‘No Farmer, No Us’ แคมเปญจาก KUBOTA ที่อยากขอบคุณเกษตรกรผู้ทุ่มเทเพื่อเราทุกคน
‘No Farmer, No Us’ แคมเปญจาก KUBOTA ที่อยากขอบคุณเกษตรกรผู้ทุ่มเทเพื่อเราทุกคน
‘No Farmer, No Us’ แคมเปญจาก KUBOTA ที่อยากขอบคุณเกษตรกรผู้ทุ่มเทเพื่อเราทุกคน
เมื่อพูดถึงชื่อ ‘สยามคูโบต้า’ คุณนึกถึงอะไร เครื่องจักรกลการเกษตรคุณภาพดีที่ตั้งอยู่กลางไร่นา ช่วยผ่อนแรงเกษตรกรไทยมาหลายสิบปี อาจเป็นภาพแรกที่หลายคนนึกถึง กับคนในแวดวงทำไร่ทำสวนคงรู้กันดีว่าสยามคูโบต้ามีเครื่องจักรกลการเกษตรแทบทุกรูปแบบ ใช้คำว่าครบวงจรก็ไม่ผิด นอกจากจะทำให้ชีวิตคนทำเกษตรง่ายขึ้นมาก สยามคูโบต้ายังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ และมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค เหมือนกับต้นไม้ต้นหนึ่ง หากจะเติบโตได้ดีต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สยามคูโบต้าเชื่อว่าการจะทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน แบรนด์ต้องก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับชุมชน นั่นคือเหตุผลที่นอกจากจะพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรแล้ว สยามคูโบต้ายังมีการทำกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายคือการสร้างชุมชนเกษตรต้นแบบที่เข้มแข็ง มากกว่านั้นคือการมอบความรู้และส่งเสริมเยาวชนให้กลายเป็นบุคลากรด้านการเกษตรที่ดีในอนาคต และสุดท้ายคือการตอบแทนสังคมอย่างยั่งยืน เพราะสยามคูโบต้ามีอายุครบ 45 ปี คอลัมน์ FYI ครั้งนี้ ขอชวนสำรวจโครงการต่างๆ ที่สยามคูโบต้าจัดขึ้นมาตลอด อ่านจบแล้วอาจทำให้คุณรู้จักคูโบต้าเพิ่มขึ้นอีกนิด และถ้าเป็นไปได้ อาจจะทำให้คุณรักคูโบต้าเพิ่มขึ้นอีกหน่อย โครงการแรกเกิดขึ้นที่สุดเขตแดนสยาม ไกลออกไปในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มีโรงเรียนเล็กๆ ตั้งอยู่ โรงเรียนนี้ชื่อว่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตะโกปิดทอง เป็นโรงเรียนที่หากเดินเท้าไปอีกนิดจะเข้าเขตประเทศพม่า บริเวณรอบๆ จึงมีเด็กๆ ชาติพันธุ์อาศัยอยู่ และต่างเดินทางมาเรียนในรั้วเดียวกัน เมื่อมีเด็กๆ ชาติพันธุ์มาเรียนมากมาย หนึ่งในปัญหาของที่นี่คือทรัพยากรอาหารไม่เพียงพอ โดยเฉพาะผักสวนครัวที่หาเก็บไม่ได้เพราะไร้แหล่งปลูก สยามคูโบต้ามองเห็นความขาดแคลนนี้ จึงจัดตั้ง ‘ค่ายอาสาโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โดยพนักงานสยามคูโบต้า’ ขึ้นมา เพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ปลูกผักในโรงเรียนจนเพียงพอต่ออาหารกลางวัน เพิ่มความสะดวกให้นักเรียนบ้านไกล และช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับพวกเขา มากกว่านั้น […]
