Chitofoam พลาสติกชีวภาพจากหนอนนก ทางเลือกใหม่ของการผลิตบรรจุภัณฑ์ ไม่มีมลพิษ ย่อยสลายในธรรมชาติได้

ปัจจุบันทั่วโลกเพาะเลี้ยง ‘หนอนนก’ กันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นอาหารที่มีโปรตีนและไขมันสูง เกษตรกรจึงนิยมนำมาใช้เป็นอาหารแก่สัตว์น้ำและสัตว์ปีกเช่นนกและไก่ ส่วนในประเทศไทยก็นิยมเอาหนอนชนิดนี้ทำเมนูทานเล่นที่เห็นได้ทั่วไปอย่าง ‘รถด่วนทอด’ นอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงแล้ว โครงกระดูกภายนอกของเจ้าหนอนนกยังเปลี่ยนเป็น ‘แพ็กเกจจิ้งทางเลือก’ ที่มีน้ำหนักเบา ทนน้ำ และย่อยสลายตามธรรมชาติได้ด้วย ‘Chitofoam’ คือบรรจุภัณฑ์ผลิตจากระบบหมุนเวียนที่เปลี่ยนโครงกระดูกภายนอก (Exoskeletons) ของหนอนนก (Mealworms) ให้เป็นวัสดุสำหรับทดแทน ‘พอลิสไตรีน’ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า ‘โฟม’ พลาสติกที่ทั่วโลกนิยมใช้ทำแพ็กเกจจิ้งอาหารอย่างแพร่หลาย เช่น ถ้วย จาน และแก้ว ซึ่งขยะเหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และต้องใช้เวลานับร้อยๆ ปีจนกว่าจะเสื่อมสภาพตามชีววิทยา ก่อนจะกลายเป็นขยะธรรมดา ผู้พัฒนาวงจรหมุนเวียนรักษ์โลกนี้ก็คือ Charlotte Böhning นักออกแบบเชิงอุตสาหกรรมชาวอเมริกัน ร่วมกับ Mary Lempres ศิลปินจากสตูดิโอออกแบบ Doppelgänger ในอเมริกา พวกเขาเลือกใช้โครงกระดูกภายนอกของหนอนนก (หนอนของแมลงปีกแข็ง) ทำแพ็กเกจจิ้งทดแทน เพราะพวกมันกินพลาสติกเป็นอาหารอยู่แล้ว โดยในหนึ่งวัน หนอนนก 100 ตัว สามารถกินพลาสติกได้ถึง 40 มิลลิกรัม หรือปริมาณเทียบเท่ากับยาหนึ่งเม็ด โดยขั้นตอนของการผลิต Chitofoam เบื้องต้นมีดังต่อไปนี้ […]

PP Meltblown พลาสติกที่อยู่ในชีวิตประจำวันของทุกคน l Now You Know

เม็ดพลาสติก PP Meltblown คืออะไร ทำไมเราต้องทำความรู้จักกับเจ้าสิ่งนี้ด้วย? ก็เพราะหน้ากากอนามัยที่เราใส่ช่วงออกจากบ้าน หน้ากาก N95 ที่ใส่กันฝุ่นพิษ PM 2.5 หรือแม้แต่ชุดป้องกันส่วนบุคคล PPE ที่ทุกคนได้ยินกันบ่อยช่วงโควิด ล้วนทำมาจากเม็ดพลาสติกชนิดนี้ มันจึงใกล้ตัวและอยู่ในชีวิตทุกคนอย่างแยกไม่ออก ใกล้ตัวขนาดนี้ เลยอยากจะชวนทุกคนมาทำความรู้จักให้มากขึ้น แถมตอนนี้ประเทศไทยเรายังมีโรงงานผลิตและพัฒนา PP Meltblown เป็นเจ้าแรกโดย IRPC ซึ่งช่วยยกระดับศักยภาพการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบไม่ต้องง้อการนำเข้าจากต่างประเทศอีกแล้ว Source : https://www.facebook.com/IRPCofficial/ #UrbanCreature #ReinventTheWayWeLive #NowYouKnow #IRPCThailand #PPMeltblown #Polimaxx

