กินอร่อยแถมสบายใจ ไม่สร้างขยะ ส่อง 600 ร้านอาหารบน ‘ร้านนี้ไม่เทรวม’ โครงการใหม่ที่ กทม.ปักหมุดร้านที่แยกขยะดี

หลังจากความสำเร็จของโครงการไม่เทรวม ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการขยะของ กทม. และลดปริมาณขยะได้อย่างต่อเนื่อง จาก 11,000 ตันต่อวันในปี 2562 เหลือ 9,000 ตันต่อวันในปีนี้ และยังช่วยลดงบประมาณในการกำจัดขยะได้ถึง 300 ล้านบาท ปีนี้ กทม.จึงทำโครงการใหม่ที่ตรงจุดมากยิ่งขึ้น โดย ‘พรพรหม วิกิตเศรษฐ์’ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร ได้อธิบายถึงระบบการจัดการขยะของ กทม.ว่า มีการแบ่งขนาดเป็น S M และ L  ไซซ์ S คือการจัดการขยะของประชาชนทั่วไปตามบ้านเรือนต่างๆ ไซซ์ M คือร้านอาหาร ส่วนไซซ์ L คือห้างสรรพสินค้าหรือสถานที่ขนาดใหญ่ที่มีขยะจำนวนมาก ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีร้านอาหารกว่า 200,000 ร้าน และเป็นแหล่งกำเนิดขยะจำนวนไม่น้อย กทม.จึงเข้าไปดูแลขยะหลังครัวและหลังกินจากการแยกขยะตั้งแต่ต้นทางผ่านโครงการ ‘ร้านนี้ไม่เทรวม’ ที่ร่วมมือกับร้านอาหารที่มีการจัดการขยะถูกต้อง พร้อมปักหมุดร้านที่เข้าร่วมโครงการบนเว็บไซต์ Greener Bangkok เพื่อให้ทุกคนเลือกอุดหนุนร้านที่แยกขยะดีๆ กันได้ง่ายขึ้น นอกจากเป็นการชี้เป้าร้านอาหารที่แยกขยะได้ดีแล้ว โครงการนี้ยังช่วยคาดการณ์ปริมาณขยะที่เกิดจากร้านอาหารและงบประมาณในการจัดการขยะอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมขยะรูปแบบใหม่ของกรุงเทพมหานครที่จะเริ่มใช้ในเดือนตุลาคม 2568 ตามประเภทผู้ก่อขยะ […]

Alive Arrive Hua Lamphong Journey Map ลายแทงตามหาร้านอร่อยในย่านหัวลำโพง พร้อมเก็บตัวปั๊มคำอวยพรจากคนในย่าน

‘หัวลำโพง’ เป็นอีกหนึ่งย่านน้องใหม่น่าจับตามองประจำงานเทศกาล Bangkok Design Week 2024 จาก ‘เครือข่ายชาวหัวลำโพง’ ที่เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้ประกอบการ คาเฟ่ โฮสเทล ร้านค้า บ้านศิลปิน นักออกแบบ และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กที่อาศัยหรือทำงานในพื้นที่ โดยมีหมุดหมายที่ต้องการสร้างการจดจำใหม่ให้กับย่านและสร้างสรรค์ให้พื้นที่แห่งนี้กลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากการย้ายสายรถไฟและพนักงานเกือบทั้งหมดไปยังสถานีกลางบางซื่อ ในธีมง่ายๆ อย่าง ‘การเปิดบ้าน’ เพื่อสื่อถึงการเปิดบ้านต้อนรับคนใหม่ๆ และโอกาสใหม่ๆ รวมไปถึงการเปิดประตูบ้านของชุมชนให้มาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันด้วย และหนึ่งในกิจกรรมที่เราหยิบยกมาชวนทุกคนไปสำรวจกันคือ ‘Alive Arrive Hua Lamphong Journey Map’ แผนที่ตามหาความอร่อย ซึ่งเป็นหนึ่งส่วนเล็กๆ แสนสำคัญที่เปิดโอกาสให้เจ้าบ้านย่านหัวลำโพงได้เปิดบ้านต้อนรับกลุ่มคนใหม่ๆ เพื่อทำความรู้จัก รับฟังเรื่องเล่า และกระตุ้นให้ย่านกลับมามีสีสันอีกครั้ง เพราะนอกจากจุดจัดเทศกาลกว่า 10 จุดทั่วทั้งย่านแล้ว ภายในหัวลำโพงยังประกอบไปด้วยร้านค้าและร้านอาหารรสเลิศจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นอาหารจีน อาหารอีสาน อาหารฮาลาล ไปจนถึงเครื่องดื่มและของหวาน เปิดให้บริการทั่วทั้งซอยพระยาสิงหเสนีและชุมชนตรอกสลักหิน ยาวไปจรดถนนเจริญเมือง นอกจากตัวแผนที่ที่มาพร้อมกับหมุดร้านอาหาร 15 แห่งในพื้นที่และจุดจัดกิจกรรมในเทศกาลฯ ต่างๆ แล้ว เรายังจะได้รับสติกเกอร์องค์ประกอบย่านหัวลำโพงและกระดาษรูปโคมจีนสำหรับบันทึกคำอวยพรจากร้านค้า ที่ไม่ว่าไปเยือนร้านไหนก็จะมีตราปั๊มคำอวยพรที่แตกต่างกันไป รอให้เราเดินไปปั๊มเก็บเป็นที่ระลึก […]

