ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive มีนาคม 2567

ผมอยากชวนให้เพื่อนๆ ทุกคนมองอีกครั้งว่า ของดีไซน์เล็กๆ น้อยๆ ที่ตามริมทางของผู้คนในเมือง ไม่ว่าโต๊ะเก้าอี้หรืออะไรก็ตามที่ดูตื่นตาตื่นใจนั้น นอกจากไอเดียการสร้างสรรค์ทำของพวกนี้ที่น่าชื่นชมแล้วนั้น ของเหล่านี้มักถูกเคลือบแฝงไปด้วยปัญหาของการออกแบบเมืองสารพัดที่ไม่ได้ถูกคิดมาเผื่อแต่แรก ทำให้เกิดการพยายามสร้างสรรค์และแก้ปัญหากันเองของผู้คน ด้วยวิธีการประดิษฐ์หรือเทคนิคดัดแปลงต่างๆ ด้วยวัสดุและสิ่งของใกล้ตัวโดยเฉพาะที่หาได้ในพื้นที่เมือง เราสามารถนิยามคอนเซปต์ของการสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาเมืองนี้ได้ว่า ‘ความเป็นอยู่พื้นถิ่นที่เกิดขึ้นในเมือง หรือ Urban Vernacular’ ซึ่งเราอาจจะเรียกมันว่า ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมือง’ หรือเรียกย่อๆ ว่า ‘งานออกแบบพื้นถิ่นเมือง’ ก็ได้แล้วแต่ถนัด ไอเดียพื้นถิ่นเมืองนี้ถือว่าเป็นรากความคิดเดียวกับพื้นถิ่นตามชานเมืองหรือต่างจังหวัดอย่างที่เพื่อนๆ หลายคนมักคุ้นเคย เช่น บ้านเรือนพื้นถิ่นที่มักมีใต้ถุนยกสูงไว้หนีปัญหาน้ำท่วม มักมุงหลังคาด้วยใบจากหรือใช้เสาจากต้นไม้ไผ่ เพราะวัสดุธรรมชาติเหล่านี้หาง่ายรอบตัว ในทำนองเดียวกันกับพื้นถิ่นเมืองอย่างเก้าอี้วินมอเตอร์ไซค์ที่จำเป็นต้องตัดขาหลังออก และเอาไปวางคร่อมกับกระบะต้นไม้หลบทางเดิน ก็เพราะปัญหาทางเท้าที่แคบเกิน หรือการพยายามทำหลังคากันแดดของซุ้มวินมอเตอร์ไซค์จากแผ่นป้ายหาเสียง เพราะเป็นวัสดุที่เหลือทิ้งไว้จากการเลือกตั้งในพื้นที่เมือง ด้วยฐานคิดนี้แล้ว ทำให้ผมคิดว่าเวลาที่เราเจอดีไซน์สนุกๆ ข้างทางเหล่านี้ เป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องมองให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเอาไว้ควบคู่กันเสมอ และน่าจะเป็นการดีที่คอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ รอบนี้ จะขอชวนเพื่อนๆ ลองฝึกสายตาในการมองของพื้นถิ่นเมืองเหล่านี้ไปกับผมอีกครั้ง เผื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจเพิ่มเติม เวลาเพื่อนๆ บังเอิญเจอของเหล่านี้ที่ตามปากซอย อาจจะได้รู้สึก เอ๊ะ ตรงนี้มันมีปัญหานี้เกิดขึ้นนี่หว่า และเขาแก้กันแบบนี้เอง Table + Floor Balance ขาลอยไม่ใช่แค่คำว่าอยู่เหนือปัญหา แต่โต๊ะที่ขาลอยในเชิงปฏิบัตินั้นคือปัญหาที่แท้ […]