ล้ำไปอีกขั้น! นักวิจัยจีนค้นพบวิธีผลิตพลาสติกจาก ‘อสุจิแซลมอน’ ย่อยสลายได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทุกวันนี้ทั่วโลกคิดค้นวิธีต่างๆ เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติก ทั้งการรณรงค์ลดใช้พลาสติก รวมไปถึงการทำวัสดุทดแทนที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติจากพืชชนิดต่างๆ อย่าง ข้าวโพด ข้าวสาลี มันฝรั่ง มันเทศ และมันสำปะหลัง  ไอเดียล่าสุดที่น่าสนใจก็คือการผลิตพลาสติกจาก ‘อสุจิปลาแซลมอน’ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนจากมหาวิทยาลัยเทียนจิน ขั้นตอนในการผลิตก็คือ การแยกสายดีเอ็นเอสองสายออกจากอสุจิปลาแซลมอน หลังจากนั้นก็นำสายดีเอ็นเอไปผสมกับสารเคมีที่สกัดจากน้ำมันพืช เมื่อโมเลกุลจับตัวกันก็จะได้ ‘ไฮโดรเจลสังเคราะห์’ สารประกอบเนื้อเจลที่สามารถกักเก็บและรักษาปริมาณน้ำได้ 99% เมื่อมีเจลแล้วก็นำไปเทใส่พิมพ์รูปทรงต่างๆ อย่างเช่น แก้วมัค จิ๊กซอว์ โมเดลดีเอ็นเอ และของชิ้นเล็กๆ ก่อนจะนำพิมพ์ไปทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze Dry) เพื่อให้รูปทรงต่างๆ เซตตัวอย่างสมบูรณ์ ท้ายที่สุดก็จะได้วัสดุที่ทีมนักวิทยาศาสตร์เรียกว่า ‘พลาสติกที่ทำจากดีเอ็นเอ’ (DNA-based Plastic) แม้ว่าการผลิตพลาสติกจากอสุจิแซลมอนยังคงต้องใช้ความร้อนและพลังงาน แต่ Dayong Yang หัวหน้าทีมวิจัย เปิดเผยว่า พลาสติกชนิดนี้เป็นวัสดุที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในบรรดาพลาสติกที่รู้จัก เนื่องจากการผลิตปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 5% เมื่อเทียบกับการผลิตพลาสติกทั่วๆ ไป อีกข้อดีของพลาสติกชนิดนี้คือรีไซเคิลง่าย เพียงแค่ใช้เอนไซม์พิเศษสำหรับย่อยสลายดีเอ็นเอ หรือจะนำไปจุ่มน้ำเพื่อเปลี่ยนพลาสติกกลับไปเป็นเจลก็ได้ เพราะพลาสติกชนิดนี้จะนิ่มและยืดหยุ่นเมื่อโดนน้ำ  ในขณะเดียวกัน คุณสมบัติการย่อยสลายง่ายทำให้พลาสติกดีเอ็นเอยังไม่เหมาะที่จะเป็นภาชนะสำหรับบรรจุของเหลวหรือน้ำ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กำลังเร่งหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการกันน้ำให้แก่วัสดุประเภทนี้อยู่ ทั้งนี้ […]