เมื่อพูดถึง ‘ตลาดสด’ ภาพในหัวของใครหลายคนคงจะเป็นสถานที่ร้อนๆ อากาศอบอ้าว บรรยากาศมืดครึ้ม มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ แต่ต่อจากนี้ เราขอให้คุณลบภาพเหล่านั้นทิ้งไปให้หมด เพราะวันนี้เราจะพาไปดูตลาดสดในประเทศโปแลนด์ที่จะเปลี่ยนความคิดของคุณไปอย่างสิ้นเชิง ‘Targ Blonie Market’ เป็นตลาดสดที่ตั้งอยู่ในชุมชน Blonie เมืองเล็กๆ ใกล้เมือง Warsaw ประเทศโปแลนด์ ที่เกิดขึ้นจากการพยายามปรับปรุงตลาดสดดั้งเดิมให้มีความน่าสนใจและเข้าถึงผู้คนในชุมชนได้ง่ายขึ้น ผ่านการออกแบบภาพลักษณ์ใหม่ให้มีความปลอดโล่งโปร่งสบายและสนับสนุนวัตถุดิบในท้องถิ่น Targ Blonie Market ถูกพัฒนาขึ้นโดย ‘Aleksandra Wasilkowska Architectural Studio’ สตูดิโอออกแบบที่รับผิดชอบ ภายใต้แนวคิด ‘Shadow Architecture’ ซึ่งเป็นวิธีการจัดวางตำแหน่งโครงสร้างและหลังคาที่เหมาะสมเพื่อให้ได้แสงที่ช่วยส่งเสริมบริเวณโดยรอบ และจัดการกับมาตรฐานด้านสุขอนามัยและโครงสร้างพื้นฐานของตลาด จนเกิดเป็น ‘ตลาดลูกผสม’ ระหว่าง ‘สวนสาธารณะ’ และ ‘ตลาดสด’ ด้วยภาพลักษณ์สะอาดตาจากหลังคาสีขาวที่สร้างขึ้นเพื่อบังแสงแดดและฝน รวมไปถึงแผงขายของแบบขั้นบันได ทำให้การวางสินค้าเป็นไปอย่างสวยงามมากยิ่งขึ้น แนวคิดนี้มีจุดมุ่งหมายหลักคือ การทำให้ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพในราคาไม่แพงได้ โดยเน้นไปที่การจำหน่ายวัตถุดิบจากเกษตรกรในท้องถิ่น เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการรายเล็กมีอำนาจในการต่อรอง และสร้างสายใยความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนให้แน่นแฟ้นมากขึ้น อีกหนึ่งความพิเศษของ Targ Blonie Market ที่ทำให้ตลาดสดแห่งนี้เป็นมากกว่าตลาดทั่วๆ ไปคือ เมื่อตลาดปิดให้บริการ […]
เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด ทำให้เกษตรกรในประเทศไทยมีเครื่องทุ่นแรงที่ช่วยส่งเสริมให้กรรมวิธีต่างๆ ตั้งแต่การไถนา หว่านเมล็ด ลงปุ๋ย เก็บเกี่ยว ฯลฯ กลายเป็นเรื่องที่ง่ายดายขึ้น ทั้งยังช่วยลดการใช้แรงงานคน ประหยัดต้นทุน และควบคุมจัดการพลังงานที่ต้องใช้ในการเพาะปลูกแต่ละครั้งให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมพอดีได้ ถือเป็นการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ที่อยากลงมือทำการเกษตรสามารถเข้าถึงอุตสาหกรรมเหล่านี้ได้ไม่ยากลำบากเหมือนเมื่อก่อน แต่ขณะเดียวกัน ต่อให้เทคโนโลยีจะพัฒนาไปไกลแค่ไหน การทำเกษตรก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องลงมือทดลองทำด้วยตัวเอง และหลายครั้งก็ต้องใช้วิชาความรู้จากทั้งการศึกษาจากแหล่งต่างๆ และได้รับจากการบอกเล่าส่งต่อกันมารุ่นสู่รุ่น ‘SiamKubota’ (สยามคูโบต้า) ที่มองเห็นความสำคัญเช่นนี้ จึงตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อความรู้และเทคโนโลยีร่วมสมัยที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรให้แก่คนรุ่นใหม่ เพื่อหวังสร้างมาตรฐานการทำเกษตรที่มีประสิทธิภาพ หวังผลได้ คอลัมน์ FYI ขออาสาพาชาวเกษตรกรรุ่นใหม่ เกษตรกรหน้าใหม่ หรือแม้แต่ผู้ที่สนใจเริ่มต้นทำการเกษตร ไปดูความก้าวหน้าของการเกษตรในยุคสมัยใหม่ ผ่านการทำความรู้จักกับช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ จากทางสยามคูโบต้าที่คอยส่งมอบเรื่องราวดีๆ เพื่อชาวเกษตรกรเสมอมา นวัตกรรมการเกษตรเพื่ออนาคต ในเว็บไซต์ของสยามคูโบต้า www.siamkubota.co.th มีหลากหลายองค์ความรู้ให้เราเลือกดูได้แบบที่เรียกว่า ครบจบในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็นทุกเรื่องรายละเอียดของสินค้านวัตกรรมการเกษตรเพื่ออนาคตจากทางแบรนด์ ออนไลน์โชว์รูมให้เราเลือกชมสินค้าได้รอบทิศทางแบบ 360 องศา รวมถึงข้อมูลข่าวสารน่ารู้ งานประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมเพื่อสังคม ที่สำคัญ ภายในเว็บไซต์ยังมีวารสารออนไลน์ ‘เพื่อนเกษตร’ ให้ได้อ่านเป็นประจำ และองค์ความรู้อย่าง KUBOTA (Agri) Solutions ที่เป็นตัวช่วยให้เกษตรกรทำการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านการเรียนรู้วิธีการเพาะปลูกพืชผลตามแบบฉบับของสยามคูโบต้า นอกจากนี้ยังมี […]
เมื่อพูดถึง ‘ภาคใต้’ หลายคนคงนึกถึงดินแดนที่อุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ ภูมิประเทศที่ขนาบสองฝั่งด้วยทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ภาคการเกษตรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างยางพาราและปาล์มมากที่สุดในไทย รวมไปถึงบรรดาอาหารปักษ์ใต้ที่ใครได้ลิ้มลองก็ต้องติดใจ เพราะรสชาติทั้งเผ็ด กลมกล่อม และจัดจ้านเป็นเอกลักษณ์แบบสุดๆ แต่รู้หรือไม่ว่า เบื้องหลังความอุดมสมบูรณ์ที่ทุกคนเห็น ภาคใต้เองก็มีปัญหาใต้พรมอย่าง ‘วิกฤตขาดแคลนอาหาร’ และ ‘อาหารไม่ปลอดภัย’ ซ่อนอยู่มานานหลายปี ซึ่งทำให้ชาวใต้จำนวนมากประสบปัญหาสุขภาพระยะยาว ส่วนเด็กๆ ในพื้นที่ก็ยังเผชิญภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันที่กระทบต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายและการพัฒนาสมองของพวกเขาด้วย เพราะอยากให้ชาวใต้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ภาคีเครือข่ายหลักของภาคใต้ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม หน่วยงานท้องถิ่น นักวิชาการ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านทางสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้ทำงานเพื่อพัฒนาและผลักดันประเด็นเรื่อง ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการขับเคลื่อน 14 จังหวัดแห่งแดนใต้สู่ ‘ภาคใต้แห่งความสุข’ และยังได้นวัตกรรมจาก Thailand Policy Lab และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เข้ามาช่วยแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และกำหนดนโยบายที่ตอบโจทย์ประชาชน Urban Creature ขอพาไปหาคำตอบว่า ภาคใต้มีแนวคิดและแนวทางขับเคลื่อนเรื่องระบบอาหารอย่างไร เพื่อให้ประชาชนอยู่ดี กินดี มีความสุข และเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพได้อย่างยั่งยืน […]
