‘Bangkok 21xx Olympics’ จะเป็นอย่างไร ถ้ากรุงเทพฯ เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาระดับโลก และใช้พื้นที่เมืองเป็นสเตเดียมแข่งขัน

ในที่สุดก็มาถึงช่วงเวลาที่ทุกคนตั้งตาคอยกับมหกรรมกีฬาระดับโลก ‘Paris 2024 Olympics’ ที่ฝรั่งเศสกลับมาเป็นเจ้าภาพในรอบ 100 ปี ความน่าสนใจของโอลิมปิกครั้งนี้คือ การกำหนดสถานที่สำคัญของฝรั่งเศสให้เป็นสนามกีฬา เช่น หอไอเฟล พระราชวังแวร์ซาย แม่น้ำแซน เป็นต้น นอกจากเป็นฉากหลังที่สวยงามระหว่างการแข่งขันแล้ว ยังอาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยวได้อีกด้วย แต่จะเป็นอย่างไร ถ้าประเทศไทยของเราได้เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาสุดยิ่งใหญ่นี้บ้าง โดยใช้คอนเซปต์เดียวกันกับฝรั่งเศสอย่างการใช้สถานที่สำคัญสำหรับการแข่งขันในกรุงเทพมหานคร คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ สำหรับจัดการแข่งขัน ‘Bangkok 21xx Olympics’ ให้พิจารณา เผื่อถึงเวลาเกิดเป็นเจ้าภาพจริงๆ เราอาจจะได้เห็นการแข่งกีฬาตามสถานที่เหล่านี้ก็ได้นะ ตีเทนนิส ตบวอลเลย์บอลชายหาด กลางท้องสนามหลวง ‘ท้องสนามหลวง’ เป็นพื้นที่ลานโล่งใกล้กำแพงพระบรมมหาราชวังและสถานที่สำคัญใจกลางพระนคร ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นพื้นที่สาธารณะให้ผู้คนมาใช้พักผ่อนหย่อนใจ หากจะนำกลับมาใช้งานอีกครั้ง ก็ดูจะเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การจัดการแข่งขันกีฬากลางแจ้ง โดยจะสร้างสเตเดียมชั่วคราวให้การแข่งขัน ‘เทนนิส’ หรือจะปูสนามทรายสำหรับ ‘วอลเลย์บอลชายหาด’ ก็ได้เหมือนกัน รวมไปถึงการมีฉากหลังเป็นวัดพระแก้วยังช่วยสร้างภาพบรรยากาศที่สวยงามระหว่างการแข่งขันและการถ่ายทอดสดได้อีกด้วย เปิดศึกสังเวียนที่สนามมวยเวทีราชดำเนิน แม้ ‘มวยไทย’ จะยังไม่ถูกบรรจุเป็นกีฬาที่จัดแข่งในโอลิมปิกอย่างเป็นทางการ แต่โอลิมปิกปีนี้เริ่มมีการจัดแข่งขันสาธิตในโปรแกรมเสริมที่กรุงปารีส จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคต เราอาจได้เห็นการแข่งกีฬามวยไทยในโอลิมปิกก็เป็นได้ แน่นอนว่าสถานที่ที่เหมาะสำหรับจัดการแข่งมวยไทยในกรุงเทพฯ คงหนีไม่พ้น ‘สนามมวยเวทีราชดำเนิน’ […]

‘One Day Trip with Paul Smith’ ออกท่องเที่ยวหนึ่งวันในกรุงเทพฯ กับดีไซเนอร์และผู้ก่อตั้งแบรนด์ดังจากอังกฤษ