Neighborhood เปลี่ยนตึกเก่า 3 ชั้นย่านช้างม่อย ให้กลายเป็นสเปซกิน-ดื่มสุดชิกของเมืองเชียงใหม่

ถนนช้างม่อยเป็นถนนเส้นที่เราคุ้นเคยตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษา เพราะทุกครั้งที่เดินทางมาหาซื้อของฝากที่กาดหลวง (ตลาดวโรรส) หาอะไรกินแถวตลาดสันป่าข่อย หรืออยากมานั่งปล่อยใจริมแม่น้ำปิง เราย่อมต้องขับผ่านถนนเส้นนี้ และภาพจำที่เรามีต่อช้างม่อยคือย่านที่คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร และร้านขายงานคราฟต์ของคนในชุมชน จากที่เคยคึกคักอยู่แล้ว หลายปีมานี้ช้างม่อยคึกคักกว่าที่เคย เพราะมีร้านรวงใหม่ๆ ผุดขึ้นมาเรียกนักท่องเที่ยวและคนในท้องที่ให้มาเตวแอ่ว เช็กอิน อัปสตอรีกันไม่หวาดไม่ไหว ร้านขายของชำที่รวมของดีๆ จากท้องถิ่นไทย The Goodcery หรือร้านหนังสือสีเขียวที่มีแมวสามตัวเฝ้าอยู่อย่าง Rare Finds Bookstore and Cafe คือตัวอย่างที่เราเคยไป และบอกได้เลยว่าทีเด็ดของช้างม่อยยังไม่หมดเท่านี้หรอก เพราะตอนนี้ช้างม่อยมีร้านใหม่ที่ดึงดูดให้เราแวะไปอีกร้าน อันที่จริงจะใช้คำว่าร้านก็ไม่ถูกนัก เพราะ Neighborhood เป็นคอมมูนิตี้สุดชิกที่รวมร้านอาหาร ร้านกาแฟ บาร์ เวิร์กสเปซ และพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมไว้ในที่เดียว ซึ่งในฐานะคนเชียงใหม่ ไม่บ่อยนักที่เราจะเห็นสเปซแบบนี้เกิดขึ้น ลมหนาวที่เชียงใหม่กำลังพัดเย็นสบาย เป็นอีกครั้งที่เราเดินเลียบถนนช้างม่อยในยามสาย แล้วมาหยุดอยู่ตรงหน้าคอมมูนิตี้สเปซแห่งนี้ ท่ามกลางเสียงเครื่องทำกาแฟและกลิ่นพิซซาเตาฟืนหอมกรุ่น ‘เดียร์’ และ ‘พิม’ สองสาวผู้เป็นหุ้นส่วนของที่นี่กำลังนั่งรอเราอยู่บนชั้นสอง เปลี่ยนตึกเก่าเป็นคอมมูนิตี้ Neighborhood ไม่ได้เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของสองสาวเท่านั้น แต่หุ้นส่วนที่นี่มีอีกสี่คน ได้แก่ ‘เจมส์’ ‘เจมี่’ ‘อู๋’ และ […]

