พัฒนาชุมชนด้วยการเชื่อมคนนอกกับคนในย่านหัวลำโพง | ริทัศน์บางกอก

“ภาพจำของย่านหัวลำโพงสมัยก่อน คนอาจนึกถึงแค่ตัวสถานีรถไฟ จนไม่ค่อยเล็งเห็นถึงวิถีชีวิตของคนที่อยู่บริเวณรอบข้าง ทั้งที่เรามองว่าสิ่งนี้ก็เป็นเสน่ห์หนึ่งของย่านหัวลำโพงที่ยังไม่เคยมีใครพูดถึงมาก่อนเหมือนกัน” ‘ริทัศน์บางกอก’ เกิดขึ้นจากการรวมตัวของแก๊งเพื่อน ‘มิว-ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ’, ‘จับอิก-ปกรณ์วิศว์ เวียงศรีพนาวัลย์’ และ ‘รวงข้าว-อภิสรา เฮียงสา’ ที่ร่วมกันทำกิจกรรมจนทำให้ชุมชนย่านหัวลำโพงกลับมามีชีวิตอีกครั้งโดยไม่ต้องพึ่งพิงเพียงสถานีรถไฟ เพราะพวกเขาเชื่อว่า การจะพัฒนาเมืองได้ต้องเริ่มจากการสร้าง Sense of Belonging และเชื่อมคนนอกและคนในเข้าด้วยกันก่อน แล้วการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพจะตามมาเอง Urban Creature ชวนคุยกับ ‘ริทัศน์บางกอก’ กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองที่เข้ามาพัฒนาและรื้อฟื้นวิถีชีวิตชุมชนย่านหัวลำโพงให้เป็นมากกว่าสถานีรถไฟ พร้อมทำให้เห็นถึงศักยภาพของพื้นที่ที่ไปได้ไกลมากกว่าเดิม สามารถติดตามกลุ่มริทัศน์บางกอกได้ที่ : www.facebook.com/rtusbangkok/?locale=th_TH

คุยกับผู้อยู่เบื้องหลัง STEP INTO SWING เมื่อเสียงเพลงและสเต็ปเท้าอาจพาเราไปสู่กรุงเทพฯ ที่ดีขึ้น

เย็นวันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567 สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) คลาคล่ำไปด้วยผู้คนในชุดวินเทจ เสียงเพลงสวิงดังกึกก้อง ฟลอร์เต้นรำเริ่มขยายพื้นที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนเต็มไปทั่วทั้งบริเวณ อาจกล่าวได้ว่า สิ่งเหล่านี้คือตัวชี้วัดความสำเร็จของ STEP INTO SWING : Take the A Train at Hua Lamphong อีเวนต์สวิงโดย 2 ทีมงานเบื้องหลังอย่าง The Stumbling Swingout วงดนตรีสวิงแจ๊สที่ก่อตัวขึ้นจากกลุ่มนักเต้นสวิง และ Jelly Roll Jazz Club โรงเรียนสอนเต้นสวิงที่ตั้งใจสร้างนักเต้นใหม่ๆ เพื่อให้สวิงกลายเป็นคัลเจอร์ที่แข็งแรงในอนาคต หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เฝ้ามองแวดวงการเต้นสวิงในไทยมาตั้งแต่ยุคก่อนโควิด-19 ในเวลานั้นหลายคนอาจจินตนาการไม่ออกว่า วันหนึ่งกรุงเทพฯ จะมีอีเวนต์ SWING IN THE PARK เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง ก่อนจะขยายตัวลามเลยออกไปสู่สถานที่ที่น่าสนใจอีกมากมาย ทั้งอาคารลุมพินีสถาน ไปรษณียาคาร ลานชุมชนต่างๆ รวมถึงสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ที่ได้โคจรกลับมาจัดเป็นครั้งที่สองแล้ว การขยับขยายของฟลอร์สวิงแดนซ์จากในสตูดิโอสู่พื้นที่สาธารณะต่างๆ […]

‘ริทัศน์บางกอก’ กลุ่มคนที่อยากให้คนเห็นย่านหัวลำโพงในมุมใหม่ๆ ด้วยการ Reconnect คนในและคนนอกเข้าด้วยกัน

