เมื่อความเชื่ออยู่เหนือทุกสิ่ง สำรวจจักรวาล Dune ผ่านมุมมองศาสนาและความเชื่อ

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘Dune : Part Two’ กลายเป็นภาพยนตร์ไซไฟขึ้นหิ้งเรื่องใหม่ในทศวรรษนี้ไม่ต่างจาก ‘Star Wars’ หรือ ‘The Matrix’ ในอดีต จากเรื่องราวอันยอดเยี่ยมผ่านปลายปากกาของ Frank Herbert สู่จอเงินด้วยทัศนะของ Denis Villeneuve ผู้กำกับมากวิสัยทัศน์ ที่พาเราท่องไปในจักรวาล Dune ได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ เรื่องราวของ Dune ไม่ใช่จักรวาลไซไฟในอนาคตอันหรูหราไฮเทค แต่กลับเป็นอนาคตที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ อีกทั้งยังเต็มไปด้วยความป่าเถื่อนและอิทธิพลของศาสนาราวกับวิวัฒนาการย้อนกลับไปในยุคกลาง (Medieval) ทั่วทั้งจักรวาลถูกปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการโดยองค์จักรพรรดิเพียงหนึ่งเดียว และแบ่งสันการดูแลดวงดาวให้กับกลุ่มตระกูลขุนนางต่างๆ โดยที่ประชาชนบนดาวผู้เป็นเจ้าของเดิมทำได้เพียงก้มหัวยอมรับผู้ปกครองคนใหม่เท่านั้น จนกระทั่งการมาถึงของ ‘พอล อะเทรดีส’ (Paul Atreides) ผู้ที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าของจักรวาลใหม่ทั้งหมด ทำไมผู้มีอำนาจถึงปกครองจักรวาลได้อย่างยาวนานโดยไร้ผู้ต่อต้าน และอะไรที่ทำให้การมาถึงของพอล อะเทรดีส สามารถปลุกระดมผู้คนให้ลุกขึ้นมาต่อต้านอำนาจจักรวรรดิอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน คอลัมน์เนื้อหนังอยากพาทุกคนไปสำรวจจักรวาล Dune ผ่านแนวคิดของ ‘ศาสนา’ และ ‘ความเชื่อ’ ที่ปรากฏในเรื่อง อิทธิพลของศาสนาและจุดกำเนิดความศรัทธาของมนุษย์ โฮโมเซเปียนส์ (Homo Sapiens) คือสิ่งมีชีวิตเดียวที่สามารถสร้างแนวความคิดบางอย่างเพื่อชักจูงและรวบรวมกลุ่มก้อนของตนให้กระทำบางสิ่งที่ต้องการ […]

บอกเล่าความเจ็บปวดด้วยงานศิลปะ กับนิทรรศการ ‘ผิดพลาด จึงผลิบาน’ วันนี้ – 28 มี.ค. 67 ที่ 1559 Space