ภาคการเกษตรทั่วโลกกำลังเร่งพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อก้าวเข้าสู่ความยั่งยืนอย่างเต็มตัว ล่าสุดได้มีการเปิดตัว ‘รถแทรกเตอร์ไฟฟ้าอัตโนมัติ’ คันแรกของอุตสาหกรรมเกษตรโลก หวังเป็นต้นแบบของการทำเกษตรสีเขียวออกมาแล้ว ‘New Holland T4 Electric Power’ คือรถแทรกเตอร์ไฟฟ้าที่พัฒนาโดยบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์และบริการด้านการเกษตรระดับโลกอย่าง CNH Industrial ซึ่งทาง CNH มีเป้าหมายที่จะทำให้รถแทรกเตอร์รุ่นนี้ช่วยให้เกษตรกรทำงานได้อย่างสะดวกสบายและมีอิสระมากขึ้น ทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเจ้ารถไถคันนี้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ สำหรับการใช้งาน รถแทรกเตอร์ T4 มีขนาดกำลังและแรงในการขับเคลื่อนอยู่ที่ 120 แรงม้า ด้วยความเร็วสูงสุด 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าใช้งานปกติ แบตเตอรี่ของ T4 จะอยู่ได้ตลอดทั้งวัน แต่ถ้าวันไหนใช้งานเยอะเป็นพิเศษ ก็อาจต้องเติมแบตฯ ระหว่างวันบ้าง แต่ไม่ต้องกลัวเป็นปัญหาต่อการทำงาน เพราะใช้เวลาชาร์จเพียงหนึ่งชั่วโมงก็เต็มแล้ว แถมตัวรถยังมีแหล่งพลังงานสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉินด้วย เทคโนโลยีที่น่าสนใจของ T4 คือกล้องและเซนเซอร์ที่ติดตั้งไว้ทั่วคัน ทำให้ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องใช้คนขับ มากไปกว่านั้น เกษตรกรยังควบคุมรถแทรกเตอร์ได้จากสมาร์ตโฟน ทำให้พวกเขามอนิเตอร์รถรุ่นนี้ระหว่างทำงานอื่นๆ จากระยะไกลได้ ที่สำคัญ T4 ยังมีเสียงรบกวนลดลงถึง 90 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับรถแทรกเตอร์ทั่วไป เปิดโอกาสให้เกษตรกรทำงานในช่วงกลางคืนได้โดยไม่รบกวนสัตว์เลี้ยงหรือผู้คนในพื้นที่ใกล้เคียง รถแทรกเตอร์โมเดลใหม่จาก CNH […]
ความสุขของคุณคืออะไร? บางคนอาจบอกว่าความสุขคือการออกไปพบเจอผู้คน ได้อยู่กับคนที่รัก หรือประสบความสำเร็จในชีวิต แต่ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่หรือเล็กน้อยแค่ไหน ทุกความสุขล้วนมีคุณค่าเช่นเดียวกัน ไม่ต่างอะไรกับเหล่าเกษตรกรทั่วประเทศที่มองหาความสุขที่อยู่รอบๆ ตัว ผ่านผลผลิตจากน้ำพักน้ำแรงของตน ไปจนถึงตัวช่วยสำคัญของเหล่าเกษตรกรอย่างเครื่องมือทางการเกษตร ยิ่งสำหรับเกษตรกรมือใหม่ ผู้ตัดสินใจละทิ้งความรีบเร่งในเมืองกรุง หวนคืนสู่ธรรมชาติ การมีอุปกรณ์ดีๆ ที่เป็นเหมือนเพื่อนคู่ใจคงช่วยทุ่นแรงไม่น้อย ‘แทรกเตอร์คูโบต้า’ คือตัวช่วยสำคัญของเหล่าเกษตรกรมือใหม่ ที่ต้องการผลลัพธ์ที่ดีควบคู่ไปกับการมีความสุข ด้วยการสร้างแรงบันดาลใจ ปลูกความรู้เป็นต้นแบบเกษตรกรรม สู่ทางเลือกให้คนที่อยากเป็นเกษตรกร โดยสื่อสารผ่าน 3 ความสุข 3 ต้นแบบเกษตรกร 3 จุดเปลี่ยน