รู้จักการสร้างเมืองให้ปังด้วย CITY BRANDING

เคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมเมืองเกียวโตในประเทศญี่ปุ่น แม้จะมีอาคารสมัยใหม่และมีความเป็นเมืองมากมาย แต่สิ่งที่เราจำได้กลับไม่ใช่อาคารเหล่านี้ หากแต่เป็นบ้านไม้โบราณและวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศญี่ปุ่นแทน เครื่องมือหนึ่งที่สร้างกระบวนการให้เมืองมีอัตลักษณ์เป็นของตัวเองนี้มีชื่อว่า ‘City Branding’ ซึ่งทำให้คนในชุมชนนั้นเห็นคุณค่าและศักยภาพของตัวเองที่มีอยู่ เพื่อที่จะกลายเป็นจุดขายของเมืองให้ดึงดูดคนเข้ามาพัฒนาสิ่งต่างๆ ในเมือง ทั้งยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่อีกด้วย Urban Creature ชวน ‘อาจารย์อั๋น-ผศ. ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย’ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง และ ‘อาจารย์กบ-ผศ.ศรันยา เสี่ยงอารมณ์’ รองคณบดีและอาจารย์ประจำภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คู่หูทำงานวิจัยเกี่ยวกับ City Branding มาพูดคุยกันถึงเครื่องมือนี้อย่างเจาะลึก และการใช้มันออกแบบเมืองให้ดึงดูดคนนอกมาท่องเที่ยว พร้อมกับทำให้คนในรักษาคุณค่าดั้งเดิมของพื้นที่ไว้ได้ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : urbancreature.co/city-branding #UrbanCreature #Scoop #ThinkThoughtThought #CityBranding #City #Architecture #สถาปัตย์ #สถาปัตยกรรม #สร้างเมืองให้ปัง

‘World Architecture Festival 2023’ เวทีระดับโลกของวงการสถาปัตยกรรม 29 พ.ย. – 1 ธ.ค. ที่ประเทศสิงคโปร์

เวทีประกาศรางวัลในวงการต่าง ๆ ถือได้ว่าเป็นการการันตีความสามารถของผู้ผลิตผลงาน รวมถึงยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนในวงการเหล่านั้นมีกำลังใจในการผลิตผลงานดี ๆ ออกมาอีกด้วย เช่นเดียวกันกับวงการสถาปัตยกรรมก็มีงานระดับโลกอย่าง ‘World Architecture Festival’ งานประกาศรางวัลเพื่อเชิดชูผลงานและความสามารถของสถาปนิกและนักออกแบบทั่วโลก ที่สามารถเปรียบเทียบได้ว่าเป็นงาน ‘Oscars’ ของวงการสถาปัตยกรรม World Architecture Festival เป็นงานใหญ่ในวงการสถาปัตยกรรมที่ไม่ได้เป็นแค่การมอบรางวัลเท่านั้น แต่ยังเป็นเวทีพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของสถาปนิกและนักออกแบบทั่วโลก อีกทั้งยังช่วยเปิดโอกาสในการสร้างเครือข่าย      ต่าง ๆ ในวงการสถาปัตยกรรม รวมถึงเป็นพื้นที่ให้กับเหล่าสถาปนิกรุ่นใหม่ ๆ ได้แสดงผลงานสู่สาธารณะอีกด้วย ไม่ใช่แค่ WAF เท่านั้น แต่ยังมีงาน ‘Inside World Festival of Interiors’ ที่จัดควบคู่ในเวลาและสถานที่เดียวกัน ซึ่งงานนี้เป็นงานที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การสร้างแรงบันดาลใจ และการแลกเปลี่ยนความรู้ในแวดวงการออกแบบภายใน สำหรับปีนี้ World Architecture Festival 2023 จะจัดขึ้นที่ Marina Bay Sands ประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน – […]

Furnish Studio สตูดิโอศิลปะในจังหวัดระยองที่โอบล้อมด้วยไม้ไผ่ท้องถิ่นและคอนกรีตที่ถูกทิ้ง