เมื่อช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ดีไซเนอร์และผู้ก่อตั้งแบรนด์ดัง ‘Paul Smith’ ได้เดินทางมายังกรุงเทพฯ เพื่อร่วมงานเปิดแฟลกชิปสโตร์สาขา Central Embassy ซึ่งก็ไม่ได้มาแค่ร่วมเปิดแฟลกชิปสโตร์เท่านั้น แต่การมาครั้งนี้ Paul Smith ยังออกไปท่องเที่ยวย่านเมืองเก่า พร้อมเปิดมุมต่างๆ ในกรุงเทพฯ ผ่านสายตาของเขาออกมาในรูปแบบของภาพยนตร์สั้นอีกด้วย แม้ภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้มีความยาวเพียง 2 นาที แต่ภายในนั้นทำให้เราได้เห็นมุมมองต่างๆ ของกรุงเทพฯ ผ่านการเดินทางและสายตาของ Paul Smith ที่อัดแน่นไปด้วยสีสันและชีวิตของผู้คนที่เริ่มต้นกันตั้งแต่เช้า ไม่ว่าจะเป็นภาพพ่อค้าแม่ค้าที่ตื่นแต่เช้าออกมาจัดเรียงดอกไม้, ภาพคนเข็นรถ คอยบริการลูกค้าที่มาเลือกซื้อดอกไม้, ภาพเรือที่แล่นผ่านสะท้อนวิถีชีวิตของคนไทยที่เชื่อมโยงกับสายน้ำ, ภาพแสงแดดสีส้มยามเช้า นกกำลังบินเลียบแม่น้ำ คนกำลังเข็นรถข้ามสะพานพุทธฯ พระสงฆ์ออกบิณฑบาต รถเมล์ รถตุ๊กตุ๊ก ที่กำลังจอดรับผู้โดยสาร ทั้งหมดล้วนสื่อถึงการเริ่มต้นเช้าวันใหม่และวิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยในเมืองหลวงแห่งนี้ Paul Smith มองว่าย่านเมืองเก่าของกรุงเทพฯ เป็นเหมือนการผสมผสานระหว่างโปสเตอร์เก่าๆ ตึกแปลกๆ ที่มีสิ่งสวยงามแทรกอยู่ อย่างดอกไม้ ที่จู่ๆ ก็เหมือนผุดขึ้นมา ราวกับเป็นสถานที่ที่สอดคล้องกับสิ่งที่เขาพูดอยู่เสมอว่า เราสามารถมองหาแรงบันดาลใจได้จากทุกสิ่ง หากยังหาไม่เจอก็ลองมองใหม่อีกครั้ง ออกไปท่องเที่ยวกับ Paul Smith ผ่านภาพยนตร์สั้นได้ทาง : youtu.be/orneNpJdyXY?si=OMqC4PzXucpOG705

‘Urban Common Source’ แพลตฟอร์มรวมข้อมูลของกรุงเทพฯ ที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาเมืองเป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้ว

การหาข้อมูลต่างๆ ในปัจจุบัน เราทุกคนต่างเชื่อว่าสามารถค้นหาทุกอย่างได้บนอินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งการหาข้อมูลทั่วๆ ไปของเมืองที่เราอาศัยอยู่ กลับต้องใช้เวลาในการยื่นคำร้องสู่หน่วยงานอีกหลายขั้นตอนกว่าจะได้รับข้อมูลนั้นมา และไม่ใช่แค่ประชาชนทั่วไปที่ต้องการข้อมูลเหล่านี้ไปทำงานหรือทำวิจัย แต่เชื่อหรือไม่ว่า แม้แต่หน่วยงานรัฐเองบางครั้งก็ประสบปัญหาการสืบค้นข้อมูลเมือง ทำให้การพัฒนาพื้นที่บางจุดในเมืองเป็นไปอย่างล่าช้าเกินกว่าที่ควรจะเป็น คอลัมน์ Trouble Solver พาไปทำความรู้จักกับ urbancommonsource.com แพลตฟอร์มฐานข้อมูลเมือง ที่เกิดจากการทำงานของ Urban Studies Lab ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และการร่วมมือกับกรุงเทพมหานครและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ เพื่อสร้างพื้นที่ส่วนกลางในการเก็บบันทึกและแลกเปลี่ยนข้อมูล ให้การทำงานของหน่วยงานรัฐ รวมถึงภาคส่วนอื่นๆ ที่ต้องการใช้ข้อมูลเมืองมีความสะดวกสบายและง่ายขึ้น Urban Studies Lab กับการเป็นตัวกลางเชื่อมรัฐและชุมชน ‘ศูนย์วิจัยชุมชนเมือง’ หรือ ‘Urban Studies Lab (USL)’ คือศูนย์วิจัยอิสระด้านการศึกษาเมือง ที่เน้นการพัฒนาเมืองในทุกมิติ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านสังคม คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน รวมถึงกลุ่มเปราะบาง ผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติและการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบมีข้อมูลเป็นหลักฐาน การทำงานของ Urban Studies Lab จะเป็นการพัฒนาชุมชนโดยใช้การมีส่วนร่วมระหว่างภาคส่วนต่างๆ ภายในเมือง เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษาหรืองานวิจัย และภาคประชาสังคม […]