เพื่อผลลัพธ์ความต้องการที่แตกต่างกันออกไป ในแคมเปญ ‘แทรกเตอร์คูโบต้า ต้นแบบความสุขที่ปลูกเองได้’ ที่ชวนเกษตรกรรุ่นใหม่มาแบ่งปันเรื่องราวความสุข องค์ความรู้ และประสบการณ์การใช้งานแทรกเตอร์คูโบต้า เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ปลูกความรู้ และเป็นต้นแบบแห่งความสุขให้คนที่เพิ่งเริ่มต้นบนเส้นทางอาชีพนี้ ยา-กัลยา พงสะพัง | ปลูกความสุข เพื่อ ‘สิ่ง’ ที่เรารัก “แต่ก่อนเรามองว่าความสุขคืออะไรก็ได้ที่ไม่ใช่เรื่องเกษตร” ‘ยา-กัลยา พงสะพัง’ อดีตพนักงานบริษัทยางรถยนต์และเจ้าของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ผู้ผันตัวมาเป็นเกษตรกรเจ้าของ ‘ไร่ปรียา’ ที่เต็มไปด้วยความสุขที่ปลูกเองได้ และพร้อมส่งต่อแรงบันดาลใจให้นักสู้ทุกคน ชีวิตของยาเริ่มต้นและเติบโตในจังหวัดขอนแก่น ก่อนที่จังหวะกับโอกาสจะพาเธอเดินทางเข้าสู่เมืองกรุง […]
ปัจจุบันผู้คนเริ่มหันมาสนใจและให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ สุขภาพ อาหารการกิน และความยั่งยืนมากขึ้น โดยหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยให้เราก้าวไปถึงเป้าหมายนั้นได้คือนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ ที่เอื้อให้การเพาะปลูกผัก-ผลไม้เป็นเรื่องง่าย ใครๆ ก็สามารถทำได้ และสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ก็สามารถทำให้เป็นจริง เพื่อให้เห็นตัวอย่างของความเป็นไปได้ เราขอพามาดูการทำเกษตรจากผู้นำด้านนวัตกรรมเกษตร ที่มักคิดค้นสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมออย่าง KUBOTA กับกิจกรรม ‘Every Land Can Be Grown’ ด้วยการนำ ‘Smart Greenhouse’ มาปรับใช้กับการเกษตรแนวใหม่ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าอะไรที่เคยเป็นไปไม่ได้ก็สามารถเป็นไปได้ ด้วยการนำผลไม้โปรดของใครหลายๆ คนอย่างเมล่อนซึ่งเป็นผลไม้ที่ไม่ชอบอากาศที่เย็นจัด หรือร้อนจัด แต่จะชอบอากาศที่มีความอบอุ่นอยู่ที่ประมาณ 27-35 องศา มากไปกว่านั้น เมล่อนยังเป็นพืชที่ค่อนข้างอ่อนไหวต่อเชื้อราโรคพืชและแมลงศัตรูพืชไปปลูกบนพื้นที่สุดท้าทายช่วงฤดูฝนที่มีอากาศค่อนข้างชื้นในจังหวัดนครราชสีมา นอกจากนี้ ในระหว่างเส้นทางการปลูกเมล่อน KUBOTA ยังได้ชวนคุณ ‘YINDEE’ นักวาดลายเส้น illustrate มาวาดภาพใบหน้าของผู้โชคดีที่ได้รับเลือกจากกิจกรรม เพื่อรับผลเมล่อนสุด Exclusive จัดส่งให้ถึงหน้าบ้าน กิจกรรมสนุกๆ นี้ทำให้เห็นว่าชีวิตเกษตรใหม่ที่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาร่วมด้วยช่วยในการเพาะปลูกนั้น ทำให้ความเป็นไปไม่ได้สามารถเกิดขึ้นได้จริง เรียกว่านอกจากจะทำให้สะดวกสบายมากขึ้นแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเพาะปลูกจากปัจจัยต่างๆ สร้างผลผลิตที่มีคุณภาพและรายได้ให้ผู้เพาะปลูกมากกว่าเดิม
