Sick Building Syndrome : วันที่ฉันป่วยจากตึกสูง

เคยเป็นไหม? ในวันทำงานเรามักมีอาการป่วยแปลกๆ และเพื่อนในออฟฟิศก็เริ่มมีอาการคล้ายๆกัน หรือคุณอาจกำลังมีอาการของ ‘โรคภูมิแพ้ตึก Sick Building Syndrome (SBS)’  ภัยใกล้ตัวของเหล่าพนักงานออฟฟิศที่คุณอาจไม่รู้ตัว จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปทำให้การใช้ชีวิตของมนุษย์แตกต่างไปจากเดิมปัจจุบันเรามักถูกจำกัดด้านการใช้พื้นที่มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมของคนเมืองที่ใช้ชีวิตอยู่แต่ในตึกทั้งวัน คอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนต์ แฟลต ตึกแถว หรือแม้แต่การอาศัยอยู่ในบ้านที่ไม่มีพื้นที่ภายนอกตัวบ้านมากนัก ซึ่งการต้องทำงานหรืออยู่แต่ในตึกสูง อาคารที่เปิดเครื่องปรับอากาศทั้งวันไม่เคยได้รับอากาศจากธรรมชาติเลย นั่นส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพของคุณโดยตรงอย่างไม่น่าเชื่อเลยล่ะ | ปีศาจร้ายบนตึกสูง กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงซึ่งเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของประเทศทำให้มีประชากรจำนวนมากเข้ามาอยู่อาศัย และเมื่อประชากรหลั่งไหลเข้ามาก็ย่อมไม่เพียงพอต่อการอยู่อาศัยซึ่งสมัยก่อนการอยู่อาศัยในบ้านเราจะเป็นแนวราบซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ในช่วง 5-7 ปีที่ผ่านมาพฤติกรรมการอยู่อาศัยของคนกรุงเทพฯได้เปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นการอยู่อาศัยแบบแนวตั้งมากขึ้น อาทิเช่น ตึก คอนโดมิเนียม หอพัก เป็นต้น วิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่มักใช้เวลา 80-90% อยู่ภายในตึกหรือออฟฟิศที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศและมีการระบายอากาศไม่เพียงพอขาดการถ่ายเทที่ดี ซึ่งจะทำให้มีสิ่งปนเปื้อนสูงกว่าภายนอกอาคารที่โล่งแจ้งจึงทำให้เกิดอาการไม่สบายอย่างเฉียบพลันซึ่งโรคนี้ไม่ใช่โรคที่เพิ่งเกิดใหม่โดยเป็นโรคที่ถูกยอมรับโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นเวลากว่า 34 ปีมาแล้ว หากคุณกำลังมีอาการเหล่านี้บ่อยๆ ขณะอยู่ที่ทำงาน เช่น ปวดศีรษะ ระคายเคือง ตา จมูก หรือลำคอ จาม น้ำมูกไหล คันตามผิวหนัง หน้ามืด คลื่นไส้ ขาดความกระตือรือร้นในการทำงานไวต่อกลิ่นมากขึ้น หดหู่ อ่อนเพลีย ง่วงนอน […]

URBAN SOLUTIONS 01 : “เมื่อฝุ่นบุกรุก”

“บางทีเธอเป็นเช่นหมอกขาว และบางคราวเธอเป็นเหมือนควัน” ปัญหาของคนเมืองในช่วงนี้ คงหนีไม่พ้นมลพิษทางอากาศ หรือฝุ่นละอองขนาดเล็กไซส์ 2.5 – 10 PM ฟุ้งกระจายไปทั่วกรุงเทพ ไม่มีกลิ่นและมองไม่เห็นแต่มีภัยต่อร่างกายมหาศาล ทุกวันนี้คนที่เดินผ่านไปผ่านมาก็เริ่มใส่หน้ากากกรองอากาศกันจนเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งต้องบอกเลยว่าหน้ากากอนามัยแบบบางๆนั้นเอาไม่อยู่!