คำว่า ‘ผิดพลาด’ สำหรับใครหลายคนอาจตีความหมายไปในแง่ลบ แต่แท้จริงแล้ว ความผิดพลาดนั้นถือเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน ขึ้นอยู่ว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้วเราจะจมปลักอยู่กับมัน หรือลุกขึ้นสู้เพื่อเปลี่ยนความผิดพลาดให้เป็นพลังก้าวข้ามปัญหา เช่นเดียวกับ ‘นารฺซิด’ ศิลปินชาวไทยผู้ทำงานศิลปะเกี่ยวเนื่องกับตำนาน ความเชื่อ ศาสนา และการตีความ เมื่อปี 2564 เขาเลือกสลัดทิ้งความเศร้าจากการเผชิญหน้ากับปมหลายอย่างในชีวิตมาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ผสมผสานความซับซ้อนของปรัชญา ความเชื่อ และจิตวิญญาณ ถ่ายออกมาผ่านภาพวาดเชิงเปรียบเทียบด้วยประติมานทางศาสนาและสัญญะจากปกรณัมต่างๆ จนเกิดเป็นนิทรรศการ ‘ผิดพลาด จึงผลิบาน’ (Broken, thus Bloom) ผิดพลาด จึงผลิบาน เป็นนิทรรศการที่ถ่ายทอดเรื่องราวของการยอมรับถึงธรรมชาติอันเปราะบางของมนุษย์ ว่าเป็นเรื่องแสนธรรมดาที่เราต้องเผชิญหน้ากับการสูญสลายของตัวตนก่อนที่จะเริ่มเดินทางสู่ความสมบูรณ์ของจิตใจ นารฺซิดได้นำเอาแนวคิดของ Carl Gustav Jung นักจิตวิทยาชาวสวิตเซอร์แลนด์ที่พูดถึงเรื่อง ‘จิตไร้สำนึกที่สะสมมาแต่อดีตกาล’ (Collective Unconscious) มาใช้อธิบายเรื่องราวความเจ็บปวดผ่านผลงานภาพวาดทั้ง 11 ชิ้น ที่จะเป็นตัวเชื่อมโยงเรื่องราวของผู้คน และสร้างช่องว่างให้พวกเขาเติมเรื่องราวของตัวเองเข้าไปได้อีกด้วย มาร่วมเดินทางสู่ความสมบูรณ์ของจิตใจกับนิทรรศการ ผิดพลาด จึงผลิบาน (Broken, thus Bloom) ได้แล้ววันนี้ – 28 มีนาคม 2567 ที่ […]

‘ลัทธิชาตินิยามทางศาสนา’ คืออะไร ทำอย่างไรจึงจะหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง และโอบรับความแตกต่างในสังคมได้

‘ศาสนา’ คือลัทธิความเชื่อของมนุษย์ ที่อธิบายการกำเนิดและความเป็นไปของโลก หลักศีลธรรม พิธีกรรม และความเชื่อ มากไปกว่านั้น ศาสนายังเป็นดั่งเข็มทิศที่กำหนดกรอบจริยธรรมให้ผู้นับถือปฏิบัติตาม ช่วยนำทางชีวิต และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นเรื่องปกติที่ประเทศจะมีศาสนาใดศาสนาหนึ่งที่มีคนนับถือเป็นจำนวนมากกว่าศาสนาอื่นๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการนำ ‘อัตลักษณ์ทางศาสนา’ (Religious Identity) ไปหลอมรวมกับ ‘เอกลักษณ์ประจำชาติ’ (National Identity) จนเกิดเป็น ‘ลัทธิชาตินิยมทางศาสนา’ (Religious Nationalism) สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ศาสนาอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความแตกแยกและกีดกันผู้นับถือศาสนาอื่น จนอาจลามไปถึงความขัดแย้งรุนแรงได้ ในหน้าประวัติศาสตร์ร่วมสมัย หลายต่อหลายครั้งพวกเราได้เห็นผลพวงจากการนำศาสนามาใช้เป็นเครื่องมือ เช่น ในประเทศอินเดียที่พรรคการเมืองใช้วาทกรรมเหยียดศาสนาอิสลามเพื่อสร้างความนิยม และออกนโยบายเลือกปฏิบัติต่อชาวมุสลิม ‘กลุ่มรัฐอิสลาม’ หรือ ‘IS’ ที่ใช้ศาสนาอิสลามเป็นเครื่องมือรวบรวมกำลังพลและเป็นอุดมการณ์ในการก่อตั้งประเทศ และใช้ศาสนาเป็นข้ออ้างในการใช้ความรุนแรงอย่างสุดโต่งกับฝ่ายตรงข้ามและผู้เห็นต่าง และเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวมุสลิมโรฮิงญาในประเทศเมียนมาร์ที่กระทำโดยพลเมือง พระ และเจ้าหน้าที่รัฐ ที่มีบ่อเกิดความรุนแรงจากการโหมแนวคิดว่าชาวโรฮิงญาไม่ใช่ชาติพันธุ์ของประเทศเมียนมาร์ และเป็นภัยต่อศาสนาพุทธ ประเทศไทยเองก็เป็นดินแดนที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ถึงแม้จะไม่ได้มีความขัดแย้งระหว่างศาสนาอย่างชัดเจน และคนส่วนใหญ่ก็ให้ความเคารพในสิทธิการนับถือศาสนาที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม ด้วยจำนวนของชาวพุทธที่มีอย่างมากในประเทศไทย และสถานะของศาสนาพุทธที่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีบทบาทอย่างมากกับสังคม ทำให้ในบางครั้งอาจเกิดการเคลื่อนไหวที่พยายามใช้ศาสนาพุทธในการขับเคลื่อนอุดมการณ์ชาตินิยมหรือทางการเมือง และมีการสร้างความหวาดระแวงต่อกลุ่มศาสนาอื่น โดยอ้างว่าเป็นภัยต่อศาสนาพุทธและประเทศ วาทกรรมเหล่านี้เป็นอันตรายต่อความตั้งใจของประเทศในการสร้างสังคมที่อยู่ร่วมกันได้ท่ามกลางความแตกต่างหลากหลาย และเราจะมีวิธีการป้องกันอย่างไรที่จะสามารถหยุดยั้งความขัดแย้งทางศาสนาก่อนที่จะปะทุไปเป็นความรุนแรง United Nations […]

