Oho! แอปฯ สั่งของกินเมนูพิเศษที่ทั้งอร่อย ถูกกว่า และได้ช่วยร้านค้าลดขยะอาหาร

ในสายตาของคนที่รักของเซลล์เป็นชีวิตจิตใจ ไม่ว่าจะไปไหน ซื้ออะไร เรามักตาเป็นประกายเสมอเมื่อเห็นส่วนลด แม้แต่อาหารที่กดสั่งเดลิเวอรีทุกวัน เชื่อว่าหลายคน (ที่เป็นคนแบบเรา) ไม่พลาดที่จะเช็กโค้ดโปรโมชัน บางครั้งถึงกับตั้งเวลาปลุกให้เข้าไปออเดอร์ช่วง Flash Sale ให้ทัน ฟังดูเหมือนจริงจังไปนิด แต่เราก็ทำถึงขนาดนั้นเลย แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราได้อาหารที่ลดราคาแบบสุดๆ แถมยังเป็นมิตรต่อโลกด้วย เรารู้จักแอปพลิเคชัน Oho! ครั้งแรกราวกลางปีที่ผ่านมา ในฐานะแอปฯ สั่งอาหารที่ละลานตาไปด้วยการลดราคาอย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป เลขเปอร์เซ็นต์สุดว้าวนั้นจูงใจให้คนรักของเซลล์อย่างเราโหลดมาใช้ ก่อนจะพบว่าแอปฯ นี้มีความพิเศษมากกว่าราคาที่ลดแล้วลดอีกไปมากโข แท้จริงแล้ว Oho! คือแอปฯ ขายอาหารเมนูป้ายเหลืองเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่แค่อาหารใกล้หมดอายุอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน แต่บางเมนูมีความสดใหม่และคุณภาพอยู่ในระยะเวลาจำกัด ถ้าปล่อยไว้นาน คุณภาพนั้นจะดร็อปลงจนร้านค้าต้องจำใจทิ้งไป  Oho! เกิดขึ้นเพราะอยากช่วยแบ่งเบาภาระนั้นจากร้านอาหาร ทุกเมนูบนแอปฯ จึงลดราคาได้แบบจัดหนักจัดเต็มอย่างที่เห็น ฟังดูเป็นโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจ แต่ลึกลงไปมากกว่านั้น ‘วริทธิ์ธร มังกรทองสกุล’, ‘สมิทธ์ ชัยชาญชีพ’ และ ‘Richard Armstrong’ ผู้ก่อตั้งทั้ง 3 คนตั้งใจอยากให้ Oho! เป็นแอปฯ ของคนรุ่นใหม่ที่อยากแบ่งเบาภาระโลกจากปัญหา Food Surplus […]

HAUP แอปฯ รถเช่าที่ลูกค้าเลือกจ่ายได้ตามเวลาที่ใช้ แถมยังได้ช่วยเมืองแก้ปัญหารถติด