ถ้าคุณสามารถเปลี่ยนอะไรก็ได้ในกรุงเทพฯ คุณจะเปลี่ยนอะไร? – EP.1

ถ้าเกิดคุณสามารถเปลี่ยนอะไรก็ได้ในกรุงเทพฯ มหานครอันแสนวุ่นวายที่มีพร้อมทุกอย่าง ขาดบ้าง เกินบ้าง ใช้ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง คุณอยากจะเปลี่ยนอะไร? พอนึกถึงว่ามีอะไรที่อยากให้ปรับปรุง เน้นความอยากให้เป็น ไม่ต้องเน้นความเป็นไปได้ อันดับแรกๆ เราก็นึกถึง Infrastructure หรือสิ่งก่อสร้างพื้นฐานก่อนเป็นอันดับต้นๆ เพราะมันเปรียบเสมือนสิ่ง Built-in ที่ก่อให้เป็นเมือง ไม่ว่าจะเป็นถนน ตึก สะพาน เสาไฟ สายไฟ ระบบสาธารณูประโภคต่างๆ เพราะถ้ามีโครงสร้างพื้นฐานที่เปรียบเหมือนวัตถุดิบที่ดีตั้งแต่ต้น เมืองก็น่าอยู่ไปแล้วครึ่งหนึ่ง เนื่องจากเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่เกิดและโตและใช้ชีวิตในเมืองกรุงแห่งนี้ เวลาไปไหนมาไหนย่อมเห็นข้อดีและปัญหาของสิ่งต่างๆ รอบตัว เลยเกิดเป็นซีรีส์ “ถ้าคุณสามารถเปลี่ยนอะไรก็ได้ในกรุงเทพฯ คุณจะเปลี่ยนอะไร?” ขึ้นมา ประเดิมตอนแรกด้วย ฟุตพาท สิ่งก่อสร้างพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้ใช้ในทุกๆ วัน ฟุตพาทคือทางเท้าสำหรับคนเดิน ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า “foot = เท้า” “path = ทาง” แต่ทุกวันนี้น้อยฟุตพาทนักที่จะน่าเดิน หรือเอื้อกับการเดิน อุปสรรคในการเดินที่เราพบเจอนั้นมีมากมายหลากหลายรอบทิศทาง จากการสอบถามความเห็นประชากรชาวออฟฟิศใจกลางเมืองแห่งหนึ่งที่ต้องใช้ฟุตพาทเพื่อเดินมาทำงานและไปทานข้าวเที่ยงทุกวันจำนวน 4 คนถ้วน กับคำถามเดียวกันนี้ ก็ได้คำตอบว่า “อยากเปลี่ยนฟุตพาทไม่ให้เป็นกับระเบิดอะค่ะ” “ไม่เอาอิฐแผ่นๆ ค่ะ” […]

ไม่มีค่าหรือแค่มองไม่เห็นค่า? หลากหลายวิธีรีไซเคิลอย่างสร้างสรรค์ที่จะเปลี่ยนเศษขยะให้กลายเป็นขุมสมบัติ

‘ขยะ’ คือวัตถุหรือสิ่งของสถานะอื่นที่เราไม่ได้ต้องการมันอีกแล้ว เมื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งกลายเป็นขยะ มันก็ต้องลงเอยในถังขยะ และเมื่อเรานำขยะเหล่านั้นไปทิ้ง ปลายทางชีวิตของขยะก็จะถูกแยกออกตามลักษณะทางกายภาพของมัน ไม่ว่าจะแยกไปทำลาย แยกไปทิ้งรอการย่อยสลาย หรือแยกไปเพื่อรีไซเคิล ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับขยะในปัจจุบันก็คือการรีไซเคิลขยะเพื่อเป็นการลดปริมาณขยะลง และช่วยประหยัดพลังงานในการทำลายที่สูญเปล่า

