7 ธุรกิจต้นแบบที่คืนกำไรให้สังคม

แนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise (SE) ถูกนิยามขึ้นครั้งแรกโดยศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนุส (Muhammad Yunus) นักเศรษฐศาสตร์ชาวบังกลาเทศเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2549 7 ธุรกิจต้นแบบที่คืนกำไรให้สังคม คำว่า ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) คือธุรกิจที่สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อม และการเงินไปพร้อมๆ กัน โดยใช้การบริหารจัดการที่ดีของภาคธุรกิจมาบวกกับความรู้และนวัตกรรมสังคม มีความยั่งยืนทางการเงิน โดยที่มาของรายได้สามารถอยู่ในรูปแบบการขายผลิตภัณฑ์หรือบริการ การระดมทุนโดยให้ผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุน ไปจนถึงการขอรับบริจาค 01 | อภัยภูเบศร พลังสมุนไพรไทยเพื่อคนไทย ‘อภัยภูเบศร’ หรือ สมุนไพรอภัยภูเบศร ชื่อนี้คุ้นหูคุ้นตาคนไทยยิ่งนัก เพราะเลื่องชื่อลือชาเรื่องการใช้สมุนไพร อภัยภูเบศรลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจเพื่อสังคมเมื่อ พ.ศ. 2561 ซึ่งนอกจากขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรไทยแล้ว ยังมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพมาใช้ในการดูแลสุขภาพของคนไทย อีกทั้งในกระบวนการขั้นตอนต่างๆ ล้วนให้ความสำคัญกับสังคมและสิ่งแวดล้อม และผลกำไรมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ถูกนำกลับไปลงทุนซ้ำ เพื่อวัตถุประสงค์ทางสังคมหรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม หรือคืนประโยชน์ให้แก่สังคม ปัจจุบัน อภัยภูเบศรยังทำงานร่วมกับเกษตรกรและหมอยาพื้นบ้าน ซึ่งในปีล่าสุดมีการรับซื้อสมุนไพรจากเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรนับ 500 ราย รวมกว่า 80 ล้านบาทอีกด้วย […]

“Home Office” พื้นที่ของการสร้างแรงบันดาลใจ สถานที่ทำงานของคนยุคใหม่ใช่เลย

เมื่อไลฟ์สไตล์การทำงานของคนยุคใหม่เปลี่ยนไป การนั่งติดจอคอมพิวเตอร์ในพื้นที่แคบๆ อย่างเคยไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป หลายธุรกิจจึงเลือกที่จะไม่เช่าออฟฟิศในอาคารสำนักงาน แต่เปลี่ยนมาเป็น Home Office ที่ให้พื้นที่มากกว่า สามารถจัดสรรพื้นที่ได้ตามใจชอบ ไม่ว่าจะเพิ่มมุมนั่งเล่น โซนนั่งพักผ่อน หรือห้อง Meeting ไว้ให้เราเข้าไปละเลงไอเดียและหาแรงบันดาลใจดีๆ ในการทำงาน

Like Father, Like Son : พ่อลูกคู่เหมือนแห่ง “ARTROOM 24” งานศิลปะแอร์บรัชที่ถ่ายทอดผ่านสายเลือด

บทสนทนาแสนอบอุ่น เรียบง่าย และข้อคิดจากผู้ชายธรรมดาๆ เจ้าของร้านทำสีมอเตอร์ไซค์ ที่ตั้งใจฟูมฟักลูกชายให้เติบโตเป็นคนดี ลงมือทำให้เห็นและสัมผัสถึงความรักในงานศิลปะ ที่ค่อยๆ ซึมซับในตัวลูกชาย จนเรียกได้ว่า “ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น”

BANGNA ISN’T JUST A BANGNA : เปิดมุมมองใหม่ในย่านบางนา แหล่งรวมไลฟ์สไตล์คนเมือง

ทุกวันนี้ หลายคนที่ใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเดินทางมาทำงาน หรือมีแอคทิวิตี้ที่แตกต่างกัน คงจะรู้สึกได้ว่าผู้คนในเมืองหนาแน่นขึ้น หรือตึกสูงที่หนาตาขึ้นเรื่อยๆ หลายคนก็เลือกที่จะหลีกเลี่ยงการเข้าไปเบียดเสียดกันในเมือง และต้องการชีวิตที่มีความคล่องตัวมากขึ้น

Bangkok Sewer : ท่อ (รอ) ระบายน้ำ

จากปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีน้ำท่วมกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ และการระบายน้ำก็เป็นไปอย่างล่าช้า คนไทยต้องตกอยู่ในความลำบาก ทั้งเรื่องอาหารการกิน, ที่อยู่อาศัย, การเกษตร, อุตสาหกรรม และเศรษฐกิจ ได้รับความเสียหาย หลายครั้งถึงขึ้นเกิดอุทกภัยที่รุนแรง หนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ ก็คือ “ปัญหาการระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ” นั่นเอง