แลกเปลี่ยนไอเดียดีไซน์เพื่อโลกที่ดีกว่า ในงาน Golden Pin Salon Bangkok 2024 16 พ.ค. 67 ที่ AUA Language Center

แลกเปลี่ยนไอเดียดีไซน์เพื่อโลกที่ดีกว่า กับดีไซเนอร์ชั้นนำในงาน Design Perspectives x Golden Pin Salon Bangkok 2024 ‘Design Perspectives x Golden Pin Salon’ เป็นกิจกรรมจากเวทีการประกวด Golden Pin Design Award ของไต้หวัน ที่เชิญชวนนักออกแบบที่คว้ารางวัล Golden Pin Design Award มาแชร์ประสบการณ์การทำงานและไอเดียการออกแบบของตัวเอง กิจกรรมนี้เคยตระเวนจัดมาแล้วในเมืองต่างๆ ในเอเชีย ตั้งแต่ฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ มาเก๊า กัวลาลัมเปอร์ คราวนี้ก็ถึงทีของชาวกรุงเทพฯ ที่จะได้แลกเปลี่ยนแนวคิดการออกแบบจากดีไซเนอร์เอเชียชั้นนำ สำหรับงาน Design Perspectives x Golden Pin Salon Bangkok 2024 ครั้งนี้ เป็นงานที่จัดร่วมกันระหว่าง art4d นิตยสารด้านสถาปัตยกรรมและงานออกแบบของไทย ร่วมกับสถาบันวิจัยการออกแบบไต้หวัน (Taiwan Design Research Institute) เจ้าของเวทีการประกวด […]

‘One Bangkok’ แลนด์มาร์กแห่งใหม่ใจกลางเมืองที่พร้อมจะเป็นเมืองกลางใจของทุกคน

พื้นที่ใจกลางเมืองถือได้ว่าเป็นทำเลที่มีความหมายสำหรับคนเมือง ทั้งเป็นแหล่งทำงาน พื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หรือแม้แต่การเป็นจุดเชื่อมต่อพื้นที่ต่างๆ ถึงกัน และหากพูดถึงบริเวณใจกลางเมืองในกรุงเทพฯ คำตอบที่ได้จากหลากหลายคนก็คงแตกต่างกันไป แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ เราเชื่อว่าคำตอบเรื่องใจกลางเมืองที่อยู่ในใจของทุกคนจะเป็น ‘One Bangkok’ แลนด์มาร์กแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ แน่นอน เพราะ One Bangkok นั้นนอกจากจะตั้งอยู่ใจกลางเมืองในย่านพระราม 4 แล้ว แนวคิดหลักของโครงการไม่ได้มองถึงแค่การสร้างเมืองอย่างเดียว แต่โครงการนี้ตั้งใจที่จะสร้างพื้นที่สำหรับทุกคนอย่างแท้จริง โดยคำนึงถึงการมอบคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยและการสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างจนไม่อาจหาที่ไหนได้ นอกจากที่ One Bangkok เท่านั้น คอลัมน์ Urban Guide พาไปรู้จักและสำรวจกันว่า ทำไม One Bangkok ถึงจะเป็นใจกลางเมืองแห่งใหม่ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ จนกลายเป็นคำตอบที่อยู่กลางใจของชาวเมืองทุกคน One Bangkok  แลนด์มาร์กแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ‘One Bangkok’ คือโครงการอสังหาริมทรัพย์ระดับโลกแห่งใหม่ที่ตั้งอยู่หัวมุมถนนพระราม 4 และ ถนนวิทยุซึ่งอยู่ในทำเลที่ดีที่สุดของกรุงเทพฯ ทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบันที่มีการเดินทางสะดวกสบาย ง่ายทั้งขนส่งสาธารณะหรือแม้แต่การขับรถส่วนตัว คอนเซปต์ของ One Bangkok คือการสร้างเมืองสำหรับทุกคน เพื่อให้เมืองแห่งนี้เป็น ‘The Heart […]

