหยอดลงตู้ค่าน้ำค่าไฟของวัด และราคาที่ขายก็เกินจริง ไม่ใช่แพงเกินจริง แต่ถูกเกินจริงเพราะตั้งราคาต่ำกว่าทุน ของที่ได้มาก็เป็นของที่เหลือจากระบบสังฆะ สิ่งเหล่านี้ทำงานเป็นระบบกันอย่างไร แล้วของจะไม่เสียเปล่าจริงหรือ หาคำตอบได้ใน วัดชลประทานรังสฤษดิ์ฯ The Series EP2 มาแชร์บุญ Superstore #UrbanCreature #CitySurvive #วัดชลประทานรังสฤษดิ์ #มาแชร์บุญ

ปิดตำนานรถเมล์สาย ‘ก.ไก่’ พ่วงท้าย จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อรถเมล์สาย ‘73ก’ ไม่มี ‘ก’ อีกต่อไป

‘กว่าคุณจะได้อ่านบทความนี้ ประเทศไทยคงไม่มีรถเมล์สาย 73ก อีกต่อไปแล้ว’ ‘73ก’ รถเมล์ที่มีเส้นทางผ่านไปทักทายผู้คนมากมายหลายย่าน ตั้งแต่แหล่งออฟฟิศย่านรัชดาฯ รับ-ส่งอากง-อาม่าที่เยาวราช ดรอปนักช้อปตัวยงที่ปากคลองตลาด-พาหุรัด-สำเพ็ง-ประตูน้ำ ผ่านแหล่งศูนย์รวมเยาวรุ่นอย่างสยาม-เซ็นทรัลเวิลด์ แม้แต่จะเดินทางไปจับมือเกิร์ลกรุ๊ปไกลถึงเดอะมอลล์ บางกะปิ หรืองาน Cat Festival แถวห้างแฟชั่นไอส์แลนด์ รามอินทรา สายนี้ก็ไปทั่วถึง! (ด้วยเส้นทางที่ทั้งแมสและทรหด)  จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากใครหลายคนจะเคยใช้บริการรถเมล์สายนี้มาแล้ว บางคนก็เป็นขาประจำ ไปเรียน ไปทำงาน หรือไปต่อสถานีรถไฟฟ้า โดยเฉพาะชาวลาดพร้าว บางกะปิ และนวมินเนี่ยนอย่างผม จนแม้แต่ในรายการแฟนพันธุ์แท้ EP.01 พิธีกรอย่าง กันต์ กันตถาวร ก็เคยพูดถึงรถเมล์สายนี้ด้วยเหมือนกัน ในวาระเดียวกับบรรทัดที่ 1 ‘เจอนี่เจอนั่น’ เดือนนี้ เลยขอบอกลาเพื่อนเก่าที่คุ้นหน้ามานานอย่างรถเมล์สาย ‘73ก’ รถประจำทางที่หลายคนคุ้นหน้าหรือเคยได้ขึ้นไปไหนมาไหน จนอาจเรียกได้ว่าเป็นรถเมล์สายแมสที่สุดของตระกูล ก ซึ่งตอนนี้รถเมล์สาย 73ก นี้ได้เลิกใช้ ‘ก’ ห้อยท้ายไปตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 หลังใช้ชื่อนี้มายาวนานกว่า 22 ปี  ว่าแต่ทำไมชื่อ 73 […]