การออกแบบพื้นที่หรือสถานที่นั้น นอกจากต้องคำนึงถึงการใช้งานแล้ว ยังควรนึกถึงวัสดุและความยั่งยืนในทุกขั้นตอนการสร้างด้วย  สตูดิโอ 11.29 Studio ได้ให้ความสำคัญกับการออกแบบอย่างยั่งยืนและการใช้วัสดุในท้องถิ่น รวมถึงมอบชีวิตใหม่ให้คอนกรีตที่ถูกทิ้ง ด้วยการเปลี่ยนวัสดุเหล่านั้นให้เป็นส่วนหนึ่งแห่งความสร้างสรรค์ของ Furnish Studio สตูดิโอศิลปะวาดภาพสีน้ำมันในจังหวัดระยอง โดยทีมออกแบบได้ใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและอุตสาหกรรมของภูมิภาค ด้วยการนำวัสดุในท้องถิ่นที่ยั่งยืนอย่างไม้ไผ่มาใช้ เพื่อลดการปล่อยมลพิษจากการขนส่ง เนื่องจากจังหวัดระยองเองเป็นที่รู้จักในฐานะจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product : GPP) สูงที่สุดในประเทศไทย และล้อมรอบด้วยนิคมอุตสาหกรรม จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการก่อสร้างจำนวนมากและขยะคอนกรีตที่เหลือทิ้งได้ 11.29 Studio ได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบจากลูกปูนที่ถูกทิ้งเอาไว้ จึงนำมาสร้างประโยชน์ด้วยการทำเป็นผนังทางเข้าของสตูดิโอศิลปะ ที่ดูเรียบง่ายแต่เต็มไปด้วยสร้างสรรค์ ส่วนตัวอาคารที่ออกแบบให้เป็นพื้นที่ทำงานสร้างสรรค์สำหรับศิลปินด้านสีน้ำมัน และต้องการการระบายอากาศที่เพียงพอเพื่อสุขภาพของผู้ใช้งาน ทาง 11.29 Studio จึงออกแบบส่วนหน้าอาคารด้วยระแนงไม้ไผ่เป็นบานประตู หน้าต่าง เพื่อช่วยกรองแสงและช่วยให้อากาศภายในถ่ายเทสะดวก Sources :Designboom | bit.ly/3FLCq4V Thitinan Micropile | www.thitinan.co.th/spacer

3D Concrete Printing Pavilion – Design Possibility With A Façade นวัตกรรมงานก่อสร้างเพื่อความยั่งยืน

นอกจากงานดีไซน์สนุกๆ ที่ผลัดเปลี่ยนกันมาจัดแสดงในงาน Bangkok Design Week ทุกปีแล้ว งานนี้ยังเป็นพื้นที่ให้เราได้อัปเดตนวัตกรรมล้ำๆ และเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศทุกปีอีกด้วย ถ้าใครไปงาน Bangkok Design Week 2022 ในช่วงนี้ จะพบกับพาวิลเลียนคอนกรีต 3D ขนาดใหญ่ตั้งเด่นอยู่หน้าทางเข้าอาคารที่ว่าการไปรษณีย์กลาง ดูเผินๆ พาวิลเลียนนี้เหมือนโครงสร้างอาคาร แต่จริงๆ แล้วคือ ฟาซาด (Façade) คอนกรีตที่ CPAC Green Solution (ซีแพค กรีน โซลูชัน) ผลิตด้วยเทคนิค 3D Printing ถ้าเดินเข้ามาดูใกล้ๆ และลองสัมผัสจะพบว่าฟาซาดชิ้นนี้พื้นผิวแทบไม่ต่างจากคอนกรีตแบบเดิม แถมยังสร้างลวดลายและออกแบบให้โค้งเว้าได้ไม่จำกัดรูปทรง ที่สำคัญคือทั้งหมดนี้ใช้เวลาพิมพ์แค่ 32 ชั่วโมง และใช้เวลาติดตั้งภายใน 8 ชั่วโมงเท่านั้น ผลงานชิ้นนี้คือ 3D Concrete Printing Pavilion – Design Possibility With A Façade เทคโนโลยีการก่อสร้างจาก CPAC […]

‘House of Music’ พื้นที่วัฒนธรรมกลางสวนสาธารณะบูดาเปสต์ที่ออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ

จะเป็นอย่างไรถ้าสวนสาธารณะจะมีพื้นที่ฟังดนตรี อ่านหนังสือ ดูศิลปะไปในตัว? เราชวนข้ามทวีปไปที่เมืองบูดาเปสต์ ประเทศฮังการีที่เพิ่งเปิดใช้งาน ‘House of Music’ – พื้นที่จัดแสดงทางวัฒนธรรมดนตรีของฮังการีเมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อนซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่สวนสาธารณะของเมืองหรือ ‘City Park’ นี่เป็นหนึ่งในโปรเจกต์ใหญ่ของรัฐบาลฮังการีนำโดยนายกรัฐมนตรีอย่าง วิกเตอร์ ออร์บาน ที่ตั้งใจสร้างให้ฮังการีมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมากขึ้น และตัว ‘House of Music’ นี้สร้างสรรค์โดยสถาปนิกชาวญี่ปุ่นชื่อ ‘โซ ฟูจิโมโตะ (Sou Fujimoto)’ สถาปนิกเลื่องชื่อที่มักจะสร้างโมเดลงานออกแบบจากสิ่งรอบตัวเช่นไม้จิ้มลูกชิ้นหรือฝอยขัดหม้อ ผู้เคยผ่านการออกแบบห้องสมุดในโตเกียว โครงการที่อยู่อาศัยในแคว้นกาตาลุญญาของสเปน  ฟูจิโมโตะเผยเบื้องหลังผลงานชิ้นนี้ว่าเขาอยาก “เปลี่ยนพื้นที่ป่าให้เป็นดั่งสถาปัตยกรรม” แต่การเข้าไปเปลี่ยนของเขาไม่ได้เป็นการบังคับทิศทางของพื้นที่สวนป่า กลับเป็นการสร้างสถาปัตยกรรมให้สอดรับกับพื้นที่และการเจริญเติบโตของต้นไม้และธรรมชาติโดยรวม ภาพถ่ายจากมุมสูงจึงแสดงให้เห็นลักษณะอันโดดเด่นของ ‘House of Music’ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากใบบัว เป็นเหมือนร่มไม้ที่มีรูให้แสงอาทิตย์ลอดผ่านและให้ต้นไม้อื่นเจริญเติบโตได้ ตัวเฮาส์ครอบคลุมพื้นที่ 900 ตารางเมตร ตัวอาคารมีทั้งหมด 3 ชั้น เชื่อมถึงกันด้วยบันไดเกลียวซึ่งจำนวนชั้นที่ว่ามานี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก “การเคลื่อนไหวของสกอร์เพลง 3 รูปแบบ” ชั้นพื้นดินเป็นพื้นที่แสดงดนตรีที่มีฮอลล์คอนเสิร์ตย่อย 2 ห้อง ชั้นบนเป็นห้องสมุด คาเฟ่ ห้องสำหรับบรรยาย ส่วนชั้นล่างเป็นแกลเลอรีศิลปะ […]

Sher Maker : สตูดิโอสถาปนิกที่หยิบภูมิปัญญาและงานช่างถิ่นเชียงใหม่มาสร้างสรรค์งาน

Sher Maker คือสตูดิโอสถาปนิกขนาดเล็กๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งโดยสองสถาปนิก ‘ตุ๋ย-พัชรดา อินแปลง’ และ ‘โอ๊ต-ธงชัย จันทร์สมัคร’  สตูดิโอแห่งนี้มีมาตั้งแต่ปี 2561 เต็มไปด้วยผลงานสร้างสรรค์ที่คว้ารางวัลด้านสถาปัตยกรรมจำนวนมาก แม้แต่สตูดิโอของพวกเขาก็เพิ่งได้รับรางวัลสูงสุดในสาขา Small working interior of the year จาก Dezeen นิตยสารสถาปัตยกรรมชื่อดังระดับโลก และได้รับการกล่าวขวัญจากสื่อต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศบ่อยครั้ง ที่สำคัญสถาปัตยกรรมของสองผู้ก่อตั้งยังเต็มไปด้วยการขับเน้นเสน่ห์ของบรรยากาศให้แสดงออกมาได้อย่างเต็มที่ รายละเอียดอันเป็นเอกลักษณ์ในงานของ Sher Maker มาจากการที่ทั้งคู่ต่างเคยเป็นคนทำงานคราฟต์มาก่อน ตุ๋ยเคยทำสมุดทำมือกับเพื่อนในนามแบรนด์ ดิบดี (Dibdee.Binder) ซึ่งได้รับความนิยมมาก ส่วนโอ๊ตเคยมีชื่อเสียงอย่างมากจาก Brown Bike จักรยานที่ทำด้วยวัสดุไม้ไผ่ จนมีผู้สนใจจากทั่วโลกเดินทางมาร่ำเรียนกับเขาถึงเชียงใหม่ เมื่อสองสถาปนิกสายคราฟต์จับมือกันทำงาน ทำให้งานสถาปัตยกรรมของพวกเขามีการนำเสนองานฝีมือต่างๆ มาใช้กับทั้งภายในและภายนอกอาคารอย่างน่าสนใจ และยังสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับงานฝีมือในภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย Sher Maker เชื่อมศาสตร์เหล่านี้เข้าด้วยกันอย่างลงตัวได้อย่างไร วันนี้เราจะชวนตุ๋ยมาพูดคุยเพื่อถอดโครงสร้างทางความคิดเบื้องหลังงานออกแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ ของพวกเขาให้ทุกคนได้รู้กัน สองสถาปนิกสาย Maker นักทำงานคราฟต์ตัวยง “เราและพี่โอ๊ตต่างเป็น Maker เป็นคนชอบงานคราฟต์ […]