เรื่องทั้งหมดเริ่มต้นในสุดสัปดาห์นั้น มันเป็นสุดสัปดาห์ที่คนกรุงเทพฯ ได้หยุดยาวติดกันหลายวัน หลายคนจึงแพลนไปเที่ยวต่างจังหวัดเพื่อใช้วันหยุดให้คุ้มค่าที่สุด ฉันกับเพื่อนก็ไม่ต่าง แต่เรามีเวลาว่างตรงกันแค่ 1 วัน เลยวางแผนจะขับรถออกไปเที่ยวจังหวัดใกล้ๆ แบบวันเดย์ทริป ติดตรงที่โทรไปขอเช่ารถที่ไหนเขาก็ไม่ให้ “ถ้าจะเช่าต้องเช่าสองวันขึ้นไป” ทุกที่พูดเหมือนกันหมด ฉันเกือบถอดใจ จนกระทั่งเพื่อนทักมาบอกว่า “ไปเจอนี่มา ลองไหม” ‘นี่’ ที่เพื่อนหมายถึงคือบริการรถเช่าที่คิดค่าเช่ารถตามระยะทางและเวลาที่ใช้ ในระบบมีรถยนต์หลายแบบให้เลือกขับ แถมยังมีจุดให้บริการกระจายอยู่ทั่วทุกมุมเมือง พอฉันคำนวณราคาดูแล้วก็ไม่ได้แตกต่างจากราคาเช่ารถต่อวันเท่าไหร่ เราจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่ลอง นั่นคือครั้งแรกที่ฉันได้ลองใช้บริการของ HAUP ประสบการณ์การเช่ารถ 1 วันนั้นเต็มไปด้วยเรื่องเซอร์ไพรส์ ตั้งแต่การควบคุมระบบทุกอย่างของรถได้จากแอปฯ การที่ HAUP มีบัตรเติมน้ำมันฟรีให้ หรือแม้กระทั่งความสะดวกสบายจากการเช่ารถได้โดยไม่ต้องเจอเจ้าของรถตัวจริงเลย สิ่งที่เซอร์ไพรส์ฉันมากที่สุดเกิดขึ้นหลังจากที่ลองเสิร์ชข้อมูลของ HAUP เล่นๆ และพบว่า HAUP ไม่ใช่บริการที่ก่อตั้งใหม่ แต่เปิดมาแล้วถึง 6 ปี มากกว่านั้นคือพวกเขาไม่ใช่บริการรถเช่าอย่างที่ฉันคิด แต่นิยามตัวเองว่าเป็นบริการ ‘Carsharing’ หรือการชวนคนที่มีรถอยู่แล้วมาปล่อยให้เช่า โดยมีเป้าหมายคือการทำให้อัตราการซื้อรถของคนเมืองน้อยลง  เมื่อคนซื้อรถน้อยลง การจราจรและสภาพอากาศในเมืองจะดีขึ้น ‘กฤษฏิ์ วิชัยวัฒนาพาณิชย์’ CEO ของ HAUP สรุปให้ฉันฟังอย่างนั้น […]

ประเมินอาการซึมเศร้าเบื้องต้นผ่านแอปพลิเคชัน ‘DMIND’ มีหมอ AI ช่วยวิเคราะห์ภาพและเสียง

ปฏิเสธไม่ได้ว่า การฆ่าตัวตายถือเป็นปัญหาที่น่ากังวลของประเทศไทย ซึ่งจำนวนคนที่พยายามปลิดชีพตัวเองยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากวิกฤตต่างๆ อย่างเศรษฐกิจและโรคระบาด ที่ทำให้หลายคนเครียดจนรับมือไม่ไหว  อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนฆ่าตัวตายเกิดจาก ‘โรคซึมเศร้า’ โดยข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตเผยว่า ในปี 2564 ประเทศไทยมีผู้ป่วยซึมเศร้าสูงถึง 1.5 ล้านคน เป็นจำนวนที่สูงเกินกำลังของจิตแพทย์ ทำให้มีผู้ป่วยเพียง 28 คนใน 100 คนเท่านั้นที่ได้เข้ารับการรักษา  เพราะเหตุนี้ ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรมสุขภาพจิต จึงมองช่องทางเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้ง่ายขึ้นผ่าน ‘DMIND’ แอปพลิเคชันประเมินอาการซึมเศร้าเบื้องต้น ที่แม่นยำ เข้าถึงง่าย ใช้งานสะดวก และยังช่วยลดภาระแพทย์และนักจิตวิทยาในการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอีกด้วย โดยแอปพลิเคชัน DMIND เกิดขึ้นจากความร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ, คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ, กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และบริษัท Agnos Health พัฒนานวัตกรรมเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดจำนวนผู้ป่วยซึมเศร้าในประเทศไทย ทั้งนี้ ฟังก์ชันของ DMIND ไม่ได้ทำหน้าที่แทนจิตแพทย์โดยตรง แต่มาช่วยคัดกรองผู้ป่วยก่อนเข้าสู่การรักษาในลำดับต่อไป การทำงานของแอปฯ DMIND จะแบ่งเป็นสองส่วน เริ่มที่การตอบแบบสอบถามคัดกรองและประเมินตัวเอง ส่วนใครอยากตรวจสอบอาการเชิงลึก ก็มีฟังก์ชันให้เปิดกล้องบันทึกเสียงและภาพเพื่อประเมินและพูดคุยกับ ‘หมอพอดี’ […]