Doc Club & Pub. พื้นที่รวมตัวของคนรักหนัง ที่อยากให้หนังสร้างบทสนทนาในสังคม

ถ้าอยากดูหนังสักเรื่อง ทางเลือกของคุณคือที่ไหน?  ถ้าหากคำตอบส่วนใหญ่เป็นห้างฯ ก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะปัจจุบันโรงหนังแบบ Stand Alone ในเมืองไทยได้กลายเป็นของหายากไปแล้ว เหลือแต่โรงหนังเจ้าใหญ่ไม่กี่เจ้าในห้างสรรพสินค้า เป็นตัวชี้วัดว่าตัวเลือกในการดูหนังของคนไทยน้อยลงทุกวัน หากไม่มี Video Streaming จากต่างชาติเข้ามาโอกาสที่เราจะได้เปิดหูเปิดตาผ่านภาพยนตร์คงน้อยลงไปอีก แม้โรงหนังเล็กๆ ทยอยปิดตัวลงไป เพราะสู้เจ้าใหญ่ไม่ไหว แต่เรื่องน่าดีใจของคนรักในปี 2021 คือเรามี Doc Club & Pub. เป็นทางเลือกในการดูหนังเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งที่ (และเป็นพื้นที่ที่ออกมาจากห้างฯ สักที) เราจะพาไปพูดคุยกับอีกหนึ่งตัวจริงในวงการภาพยนตร์ไทย พี่หมู-สุภาพ หริมเทพาธิป ผู้ร่วมก่อตั้งนิตยสารหนัง BIOSCOPE และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งค่ายจัดจำหน่ายหนังทางเลือก Documentary Club ถึงที่มาที่ไปของ Doc Club & Pub. โรงหนัง คาเฟ่ และพื้นที่รวมตัวแห่งใหม่ของคนรักหนัง ที่เขาอยากเห็นหนังเป็นตัวสร้างบทสนทนาในสังคม  เรานัดเจอกันที่ Doc Club & Pub. ในศาลาแดง 1 หลังจากคลายล็อกดาวน์ไม่กี่วัน ที่นี่ตั้งอยู่บนชั้น 2 ของอาคาร […]

ปี 2025 โซลจะมีสวนวัฒนธรรมริมน้ำที่ตอบโจทย์ทุกคน

กรุงเทพฯ มี ‘โอ่งอ่าง’ คลองที่สวยที่สุดในเมืองกรุง แต่ในปี 2025 ‘โซล’ เมืองหลวงของประเทศเกาหลีใต้กำลังจะมีสวนสาธารณะวัฒนธรรมริมน้ำ ที่มีสามดีเทลสำคัญเป็นหัวใจหลักของการดีไซน์พื้นที่ หนึ่ง. ศิลปะ  สอง. วัฒนธรรม สาม. สเปซที่เชื่อมต่อทั้งย่าน Seongdong เข้าด้วยกันให้เดินไปมาหาสู่กันได้แบบทะลุปรุโปร่ง  ทั้งสามรายละเอียด ถูกคิดค้น ออกแบบเพื่อตอบโจทย์วิถีการใช้ชีวิตของคนเมืองให้ทุกคนเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย และได้พักผ่อนหย่อนใจ คลายเครียดทั้งร่างกายและจิตใจกันถ้วนหน้า ทั้งนี้ในปี 2025 เรากำลังจะได้ยลโฉมสเปซบริเวณลำธาร Jungnangcheon (중랑천) ซึ่งจะถูกแปลงโฉมใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ประชาชนเกาหลีได้มีพื้นที่ทางวัฒนธรรมริมน้ำแห่งใหม่ ซึ่งผสมผสานระหว่างศิลปะและการพักผ่อนหย่อนใจเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว  คลองหรือลำธารจุงนังเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำฮัน มีต้นกำเนิดมาจากหุบเขา Dorak ใน Yangju จังหวัด Gyeonggi ซึ่ง Cheonggyecheon ก็เป็นลำน้ำสาขาของ Jungnangcheon ลุ่มน้ำทั้งหมดมีพื้นที่ 299.9 ตารางกิโลเมตร ลำธารส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองอึยจองบูและกรุงโซล อภิมหาโปรเจกต์ของรัฐบาลโซล (The Seoul Metropolitan Government) ครั้งนี้จะมีการสร้างถนนใต้ดินระหว่างสะพาน Changdonggyo และสะพาน Sanggyegyo ภายใต้ลำธาร […]

