1 ยูนิต 18 ล้านบาท ราคาคอนโดฯ โตเกียวพุ่งแซงสถิติสูงสุดที่เคยบันทึกปี 1990

คอนโดฯ ในโตเกียวราคาแพงหนักมากกก ล่าสุดมีรายงานว่าปี 2021 ที่ผ่านมา ราคาเฉลี่ยของคอนโดมิเนียมใหม่ต่อหนึ่งยูนิต ทั้งในพื้นที่โตเกียวและบริเวณใกล้เคียงพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ตัวเลข 62.60 ล้านเยน (ราคา 18 ล้านบาทนิดๆ) แซงหน้าจำนวนสูงสุดที่เคยบันทึกไว้ในปี 1990 เลยทีเดียว ราคาคอนโดฯ ที่ว่า เพิ่มขึ้นเป็น 2.9 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อนหน้า เพิ่มทั้งในเขตเมืองหลวงและในอีกสามจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ คานางาวะ, ชิบะ และไซตามะ  สาเหตุของราคาแพงลิบลิ่ว มาจากความนิยมที่มีต่ออสังหาริมทรัพย์หรูหราที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น คอนโดฯ สูงใจกลางเมืองโตเกียว ก็คือย่านที่อยู่ฮอตฮิตที่ทุกคนล้วนใฝ่ฝันอยากเป็นเจ้าของ เมื่อเทียบราคาคอนโดฯ ต่อยูนิตที่เคยมียอดเฉลี่ยแตะเพดานสูงสุด ระหว่างปี 1990 กับปี 2021 ช่วงต้น 90s ราคาคอนโดฯ แถบเขตโตเกียวอยู่ที่จำนวน 61.23 ล้านเยน (ราคาประมาณ 17 ล้านกว่าบาท) ราคาที่แพงมากในปัจจุบันนี้ มาจากต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นับตั้งแต่ญี่ปุ่นเริ่มเตรียมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกโตเกียวปี 2013 ประกอบกับปัจจัยการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ส่งผลให้ราคาต่อหน่วยพุ่งสูงขึ้นมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และแน่นอน ต่อจากนี้ราคาไม่อาจลดต่ำลงได้ง่ายๆ […]

‘คุณโทมาริ นักจัดบ้านด้วยการจัดใจ’ นิยายที่บอกว่าถ้าใจเป็นยังไงบ้านก็เป็นอย่างนั้น

หากพูดถึงการจัดบ้านขึ้นมาเมื่อไหร่ หลายคนน่าจะนึกถึงชื่อ ‘มาริเอะ คนโดะ’ นักจัดบ้านชาวญี่ปุ่นเจ้าของหนังสือ The Life-Changing Magic of Tidying Up ที่โด่งดังไปทั่วโลก ขนาดเราเองยังหยิบยืมคำ Spark Joy ที่เธอใช้เวลาเจอสิ่งของที่จุดประกายความสุขมาพูดอยู่บ่อยๆ แต่สำหรับ คุณโทมาริ นักจัดบ้านในหนังสือ ‘คุณโทมาริ นักจัดบ้านด้วยการจัดใจ’ เราคิดว่าเธอไม่ได้เหมือนคุณมาริเอะเท่าไหร่หรอกนะ “คนที่เก็บกวาดห้องให้เรียบร้อยไม่ได้คือคนที่มีปัญหาทางใจ” ด้วยความเชื่อเช่นนี้ งานหลักของ โทมาริ โอบะ นักจัดบ้านหญิงวัย 54 จึงไม่ใช่การช่วยทำความสะอาดบ้านให้เหล่าลูกค้า แต่เป็นการแนะแนววิธีจัด “เก็บ” หรือเลือก “ทิ้ง” ข้าวของรอบตัว ซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนมุมมองความคิดในการใช้ชีวิตของผู้คนเหล่านั้น อ่านคำโปรยเท่านี้ เราก็ทราบได้ทันทีว่านิยายหนา 300 กว่าหน้าเล่มนี้ไม่ได้มาสอนฮาวทูการจัดบ้านเท่านั้น แต่น่าจะช่วยจัดความรู้สึกข้างในหรือ ‘ใจ’ ของผู้คนควบคู่ไปด้วย และนี่คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้เราเลือกหยิบเล่มนี้มาอ่านในช่วงคาบเกี่ยวของท้ายปีเก่า-ต้นปีใหม่ที่เป็นช่วงทำความสะอาดห้องและปัดเป่าเรื่องในใจครั้งใหญ่ของเรา หลายคนน่าจะเคยประสบปัญหาทิ้งของไม่ลง เก็บของไว้ในบ้านจนเต็มไปหมดทั้งที่ไม่ได้ใช้ ซื้อของใหม่ทั้งที่มีของที่คล้ายกันอยู่แล้ว หรือกระทั่งไม่รู้ด้วยซ้ำว่าของที่ซื้อมาหมดอายุการใช้งานไปนานแล้ว ทั้งหมดนี้ถ้ามองเผินๆ ก็คงดูเป็นเรื่องปกติที่ใครก็เป็นกัน ทว่าความจริงแล้วมันต่างยึดโยงกับปัญหาภายใน ไม่ว่าจะเป็นการช้อปปิงบำบัดความเครียดที่คนทำงานออฟฟิศจำนวนมากประสบ หรือบางคนอาจสาหัสขนาดมีอาการโรคเก็บสะสมของ ไม่กล้าทิ้งของอะไรเลยเพราะกลัวไม่มีใช้ จนต้องพบแพทย์เพื่อรักษาอาการ […]