ThaiToon แอปฯ รวมการ์ตูนผีไทยที่เปิดให้สมัครสมาชิกและอ่านฟรี

ต่อให้คุณไม่ใช่นักอ่านตัวยง แต่ถ้าคุณอายุไม่น้อยแล้ว ยังไงก็น่าจะเคยเห็นหนังสือการ์ตูนผีไทยผ่านตาบ้าง บางคนอาจทันยุคที่การ์ตูนเล่มละบาท บางคนอาจมาอ่านตอนที่ขึ้นราคาเป็น 5 บาทแล้ว  ด้วยสีสันอันฉูดฉาด คาแรกเตอร์สุดแสบสัน เนื้อเรื่องที่วนเวียนกับผี วิญญาณ ตำนานพื้นบ้าน ผัวๆ เมียๆ แทรกด้วยฉากวาบหวิว บวกกับขนาดเล่มที่กะทัดรัด อ่านจบไวๆ ทำให้การ์ตูนประเภทนี้รุ่งเรืองมาก ก่อนที่ความนิยมจะลดลงตามยุคสมัยและพฤติกรรมผู้อ่านที่เปลี่ยน ทว่าเมื่อ 2 – 3 ปีมานี้ที่มังงะญี่ปุ่นได้กลายมาเป็นความชอบกระแสหลัก การ์ตูนไทยก็ได้รับการหยิบมาพูดถึงในวงกว้างอีกครั้ง โดยการ์ตูนผีไทยคือหนึ่งในตำนานเหล่านั้น เพราะนอกจากความสนุก อ่านเพลินแล้ว มันยังบันทึกยุคสมัยด้วยการสะท้อนถึงชีวิตคนชายขอบ ชนชั้นแรงงาน ที่เป็นคาแรกเตอร์ส่วนใหญ่ของเรื่องด้วย หลังจากมีเสียงเรียกร้องของผู้อ่านมามาก เพราะแทบหาอ่านการ์ตูนแนวนี้ไม่ได้แล้ว จึงทำให้แอปพลิเคชัน ‘ThaiToon’ รวบรวมการ์ตูนไทยของสำนักพิมพ์ทวีปัญญาที่ถือเป็นมือฉมังในการผลิตการ์ตูนแนวนี้ โดยมีทั้งส่วนให้อ่านฟรีและต้องสมัครสมาชิก แบ่งเป็นรายเดือน 29 บาท และรายปี 249 บาท เรียกว่าได้ทั้งอ่านและสนับสนุนแวดวงการ์ตูนไทยในคราเดียวกัน ส่วนใครที่อยากลองเปลี่ยนอรรถรสจากการอ่านไปฟังกันดูบ้าง ในแอปฯ ก็มีเซกชัน ‘ไทยตูนเดอะมูฟวี่’ ให้บริการ ประกอบด้วยเสียงพากย์และซาวนด์เอฟเฟกต์ชวนติดตาม ทำให้รู้สึกเหมือนว่าอยู่ในการ์ตูนเรื่องนั้นจริงๆ ใครที่คิดถึงผลงานของนักเขียนชื่อดังอย่าง แดน สุดสาคร และ […]

