‘โมนาโก’ เมืองที่ใช้คาสิโนสร้างชาติ พลิกฟื้นเศรษฐกิจทั้งประเทศด้วยธุรกิจการพนัน

‘การพนันไม่เคยทำให้ใครรวย’ ประโยคข้างต้นอาจมีมูลความจริงอยู่ไม่น้อยสำหรับบางสังคม แต่แนวคิดนี้ไม่สามารถใช้ได้กับ ‘ราชรัฐโมนาโก’ (Monaco) ประเทศขนาดเล็กอันดับสองของโลก ที่สามารถกู้วิกฤตเศรษฐกิจจนร่ำรวยด้วยธุรกิจคาสิโน ภาพจำของโมนาโกสำหรับหลายคนคือเมืองแห่งความร่ำรวยหรูหรา ท่าเรือที่เต็มไปด้วยเรือยอช์ตจอดเรียงรายริมชายฝั่ง สถาปัตยกรรมที่สวยงามราวกับหลุดมาจากนิยาย หรือเส้นทางถนนเก่าแก่สำหรับการแข่งขัน ‘โมนาโก กรังด์ปรีซ์’ (Monaco Grand Prix) แต่รู้หรือไม่ ก่อนโมนาโกจะกลายเป็น ‘สนามเด็กเล่นของคนรวย’ ประเทศนี้ต้องเผชิญกับปัญหาการสูญเสียรายได้มหาศาลหลังจากแยกตัวออกจากฝรั่งเศส กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘มอนติคาร์โล’ (Monte Carlo) คาสิโนเก่าแก่ผู้กลายเป็นหัวหอกพลิกฟื้นนำประเทศไปสู่ความร่ำรวยจากเม็ดเงินของนักเสี่ยงโชคทั่วโลก เพราะเหตุใดคาสิโนเพียงหนึ่งแห่งถึงพลิกฟื้นเศรษฐกิจทั้งประเทศได้ และความท้าทายของเมืองแห่งความร่ำรวยอย่างโมนาโกมีอะไรบ้าง ตามไปหาคำตอบได้ในบทความนี้ ฟื้นฟูเมืองด้วยธุรกิจคาสิโน ภายหลังการรับรองเอกราชจากฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1861 ประเทศโมนาโกจำเป็นต้องเริ่มต้นวางระบบเศรษฐกิจของประเทศที่ใกล้ล้มละลายใหม่อีกครั้ง จากดินแดนเล็กๆ ที่มีพื้นที่เพียง 0.81 ตารางไมล์ ทรัพยากรธรรมชาติแทบไม่มี พื้นที่ใช้สอยก็น้อยนิด ข้อจำกัดมากมายเหล่านี้นำพวกเขาไปสู่ลู่ทางธุรกิจใหม่ที่ยังคงผิดกฎหมายในประเทศโดยรอบในสมัยนั้นอย่าง ‘คาสิโน’ คาสิโนแห่งแรกของประเทศสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1865 แต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ต่อมาโมนาโกได้สร้างคาสิโนแห่งใหม่อีกครั้งที่เมืองมอนติคาร์โล ผนวกกับเส้นทางรถไฟสายใหม่จากกรุงปารีสมายังโมนาโก ที่สร้างความสะดวกสบายในการเดินทางมากขึ้นหลายเท่า ทำให้นักเสี่ยงโชคจากทั่วยุโรปหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก คาสิโนมอนติคาร์โลจึงประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วจนประเทศกลับมาร่ำรวยอีกครั้ง ถึงอย่างนั้น คาสิโนแห่งนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความมั่งคั่งที่สืบทอดมาจวบจนปัจจุบัน เนื่องจากรัฐที่เห็นโอกาสตรงนี้ได้ต่อยอดจากเพียงคาสิโนหนึ่งแห่ง กลายเป็นนโยบายและสิทธิประโยชน์เอาใจคนรวยอย่างการ ‘ยกเลิกภาษีเงินได้’ […]