ภาพของย่าน ‘หัวลำโพง’ ในความทรงจำของหลายๆ คนอาจหยุดอยู่แค่ที่ ‘สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)’ ยิ่งเมื่อมีการย้ายเส้นทาง​​การเดินรถไฟบางส่วนไปที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (บางซื่อ) ภาพจำเกี่ยวกับย่านหัวลำโพงจึงเลือนรางตามไปด้วย แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา การเข้ามาของกลุ่ม ‘RTUS-Bangkok ริทัศน์บางกอก’ ทำให้เราเห็นย่านหัวลำโพงในมุมมอง มิติ รวมถึงสถานที่ใหม่ๆ มากขึ้น ผ่านการบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของคนในชุมชน พร้อมกับกิจกรรมต่างๆ ที่ร่วมมือกันระหว่างเครือข่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และชาวบ้านในชุมชนเอง ตามคอลัมน์คนขับเคลื่อนเมืองไปพูดคุยกับ ‘มิว-ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ’, ‘จับอิก-ปกรณ์วิศว์ เวียงศรีพนาวัลย์’ และ ‘รวงข้าว-อภิสรา เฮียงสา’ แก๊งเพื่อนที่ร่วมกันทำกิจกรรมในย่านหัวลำโพงในนามของริทัศน์บางกอกกันว่า หัวลำโพงในมุมมองของพวกเขาและคนในย่านเป็นอย่างไร และในฐานะคนรุ่นใหม่ต่างถิ่นที่เข้ามาทำกิจกรรมในพื้นที่ พวกเขาทำอย่างไรถึงเชื่อมคนในและคนนอกย่านเข้าไว้ด้วยกันได้อย่างลงตัว รวมตัวคนรุ่นใหม่ที่อยากลบภาพจำหัวลำโพงแบบเดิมๆ “ตอนแรกชาวบ้านเขาไม่เข้าใจว่าเรามาทำอะไร ทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับพื้นที่ แล้วเขาได้อะไร ทำให้มีการปิดกั้นเล็กน้อย แต่ตอนนี้เวลาเราไปลงพื้นที่ เขาจะต้อนรับแบบเอาน้ำไหม จะจัดกิจกรรมอะไรอีกไหม” คำบอกเล่าจากปกรณ์วิศว์ในวันที่ริทัศน์บางกอกทำงานในพื้นที่ชุมชนย่านหัวลำโพงมาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ทำให้เราเห็นภาพความเปลี่ยนแปลงและการโอบรับของผู้คนในชุมชนได้เป็นอย่างดี แม้ว่าทั้ง 3 คนจะไม่มีใครเกิดและเติบโตในย่านหัวลำโพงมาก่อนเลยก็ตาม จุดเริ่มต้นของริทัศน์บางกอกไม่ได้เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของคนรุ่นใหม่ในชุมชนเพื่อสื่อสารความเป็นตัวตนสู่สายตาคนภายนอกเหมือนอย่างย่านอื่นๆ แต่เป็นการรวมกลุ่มกันของเด็กวัยรุ่นที่มีความสนใจเรื่องเมืองคล้ายๆ […]

ย้อนเวลากลับไปเต้นสวิงในยุค 30 ให้สนั่นฟลอร์ ในงาน ‘STEP INTO SWING’ ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) วันที่ 25 สิงหาคม 67

ถึงเวลาวาดลวดลายให้สนั่นฟลอร์กันอีกครั้ง ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ในงาน ‘STEP INTO SWING : Take the A train at Hua Lamphong’ โดยมี Jelly Roll Jazz Club ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นหัวเรือใหญ่ในการเปลี่ยนห้องโถงผู้โดยสารให้กลายเป็นฟลอร์สวิงแดนซ์สุดยิ่งใหญ่ ครั้งนี้พวกเขาจะพาทุกคนย้อนเวลากลับไปยุค Swing Era ในช่วง 30’s ที่การเต้นสวิงสุดแสนรุ่งเรือง พร้อมกับวงสวิงแจ๊สชั้นนำจาก 3 ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ‘Carolina Reapers Swing’ จากประเทศฝรั่งเศส, ‘The Frankie Sixes’ จากประเทศมาเลเซีย และ ‘The Stumbling Swingout’ เจ้าเก่าเจ้าเดิมจากประเทศไทย นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมพิเศษอย่างการแข่งขัน Battle รอบชิงชนะเลิศระหว่างนักเต้นนานาชาติ ปาร์ตี้เพลงแจ๊ส และการเต้น Shim Sham Dance […]