รณรงค์หยุด Bully ผ่านสติกเกอร์ Line ฝีมือนักเรียนญี่ปุ่นในโยโกฮาม่า

สมาคมผู้ปกครองและครู (PTA) ประจำโรงเรียนชั้นประถมศึกษาในเมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่นผุดไอเดียเด็ด สร้างสรรค์สติกเกอร์ในธีมหยุดการบุลลี่ลงบนแอปพลิเคชันแชตยอดฮิตอย่าง Line  สติกเกอร์นี้มาจากภาพประกอบฝีมือนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษายามาอุจิ (Yamauchi) ในเขตอาโอบะ เมืองโยโกฮาม่า โดยแนบถ้อยคำให้กำลังใจเด็กๆ ไว้ในภาพ ซึ่ง Seijun Sato อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนหวังว่าคนที่ได้ใช้สติกเกอร์เหล่านี้จะได้รับความรู้สึกอบอุ่นหัวใจ สติกเกอร์ที่ว่ามีทั้งหมด 178 รูปแบบ ประกอบไปด้วยวลีภาษาญี่ปุ่นต่างๆ อาทิ ขอบคุณ, คุณทำได้ดีมาก และ ฉันอยู่ข้างคุณเสมอนะ โดยวางเคียงกับเจ้าการ์ตูนมาสคอตของโรงเรียนที่มีชื่อว่า ‘คีย์ลีฟ (Keyaleaf)’ สติกเกอร์ชุดดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือกับนักวาดภาพประกอบชื่อ ‘โดคุคิโนโกะ (Dokukinoko)’ ซึ่งลูกสาวของนักวาดภาพคนนี้ ก็เข้าเรียนในโรงเรียนประถมฯ เช่นกัน เธอทำสติกเกอร์คีย์ลีฟกับ PTA ในปี 2019 และเปิดตัวโปรเจกต์อื่นๆ เพื่อทำสติกเกอร์จากภาพที่เด็กนักเรียนวาดในปี 2020 ซึ่งทำให้ได้รับภาพวาดทั้งหมดมาจากเด็กๆ จำนวนประมาณ 100 คน เมื่อเดือนมกราคม 2021 โดคุคิโนโกะยังได้รับรางวัลสูงสุด ประเภทภาพวาดประกอบจากเวที ‘yuru-chara’ โดยศิลปินเข้าร่วมประกวดในธีมป้องกันการฆ่าตัวตายเพราะการถูกกลั่นแกล้ง ซึ่งรางวัลนี้จัดขึ้นโดยองค์กรไม่แสวงผลกำไรในโตเกียว  ต่อมาในเดือนมิถุนายน ระหว่างการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน โดคุคิโนโกะได้แนะนำให้มีการทำสติกเกอร์ไลน์เพื่อป้องกันการบุลลี่ขึ้นมา […]

ชวนคนไทยเตรียมพร้อม โหลดแอปฯ เฝ้าระวังน้ำท่วม รับการแจ้งเตือน อัปเดตสถานการณ์น้ำ

ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้หลายจังหวัดกลายเป็นพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม จากอิทธิพลของพายุ ‘เตี้ยนหมู่’ ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยา ยังบอกว่าในอีก 24 ชั่วโมงข้างหน้ายังมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำมีปริมาณมาก และสถานีกักเก็บน้ำหลายแห่งมีปริมาณเกินความจุและล้นตลิ่ง ผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงจำเป็นต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด  นาทีนี้สวดมนต์ก็คงไม่ทันแล้ว Urban Creature ขอแนะนำให้ดาวน์โหลด 2 แอปพลิเคชันนี้ติดเครื่องไว้ เพื่อรับการแจ้งเตือนและอัปเดตสถานการณ์น้ำทั่วประเทศ Thai Disaster Alert  แอปฯ จากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีข้อดีตรงที่สามารถใส่ตำแหน่งที่เราอยู่ลงไปในแอปฯ และกำหนดให้มีการแจ้งเตือนได้หากเกิดน้ำท่วมในบริเวณใกล้เคียง แอปฯ นี้ยังมีการรวบรวมข่าวสาร รวมถึงประกาศแจ้งเตือนต่างๆ ไว้ในที่เดียวกันให้เราสามารถติดตามสถานการณ์ได้ง่ายขึ้นด้วย Thai Water คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ แอปฯ นี้เหมาะกับการดูสถานการณ์ในภาพรวมของสถานการณ์น้ำในระดับประเทศ มีการรายงานระดับน้ำเป็นเปอร์เซ็นต์ว่ามีปริมาณเท่าไหร่ของความจุ Thai Water ยังมีการคาดการณ์ฝนและกราฟปริมาณน้ำฝนย้อนหลัง รวมถึงปริมาณน้ำในเขื่อนให้ติดตาม และสามารถดูการแจ้งข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำได้เช่นกัน  ในประเทศไทยยังมีอีกหลายแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ แต่เราเลือก 2 แอปฯ นี้มาเพราะมีการรวบรวมข้อมูลที่ดี ออกแบบหน้าตาให้ใช้งานง่าย และน่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนอย่างยิ่งในช่วงนี้ 