ต่างศาสนาก็อยู่ร่วมกันในที่เดียวได้ ‘Abrahamic Family House’ พื้นที่ที่รวมศาสนสถานของคริสต์ ยูดาห์ และอิสลามไว้ด้วยกัน

ใครจะคิดว่าในโลกนี้จะมีสถานที่ที่นำศาสนสถานของ 3 ศาสนาอย่างคริสต์ ยูดาห์ และอิสลาม มาอยู่รวมในพื้นที่เดียวกันที่มีขนาด 6,500 ตารางเมตรได้ ‘Abrahamic Family House’ คือชื่อเรียกของสถานที่แห่งนี้ ที่ตั้งอยู่ในย่านศิลปวัฒนธรรมบนเกาะซาดิยาต เมืองอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และได้เปิดตัวให้สาวกทั้ง 3 ศาสนาได้เข้าใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังจากมีการลงนามในเอกสารว่าด้วยภราดรภาพของมนุษย์โดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส และแกรนด์อิหม่าม อาเหม็ด อัล-ตอเยบ ให้สร้างขึ้นในปี 2019 การออกแบบครั้งนี้ถือเป็นความท้าทายอย่างมากของสตูดิโอออกแบบ ‘Adjaye Associates’ เพราะต้องออกแบบให้ทั้ง 3 ศาสนสถานมีขนาดที่เท่ากัน เพื่อให้ทุกคนมั่นใจว่าไม่มีอาคารใดในสามหลังที่โดดเด่นไปกว่ากัน และในขณะเดียวกันก็ต้องทำให้ตัวอาคารเป็นพื้นที่ที่สาวกทั้ง 3 ศาสนาอยู่ร่วมกันได้ โดยไม่ขัดกับหลักคิดและแนวทางออกแบบศาสนสถานอื่นๆ Abrahamic Family House เป็นเสมือนศูนย์กลางสำหรับการเรียนรู้และการสนทนาระหว่างศาสนา ที่พร้อมเปิดรับคนทั่วไปที่ไม่ได้นับถือศาสนาใดให้เข้ามาเยี่ยมชม ทั้งยังเป็นสถานที่ที่ใช้ประกอบพิธีทางศาสนาได้จริง โดยพื้นที่ภายใน Abrahamic Family House แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ 1) Imam Al-Tayeb Mosque […]

คุยเรื่องศาสนายังเวิร์กอยู่ไหมในหมู่คนเมือง กับ พระมหานภันต์ | Unlock the City EP.05