เปิดกล่องความทรงจำกรุงเทพฯ กับนิทรรศการ ‘บางกอกรำลึก’ โดยช่างภาพชาวเดนมาร์ก วันนี้ – 19 มี.ค. 67 ที่ Charoen 43 Art & Eatery

ความทรงจำของเรามักถูกเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ เพลง ภาพยนตร์ ผู้คน หรือแม้แต่สถานที่ที่เมื่อเรากลับไปตรงนั้น ภาพความทรงจำต่างๆ ก็จะปรากฏชัดขึ้นมา เช่นเดียวกับในนิทรรศการ ‘บางกอกรำลึก’ (Bangkok Archive) โดย ‘อุล์ฟ สเวน’ ช่างภาพชาวเดนมาร์ก ที่จะชวนให้ทุกคนได้มาเปิดกล่องภาพแห่งความทรงจำกับเรื่องราวของผู้คนและย่านต่างๆ ในกรุงเทพมหานครกัน นิทรรศการนี้เป็นการสานต่อมาจากนิทรรศการ ‘Copenhagen Archive’ ประเทศเดนมาร์ก โปรเจกต์ที่ได้รับความร่วมมือกับ ‘UNESCO and the World Congress of Architecture’ โดยมีจุดมุ่งหมายคือการบันทึกเรื่องราวความทรงจำของผู้คนและสถานที่ที่มักถูกมองข้ามในฐานะมรดกทางวัฒนธรรม ภาพไฮไลต์ในบางกอกรำลึกครั้งนี้มาจากสถานที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็นสวนสัตว์พาต้า สถานตากอากาศบางปู ย่านตลาดน้อย และยังมีอีกมากมายที่ครั้งหนึ่งอาจเคยเป็นความทรงจำของเรา ร่วมเปิดกล่องภาพความทรงจำของกรุงเทพฯ ได้ตั้งแต่วันนี้ – 19 มีนาคม 2567 ทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 12.00 – 19.00 น. ที่ Charoen 43 Art & […]