Agnos แอปฯ ช่วยประเมินอาการโควิด-19 ฟรี โดยทีมแพทย์อาสา

ติดโควิด-19 แล้วเตียงไม่พอต้องทำอย่างไรต่อดี? เราเชื่อว่าในสถานการณ์นี้หลายคนคงเคยตั้งคำถามนี้หลายครั้ง เพราะตัวเอง เพื่อน ครอบครัว และคนรอบข้าง ไม่ว่าจะดูแลตัวเองดีแค่ไหนก็มีโอกาสเป็นกลุ่มเสี่ยงและติดโควิด-19 กันได้ทั้งนั้น  ตอนนี้จำนวนผู้ติดเชื้อยังคงเพิ่มขึ้นถึง 2 หมื่นคนต่อวันและยังไม่ลดลงง่ายๆ จำนวนคนไข้มีมากกว่าจำนวนเตียง และสถานที่ตรวจโควิด-19 มีไม่เพียงพอ เราจึงอยากแนะนำ Homecare by ‘Agnos’ ไว้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่มีอาการและต้องการคำแนะนำทางการแพทย์  Agnos (แอ็กนอส) เป็นแอปฯ ที่ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพด้วย AI พัฒนาโดยทีมแพทย์และวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้ใช้สามารถใส่อาการเบื้องต้น พร้อมข้อมูลความเสี่ยงส่วนบุคคล ระบบจะทำการซักประวัติเพิ่มเติม เพื่อวิเคราะห์ว่าอาจเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง และให้คำแนะนำผู้ใช้งานว่าควรเข้าพบแพทย์เพิ่มเติมหรือไม่ สำหรับช่วงโควิด-19 ทางแอปฯ ได้เปิดตัว Homecare by ‘Agnos’ เพื่อให้คำแนะนำผู้ป่วยที่รอเข้าระบบและช่วยเหลือผู้ป่วยที่เข้าไม่ถึงการรักษาแบบฟรีๆ ผู้ใช้งานสามารถตรวจความเสี่ยงโควิด-19 ได้ด้วยการกรอกข้อมูลให้ละเอียด แอปฯ จะประมวลผลให้และมีคำแนะนำในการปฏิบัติตัวให้ได้ทันที และสำหรับผู้ป่วย Home Isolation ที่กำลังรอเตียง กลุ่มเสี่ยงโควิดที่ต้องกักตัว หรือกลุ่มเสี่ยงที่กำลังรอตรวจ สามารถลงทะเบียนผู้ป่วยได้ในช่องระบบ Home.Care และมีบริการจัดยาบรรเทาอาการให้ที่ร้านขายยาใกล้บ้านผู้ป่วย (ให้บริการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล)  แพลตฟอร์มนี้จะมีแพทย์คอยประเมินอาการ และทีมเจ้าหน้าที่คอยให้การช่วยเหลือ […]

โควิด-19 วิกฤตแต่สุขภาพจิตต้องดี กรมสุขภาพจิตรุกลงพื้นที่แก้ความเครียดให้ระบายความอัดอั้นใน Sati App