ธรรมะและศาสนายังเวิร์กอยู่ไหมในหมู่คนเมือง? ที่ผ่านมา ศาสนาพุทธและพระสงฆ์ได้กลายเป็นประเด็นถกเถียงในสังคมไทยมากขึ้น ทั้งในแง่ของความไม่เหมาะสม ตรวจสอบความโปร่งใสได้ยาก ทำให้มีข่าวคราวเกี่ยวกับแวดวงศาสนาให้เห็นอยู่ไม่น้อย เหตุการณ์เหล่านี้อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลให้พฤติกรรมของคนเมืองยุคใหม่ที่ดูเหมือนจะนับถือศาสนาน้อยลงเรื่อยๆ ท่ามกลางค่านิยม นโยบาย และกฎหมายที่ยังอ้างอิงกับพุทธศาสนา แล้วศาสนาต้องปรับตัวอย่างไร รัฐและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องดูแลจัดการยังไงบ้าง Unlock the City เอพิโสดนี้ ‘พนิต ภู่จินดา’ ชวนคุยกับ ‘พระมหานภันต์’ ประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันการจัดการวิถีพุทธเพื่อสุขและสันติ (มูลนิธิ สกพ.) พระสงฆ์ผู้ที่พยายามปรับและนำเสนอหลักธรรมให้มีความร่วมสมัย อย่างการไลฟ์สอนเรื่องการทำความเข้าใจความหลากหลายของสังคม และการที่พระสงฆ์ต้องปรับตัวให้ใกล้ชิดประชาชนมากขึ้น ทำให้ไม่ว่าจะเพศไหนวัยใด เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุก็ฟังได้อย่างเพลิดเพลิน แถมยังได้แง่คิดดีๆ ไปใช้ในชีวิต ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง Podbean : https://bit.ly/3uIWNdx  Youtube : https://bit.ly/3P6cq6N Apple Podcast : https://apple.co/3cchdoz Spotify : https://spoti.fi/3cbhdVS 

5 หนังและซีรีส์อินเดียท้าทายค่านิยม โชว์กึ๋นคนทำหนังแดนภารตะ

ปฏิเสธไม่ได้ว่านาทีนี้ หนึ่งในหนังที่มาแรงสุดๆ ในไทยคือ Gangubai Kathiawadi ที่ทำให้บางคนเปลี่ยนภาพจำของหนังอินเดียที่มักเป็นภาพของการร้อง เล่น เต้นข้ามภูเขาของพระนาง  ในความเป็นจริง หนังอินเดียก้าวไปไกลกว่านั้นมานานแล้ว หนังบางเรื่องจุดประเด็นถกเถียงในความเชื่อและค่านิยมเก่าๆ ในสังคม (ในที่นี้ไม่ได้บอกว่าเป็นสิ่งที่ผิดหรือถูก) ไม่ว่าจะด้านศาสนา การศึกษา อาชญากรรม และสิทธิเสรีภาพ บางเรื่องประสบความสำเร็จจนทำรายได้หลักล้านล้าน (ใช่ หลักล้านล้าน อ่านไม่ผิดหรอก) และบางเรื่องถึงขั้นโดนฟ้องร้องตอนออกฉาย อย่างไรก็ดี นี่คือโอกาสเหมาะที่เราอยากแนะนำหนังอินเดียเรื่องโปรดให้ดู เพราะเชื่อว่าหนังจากดินแดนภารตะแห่งนี้มีความ ‘ว้าว’ ที่รอให้เราไปสำรวจอีกเยอะ  01 | Gangubai Kathiawadi (2022) ไม่แปลกใจเลยสักนิดว่าทำไม Gangubai Kathiawadi ถึงมีกระแสฮือฮาในบ้านเรา เพราะนี่คือหนังหญิงแกร่งแห่งมุมไบที่เต็มไปด้วยความบันเทิงครบเครื่อง และเมสเซจอันจัดจ้าน ถึงแก่น มันเล่าเรื่องราวของ ‘คังคุไบ’ ตั้งแต่ตอนเป็นเด็กสาวที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนักแสดง กระทั่งถูกสามีหลอกไปขายให้ซ่องโสเภณี แต่ชีวิตของเธอก็ไม่ได้หยุดแค่นั้น เธอสู้ชีวิตกลับด้วยการพยายามฝ่าฟันจนกลายมาเป็นแม่เล้า มาเฟีย รวมถึงแอ็กทิวิสต์สาวสุดปังแห่งย่านกามธิปุระผู้ผลักดันสิทธิของผู้ค้าบริการและเด็กกำพร้า  อันดับหนึ่งบนเน็ตฟลิกซ์ไทยตลอดทั้งสัปดาห์คงการันตีได้ว่า Gangubai Kathiawadi เป็นหนังที่ป็อปปูลาร์มากแค่ไหนในบ้านเรา ยังไม่นับรวมการถูกคัฟเวอร์ลุคโดยดารานักร้องและแม่ค้าออนไลน์ทั่วราชอาณาจักร (ถ้าหันมาเรียกร้องสิทธิให้เซ็กซ์เวิร์กเกอร์ไทยด้วยจะดีมากๆ) ดู Gangubai […]