‘pong’ ไม้ปิงปองลาย Terrazzo จากพลาสติก HDPE รีไซเคิล

ทุกวันนี้มีสตูดิโอเจ๋งๆ หันมาออกแบบผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้กันเยอะมาก งานหนึ่งที่เรารู้สึกว่าสนุก สะดุดตา และยังไม่ค่อยเห็นใครทำคืออุปกรณ์กีฬาจากวัสดุรีไซเคิล  Préssec คือสตูดิโอออกแบบในซิดนีย์ ออสเตรเลีย ผู้ออกแบบและพัฒนา ‘pong’ ไม้ตีปิงปองที่ทำจาก พลาสติก HDPE รีไซเคิลออกมาเป็นลวดลายเทอร์ราซโซ (Terrazzo) หรืองานหินขัดที่เก๋ น่าใช้ และกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในตอนนี้ แม้จะไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้กีฬาปิงปอง แต่เห็นดีไซน์แล้วก็กระตุ้นต่อมความอยากเป็นเจ้าของได้เช่นกัน โปรเจกต์นี้ Préssec เล่าว่าพวกเขาคิดขึ้นได้ในระหว่างช่วงที่ซิดนีย์ล็อกดาวน์ ด้วยความเบื่อหน่ายชีวิตในบ้านจึงฆ่าเวลาด้วยการตีปิงปองในครัวกันบ่อยๆ พวกเขาพบว่าปิงปองเป็นกีฬาที่เล่นง่าย อุปกรณ์ไม่เยอะ แค่มีโต๊ะยาวและไม้ปิงปองก็เล่นตรงไหนก็ได้ และนึกสงสัยขึ้นมาว่าทำไมไม่เคยเห็นใครทำไม้ปิงปองให้มันดูสนุกขึ้นบ้าง จะเป็นอย่างไรถ้าเขาลองเอาวัสดุรีไซเคิลมาทำดู จากที่ฆ่าเวลาด้วยการตีปิงปอง พวกเขาเลยเปลี่ยนมาฆ่าเวลาด้วยการทำไม้ปิงปองกันแทน  Préssec ทดลองสเก็ตช์แบบไม้ปิงปองเพื่อหาความเป็นไปได้กันทุกสัปดาห์ และพบว่าการเอาเศษพลาสติก HDPE (High Density Polyethylene) ซึ่งเป็นพลาสติกที่สามารถนำมาหลอมกลับมาใช้ใหม่ได้ มีลักษณะขุ่น มีคุณสมบัติยืดหยุ่น ผิวไม่มันเงา แข็ง เหนียว ไม่เปราะแตกง่าย และทนสารเคมี มาลองหลอมและขึ้นรูปใหม่แทนการใช้วัสดุที่เป็นไม้  ไม้ปิงปองเป็นวัสดุที่มีมานาน ถ้าดัดแปลงมาก็อาจจะใช้งานไม่ได้จริง Préssec จึงใช้วิธีคิดแบบใหม่กับการออกแบบวัสดุเดิม เพราะการจะเป็นไม้ปิงปองได้ไม่ใช่แค่รูปทรงถูกต้องเท่านั้น น้ำหนัก สัมผัส และการใช้งานต้องเหมาะสมด้วย […]