Stadium 974 สเตเดียม FIFA 2022 ในกาตาร์ ที่สร้างจากโครงเหล็กและตู้คอนเทนเนอร์เก่า

หลายคนอาจตั้งตารอ ‘การแข่งขันฟุตบอลโลก’ หรือ ‘FIFA World Cup’ ประจำปี 2022 ที่มีกาตาร์เป็นประเทศเจ้าภาพ ซึ่งกาตาร์ถือเป็นประเทศแรกในตะวันออกกลางที่ได้เป็นผู้จัดการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศโปรแกรมนี้ อีกหนึ่งความพิเศษที่หลายฝ่ายให้ความสนใจก็คือ ‘สเตเดียม’ ที่สามารถถอดประกอบได้และยังประหยัดพลังงานในการก่อสร้างด้วย สเตเดียมแห่งนี้มีชื่อว่า ‘Stadium 974’ สนามกีฬาความจุ 40,000 ที่นั่ง ที่ตั้งอยู่ใกล้ท่าเรือในกรุงโดฮา เมืองหลวงของกาตาร์ ในอดีตที่นี่เคยมีชื่อว่า ‘Ras Abu Aboud’ เป็นสเตเดียมแห่งแรกในประวัติศาสตร์ของ FIFA World Cup ที่สามารถถอดประกอบได้ทุกส่วน  วัสดุหลักๆ ที่ใช้สร้างสเตเดียมแห่งนี้ก็คือ ‘ตู้คอนเทนเนอร์เก่า’ และ ‘โครงเหล็กแบบแยกส่วน’ โดยบางส่วนเป็นโครงเหล็กที่ได้จากการรีไซเคิล ส่วนผู้ที่ออกแบบก็คือ บริษัทสถาปัตยกรรม Fenwick Iribarren Architects บริษัทวิศวกรรมโครงสร้าง Schlaich Bergermann Partner และบริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม Hilson Moran จุดประสงค์ของการออกแบบก็เพื่อลดต้นทุน ลดขยะจากการก่อสร้าง รวมถึงประหยัดเวลาในการก่อสร้างด้วย มากไปกว่านั้น ทางผู้ออกแบบยังเปิดเผยว่า การสร้างสเตเดียมแห่งนี้สามารถลดการใช้น้ำได้มากถึง 40% […]

Wuhan City Pavilion & Kindergarten อาคารในอู่ฮั่นที่เป็นทั้งพาวิลเลียน โรงเรียนอนุบาล และที่จัดนิทรรศการ