ชาวยุโรปเตรียมตัว ‘หนาว’ จากวิกฤตพลังงานและภาวะเศรษฐกิจถดถอย

ใกล้สิ้นปี 2022 แล้ว แต่ดูเหมือนว่าสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจทั่วโลกจะไม่ดีขึ้นเร็วๆ นี้ เพราะแม้ว่าบรรดาธุรกิจจะเริ่มกลับมาลืมตาอ้าปากได้บ้างแล้ว หลังเจอวิกฤตโควิด-19 ซัดไปหลายระลอกในช่วงเกือบสามปีที่ผ่านมา แต่แสงแห่งความหวังของหลายประเทศกลับต้องดับลง แถมอาจมืดมิดกว่าเดิมเสียด้วย เพราะดันถูกซ้ำเติมด้วยเหตุการณ์รัสเซียบุกยูเครนที่ลากยาวมานานกว่า 7 เดือน ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนอาจฟังดูเหมือนเรื่องไกลตัว แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะสงครามนี้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของผู้คนทั่วโลก ทั้งทางตรงและทางอ้อม ‘ประเทศในทวีปยุโรป’ มีแนวโน้มที่จะเจอผลกระทบรุนแรงกว่าใคร หลังจากก่อนหน้านี้ได้ใช้มาตรการคว่ำบาตรกดดันให้รัสเซียยุติสงคราม ผ่านนโยบายแบนการนำเข้าและส่งออกสินค้าหลายรายการจากแดนหมีขาวอย่างการห้ามนำเข้าทองคำ น้ำมัน ถ่านหิน เป็นต้น แต่มาตรการเหล่านี้ส่อแววไม่ได้ผลและอาจทำให้ยุโรปลำบากเสียเอง เพราะรัสเซียได้ปิดท่อส่งก๊าซหลักไปยังยุโรปอย่าง นอร์ด สตรีม 1 (Nord Stream 1) อย่างไม่มีกำหนด โดยให้เหตุผลว่าพบการรั่วไหลของน้ำมัน แต่ทางยุโรปเชื่อว่านี่คือข้ออ้างที่รัสเซียใช้โต้ตอบมาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก  ที่น่ากังวลคืออีกไม่กี่เดือนยุโรปจะย่างเข้าฤดูหนาวแล้ว หลายฝ่ายกลัวว่าชาวยุโรปจะต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบากท่ามกลางสภาพอากาศที่หนาวเย็นจาก ‘วิกฤตขาดแคลนพลังงาน’ เนื่องจากพลังงานราว 60 เปอร์เซ็นต์ที่ยุโรปใช้คือพลังงานที่นำเข้าจากรัสเซียทั้งสิ้น รวมไปถึงความทุกข์ในการดำเนินชีวิตจากค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่หลายประเทศกำลังก้าวเข้าสู่ ‘ภาวะเศรษฐกิจถดถอย’ เต็มรูปแบบ ค่าไฟฟ้า ค่าครองชีพ แพงหูฉี่ สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนคือหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้มหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกอย่างยุโรปกำลังเจอกับ ‘วิกฤตเงินเฟ้อ’ ส่งผลให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนโอดครวญกันเป็นแถวจากค่าไฟฟ้า ค่าครองชีพ และต้นทุนการผลิตที่แพงขึ้นจนแทบแบกภาระไม่ไหว ถ้าดูเป็นตัวเลขจะยิ่งน่าตกใจ เพราะเมื่อเดือนสิงหาคม 2565 […]

อสังหาฯ กรุงเทพฯ ชาติไหนครองมากที่สุดในปฐพี?

ใกล้จะถึงเดือนกันยายน ที่รัฐบาลเคาะผลบังคับใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน ด้วยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีกำลังทรัพย์ (คนที่นำเงินมาลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท และลงทุนในธุรกิจไม่ น้อยกว่า 3 ปี) หรือคนที่มีความสามารถเข้ามาทำงานในประเทศมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างแหล่งรายได้ใหม่ให้กับบ้านเรา พร้อมทั้งมีเป้าหมายเพิ่มจำนวนชาวต่างชาติในไทยเป็น 1 ล้านคน คาดว่าจะสามารถเก็บภาษีมากกว่าเดิมประมาณ 2.7 แสนล้านบาท ปัจจุบันตัวเลขมูลค่าการถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดชาวต่างชาติปี 2564 ในกรุงเทพฯ มากที่สุดต้องยกให้ ‘ประเทศจีน’ มีมูลค่า 19,588 ล้านบาท และจำนวนห้องชุดทั้งหมด 3,526 หน่วย เรียกได้ว่าทั้งมูลค่าการถือครองเป็นเจ้าของและจำนวนห้องมากกว่าประเทศอื่นๆ หลายเท่าตัว เมื่อเทียบกับอันดับที่ 2 อย่าง ‘ประเทศวานูอาตู’ มีมูลค่า 1,111 ล้านบาท มีจำนวนห้องชุดทั้งหมด 58 หน่วย และอันดับที่ 3 คือ ‘ประเทศสิงคโปร์’ มีมูลค่า 786 ล้านบาท มีจำนวนห้องชุดทั้งหมด 117 หน่วย ยิ่งไปกว่านั้น ทิศทางตลาดอสังหาฯ ในไทยทุกวันนี้ยังเป็นที่ต้องการของชาวต่างชาติมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะชาติยุโรปมีสัดส่วนถึง […]

ผลสำรวจชี้คนญี่ปุ่นวัยทำงานเกือบ 30 เปอร์เซ็นต์ต้องอดข้าวกลางวัน เพื่อลดค่าใช้จ่าย

