กางสถิติจำนวนรถยนต์ในกรุงเทพฯ​ เมืองที่มีรถมากกว่าคนแบบเท่าตัว

นอกจากวัด วัง แม่น้ำเจ้าพระยาที่เปี่ยมด้วยชีวิตชีวา และสตรีทฟู้ดอันยั่วน้ำลาย อีกสิ่งอย่างที่คนนึกถึงเมื่อพูดถึงกรุงเทพฯ ก็คือ ท้องถนนที่หนาแน่นแออัดไปด้วยรถยนต์แบบสุดลูกหูลูกตา เนื่องจากกรุงเทพฯ ขาดการพัฒนาเมืองอย่างเป็นแบบแผน เมืองเต็มไปด้วยซอยตันลึกแคบ ซึ่งกว่าจะเดินด้วยเท้าไปถึงขนส่งมวลชนสาธารณะได้ก็แสนจะยากเย็น แถมเมืองไม่ได้ออกแบบให้เป็นมิตรกับคนเดินเท้าอีก ผู้คนเลยกรูไปใช้รถยนต์ในการเดินทางกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ใน พ.ศ. 2565 เว็บไซต์ INRIX วิเคราะห์ว่า คนกรุงเทพฯ หนึ่งคนเสียเวลาเดินทางบนท้องถนนเฉลี่ยมากถึง 67 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 2 ของเอเชีย น่าสนใจเหมือนกันว่า จริงๆ แล้วกรุงเทพฯ มีรถเยอะจริงไหม แล้วบรรดารถยนต์ที่เบียดเสียดในกรุงเทพฯ เป็นรถยนต์แบบไหนบ้าง คอลัมน์ City by Numbers ครั้งนี้เลยขอเอาข้อมูลรถยนต์จดทะเบียนสะสมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566 จากกลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก มากางให้หายสงสัย กรุงเทพฯ รถเยอะกว่าคน จากสถิติจำนวนรถจดทะเบียนสะสมในกรุงเทพมหานคร วันที่ 31 ธันวาคม ปี 2566 พบว่า กรุงเทพฯ มีจำนวนรถจดทะเบียนทั้งหมด 11,791,220 […]

คุยเรื่องผังเมืองกับ รศ. ดร.นพนันท์

กรุงเทพฯ เมืองเทพสร้างที่มีปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นรถติด น้ำท่วม ซอยตัน และไม่มีทีท่าว่าปัญหาเหล่านี้จะหายไปสักที อาจเพราะเทพไม่ได้ร่างแผนผังเมืองไว้ก่อน “ปัญหาของเราคือขาดช่วงของการทำงานด้านผังเมืองในช่วงที่มันมีการเติบโตสูงที่สุดของกรุงเทพฯ” Urban Creature คุยกับ รศ. ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักวิชาการจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำ ‘ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 4’ ถึงความสำคัญของผังเมืองและต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้นมากมายจนสะท้อนไปถึงภาพลักษณ์ของประเทศไทย อ่านในรูปแบบบทความได้ที่ : urbancreature.co/city-plan-with-noppanan/

คลี่คลายทุกความสงสัยเรื่องผังเมืองกับ ‘นพนันท์ ตาปนานนท์’

