“GEDES” งานออกแบบที่กระชับความสัมพันธ์ระหว่างคนกับภูมิทัศน์

หลายคนคงได้ยินชื่องาน Bangkok Design Week 2019 กันมาบ้างแล้ว ซึ่งงานนี้เป็นเทศกาลงานออกแบบของชาวกรุงเทพฯ ที่บรรดานักออกแบบ และนักสร้างสรรค์ ต่างรวมพลังกันออกมาสร้างผลงาน และถ่ายทอดมุมมองในแบบฉบับของตัวเอง ผ่านผลงานศิลปะในรูปแบบต่างๆ วันนี้ Urban Creature จึงพาไปลงลึกเปิดมุมมองความคิดของ GEDES แก๊งภูมิสถาปนิกคลื่นลูกใหม่ ที่น่าจับตามองว่ากลุ่มคลื่นลูกนี้จะเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนให้กับเมืองของเราอย่างไรบ้างนะ ถ้าพร้อมแล้วไปทำความรู้จักกับพวกเขากัน ! | ‘GEDES’ พวกคุณคือใคร พวกเราคือกลุ่มภูมิสถาปนิกจบใหม่ที่อยากทดลองสร้างผลงานในสัดส่วนที่ควบคุมได้ และเข้าถึงผู้คนง่าย ก็เลยเริ่มจากงานประกวดแบบ หรือการสร้างผลงานในรูปแบบ Installation หรือผลงานศิลปะที่จัดวางไว้ตามสถานที่ต่างๆ ด้วยแนวความคิดแบบ Landscape Architecture (ภูมิสถาปัตยกรรม) ที่อยากให้คนกับสิ่งแวดล้อมสามารถอยู่ร่วมกันได้ | ภูมิสถาปัตยกรรมคืออะไร เรามองว่าภูมิสถาปัตยกรรมคือ การหาสมดุลระหว่างคนกับธรรมชาติ พอคนเริ่มมีการพัฒนาพื้นที่อะไรขึ้นมาสักอย่าง และสิ่งนั้นกำลังเริ่มสร้างผลกระทบกับธรรมชาติ ซึ่งนั่นแหละมันเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องหาความสมดุลระหว่างสิ่งต่างๆ รอบตัว ไม่ว่าจะคนกับคน หรือคนกับพื้นที่ พื้นที่กับพื้นที่ ให้เป็นความสัมพันธ์ที่ดีและยืนยาว แต่มุมมองของคนไทยภูมิสถาปัตยกรรมยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากเท่าไหร่ ซึ่งงานของเราเหมือนถูกจำกัดแค่ว่า จัดสวน ปลูกต้นไม้ บางทีไม่ได้สนใจในเรื่องของการใช้พื้นที่ภายนอกเลย ทั้งที่จริงๆ แล้วเราสามารถเพิ่มทั้งคุณค่า มูลค่า ให้พื้นที่ภายนอกได้แบบเยอะมาก แถมยังทำให้พื้นที่เหล่านั้นมันมีพลังงาน […]

The Cement City : Mocambique Modern

จากมุมมองการถ่ายภาพแบบ “Cement City” เป็นวิธีเรียก “เขตเมือง” ในประเทศโมซัมบิก เขตนี้บ่งบอกถึงลักษณะอาคารบ้านเรือนที่ถาวร และแยกตัวออกจากชุมชนแออัดของคนพื้นถิ่นโดยเด็ดขาดซึ่งอาคารต่างๆ ถูกสร้างไว้อย่างมีระเบียบแบบแผน เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับเจ้าอาณานิคมเพื่ออยู่อาศัยและปกครองในช่วงตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เมืองท่าสำคัญแห่งนี้จึงเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นที่เป็นหมุดหมายสำคัญของการเปลี่ยนแนวความคิดจากโลกยุคเก่าสู่โลกยุคใหม่ แต่ความทันสมัยคือสิ่งที่ไม่มีวันหยุดนิ่ง เมื่อทุกสิ่งดำเนินไปความล้ำสมัยของสถาปัตยกรรมจะค่อยๆ ผสานรวมกับกาลเวลาที่คืบคลานมาอย่างช้าๆ และแล้วความจีรังของสถาปัตยกรรมก็ถูกปลดปล่อยออกมา Urban Creature จึงพามาตามติดแนวคิดของของ “เบียร์ – วีระพล สิงห์น้อย” ผ่านมุมมองของช่างภาพสถาปัตย์ | มุมมองสถาปัตยกรรมในเมืองไทยของพี่เบียร์เป็นแบบไหน สถาปัตยกรรมในเมืองไทยถ้าเรื่องการพัฒนา ความเจริญ เราก็ถือว่าโอเคเลยเรียกได้ว่าภูมิภาคนี้เราก็ไม่แพ้ใครแต่สิ่งที่เราสนใจอยู่ตอนนี้คือ สถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นซึ่งจริงๆ แล้วในศัพท์คำว่า “สถาปัตยกรรมสมัยใหม่” ความเป็นโมเดิร์นของมันอาจจะไม่ตรงกับความเข้าใจของคนทั่วๆ ไปเท่าไหร่ ถ้าโมเดิร์นแบบสมัยใหม่ปัจจุบันนี้เราขอเรียกว่า “ Contemporary” ดีกว่า แต่ถ้าเป็นคำว่า “Modern” ก็คือช่วงสมัยประมาณ 50 – 60 ปีที่แล้ว ตรงกับประมาณปี พ.ศ. 2483 – 2503 ซึ่งคำว่ายุคสมัยใหม่เป็นช่วงแนวความคิดที่มีอิทธิพลมาจากฝั่งยุโรป ฝั่งเลอกอร์บูซีเยซึ่งเราสนใจสถาปัตยกรรมยุคนี้ | ทำไมถึงชอบสถาปัตยกรรมยุค “โมเดิร์น” คือเรามีความประทับใจเรื่องรูปทรงอยู่แล้วพอเราศึกษามากขึ้นเรื่อยๆ เราก็ยิ่งหลงรักสถานที่ต่างๆ มากขึ้นซึ่งที่แรกที่ประทับใจเลยคือ […]

กาลเวลาและความเป็นไปของตึกรามบ้านช่อง

อาหารรถเข็น ห้างสรรพสินค้า ศิลปวัฒนธรรม ความแออัด ความเจริญ และอีกหลายๆคำตอบที่คุณอาจคิดถึงและคิดไม่ถึง แต่มีอยู่คำตอบนึงที่หลายๆ คนน่าจะนึกถึงเหมือนกัน นั่นคือ “ตึก” ถึงแม้ว่าย่านที่มีตึกหรือป่าคอนกรีตกระจุกตัวอยู่จะมีไม่กี่ส่วนเมื่อเทียบกับกรุงเทพมหานครทั้งเมือง แต่ภาพลักษณ์ก็เป็นเช่นนั้นอยู่ไม่น้อย

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.