เซฟเก็บไว้อ่านยามน้ำท่วม หนังสือ ‘คู่มือจัดการบ้านหลังน้ำลด’ เปิดให้อ่านและดาวน์โหลดทางออนไลน์

ในช่วงหน้าฝนแบบนี้ หลายๆ บ้านน่าจะประสบปัญหาฝนสาดน้ำท่วมกันอยู่บ่อยๆ ซึ่งถ้าท่วมน้อยๆ แป๊บๆ แล้วน้ำลดก็คงไม่เป็นอะไร แต่บางบ้านไม่ใช่แบบนั้น เพราะต้องขนข้าวของขึ้นที่สูง อยู่กับน้ำท่วมเกือบครึ่งตัว และระบบต่างๆ ในบ้านใช้การไม่ได้เลย แต่เมื่อสถานการณ์กลับมาดีขึ้น น้ำลดลง ปัญหาที่ตามมาต่อคือ แล้วจะทำยังไงกับบ้านและทรัพย์สินของเราที่เสียหาย สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ สมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ไทย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดทำ คู่มือจัดการบ้านหลังน้ำลด มาตั้งแต่ พ.ศ. 2554 และนำมาเผยแพร่ให้สมาชิกและประชาชนที่สนใจในรูปแบบออนไลน์ การเรียงลำดับหัวข้อเนื้อหาในเล่มจะเริ่มจากเรื่องที่สำคัญที่สุดไปยังสำคัญน้อยที่สุด โดยแนวทางและวิธีการที่นำเสนอนั้นเป็นหลักการเบื้องต้น เพื่อให้ประชาชนใช้เป็นหลักการเตรียมตัวและดำเนินการ เริ่มตั้งแต่อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม การดำเนินการ การจัดการระบบไฟฟ้า ตรวจสอบโครงสร้างบ้าน การทำความสะอาด ระบบสุขาภิบาล ประตู หน้าต่าง พื้น ผนัง เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ และต้นไม้ อ่านและดาวน์โหลดได้ที่ asa.or.th/handbook/home-affter-flood

‘Monsoon Blues’ รู้จักความเศร้าที่มากับฝน ทำให้คนหมดไฟ ไม่อยากทำงาน

‘วันนี้ฝนตกไม่อยากทำงานเลย ถ้าได้นอนบนเตียงทั้งวันก็คงดี’ เชื่อว่าหลายคนต้องเคยรู้สึกหมดพลัง ไร้เรี่ยวแรง ไม่อยากทำอะไร ในเวลาที่มองออกไปนอกหน้าต่างแล้วเจอฝนตก โดยเฉพาะคนทำงานที่ต้องเผชิญปัญหาการจราจรระหว่างเดินทาง กว่าจะถึงที่หมายต้องเจอทั้งการยืนเบียดกันบนขนส่งสาธารณะ ความหนาแน่นของรถบนท้องถนน และฝนที่โปรยลงมาพาให้ป่วยกายง่ายๆ อุปสรรคที่มากับฝนทำให้แต่ละวันของมนุษย์เงินเดือนที่เหน็ดเหนื่อยอยู่แล้วต้องลำบากกว่าเดิมหลายเท่า ความรู้สึกเหนื่อยล้าสะสมเหล่านี้อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำให้บางคนมีประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง เขาว่าฝนนั้นทำให้คน ‘เฉื่อย’ เมื่อตื่นเช้าขึ้นมาพร้อมเมฆฝนและฟ้าครึ้ม ทำให้เช้าที่สดใสของเรากลายเป็นวันที่หม่นหมอง การขุดตัวเองขึ้นจากเตียงกลายเป็นเรื่องยาก เกิดเป็นอารมณ์ความรู้สึกเหนื่อยล้า ไม่อยากทำอะไรตลอดวัน ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนนี้เรียกว่า ‘Monsoon Blues’ คล้ายกับ ‘Winter Blues’ ในเมืองหนาวที่ถูกปกคลุมด้วยหิมะ ท้องฟ้ามืดเร็ว ไม่สามารถทำกิจกรรมอะไรได้มากนัก ส่งผลให้คนรู้สึกหมดเรี่ยวแรงในการใช้ชีวิต ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของ ‘ภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล’ หรือ ‘Seasonal Affective Disorder (SAD)’ เช่นเดียวกับความรู้สึกเศร้าซึมในฤดูฝน ที่เกิดขึ้นจากความอึมครึมของก้อนเมฆช่วงที่ฝนตกไปบดบังแสงแดดจากดวงอาทิตย์ ส่งผลกระทบต่อระบบควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของร่างกาย หรือ ‘นาฬิกาชีวภาพ’ (Biological Clock) ซึ่งสัมพันธ์กับเวลากลางวันและกลางคืนตามธรรมชาติ ทำให้การหลั่ง ‘เซโรโทนิน’ (Serotonin) สารสื่อประสาทที่ทำงานเกี่ยวกับอารมณ์ลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุให้รู้สึกขุ่นมัว และฮอร์โมน ‘เมลาโทนิน’ (Melatonin) ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการนอนหลับเพิ่มขึ้น จึงทำให้รู้สึกง่วงเหงาหาวนอน […]