เมื่อไม่นานมานี้ ประเด็นเรื่องผังเมืองรวม กทม. กลายเป็นประเด็นร้อนแรงปลุกให้คนกรุงเทพฯ หันมาสนใจว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้น ทำไมคีย์เวิร์ด ‘ผังเมืองใหม่เอื้อกับนายทุน’ โผล่มาให้เห็นบ่อยๆ ตามสื่อโซเชียลมีเดีย จนทำให้ กทม.แถลงชี้แจง และขยายระยะเวลารับฟังความคิดเห็นของประชาชนไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ และแน่นอนว่าในฐานะคนเมือง เราย่อมได้ยินคำว่าผังเมืองอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาพูดถึงปัญหาเมืองเรื้อรังที่แก้ไขไม่ได้ เช่น รถติด การเดินทางไม่สะดวก หรือกระทั่งเรื่องอากาศร้อน Urban Creature ชวน ‘รศ. ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์’ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักวิชาการจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำ ‘ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 4’ มาให้ความเข้าใจถึงเรื่องผังเมืองอย่างง่ายๆ ว่าคืออะไร และปัจจัยนี้เป็นสาเหตุของหลายปัญหาเมืองจริงไหม ลองไปหาคำตอบจากบทสัมภาษณ์นี้กัน ในเชิงวิชาการ คำว่า ‘ผังเมือง’ มีความหมายว่าอย่างไร ถ้าให้ผมสรุปสั้นๆ ผังเมืองเป็นการกำหนดภาพอนาคตของเมือง เป็นกายภาพ มองเห็น จับต้องได้ เพื่อรู้ว่าเมืองนี้มีภาพในอนาคตข้างหน้าเป็นอย่างไร หน่วยงานภาครัฐใช้ภาพนี้ดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ขนส่ง สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ส่วนเมืองมีการพัฒนาโดยภาคเอกชนและประชาชน คือ การสร้างที่อยู่อาศัย การสร้างอาคารพาณิชย์ […]

จัดอันดับจุดเช็กอิน ‘รถติด’ ในกรุงเทพฯ

ถนนกรุงเทพฯ ครั้งหนึ่งเคยขึ้นชื่อเรื่องรถติดที่สุดในโลกมาแล้ว ไม่ว่าใครก็ปวดใจหากอยู่ในสถานการณ์ติดไฟแดงบนถนนเป็นเวลาหลายชั่วโมง มิหนำซ้ำรายงานจาก TOMTOM องค์กรผู้ให้บริการข้อมูลทางสัญจรทั่วโลกยังเผยว่า ปี 2564 คนกรุงเทพฯ เสียเวลาบนถนนไปทั้งหมดเฉลี่ย 71 ชั่วโมง/ปี หรือประมาณ 3 วันเต็มเลยทีเดียว ถนนกรุงเทพฯ ทั้งจราจรติดขัดและเสียเวลารอนาน จึงไม่แปลกใจถ้าจะมีคนหัวร้อนกับรถติดบนถนน แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้นทางเดียวที่จะระบายความอัดอั้นในใจก็คงมีแค่กดเช็กอินสถานที่และแชร์ความรู้สึกออกไปผ่านโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook และแน่นอนว่า ถนนที่เป็นขวัญใจมหาชนที่เจอรถติด ได้แก่… ‘ถนนลาดพร้าว’ กับประโยคที่ว่า ‘รถติดนรกแตก แดงชาตินี้ เขียวชาติหน้า’ รวมจำนวนคนเช็กอิน ‘รถติดถนนลาดพร้าว’ จาก Facebook ทั้งหมดประมาณ 92,000 ครั้ง รองลงมาเป็นถนนพระราม 2 ทางด่วนพระราม 9 ถนนเพชรเกษม และถนนประชาอุทิศ 9 (ข้อมูล ณ วันที่ 19 พ.ย. 2565) ซึ่งสาเหตุที่ถนนเหล่านี้รถติดจนคนต้องพูดถึง เป็นเพราะอะไรตามไปหาคำตอบกัน  ถนนเส้นหลักเส้นเดียว เชื่อมหลายย่าน  สาเหตุที่ถนนดังกล่าวขึ้นชื่อเรื่องรถติดสุดเรื้อรัง ส่วนใหญ่มีลักษณะถนนเป็นเส้นวิ่งตรงยาวๆ ทำหน้าที่เป็นเส้นหลักเพียงเส้นเดียวที่เชื่อมต่อย่านอื่นๆ […]

ทางด่วน วิวัฒนาการจากสนามแข่งรถ สิ่งก่อสร้างแก้รถติด สู่ยุครื้อทิ้งเพราะทำให้เมืองพัง