‘โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ณ ประชาธิปไตย’ ตำนานร้านอาหารเช้าโดยทายาทรุ่น 4 ที่อยากเพิ่มพื้นที่และบทสนทนาระหว่างมื้ออาหาร

เช้าวันหยุดเราเดินทางออกจากบ้านตั้งแต่เช้า ก่อนจะมุ่งหน้าไปยังถนนประชาธิปไตยในฝั่งพระนคร รู้ตัวอีกทีเราก็ยืนอยู่หน้าบ้านสไตล์วินเทจสีเหลืองนวลที่มีต้นไม้เขียวขจีแซมอยู่ตามจุดต่างๆ เป็นบรรยากาศที่ทำให้รู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลายตั้งแต่แรกเห็น เมื่อเงยหน้าขึ้นไปบริเวณชั้นสองของอาคารก็จะเห็นป้ายตัวอักษรสีเหลืองขนาดใหญ่เขียนว่า ‘โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ณ ประชาธิปไตย’ ใช่แล้ว ที่นี่คือสาขาใหม่ของร้านโกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ตำนานร้านอาหารเช้าที่อยู่คู่วิถีชีวิตคนกรุงเทพฯ มาหลายทศวรรษ ทำให้หลายครั้งที่เราพูดถึงร้านกาแฟโบราณ ชื่อของร้านโกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่จะต้องติดอยู่ในลิสต์อันดับต้นๆ ของใครหลายคน แต่สิ่งที่ทำให้โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ณ ประชาธิปไตย แตกต่างจากสภากาแฟทั่วไปคือการออกแบบร้านให้โมเดิร์นขึ้น แถมเฟอร์นิเจอร์และสีที่ใช้ตกแต่งยังช่วยสร้างบรรยากาศโฮมมี่ เหมาะกับการนั่งจิบกาแฟเพลินๆ ไม่เหมือนกับสภากาแฟแบบดั้งเดิมที่เน้นเสิร์ฟอาหารเพื่อความสะดวกรวดเร็ว ความอบอุ่นตลบอบอวลในบ้านหลังนี้ เพราะ ‘กั๊ก-สุวิชชาญ คมนาธรรมโกมล’  ทายาทรุ่นที่ 4 ร้านโกปี๊เฮี้ยะไถ้กี่เล่าให้เราฟังระหว่างทัวร์ร้านในวันนี้ว่า เขาอยากให้ลูกค้าที่เข้ามาทานอาหารรู้สึกเหมือนได้ทานข้าวอยู่บ้าน และพูดคุยแลกเปลี่ยนกันท่ามกลางบรรยากาศใหม่ๆ ขณะเดียวกัน เขาตั้งใจถ่ายทอดเรื่องราวและเสน่ห์ความเก่าแก่ของโกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ให้กับผู้มาเยือนทุกกลุ่มและทุกวัย “ปรับในสิ่งที่ควรปรับ เปลี่ยนในสิ่งที่ควรเปลี่ยน เก็บในสิ่งที่ควรเก็บ” คือแนวคิดในการทำธุรกิจของโกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ที่กั๊กย้ำกับเราตลอดบทสนทนานี้ ตำนานความอบอุ่นคู่พระนคร กั๊กเล่าย้อนให้เราฟังว่า โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่สาขาแรกเปิดให้บริการเมื่อ ค.ศ. 1952 แรกเริ่มเดิมทีถูกเรียกว่า ‘ร้านโชห่วย’ ที่มีกาแฟและชาขายอยู่ในมุมเล็กๆ มีพื้นที่ให้ลูกค้านั่งดื่มเพียง 3 โต๊ะเท่านั้น จากนั้นเป็นต้นมา โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ได้ยืนหยัดอยู่คู่ชาวพระนคร ผ่านทุกรอยต่อของกาลเวลา การเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่ทิศทางการขับเคลื่อนของสังคม และดำเนินกิจการอย่างต่อเนื่องมานานถึง 71 […]