คงไม่ใช่แค่ในประเทศไทยที่สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ข้าวของเครื่องใช้ ราคาน้ำมัน และราคาอาหารต่างพุ่งสูงขึ้น แต่ผลกระทบนี้เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงประเทศเศรษฐกิจสำคัญในเอเชียอย่างญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน  ผลสำรวจจาก ‘Edenred’ บริษัทจัดเตรียมสวัสดิการอาหารให้หลายบริษัทในญี่ปุ่นได้สำรวจคนวัยทำงานญี่ปุ่นในช่วงอายุ 20 – 50 ปี จำนวน 600 คน ในเดือนธันวาคม 2564 พบว่า จำนวนกว่า 29.5 เปอร์เซ็นต์ของผู้ถูกสำรวจมักจะอดข้าวกลางวันในวันทำงานเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของตัวเอง  กว่า 56.5 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มดังกล่าวให้ข้อมูลว่า พวกเขามักจะอดมื้อกลางวันอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ และ 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์จำนวน 28.2 เปอร์เซ็นต์ และ 15.3 เปอร์เซ็นต์ที่เหลืออดข้าวกลางวันที่จำนวน 4 ครั้งหรือมากกว่าต่อสัปดาห์ และตัวเลขกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมดระบุว่าต้องการประหยัดเงินเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่พวกเขาข้ามมื้อกลางวัน  เมื่อผู้สำรวจถามว่าอาหารเที่ยงมื้อไหนที่เลวร้ายที่สุดที่ต้องกินเพื่ออิ่มท้อง ผู้ตอบแบบสำรวจบางคนระบุว่าบางครั้งเขารับประทานเพียงไข่ปลา (Cod roe) หรือแค่น้ำเปล่าและขนมขบเคี้ยวเท่านั้น ส่วนบางคนก็ห่อข้าวกล่องมาจากบ้านเพื่อลดค่าใช้จ่ายในมื้อเที่ยงของวัน  ผู้ให้ข้อมูลคนหนึ่งบอกว่า นอกจากเรื่องค่าครองชีพที่สูงขึ้นตอนนี้แล้ว เธอยังกังวลถึงอนาคตที่ไม่แน่นอนของตัวเองหลังเกษียณอายุงานอีกด้วยว่าจะมีเงินใช้เพียงพอหรือไม่ นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เธอต้องประหยัดเงินไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ  ในปี 2019 […]

FYI

เมื่อชีวิตเปราะบาง หากต้องเลือกระหว่างเงิน กับออกไปใช้ชีวิตคุ้มๆ คุณจะเลือกอะไร

เราอยู่ท่ามกลางวิกฤติโรคระบาดกันมามากกว่า 2 ปี เป็นเวลาที่นานพอให้ได้รู้ซึ้งถึงความจริงที่ว่า ชีวิตเรานั้นแสนเปราะบาง และไม่มั่นคงเอาเสียเลย โรคระบาดพรากอะไรหลายๆ อย่างไปจากเรา ไม่ว่าจะชีวิต ครอบครัว สังคม หรือแม้กระทั่งการเงิน ที่หามาได้ก็หมดไปกับค่ารักษาพยาบาล เศรษฐกิจก็ซบเซา หลายร้านปิดกิจการ หลายคนตกงาน หลายความฝันที่เคยวาดไว้สวยหรูก็ต้องพับเก็บไว้ก่อน ต้นปี 2564 นิตยสาร The Economist คำนวณออกมาว่าโลกสูญเงินจากโรคระบาดในปี 63 – 64 สูงถึง 10.3 ล้านล้านเหรียญฯ ก่อนจะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นมาในช่วงปลายปีจากอัตราการฉีดวัคซีนที่มากขึ้นของทั่วโลก ทั้งนี้ ไทยเราก็ยังจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ฟื้นตัวช้า เพราะหวังพึ่งรายได้จากการท่องเที่ยวไว้สูง ทำให้เศรษฐกิจเมื่อถึงช่วงสิ้นปี ขยายตัวเพียง 1.9% ส่วนสถิติที่ใกล้ตัวเรากว่าอย่างเรื่องอัตราการว่างงาน ก็พบว่าคนไทยตกงานเพิ่มขึ้นถึง 2.25% หรือ 8.7 แสนคน แถมหนี้ครัวเรือนก็เพิ่มเป็น 5% รวมถึงคดีอาญา ลักทรัพย์ และคดีที่เกี่ยวกับยาเสพติด ก็เพิ่มขึ้นถึง 10.3% ยังไม่นับข่าวการปิดตัวของร้านอาหาร ผับบาร์ โรงแรม โรงงาน ตลาด สถาบันกวดวิชา และอีกหลายๆ […]