หากคุณอยากขับรถยนต์จากกรุงเทพฯ ไปเที่ยวทะเลที่ภูเก็ต ต้องใช้เส้นทางไหน หรือในช่วงเวลาสุดเร่งรีบบนท้องถนน ถ้าต้องการทางลัดที่จะให้ถึงที่หมายเร็วที่สุด ต้องทำอย่างไร เมื่อเจอคำถามแบบนี้ หลายคนคงนึกถึง ‘ทางด่วน’ เพื่อนแท้ยามคับขันของคนขับรถที่อยาก (รีบ) ให้ถึงจุดหมายนั่นเอง ปัจจุบันหน้าที่หลักของทางด่วนคือ ร่นระยะการเดินทางให้สั้นลงและประหยัดเวลาของผู้ขับมากยิ่งขึ้น หากอธิบายให้เห็นภาพ เช่น การขับรถยนต์จากกรุงเทพฯ ไปต่างจังหวัด หรือการเดินทางจากพื้นที่ในตัวเมืองไปชานเมือง ถ้าใช้ทางพิเศษนี้ การเดินทางก็จะราบรื่นและง่ายกว่าครั้งไหนๆ  ยิ่งไปกว่านั้น ทางด่วนยังเป็นทางเลือกหนึ่งในการหลีกเลี่ยงรถติด สำหรับคนที่เดินทางไกล ต้องการความเร่งด่วน แค่ยอมจ่ายค่าผ่านทาง ใครๆ ก็เข้าถึงความรวดเร็วและความสะดวกสบายบนท้องถนนได้ทันที ‘สนามแข่งรถ’ แรงบันดาลใจที่ทำให้เกิด ‘ทางด่วน’ ในอดีตกว่าร้อยปีที่แล้ว จุดเริ่มต้นของ ‘ทางด่วน’ ได้รับแรงบันดาลใจจาก ‘ความเร็ว’ ของการแข่งรถยนต์ในปี 1904 โดย William Kissam Vanderbilt นักธุรกิจสัญชาติอเมริกัน ผู้คลั่งไคล้การแข่งรถเป็นชีวิตจิตใจ คือตัวตั้งตัวตีในการจัดกิจกรรมแข่งรถชิงถ้วยรางวัล Vanderbilt Cup ในมณฑล Nassau County ประเทศสหรัฐอเมริกา การแข่งรถยนต์สมัยนั้นค่อนข้างอันตรายชวนหวาดเสียว เพราะพวกเขาขับรถแข่งกันบนถนนในตัวเมืองที่ไม่ได้ออกแบบรองรับความเร็วของรถแข่งหรือทางโค้งเวลารถเลี้ยว จนทำให้เกิดอุบัติเหตุถึงชีวิต เมื่อเริ่มมีข่าวคราวคนเสียชีวิตจากการแข่งขันบ่อยขึ้น […]

คนกรุงเทพฯ เสียเวลาชีวิตกับการเดินทางไปทำงานนานถึง 2 ชั่วโมง/วัน

ช่วงเวลาเช้า-เย็นในวันทำงาน ถือเป็นโมเมนต์สุดเร่งรีบของคนเมือง ที่ทุกคนต้องแข่งขันกับการจราจรแสนติดขัด หรือต่อแถวขึ้นขนส่งสาธารณะสุดหนาแน่น  อ้างอิงข้อมูลจาก Baania องค์กรที่รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ประเทศไทยเผยว่า ส่วนใหญ่คนเมืองใช้เวลาเดินทางไปทำงานเฉลี่ย 2 ชั่วโมง/วัน หรือประมาณนั่งเครื่องบินไปสิงคโปร์ได้ 1 เที่ยว มิหนำซ้ำรายงานจาก TOMTOM องค์กรผู้ให้บริการข้อมูลทางสัญจรทั่วโลกยังเผยว่า ปี 2564 คนกรุงเทพฯ เสียเวลาบนท้องถนนไปทั้งหมดเฉลี่ยแล้ว 71 ชั่วโมง/ปี หรือประมาณ 3 วันเลยทีเดียว ตามหลักสากลที่ควรจะเป็น ผู้คนควรใช้เวลาเดินทางไป-กลับจากธุระนอกบ้านไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยแต่ละเที่ยวไม่เกิน 30 นาที หากเราต้องใช้เวลาเดินทางไป-กลับที่ทำงานวันละหลายชั่วโมง ก็คงต้องคิดหนักและเริ่มมองหาที่อยู่อาศัยใกล้ที่ทำงานมากขึ้น หรือไม่ก็ต้องเปลี่ยนมาทำงานที่เดินทางสะดวกแทนน่าจะดีกว่า  แต่ถึงอย่างนั้น เมื่อชาวเมืองต้องเสียเวลาไปกับการเดินทางอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จึงน่าตั้งคำถามไม่ใช่น้อยว่า อะไรคือต้นตอที่ทำให้คนต้องใช้เวลาบนท้องถนนมากขนาดนี้ และทำไมปัญหานี้ถึงเกิดขึ้นมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังแก้ไขไม่ได้สักท งานกระจุกในเมือง หนึ่งในปัญหาใหญ่ของการเดินทางคือ การเสียเวลากับรถติด เนื่องจากระบบและจำนวนเส้นถนนในกรุงเทพฯ ที่มีอยู่อย่างจำกัด สวนทางกับปริมาณรถที่วิ่งขวักไขว่เต็มท้องถนน แต่หากมองลึกลงไปถึงต้นตอของปัญหา ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนเมืองต้องกัดฟันทนฝ่ารถติดให้ไปถึงที่หมายทุกวันนั้นเกิดจาก ‘แหล่งงานส่วนใหญ่กระจุกในเมือง’ กรุงเทพฯ ไม่ใช่แค่เมืองหลวง แต่ยังเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจหลักของไทยที่มีแหล่งงานมากมายเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี […]

