Artist Residencies in Tashkent Mahallas เปลี่ยนโรงเรียนและมัสยิดเก่าในอุซเบกิสถานให้กลายเป็นที่พักโครงการศิลปินพำนัก

‘The Centre for Contemporary Art (CCA)’ คือองค์กรศิลปะร่วมสมัยที่ไม่แสวงหากำไรที่ทำงานร่วมกับศิลปินในแขนงต่างๆ และตอนนี้ได้เปิดตัวโครงการ ‘Artist Residencies’ อย่างเป็นทางการในเขตเมืองเก่าของทาชเคนต์ ประเทศอุซเบกิสถาน โครงการนี้เกิดจากการร่วมมือกับ ‘Aga Khan Trust for Culture’ และสตูดิโอ ‘Studio KO’ จากโมร็อกโก เพื่อส่งเสริมความร่วมมือข้ามวัฒนธรรมทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก และสะท้อนถึงความคิดริเริ่มของรัฐในการรักษาเอกลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ของเมืองหลวงของอุซเบกิสถาน ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ Artist Residencies แห่งนี้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนโรงเรียนและมัสยิดที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 19 บนพื้นที่ที่เรียกว่า Namuna mahalla และ Khast Imom โดยรื้อผนังและพาร์ทิชันชั่วคราวอื่นๆ ออก เพื่อเผยให้เห็นโครงสร้างไม้ดั้งเดิมและอิฐอายุกว่า 300 ปีภายใน เมื่อเข้าไปภายในจะพบกับพื้นที่อาศัยที่ซ่อนตัวอยู่ในซุ้มโค้งอิฐขนาดใหญ่บริเวณตรงข้ามลานบ้าน มีการแบ่งสัดส่วนสำหรับเป็นห้องทำงานและพื้นที่จัดนิทรรศการ รวมไปถึงการเปลี่ยนระเบียงเดิมให้กลายเป็นคาเฟ่ชาเล็กๆ ของอาคารแห่งนี้ และพื้นที่สาธารณะกลางแจ้งสำหรับจัดงานต่างๆ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ศิลปินดื่มด่ำไปกับประวัติศาสตร์และแลกเปลี่ยนความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างตัวศิลปินเอง ภายใต้พื้นที่ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการทำงานสร้างสรรค์อย่างครบครัน โครงการ Artist Residencies ในทาชเคนต์นี้เปิดรับศิลปินพำนักในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ที่ Namuna mahalla จำนวน […]

The Arc อาคารไม้ไผ่ของโรงเรียนในบาหลี แนวคิดการออกแบบด้วยวัสดุทางเลือกที่ยั่งยืน

IBUKU คือทีมนักออกแบบและผู้สร้างสถาปัตยกรรมที่ปรารถนาจะใช้ประโยชน์จาก ‘ไม้ไผ่’ และใช้ช่างฝีมือรุ่นใหม่ที่มีความสามารถในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อพัฒนาแนวคิดโบราณและแนวคิดใหม่ให้สมดุลกัน เพราะพวกเขาเชื่อว่าศักยภาพของต้นไผ่นั้นถูกประเมินค่าต่ำเกินไป และน่าจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยของผู้คนได้มากขึ้น โดยเฉพาะคนที่อยู่ในภูมิภาคเขตร้อน เช่น เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก แปซิฟิกใต้ อเมริกากลางและใต้ เป็นต้น เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้ต่างคุ้นเคยกับพรรณไม้ชนิดนี้มาเป็นร้อยๆ ปี เราขอยกตัวอย่างผลงานสถาปัตยกรรมแห่งหนึ่งในประเทศบาหลีที่นำวัสดุธรรมชาติอย่างไม้ไผ่มาใช้สร้างสรรค์ที่อยู่อาศัย สถาปัตยกรรมนี้ชื่อว่า ‘The Arc’ ได้รับการออกแบบโดยความร่วมมือจาก Jörg Stamm ผู้เชี่ยวชาญด้านไม้ไผ่ชาวเยอรมัน และ Atelier One บริษัทวิศวกรรมโครงสร้างในสหราชอาณาจักร โครงการนี้เรียบง่าย โดยใช้ไม้ไผ่มาสร้างเป็นหลังคาที่มีลักษณะคล้ายเปลือก ทำหน้าที่บังแดดลมฝน ครอบสนามกีฬาอเนกประสงค์ของโรงเรียน Green School ซึ่งเป็นสถาบันชื่อดังในอินโดนีเซียที่ส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องความยั่งยืนร่วมกับผู้คนในชุมชน เมื่อมอง The Arc จากภายนอกจะพบรูปร่างเปลือกที่มีความโค้งเว้าลื่นไหลไปกับรูปทรงของธรรมชาติโดยรอบ เป็นภาพหลังคาที่มีความซับซ้อนไม่ธรรมดา สถาปนิกกล่าวว่า โครงการต้องใช้เวลาหลายเดือนในการวิจัยเพื่อกำหนดวิธีการสร้าง ตั้งแต่การเริ่มต้นสร้างแบบจำลอง ทดสอบอายุการใช้งานของไม้ไผ่ หรือวิธีการป้องกันแมลงต่างๆ ฯลฯ จนเกิดเป็นซุ้มไม้ไผ่ที่มีความสูง 14 เมตร ความยาว 19 เมตร แปลนของอาคารมีความกว้าง 23.5 เมตร […]