Rainy Day Mood ติดฝน

ภาพเซตนี้ได้แรงบันดาลใจจากการที่เราติดฝนหลังเลิกงานบ่อยๆ ด้วยนิสัยที่เราเป็นคนพกกล้องตลอดเวลาและชอบสังเกต ทำให้เห็นว่าซีนรอบๆ ตัวมีหลายอารมณ์ ทั้งเหงา โรแมนติก ชุลมุน และวุ่นวาย แต่ก็มีเสน่ห์ในตัวของมันไปอีกแบบ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

ฝนตกช่วงเลิกงาน ไม่ใช่พระพิรุณไม่เห็นใจ แต่เพราะความร้อนที่สูงไปของเขตเมือง

พอใกล้ถึงเวลาเลิกงานในช่วงหน้าฝนทีไร ถ้าเป็นไปได้ชาวออฟฟิศหลายคนคงอยากจะเคลียร์งานให้เสร็จก่อนเวลา แล้วรีบเดินทางกลับบ้านก่อนที่ฝนห่าใหญ่จะเทลงมาจนต้องติดแหง็กอยู่ที่ออฟฟิศหรือหาที่หลบฝนระหว่างทางจนเกือบค่อนคืน แต่ในระหว่างที่เราเผชิญกับสถานการณ์เหล่านี้กัน มีใครเคยสังเกตไหมว่า ทำไมฝนมักจะตกลงมาในตอนเย็นและลากยาวไปจนถึงดึกในแต่ละวัน เหมือนหลอกให้เราตายใจในตอนเช้า แล้วเล่นตลกกับเราในตอนเย็นอยู่เสมอๆ เลย แต่จริงๆ แล้วปรากฏการณ์ฝนตกในช่วงเลิกงานแบบนี้ มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ มารองรับอยู่เหมือนกัน วันนี้คอลัมน์ Curiocity อยากพาทุกคนไขคำตอบไปพร้อมๆ กันว่า ปรากฏการณ์ UHI คืออะไร และเพราะอะไรเกาะความร้อนเมืองที่ว่านี้ถึงทำให้ฝนตกในช่วงเวลาเย็นเหมือนตั้งเวลาเอาไว้ ฝนตกเพราะเมืองร้อน อย่างที่หลายคนทราบดีว่า ฝนที่ตกในทุกๆ วันล้วนเกิดจากกระบวนการที่เราเรียนกันตั้งแต่เด็กอย่าง ‘วัฏจักรของน้ำ’ ที่น้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ จะระเหยกลายเป็นไอลอยขึ้นไปในอากาศ จากนั้นจะเกิดการกระทบความเย็นควบแน่นเป็นละอองน้ำเป็นก้อนเมฆ ก่อนจะตกลงมาเป็นฝน วนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งวัฏจักรนี้จะทำให้สถานการณ์ฝนตกในแต่ละพื้นที่เกิดขึ้นในเวลาที่ต่างกัน และจะมีปริมาณฝนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิภายในพื้นที่นั้นๆ ที่ก่อให้เกิดอัตราการควบแน่นบริเวณแหล่งน้ำที่แตกต่างกันออกไปนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีบางเมืองที่มีลักษณะฝนตกเป็นแพตเทิร์นซ้ำๆ คือตกหนักในช่วงเวลาเลิกงานแบบสั้นบ้างยาวบ้างในแต่ละวัน เหตุการณ์เช่นนี้เป็นผลมาจาก ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ ที่เกิดขึ้นในเขตเมือง จนทำให้พื้นที่ในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบนอกอย่างมีนัยสำคัญนั่นเอง เมืองร้อนเพราะสมดุลเปลี่ยน ความร้อนของเมืองที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ UHI […]