เมื่อไม่นานมานี้ ทีมสตูดิโอสถาปนิกสัญชาติจีนชื่อ ATELIER XI ได้ออกแบบสร้างอาคารพาวิลเลียนและโรงเรียนอนุบาลเมืองอู่ฮั่น (Wuhan City Pavilion & Kindergarten) จนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งตัวอาคารแห่งนี้ตั้งอย่างโดดเด่นอยู่ใน Hankou ซึ่งห่างจากจุดที่เคยมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ครั้งแรกเพียง 1 กิโลเมตร สถาปัตยกรรมนี้เพิ่งสร้างเสร็จแบบสดๆ ร้อนๆ หลังแผนการสร้างได้ถูกระงับไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2019 เพราะเชื้อโควิดที่ปะทุขึ้นมาทั่วทั้งเมือง ทว่าเมื่อเมืองกลับมาเปิดได้ใหม่อีกครั้ง โครงการก็สามารถดำเนินการต่อได้อย่างราบรื่นดี ในปี 2019 ทีมสถาปนิก ATELIER XI ได้รับการว่าจ้างให้ดีไซน์โรงเรียนอนุบาลที่มีขนาด 6 ห้องเรียนมาตรฐานในเมืองอู่ฮั่น นอกจากความท้าทายด้านงานก่อสร้างตึกในช่วงวิกฤติเชื้อไวรัสแพร่ระบาด โจทย์แสนยากต่อมา ก็คือการสร้างอาคารที่รับบทบาทเป็นทั้งพาวิลเลียนขายสินค้าชั่วคราว เป็นห้องโถงจัดแสดงนิทรรศการในปีแรกที่สร้างแล้วเสร็จ และจะเป็นโรงเรียนอนุบาลสำหรับเด็กๆ ในภายหลัง โดยทำให้อาคารมีความพร้อมต่อการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันได้ในช่วงเวลาต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ โครงการนี้จึงตั้งใจสร้างด้วยแนวคิดการประหยัดต้นทุน เพื่อให้ใช้สอยพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าและอรรถประโยชน์ โดยหลีกเลี่ยงการรื้อถอนตึกซึ่งจะสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคต ทีมออกแบบ ATELIER XI พยายามจะแบ่งย่อยอาคารนี้ให้เป็นยูนิตต่างๆ ที่ปรับเปลี่ยนได้ ฟังก์ชันเชิงพื้นที่จึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ โดยตัวโครงสร้างที่เสร็จสมบูรณ์ของอาคารจะมี ‘ช่องว่าง’ ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันด้วยช่องว่างภายในที่มีรอยพับอันซับซ้อน ซึ่งเราสังเกตเห็นได้ทั้งในบริเวณด้านหน้าและหลังคาที่อยู่ภายนอกอาคาร ช่วงเริ่มต้นของการออกแบบ […]

WAY รีดีไซน์ท่าเรือรีสอร์ตดังในจีนเป็นท่าเรือทอดสู่ทะเล

สตูดิโอสถาปัตยกรรม WAY ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ได้รับมอบหมายจากรีสอร์ต Aranya (安啊呀) จุดท่องเที่ยวยอดฮิตของชาวจีนในเขตเป่ยไต้เหอ เพื่อรับหน้าที่ออกแบบท่าเรือคนเดินที่เคยมีอยู่แต่เดิมเสียใหม่ การออกแบบใหม่นี้คือการสร้างท่าเรือออร์แกนิกทอดยาวสู่มหาสมุทร ทำให้ผู้เข้าชมได้โต้ตอบกับสภาพแวดล้อมได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น การออกแบบท่าเทียบเรือใหม่โดยสตูดิโอ WAY ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติโดยรอบ ท่าเรือจะมีรูปร่างและโครงสร้างออร์แกนิกเรียบง่ายและผสานเข้ากับทะเลและท้องฟ้า เพื่อขับเน้นบรรยากาศอันเงียบสงบของชายทะเลได้อย่างลงตัว  ผลงานของกลุ่มสถาปนิกจากปักกิ่งนี้ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานของ Isamu Noguchi ศิลปินและภูมิสถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการออกแบบสร้างเชิงนามธรรมและการตีความพื้นที่ของเขา ที่ช่วยกระตุ้นความคิดจากภายใน มิหนำซ้ำเมื่อมองท่าเรือยื่นออกไปในทะเล ท่าเรือใหม่นี้ก็จะดูลื่นไหลและนุ่มนวล ราวกับว่ามันถือกำเนิดมาจากมหาสมุทรเลยทีเดียว สตูดิโอ WAY เล่าคอนเซปต์ของงานออกแบบไว้ว่า เมื่อพิจารณาจากปัญหาเดิมของท่าเรือ จึงทำช่องเปิดสองช่องขึ้นมาบนแท่นเพื่อช่วยลดแรงดันจากคลื่นทะเล เมื่อคลื่นซัดผ่านโพรงนี้ จะมีน้ำพุ่งขึ้นมาเหมือนน้ำพุ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนปรากฏการณ์ธรรมชาติให้เป็นงานเพอร์ฟอร์แมนซ์ การออกแบบท่าเรือที่เพรียวบางได้รับแรงบันดาลใจมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล ไม่เพียงมีความเบาและหน้าตาสวยงาม แต่ยังใช้งานได้จริงและปลอดภัยต่อผู้ใช้ด้วย ทั้งนี้ การออกแบบยังคงรักษาโครงเสาแต่เดิมไว้ให้มากที่สุด เพื่อลดปริมาณการก่อสร้างใต้น้ำลง ทีนี้เลยเป็นมิตรกับทั้งงบประมาณและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากเสียด้วย Sources : Designboom STUDIO WAY ARCHITECTS