ย้อนรอยความทรงจำย่านหัวลำโพงกับงาน ‘รื้อ เล่า ขาน ตำนานหัวลำโพง’ วันที่ 4 ส.ค. ที่ชุมชนตรอกสลักหิน

หัวลำโพงคือย่านที่อัดแน่นไปด้วยเรื่องเล่าและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ถึงหัวลำโพงจะผ่านการเปลี่ยนแปลงมานับครั้งไม่ถ้วน แต่เรื่องราวเหล่านี้ยังถูกจดจำไว้อย่างดีโดยชาวบ้านที่รอคอยโอกาสเล่าขานตำนานให้ผู้คนรับฟัง ชวนย้อนรอยความทรงจำย่านหัวลำโพงไปด้วยกัน ในงาน ‘Re-Tell The Details : รื้อ เล่า ขาน ตำนานหัวลำโพง’ กิจกรรมจากชุมชนตรอกสลักหิน ย่านหัวลำโพง กลุ่มริทัศน์บางกอก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และเครือข่ายรองเมืองเรืองยิ้ม งานนี้ประกอบด้วยกิจกรรมหลากหลายที่อัดแน่นตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอผลงานการออกแบบสื่อเพื่อชุมชนจากนักศึกษา กิจกรรมเวิร์กช็อปโดยชุมชนตรอกสลักหิน ภาคีเครือข่าย และเวทีดนตรีโดยเยาวชนในชุมชน การพาทัวร์ชุมชนตรอกสลักหินโดยไกด์วัยจิ๋วของชุมชน และการเสวนาของกลุ่มคนหลายภาคส่วนที่ร่วมสร้างสรรค์ย่านหัวลำโพง ถ้าหากใครสนใจไปรื้อฟื้นความหลังของหัวลำโพง ไปเข้าร่วมกันได้เลยที่พื้นที่สร้างสรรค์ ใต้ทางด่วนชุมชนตรอกสลักหิน ในวันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 10.00 – 18.00 น.