มีอะไรอยู่บน (สถานีรถไฟ) ฟ้า

ระหว่างที่รอรถไฟฟ้าอยู่เพลินๆ ไม่กี่นาที พลันสายตาก็เหลือบสำรวจไปทั่วว่ามีอะไรบ้างนะในวิวระดับตึกชั้น 3 ที่ทอดออกไปยังตึกต่างๆ โดยรอบ มันไม่ได้มีแค่หลังคาบ้าน ไม่ได้มีแค่ตึกที่สูงลดหลั่นกัน หากมองดีๆ มันมีดีเทลมากกว่านั้น และบางดีเทลก็ซ่อนอยู่หลังแผงเหล็กของสถานีรถไฟฟ้า ที่สังเกตได้ง่ายเลยก็คือดาดฟ้าของห้องแถว บางคูหาเป็นลูกกรงเหล็กครอบอีกที มีเสาอากาศอยู่ บ่งบอกถึงยุคหนึ่งที่มีทีวีตู้นูน หากอยากจะดูให้คมชัดกว่านี้ แค่เสาแบบตัววีคงไม่พอ ต้องเป็นเสาอากาศก้างปลา เสียบชั้นบนสุดของตึกเท่านั้น และเพื่อยกระดับให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่สูงสมฐานะ การยกให้ศาลพระภูมิไปอยู่บนดาดฟ้าจึงถือเป็นที่ตั้งที่เหมาะสุดแล้ว แดดยามบ่าย ไม่เพียงแต่เล่นแสงและเงาให้กับทางของรถไฟฟ้าที่ทอดยาวสุดลูกหูลูกตา มันยังสร้างเหลี่ยม สร้างมุม เล่นกับตึกแถวที่หน้าตึกเหลื่อมกันได้ดี ซึ่งในแต่ละคูหา ลูกกรงและสีอาคารก็ต่างสไตล์กันไปอีก หากเดินอยู่ข้างล่าง เราคงไม่ได้สังเกตว่าชั้น 2 ของบางคูหาก็แอบมีลูกเล่นตรงหน้าต่าง ความงามนี้เพิ่งจะถูกเปิดเผยก็ตอนที่มีสถานีรถไฟฟ้ามาตั้งขนาบข้าง บางคูหาใช้วิกฤตเป็นโอกาส ไหนๆ ตึกก็หันมาเกือบประชิดกับทางสถานีรถไฟฟ้าที่มีคนผ่านไปมา ก็ขอโฆษณาสักหน่อย ถ้าไม่ได้อยู่ในความสูงระดับตึกชั้น 4 ของ MRT เตาปูน เราคงไม่ได้สังเกตเลยว่า วิวสุดลูกหูลูกตานี้ มีบ้านหลังไหนบ้างที่เก่าแก่แต่ยังคงสภาพสมบูรณ์ ที่ดินตรงไหนที่ยังคงเขียวขจีอยู่ท่ามกลางเมืองหลวงที่ร้อนระอุ รวมถึงการหดตัวของพื้นที่สีเขียวไปเรื่อยๆ หลังคาของบางบ้าน บางร้าน ก็เป็นที่เก็บของชั้นดี ในเมื่อของที่ไม่ค่อยใช้แล้วมันเกะกะพื้นที่ที่คนใช้สอยบ่อย ก็เอาไปเก็บไว้ในพื้นที่ที่คนไม่ได้ใช้สอยอะไรมากก็แล้วกัน ผนังสูงๆ ของตึกบางแห่ง เป็นที่ทดลองทำกราฟฟิตี้แบบง่าย […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กุมภาพันธ์ 2567

ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบเดินเลาะตามตรอกซอกซอยในเมืองอยู่บ่อยๆ อาจเพราะส่วนหนึ่งเป็นคนไม่ได้ใช้รถยนต์ส่วนตัว ทำให้การเดินทางในชีวิตประจำวันนั้นต้องพยายามหาทางเดินเชื่อมต่อขนส่งสาธารณะอย่างจำเป็น กลายเป็นว่าผมได้เริ่มปรับเปลี่ยนความจำเป็นนี้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ด้วยการบวกให้เป็นงานอดิเรกไปด้วยในตัว จากการพยายามเดินส่องหาข้าวของแปลกๆ ระหว่างทางที่เดิน โดยเฉพาะงานดีไซน์เล็กๆ น้อยๆ จากผู้คนริมทางที่มีความน่าสนใจและถ่ายรูปเก็บไว้ (ซึ่งผมมักจะเรียกสิ่งของเหล่านี้ว่าสถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด) ส่วนหนึ่งผมถ่ายเก็บไว้เป็นไอเดียสำหรับใช้ทำงานดีไซน์ (ตัวผมเองเป็นสถาปนิก) เพราะข้าวของเหล่านี้หลายชิ้นมักมีผลลัพธ์จากการดีไซน์ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ และมักคอยท้าทายมุมมองชนชั้นกลางแบบเราๆ ได้อยู่เสมอ อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อทำความเข้าใจปัญหาและวิธีการแก้ไขจริงๆ จากผู้คนตัวเล็กๆ ในพื้นที่สาธารณะของเมืองที่เต็มไปด้วยปัญหาสารพันแบบอินไซต์ แม้ว่าส่วนหนึ่งนั้นไม่ได้ถูกต้องตามหลักกฎระเบียบริมทาง และรอได้รับการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดจากส่วนกลาง ที่ไม่ใช่แค่จัดระเบียบและจบๆ กันไป คงเป็นการดีที่ผมจะขอมาร่วมแบ่งปันเหล่าภาพถ่ายจากงานอดิเรกนี้กับทาง Urban Creature เป็นคอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ ที่ว่าถ้าผมไปเจองานดีไซน์ข้างทางเหล่านี้ที่ไหน ก็จะหยิบรูปส่วนหนึ่งมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ รับชมทุกเดือน (หากเป็นไปได้) นอกจากความตื่นตาตื่นใจไปกับงานดีไซน์ข้างทางเหล่านี้แล้ว ผมหวังว่าจะช่วยทำให้พวกเราได้เรียนรู้และได้ทำความเข้าใจความเป็นไปของผู้คนในเมืองมากยิ่งขึ้น Seat ผมเจอเก้าอี้พลาสติกจำนวนหนึ่งที่ขาหลังหายไป แล้วถูกนำมาวางคร่อมไปกับขอบกระบะต้นไม้ริมถนนตรงนั้นแทน ที่ซอยแคบๆ แห่งหนึ่ง ใกล้ตลาดกองสลากฯ แถวถนนราชดำเนิน จากที่สังเกตและทำความเข้าใจคือ ตรงนั้นเป็นแผงตลาดขายสลากฯ ที่มีคนเดินผ่านไปมาเยอะ แล้วหากวางเก้าอี้ลงบนถนนไปเลยอาจจะสร้างความเกะกะได้ กลายเป็นว่าการตัดขาเก้าอี้และวางคร่อมแบบรูปนี้ เป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเดินบนถนนนั่นเอง เก้าอี้พลาสติกของเหล่าพี่วินฯ มักมีอาการพังหรือขาหักอยู่บ่อยๆ และเราจะเห็นวิธีหาทำซ่อมแซมของเหล่าพี่วินฯ ให้มันกลับมาใช้งานได้เสมอๆ อย่างเก้าอี้วินฯ ที่ขาหลังหักตัวนี้แถวสวนจตุจักร ถ้ามองไวๆ อาจจะงงว่ามันยังลอยตั้งอยู่ได้ยังไง […]

รู้จักการสร้างเมืองให้ปังด้วย CITY BRANDING

เคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมเมืองเกียวโตในประเทศญี่ปุ่น แม้จะมีอาคารสมัยใหม่และมีความเป็นเมืองมากมาย แต่สิ่งที่เราจำได้กลับไม่ใช่อาคารเหล่านี้ หากแต่เป็นบ้านไม้โบราณและวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศญี่ปุ่นแทน เครื่องมือหนึ่งที่สร้างกระบวนการให้เมืองมีอัตลักษณ์เป็นของตัวเองนี้มีชื่อว่า ‘City Branding’ ซึ่งทำให้คนในชุมชนนั้นเห็นคุณค่าและศักยภาพของตัวเองที่มีอยู่ เพื่อที่จะกลายเป็นจุดขายของเมืองให้ดึงดูดคนเข้ามาพัฒนาสิ่งต่างๆ ในเมือง ทั้งยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่อีกด้วย Urban Creature ชวน ‘อาจารย์อั๋น-ผศ. ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย’ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง และ ‘อาจารย์กบ-ผศ.ศรันยา เสี่ยงอารมณ์’ รองคณบดีและอาจารย์ประจำภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คู่หูทำงานวิจัยเกี่ยวกับ City Branding มาพูดคุยกันถึงเครื่องมือนี้อย่างเจาะลึก และการใช้มันออกแบบเมืองให้ดึงดูดคนนอกมาท่องเที่ยว พร้อมกับทำให้คนในรักษาคุณค่าดั้งเดิมของพื้นที่ไว้ได้ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : urbancreature.co/city-branding #UrbanCreature #Scoop #ThinkThoughtThought #CityBranding #City #Architecture #สถาปัตย์ #สถาปัตยกรรม #สร้างเมืองให้ปัง