พระมหาเอไอ Virtual Monk ครั้งแรกในไทยที่สอนธรรม และไม่ยึดติดตัวบุคคล

ศาสนาพุทธเน้นคำสอนเรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่น รวมถึงการไม่ยึดติดในตัวตนด้วย พระมหาเอไอ – AI MONK ก็มีจุดเริ่มต้นมาจากแนวคิดนี้เช่นกัน เพราะไม่เน้นให้คนเรายึดติดกับตัวบุคคล แต่หลักธรรมต่างหากที่เป็นหัวใจสำคัญ จึงแสดงให้เห็นผ่านสโลแกนเลยว่า ‘ธรรมะคือแนวทาง ไม่ใช่อัตลักษณ์หรือตัวตน’ พระมหาเอไอจึงได้รับความสนใจจากชาวเน็ตรุ่นใหม่ เพราะภายนอกเป็น Virtual Monk หรือพระเสมือน ที่ไม่ได้เป็นพระดัง และไม่มีสังกัดสำนักใดๆ ขณะที่แก่นภายใน ยังคงหัวใจเน้นการเล่าธรรมให้คนรุ่นใหม่สนใจ ได้รับรู้อย่างไม่น่าเบื่อ เพราะเข้าใจง่าย เล่ากระชับฉับไว และมีอารมณ์ขัน เหมาะสมกับยุคสมัยและแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เนื้อหาทุกอย่างท่วมท้นรัวเร็ว “ศุกร์แล้ว จงเป็นสุขเถิด อย่าได้มีงานงอกอีกเลย เจริญพร” “อาตมาเป็นเอไอ พึ่งตัวเองกันนะโยม…” “ชีวิตคนเราก็มีแค่นี้ ตอนราคาดี…ก็ดีใจ ตอนติดดอยก็ต้องทำใจนะโยม” นี่เป็นเพียงตัวอย่างของคำสอนสนุก ที่แฝงแง่คิดย่อยง่ายๆ แบบเกตได้ทันที แถมยังเป็นมิติใหม่ ที่ตอบโจทย์คนที่อาจผิดหวังจากพระที่กระทำผิด หรือพระที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมอีกด้วย พระมหาเอไอเคยได้เผยกับสำนักไทยพีบีเอสไว้ด้วยว่า ก่อนจะมาเป็นพระมหาเอไอนั้น มีต้นแบบมาจาก Virtual Influencer ต่างประเทศ และสร้างตัวตนด้วย Computer Generated Imagery (CGI) ออกมาเป็น 2D เคลื่อนไหว […]

พุทธคือยาฝิ่น จึงใช้คอมมิวนิสต์ดับทุกข์ คุยกับอดีตเณรโฟล์ค ผู้ปลดจีวรมาจับค้อนเคียว