ฝนตก รถติด รู้ก่อน เลี่ยงได้ เช็กการจราจรแบบเรียลไทม์ผ่านกล้องวงจรปิดของ กทม.

ช่วงนี้ชาวกรุงเทพฯ ต้องเผชิญกับมรสุมฝนตกหนักต่อเนื่อง จนหลายพื้นที่กลายเป็นทะเลกรุงเทพฯ ไปแล้ว จะกลับบ้านตอนเย็นทีไร ก็ต้องตามอ่านสถานการณ์จากในออนไลน์ หรือไปเสี่ยงดวงระหว่างทางว่าวันนี้รถจะติด ฝนจะตก หรือน้ำจะท่วมมากน้อยแค่ไหนทุกที วันนี้เราเลยอยากแนะนำอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้วางแผนการเดินทางในแต่ละวันได้ง่ายขึ้น ผ่านกล้องวงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งตามท้องถนนและทางแยกในกรุงเทพฯ  เพียงเข้าไปที่เว็บไซต์ www.bmatraffic.com หรือแอปพลิเคชัน @CCTVBANGKOK ของสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร แล้วเลือกกล้องวงจรปิดในถนนส่วนที่ต้องการเห็นภาพการจราจร แค่นี้ก็จะเช็กภาพสถานการณ์ที่แสดงผลแบบเรียลไทม์จากบริเวณดังกล่าวได้แบบฟรีๆ ถึงแม้ว่าภาพที่ได้จะไม่ได้คมชัดถึงขั้นมองเห็นเลขทะเบียนรถ แต่อย่างน้อยก็เพียงพอให้เห็นถึงสถานการณ์จราจร และสภาพน้ำท่วมได้แบบคร่าวๆ เพื่อวางแผนเส้นทางกลับบ้านได้ นอกจากนี้ ภาพจากกล้องวงจรปิดยังเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนที่ต้องการหลักฐานอีกด้วย เพราะปัจจุบันทางกรุงเทพฯ เปิดให้ผู้ที่ต้องการข้อมูลขอไฟล์ออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชันได้ฟรี โดยจะได้รับไฟล์ภาพภายใน 24 ชั่วโมง ดาวน์โหลดไฟล์ภาพได้ไม่เกินระยะเวลา 7 วันหลังเกิดเหตุ และขอข้อมูลได้ไม่เกินครั้งละ 6 กล้อง รวมเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง หากกรณีที่ต้องการไฟล์ภาพมากกว่า 3 ชั่วโมงขึ้นไปหรือไฟล์ต้นฉบับ สามารถขอได้ที่ศูนย์ CCTV ทั้ง 13 แห่ง ตลอด 24 ชั่วโมง เรียกว่าเป็นขั้นตอนที่สะดวกขึ้นมาก เนื่องจากเดิมทีต้องใช้เวลานานถึง […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.