การออกแบบที่ดีต้องดูไปถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ คุยกับ 3 ทีมสถาปนิกไทยที่ไปคว้ารางวัลไกลถึงญี่ปุ่น จากงาน TOSTEM Asia Design Award 2023

การออกแบบที่ดีต้องมาพร้อมกับการเลือกใช้วัสดุอย่างพิถีพิถัน ยิ่งเป็นการออกแบบบ้านและสิ่งปลูกสร้างในไทยที่มีสภาพอากาศร้อนชื้น ยิ่งจำเป็นต้องเลือกผลิตภัณฑ์อาคารจำพวกประตู หน้าต่าง หรือผลิตภัณฑ์นอกตัวบ้านให้ดี เพราะถือเป็นสิ่งสร้างความสมดุลระหว่างภายในและภายนอกตัวบ้าน และระบายอากาศได้เป็นอย่างดี ซึ่งถ้าพูดถึงแบรนด์ผู้ผลิตประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมสำเร็จรูป ก็คงไม่มีใครไม่รู้จัก ‘ทอสเท็ม’ (TOSTEM) แบรนด์ชั้นนำสำหรับผลิตภัณฑ์อาคารที่อยู่อาศัยจากประเทศญี่ปุ่นที่เข้าใจความต้องการของผู้อยู่อาศัยอย่างแท้จริง เพื่อส่งมอบ ‘โซลูชันที่ตอบรับกับไลฟ์สไตล์’ (Lifestyle Solutions) ให้การใช้งานมีความยืดหยุ่นและตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกครั้งที่ใช้งาน ด้วยการออกแบบโดยใช้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ พัฒนาเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมที่สามารถตอบสนองความต้องการในทุกยุคสมัย จนทำให้ TOSTEM ดำเนินกิจการมาแล้วกว่า 100 ปี และเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีนี้เอง ทาง TOSTEM จึงจัดกิจกรรมการประกวด TOSTEM Asia Design Award 2023 ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้สถาปนิกในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ส่งผลงานการออกแบบของสถาปนิกที่มีประสบการณ์ในการใช้สินค้าของทาง TOSTEM เข้ามาแข่งขัน งานนี้มีสถาปนิกผู้สนใจจากทั่วภูมิภาคเอเชียส่งผลงานเข้าร่วมถึง 133 ผลงาน และที่น่าดีใจไปกว่านั้นคือ มีผลงานการออกแบบของสถาปนิกชาวไทยสามารถสร้างชื่อเสียงคว้ารางวัลมาได้ถึง 3 ผลงานด้วยกัน จากผู้ที่ได้รับรางวัลทั้งหมด 10 รางวัล วันนี้ Urban Creature ชวนทุกคนไปพูดคุยกับ 3 เจ้าของผลงานที่ได้รับรางวัล […]

มุมมองการสร้าง ‘City Branding’ ผ่านสายตานักวิจัยจากคณะสถาปัตย์ที่ทำเรื่องนี้มานับไม่ถ้วน