FYI

5 Things I Love-Hate about Bangkok รักความสบาย แต่เกลียดจะตายกับชีวิตในเมือง

‘รักนะ แต่ก็เกลียดเหมือนกัน’ อาจเป็นหนึ่งในความรู้สึกของการเผชิญหน้ากับ Toxic Relationship ที่คอยบั่นทอนชีวิตทุกวัน ซึ่งความสัมพันธ์สุด Toxic นี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นแค่ระหว่างคนด้วยกันเท่านั้น แต่ยังหมายถึงความสัมพันธ์ของเมืองและคนที่อยู่อาศัยในเมืองด้วย วาเลนไทน์ปีนี้ Urban Creature ขอขยับออกจากความสัมพันธ์แบบโรแมนติกมาพูดถึงความสัมพันธ์ในรูปแบบ ‘Love-Hate Relationship’ ของคนและเมืองกันบ้าง ว่ามีอะไรที่ทำให้เราทั้งรักทั้งเกลียด จนหนีออกจากความสัมพันธ์พังๆ นี้ไม่ได้ วินมอเตอร์ไซค์ อยู่ในเมืองรถติดจะตาย แต่ไม่เป็นไร เพราะไม่ต้องขับรถก็เดินทางในเมืองได้ง่ายๆ ด้วยขนส่งสาธารณะที่มีให้เลือกหลากหลาย (แต่ไม่ดีสักอย่าง) ซึ่งบริการที่ดูจะได้ใช้บ่อยที่สุดก็คงหนีไม่พ้นพี่วินมอเตอร์ไซค์ ที่สามารถพาเราซอกแซกฝ่าการจราจรที่ติดขัดไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ถึงจะเร็วรี่แค่ไหนก็มีปัญหามากมายให้ต้องระแวดระวัง ทั้งความอันตรายที่เกิดจากการขับขี่เร็วเกินไป บางคนก็รอติดไฟแดงไม่เป็น เห็นช่องว่างก็รีบพุ่งตัวออกไปทันที หรือบางทีก็มีการคิดราคาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งความรักตัวกลัวตายก็ทำให้เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ต้องยอมจ่ายเงินเพื่อความปลอดภัยในชีวิต  ถึงจะเกลียดที่ต้องเสี่ยงชีวิตทุกครั้งที่ซ้อนมอเตอร์ไซค์ แต่ก็รักชีวิตเมืองที่มีวินมอเตอร์ไซค์ เพราะอย่างน้อยก็ไม่ต้องทรมานเดินฝ่าความร้อน ห้างสรรพสินค้า นัดเจอเพื่อนทีไร สุดท้ายก็หนีไม่พ้นห้างสรรพสินค้าทุกที ถึงจะเปลี่ยนย่านไปเรื่อยๆ แต่ด้วยอากาศที่ร้อนและฝุ่นควันที่ลอยคว้างตลอดปีตลอดชาติ ก็ไม่มีที่ไหนจะเหมาะกับการเป็นจุดหมายนัดเจอกันในเมืองมากไปกว่านี้อีกแล้ว แม้การเดินเล่นหรือกินข้าวในห้างฯ จะเย็นสบายดี แต่พอไปบ่อยๆ ก็เริ่มจะเบื่อ บางครั้งก็อยากเปลี่ยนบรรยากาศไปสนุกที่อื่นบ้าง เช่น ออกไปนั่งปิกนิกกับเพื่อนสาวท่ามกลางสวนดอกไม้ หรือออกไปนอนอ่านหนังสือรับลมเย็นๆ ในสวนแบบเซ็นทรัลพาร์ก ทีนี้พอนึกถึงค่าฝุ่นที่แดงแจ๋แล้วก็คงต้องขอกลับไปอยู่ในห้างฯ เหมือนเดิมแล้วกัน […]

มองเมืองผ่านเลนส์ Street Photographer ‘จ็อบ-เจตวิชาญ เชาวน์ดี’

จากครูสอนเด็กอนุบาลที่ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง ทำให้ ‘จ็อบ-เจตวิชาญ เชาวน์ดี’ เลือกวิธีการออกกำลังกายด้วยการเดินไปตามเมือง พร้อมพกกล้องคู่ใจ ค้นหามุม มองสิ่งน่าสนใจ แล้วลั่นชัตเตอร์บันทึกภาพ จากงานอดิเรก ‘Street Photographer’ กลายเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ลงแรงจริงจัง จนทำให้จ็อบมองสิ่งต่างๆ ผ่านเลนส์กล้องมากขึ้น และในสายตาของผู้อยู่อาศัยก็ทำให้เขาได้มองมุมเมืองที่ต่างออกไปจากเดิม “พอได้ไปถ่ายภาพแนวสตรีทเยอะขึ้น เรารู้สึกว่ามันมีเสน่ห์ ทำให้วิธีการมองเมืองของเราเปลี่ยนไป สิ่งที่เรารู้สึกดีที่สุดคือการถ่ายภาพแล้วได้บันทึกประวัติศาสตร์ของโมเมนต์ ของเมือง ได้เห็นคุณค่าของสิ่งที่อยู่ข้างหน้า” รายการ The Professional พาไปรู้จักอาชีพช่างภาพสาย Street Photo กับคอลัมนิสต์เจ้าของโปรเจกต์ Bangkok Eyes ที่ชวนมองเมืองผ่านเลนส์ด้วยการเดินเล่นถ่ายภาพย่านต่างๆ 50 เขตในกรุงเทพฯ