Resilient City ออกแบบเมืองให้พร้อมรับมือปัญหาน้ำท่วม

ในปัจจุบันกรุงเทพฯ ยังคงประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ สาเหตุนั้นมาจากหลากหลายองค์ประกอบ ทั้งการขยายตัวของเมือง การสร้างถนน ตึกและสิ่งก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นทุกปี ผลที่ตามมาคือ เมืองหลวงของไทยมีพื้นที่รับน้ำน้อยลง ส่วนคลองที่เคยเป็นช่องทางเดินน้ำก็มีขนาดเล็กลงและระบายน้ำยากขึ้นทุกวัน นี่ยังไม่รวมถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของกรุงเทพฯ ที่เป็นแอ่งกระทะ และมีพื้นที่เป็นดินเหนียวอุ้มน้ำ มีขยะจำนวนมากอุดตันขวางทางเดินน้ำ ผังเมืองเจ้าปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งล้วนส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนมีมากกว่าปกติ น้ำจากภูมิภาคทางเหนือที่ไหลบ่าลงมา และการหนุนสูงของน้ำทะเลก็มากขึ้น กรุงเทพฯ จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมขังและมีสภาพเป็นเสมือนประตูระบายน้ำที่ต้องรอการระบายหนักกว่าเดิมในทุกๆ ปี ด้วยเหตุนี้ คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากหยิบนวัตกรรมและการรับมือปัญหาน้ำท่วมจากเมืองต่างๆ ทั่วโลกมานำเสนอ เพราะไอเดียเหล่านี้น่าจะมีส่วนช่วยทำให้เมืองที่เราอาศัยอยู่สามารถรับมือน้ำท่วมได้ดียิ่งขึ้น ปัญหาระดับโครงสร้างเมือง พื้นที่ชุ่มน้ำ ‘สวนสาธารณะ’ นอกจากจะเป็นพื้นที่สีเขียวให้คนเมืองพักผ่อนหย่อนใจหรือใช้ออกกำลังกายแล้ว ยังเป็นพื้นที่รับน้ำให้กับเมืองได้ด้วย เช่น Climate Park ในเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่มีการออกแบบพื้นที่ให้สามารถรองรับน้ำได้เป็นอย่างดี มีลักษณะขั้นบันไดที่ด้านล่างเป็นแอ่งกระทะและใช้เป็นสนามกีฬาได้ เมื่อน้ำมาก็กลายเป็นสระน้ำให้ผู้คนมานั่งเล่นพักผ่อนได้ อย่างในกรุงเทพฯ ก็มีสวน 100 ปี จุฬาฯ ที่ตั้งใจออกแบบพื้นที่สาธารณะซึ่งตอบโจทย์หลากหลายฟังก์ชันทั้งการทำกิจกรรม เป็นพื้นที่สีเขียว และเป็นแหล่งรับน้ำของเมือง ถือเป็นตัวอย่างของการออกแบบที่หน่วยงานต่างๆ ควรนำไปปรับใช้กับพื้นที่สีเขียวทั่วเมือง เพิ่มท่อระบายน้ำขนาดใหญ่ การทำให้เส้นเลือดใหญ่อย่าง […]