ก่อนโควิด-19 แพร่ระบาด ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาสูงถึง 40 ล้านคนต่อปี นักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มจับจ่ายใช้สอยมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นขาช้อปชาวจีนหรือนักท่องเที่ยวชาวยุโรปหนีอากาศหนาวมาพักตากอากาศที่ไทยเป็นเวลานาน พอโควิด-19 ระบาดอย่างหนักจนทำให้สนามบินปิด ชายแดนปิด คนในห้ามออก คนนอกห้ามเข้า เพื่อควบคุมการระบาดของโรค ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งที่เคยครึกครื้นกลับซบเซา ร้านค้าถูกทิ้งร้าง ถนนคนเดินหลายเส้นเงียบเหงาจนน่าใจหาย ระยะเวลาผ่านไปสักปีกว่าๆ โควิด-19 ถูกประกาศว่าเป็นโรคประจำถิ่น นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การท่องเที่ยวกลับมาคึกคักอีกครั้ง สายการบินเริ่มเพิ่มเที่ยวบินในประเทศและระหว่างประเทศมากขึ้น สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เตรียมพร้อมเปิดรับแขกอีกครา แต่คราวนี้ตลาดการท่องเที่ยวหลังโควิด-19 แข่งขันกันอย่างดุเดือด เพื่อดึงเม็ดเงินมาฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 อาจจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ที่เราไม่เคยรู้จักหรือสถานที่ท่องเที่ยวเก่าแต่ออกแบบเมืองใหม่ เหลาให้แหลมคมด้วยเครื่องมือชื่อ ‘City Branding’ Urban Creature ชวน ‘อาจารย์อั๋น-ผศ. ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย’ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง และ ‘อาจารย์กบ-ผศ.ศรันยา เสี่ยงอารมณ์’ รองคณบดีและอาจารย์ประจำภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คู่หูทำงานวิจัยเกี่ยวกับ City Branding มาพูดคุยกันถึงเครื่องมือนี้อย่างเจาะลึก และการใช้มันออกแบบเมืองให้ดึงดูดคนนอกมาท่องเที่ยว พร้อมกับทำให้คนในรักษาคุณค่าดั้งเดิมของพื้นที่ไว้ได้ อยากให้นิยาม City Branding ในเวอร์ชันของคุณทั้งสองคน อาจารย์อั๋น […]

Future Building And Architecture Innovation 2024 งานสัมมนานวัตกรรมสถาปัตยกรรมและอาคาร เข้าร่วมฟรี 1 – 3 พ.ย. 66 ที่ไบเทคบางนา

ครั้งแรกของสัมมนาที่รวมเรื่องนวัตกรรมด้านสถาปัตยกรรมและอาคารไว้ในงานเดียวแบบจัดหนักจัดเต็มตลอด 3 วัน กับงาน ‘Future Building And Architecture Innovation 2024’ จาก ‘InnovatorX by wazzadu.com’ แพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อนวัตกรสู่ภาคธุรกิจ เพื่อสร้างสรรค์สังคมให้ดียิ่งขึ้น ภายในงาน Future Building And Architecture Innovation 2024 จะเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับแนวโน้มการออกแบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปี 2024 เพื่อสำรวจทิศทางของอสังหาริมทรัพย์ในอนาคตที่จะสอดคล้องกับวิถีชีวิตและโลกที่เปลี่ยนไป โดยตลอดทั้ง 3 วันที่จัดงานจะมีการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาและบริษัทที่เกี่ยวข้อง ในหัวข้อเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านสถาปัตยกรรมและอาคารที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ การทำให้ธุรกิจ อนาคตด้านการพัฒนาอาคาร ไปจนถึงการปรับตัวสู่ประวัติศาสตร์การออกแบบอาคารยุคใหม่ พร้อมกลยุทธ์ลดคาร์บอนฟุตพรินต์เพื่อให้ไทยเข้าสู่ความยั่งยืน Future Building And Architecture Innovation 2024 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 – 3 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10.00 – 18.00 น. ที่ฮอลล์ 103 […]