‘ตรอกสลักหิน’ ย่านชาวจีนหลังหัวลำโพงที่ขับเคลื่อนชุมชนด้วยวัฒนธรรมและศิลปะ

ระยะนี้ชื่อของ ‘ชุมชนตรอกสลักหิน’ ในโซเชียลมีเดียน่าจะผ่านตาของใครหลายคน เมื่อสปอตไลต์ฉายไปยังชุมชนกลางเมืองที่บางคนอาจยังไม่รู้จัก จนเป็นเหมือนแม่เหล็กดูดคนจากต่างถิ่นให้ปักหมุดมายังตรอกเล็กๆ หลังสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) แห่งนี้ ถัดจากด่านเก็บเงินทางพิเศษศรีรัช ขนาบข้างด้วยทางรถไฟ เดินไปตามถนนรองเมือง ไม่ทันไรก็มาถึงใต้ชายคาบ้านไม้สองชั้นที่แปรเปลี่ยนหน้าที่เป็นมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก สถานที่พักใจของเด็กๆ ในวันหยุดด้านหลังวัดดวงแข วันนี้เป็นวันธรรมดา มูลนิธิไร้เงาเด็กน้อยเพราะไปเรียนหนังสือ เสียงจอแจเงียบหายไปเหมือนเสียงหวีดรถไฟที่ซาลงไปไม่กี่ปีมานี้ แต่จุดประสงค์ของเราไม่ใช่เยาวชนชาวตรอกสลักหิน ทว่าเป็นเบื้องหลังของกลุ่มเด็ก เพื่อฟังเรื่องราวจากปากชาวชุมชนที่ผลักดันให้เกิดทริปนี้ขึ้นมา แหล่งอโคจรยุคอันธพาลครองเมือง “ผมเห็นตั้งแต่ชุมชนไม่มีอะไร จนมูลนิธิฯ เข้ามาพัฒนา เอาศิลปะมาลง” ‘ปีโป้-เศรษฐศักดิ์ จตุปัญญาโชติกุล’ เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ เริ่มต้นเล่าถึงตรอกสลักหินที่เขารู้จัก “เมื่อก่อนใครจะเข้าชุมชนก็โดนตี ในช่วงอันธพาลครองเมือง ยาเสพติด การพนัน ค้าประเวณี” ในช่วงปี 2499 ยุคอันธพาลครองเมือง บริเวณตรอกสลักหินและพื้นที่รอบๆ มีกลุ่มเจ้าถิ่นดูแลอยู่ตลอด เป็นพื้นที่อโคจรที่เต็มไปด้วยสิ่งผิดกฎหมาย ชื่อของตรอกเป็นที่รู้จักของคนวัยเก๋าในฐานะบ้านเกิดของ แดง ไบเลย์ หนึ่งในอันธพาลตัวเอ้ของพระนคร ย้อนไปในอดีต ด้วยระยะทางที่ใกล้กับขนส่งมวลชนสำคัญในขณะนั้น ทำให้ผู้คนจากหลากที่มาต่างเข้ามาจับจองพื้นที่ในตรอกสลักหินเพื่อพักผ่อน เช้าก็ออกไปประกอบอาชีพรองรับผู้เดินทาง เช่น แม่ค้าส้มตำที่หาบจากในตรอกไปนั่งรอลูกค้าด้านหน้าสถานีหัวลำโพง จนเป็นเหมือนสัญลักษณ์ในวันวานที่หลายคนคุ้นตา “บางคนก็อาศัยอยู่ในนี้ บางคนก็อาศัยในชุมชนวัดดวงแข มีห้องเช่าทั้งรายวัน รายเดือน […]

‘เด็กสลักหินพา PLAY’ เดินสำรวจชุมชน ตามรอยร้านอร่อยในหัวลำโพง กับเหล่าไกด์ตัวจิ๋วประจำตรอกสลักหิน

ปกติแล้วเวลาไปร่วมกิจกรรมทริปเดินสำรวจเมือง ไกด์หรือผู้นำกิจกรรมมักเป็นผู้ใหญ่ในชุมชนหรือนักวิชาการ ที่จะบอกเล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของพื้นที่ให้เราที่เป็นผู้ร่วมกิจกรรมฟังอย่างเพลิดเพลิน แต่กับทริป ‘เด็กสลักหินพา PLAY’ ภายใต้โครงการกรุงเทพรวมมิตรฯ ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมการเรียนรู้พหุวัฒนธรรมผ่านการท่องเที่ยว จัดโดยนักออกแบบที่ทำงานชุมชน มิวทวล กราวน์ ร่วมกับริทัศน์บางกอก ให้ประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป เพราะไกด์ในทริปนี้เป็นแก๊งเด็กในชุมชนที่จะมาพาเราออกเดิน และบอกเล่าเรื่องราวความประทับใจในชุมชนตรอกสลักหิน ย่านหัวลำโพงที่ตัวเองอยู่อาศัยผ่านสายตาเล็กๆ เหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง ต้นไม้ งานศิลปะ สัตว์ตัวน้อย มุมที่ชอบ ไปจนถึงร้านอร่อยที่เด็กๆ ทำโพลรีวิวกันเอง ทั้งหมดนี้เราคงไม่มีทางทราบได้ถ้าไม่ได้ไกด์เด็กๆ ในชุมชนมาชี้ชวนเล่าให้ฟัง ยังไม่นับรวมไกด์บุ๊กที่น้องๆ ลงมือวาดกันเอง แถมยังมีมิชชันที่ล้วนข้องเกี่ยวกับตัวพื้นที่ให้ทำสนุกๆ ระหว่างเดินทางไปด้วย เช่น ถ่ายรูปกับทาวน์เฮาส์สไตล์ฮ่องกงที่ซุกซ่อนตัวอยู่ในพื้นที่ เล่นเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่นของชุมชน อัดเสียงนกกรงหัวจุกที่คนในชุมชนเลี้ยง เล่นและเซลฟีกับน้องหมาโมจิที่เป็นที่รักของเด็กๆ เป็นต้น นับเป็นกิจกรรมดีๆ ที่ทำให้เด็กๆ ในชุมชนได้ทดลองทำอะไรใหม่ๆ ฝึกฝนทักษะที่อาจนำไปสู่การต่อยอดความถนัดในอนาคต รวมถึงสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับชุมชนที่พวกเขาอาศัยอยู่ ใครที่อยากลองไปร่วมทริปดีๆ แบบนี้อีก ติดตามกิจกรรมครั้งต่อๆ ไปได้ที่เพจ mutualground.lab 