BOOK AND BED TOKYO โฮสเทลฮิตที่ตอบโจทย์ทั้งการนอน การอ่าน และการทำงานนอกบ้าน

BOOK AND BED TOKYO เป็นโฮสเทลที่มีแนวคิดว่า ทุกคนสามารถดื่มด่ำกับหนังสือจำนวนกว่า 4,000 เล่มที่จัดเก็บในห้องหนังสือขนาดใหญ่ได้อย่างง่ายดาย ได้นอนหลับพักผ่อนบนเตียงสบายๆ เป็นแหล่งพบปะกันของเหล่าหนอนหนังสือ และยังได้จิบเครื่องดื่มจากคาเฟ่ในที่พักระหว่างการอ่านหนังสือหรือทำงานได้อย่างรื่นรมย์ ทำให้โฮสเทลที่เต็มไปด้วยสิ่งพิมพ์มากมายแห่งนี้ เหมาะสำหรับการอ่านหนังสือในช่วงพักจากการทำงาน อย่างในสาขาชินจูกุ ก็มีชั้นหนังสือเรียงกันเป็นแถวๆ และมีเตียงซ้อนกัน ยิ่งไปกว่านั้น ที่พักสำหรับยอดนักอ่านดังกล่าว ยังเหมาะสมกับคนทำงานแบบ Telework ซึ่งทำงานอยู่ที่ไหนบนโลกก็ได้เสียด้วย ที่พักเจ้าไอเดียนี้ มีจำนวนเตียงทั้งหมด 55 เตียง แบ่งพื้นที่อ่านหนังสือด้วยผ้าม่าน ซึ่งมีให้เลือกทั้งในรูปแบบห้องเดี่ยวและห้องคู่ พร้อมวิวแสงสีช่วงตอนกลางคืนของย่าน Kabukicho ในชินจูกุ ทั้งนี้ยังมีห้องอาบน้ำ และห้องสุขาส่วนกลางที่แยกตามเพศไว้ให้บริการด้วย  จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ BOOK AND BED TOKYO ถูกมองว่าเป็นร้านหนังสือที่ผู้คนมาพักค้างคืนได้ อย่างที่สาขาชินจูกุ ผู้ใช้บริการจะได้รับประสบการณ์การนอนข้างชั้นวางหนังสือประมาณ 2,500 เล่ม ซึ่งมีประเภทและสไตล์ที่หลากหลาย ตั้งแต่นวนิยาย มังงะ สมุดภาพ และตำราปรัชญา แม้ว่าจะไม่มีการจัดจำหน่ายหนังสือ แต่บรรดาแขกก็สามารถหยิบมันมาอ่านได้เท่าที่ใจต้องการ ซึ่งโฮสเทลนี้ไม่ได้มีแค่เตียงนอนรองรับคนมาทำงานรูปแบบระยะไกลเท่านั้น แต่ยังมีพื้นที่ส่วนกลางที่มีผู้คนจำนวนมากมาใช้สอยด้วย ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งคิดเป็นจำนวนถึง 70 […]