#เหล็กดัดfun

#เหล็กดัดfun เป็นผลพวงของการเดินเล่นอย่างจริงจังตลอด 7 ปีที่ผ่านมา ความสนุกของการเก็บภาพเหล็กดัดเหล่านี้อยู่ที่ความไม่คาดฝันว่าจะได้เจอ บางครั้งถนนเส้นเดิมที่เดินผ่านทุกวัน เพียงเงยหน้ามองตามนกที่บินตัดหน้าไปก็เจอว่าเหล็กดัดลายประหลาดอยู่ตรงนั้นมาตลอด แม้เหล็กดัดจะอยู่บนวัตถุที่กั้นขวางผู้คนออกจากกัน ประกาศอาณาบริเวณ ขีดเส้นความเป็นส่วนตัว แต่เหล็กดัดกลับเชื่อมโยงเราเข้าไว้กับความเป็นเมือง ทุกครั้งที่มีโอกาสได้เยี่ยมเยียนจังหวัดที่ไม่เคยไป สถานที่ที่ไม่รู้จัก หรือแม้ในพื้นที่ที่เขาว่ากันว่าไร้แลนด์มาร์กดึงดูดใจ จึงไม่เคยเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับเรา เพราะขอเพียงให้มีโอกาสได้เดินเล่น ก็รับรองว่ามีโอกาสพบเห็นเหล็กดัดที่ทำให้ใจเต้นรัวได้ไม่ยาก หน้าต่างบ้าน ซุ้มทางเข้าวัด รั้วมัสยิด กรอบหน้าต่างศาลเจ้า ในชุมชนคริสต์ ในชุมชนมุสลิม ประตูสถานที่ราชการ โรงเรียน มหาวิทยาลัย ตลาด ร้านค้า ตึกแถว ล้วนแล้วแต่มีเรื่องราวที่ต้องการจะบอกเล่าให้เราฟังเสมอ ใครเจอเหล็กดัดลายสนุกๆ มาแบ่งกันดู ผลัดกันชมผ่าน #เหล็กดัดfun และแฮชแท็กของเพื่อนร่วมส่องเหล็กดัดอย่าง #grillsofthailand กับ #grillsoftheworld ได้เลย ติดตามผลงานของ สุวิชา พิทักษ์กาญจนกุล ต่อได้ที่ Instagram : ciawush และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

สำรวจสถาปัตยกรรมร่วมสมัยไทย-ไต้หวัน ในนิทรรศการ ‘Infinity Ground’ วันที่ 18 ก.ค. – 6 ส.ค. ที่หอศิลปฯ (BACC) 

นอกจากขึ้นชื่อเรื่องอาหารและศิลปวัฒนธรรมแล้ว ไต้หวันยังโดดเด่นในด้านการออกแบบและสถาปัตยกรรมอาคารสิ่งก่อสร้างไม่แพ้กัน หากใครเคยไปเยือนสักครั้งคงต้องสนุกกับการเดินชมบ้านเมืองของประเทศนี้แน่ๆ ‘Infinity Ground – Thailand and Taiwan Contemporary Architecture Exhibition’ คืองานนิทรรศการที่รวบรวมสถาปัตยกรรมร่วมสมัยของไทยและไต้หวันไว้ในที่เดียว ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย ที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรม สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ร่วมกับคณะสายออกแบบจาก 4 มหาวิทยาลัยในไทย ถือเป็นครั้งแรกของปีที่มีการจัดแสดงผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมจาก 8 บริษัทสถาปนิก ทั้งจากประเทศไทยและไต้หวัน ผ่านมุมมองของ ‘การเลื่อนไหล’ และ ‘การรวมตัว’ ของโลก เพื่อเป็นตัวแทนของความหลากหลายทางวัฒนธรรม สภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาสังคมที่ส่งผลต่องานสถาปัตยกรรมทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ภายในงาน Infinity Ground แบ่งการนำเสนอสถาปัตยกรรมร่วมสมัยของไทยและไต้หวันออกเป็น 2 หมวด ได้แก่ ‘การแลกเปลี่ยนบนผืนดิน’ (Ground Exchanges) และ ‘ความรู้สึกจากผืนดิน’ (Feeling Grounds) ที่แสดงวิถีชีวิตใหม่ของมนุษย์และธรรมชาติผ่านสถาปัตยกรรมบนพื้นฐานร่วมกัน เพื่อให้ผู้เข้าชมงานได้ร่วมหาคำตอบถึงอนาคตของหน้าที่สถาปัตยกรรมต่อผืนดินที่ตั้งอยู่ รวมถึงมองหาการบรรจบกันของสถาปัตยกรรมที่สนองต่อบริบทของถิ่นที่ร่วมกัน นอกจากนี้ยังมีเสวนาและการบรรยายในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวงการสถาปัตย์อีกด้วย ใครที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ลงทะเบียนโดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ forms.gle/C8T22yDZ8dXVaEEu5 […]

Architecture and the Machine สถาปัตยกรรมที่พื้นที่ทุกระดับเชื่อมถึงกัน ผนวกฟอร์มและฟังก์ชันเข้าไว้เป็นหนึ่งเดียว