Alive Arrive Hua Lamphong Journey Map ลายแทงตามหาร้านอร่อยในย่านหัวลำโพง พร้อมเก็บตัวปั๊มคำอวยพรจากคนในย่าน

‘หัวลำโพง’ เป็นอีกหนึ่งย่านน้องใหม่น่าจับตามองประจำงานเทศกาล Bangkok Design Week 2024 จาก ‘เครือข่ายชาวหัวลำโพง’ ที่เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้ประกอบการ คาเฟ่ โฮสเทล ร้านค้า บ้านศิลปิน นักออกแบบ และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กที่อาศัยหรือทำงานในพื้นที่ โดยมีหมุดหมายที่ต้องการสร้างการจดจำใหม่ให้กับย่านและสร้างสรรค์ให้พื้นที่แห่งนี้กลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากการย้ายสายรถไฟและพนักงานเกือบทั้งหมดไปยังสถานีกลางบางซื่อ ในธีมง่ายๆ อย่าง ‘การเปิดบ้าน’ เพื่อสื่อถึงการเปิดบ้านต้อนรับคนใหม่ๆ และโอกาสใหม่ๆ รวมไปถึงการเปิดประตูบ้านของชุมชนให้มาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันด้วย และหนึ่งในกิจกรรมที่เราหยิบยกมาชวนทุกคนไปสำรวจกันคือ ‘Alive Arrive Hua Lamphong Journey Map’ แผนที่ตามหาความอร่อย ซึ่งเป็นหนึ่งส่วนเล็กๆ แสนสำคัญที่เปิดโอกาสให้เจ้าบ้านย่านหัวลำโพงได้เปิดบ้านต้อนรับกลุ่มคนใหม่ๆ เพื่อทำความรู้จัก รับฟังเรื่องเล่า และกระตุ้นให้ย่านกลับมามีสีสันอีกครั้ง เพราะนอกจากจุดจัดเทศกาลกว่า 10 จุดทั่วทั้งย่านแล้ว ภายในหัวลำโพงยังประกอบไปด้วยร้านค้าและร้านอาหารรสเลิศจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นอาหารจีน อาหารอีสาน อาหารฮาลาล ไปจนถึงเครื่องดื่มและของหวาน เปิดให้บริการทั่วทั้งซอยพระยาสิงหเสนีและชุมชนตรอกสลักหิน ยาวไปจรดถนนเจริญเมือง นอกจากตัวแผนที่ที่มาพร้อมกับหมุดร้านอาหาร 15 แห่งในพื้นที่และจุดจัดกิจกรรมในเทศกาลฯ ต่างๆ แล้ว เรายังจะได้รับสติกเกอร์องค์ประกอบย่านหัวลำโพงและกระดาษรูปโคมจีนสำหรับบันทึกคำอวยพรจากร้านค้า ที่ไม่ว่าไปเยือนร้านไหนก็จะมีตราปั๊มคำอวยพรที่แตกต่างกันไป รอให้เราเดินไปปั๊มเก็บเป็นที่ระลึก […]

เปิดรูต One Day Trip ตามรอย Troye Sivan แวะเที่ยว 4 ย่านจากเอ็มวีเพลง Got Me Started

นอกจากเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวในช่วงวันพักผ่อนแล้ว ประเทศไทยยังเป็นอีกหนึ่งในตัวเลือกสถานที่ถ่ายทำโปรดักชันจากต่างประเทศด้วย ล่าสุดนี้ศิลปินเควียร์ชาวออสเตรเลีย ‘Troye Sivan’ ก็พาเราไปสำรวจมุมต่างๆ ในกรุงเทพฯ ผ่านเพลง ‘Got Me Started’ ที่เจ้าตัวแอบบอกใบ้ไว้ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ใครที่ได้ดู MV เพลงนี้แล้วคงเห็นว่าสถานที่ต่างๆ ที่ใช้ถ่ายทำอาจไม่ได้แปลกใหม่เท่าไรนัก บางโลเคชันอย่างสะพานช่องนนทรีหรือถนนเยาวราชก็เป็นสถานที่ที่เห็นผ่านสื่ออยู่บ่อยครั้ง แต่ภาพที่เพลงนี้นำเสนอออกมาต่างหากที่ทำให้เราค้นพบความสวยงามที่อาจนึกไม่ถึงในเมืองนี้ อีกทั้งยังสะท้อนถึงความเป็นตัวของตัวเองและความหลากหลายที่กรุงเทพฯ โอบรับผู้คนทุกเพศทุกวัย วันหยุดสุดสัปดาห์แบบนี้ คอลัมน์ Urban Guide ถือโอกาสพาทุกคน Get Started ออกเดินทางตามรอย Troye Sivan กับ 4 ย่านในกรุงเทพฯ กัน ชม MV ก่อนออกไปเดินเล่นกันที่ : youtube.com/watch?v=mLqPC9Z6C9E เยาวราช Location : maps.app.goo.gl/LSEG5pGD1mNBbQGB7  เริ่มต้นทริปกับย่านที่คุ้นตาที่สุดใน MV ด้วยเอกลักษณ์ที่เด่นชัดอย่างป้ายไฟของห้างร้านต่างๆ ที่ทำให้ถนนสายนี้สว่างไสวและคึกคักอยู่ตลอด คงไม่มีใครไม่รู้ว่าหนึ่งในสถานที่ถ่ายทำนั้นคือย่านนักท่องเที่ยวสุดฮิตที่ถนน ‘เยาวราช’ แม้ว่าจะเป็นเส้นทางขึ้นชื่อเรื่องสตรีทฟู้ดหลากหลายประเภทในตอนกลางคืน แต่ความเป็นเยาวราชไม่ได้มีแค่นี้ เพราะยังมีสถานที่และกิจกรรมที่น่าสนใจแฝงตัวอยู่ในย่านมากมาย ทั้งวัดไทย วัดจีน ตึกเก่า […]

ชวนพ่อแม่ไปเต้นสวิงพร้อมเพื่อนใหม่กับ ‘งานเต้นหมื่นปี รุ่นใหญ่ไฟกะพริบ’ 19 ส.ค. เข้าฟลอร์ฟรี ที่หัวลำโพง

หลายครั้งที่เราไม่อยากปล่อยให้ผู้สูงอายุในครอบครัวอยู่บ้านกันเหงาๆ แต่กิจกรรมที่ลูกหลานจะพาพวกท่านออกไปทำได้นั้นก็อาจไม่เหมาะกับวัยเท่าไหร่ ด้วยเหตุนี้ ใครที่กำลังมองหากิจกรรมสนุกๆ เพื่อพาพวกท่านไปร่วมในวันหยุดสุดสัปดาห์ Urban Creature ขอชวนไป ‘งานเต้นหมื่นปี รุ่นใหญ่ไฟกะพริบ’ ในวันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) งานเต้นหมื่นปี รุ่นใหญ่ไฟกะพริบ เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ ‘เมืองไทยประกันภัย’ ร่วมกับ ‘มูลนิธิมาดามแป้ง’ และ ‘การรถไฟแห่งประเทศไทย’ เนื่องจากอยากให้ทุกคนได้พาพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ในบ้านออกมาร่วมสนุกและพบปะสังสรรค์กับเพื่อนใหม่ในวัยเดียวกันผ่านการ ‘เต้นสวิง’ ไปกับ Jelly Roll Dance Club หรือหากญาติผู้ใหญ่คนไหนไม่สะดวกเป็นนักเต้น ก็ไปร่วมฟังเพลงแจ๊สเพราะๆ จากวง The Stumbling Swingout และชมโชว์สวิงแดนซ์จาก The Boppin’ Berries ก็ได้ นอกจากจะเปิดฟลอร์ให้โชว์สเต็ปกันแล้ว งานนี้ยังมีการประกวดแต่งตัวในธีม ‘Gatsby’ ที่ไม่ว่าจะมาแบบกลุ่มหรือแบบเดี่ยวก็ร่วมลุ้นรับเงินรางวัลมูลค่ากว่า 10,000 บาทได้อีกด้วย งานเต้นหมื่นปี รุ่นใหญ่ไฟกะพริบ เปิดฟลอร์ต้อนรับนักเต้นทุกท่านให้เข้าร่วมกันแบบฟรีๆ ในวันที่ 19 สิงหาคมนี้ เวลา 13.00 […]