Form KHONWAN ภาพถ่ายวัดนครสวรรค์ที่ทลายกรอบสีประจำวัด ว่าเป็นอะไรก็ได้ ไม่ใช่แค่ทอง

วัด ที่คุ้นเคยกันมักประกอบด้วยสีทอง เงิน ขาว ส้มอมแดง แต่สีสันของวัดในครั้งนี้ถูกทลายกรอบให้จางลง เมื่อได้เริ่มเก็บภาพถ่ายชุด Form KHONWAN เพื่อนำเสนอภาพความงดงามทางสถาปัตยกรรมของ ‘วัด’ ในจังหวัดนครสวรรค์บ้านเกิด ด้วยความชื่นชอบส่วนตัวด้านการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม จึงนำสิ่งนี้มาสร้างสรรค์เป็นผลงาน พร้อมทั้งเรียนรู้ความแตกต่างของเอกลักษณ์ที่สะท้อนผ่านการออกแบบไปในตัว โดยในแต่ละภาพแสดงออกถึงสีสันที่แตกต่างรวมถึงความคิดในสถาปัตยกรรมใหม่ๆ ความพยายามที่จะหลุดออกจากระเบียบแบบแผนดั้งเดิมเพื่อสร้างเอกลักษณ์ ราวกับเป็นการผลิใบและงอกงามครั้งใหม่ของสถาปัตยกรรมอยู่เสมอ “ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับเวลา” ภาพชุดนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เป็นเพียงแค่ปัจจัยภายนอกเท่านั้น ทว่าสิ่งเหล่านั้นยังคงแทรกไปด้วยความศรัทธาที่ปรากฏให้เห็นผ่านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ติดตามผลงานเพิ่มเติมได้ที่ : @Formthailand

ชวนดูการออกแบบ 7 หอพักนักศึกษาทั่วโลก ที่คิดเพื่อคนอยู่ ดีต่อใจ ไม่ใช่ห้องรูหนู

หอพักนักศึกษาประเทศอื่นหน้าตาเป็นอย่างไร เหมือนหรือต่างจากของบ้างเรากันนะ ชวนดู 7 การออกแบบหอพักนักศึกษาทั่วโลก

ACT FORUM ’20 Design + Built ใครว่าสถาปัตยกรรมเป็นเรื่องไกลตัว

เมื่อพูดถึงสถาปัตยกรรมคนมักจะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวเราเลยอยากพาไปแบ่งปันความรู้และตามหาแรงบันดาลใจจากงาน ACT FORUM ’20 Design + Built แบบใกล้ ๆ ที่จะทำให้สถาปัตยกรรมเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากขึ้น ภายใต้ Concept งานว่า ‘สถาปนิกปันสุข’ เพราะบทบาทของสถาปนิกไม่ใช่แค่การออกแบบเพื่อความสวยงาม แต่เป็นตัวช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและร่วมส่งคืนความสุขให้กับสังคม ผ่านงานออกแบบ ภายในงาน ACT FORUM ’20 Design + Built ซึ่งเราจะพาไปดูนวัตกรรม งานออกแบบ และวัสดุที่น่าสนใจให้เราได้นำไปคิดต่อยอดสร้างสรรค์ได้อย่างไม่รู้จบ เดินพลัดหลงในงาน ACT FORUM ’20 Design + Built ก่อนเข้าร่วมงานเราเกิดความสงสัยกับธีมงานที่ว่า “สถาปนิกปันสุข” นั่นมีความหมายว่าอย่างไร ? หลังจากได้เดินดูจนทั่วงานเราพบว่า “ปันสุข” มาจากการแบ่งปันองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรม ให้กับประชาชน นำไปประยุกต์ใช้กับสาขาวิชาชีพของตัวเองหรือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างไอเดียและแรงบันดาลใจ ทำให้สถาปัตยกรรมเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากขึ้น พื้นที่ต่าง ๆ ภายในงาน แบ่งเป็นโซนที่น่าสนใจคือ DesignerHub Pavillion พื้นที่แห่งความคิดสร้างสรรค์ที่รวมเหล่านักออกแบบ และจัดแสดงผลงาน พร้อมทั้งให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ มีโซนวัสดุและนวัตกรรมใหม่ […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.