สีสันบรรทัดทอง – ไฟและฟอนต์บนป้ายร้านรวงสีสัน

ถนนบรรทัดทองเต็มไปด้วยร้านอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นร้านดังเก่าแก่หรือร้านใหม่ๆ นอกจากรสชาติอาหารเด็ดโดนลิ้น แต่ละร้านล้วนแข่งขันกันเรียกลูกค้าด้วยป้ายไฟสีสันสดใส ดีไซน์เก๋ๆ เพื่อดึงดูดสายตาทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ‘ป้ายไฟหน้าร้าน’ ถือเป็นสิ่งที่ลงทุนแล้วคุ้มค่า ยิ่งป้ายไฟสว่างแค่ไหน ยิ่งทำให้หน้าร้านมีความสวยงาม โดดเด่นมาแต่ไกล ลูกค้าสังเกตเห็นร้านค้าง่ายขึ้น กระตุ้นให้อยากลิ้มลองรสชาติอาหารของร้าน ขณะเดียวกัน บรรทัดทองยังเป็นย่านใกล้ออฟฟิศ ห้างสรรพสินค้า และมหาวิทยาลัย ทำให้คนที่สัญจรไปมาแถวนั้นมีจำนวนมาก การแข่งขันจึงสูงตามไปด้วย จึงไม่แปลกใจถ้าเราจะเห็นร้านอาหารหน้าใหม่ที่เปิดตัวพร้อมป้ายร้านขนาดใหญ่ ตกแต่งแบบจัดเต็ม แฝงไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ใครแวะไปแถวนั้น กินข้าวเสร็จแล้วลองไปเดินเล่นย่อยอาหาร สังเกตหน้าร้านรวงกันได้ เพลินดีทีเดียว หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes ส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Marimekko Kafé ไลฟ์สไตล์สเปซ ที่เสิร์ฟประสบการณ์และอาหารไทย-ฟินนิช บริเวณชั้น 1 ศูนย์การค้าดิ เอ็มโพเรียม

ใครๆ ล้วนรู้จัก ‘Marimekko’ (มารีเมกโกะ) ในฐานะแบรนด์ไลฟ์สไตล์สัญชาติฟินแลนด์ ที่เป็นที่จดจำจากสีสันสดใสกับลวดลายดอกไม้ แต่หลังจากครองใจผู้คนมานานกว่า 8 ปี ทางแบรนด์ก็ฉลองความสำเร็จด้วยการเปิดตัว ‘Marimekko Kafé’ (มารีเมกโกะ คาเฟ่) ไลฟ์สไตล์สเปซที่จะมาเชื่อมต่อแรงบันดาลใจ ผ่านการครีเอตพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ได้สัมผัสกับการใช้ชีวิตแบบฉบับมารีเมกโกะ มารีเมกโกะ คาเฟ่ เตรียมพร้อมเสิร์ฟประสบการณ์คาเฟ่และร้านอาหารสไตล์โฮมมี่ ภายใต้คอนเซปต์ ‘Comfort Food, Clean & True with Essential Ingredients’ ที่ผสมผสานกลิ่นอายไทย-ฟินนิช พร้อมสมดุลทางโภชนาการอย่างลงตัว และศิลปะบนโต๊ะอาหารจาก Home Collection ของมารีเมกโกะ นอกจากบรรยากาศสเปซที่ทางมารีเมกโกะพยายามดีไซน์ให้อบอุ่นเหมือนมานั่งทานข้าวบ้านเพื่อน และสร้างแรงบันดาลใจผ่านศิลปะการตกแต่ง ที่นี่ยังมีห้องสมุดขนาดเล็ก กับมุมสำหรับเวิร์กช็อปย่อมๆ ที่ตกแต่งอย่างเรียบง่ายแต่แฝงความสนุกเหมือนทุกคนเข้ามาอยู่ใน Witty Girl’s Home Studio ด้วย อีกจุดเด่นของที่นี่คือ การนำเสนอบรรยากาศและไลฟ์สไตล์ภายใต้คอนเซปต์ ‘Witty Girl Playground’ โดย ‘พลอย จริยะเวช’ ผู้เชี่ยวชาญด้านไลฟ์สไตล์ที่เข้ามาเป็นที่ปรึกษาด้านคอนเซปต์ โดยหยิบเอาแบรนด์มารีเมกโกะมาตีความสร้างสรรค์ Marimekko […]