‘Georges Batzios’ สตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรมในประเทศกรีซ ได้คิดค้นรูปแบบการสร้างสถาปัตยกรรมที่ผนวกเข้ากับความงามตามแบบศิลปะ เกิดเป็นโปรเจกต์ ‘Architecture and the Machine’ ที่มีความตั้งใจจะหลุดพ้นจากขอบเขตที่มนุษย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล โปรเจกต์นี้เป็นการกำหนดนิยามใหม่ของภูมิสถาปัตย์ด้วยการสร้างลูกผสมที่หลอมรวมรูปแบบงานประติมากรรมให้เข้ากับการใช้งานจริง ในสถานที่ที่ครอบคลุมพื้นที่กว่า 1,600 ตารางเมตร บริเวณตอนเหนือของกรีซ โครงสร้างสถาปัตยกรรมแห่งนี้ถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นทางลาดหลายระดับ ที่จะช่วยให้ผู้เข้าใช้บริการสามารถเดินชมพื้นที่ทุกระดับได้อย่างราบรื่น “ในโปรเจกต์นี้ เราได้ค้นพบและพัฒนาเงื่อนไขการทำงานที่ทำให้ใช้ดีไซน์ได้อย่างอิสระ โดยไม่มีเงื่อนไขใดมาจำกัดมิติศิลปะของเรา เช่น ความไฮบริดในเชิงสถาปัตยกรรม ซึ่งรวมฟอร์มและฟังก์ชันเข้าไว้ด้วยกัน” ตัวแทนสตูดิโอกล่าว ทางเดินหมุนเวียนเหล่านี้ยังทำหน้าที่เป็นเฉลียงกลางแจ้ง 4 ระดับ เกิดเป็นรูปทรงระนาบที่เชื่อมต่อกัน สร้างความรู้สึกของการเคลื่อนไหว เมื่อเส้นที่คมชัดตัดกับโครงสร้างหลัก จะแสดงให้เห็นถึงพื้นผิวที่โฉบเฉี่ยวกับด้านหน้าที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต พื้นที่ใช้สอยด้านล่างใช้กระจกล้อมรอบ เพิ่มความโปร่งแสงภายในอาคาร เพื่อที่มองออกไปด้านนอกแล้วจะได้เชื่อมต่อกับภูมิทัศน์ทางธรรมชาติโดยรอบ และสถานที่แห่งนี้ยังมีความกลมกลืนกับธรรมชาติด้วยเหล่าต้นไม้เล็กๆ ที่เรียงรายตามลานลาดชัน แถมเมื่อยืนอยู่บนดาดฟ้าก็มองเห็นวิวของสวนสาธารณะได้อีกด้วย Source :Designboom | bit.ly/3Nfm1tF

Six Frames เปลี่ยนโฉมโรงนาเก่าให้เป็นบ้านร่วมสมัยที่มีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ชั้นแรกถึงห้องใต้หลังคา

‘Lukas Lenherr Architektur’ คือสตูดิโอสถาปัตยกรรมในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่แปลงโฉมโรงนาเก่ายุค 1850 ในเมือง Männedorf ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งในร่างของบ้านที่น่าอยู่และมีหน้าตาร่วมสมัย บริษัทผู้ออกแบบได้เพิ่มโครงสร้างไม้สปรูซ 6 ชิ้นที่มีความแข็งแรงและซับซ้อนภายในโรงนาที่มีอยู่ก่อน เพื่อรองรับโครงสร้างเดิมของโรงนาแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี โครงการนี้จึงถูกตั้งชื่อว่า ‘Six Frames’ โรงนาแห่งนี้มี 3 ชั้น ภายในถูกตกแต่งด้วยไม้ทั้งหมด โดดเด่นด้วยบันไดไม้ที่ใช้เดินไปยังทุกชั้นของบ้าน ส่วนการออกแบบพื้นที่นั้นเป็นไปตามการจัดวางโครงสร้างที่เชื่อมต่อกัน ซึ่งทำให้เกิดพื้นที่ใหม่ที่มีช่องเปิดและแนวสายตาที่หลากหลาย แถมยังช่วยให้มีพื้นที่ใช้สอยขนาดใหญ่ตั้งแต่ชั้นแรกไปจนถึงชั้นใต้หลังคาเลยทีเดียว ผนังของอาคารสร้างจากไม้ใหม่เป็นไม้สนสีเงิน เลือกตกแต่งด้วยวิธี Yakusuzgi เป็นภูมิปัญญาของชาวญี่ปุ่น คือการทำให้ไม้ไหม้เกรียมเพื่อรักษาไม้ให้สามารถคงอยู่ได้นานหลายชั่วอายุคน เมื่อมองจากภายนอก จะเห็นบ้านที่ทำให้รู้สึกถึงโรงนาในชนบทแสนเรียบง่ายแต่ซ่อนดีไซน์สมัยใหม่ไว้ด้านใน Lukas Lenherr Architektur สามารถเปลี่ยนโรงนาที่ค่อนข้างเก่าและธรรมดาให้กลายเป็นที่อยู่อาศัยที่ได้รับการปรับปรุงใหม่พร้อมการตกแต่งภายในที่ละเอียดอ่อน ทำให้บ้านดูน่าสนใจ ถือเป็นอีกหนึ่งไอเดียสำหรับการแปลงโฉมอาคารเก่าหรือสถาปัตยกรรมให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น  Sources :Designboom | bit.ly/3x61u1MYanko Design | bit.ly/3lqO2mj