โลกใบกว้างของ ‘ชีวิตสี่ขา’

ถ้าเป็น “คน” สิ่งที่ทำเป็นประจำในแต่ละวัน คือกินข้าว ทำงาน ปาร์ตี้ อาบน้ำ เข้านอน แล้วถ้าเป็น “สุนัขจรจัด” ล่ะ มีใครเคยลองคิดบ้างไหมว่า วันๆ มันทำอะไรบ้าง มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร และทำไมเพื่อนสี่ขาเหล่านี้ถึงกลายมาเป็นสุนัขจรจัด เราเลยชวนทุกคนมาลองมองโลกในมุมของ “ขาว” เจ้าถิ่นสี่ขา ณ ย่านเอกมัยกัน

Green Corner Of Ratchathewi

เมื่อวันเวลาเปลี่ยนไปธรรมชาติก็ถูกกลืนกินด้วยความทันสมัยพื้นที่สีเขียวกลายเป็นสิ่งที่ใครๆก็ต่างโหยหา แต่จะดีแค่ไหนถ้าเราได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติเพียงแค่คุณก้าวเท้าออกจากห้องก็สามารถสัมผัสกับธรรมชาติภายในที่อยู่อาศัย

Better City Starts With a “Good Walk” : ภารกิจเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้ย่านของเราเป็น “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี”

กรุงเทพฯ เมืองที่หลายคนรักแต่อีกใจหนึ่งก็เกลียด ขึ้นชื่อเรื่องไฟแดงนานและไฟเขียว 3 วิ เอาล่ะ วันนี้ไม่ได้จะมาบ่นกรุงเทพฯ แต่เรามีแนวคิดดีๆ ให้ชาวกรุงเทพฯ เปลี่ยนมาใช้การเดินเท้าแทนการขับรถ ซึ่งก่อนที่แต่ละย่านจะสามารถเป็น “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” ก็มีสิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนมากกว่าแค่ทางเท้า

De LAPIS Charan 81 : จงเลือกใช้ชีวิตบนเหตุผลของคุณ

ความหมายของการใช้ชีวิตคืออะไร? บางคนอาจหมายถึงความสำเร็จในเป้าหมายที่ตัวเองเคยตั้งไว้ หรือการได้รับค่าตอบแทนสูงๆ แต่สำหรับบางคนอาจเป็นเพียงแค่การได้ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายกับคนที่คุณรักในพื้นที่ส่วนตัว ‘บางพลัด’ จึงเป็นอีกหนึ่งย่านที่ตอบคำถามของการใช้ชีวิตที่ยังคงเสน่ห์ของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตในแบบฉบับคนฝั่งธนฯ ที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว

Sick Building Syndrome : วันที่ฉันป่วยจากตึกสูง

เคยเป็นไหม? ในวันทำงานเรามักมีอาการป่วยแปลกๆ และเพื่อนในออฟฟิศก็เริ่มมีอาการคล้ายๆกัน หรือคุณอาจกำลังมีอาการของ ‘โรคภูมิแพ้ตึก Sick Building Syndrome (SBS)’  ภัยใกล้ตัวของเหล่าพนักงานออฟฟิศที่คุณอาจไม่รู้ตัว จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปทำให้การใช้ชีวิตของมนุษย์แตกต่างไปจากเดิมปัจจุบันเรามักถูกจำกัดด้านการใช้พื้นที่มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมของคนเมืองที่ใช้ชีวิตอยู่แต่ในตึกทั้งวัน คอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนต์ แฟลต ตึกแถว หรือแม้แต่การอาศัยอยู่ในบ้านที่ไม่มีพื้นที่ภายนอกตัวบ้านมากนัก ซึ่งการต้องทำงานหรืออยู่แต่ในตึกสูง อาคารที่เปิดเครื่องปรับอากาศทั้งวันไม่เคยได้รับอากาศจากธรรมชาติเลย นั่นส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพของคุณโดยตรงอย่างไม่น่าเชื่อเลยล่ะ | ปีศาจร้ายบนตึกสูง กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงซึ่งเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของประเทศทำให้มีประชากรจำนวนมากเข้ามาอยู่อาศัย และเมื่อประชากรหลั่งไหลเข้ามาก็ย่อมไม่เพียงพอต่อการอยู่อาศัยซึ่งสมัยก่อนการอยู่อาศัยในบ้านเราจะเป็นแนวราบซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ในช่วง 5-7 ปีที่ผ่านมาพฤติกรรมการอยู่อาศัยของคนกรุงเทพฯได้เปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นการอยู่อาศัยแบบแนวตั้งมากขึ้น อาทิเช่น ตึก คอนโดมิเนียม หอพัก เป็นต้น วิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่มักใช้เวลา 80-90% อยู่ภายในตึกหรือออฟฟิศที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศและมีการระบายอากาศไม่เพียงพอขาดการถ่ายเทที่ดี ซึ่งจะทำให้มีสิ่งปนเปื้อนสูงกว่าภายนอกอาคารที่โล่งแจ้งจึงทำให้เกิดอาการไม่สบายอย่างเฉียบพลันซึ่งโรคนี้ไม่ใช่โรคที่เพิ่งเกิดใหม่โดยเป็นโรคที่ถูกยอมรับโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นเวลากว่า 34 ปีมาแล้ว หากคุณกำลังมีอาการเหล่านี้บ่อยๆ ขณะอยู่ที่ทำงาน เช่น ปวดศีรษะ ระคายเคือง ตา จมูก หรือลำคอ จาม น้ำมูกไหล คันตามผิวหนัง หน้ามืด คลื่นไส้ ขาดความกระตือรือร้นในการทำงานไวต่อกลิ่นมากขึ้น หดหู่ อ่อนเพลีย ง่วงนอน […]