Little Stove & Little Stump สนามเด็กเล่นและคาเฟ่ที่อยากให้ครอบครัวใช้เวลาคุณภาพร่วมกัน

กลิ่นขนมปังอบสดใหม่ลอยจางๆ ในอากาศ ลาเต้ร้อนแก้วหนึ่งวางอยู่ตรงหน้า เรายกขึ้นจิบเชื่องช้า ละเลียดรสขมจากกาแฟที่เบลนด์กับความหวานของน้ำผึ้งได้พอดี ความง่วงงุนจากการออกเดินทางแต่เช้าหายเป็นปลิดทิ้ง “เดือนนี้มีวันพิเศษคือวันผึ้งโลก เราอยากให้เด็กๆ เรียนรู้ว่าผึ้งเป็นสัตว์ที่สำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ในส่วนของสนามเด็กเล่นจะมีเวิร์กช็อปที่สอนเด็กๆ เรื่องนี้ ส่วนคาเฟ่ก็จะทำเมนูที่อินสไปร์ควบคู่ไปด้วยกัน” หญิงสาวคนคิดเมนูอธิบายให้ฟัง หญิงสาวคนนี้คือ ‘พีช-วงศ์ณิชา วงศ์สืบชาติ’ หุ้นส่วน ‘คาเฟ่’ ที่เสิร์ฟกาแฟให้เรา ส่วนที่นั่งข้างกันคือ ‘พราว พุทธิธรกุล’ หุ้นส่วน ‘สนามเด็กเล่น’ ที่เพิ่งถูกพูดถึง Little Stove & Little Stump คือชื่อของคาเฟ่และสนามเด็กเล่นแห่งนี้ และถึงแม้จะตั้งชื่อแยกกันชัดเจน ทว่าทั้งสองร้านตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน นั่นคือลานกว้างริมคลองบางมดในย่านพระราม 2 ที่มีต้นไทรเก่าแก่ตั้งอยู่เด่นหรา รายล้อมไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ ไม่ผิดแน่ว่าเป็นความตั้งใจ พวกเธออยากให้ทุกคนในครอบครัวได้มีพื้นที่ใช้เวลาร่วมกันได้ แต่มากกว่านั้น-ในฐานะแม่ของลูก-พวกเธออยากให้ผู้ใหญ่ไม่พลาดโมเมนต์สำคัญของเด็ก เช้าวันนี้ที่ไร้เสียงเจี๊ยวจ๊าวของน้องๆ เราเอ่ยปากขอให้พวกเธอพาทัวร์คาเฟ่และสนามเด็กเล่นพร้อมกับเล่าเรื่องราวเบื้องหลัง ท่ามกลางกลิ่นขนมปังอบสดใหม่และสีเขียวของพรรณไม้ Little Bond ย้อนกลับไปหลายปีก่อน พีชกับพราวรู้จักกันผ่านสามีที่เป็นเพื่อนกัน ทั้งคู่เจอกันบ่อยจนกลายเป็นเพื่อนสาวคนสนิท แชร์ความชอบ ความฝัน และเรื่องราวในชีวิตประจำวันให้กัน ยิ่งได้มีลูกในระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกันก็ยิ่งเข้าอกเข้าใจกันและกันมากขึ้น หนึ่งในความฝันที่ทั้งสองคนแชร์กันบ่อยๆ คือ ถ้ามีลูก […]

The Goodcery ร้านโชห่วยแบบ Selected Shop ที่อยากให้คนเชียงใหม่ได้ชิมของกิ๋นดีๆ จากท้องถิ่นไทย