‘ความรักอัดกระป๋อง’ ขายในตู้อัตโนมัติ บริการใหม่จากบริษัทหาคู่ในญี่ปุ่น

ตู้ขายสินค้าอัตโนมัติเป็นเหมือนอีกสัญลักษณ์หนึ่งของญี่ปุ่นไปแล้ว ไม่ใช่แค่ปริมาณที่มีอยู่ทั่วเมืองเท่านั้น แต่ความล้ำของสินค้ายังพัฒนาและใส่ไอเดียไปต่อได้ไม่มีที่สิ้นสุด มีขายตั้งแต่เครื่องดื่มสารพัดชนิด ไปจนถึงขนมและอาหารหลากหลายยี่ห้อ จนล่าสุดบริษัทหาคู่ในญี่ปุ่นเกิดไอเดียสนุกๆ เอา ‘ความรัก’ มาอัดกระป๋องขายในตู้อัตโนมัติ ให้คนโสดได้แวะเลือกช้อปโปรไฟล์คนที่อยากเดตได้ เพราะอยากให้คนญี่ปุ่นมีความรักและแต่งงานกันมากขึ้น  ‘ความรักอัดกระป๋อง’ คือไอเดียของบริษัทจัดหาคู่ Matching Advisor Press (MAP) ที่นำเจ้าตู้สุดแปลกนี้ไปตั้งไว้ที่เมืองคาตายามะในโตเกียว มองภายนอกดูไม่ต่างจากตู้เครื่องดื่มทั่วไปเลยสักนิด เพราะเป็นกระป๋องอะลูมิเนียมเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ไม่มีเครื่องดื่มข้างใน และคุณจะได้โอกาสในการคุยกับบริษัทจัดหาคู่แทน (ไม่ได้คุยกับคนในกระป๋องโดยตรงอย่างที่คิด) กระป๋องสีชมพูคือโปรไฟล์ของผู้หญิง ส่วนสีครีมคือของผู้ชาย ซึ่งบริการนี้ของ MAP ไม่ได้ทำเอาสนุกเท่านั้น แต่พวกเขาหวังจะช่วยให้คนโสดในญี่ปุ่นได้เจอความสัมพันธ์ที่จริงจัง ไปจนถึงขั้นแต่งงานกันเลย  ความรักกระป๋องสนนราคาอยู่ที่ 3,000 เยน (ประมาณ 900 บาท) ถือว่าราคาไม่ได้โหดร้ายเกินไป เมื่อแลกกับโอกาสที่อาจจะเจอรักแท้ แต่ถึงจะเลือกคนที่เราอยากเดตได้ บริการนี้ก็ไม่ได้การันตีว่าซื้อไปแล้วจะได้ออกเดตจริงๆ และคนที่เราได้เดตอาจจะไม่ใช่คนจากกระป๋องที่เราเลือกจริงๆ ก็ได้ ที่กระป๋องจะมีแค่โปรไฟล์สั้นๆ ที่เขียนโดยที่ปรึกษาของ MAP ซึ่งทำหน้าที่เป็นแม่สื่อแปะอยู่ และระบุอายุเอาไว้ให้จินตนาการต่อเท่านั้น ไม่ได้มีรูปหรือข้อมูลส่วนตัวแปะไว้แต่อย่างใด เช่น “ฉันคือที่ปรึกษาของอิชิกาวะ เธออายุ 27 ปี และอยากแต่งงาน ฉันสามารถแนะนำให้คุณได้นะ” […]