เปลี่ยน Hogwarts ให้เป็น The World’s Best Magic School ด้วยการปรับกฎระเบียบให้ทันสมัยมากขึ้น

โลกเวทมนตร์ไม่เคยหายไปไหน ทุกอย่างยังคงดำเนินไปเหมือนทุกๆ วัน แต่โลกมักเกิลพัฒนาไปตลอดเวลา จนก้าวเข้าสู่ปี 2023 ที่เต็มไปด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความคิดของผู้คน เพราะฉะนั้นฮอกวอตส์เองก็ไม่ควรยึดติดกับกฎและข้อบังคับแบบเดิมๆ หนึ่งในปัญหาใหญ่ของเหล่าพ่อมดแม่มดในโลกเวทมนตร์คือ การปรับตัวให้เข้ากับมักเกิล โดยที่ยังต้องใช้ชีวิตตามระเบียบแบบแผนดั้งเดิมของเหล่าผู้วิเศษ เมื่อถึงเวลาต้องออกมาทำธุระในโลกมักเกิล ผู้วิเศษเหล่านี้จึงกลายเป็นคนล้าหลังกว่า 100 ปี คอลัมน์ Isekai ขออาสาไปสำรวจกฎระเบียบที่ล้าสมัยในโรงเรียนเวทมนตร์ศาสตร์อย่างฮอกวอตส์ และปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้ก้าวหน้าและทันสมัยมากขึ้น เพื่อรองรับนักเรียนรุ่นใหม่ทั้งเลือดบริสุทธิ์ เลือดผสม รวมถึงมักเกิลที่ใช้เวทมนตร์ได้ จับรถเข็นสัมภาระไว้ให้แน่น ตั้งสมาธิ วิ่งตรงไปที่ผนังชานชาลา 9¾ แล้วเดินทางไปแก้กฎระเบียบ เพื่อทำให้ฮอกวอตส์เป็นโรงเรียนเวทมนตร์ที่ดีที่สุดกัน 🏠 Housing System เลือกบ้านได้เองและมีเกณฑ์การให้คะแนนบ้านที่ชัดเจน ‘ไม่เอาสลิธีริน ให้ไปอยู่กริฟฟินดอร์’  แต่ถ้าแฮร์รี่ในวัย 11 ปี อยากเป็นสมาชิกบ้านเรเวนคลอจะทำยังไง ถึงเวลาเกษียณอายุและปล่อยให้หมวกคัดสรรพักผ่อนบ้าง เพื่อให้เด็กปีหนึ่งได้เลือกบ้านที่อยากอยู่ด้วยตัวเอง และหากอยู่แล้วไม่พอใจก็มีสิทธิ์เปลี่ยนบ้าน เพื่อความสุขตลอดเจ็ดปีของเหล่านักเรียน รวมถึงการให้คะแนนของแต่ละบ้านก็จำเป็นต้องกำหนดเกณฑ์ให้ชัดเจนด้วย เพราะถ้ายังให้คะแนนเป็นรางวัลตอบแทนในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แบบที่ผ่านมา ก็จะทำให้เด็กทั้งสี่บ้านทะเลาะกันตลอดเวลาเพื่อแย่งเป็นบ้านดีเด่นในช่วงปลายปี (โดยเฉพาะบ้านเขียวและบ้านแดง) 🧥 Student Uniform ใส่ยูนิฟอร์มเฉพาะพิธีสำคัญ เราเชื่อว่านักเรียนทุกคนคงรู้อยู่แล้วว่าเพื่อนคนไหนอยู่บ้านไหน ดังนั้นน่าจะไม่จำเป็นต้องใส่ยูนิฟอร์มที่บ่งบอกสถาบันและบ้านที่สังกัดอยู่ตลอดเวลา ไหนจะเสื้อคลุมสีดำที่ใช้วัสดุเป็นผ้าหนาน้ำหนักเยอะ […]

