แอปฯ Clubhouse นั้นมาในรูปแบบ Drop-in Audio Chat หรือการใช้เสียงแทนการพิมพ์ ซึ่งเมื่อเข้าไปข้างในเราจะสามารถสร้างห้องสนทนาของตัวเองได้เอง นอกจากนี้ยังมีห้องอื่นๆ อีกมากมายให้เลือกเข้าร่วมฟัง ตั้งแต่รีวิวหนัง วิธีทำอาหาร การออกกำลังกาย แนวทางการเล่นหุ้น ไปจนถึงเปิดห้องร้องเพลงเฉยๆ ก็ยังมี ซึ่งหลังใช้งานเสร็จแล้วห้องสนทนานี้ก็จะถูกลบทิ้งไป ไม่มีการบันทึกเก็บไว้
และในไม่ช้า Clubhouse จะทำฟังก์ชันใหม่ที่สามารถให้ทิป หรือการสมัครสมาชิกเพื่อจ่ายเงินให้กับ Creator ได้โดยตรง
สำหรับใครที่อยากดาวน์โหลด ต้องบอกว่าตอนนี้เขามีแค่ระบบปฏิบัติการ iOS เท่านั้น ที่สำคัญจะต้องถูกเชิญจากเพื่อนที่เล่นอยู่ก่อนแล้วถึงจะเข้าใช้งานได้ ซึ่งแต่ละคนก็มีสิทธิ์เชิญเพื่อนได้แค่ 2 คนเอง
RELATED POSTS
Chook แอปฯ เดลิเวอรีที่เชื่อว่าอาหารโฮมเมดพิเศษ จนสร้างแพลตฟอร์มให้เชฟที่ไม่มีหน้าร้าน
เรื่อง
พัฒนา ค้าขาย
วันนี้ ที่ออฟฟิศ Urban Creature มีข้าวกลางวันฟรี เป็นเมนูแกงเขียวหวานเนื้อของร้าน ‘บ้านศรีโบว์’ ที่นอกจากจะใช้เนื้อวัวที่ตุ๋นจนเปื่อยเป็นวัตถุดิบหลัก น้ำแกงยังมีสีเขียวกว่าแกงเขียวหวานทั่วไป ไม่ได้ปรุงพลาดหรือใส่เครื่องแกงเยอะเกินไป แต่เป็นสูตรลับเฉพาะของคนทำที่บอกว่า แกงเขียวหวานบ้านเขาต้องเขียวแบบนี้เท่านั้น แกงเขียวหวานของร้านบ้านศรีโบว์ไม่ได้หาซื้อที่ไหนก็ได้ ถ้าไปเสิร์ชในแอปฯ สั่งอาหารทั่วไปคงไม่เจอ ยกเว้นแอปฯ เดียวที่ทางร้านเปิดขายชื่อ Chook Chook คือแอปฯ สั่งอาหารน้องใหม่ที่เปิดตัวในยุคที่ตลาดแอปฯ เดลิเวอรีแข่งขันกันอย่างดุเดือด แต่เอกลักษณ์ที่ทำให้ Chook โดดเด้งมากกว่าแอปฯ ไหน คือการเป็นแอปฯ ที่ขายเฉพาะเมนูโฮมเมดเท่านั้น แกงเขียวหวานของร้านบ้านศรีโบว์ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง ในแอปฯ ยังมีเมนูและร้านอาหารจากครัวประจำบ้านอีกนับร้อยให้เลือกสรร ความน่ารักคือร้านเหล่านี้ไม่ได้มีหน้าร้านจริงจัง และเชฟผู้ปรุงเมนูเหล่านั้นอาจไม่ได้ทำอาชีพเชฟจริงจัง แต่เป็นคนธรรมดาๆ ที่ทำอาหารอร่อย และอยากแชร์สูตรอาหารโฮมเมดในบ้านตัวเองให้คนอื่นกินบ้าง เบื้องหลังแอปฯ ที่ธรรมดาแต่พิเศษนี้เป็นยังไง Vincent Kao ผู้ก่อตั้งแอปฯ มีนัดกับเราที่ออฟฟิศ Urban Creature เพื่อเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ฟัง ไม่ใช่แค่เล่า แต่ชายหนุ่มยังขอเลี้ยงมื้อกลางวัน แน่นอนว่ามันคือเมนูแกงเขียวหวานร้านบ้านศรีโบว์ หนึ่งในเมนูอาหารโฮมเมดซึ่งเปิดขายในแอปฯ ที่เขาสร้างขึ้นมานั่นเอง อาหารประจำครอบครัว “ทุกคนมีเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารที่บ้านของตัวเอง” คือประโยคที่จุดประกายให้วินเซนต์ริเริ่มสตาร์ทอัปชื่อ Chook ไม่ต่างจากเราทุกคน […]