รณรงค์หยุด Bully ผ่านสติกเกอร์ Line ฝีมือนักเรียนญี่ปุ่นในโยโกฮาม่า

สมาคมผู้ปกครองและครู (PTA) ประจำโรงเรียนชั้นประถมศึกษาในเมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่นผุดไอเดียเด็ด สร้างสรรค์สติกเกอร์ในธีมหยุดการบุลลี่ลงบนแอปพลิเคชันแชตยอดฮิตอย่าง Line  สติกเกอร์นี้มาจากภาพประกอบฝีมือนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษายามาอุจิ (Yamauchi) ในเขตอาโอบะ เมืองโยโกฮาม่า โดยแนบถ้อยคำให้กำลังใจเด็กๆ ไว้ในภาพ ซึ่ง Seijun Sato อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนหวังว่าคนที่ได้ใช้สติกเกอร์เหล่านี้จะได้รับความรู้สึกอบอุ่นหัวใจ สติกเกอร์ที่ว่ามีทั้งหมด 178 รูปแบบ ประกอบไปด้วยวลีภาษาญี่ปุ่นต่างๆ อาทิ ขอบคุณ, คุณทำได้ดีมาก และ ฉันอยู่ข้างคุณเสมอนะ โดยวางเคียงกับเจ้าการ์ตูนมาสคอตของโรงเรียนที่มีชื่อว่า ‘คีย์ลีฟ (Keyaleaf)’ สติกเกอร์ชุดดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือกับนักวาดภาพประกอบชื่อ ‘โดคุคิโนโกะ (Dokukinoko)’ ซึ่งลูกสาวของนักวาดภาพคนนี้ ก็เข้าเรียนในโรงเรียนประถมฯ เช่นกัน เธอทำสติกเกอร์คีย์ลีฟกับ PTA ในปี 2019 และเปิดตัวโปรเจกต์อื่นๆ เพื่อทำสติกเกอร์จากภาพที่เด็กนักเรียนวาดในปี 2020 ซึ่งทำให้ได้รับภาพวาดทั้งหมดมาจากเด็กๆ จำนวนประมาณ 100 คน เมื่อเดือนมกราคม 2021 โดคุคิโนโกะยังได้รับรางวัลสูงสุด ประเภทภาพวาดประกอบจากเวที ‘yuru-chara’ โดยศิลปินเข้าร่วมประกวดในธีมป้องกันการฆ่าตัวตายเพราะการถูกกลั่นแกล้ง ซึ่งรางวัลนี้จัดขึ้นโดยองค์กรไม่แสวงผลกำไรในโตเกียว  ต่อมาในเดือนมิถุนายน ระหว่างการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน โดคุคิโนโกะได้แนะนำให้มีการทำสติกเกอร์ไลน์เพื่อป้องกันการบุลลี่ขึ้นมา […]

เลนส์แว่นตากู้หน้าสดจาก JINS ด้วย Cheek Color Lens เลนส์แว่นแก้มแดงแค่ใส่ก็เหมือนแต่งหน้าและผิวดูสุขภาพดี

แก้มแดงอมชมพูเหมือนเลือดสูบฉีด ดูสุขภาพดีจากภายในสู่ภายนอก แถมยังดูสดใสอย่างเป็นธรรมชาติด้วย ‘Cheek Color Lens’ เลนส์แว่นตาชนิดใหม่จากแบรนด์ JINS ที่สร้างเอฟเฟกต์สีบริเวณแก้มทั้งสองข้าง เพียงแค่สวมแว่นตาก็ดูเหมือนแต่งหน้าแล้ว!