หากพูดถึงการนำข้าวไปหมักทำเป็นเครื่องดื่ม คนไทยอย่างเราคงคุ้นเคยกับสาโทหรือสุราชาวบ้าน คงไม่ได้นึกถึง ‘อามาซาเกะ’ หรือสาเกหวาน ไร้แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มภูมิปัญญาจากญี่ปุ่น ที่ทำขึ้นเพื่อเป็นทั้งอาหารสุขภาพ และให้เด็กๆ ได้ลิ้มลองรสความเป็นสาเกก่อนถึงวัย การเกิดขึ้นของอามาซาเกะข้าวไทยอย่าง YoRice จึงดึงดูดใจใครหลายคน เพราะนอกจากจะเป็นของแปลกใหม่ในไทย สรรพคุณของเครื่องดื่มชนิดนี้ก็ให้ทั้งประโยชน์ด้านสุขภาพตอบเทรนด์ที่คนกำลังสนใจ ที่สำคัญคือยังสะท้อนให้เห็นปัญหาในจังหวัดเชียงใหม่ (ซึ่งในขณะเดียวกันก็เป็นปัญหาที่ลามไปไกลถึงระดับประเทศ) ถึง 3 ประเด็น หนึ่ง คือ ปัญหาราคาข้าวที่ตกต่ำ สอง คือ ปัญหาความหลากหลายของพันธุ์ข้าวที่นับวันยิ่งหลากหลายน้อยลงไปทุกวัน สาม คือ ปัญหาความหิวโหยของคนในสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนสิ่งแวดล้อม ถูกจัดการผ่านเครื่องดื่มหนึ่งขวดได้อย่างไร ปอ-ภราดล พรอำนวย ผู้อยู่กับ YoRice มาตั้งแต่วันแรก เต็มใจถ่ายทอดเรื่องราวให้ฟังผ่านบทสนทนานี้ เมื่อเห็นปัญหาจึงเกิดคำถาม ใครหลายคนคงเหมือนเราที่คุ้นเคยกับปอในบทบาทนักดนตรี เจ้าของร้าน North Gate แจ๊สบาร์คู่เชียงใหม่ มากกว่าการรู้จักเขาในบทบาทของหนุ่มนักธุรกิจเพื่อสังคม ที่แม้จะไม่ใช่ภาพที่คุ้นชินของใคร แต่เขาก็ยืนยันว่าจริงๆ ความคิดเรื่องนี้วนเวียนอยู่ในตัวเขามานานตั้งแต่สมัยยังหนุ่ม ปอย้อนความว่าเหตุการณ์ที่มาจุดประเด็นให้เขาเริ่มสนใจปัญหาปากท้องของคนอื่น มาจากประสบการณ์ครั้งที่เขาโบกรถจากเชียงใหม่ไปฝรั่งเศส การเดินทางครั้งนั้นจะเรียกว่าเป็นการเดินทางเปลี่ยนชีวิตเลยก็ได้ เพราะมันทำให้เขาได้เห็นน้ำใจจากคนครึ่งค่อนโลกที่พร้อมจะหยิบยื่นความช่วยเหลือมาให้นักดนตรีแปลกหน้าอย่างตน “เราไม่ได้มีต้นทุนในชีวิตเยอะ การต้องแบกเครื่องดนตรีโบกรถไปหลายหมื่นกิโล […]
แฟชั่นหมุนมาแล้วผ่านไป แนวเพลงสับเปลี่ยนหมุนเวียน แต่เรื่องโลกร้อนอย่างไรก็คงอยู่กับเราไปอีกนาน และเป็นเทรนด์ที่ไม่น่าจะเชยในเร็ววันนี้แน่ๆ (ถึงจะอยากให้กระแสนี้ผ่านไปเต็มที) และเมื่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้นเราก็คุยกันเรื่องโลกร้อนบ่อยขึ้นตามไปด้วย นอกจากภาครัฐที่เดินหน้าเรื่องนโยบาย ภาคธุรกิจเองก็ไม่น้อยหน้าเช่นกันเห็นได้จากหลายแบรนด์ที่พยายามปรับตัวมาสู้กับโลกร้อนมากขึ้นในหลายปีมานี้ และเชื่อไหมว่าทุกแบรนด์ ทุกผลิตภัณฑ์สามารถปรับตัวมาสู้โลกร้อนได้ คอลัมน์ Sgreen วันนี้อยากขอชวนไปดูเบื้องหลังทุกหยดของ L’ORÉAL (ลอรีอัล) บริษัทความงามจากฝรั่งเศสผู้อยู่เบื้องหลังแบรนด์อย่าง L’ORÉAL PARIS, Garnier หรือ Yves Saint Laurent และอีกมากมาย กับบทบาทที่พวกเขาเดินหน้าต่อสู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศมาเป็นเวลานานเกือบสิบปีแล้ว ถามว่าแบรนด์เครื่องสำอางจะมีส่วนช่วยเรื่องโลกร้อนได้ยังไง ก็ขอเกริ่นให้ฟังก่อนแล้วกันว่า