สรุปแนวทางล้อมคอกก่อนซ้ำรอยโรงงานระเบิดใกล้ชุมชน

เสียงระเบิดดังสนั่นตอนตี 3 ของเช้าวันที่ 5 กรกฎาคม เป็นต้นเหตุของแฮชแท็ก #โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ กลายเป็นประเด็นร้อนประจำสัปดาห์ที่ประชาชนทั่วทุกสารทิศต่างให้ความสนใจ ทั้งภาพความเสียหายจากแรงระเบิดของบ้านเรือน ภาพไฟกำลังลุกไหม้และควันดำพวยพุ่งขึ้นฟ้า หรือภาพมุมสูงทำให้เห็นความใกล้ของระยะโรงงานและชุมชน ส่งผลให้ประชาชนตั้งข้อสงสัยที่ตั้งโรงงานอยู่ใกล้ที่อยู่อาศัยได้หรือ ก่อนพาทุกคนไปหาคำตอบที่สงสัย ‘โรงงานกิ่งแก้ว’ หรือ ‘บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด’ เป็นโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกสัญชาติไต้หวัน ก่อตั้งขึ้น พ.ศ. 2532 บริเวณซอยกิ่งแก้ว 21 จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพจากดาวเทียม LANDSAT-5, Sentinel-2 และ Thaichote (ไทยโชต) เผยให้เห็นที่ตั้งโรงงานในอดีตอยู่กลางทุ่งนา ภายหลังเกิดการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านจัดสรร สนามบินสุวรรณภูมิ หรือห้างสรรพสินค้า กลายเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่รอบโรงงาน โรงงานผิดที่ตั้งอยู่ในชุมชน? อย่างที่เรารู้กันว่า ‘กฎหมายผังเมือง’ มีแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือผังสี เพื่อบอกประเภทการใช้งาน ตั้งแต่ที่อยู่อาศัย สถาบันการศึกษา ไปจนถึงเกษตรกรรม ซึ่งจากการสืบค้นข้อมูลบนเว็บไซต์กรมโยธาธิการและผังเมือง พบว่า ‘บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด’ จัดตั้งขึ้นก่อน ‘ผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. 2537’ (ฉบับแรก) […]

City in Bloom – ปลอมในจริง

เมื่อปลูกต้นไม้จริง ไฉนเลยผลและดอกที่ออกกลับกลายเป็น ‘สิ่งไร้ชีวิต’ ที่มองแล้วดูคุ้นตา จนเกิดเป็นภาพความลงตัวที่ไม่ลงตัวแบบไทยๆ ราวกับว่าธรรมชาติเบ่งบานออกดอกออกผลเป็นสิ่งนั้นจริงๆ ทำให้ต้องเหลียวมอง พร้อมตั้งคำถามถึงความแปลก และประโยชน์ใช้สอยทุกครั้งที่เดินผ่าน “บานเป็นขวดสีใส” “บานเป็นขวดหลากสี” “บานเป็นเปลือกไข่” “บานเป็นซีดี” “บานเป็นดอกไม้พลาสติก” “บานเป็นขวดคละสี” “บานเป็นดอกกระดาษ” “บานเป็นถุงพลาสติก” (แอบมีพวงมาลัย)

‘Upcycle’ ผ้าห่มจากพลาสติก ทางออกใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาขยะที่ยั่งยืน

‘พิษจาก COVID-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อร่างกายและสุขภาพจิตของพวกเราทุกคนเพียงเท่านั้น’ แต่ยังส่งผลกระทบต่อโลกไม่น้อยเลยทีเดียว New Normal ทำให้ผู้คนหันมาอยู่บ้านมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากความหวาดระแวงไม่อยากพบเจอผู้คน จึงทำให้ไม่อยากออกจากบ้านไปไหน เพื่อลดอัตราความเสี่ยงต่อโรค COVID-19 อีกทั้งความนิยมที่พุ่งสูงของบริการ Food Delivery ที่แม้จะทำให้เราสะดวกสบาย แต่ก็ต้องแลกมาด้วยปริมาณขยะพลาสติกที่สูงขึ้นเช่นกัน ท่ามกลางความสะดวกสบายกลับส่งผลกระทบที่ไม่คาดคิดเมื่อขยะพลาสติกจำนวนมากจากระบบ Food Delivery และ Online Shopping ส่งผลให้ขยะพลาสติกในกรุงเทพมหานครเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ 60 ในช่วงที่ผ่านมา กลายเป็นปัญหาพลาสติกในท้ายที่สุด ปัญหาของขยะพลาสติก ในหนึ่งวันคนกรุงเทพฯ สร้างขยะจำนวนมากถึง 10,500 ตัน คิดเป็นขยะพลาสติกประมาณร้อยละ 20 หรือ 2,000 ตันต่อวัน แต่หลังจากการเข้ามาของ COVID-19 ทำให้ปริมาณขยะโดยรวมลดลงคิดเป็นร้อยละ 11 เปอร์เซ็นต์ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับน่ากลัวกว่าที่คิดเพราะถึงแม้ขยะโดยรวมจะลดลง แต่ปริมาณขยะพลาสติกกลับเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นกังวล โดยมีจำนวนขยะพลาสติกเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 60 ในกรุงเทพมหานคร กลายเป็นปัญหาในเรื่องการจัดการขยะ นั่นเป็นเพราะถ้าเทียบกับขยะชนิดอื่นๆ แล้ว ขยะพลาสติกนั้นกำจัดยากกว่าขยะชนิดอื่น เนื่องจากพลาสติกถูกออกแบบมาให้มีความคงทนในการใช้งาน ซึ่งตัวมันเองตอบโจทย์การทำงานอย่างสูง แต่อาจจะดีเกินไปสักหน่อย จนไม่ตอบโจทย์การจัดการสักเท่าไหร่ กลายเป็นข้อเสียที่ใหญ่หลวงเพียงข้อเดียวคือ […]