‘สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)’ สัญลักษณ์ยิ่งใหญ่ในสยามยุคอาณานิคม สู่อนาคตว่าจะไปทางไหนดี

ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา กระแสการย้ายศูนย์กลางการเดินรถไฟจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปที่สถานีกลางบางซื่ออย่างฉับพลันทันด่วน ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ทั้งจากประชาชน นักเรียน-นักศึกษา นักวิชาการจากสถาบันการศึกษา รวมถึงบุคลากรในหน่วยงานของรถไฟเช่นกัน เสียงสะท้อนต่อการตัดสินใจจะเปลี่ยนแปลงมีตั้งแต่ การไม่คิดคำนึงถึงความเดือดร้อนของคนที่ใช้เส้นทางสัญจรเป็นประจำเพราะการย้ายจะทำให้ค่าใช้จ่าย และเวลาเดินทางเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงคำถามเชิงคุณค่าทางวัฒนธรรมต่อการใช้งานพื้นที่หัวลำโพง รวมไปถึงคำถามภาพใหญ่ที่ตั้งคำถามถึงระบบขนส่งสาธารณะของประเทศไทยทั้งหมด ว่าสรุปแล้วควรจะไปทิศทางไหน ถึงจะไม่สะเปะสะปะ และเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนคนเดินถนน ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศจริงๆ เมื่อมองกลับไปที่ประวัติศาสตร์ของ ‘สถานีกรุงเทพ’ สถานที่แห่งนี้บน ‘ถนนพระราม 4’ ในปัจจุบัน เคยเป็นทั้งศูนย์กลางขนส่งทางรางและตัวแทนอันน่าภาคภูมิของ ‘ความเป็นสมัยใหม่’ ของชนชั้นนำสยาม แต่ทำไมอนาคตของสถานีรถไฟในปัจจุบันกลับดูไม่แน่นอนว่าจะไปทางไหนต่อ หลังจากเสียงวิจารณ์เกือบหนึ่งเดือนเต็มๆ เมื่อ 20 ธันวาคม 2564 ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็ได้หยุดการ ‘ย้ายหัวลำโพง’ นี้ไปก่อน และให้มีรถไฟวิ่งเข้าออกสถานีตามปกติ นั่นทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์หยุดลงไปชั่วคราว แต่ปัญหาที่รอการหาทางออกร่วมกันในประเด็นนี้ยังคงอยู่ไม่หายไปไหน ดังคำกล่าวอันโด่งดังของนักปรัชญา ฟริดริช เฮเกล (Friedrich Hegel) ที่ว่า ‘เราเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ว่าพวกเราไม่เรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์เลย’ อาจจะเป็นประโยคเจ็บแสบล้อเลียนประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แต่ประเด็นสำคัญคือมันกระตุ้นเตือนให้เราตั้งคำถามกับสิ่งที่กำลังจะทำตลอดเวลา ว่าจะมีผลกระทบอะไรบ้าง และเราเรียนรู้จาก ‘ประวัติศาสตร์’ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.