City for Moms : เมืองในฝันสำหรับแม่ของพวกเรา

ในฐานะลูก การได้เห็นแม่อยู่ดีมีความสุข ก้าวเข้าสู่ชีวิตวัยชราอย่างมีคุณภาพนั้นเป็นเรื่องน่าเบิกบานใจไม่แพ้การที่แม่คาดหวังได้เห็นลูกเติบโตอย่างแข็งแรง มั่นคงและงดงาม  เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก ดูเหมือนเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ ระดับครัวเรือน ทว่าชีวิตภายใต้โครงสร้างทางสังคมนั้น เมืองถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่เข้ามากำหนดชีวิตของแม่และลูกทุกคนในสังคมทั้งในทางตรงและทางอ้อม ทั้งทางเลือกที่เราเลือกได้เพียงน้อยนิดและที่เราไม่เคยได้เลือกเลยก็ตาม เมืองเชื่อมโยงกับชีวิตตั้งแต่เกิดจนเราตาย หากลองคิดให้ลึกซึ้งกว่าเดิม เมืองที่มีโครงสร้างพื้นฐาน นโยบายและรัฐสวัสดิการที่ดีพร้อม ย่อมตอบโจทย์ชีวิตของทุกคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะแม่ๆ ของเราที่กำลังก้าวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคมผู้สูงวัย (Aging Society)  สำหรับวันแม่ในเมืองฝันสลายแห่งนี้ เราจะพูดถึงแม่แบบโรแมนติไซซ์หรือการบอกรักแม่เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ ดังนั้นเราจึงชวนมนุษย์ลูก 6 คนมานั่งพูดคุยกันว่าในเมื่อกรุงเทพฯ ตอบโจทย์ชีวิตแม่ของเราได้ไม่ดีเท่าที่ควรนัก พวกเขาฝันอยากเห็นแม่ที่รักได้มีลมหายใจในเมืองที่มีหน้าตาและจิตวิญญาณแบบไหน เผื่อว่าในระหว่างบรรทัดของถ้อยคำที่ร้อยเรียงจากความรักและความห่วงใยจะสะท้อนวิถีชีวิตของพวกเราในเมืองใหญ่ ซึ่งเต็มไปด้วยผู้คนที่อยากมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าในทุกวันนี้ 01 ป่าน-ชนารดี ฉัตรกุล ณ อยุธยา  อาชีพ : ศิลปิน เมืองที่อยากให้แม่ไปอยู่ : เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี “เราอยากให้แม่ได้อยู่ในประเทศที่มองเห็นคนเท่าๆ กัน มีชีวิตอย่างมีคุณค่าเท่าที่มนุษย์คนหนึ่งควรถูกทรีต ให้เขาได้อยู่ในเมืองที่เรามั่นใจได้ว่าเมื่อแม่แก่ตัวหรือเจ็บป่วย จะมีโรงพยาบาลที่ Afford ได้ง่ายดาย มีสวัสดิการพื้นฐานที่ดี เมื่อต้องเดินทางไปไหนก็อยากให้เขาได้มีการคมนาคมและขนส่งมวลชนที่ครอบคลุมและมีคุณภาพ แต่ตอนนี้ประเด็นพวกนี้กลับไม่มีในเมืองที่เราอยู่  “เราถูกสอนให้เป็นคนกตัญญูต้องตอบแทนบุญคุณ จนลืมตั้งคำถามกับชีวิตว่าส่วนหนึ่งของการดูแลคน มันคือสิ่งที่รัฐต้องจัดสรรให้ทุกคนอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าลูกๆ ต้องลำบากตรากตรำทำงานเพื่อชดใช้บุญคุณพ่อแม่ตัวเอง ไม่ใช่แค่แม่เราหรอกที่ควรได้อยู่ในเมืองที่ดี […]

1 2 3 4 5 6 14

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.