ถึงคุณจะไม่ใช่คนที่เดินเข้าร้านขายของชำบ่อยๆ หรือเข้าไปทีก็ไม่ได้ใช้เวลาอ้อยอิ่งอยู่ในร้านนานๆ แต่ถ้าได้รู้จัก ‘The Goodcery’ คุณอาจจะเปลี่ยนใจ ไม่ใช่แค่เพราะร้านขายของชำเชียงใหม่ร้านนี้ออกแบบร้านให้ช้อปสนุก เห็นอะไรก็อยากกินอยากซื้อไปเสียหมด แต่ The Goodcery ทลายกรอบของร้านขายของชำเดิมๆ ไปแบบไม่เหลือเค้า ตั้งแต่ชื่อร้าน The Goodcery ที่มาจากคำว่า Grocery Store หรือ ‘ร้านโชห่วย’ ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่าห่วยในภาษาไทย ร้านจึงหยิบคำที่มีความหมายตรงข้ามคือ ‘ดี’ หรือ Good ที่พ้องเสียงกับคำว่า Goods (สินค้า) อีกทีมาตั้งเสียเลย ถ้าถามว่าร้านมี ‘ดี’ อะไรบ้าง อย่างแรกคงเป็นสินค้าภายในร้านที่ไม่เหมือนกับร้านขายของชำร้านไหน เพราะ ‘น้ำตาล-ภัทรานิษฐ์ ศรีจันทร์ดร’ หนึ่งในหุ้นส่วนเลือกเองกับมือ โดยกำหนดเงื่อนไขไว้หลวมๆ ว่าจะต้องเป็นของโลคอลจากฝีมือชาวบ้านตัวเล็กๆ ในท้องถิ่น เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ที่สำคัญคือไม่ใช่สินค้าที่เราเห็นได้ตามห้างฯ ใหญ่ ดีอย่างที่สอง คงยกให้ไวบ์สของร้านที่ก้าวเข้ามาแล้วรู้สึกว่าไม่ได้อยู่ในร้านขายของชำเลย แต่เป็นคาเฟ่ที่มีกาแฟ ขนมปัง อาหารพร้อมเสิร์ฟ แถมยังนั่งทำงานได้ตลอดทั้งวัน (ซึ่งเราทำแบบนั้นได้จริงๆ) The Goodcery สร้าง ‘ดี’ […]

ลิ้มรสอาหารฝรั่งเศสแท้ๆ ที่ 14 ร้านอาหารทั่วกรุงเทพฯ

ในเดือนแห่งเทศกาลแสนอบอุ่นนี้ เราอยากชวนทุกคนไปเพลิดเพลินกับอาหารฝรั่งเศสรสชาติต้นตำรับในบรรยากาศที่ทันสมัยและเป็นกันเองสุดๆ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยได้จัดเทศกาลอาหารฝรั่งเศสครั้งใหญ่ชื่อว่า Good Food : Christmas Edition ที่ชวนเชฟชาวไทยและต่างชาติจาก 25 ร้านอาหารทั่วประเทศไทย มาร่วมปรุงเมนูฝรั่งเศสแท้ๆ ในธีมคริสต์มาสให้เหล่านักชิมอาหารและคนที่รักประเทศนี้ได้ลิ้มรสกันตลอดทั้งสัปดาห์ แม้ว่าเทศกาล Good Food : Christmas Edition จะจบลงไปแล้ว แต่ใครที่พลาดก็ไม่ต้องเสียใจไป เพราะว่าคอลัมน์ Urban Guide ได้รวบรวม 14 ร้านอาหารฝรั่งเศสทั่วกรุงเทพฯ ที่พร้อมเสิร์ฟอาหารฝรั่งเศสสุดคลาสสิกตลอดปีแบบที่ไม่ต้องบินไปกินไกลถึงต่างประเทศ ใครจะปักหมุดร้านเอาไว้ไปเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสช่วงปลายปี หรือจดลงลิสต์ไว้แวะเวียนไปชิมอาหารในวันสบายๆ ช่วงปีหน้าก็ไม่ติด ร้านที่เราคัดสรรมามีตั้งแต่บาร์เล็กๆ เหมาะกับการสังสรรค์ ร้านอาหารที่ใช้วัตถุดิบออร์แกนิกจากแหล่งผลิตท้องถิ่นของไทย บุฟเฟต์อาหารนานาชาติ รวมถึงห้องอาหารบนชั้นดาดฟ้าที่ปรุงอาหารด้วยวัตถุดิบนำเข้าสุดพรีเมียม 01 | Cagette Canteen & Deli เริ่มกันที่ Cagette Canteen & Deli ตั้งอยู่บนถนนเย็นอากาศ ใจกลางย่านสาทร ที่เป็นให้ทุกอย่างแล้ว ตั้งแต่ร้านอาหารฝรั่งเศสรสเลิศ ร้านขายของชำ และห้องเก็บไวน์ หากใครต้องการลิ้มรสอาหารฝรั่งเศสแบบต้นตำรับในกรุงเทพฯ […]