ก็เป็นเพราะแบรนด์ในเครือลอรีอัล กรุ๊ปเลือกใช้วัตถุดิบที่มาจากกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนเกษตรกรรายเล็ก ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ประหยัดทรัพยากรผ่านการรีไซเคิล หรือการเดินหน้าใช้พลังงานทดแทน แต่ที่เราคิดว่าสำคัญและมีผลกระทบต่อโลกมากที่สุดคือ L’ORÉAL FOR THE FUTURE หรือวิสัยทัศน์ความยั่งยืนปี 2030 ของลอรีอัล เพราะพวกเขาไม่ได้ตั้งแค่เป้าหมายส่วนตัวอย่างการก้าวเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือลดการใช้งานพลาสติกเท่านั้น แต่เดินหน้าสื่อสารไปยังผู้บริโภคว่าการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนจะช่วยโลกได้มากแค่ไหน และมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงทั้งระบบนิเวศให้ธุรกิจเจ้าอื่นเดินหน้าสู่ความยั่งยืนด้วยเหมือนกัน ว่าแต่บริษัทเครื่องสำอางจากฝรั่งเศสทำอะไรไปแล้วบ้างที่เรายังไม่เคยรู้ วิธีการน่าสนใจขนาดไหน จะโน้มน้าวให้ธุรกิจอื่นร่วมภารกิจกู้โลกนี้ได้ยังไง เป้าหมายของบริษัทที่บอกว่าต้องการ “Create The Beauty That Moves The World” […]
โครงการไทยเด็ด ของ พีทีที สเตชั่น เป็นอีกหนึ่งโครงการที่มุ่งสร้างคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจที่ดีแก่ชุมชน เติมเต็มความสุขให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชนภายใต้แนวความคิด “การเป็นศูนย์กลางที่จะร่วมเติมเต็มความสุขและเติบโตไปพร้อมกับชุมชน (Living Community)” จากความเชื่อในพลังของธุรกิจท้องถิ่น ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งไม่มีใครลอกเลียนแบบได้ โครงการไทยเด็ดจึงอยากเป็นอีกหนึ่งแรงสนับสนุนที่ช่วยให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นฝ่ามรสุมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมาด้วยการเชิญชวนธุรกิจท้องถิ่นทั่วประเทศไทยร่วมส่งเรื่องราวเกี่ยวกับแบรนด์ โดยทำการคัดเลือกแบรนด์ที่มีทั้งวิธีคิดที่น่าสนใจ และมีปณิธานในการทำงานกับชุมชน มาเปิดห้องเรียนไทยเด็ด Mentor เพื่อช่วยพัฒนาแบรนด์ให้ดียิ่งขึ้น โดยยังคงเอกลักษณ์ของแบรนด์ไว้ดั้งเดิมและสามารถต่อยอดแบรนด์ให้ไปได้ไกลขึ้น เราตื่นขึ้นมาตั้งแต่ตะวันยังไม่ออกมาทักทาย และเดินทางจากกรุงเทพมหานครตั้งแต่เช้าตรู่เพื่อตรงดิ่งไปยังใจกลางของภาคอีสาน พอถึงช่วงบ่ายแก่ คณะของเราก็เดินทางมาถึงอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม พื้นที่ที่ได้รับการระบุว่าเป็นทุ่งกุลาร้องไห้ ที่อดีตเคยแห้งแล้ง แต่ปัจจุบันกลับมีท้องนาที่รวงข้าวเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทองคอยต้อนรับฤดูกาลเก็บเกี่ยวที่กำลังจะมาถึง เราเดินทางมาที่นี่เพราะมีนัดหมายกับข้าวบุญบันดาล ข้าวสารจากเกษตรกรสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเก่าน้อย ในเขต GI (Geographical