กาลเวลาและความเป็นไปของตึกรามบ้านช่อง

อาหารรถเข็น ห้างสรรพสินค้า ศิลปวัฒนธรรม ความแออัด ความเจริญ และอีกหลายๆคำตอบที่คุณอาจคิดถึงและคิดไม่ถึง แต่มีอยู่คำตอบนึงที่หลายๆ คนน่าจะนึกถึงเหมือนกัน นั่นคือ “ตึก” ถึงแม้ว่าย่านที่มีตึกหรือป่าคอนกรีตกระจุกตัวอยู่จะมีไม่กี่ส่วนเมื่อเทียบกับกรุงเทพมหานครทั้งเมือง แต่ภาพลักษณ์ก็เป็นเช่นนั้นอยู่ไม่น้อย

แหล่งน่าสนใจย่านรัตนาธิเบศร์ อยู่แล้วสบายใจ จะไปไหนก็ได้

ถ้าพูดถึงรัตนาธิเบศร์หลายคนอาจจะนึกไม่ออกด้วยซ้ำว่ามันคือตรงไหนของประเทศไทย และถ้าจะให้อธิบายก็คงจะบอกว่ารัตนาธิเบศร์ก็อยู่แถบชานเมืองแถวๆ นนทบุรีนั่นแหละ

แอร์กี่หนีเที่ยว : อินชอน

วันนี้จะมานำเสนอ คำศัพท์ที่รู้กันในหมู่ลูกเรือ เพื่อบอกว่าเราจะมีเวลาอยู่ในที่นั้นๆ นานเท่าไหร่ เช่น

‘ขีด’ หมายถึง วันหยุดเต็มๆ 1 วัน ที่เมืองที่เราบินไปลง ไม่นับวันทำงานไปและทำงานกลับ (ซึ่งปัจจุบันนั้นหายากมากแล้ว) เราจะเรียกว่า วันขีด (มาจากเส้นขีดที่เกิดขึ้นในตารางบินของลูกเรือผู้โชคดีนั้นๆ) ถ้าได้หยุด 2 วัน ก็จะเรียกว่า 2 ขีด (อันนี้ ปัจจุบันเรียกว่า ฝันเฟื่อง) เป็นต้นว่า เดือนนี้ แอร์กี่ มีไฟลท์ ไทเป 1 ขีด จะไปเดินหาของอร่อยทานให้พุงแตกเลย หรือ เมื่อเดือนที่แล้วไปโอซาก้า ขากลับเครื่องเกิดเสีย เลยได้อยู่ขีดต่อ เพราะต้องรอซ่อมเครื่องให้เสร็จเสียก่อนถึงจะกลับได้

Urban Eyes : คนส่องสัตว์ Pet Expo 2017

เมื่อวันก่อนไปเดินงาน Pet Expo มาตั้งแต่เก้าโมงเช้ายันเกือบๆ บ่ายสอง ตอนแรกก็ไปกะว่าจะหาซีนคนนั่งรอก่อนเข้างาน ระหว่างทางก็เดินผ่านบูธขายตั๋วเลยขอซื้อก่อนตอนเวลาเค้าเปิดจะได้เดินเข้าไปเลย แล้วก็เดินต่อไปก็เจอกลุ่มคนมานั่งรอเข้างานจริงๆ คนกลุ่มนี้เป็นคนรักหมาเวลาเราไปถ่ายหมาก็ถ่ายได้สบายคนเค้าก็จะยิ่งให้น้องหมาโชว์ทำนั่นทำนี่ แล้วก็เป็นกลุ่มที่มีอัธยาศัยดี

People of Bangkok : The Worker Ants

เหล่าคนงานที่เป็นเหมือนมดงานที่คอยสร้างเมืองของเรา อาชีพที่มีศักดิ์ศรีและมีความสำคัญต่อเมือง

1 12 13 14

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.