‘Rainy Day People’ มนุษย์เมืองใต้ฝนฟ้าที่ไม่เป็นใจ

“ดูท่าเหมือนฝนจะตก หยิบร่มติดตัวไปด้วยเป็นยันต์กันฝน” นี่คือประโยคที่หลายคนพูดล้อเล่นกันบ่อยๆ ในช่วงที่ไม่มีใครสามารถคาดเดาสภาพอากาศในป่าคอนกรีตที่ร้อนระอุอย่างกรุงเทพมหานครได้ แม้จะมีกรมอุตุนิยมวิทยาคอยพยากรณ์ให้ก็ตาม บางวันบอกว่าจะตกหนัก แต่ดันไม่หนักบริเวณที่เราอยู่ บางวันบอกว่าฟ้าจะสว่างสดใส แต่เมื่อมองออกไปนอกหน้าต่างกลับมีฝนตกโปรยปรายเสียอย่างนั้น การหลบฝนใต้ร่มเงาสะพาน สวมถุงกันผมชื้น หรือฝืนเดินฝ่าม่านน้ำไป เลยอาจถูกมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะคนเมืองอย่างเราๆ ล้วนต้องปรับตัวและใช้ชีวิตเพื่อรับมือกับสภาพอากาศที่คาดเดายากมานานแล้ว จนบางครั้งก็อาจลืมไปว่าเราใช้ชีวิตอยู่กับปัญหาจนกลายเป็นความเคยชินไปแล้วหรือเปล่า ระหว่างติดฝนจนกลับบ้านไม่ได้ครั้งหนึ่ง เราจึงลองมองพฤติกรรมของ ‘มนุษย์เมืองใต้ฝน’ ที่อยู่รอบๆ ตัว ซึ่งน่าสังเกต น่าสนใจ และน่าคิดตาม ทำให้เราอยากบันทึกเอาไว้ว่าครั้งหนึ่งพวกเราต่างต้องเอาตัวรอดกันให้ได้ในมหานครแห่งนี้ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes ส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

สำรวจปริมาณน้ำฝนของกรุงเทพฯ ปี 2565 ฝนอาจตกหนักสุดในรอบ 30 ปี 

วันนี้ฝนจะตกไหม? แล้วน้ำจะท่วมอีกหรือเปล่า? บทสนทนาเรื่องฟ้าฝนและน้ำท่วมดูเหมือนจะเป็นท็อปปิกใหญ่ของชาวกรุงเทพฯ ช่วงนี้ เพราะไม่ว่าจะอาศัยอยู่แถวไหนก็ดูจะเสี่ยงน้ำท่วมไปเสียทุกที่ อุปกรณ์กันฝนที่พกติดตัวทุกวันก็แทบจะไม่สามารถต้านทานฝนที่ตกหนักได้เลยสักวัน เมื่อฝนตกหนัก ก็ส่งผลให้น้ำระบายไม่ทันจนเกิดน้ำท่วมตามมา แน่นอนว่าการระบายน้ำช้าเป็นหนึ่งปัจจัยของปัญหาน้ำท่วมขัง แต่ก็อาจไม่ใช่ทั้งหมด เพราะเราและคนรอบตัวเองก็เห็นตรงกันว่า ปีนี้ฝนตกหนักมากกว่าปีก่อนๆ จนสังเกตได้ วันนี้ คอลัมน์ City by Numbers จึงอยากพาทุกคนย้อนดูปริมาณน้ำฝนช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2563 – 2565) เพื่อเปรียบเทียบว่าแต่ละปีมีปริมาณน้ำฝนต่างกันมากน้อยขนาดไหน และปี 2565 มีฝนตกหนักกว่าเดิมอย่างที่คิดจริงหรือไม่ บทความนี้อ้างอิงข้อมูลมาจาก สำนักการระบายน้ำ ที่อัปเดตข้อมูลปริมาณน้ำฝนให้เราได้ติดตามกันทุกวัน และสามารถเทียบความแตกต่างของปริมาณฝนผ่านชุดข้อมูลอย่าง ‘กราฟเปรียบเทียบปริมาณฝนรายเดือนสะสม’ ซึ่งเป็นปริมาณฝนรายเดือนสะสมเฉลี่ย 30 ปี (2534 – 2563) และปริมาณฝนรายเดือนตั้งแต่ปี 2563 – 2565  ที่แจ้งว่าในแต่ละปีนั้นมีปริมาณน้ำฝนสะสมเท่าไรบ้าง ปริมาณฝนรายเดือนสะสม เฉลี่ยคาบ 30 ปี (2534 – 2563) อยู่ที่ 1,689.7 มม. ปริมาณฝนรายเดือนสะสม […]