Indications) แหล่งภูมิศาสตร์ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ต้องการจะรักษาระบบนิเวศของที่ดิน เป็นผลิตภัณฑ์ที่คนปลูกข้าวตั้งใจจะรักษาสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมกับชุมชน ที่มีความตั้งใจอยากชวนคนรุ่นใหม่กลับไปพัฒนาบ้านเกิด และยกระดับข้าวอินทรีย์ให้ไปสู่สากล ความมุ่งมั่นและเรื่องราวของข้าวบุญบันดาล ได้เอาชนะใจคณะกรรมการจากโครงการไทยเด็ด พีทีที สเตชั่น จนได้รับเลือกไปเข้าห้องเรียน ไทยเด็ด Mentor เพื่อพัฒนาแบรนด์ โดยรักษาจิตวิญญาณดั้งเดิมไว้ หลังผ่านการโค้ชทั้งในเรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ แพ็กเกจจิ้ง รวมทั้งต่อยอดในเรื่องของมาร์เก็ตติ้ง ทีม Urban Creature […]
สินค้าดีๆ ในแต่ละท้องถิ่นไทยนั้นมีอยู่มากมาย “พีทีที สเตชั่น” จึงขอสนับสนุนพื้นที่ส่วนหนึ่งภายในสถานีเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการหยิบยกสินค้าจากท้องถิ่นขึ้นสู่ระดับประเทศผ่าน “โครงการไทยเด็ด” อีกหนึ่งโครงการที่มุ่งสร้างคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจที่ดีแก่ชุมชน เติมเต็มความสุขให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชนภายใต้แนวความคิด “การเป็นศูนย์กลางที่จะร่วมเติมเต็มความสุขและเติบโตไปพร้อมกับชุมชน (Living Community)” ของพีทีที สเตชั่น ด้วยการสนับสนุน แบ่งปันพื้นที่โอกาส และสร้างรายได้ให้แบรนด์เด็ดของแต่ละจังหวัดได้นำเสนออัตลักษณ์ วัฒนธรรม และของดีประจำถิ่น ณ ทุก พีทีที สเตชั่น ทั่วไทย ใครที่เคยเดินห้างฯ แถวบ้าน น่าจะคุ้นกับตู้ปั่นน้ำอ้อยเกล็ดหิมะหรือน้ำอ้อยวุ้นที่มีขายอยู่แทบทุกบิ๊กซี โลตัส เห็นความสำเร็จแบบนี้ ใครจะรู้ว่าตู้ปั่นๆ นี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความสำเร็จอีกขั้นที่น่าจะสร้างเป็นหนังได้อีกเรื่อง เพราะมันซ่อนการลุกขึ้นมาแก้ปัญหาเพื่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกร การตีโจทย์ธุรกิจไร่อ้อย หรือการเรียนรู้เทคโนโลยีพาสเจอร์ไรซ์ซึ่งเป็นเรื่องใหม่เมื่อสิบกว่าปีก่อนของชายวัยใกล้เกษียณ หรือใครที่เคยเข้าพีทีที สเตชั่น และเห็นสินค้าของชุมชนบนชั้นวางสินค้าโครงการไทยเด็ดหรือร้านสะดวกซื้อทั่วไป น่าจะพอสะดุดตากับเจ้ากระป๋องสีเหลืองอมเขียวรูปทรงคล้ายกับปล้องอ้อยอยู่บ้าง รู้ไหมว่าเบื้องหลังของขวดนี้คือการพลิกชีวิตน้ำอ้อยเกล็ดหิมะที่กำลังจะถึงทางตัน ให้กลับมามีอนาคตที่สดใสอีกครั้ง สองความคุ้นนี้คือผลผลิตของ ‘ไร่ไม่จน’ ที่เริ่มต้นจากความพยายามของ คุณประกอบ เหรียญทอง ซึ่งส่งต่อมาให้ คุณปุ๋ม-ปภัสราภรณ์ เหรียญทอง ทายาทที่ตั้งใจจะพาไร่ไม่จนไปเป็นแบรนด์ระดับโลก ถ้าใครจะดูเบาว่าจะไหวเร้อ เราขอการันตีด้วยฉายาแบรนด์น้ำอ้อยพาสเจอร์ไรซ์เจ้าแรกของไทยพ่วงเจ้าของรางวัลดีไซน์แพ็กเกจจิ้งระดับโลกเลยเอ้า ยืดอายุน้ำอ้อย ยืดอายุธุรกิจ ชาวไร่อ้อยไม่ได้มีเงินรายเดือนเหมือนอาชีพอื่น จะมีก็แต่ […]