ตัวช่วยพ่อแม่รุ่นใหม่รับมือลูกเล็ก แอปฯ วิเคราะห์เสียงร้องไห้ ‘CryAnalyzer’ เพื่อแปลงเป็น 5 อารมณ์ ผ่านอีโมจิน่ารัก
เรื่อง
Urban Creature
สำหรับพ่อแม่มือใหม่ การต้องรับมือกับเสียงร้องไห้ของลูกเล็กคงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะไม่ว่าจะฟังอย่างไรก็แยกไม่ออกอยู่ดีว่า ระหว่างร้องไห้เพราะหิวกับร้องไห้เพราะง่วงนอน มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร ‘CryAnalyzer’ คือแอปพลิเคชันวิเคราะห์เสียงเด็กร้องไห้ ที่อาจเป็นตัวช่วยให้พ่อแม่ผู้ปกครองเข้าใจเสียงร้องไห้ของเด็กได้มากขึ้นผ่านการวิเคราะห์เสียงจาก AI CryAnalyzer เป็นผลงานการออกแบบของ ‘First Ascent inc.’ บริษัทเทคโนโลยีสำหรับเด็ก สัญชาติญี่ปุ่น ที่เกิดขึ้นจากการเก็บตัวอย่างช่วงอารมณ์ต่างๆ ของทารกอายุตั้งแต่แรกเกิด – 2 ปี จำนวนมากกว่า 20,000 คน เพื่อนำมาวิเคราะห์เสียงร้องไห้และแปลงเป็น 5 อารมณ์ ได้แก่ หิว ง่วงนอน เบื่อ โกรธ หรือรู้สึกไม่สบายตัว ผ่านอีโมจิน่ารักๆ ส่วนวิธีการอ่านค่าความรู้สึกก็ทำได้ง่ายๆ แค่กดบันทึกเสียงร้องของทารกเป็นเวลา 5 – 10 วินาที จากนั้นแอปฯ จะทำการวิเคราะห์อารมณ์ให้ตรงกับความต้องการเฉพาะของทารกตามข้อมูลประวัติที่จัดเก็บไว้ โดยคำนึงถึงเพศและอายุของทารกร่วมด้วย ซึ่งทางทีมผู้พัฒนาแอปฯ อ้างว่ามีความแม่นยำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ในการระบุสภาวะทางอารมณ์ เพื่อให้พ่อแม่มือใหม่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ของทารกดีขึ้น นอกจากนี้ ภายในแอปฯ ยังมีการแสดงประวัติการร้องไห้ย้อนหลัง สำหรับดูความเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ของลูกน้อยได้อีกด้วย ผู้ที่สนใจ ดาวน์โหลดแอปฯ ‘CryAnalyzer’ […]
เช็กสีเสื้อ ออกรถ คลอดบุตร ขึ้นบ้านใหม่ ดูทุกดวงทุกฤกษ์ได้เพียงปลายนิ้ว
เรื่อง
Urban Creature
ด้วยแอปฯ ปฏิทินมงคลน่ำเอี๊ยง พูดได้ว่าฤกษ์งามยามดีนั้นสอดคล้องกับความเชื่อและสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนตั้งแต่เกิดจนตาย โดยโปรดักต์หนึ่งที่น่าจะเป็นของคุ้นตาตามผนังบ้านของหลายๆ คน คงหนีไม่พ้นภาพปฏิทินจีนหรือปฏิทินน่ำเอี๊ยง เหตุผลที่ผู้คนนิยมใช้กันก็เพราะปฏิทินน่ำเอี๊ยงมีคุณสมบัติมากกว่าแค่บอกวันเดือนปี แต่ยังบอกฤกษ์ดี ฤกษ์มงคล ดวงประจำ หรือสิ่งที่ไม่ควรทำในแต่ละวันได้ด้วย และเมื่อปฏิทินนี้ถูกนำมาปรับใช้ในสังคมไทยเมื่อหนึ่งร้อยปีที่แล้ว ก็ได้ผนวกเข้ากับศาสตร์ปฏิทินแบบสุริยคติและจันทรคติ ทำให้มีการระบุวันพระและวันข้างขึ้น-ข้างแรม รวมถึงคุณลักษณะอื่นๆ อีกมากมายที่ทำให้ใช้งานได้หลากหลายยิ่งขึ้น และเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคเทคโนโลยี จากปฏิทินน่ำเอี๊ยงที่เป็นกระดาษก็วิวัฒนาการกลายมาเป็นแอปพลิเคชันที่อยู่ในสมาร์ตโฟน แอปพลิเคชันนี้มีชื่อว่า ‘Num Eiang Astrolendar’ หรือชื่อไทย ‘ปฏิทินมงคลน่ำเอี๊ยง’ ที่มีการออกแบบหน้าตาปฏิทินให้เป็นแพลตฟอร์มที่มีเอกลักษณ์ หน้าตาทันสมัย ใช้งานง่าย และรองรับการเข้าใช้งานพร้อมกันได้ถึงวันละเกือบหนึ่งแสนคน เมื่อโหลดมาแล้ว ทุกคนจะพบกับบริการเบื้องต้นอย่างคำพยากรณ์ทั่วไปในวันนั้นๆ ปีนักษัตรที่ไม่ถูกกัน วันพระไทย,จีน วันธงไชย วันกาลกิณี วันอุบาทว์ เลขมงคล สีมงคล เวลามงคล ทิศมงคล หรือสิ่งที่ควรปฏิบัติกับหลีกเลี่ยงในวันนั้น รวมถึงฟังก์ชันการแจ้งเตือนวันสำคัญต่างๆ ล่วงหน้า เป็นต้น สำหรับสายมูฯ แอปฯ นี้ยังมีฟีเจอร์ที่เป็นทางเลือกเพิ่มเติม เพื่อช่วยตัดสินใจในชีวิตประจำวัน หลักๆ คือการดูฤกษ์งามยามดีในโอกาสสำคัญ ไม่ว่าจะวันแต่งงาน ฤกษ์คลอดบุตร เวลาก่อสร้าง การทำธุรกิจ ออกรถ และขึ้นบ้านใหม่ […]
เข้าใจความรู้สึกของตัวเองระหว่างวัน ผ่านแอปฯ บันทึกอารมณ์ ‘How We Feel’ ที่มีให้เลือกถึง 4 หมวด 144 อารมณ์
เรื่อง
Urban Creature
เพราะความรู้สึกในหนึ่งวันของแต่ละคนไม่สามารถอธิบายได้ด้วยอารมณ์เพียงอารมณ์เดียว และไม่สามารถนิยามได้ด้วยคำไม่กี่คำ เราจึงอยากแนะนำให้ทุกคนรู้จัก ‘How We Feel’ แอปพลิเคชันสำหรับบันทึกอารมณ์ระหว่างวันที่คล้ายกับไดอารี เพื่ออธิบายความรู้สึกที่แท้จริงในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งจะเป็นเสมือนตัวช่วยที่ทำให้เราได้รู้จักอารมณ์ของตัวเองในแต่ละวันได้มากขึ้น How We Feel เป็นแอปฯ ตัวแรกขององค์กรไม่แสวงผลกำไรทางวิทยาศาสตร์อย่าง ‘How We Feel Project, Inc.’ ที่พัฒนาขึ้นในช่วงโควิด-19 ระบาด นำโดย Ben Silbermann หนึ่งในผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Pinterest ที่หลงใหลในการสร้างโลกที่ดีต่อสุขภาพทางอารมณ์ ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ นักออกแบบ วิศวกร นักจิตวิทยา ไปจนถึงนักบำบัด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าฟังก์ชันต่างๆ ภายในแอปฯ จะสามารถช่วยให้ผู้ใช้งานรับรู้และเข้าใจความรู้สึกของตัวเองได้ครอบคลุมมากกว่าแอปฯ ไหนๆ ส่วนการใช้งานก็สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการเช็กอินภาวะทางอารมณ์ความรู้สึกระหว่างวันด้วยตัวเองอย่างไม่จำกัดจำนวน ทั้งยังตั้งเวลาแจ้งเตือนได้ด้วยตนเอง เพราะทางผู้ให้บริการเข้าใจว่าภายในหนึ่งวัน คนเราสามารถมีอารมณ์ที่หลากหลายและไม่ซ้ำกัน โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกคำอธิบายอารมณ์ ณ เวลานั้นได้จากคำนิยามทางอารมณ์ที่มีให้เลือกกว่า 144 อารมณ์ ซึ่งแบ่งเป็น 4 หมวดหลักที่แทนด้วย 4 สี ได้แก่ 1) สีแดง แทนกลุ่มอารมณ์ […]