Traffy Fondue เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมจากข้อมูลผู้ใช้งานในพื้นที่จริง

Traffy Fondue เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมจากข้อมูลผู้ใช้งานในพื้นที่จริง พี่วินมอเตอร์ไซค์ปากซอยทำนายว่าฝนจะถล่มลงมาช่วงเย็น ถ้าคำทำนายของพี่วินฯ เป็นจริงนั่นเท่ากับว่าคนกรุงเทพฯ ในเมืองชีวิตดีๆ ที่ลงตัว จะต้องเลิกงานลงมาเจอกับห่าฝนที่ต่อให้ตกต่อเนื่องไม่ถึงชั่วโมงน้ำก็ท่วมถึงหัวเข่า รถราบนท้องถนนติดแจ บางคนอาจต้องรอรถเมล์จนยืนร้องไห้ บ้างอาจต้องใช้เงินแก้ปัญหาเพื่อจะได้กลับบ้านไปพักผ่อนไวๆ หลังเจองานหนักหน่วงช่วงกลางสัปดาห์ ดูแล้วปัญหาฝนตกน้ำท่วมน่าจะยังไม่มีทางจบสิ้นในเร็ววัน แต่อย่างน้อยหนึ่งในวิธีที่จะช่วยทุเลาปัญหานี้ไปได้ก่อนระหว่างฤดูฝน นั่นคือการใช้ฟีเจอร์ใหม่ของ ‘Traffy Fondue’ แพลตฟอร์มสีน้ำตาลคู่ใจชาวเมือง ฟีเจอร์ที่ว่านี้ทำให้เราสามารถติดตามสถานการณ์น้ำท่วมได้อย่างทันท่วงที โดยใช้ข้อมูลของผู้ใช้งานที่แจ้งระบบเข้ามาในรัศมี 500 เมตร ภายในเวลา 6 ชั่วโมงก่อนหน้า มาแสดงผลเพื่อให้พวกเราวางแผนการเดินทางจากบ้านหรือที่ทำงานได้ เรียกว่าร่วมด้วยช่วยกันเพื่อไม่ให้ต้องเอามือพายเรือระหว่างทาง แถมลดโอกาสเสี่ยงเท้าราน้ำอีกด้วย วิธีตรวจสอบน้ำท่วมนั้นก็แสนสะดวก เริ่มจาก Add LINE เพิ่มเพื่อนที่ bit.ly/3BC4uWI จากนั้นมองหาไอคอนรูปบ้านโดนน้ำท่วมสีเขียวด้านล่าง เพื่อขอตรวจสอบน้ำท่วม โดยส่งพิกัดที่อยากรู้และรอผล หรือหากอยากแจ้งปัญหาอื่นๆ เช่น ต้นไม้ล้ม เสาไฟหัก ก็ทำได้ด้วยการเลือกไอคอนสีเหลือง ‘แจ้งเรื่องใหม่’ ได้เลย ติดตามความคืบหน้าของการรายงานปัญหา หรือเข้าไปแจ้งปัญหาเส้นเลือดฝอย รวมถึงดูคู่มือการใช้งาน Traffy Fondue ได้ที่ https://www.traffy.in.th/

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.