ชีวิตแบบ Spider-Neighbor ฮีโร่ของไทย เพื่อนบ้านคนใหม่ใน Bangklyn (Earth-112)

ติดตาม ‘Spider-Man’ มาตั้งแต่เวอร์ชันแรก ไม่เคยคิดเลยว่าจะมีฮีโร่คนนี้อยู่ในจักรวาลอื่นๆ ด้วย แต่ ‘Spider-Man : Across the Spider-Verse’ ก็ทำให้เราได้เห็นแล้วว่า ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหนบนจักรวาลนี้ ก็สามารถเป็นฮีโร่แมงมุมได้ด้วยเหมือนกัน พอได้เห็น Spider-Man ในภาพที่แตกต่างกันออกไปมากมายแล้วก็แอบนึกสงสัยว่า ถ้าหากมีไอ้แมงมุมในประเทศไทยของเราบ้างจะเป็นอย่างไร จะสามารถเดินทางข้ามตึกโดยเท้าไม่แตะพื้นเหมือนที่นิวยอร์กได้หรือเปล่า หรือจะต้องเผชิญกับรถจำนวนมากบนท้องถนนเหมือนกับที่มุมแบตตันกันนะ คอลัมน์ Urban Isekai ขอพาทุกคนไปติดตาม ‘Spider-Neighbor’ ฮีโร่เพื่อนบ้านที่แสนดีในเวอร์ชันที่ต้องใช้ชีวิตที่เมือง ‘Bangklyn’ กันว่า ในโลกหมายเลข 112 นี้ชีวิตของเขาจะเป็นอย่างไรบ้าง Daily Life : ถึงจะมีตัวช่วยทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป แต่การเดินทางก็ยังยากลำบากเหมือนเดิม ครั้งหนึ่ง Spider-Neighbor เคยมีชีวิตธรรมดาเหมือนกับ Spider-Man ในโลกอื่นๆ ก่อนหน้านี้เขาเป็นนักศึกษาที่ใช้เวลาเดินทางในแต่ละวันไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง เคยเดินสะดุดฟุตพาทเพราะกระเบื้องไม่เสมอกันจนทำให้เลือดท่วมมาแล้ว แต่หลังจากโดนแมงมุมกัดจนกลายเป็น Spider-Neighbor เขาก็มีตัวช่วยอย่างใยแมงมุมที่ควรจะช่วยร่นเวลาเดินทางในเมืองได้ แต่ด้วยข้อจำกัดหลายอย่างของ Bangklyn ไม่ว่าจะเป็นจำนวนตึกสูงที่มีน้อยและตั้งอยู่ห่างกันจนไม่สามารถโหนตัวข้ามตึกได้ รวมถึงเสาไฟฟ้าและสายไฟระโยงระยางที่กีดขวางการห้อยโหน ทำให้ต้องโหนตัวระดับที่ต่ำและใกล้กับพื้นดิน ซึ่งวิธีนี้ยังเสี่ยงต่อการถูกรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ชนอีกด้วย […]