ลาบเสียบ Jim Thompson Art Center ร้านกับแกล้มอีสานฟิวชันที่อยากเป็นพื้นที่เปิดบทสนทนาให้คนกรุง

ท้องฟ้ายามเย็นกำลังระบายสีส้มอ่อน เราเดินขึ้นบันไดไปสู่ชั้นดาดฟ้าของ Jim Thompson Art Center พลางถอดเสื้อตัวนอกออกเพื่อรับลม พื้นที่ข้างบนนี้กว้างขวาง เงียบสงบ บรรยากาศเหมาะกับการสูดอากาศ จิบเครื่องดื่มเย็นๆ แล้วคุยเรื่อยเปื่อยกับใครสักคน และนั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้มีร้านค้ามาตั้งอยู่ตรงนี้ ‘ร้าน’ ที่เราพูดถึงคือลาบเสียบ ร้านกับแกล้มอีสานฟิวชันที่ไม่ได้เป็นคนแปลกหน้าสำหรับคนในวงการกินดื่มแต่อย่างใด ร้านแห่งแรกก่อตั้งในปี 2563 โดย ‘ฝ้าย-อาทิตย์ มูลสาร’ ชายหนุ่มผู้เปลี่ยนโฮมสตูดิโอในซอยวัดลาดปลาดุกให้เป็นแหล่งสังสรรค์ใหม่ของชาวกรุง ด้วยการเสิร์ฟลาบเสียบไม้ย่างใหม่ๆ คู่กับเครื่องดื่มเย็นฉ่ำ  ย่างไปย่างมาได้สองปี ลาบเสียบก็คิดถึงการขยายกิจการสู่สาขาใหม่ แต่อาทิตย์เกรงว่าจะดูแลทั้ง 2 สาขาไม่ไหว จึงเปลี่ยนแผนเป็นย้ายร้านมาอยู่บนดาดฟ้าของ Jim Thompson Art Center แทน บาร์สีเลือดหมูเปิดโล่งให้ความรู้สึกคล้ายร้านอิซากายะสไตล์ญี่ปุ่น ตกแต่งด้วยอุปกรณ์ในครัวของคนอีสานบ่งบอกว่าเรามาไม่ผิดที่ ในแสงสีส้มของอาทิตย์ยามเย็น อาทิตย์ที่เป็นเจ้าของร้านเดินเข้ามาต้อนรับด้วยรอยยิ้ม เขารับออเดอร์อย่างเป็นมิตรและส่งต่อให้คนครัวรังสรรค์อย่างพิถีพิถัน ช่วงเวลารอลาบเสียบให้สุกนั้น เรามีโอกาสได้นั่งคุยกับเขาเรื่องการทำร้านและการผลักดันอาหารอีสานไปสู่ขอบเขตใหม่ๆ “พอพูดคำว่าลาบเสียบ ถ้าไม่ได้มาเห็นกับตา มากินกับปาก คนทั่วไปอาจนึกภาพไม่ออกว่าลาบเสียบเป็นยังไง ถ้าให้นิยาม คุณจะนิยามแบบไหน” คือคำถามของเราในวันนั้น และต่อจากนี้คือคำตอบสุดนัวจากปากของชายเจ้าของร้าน ลาบเสียบคือร้านกับแกล้ม สันนิษฐานแรกตอนได้ยินคำว่าลาบ เราคิดถึงเมนูลาบอีสานในร้านอาหารทันที แต่อาทิตย์ยืนยันกับเราว่า “ลาบเสียบไม่ใช่ร้านอาหารที่จะมากินเอาอิ่ม” […]