“ขอให้พระภิกษุโปรดจดจำว่าข้าพเจ้าคือคฤหัสถ์ ขอให้พระภิกษุโปรดจดจำไว้ว่าข้าพเจ้าคือคอมมิวนิสต์” ประโยคส่งท้ายการลาสิกขาของอดีตสามเณรโฟล์ค เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมาสร้างความงุนงงให้เราไม่น้อย ขณะที่กระแสสังคมส่วนใหญ่กำลังต่อสู้เรียกร้องเพื่อ ‘ประชาธิปไตย’ (จะมีคำสร้อยห้อยท้ายว่า “อันมีพระ…” หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นทีมกี่ข้อ)  แต่นักกิจกรรมวัย 21 ปีผู้นี้ประกาศตนว่าเขาเป็น ‘คอมมิวนิสต์’ จะเรียกว่าเป็นความกล้าหาญคงไม่ผิด แต่ในมุมมองของเรา สัดส่วนที่มากกว่าคงเป็นความบ้าบิ่น  ในเมื่อสังคมไทยยังคงถูก ‘ผีคอมมิวนิสต์’ หลอกหลอนอยู่ และยังไม่ลืมกันใช่ไหมว่าเพิ่งสี่สิบกว่าปีที่แล้วเองที่พระสงฆ์รูปหนึ่งเปล่งวจีกรรมว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” เพราะเช่นนี้ เราจึงหอบหิ้วความสงสัยไปคุยกับอดีตเณรโฟล์ค ผู้บัดนี้ละผ้าเหลือง ไม่ใช่สามเณรใต้ร่มกาสาวพัสตร์​ แต่เป็น ‘สหรัฐ สุขคำหล้า’ คอมมิวนิสต์ผู้เชื่อมั่นว่าแนวทางแบบ Buddhist Marxism จะช่วยให้ประชาชนไม่ว่าศาสนาใดพ้นทุกข์อันเกิดจากความไม่เท่าเทียม อัปเดตชีวิตก่อนดีกว่า หลังจากสึกมาได้ประมาณสิบวัน คุณเป็นอย่างไรบ้าง ประเด็นแรกเลยซึ่งเป็นเรื่องแซวกันเล่นๆ ในหมู่เพื่อนผม คือการใส่กางเกงในครั้งแรกมันรู้สึกแปลกมาก เพราะมันอึดอัด และผมรู้สึกว่าเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับผม เดี๋ยวนะ ปกติพระไม่ใส่กางเกงในกันจริงๆ เหรอ ไม่ใส่ครับ ไม่ใส่ มันจะโล่งๆ สบายๆ ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว ก็เลยแก้ปัญหาตัวเองโดยซื้อบ็อกเซอร์กับกางเกงในรัดรูปมาสองแบบ  ประสบการณ์ซื้อกางเกงในครั้งแรกเป็นอย่างไร ผมเรียกคนขายว่าโยม (หัวเราะ) […]

พุทธศาสนา ศรัทธา และนิพพาน? ใน Doc Film เรื่องธรรมกายที่เกือบไม่ได้ฉาย ‘เอหิปัสสิโก’

ครั้งแรกที่เห็นโปสเตอร์ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง ‘Come and See เอหิปัสสิโก’ ที่เป็นภาพเสี้ยวหนึ่งของวัดธรรมกายถูกบดบังด้วยเงาคนกำลังยกมือไหว้จรดหว่างคิ้ว และความหมายของคำว่า ‘เอหิปัสสิโก’ ในทางพุทธศาสนาที่หมายความว่า “ท่านจงมาดูธรรม” ชวนฉันอยากรู้อยากเห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นภายในวัดธรรมกาย และอยากพิสูจน์ผ่านภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ ในฐานะคนนอกที่รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับวัดธรรมกาย จากทั้งข่าวจริงข่าวปลอมที่เผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต ซึ่งเผยความยิ่งใหญ่ ‘เซอร์เรียล’ จนเกิดคำถามมากมายขึ้นในหัว

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.