Beat the Heat in Bangkok ทำกรุงเทพฯ ให้กลับมาเย็นอีกครั้ง

ในปัจจุบันที่กรุงเทพฯ เต็มไปด้วยไอความร้อนจากการเผชิญหน้ากับ ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ เหตุการณ์ที่พื้นที่ในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบนอก ซึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ และสิ่งปลูกสร้างภายในเมืองที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ต้นไม้ในเมืองลดลง เคยลองคิดกันเล่นๆ ไหมว่า ถ้าเราสามารถทำให้หน้าร้อนของเมืองไทยที่มีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละปีมีอุณหภูมิลดลงได้ หน้าตาของเมืองกรุงเทพฯ จะแตกต่างไปจากปัจจุบันและทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้นได้มากน้อยขนาดไหน วันนี้คอลัมน์ Urban Sketch จึงขอหยิบเอาแผนพัฒนาเมืองบางส่วนของประเทศสิงคโปร์อย่าง ‘Cooling Singapore’ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อลดภาวะ UHI ภายในเมือง มาออกแบบกรุงเทพฯ กันใหม่ว่า ถ้าต้องการให้อุณหภูมิเมืองลดลงจะสามารถทำอย่างไรได้บ้าง 01 | VEGETATION : เพิ่มสีเขียวให้พื้นที่เมือง หากต้องการลดอุณหภูมิเมืองลง สิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยคือ ‘พื้นที่สีเขียว’ เนื่องจากพืชโดยทั่วไปมีคุณสมบัติในการแผ่รังสีความร้อนที่ต่ำและสร้างร่มเงา ช่วยลดการสะสมของพลังงานแสงอาทิตย์ภายในเขตเมืองได้ แต่การจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดอุณหภูมิภายในเมืองลงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจำเป็นต้องปลูกต้นไม้จำนวนมากพอสมควรเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นในแนวระนาบหรือแนวดิ่งตามอาคารต่างๆ ก็ตาม การมีสวนสาธารณะขนาดไม่ใหญ่มากแต่กระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ รอบเมืองอย่างทั่วถึง จึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้ความเย็นจากพื้นที่ในบริเวณนั้นๆ ส่งผลดีต่อพื้นที่อาคารโดยรอบได้ง่ายกว่า เมื่อเทียบกับการมีสวนสาธารณะขนาดใหญ่เพียงไม่กี่แห่งทั่วเมืองอย่างปัจจุบัน แต่สำหรับอากาศของประเทศไทย แค่สวนสาธารณะในแนวราบคงไม่เพียงพอ การปลูกพืชเพิ่มในแนวดิ่งไม่ว่าจะเป็นพืชไม้เลื้อยบริเวณผนังอาคาร ฟาร์มผักบนหลังคา พื้นที่สีเขียวบริเวณอาคารร้าง รวมถึงพื้นที่ว่าง ล้วนเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ชาวเมืองเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้ง่ายขึ้น […]