ไขปัญหา Service Charge ไม่จ่ายกรณีไหนได้บ้าง

หากเราไม่ประทับใจบริการของร้านค้า ขอเลือกไม่จ่ายค่า Service Charge ได้หรือไม่ จากประเด็นสังคมเกี่ยวกับ ‘Service Charge’ หรือการเรียกเก็บเงินค่าบริการลูกค้าในอัตราประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของราคาสินค้า ที่ส่วนใหญ่มักจะพบเห็นบ่อยๆ ในธุรกิจสายบริการโดยเฉพาะร้านอาหาร หากลูกค้ารู้สึกว่าไม่ได้รับการใส่ใจหรือบริการพิเศษจากทางร้านเท่าที่ควร พวกเราสามารถปฏิเสธจ่ายค่า Service Charge ได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือเปล่า และต่างประเทศมีเหมือนเราไหม วันนี้ Urban Creature จะไปหาคำตอบกัน Service Charge เหมือน Tip ไหม แรกเริ่มชวนเข้าใจความหมายของ Service Charge กันก่อน อ้างอิงจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือค่าบริการพิเศษที่ผู้ประกอบธุรกิจเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายต่างๆ ในการรับประทานอาหารในร้าน ยกตัวอย่างค่าบริการดังกล่าว เช่น ล้างจาน เก็บโต๊ะ เสิร์ฟอาหาร หรือทำอาหารให้เรากิน ซึ่งค่า Service Charge ที่ลูกค้าจ่ายทั้งหมด ส่วนหนึ่งนำมาแบ่งเป็นรายได้ให้กับพนักงานทุกคนในแต่ละเดือน แตกต่างจากทิป (Tip) เป็นสินน้ำใจที่ลูกค้าให้โดยความสมัครใจ หรือบางร้านถือว่าทิปนั้นเป็นค่าตอบแทนที่พนักงานจะได้รับโดยตรง Service Charge […]

ห้องน้ำสวย บอกต่อด้วย toiletness แอ็กเคานต์อินสตาแกรม ชี้เป้าห้องน้ำสวยตามสถานที่ต่างๆ

เราเชื่อว่าต้องมีคนจำนวนไม่น้อยที่เวลาไปร้านอาหาร เข้าคาเฟ่ หรือแฮงเอาต์ตามสถานที่เก๋ๆ แล้วชอบเข้าห้องน้ำไปถ่ายภาพเซลฟี่หน้ากระจก ตัวเองสวยเป็นหนึ่งเหตุผล แต่อีกเหตุผลคือห้องน้ำเองก็สวยมากจนอยากมีแบบนี้ที่บ้าน เพราะน่าจะอยากแบ่งปันห้องน้ำสวย บอกต่อด้วย ถึงมีคนทำ toiletness แอ็กเคานต์อินสตาแกรมที่มาชี้เป้าห้องน้ำสวยตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะร้านอาหาร คาเฟ่ บาร์ ห้างสรรพสินค้า แกลเลอรี หรือกระทั่งสถานที่งงๆ ก็ยังมี “เวลาไปสถานที่ต่างๆ เรามักชอบสังเกตการออกแบบและการตกแต่งอยู่แล้ว เพราะพื้นฐานเคยเป็นนักเรียนออกแบบ และคิดว่าอีกหนึ่งจุดสร้างประสบการณ์ที่สำคัญ (Touchpoint) ภายในสถานที่คือ ‘ห้องน้ำ’ “เราเริ่มถ่ายรูปห้องน้ำจากสถานที่ต่างๆ มาสักพักแล้ว จนมีเพื่อนบอกให้ลองสร้างเป็น คลังไว้แชร์กับคนอื่นด้วย ก็เลยเริ่มมีแรงจูงใจอยากเก็บภาพห้องน้ำที่มีสไตล์การออกแบบเฉพาะตัว เปิดเป็นแอ็กเคานต์อินสตาแกรมขึ้นมา ความรู้สึกตอนนั้นคือถึงไม่มีคนเห็นหรือสนใจ แอ็กเคานต์นี้ก็ถือเป็น Journal ส่วนตัวของเราแล้วกัน แต่สรุปว่ามีเพื่อนหลายคนทักมาบอกว่าชอบสะสมภาพถ่ายห้องน้ำเหมือนกัน เวลาไปไหนแล้วต้องแวะไปดู เราก็รู้สึกว่าเราไม่ได้บ้าห้องน้ำไปคนเดียว” เจ้าของแอ็กเคานต์ toiletness เล่าให้เราฟัง ห้องน้ำไฟสีแดงซาบซ่านใน Mod Kaew Wine Bar ห้องน้ำสไตล์ปูนเปลือยใน Nangloeng Shophouse ห้องน้ำดาร์กๆ อย่างกับห้องน้ำในภาพยนตร์ที่ Eat Me Restaurant ฯลฯ […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.