Singapore International School Thonburi เปลี่ยนภาพจำสถาปัตยกรรมโรงเรียนแบบเดิมๆ ด้วยการออกแบบสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้ทุกคน

สมัยนี้หากผู้ปกครองจะหาโรงเรียนดีๆ ให้ลูกสักที่ นอกจากเรื่องของหลักสูตรการเรียนและสภาพสังคมแล้ว สิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนที่ทันสมัยก็ถือเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จำเป็นต้องพิจารณาควบคู่ไปด้วยกัน Singapore International School Thonburi (SISB Thonburi) เป็นโรงเรียนแห่งแรกในไทยที่ใช้หลักสูตรการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ แต่ในปัจจุบันได้ใช้ทั้งหลักสูตรสิงคโปร์และหลักสูตรอังกฤษควบคู่กันไป โดยสอน 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ไทย และจีน ก่อนหน้านี้ SISB Thonburi ได้เปิดรับนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้น Nursery 1 ไปจนถึง Year 9 (อายุ 2 ปี ถึง 13 ปี) แต่ปัจจุบันหลังจากมีการก่อสร้างตึกใหม่รูปทรงทันสมัยขึ้น ก็ได้มีการเปิดรับนักเรียนมากขึ้นจนถึง Year 13 หรือเทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 อาคารหลังใหม่ของ SISB Thonburi มีทั้งหมด 2 หลังที่มีความสูงจำกัด ด้วยข้อบังคับของผังเมือง แต่ถึงอย่างนั้น ภายในโรงเรียนก็ครบถ้วนไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียน หอประชุม โรงยิม ห้องสมุด ห้องธุรการ ห้องพักเจ้าหน้าที่ […]

สเปนเปลี่ยนเรือนจำให้กลายเป็นพื้นที่ชุมชน โรงอาหาร และที่พักพิงของคนไร้บ้าน

หลายครั้งที่สถานที่เก่าแก่ทั่วโลกถูกปรับปรุงและเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น เช่นเดียวกับ ‘El Roser Social Center’ ในเมืองทาร์ราโกนา ประเทศสเปน ที่อดีตเคยเป็นเรือนจำสำหรับคุมขังนักโทษตั้งแต่ปี 1929 จากนั้นถูกดัดแปลงเป็นอาคารเรียนในปี 1979 และล่าสุดในปี 2022 เรือนจำแห่งนี้ถูกเปลี่ยนอีกครั้งโดย ‘Josep Ferrando Architecture’ สตูดิโอสถาปัตยกรรมของบาร์เซโลนา ให้กลายเป็นพื้นที่ชุมชนใจกลางเมือง เพื่อรองรับการใช้งานของประชาชนในเมืองให้มากขึ้น Josep Ferrando Architecture เข้ามามีส่วนช่วยในการดูแลและฟื้นฟูให้เรือนจำกลับมาอยู่ในสภาพดังเดิมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อเผยให้เห็นถึงโครงสร้างและรูปแบบการก่อสร้างเรือนจำในอดีต อีกทั้งยังมีการออกแบบโครงสร้าง และมองหาวัสดุเพิ่มเติม เพื่อเปลี่ยนให้พื้นที่เรือนจำเดิมสามารถรองรับการใช้งานที่มีจุดประสงค์ใหม่ในการเป็นพื้นที่สาธารณะของชุมชน โรงอาหาร และสถานที่พักพิงของคนไร้บ้านได้ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่สถานที่แห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจในท้องถิ่น และรวมอยู่ในคลังมรดกทางสถาปัตยกรรมของเมือง Tarragona ทำให้สตูดิโอต้องดำเนินงานการซ่อมแซมฟื้นฟู และต่อเติมส่วนอื่นๆ เข้าไปอย่างระมัดระวัง  โดยประตูทางเข้าและทางเดินของเรือนจำยังถูกรักษาคงสภาพไว้ดังเดิม แตกต่างไปเพียงตัวกำแพงทึบรอบลานเรือนจำที่ถูกรื้อถอนออกไป และแทนที่ด้วยโครงเหล็กสีแดงเพื่อให้ความรู้สึกโล่งโปร่งสบาย ลบภาพความอึมครึมของเรือนจำในอดีต กลายเป็นพื้นที่สาธารณะที่ประชาชนในเมืองสามารถเข้ามาใช้สถานที่ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่วนโครงสร้างภายในเรือนจำถูกออกแบบให้กลายเป็นโรงอาหารขนาดใหญ่ของเมืองที่เปิดให้ประชาชนและคนไร้บ้านรับประทานอาหารภายในได้ฟรีเช่นกัน นอกจากนี้ ในส่วนของห้องพักภายในเรือนจำเดิม ยังถูกเปลี่ยนเป็นที่พักพิงสำหรับคนไร้บ้านในเมือง พร้อมติดตั้งระบบทำความร้อนที่ได้ประสิทธิภาพสำหรับฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง ทำให้ El Roser Social Center ถือเป็นสถานที่แห่งแรกในสเปนที่รวบรวมบริการทางสังคมที่หลากหลายและครอบคลุมไว้ใต้หลังคาเดียวกัน ซึ่งทาง […]