ตึกสูงที่ถูกทิ้งร้างในเมือง ส่งผลอะไรกับการใช้ชีวิตของคนเมืองบ้าง

‘ตึกร้าง’ มักเป็นสถานที่อันดับต้นๆ ที่ใช้เป็นโลเคชันประจำในรายการแนวลึกลับ กับการเข้าไปทำภารกิจพิสูจน์ความลี้ลับของอาคารเก่าทรุดโทรม ไม่ว่าจะเป็นตึกร้างชื่อดังหรือตึกร้างโนเนม เพราะทุกที่มีเรื่องเล่าทั้งสิ้น แต่นอกเหนือจากเรื่องผีๆ ที่เชื่อมโยงกับตึกร้างแล้ว ทุกคนเคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมกรุงเทพฯ ถึงมีตึกร้างเยอะแยะนัก เพราะไม่ว่าเราจะเดินทางไปย่านไหนก็มักพบเห็นตึกสูงที่ปล่อยทิ้งร้างเอาไว้แทบทุกที่ ทั้งๆ ที่มีข่าวอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในตึกร้างมาให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ คอลัมน์ Curiocity ชวนมาหาคำตอบถึงเรื่องนี้ พร้อมกับสำรวจว่าการมีอยู่ของตึกร้างพวกนี้ส่งผลเสียอะไรกับเมืองและผู้คนบ้าง เบื้องหลังตึกสูงที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง ย้อนกลับไปในช่วง พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยกำลังเฟื่องฟูและพัฒนา ส่งผลให้เกิดโครงการก่อสร้างอาคารจำนวนมากในเมือง โดยส่วนใหญ่เป็นอาคารที่พักอาศัยในทำเลทองต่างๆ เพื่อรองรับการย้ายถิ่นฐานเข้ามาในเมือง  แต่ขณะที่การก่อสร้างกำลังดำเนินไป ก็เกิดวิกฤตการเงินปี 2540 หรือที่รู้จักกันในชื่อของ ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เศรษฐกิจพังพินาศ สถาบันการเงินหลายแห่งถูกสั่งปิดจนทำให้ต้องยุติการกู้เงิน โครงการก่อสร้างต่างๆ ต้องหยุดชะงักลง ไม่ว่าจะเป็นอาคารที่เสร็จสมบูรณ์แล้วหรือยังไม่เสร็จดีก็ตาม ทำให้มีอาคารที่ถูกปล่อยทิ้งร้างมากกว่า 200 แห่ง เวลาผ่านไปกว่า 20 ปี หลายตึกได้รับการปรับปรุงจนกลายเป็นตึกใหม่ใช้งานได้แล้ว แต่บางตึกก็ยังถูกปล่อยทิ้งไว้ด้วยหลายเหตุผล ตั้งแต่ปัญหาเงินทุนที่นายทุนยังไม่สามารถหามาเดินหน้าโครงการต่อได้ การรอเจ้าของคนใหม่มารับช่วงต่อในการก่อสร้าง การฟ้องร้องค่าเสียหายจากการหยุดปล่อยเงินกู้จนผู้รับผิดชอบโครงการไม่สามารถดำเนินการจนแล้วเสร็จได้ ติดคดีความเกี่ยวกับการสร้างอาคารผิดแบบหรือโครงสร้างที่ไม่แข็งแรง และอีกเหตุผลสำคัญคือค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนอาคารที่อาจสูงกว่าการเดินหน้าสร้างต่อ นายทุนหลายเจ้าจึงเลือกวิธีการปล่อยอาคารทิ้งไว้เฉยๆ ให้เก่าไปตามกาลเวลา ดีกว่าต้องมาเสียเงินก้อนโต นอกจากนี้ อาคารบางแห่งที่ถูกหน่วยงานรัฐฟ้องร้องเนื่องจากก่อสร้างโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร […]

ฟังเสียงคนไทย สบายดีไหมปีนี้

ปีที่ผ่านมาเป็นยังไงบ้าง สบายดีไหมทุกคน ในปี 2022 มีการเปลี่ยนแปลงในสังคมมากมาย ที่เห็นชัดๆ ก็คงเป็นข่าวดีที่ชาวกรุงเทพฯ ได้ผู้ว่าฯ คนใหม่มาช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ส่วนผู้คนก็เริ่มออกมาใช้ชีวิตและทำงานได้ตามปกติ หลังจากต้องกักตัวอยู่บ้านนานกว่าสองปีเพราะโรคระบาด ในช่วงสัปดาห์ส่งท้ายปีแบบนี้ Soundcheck อยากพาทุกคนไปฟังเสียงของชาวเมืองจากหลากหลายสายอาชีพว่า ชีวิตของพวกเขาเป็นอย่างไรบ้างในปีที่ผ่านมา มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือแย่ลงบ้าง พร้อมทิ้งท้ายด้วยคำอวยพรเพื่อเป็นกำลังใจให้กับตัวเองและคนอื่นๆ _____________________________________

1 2 3 13

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.