URBAN SOLUTIONS 01 : “เมื่อฝุ่นบุกรุก”

“บางทีเธอเป็นเช่นหมอกขาว และบางคราวเธอเป็นเหมือนควัน” ปัญหาของคนเมืองในช่วงนี้ คงหนีไม่พ้นมลพิษทางอากาศ หรือฝุ่นละอองขนาดเล็กไซส์ 2.5 – 10 PM ฟุ้งกระจายไปทั่วกรุงเทพ ไม่มีกลิ่นและมองไม่เห็นแต่มีภัยต่อร่างกายมหาศาล ทุกวันนี้คนที่เดินผ่านไปผ่านมาก็เริ่มใส่หน้ากากกรองอากาศกันจนเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งต้องบอกเลยว่าหน้ากากอนามัยแบบบางๆนั้นเอาไม่อยู่!

ถ้าคุณสามารถเปลี่ยนอะไรก็ได้ในกรุงเทพฯ คุณจะเปลี่ยนอะไร? – EP.1

ถ้าเกิดคุณสามารถเปลี่ยนอะไรก็ได้ในกรุงเทพฯ มหานครอันแสนวุ่นวายที่มีพร้อมทุกอย่าง ขาดบ้าง เกินบ้าง ใช้ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง คุณอยากจะเปลี่ยนอะไร? พอนึกถึงว่ามีอะไรที่อยากให้ปรับปรุง เน้นความอยากให้เป็น ไม่ต้องเน้นความเป็นไปได้ อันดับแรกๆ เราก็นึกถึง Infrastructure หรือสิ่งก่อสร้างพื้นฐานก่อนเป็นอันดับต้นๆ เพราะมันเปรียบเสมือนสิ่ง Built-in ที่ก่อให้เป็นเมือง ไม่ว่าจะเป็นถนน ตึก สะพาน เสาไฟ สายไฟ ระบบสาธารณูประโภคต่างๆ เพราะถ้ามีโครงสร้างพื้นฐานที่เปรียบเหมือนวัตถุดิบที่ดีตั้งแต่ต้น เมืองก็น่าอยู่ไปแล้วครึ่งหนึ่ง เนื่องจากเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่เกิดและโตและใช้ชีวิตในเมืองกรุงแห่งนี้ เวลาไปไหนมาไหนย่อมเห็นข้อดีและปัญหาของสิ่งต่างๆ รอบตัว เลยเกิดเป็นซีรีส์ “ถ้าคุณสามารถเปลี่ยนอะไรก็ได้ในกรุงเทพฯ คุณจะเปลี่ยนอะไร?” ขึ้นมา ประเดิมตอนแรกด้วย ฟุตพาท สิ่งก่อสร้างพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้ใช้ในทุกๆ วัน ฟุตพาทคือทางเท้าสำหรับคนเดิน ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า “foot = เท้า” “path = ทาง” แต่ทุกวันนี้น้อยฟุตพาทนักที่จะน่าเดิน หรือเอื้อกับการเดิน อุปสรรคในการเดินที่เราพบเจอนั้นมีมากมายหลากหลายรอบทิศทาง จากการสอบถามความเห็นประชากรชาวออฟฟิศใจกลางเมืองแห่งหนึ่งที่ต้องใช้ฟุตพาทเพื่อเดินมาทำงานและไปทานข้าวเที่ยงทุกวันจำนวน 4 คนถ้วน กับคำถามเดียวกันนี้ ก็ได้คำตอบว่า “อยากเปลี่ยนฟุตพาทไม่ให้เป็นกับระเบิดอะค่ะ” “ไม่เอาอิฐแผ่นๆ ค่ะ” […]

1 11 12 13 14

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.