ร่วมลงชื่อปกป้องเสรีภาพการใช้หลักสูตรของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อให้เด็กไทยเปิดกว้างทางการศึกษามากขึ้น

ประเด็นที่กำลังถูกถกเถียงบนโซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวางก็คือ กระแสข่าวที่ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และสื่อบางสำนักระบุว่า หลักสูตรของ ‘โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’ อาจบิดเบือนประวัติศาสตร์และสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้นายกฯ สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลเรื่องนี้ ทั้งนี้ ทางโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงว่า กระแสข่าวในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับหลักสูตรและแนวทางการเรียนการสอน อาจทำให้เกิดความสับสน คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง ลดทอนคุณค่าและความมุ่งมั่นอันแท้จริงของโรงเรียน  ความเคลื่อนไหวทั้งหมดเกิดขึ้นหลังจาก รศ. ดร.อนุชาติ พวงสำลี ประธานบริหารโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กขอบคุณ ศ. ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีส่วนร่วมในการออกแบบ ‘แนวทางการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์’ ของโรงเรียน ทำให้นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระชื่อดัง หยิบเรื่องดังกล่าวมาพูดถึงในหัวข้อ ‘การศึกษาหรือล้างสมอง’ เพราะกังวลว่า นักเรียนจะได้เรียนเนื้อหาผิดๆ และ ‘ถูกล้างสมองตามแนวคิดที่จะนำไปสู่การปฏิรูปที่ซ่อนเร้น’ นอกจากนั้น ยังแสดงความไม่เห็นด้วยต่อแนวทางของโรงเรียนที่ไม่มีเครื่องแบบนักเรียน ไม่สอนวิชาพระพุทธศาสนา ไม่ให้เด็กยืนเคารพธงชาติตอนเช้า และไม่มีสวดมนต์ตอนเช้า ทางโรงเรียนได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า โรงเรียนได้พัฒนาหลักสูตรที่ช่วยเตรียมความพร้อมให้เยาวชนเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ที่พร้อมใช้วิจารณญาณในการเผชิญความเปลี่ยนแปลงอย่างเท่าทัน นอกจากนั้น ยังให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนที่ทันสมัยและครอบคลุมเนื้อหาการเรียนรู้ของแต่ละช่วงชั้น ซึ่งนอกจากวิชาสาระหลัก ทางโรงเรียนยังมีวิชาเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้เรียนนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้จริง เช่น วิชาอยู่รอดปลอดภัย วิชาว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด วิชาวัยรุ่นศาสตร์ วิชารู้ทันการเงิน […]