The Drowned Dreams ไฟฝันของชาวลาวที่ดับหายด้วยสายน้ำเหนือเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยให้ไทยได้ไฟสว่าง

The Drowned Dreams ภาพถ่ายชุดนี้คือความพยายามในการบันทึกความฝันของผู้คนในประเทศที่ต้องแลกไปกับความฝันของรัฐบาล

FYI

ธุรกิจที่หายไปเพราะผลกระทบจาก COVID-19

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระเทือนรุนแรงมากไปกว่าสุขภาพของผู้คน แต่กระเทือนไปถึงภาคเศรษฐกิจที่รุนแรงเสียยิ่งกว่าวิกฤติต้มยำกุ้ง หรือวิกฤติการณ์ไหนๆ ในประเทศไทย สิ่งที่เราต้องรับรู้ทุกวันนอกจากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น คือจำนวนของเหล่าธุรกิจน้อยใหญ่ที่ ทยอยปิดตัวกันเป็นใบไม้ที่ร่วงโรยลงสู่พื้นดิน เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาให้มากขึ้น เราจึงอยากชวนทุกคนไปดูธุรกิจประเภทต่างๆ ที่ปิดกิจการอย่างถาวรเหลือไว้เพียงความทรงจำให้ผู้คนอย่างไม่ทันตั้งตัว และไม่เหลือแม้แต่โอกาสให้เราได้กลับไปเยี่ยมเยือนอีกครั้ง รถเมล์สาย 203 – แม้กระทั่งธุรกิจขนส่งมวลชนยังต้องบอกลาผู้โดยสาร ตำนานรถเมล์สาย 203 เส้นทางสายบุกเบิกที่ประชาชนที่ต้องการเดินทางในเส้นทาง ท่าอิฐ-สนามหลวงใช้บริการ ต้องปิดตัวลงเนื่องจากจำนวนผู้ใช้ที่ลดลงอย่างน่าตกใจ นโยบายการล็อกดาวน์ลดจำนวนการเคลื่อนย้ายนอกพื้นที่ กลายเป็นยาเร่งให้รถเมล์สายนี้ยื้อต่อไปไม่ไหว จนต้องจำใจปิดตำนานหลังจากทำหน้าที่รับส่งผู้คนมาเป็นระยะเวลากว่า 44 ปี เหลือไว้เพียงร่องรอยบนพื้นถนนและเส้นทาง ที่รถสายนี้เคยวิ่งผ่าน เซ็นทรัลหาดใหญ่ – ธุรกิจขนาดใหญ่ก็ต้องปรับตัว กับการปิดตัวถาวรของห้างสรรพสินค้าที่เก่าแก่ และนับเป็นห้างเซ็นทรัลสาขาแรกของภาคใต้อย่างเซ็นทรัลหาดใหญ่ ชวนให้ใจหายเพราะสถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เคยเป็นแหล่งนัดพบกันของคนหนุ่มสาว เคยเป็นพื้นที่แห่งความสุขสำหรับใครหลายๆ คน แต่ก็ต้องปิดตำนานลงเพราะผู้คนหวาดระแวงที่จะออกจากบ้าน ชาวต่างชาติไม่เข้ามาจับจ่ายใช้สอยเหมือนในอดีต ทำให้รายได้หลักสูญหาย นำมาสู่การปิดตัวของห้างสรรพสินค้านี้ไปด้วยระยะเวลา 26 ปี เหลือไว้เพียงชื่อให้คนรุ่นเก่าได้บอกเล่าให้คนรุ่นหลานจดจำ สวนเสือศรีราชา – พื้นที่แห่งความสุขที่เราเคยร่วมสนุกไปกับครอบครัวใน ‘สวนเสือศรีราชา’ ก็ต้องเลือนหายไป หลังจากประคับประคองธุรกิจด้วยวิธีต่างๆ ทั้งขายอาหารริมทาง เปิดให้เข้าชมฟรี จัดโปรโมชันต่างๆ แต่ก็ไม่อาจทนพิษของบาดแผลในครั้งนี้ไหวเพราะการล็อกดาวน์อย่างต่อเนื่องส่งผลให้นักท่องเที่ยวไทยไม่สามารถเดินทางมาใช้บริการได้ รวมถึงเป้าหมายหลักที่เป็นชาวต่างชาติก็กลายเป็นศูนย์และยังไม่มีทีท่าจะกลับมาได้ […]

Park-PFI โปรเจกต์ดิ้นรนหาสเปซสีเขียวของญี่ปุ่น เกาะพื้นที่ไม่มากแต่ประชากรหนาแน่นมาก

รู้จัก Park-PFI โครงการที่รัฐบาลญี่ปุ่นจับมือกับภาคเอกชนเสริมสวยสวนสาธารณะเพื่อสร้างที่สีเขียวให้กระตุ้นเศรษฐกิจในนัดเดียว

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.