มื้อนี้ไม่ง้อแมสก์ ประสบการณ์มื้ออาหารใต้โคมโบราณป้องกันโควิด-19

เรียวกังชื่อ Hoshinoya ในเมืองโตเกียวหัวใส จัดมื้ออาหารในโรงแรมที่เรียกว่า Tokyo Lantern Dinner ซึ่งมีการจัดเตรียมโคมใสที่สร้างสรรค์จากไวนิลให้บรรดาแขกที่มากินข้าว ได้ร่วมมื้ออาหารโดยไม่ต้องสวมแมสก์ให้รำคาญใจกันอีกต่อไป ซึ่งนี่คือหนึ่งในผลผลิตของงานดีไซน์ ที่ทำให้เราเห็นว่าอุตสาหกรรมการออกแบบทั่วโลกต่างก็รับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่แผงกั้นระหว่างโต๊ะกินข้าว หรือรถส่งอาหารแบบไร้การสัมผัส แสดงให้เห็นว่าดีไซเนอร์พยายามจะทำให้การกินข้าวนอกบ้านเป็นเรื่องเป็นไปได้ในช่วงสามปีที่ผ่านมา แม้แต่ในปี 2021 นี้ ผลกระทบของโควิดที่มีต่อการกินข้าวนอกบ้านก็ยังคงมีอยู่เสมอ ส่งผลให้ยังเกิด New Normal เวอร์ชันใหม่ๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ เช่นเดียวกับที่โรงแรม Hoshinoya ในย่าน Otemachi ของกรุงโตเกียว ที่ได้ออกแบบประสบการณ์การกินอาหารในยุคนี้ให้สะดวกสบายมากขึ้น โดยสร้างโคมแทนแผงกั้นใสให้แขกของโรงแรมได้ใช้งาน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิดระหว่างมื้ออาหาร สิ่งนี้ออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าได้รู้สึกถึงความเป็นอิสระ โดยที่ไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยระหว่างมื้ออาหาร แผงกั้นจากโคมนี้ถูกคิดค้นขึ้นโดยโรงแรมเอง ซึ่งบันดาลใจมาจากความคุ้นเคยในวัฒนธรรมการใช้โคมของญี่ปุ่น  โดยที่ส่วนยอดของโคมแต่ละอัน จะให้แสงอุ่นนุ่มนวลส่องลงมาจากบริเวณเหนือหัว ทำให้ใบหน้าของผู้ใช้บริการดูสว่างสดใส มองแล้วดูสบายตา เช่นเดียวกับแสงที่ตกกระทบจานอาหาร เจ้าโคมตัวนี้ผลิตโดยร้านโคมเจ้าเก่าแก่ชื่อ Kojima Shoten ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเกียวโต โดยที่โคมแต่ละชิ้นจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 75 เซนติเมตร และสูงถึง 102 เซนติเมตร ทำให้มีพื้นที่เหลือเฟือในการเพลิดเพลินกับมื้ออาหาร โดยไม่ต้องกังวลหรือกลัวว่าการทานอาหารจะหกเลอะเทอะตัวโคมที่มีความหนา 0.15 เซนติเมตร  ดีไซเนอร์ผู้อยู่เบื้องหลังมื้ออาหารที่มีโคมรูปแบบนี้ […]

พ่อก็คือพ่อ Waseda สร้างห้องสมุด Haruki Murakami 

เดือนพฤศจิกายน 2563 สถาปนิก Kengo Kuma ได้ออกแบบห้องสมุดสาธารณะที่มหาวิทยาลัย Waseda โตเกียว ซึ่งในอดีตนักเขียนชื่อดัง Haruki Murakami เคยเป็นนักศึกษาเอกการละครสมัยเรียนปริญญาตรี ห้องสมุดที่ว่านี้ชื่อ Murakami หรือชื่อทางการ Waseda International House of Literature  ห้องสมุดนี้จัดเก็บเอกสารส่วนตัว แผ่นเสียงนับหมื่นของมุราคามิ รวมถึงหนังสือและต้นฉบับงานเขียน นอกจากนี้ยังมีสำเนาการศึกษา พร้อมด้วยโต๊ะ หนังสือ และเครื่องเล่นแผ่นเสียง แถมยังมีคาเฟ่ดำเนินกิจการโดยนักศึกษาซึ่งให้บริการกาแฟคั่วเข้มที่มุราคามิชื่นชอบ และ Audio Room ที่แผ่นเสียงบางส่วนถูกประทับตรา Petercat ชื่อแจ๊สบาร์ที่มุราคามิเป็นเจ้าของหลังเรียนจบ (คาเฟ่นี้มีอีกชื่อว่า ‘แมวส้ม’ ด้วย) คุมะได้รับแรงบันดาลใจการออกแบบจากเรื่องราวของมุราคามิ ผู้เข้าชมจะได้เข้าไปในอุโมงค์ ซึ่งบริเวณชั้น B1 มีชั้นวางหนังสือไม้โค้งขนาดใหญ่ คุมะตีความว่าคือการปลุกอารมณ์ตัวละครของนักเขียนรุ่นใหญ่ที่เล่าเรื่องระหว่างความจริงและความเหนือจริง มุราคามิเล่าในงานแถลงข่าวห้องสมุดนี้ว่า เขาหวังจะเห็นสถานที่ทำนองนี้ถูกสร้างขึ้นหลังตัวเองตายมากกว่า เขาจะได้พักผ่อนอย่างสงบ และมีคนมาดูแลสิ่งของเหล่านี้ต่อไป ซึ่งมุราคามิรู้สึกประหม่าเล็กน้อย เมื่อได้เห็นห้องสมุดของตัวเองในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ Source : LITHUBPhoto : Kisa Toyoshima