Urban Farming Office เปลี่ยนสำนักงานตึกสูงเป็นสวนแนวตั้ง แวดล้อมด้วยธรรมชาติ ผักผลไม้ และสมุนไพร

ภายใต้การขยายของเมืองที่เติบโตอย่างรวดเร็ว คอนกรีตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้มีหลากหลายปัญหาตามมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขาดพื้นที่สีเขียวจากธรรมชาติ มลพิษทางอากาศ น้ำท่วมและนำไปสู่สภาวะน้ำเค็ม ปรากฏการณ์เกาะความร้อน ฯลฯ  ด้วยเหตุนี้ สตูดิโอสัญชาติเวียดนาม ‘Vo Trong Nghia Architects’ ได้ออกแบบและสร้าง ‘Urban Farming Office’ ออฟฟิศสำนักงานใหญ่ของตัวเองในนครโฮจิมินห์ เป็นอาคารโครงคอนกรีตที่ปกคลุมด้วยฟาร์มแนวตั้ง แวดล้อมไปด้วยพรรณไม้สีเขียวอย่างผักผลไม้และสมุนไพร แกนกลางของอาคารสำนักงานสร้างโดยใช้โครงคอนกรีตเปลือย ในขณะที่โครงสร้างภายนอกทำจากเหล็กบางๆ ทำหน้าที่คล้ายชั้นวางเหล่ากระถางต้นไม้ เพื่อเอื้อต่อการจัดเรียงต้นไม้ใหม่อย่างยืดหยุ่น หรือในกรณีที่ต้นไม้เติบโตขึ้น อาคารสำนักงานแห่งนี้ถูกออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติ ด้วยการมีผนังต้นไม้ที่ปกคลุมด้านทิศใต้ของอาคาร เป็นตัวช่วยทำหน้าที่กรองแสงแดดและอากาศ ป้องกันความร้อนที่สูงเกินไป ทั้งยังสร้างร่มเงาและช่วยตกแต่งภายในสำนักงานอีกด้วย ภายในออฟฟิศ พื้นที่ทำงานถูกจัดไว้รอบๆ โถงกลาง และมีประตูกระจกบานเลื่อน เพื่อเปิดไปยังระเบียงสำหรับเคลื่อนย้ายพืชหรือเก็บเกี่ยวผลผลิตจากกระถาง พร้อมสวนบนชั้นดาดฟ้าสำหรับปลูกพืชที่ต้องการได้อีกในอนาคต  นอกจากนี้ ตัวโครงสร้างคอนกรีตยังถูกปล่อยให้เปิดโล่งทั้งหมด โดยเสริมด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้สีเข้มและไฟประดับแบบมินิมอล เพื่อให้ตัดกับเหล่าต้นไม้ใบเขียวสดใสของฟาซาดอาคารที่เต็มไปด้วยพืชพันธุ์ Urban Farming Office โดย Vo Trong Nghia Architects ถือเป็นอีกหนึ่งสถาปัตยกรรมที่ออกแบบมาเพื่อประโยชน์ใช้สอย และเป็นได้มากกว่าแค่สำนักงานอย่างแท้จริง  Source :Dezeen | bit.ly/3XCW4XN

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.