ด้วยสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบันที่ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็เจอแต่ปัญหา ทั้งสภาพแวดล้อม ฝุ่นควัน การเมืองที่ดุเดือด และโควิด-19 ที่ดูเหมือนจะไม่ได้ดีขึ้นเลย เหล่านี้อาจจะทำให้คุณเครียดจนไม่รู้จะทำอย่างไร อยากระบายออกไปให้ใครสักคนฟัง! กรมสุขภาพจิตเล็งเห็นปัญหาตรงนี้จึงร่วมมือกับ HR ของบริษัทต่างๆ รวมทั้งกลุ่มจิตอาสาที่ผ่านการอบรมจากกรมสุขภาพจิตแล้ว ลงพื้นที่เชิงรุกเพื่อให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดกับผู้ที่เกิดภาวะเครียดสะสม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนที่รู้สึกหมดหวัง กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว หรือกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ให้ก้าวข้ามผ่านปัญหาไปได้ หากใครไม่ได้อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวแต่อยากขอคำปรึกษา กรมสุขภาพจิตยังมี ‘Sati App’ แอปพลิเคชันที่มีกลุ่มผู้ฟังอาสาที่ผ่านการอบรม ‘การฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ’ พร้อมเป็นพื้นที่ให้คุณระบายความคับคั่งในใจ ไม่ว่าจะเป็นความเครียดเรื่องใดก็ตาม หากคุณต้องการคนรับฟัง ผู้ฟังอาสาเหล่านี้จะฟังทุกเรื่องของคุณโดยไม่ตัดสิน เพราะเชื่อว่าการเยียวยาจิตใจที่ดีที่สุดคือการใช้ใจรับฟัง เพียงแค่ดาวน์โหลดแอปฯ สร้างบัญชีโดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยชื่อจริง ระบบจะนำคุณไปที่หน้า ‘คุย’ และเชื่อมต่อกับผู้ฟังอาสาที่พร้อมจะรับฟังคุณ หรือถ้าใครสนใจเป็นผู้ฟังอาสาก็สามารถสมัครได้ที่เว็บไซต์ https://www.satiapp.co/th/  ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันได้แล้วทั้งใน Google Play และ App Store Sources : FM91 BKK | https://www.fm91bkk.com/fm-91-103704กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข | https://www.facebook.com/THAIDMH/

Elon Musk ยังต้องใช้ ‘Clubhouse’ คืออะไร ทำไมคนทั้งโลกสนใจ แอปฯ โซเชียลมีเดียน้องใหม่ไฟแรงนี้!

แอปฯ Clubhouse นั้นมาในรูปแบบ Drop-in Audio Chat หรือการใช้เสียงแทนการพิมพ์ ซึ่งเมื่อเข้าไปข้างในเราจะสามารถสร้างห้องสนทนาของตัวเองได้เอง นอกจากนี้ยังมีห้องอื่นๆ อีกมากมายให้เลือกเข้าร่วมฟัง ตั้งแต่รีวิวหนัง วิธีทำอาหาร การออกกำลังกาย แนวทางการเล่นหุ้น ไปจนถึงเปิดห้องร้องเพลงเฉยๆ ก็ยังมี ซึ่งหลังใช้งานเสร็จแล้วห้องสนทนานี้ก็จะถูกลบทิ้งไป ไม่มีการบันทึกเก็บไว้ และในไม่ช้า Clubhouse จะทำฟังก์ชันใหม่ที่สามารถให้ทิป หรือการสมัครสมาชิกเพื่อจ่ายเงินให้กับ Creator ได้โดยตรง  สำหรับใครที่อยากดาวน์โหลด ต้องบอกว่าตอนนี้เขามีแค่ระบบปฏิบัติการ iOS เท่านั้น ที่สำคัญจะต้องถูกเชิญจากเพื่อนที่เล่นอยู่ก่อนแล้วถึงจะเข้าใช้งานได้ ซึ่งแต่ละคนก็มีสิทธิ์เชิญเพื่อนได้แค่ 2 คนเอง

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.