Ideal School ชวนนักเรียนออกแบบโรงเรียนในฝันที่ทั้งสนุกและตอบโจทย์ผู้เรียน

การระบาดของโควิด-19 ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่ต้องเรียนออนไลน์อยู่บ้าน หลายคนเริ่มโอดครวญไม่อยากเรียนผ่านหน้าจอสี่เหลี่ยมแล้ว เพราะนอกจากนักเรียนจะไม่มีสมาธิ เนื้อหาไม่เข้าหัว จนรู้สึกหมดไฟไปตามๆ กัน และยังไม่มีใครฟันธงได้ว่าเด็กๆ จะได้กลับไปโรงเรียนแบบ 100% อีกเมื่อไหร่ Urban Creature จึงขอพักเบรกความรู้สึกห่อเหี่ยวและเหนื่อยล้าจากการเรียนออนไลน์ โดยการชวนนักเรียนชั้นประถมฯ จนถึงวัยมัธยมฯ มาร่วมกันระดมไอเดียสนุกๆ และสร้างสรรค์ เพื่อออกแบบ ‘โรงเรียนในอุดมคติ’ ตามแบบฉบับ Urban Sketch  จุดเริ่มต้นมาจากโรงเรียนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกออกแบบโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง นักเรียนไม่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นหรือเสนอไอเดียเกี่ยวกับการออกแบบโรงเรียน ทำให้ห้องเรียน ตึก และอาคารส่วนใหญ่มีฟังก์ชันที่ไม่เหมาะกับการใช้งานของผู้เรียนเท่าที่ควร นอกจากนั้น เวลาซื้ออุปกรณ์หรือสร้างพื้นที่ใหม่ๆ โรงเรียนก็ไม่เคยถามความคิดเห็นจากเด็ก ว่าพวกเขาต้องการหรือคิดว่ามันเหมาะสมหรือไม่ ดังนั้น เราจึงอยากให้เด็กๆ ช่วยกันจินตนาการว่า ถ้าเลือกเองได้ โรงเรียนควรออกแบบอย่างไร หรือควรมีอะไรบ้าง พวกเขาถึงจะเรียนได้อย่างสบายกายและสบายใจ เพราะหลายโรงเรียนทั่วโลกก็ออกแบบโดยยึดโรงเรียนเป็นศูนย์กลางทั้งนั้น การออกแบบของเด็กๆ มีตั้งแต่ฟังก์ชันล้ำที่เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน การออกแบบห้องสมุดเพื่อความสะดวกสบาย ไปจนถึงการจัดวางห้องศิลปะและโรงอาหารที่ผู้ใหญ่อย่างเรานึกไม่ถึงมาก่อน ทั้งหมดนี้คือการออกแบบที่จะทำให้นักเรียนแฮปปี้และสนุกกับการไปโรงเรียนมากขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว เราขอชวนทุกคนแพ็กกระเป๋า สวมจิตวิญญาณของนักเรียน และไปทัวร์โรงเรียนในฝันด้วยกันเลย! 01 | ห้องเรียนที่มีอิสรภาพและความเสมอภาคในการเรียน ห้องเรียนส่วนใหญ่ออกแบบให้คุณครูยืนสอนอยู่หน้าห้อง ทำให้นักเรียนหลายคนรู้สึกอึดอัด […]

เด็กเอ๋ย เด็กดี ต้องมีหน้าที่กี่อย่างด้วยกัน?

ภาพถ่ายชุด “เด็กเอ๋ยเด็กดี” เป็นการนำเพลง “เด็กเอ๋ยเด็กดี” ที่เราคุ้นหูกันมาตั้งแต่เด็กมาตีความใหม่ผ่านภาพถ่าย รวมถึงเล่าเรื่องให้สอดคล้องกับระบบการศึกษาและสังคมในปัจจุบัน

‘ตัดผมคือละเมิดสิทธิมนุษยชน’ คุยกับเคท ครั้งพิบูลย์ ถึงอำนาจนิยมผ่านการตัดผมนักเรียน

คุยกับ อาจารย์เคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงประเด็นการบังคับให้อยู่ภายใต้อำนาจผ่านการตัดผมของนักเรียน คนบางอาชีพ หรือผู้ต้องหาในเรือนจำ ที่รู้ตัวอีกทีคนเหล่านั้นก็ถูกลดทอนความเป็นคนมาอย่างยาวนาน

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.