เสิร์ฟความมันส์แบบรักษ์โลก ! กับ ‘สเก็ตบอร์ด’ ที่รีไซเคิลจากส้อมไม้ 800 คัน

ดีไซเนอร์ชื่อ ‘Jason Knight’ จึงปิ้งไอเดียทำแผ่นกระดานสเก็ตบอร์ดจากขยะพลาสติกรีไซเคิลแบบ 100% ที่มีชื่อว่า ‘Skateboard Decks’ ที่ไม่ได้เน้นแค่ความสวยงาม แต่เพิ่มความแข็งแรงทนทานเข้าไปด้วย ไม่ว่าจะหล่นหรือโดนกระแทกแรงแค่ไหนก็หายห่วง

Pretty Plastic กระเบื้องปูผนังรีไซเคิล 100%

เทรนด์เปลี่ยนขยะให้มีมูลค่า นับว่าเป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยเฉพาะ ‘ขยะพลาสติก’ ที่รายล้อมอยู่รอบตัวเรา ทำเอา Overtreders W ทีมนักออกแบบพื้นที่ และ Bureau SLA สตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรม จากเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ จับมือกันปิ๊งโปรเจกต์ Pretty Plastic ที่นำขยะ PVC มารีไซเคิลเป็นโปรดักต์กระเบื้องปูผนังสีเทาสุดเท่ “นี่คือกระเบื้องปูผนังอาคารรีไซเคิล 100% ครั้งแรกในโลก” คำเคลมของนักออกแบบ โดยแรกเริ่มโปรเจกต์ Pretty Plastic ได้ลองนำกระเบื้องไปใช้กับอาคารชั่วคราวในงาน Dutch Design Week เมื่อปี ค.ศ. 2017 โดยหลังจากงานนั้นก็มีคนมาถามไถ่และขอซื้อกันเพียบ ทำให้พวกเขาต้องพัฒนาโปรดักต์นี้ให้เป็นธุรกิจอย่างจริงจัง พวกเขานำขยะพลาสติก PVC จำพวกท่อน้ำ กรอบหน้าต่างเก่า รางน้ำฝน มาทำความสะอาด หลอม และแปรรูปจนออกมาเป็นกระเบื้องเฉดสีเทาเท่ๆ และมีลวดลายชวนสัมผัส ซึ่งไม่ต้องห่วงเรื่องคุณภาพและความปลอดภัย เพราะโปรดักต์นี้ได้ผ่านการรับรองอัคคีภัยคลาส B ประเภทวัสดุเผายากมากมาแล้ว สามารถนำไปใช้กับตึกรามบ้านช่องได้อย่างไร้กังวล นี่ไม่ใช่โปรเจกต์แรกที่นักออกทั้ง 2 ทีมจับมือกัน พวกเขาเคยสร้างโปรเจกต์เพื่อสิ่งแวดล้อมกันมาแล้ว […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.