‘แม่จ๋า อันนี้เอาไว้ทำอะไร’ หนังสือภาพกลไกสิ่งของรอบตัวสำหรับเด็กญี่ปุ่นช่วยพ่อแม่ตอบคำถามลูกแบบละเอียดยิบ

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หรือมือเก่าหลายๆ คนคงเคยต้องตอบคำถามลูกๆ วัยเจ้าหนูจำไมอยู่เรื่อยๆ คำถามบางคำถามไม่ได้ยากจนโลกแตก เช่น ‘แม่จ๋า น้ำในชักโครกไหลมาจากไหน’ แต่ก็ไม่ง่ายที่จะอธิบายให้เด็กฟัง หนังสือภาพจากญี่ปุ่นเล่มนี้เลยรวบรวมคำตอบพร้อมภาพประกอบสุดน่ารักไว้ให้คุณพ่อคุณแม่แล้ว! หนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า ‘きかいのしくみ図鑑’ หรือ ‘อันนี้ทำงานอย่างไรนะ’ เป็นหนังสือภาพที่อธิบายโครงสร้างภายในและกลไกต่างๆ ของสิ่งรอบตัวว่าทำงานอย่างไร โดยแบ่งสิ่งของออกเป็น 3 ส่วน คือ สิ่งของที่อยู่ในบ้าน (พัดลม ไฟฉาย นาฬิกา กบเหลาดินสอ เครื่องดูดฝุ่น) สิ่งของที่อยู่ในเมือง (บันไดเลื่อน ตู้กดน้ำ ลิฟต์) และยานพาหนะ (รถขยะ รถดับเพลิง จรวด) ทั้งยังมีลูกเล่นเป็นภาพป็อปอัปเสริมการเรียนรู้ให้เด็กวัยอนุบาลได้ดีอีกด้วย หนังสือภาพป็อปอัปเล่มนี้สนนราคาอยู่ที่ 2,178 เยน หรือ 645.55 บาท หาซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไปในญี่ปุ่น Source : Tonari ญี่ปุ่น | https://www.facebook.com/tonarijapanth/posts/1703424116531478

RIP ร่วมวางดอกไม้จันทน์ให้ตัวละครที่ตายจากมังงะเรื่องโปรด ณ สุสานในนิทรรศการ 2 D Afterlife

‘2 D Afterlife’ นิทรรศการจากศิลปนิพนธ์ของ จิณห์นิภา นิวาศะบุตร ผู้จัดงานไว้อาลัยให้การ์ตูนตัวโปรดที่ตายเป็นงานศิลปะ

Park-PFI โปรเจกต์ดิ้นรนหาสเปซสีเขียวของญี่ปุ่น เกาะพื้นที่ไม่มากแต่ประชากรหนาแน่นมาก

รู้จัก Park-PFI โครงการที่รัฐบาลญี่ปุ่นจับมือกับภาคเอกชนเสริมสวยสวนสาธารณะเพื่อสร้างที่สีเขียวให้กระตุ้นเศรษฐกิจในนัดเดียว

รถติดนัก งั้นเหาะซะเลย! กระเช้าลอยฟ้า ‘Zippar’ ขนส่งใหม่ของญี่ปุ่น จุคนได้ 3,000 คน/ชม. คาดใช้จริงปี 2025

ชวนส่องโปรเจกต์กระเช้าลอยฟ้า การเดินทางรูปแบบใหม่ ไอเดียโดนๆ จากสตาร์ทอัปญี่ปุ่น

1 2 3 4 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.