Sex Worker ก็อยากสมหวังในรัก ‘ถาม’ ซิงเกิลใหม่จาก Patcha ที่อยากให้สังคมยอมรับอาชีพนี้มากขึ้น

เพราะความรักคือสิ่งที่สวยงาม และทุกคนสามารถพบเจอกับความรักที่ดีได้ในสักวัน ไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นใครหรือทำอาชีพไหนก็ตาม นี่คือความเชื่อและแรงบันดาลใจเบื้องหลังมิวสิกวิดีโอเพลง ‘ถาม’ ซิงเกิลใหม่จาก ‘พัดชา (Patcha)’ ที่นำเสนอเรื่องราวและพูดถึงความรักในมุมมองของ ‘ผู้ค้าบริการทางเพศ (Sex Worker)’ หลังได้พบกับลูกค้าหนุ่มขาประจำหลายครั้ง จนทั้งคู่เริ่มมีความรู้สึกดีๆ ให้กันมากเป็นพิเศษ แต่ทั้งสองก็ยังไม่กล้าพัฒนาความสัมพันธ์ไปมากกว่านี้ เพราะไม่แน่ใจว่า แท้จริงแล้วความรู้สึกเหล่านั้นเกิดจาก ‘ความรัก’ หรือ ‘ความปรารถนาทางเพศ’ กันแน่ พัดชาอยากใช้ซิงเกิลนี้พูดถึงความรักของ Sex Worker ที่อยากจะสมหวังในความรักเหมือนคนอื่นๆ เพราะเขาเชื่อว่าความรักคือสิ่งสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นใครหรือทำอาชีพไหน ทุกคนสามารถเจอความรักที่ดีได้ในสักวัน และอยากให้สังคมไทยเปิดใจและยอมรับคนที่ทำอาชีพ Sex Worker มากขึ้น พัดชา (อดีตสมาชิกวง Chanudom) คือศิลปินคนแรกในสังกัด Red Clay ค่ายเพลงน้องใหม่ที่ก่อตั้งโดย กวิน อินทวงษ์ โปรดิวเซอร์ชื่อดังที่อยู่เบื้องหลังเพลงฮิตยอดวิว 100 ล้านมากมาย เช่น เพลง ‘อ้าว’ ‘Please’ และ ‘ทางของฝุ่น’ ของศิลปิน อะตอม ชนกันต์ และยังเคยทำงานร่วมกับศิลปินคนอื่นๆ […]

สังคมแบบไหนช่วยให้รักเบ่งบาน : ความรักและรัฐสวัสดิการกับ ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี

ในหนังสือ ‘The Radicality of Love’ สเรซโก ฮอร์วัต (Srećko Horvat) นักปรัชญาและนักเคลื่อนไหวชาวโครเอเชียวิเคราะห์ความหมายของการรักใครสักคนว่าเป็น ‘การยอมรับความเสี่ยง’ ความเสี่ยงที่ชีวิตของฉันและเธอต่อจากนี้จะไม่เหมือนเดิม ความเสี่ยงที่จะผ่านการทะเลาะ หรืออาจจะจบที่การเลิกรา  แต่ถ้าชีวิตเจอกับปัญหาสาหัสมามากพอแล้วในแต่ละวัน สังคมทุนนิยมก็นำเสนอ ‘ความรักแบบไร้ความเสี่ยง’ มาให้ ทั้งในรูปแอปพลิเคชันหาคู่ การเดตในเวลาจำกัดหรือแม้แต่ออกเดตคนเดียว หรือตัวละครเสมือนที่ทดแทนคู่รักในโลกจริง (แต่ไม่ได้แปลว่าเราจะไม่เจอรักแท้เสียทีเดียวนะ) กลับมาดูบริบทสังคมรอบตัวเรา ตั้งแต่ออกไปหน้าบ้าน แค่เดินทางเท้าก็เสี่ยงจะตกท่อระบายน้ำ จนชุ่มฉ่ำหรือขาเคล็ดได้เพราะบล็อกทางเดินที่ไม่เรียบ จนถึงปัญหาใหญ่อย่าง ความเหลื่อมล้ำ ความยากจนที่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำเพราะไม่รู้ว่าวันต่อมาจะมีกินหรือไม่ เหล่านี้อาจจะเป็นความเสี่ยงที่ทำให้คนไม่กล้ามี ‘ความรัก’ หรือ มี ‘ความรักแบบปลอดภัยไว้ก่อน’ เพราะไม่รู้จะซ้ำเติมความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของชีวิตด้วยความเสี่ยงอีกทบหนึ่งไปทำไม  แล้วสังคมแบบไหนที่พอจะช่วยให้ความรักเราเบ่งบานได้บ้างล่ะ ถ้าเรามีความมั่นคงในชีวิตจากสวัสดิการพื้นฐาน เราจะมีความรักที่ดีได้ไหม เรานำคำถามนี้มาคุยกับ ‘ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี’ อาจารย์จากวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้พยายามผลักดันให้ประเทศไทยเกิด ‘รัฐสวัสดิการ’ ผ่านทั้งบทบาทนักวิชาการ และผู้สอนหนังสือ เคยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ในช่วงต้น จนถึงเคยขึ้นปราศรัยผลักดันประเด็นนี้บนเวทีของกลุ่ม ‘ราษฎร’ ที่หน้าสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์เมื่อปีก่อน ษัษฐรัมย์เคยใช้ชีวิตและทำงานในประเทศที่มีรัฐสวัสดิการดูแลผู้คนตั้งแต่เกิดจนตายในแถบสแกนดิเนเวีย ล่าสุด เขาตัดสินใจทิ้งโอกาสในหน้าที่การงานในฟินแลนด์มาสอนหนังสือต่อที่ไทย มุมมองต่อความรักของเขาเป็นอย่างไร […]

5 ภาพยนตร์ LGBTQ+ ที่ขับเคลื่อนความรักของทุกคนให้เท่าเทียมกัน

“คนเท่ากัน สมรสเท่าเทียม” จากมูฟเมนต์ความเท่าเทียมทางเพศที่กลายเป็นกระแสสังคมที่แข็งแรงขึ้นและขยายวงกว้างไปทั่วโลก เราได้เห็นหลายประเทศหันมาสนใจ และลงมือแก้ไขกฎหมายให้คู่รักเพศเดียวกันสมรสได้อย่างถูกต้อง และได้รับสิทธิเท่าเทียมกับคู่รักต่างเพศ  ในทางกลับกัน ประเทศไทยที่อ้างตัวเสมอว่า เป็นดินแดนเสรี กลับยังคงไม่มีหนทางที่ชัดเจนให้กับการผ่านกฎหมายนี้ จนมวลชนต้องลุกขึ้นมาล่ารายชื่อแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 เพื่อให้กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับศักดิ์และสิทธิ์ไม่ต่างจากใครๆ ด้วยวาระที่ทวีความสำคัญมากขึ้นทุกวัน Urban’s Pick จึงอยากชวนคุณมาทำความเข้าใจความสำคัญของ #สมรสเท่าเทียม ผ่าน 5 ภาพยนตร์ที่ว่าด้วยความรัก ความสัมพันธ์ และสิทธิของคู่รัก LGBTQ+ ในเดือนแห่งความรัก ที่ไม่ว่าคนเพศไหนก็ควรจะรักกันได้อย่างมั่นใจ โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติจากสังคม 01 Your Name Engraved Herein (2020) ไต้หวัน น่าจะเป็นประเทศในเอเชียที่เรียกว่า ‘ก้าวหน้าที่สุด’ ในมูฟเมนต์เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ เพราะนอกจากจะเป็นประเทศแรกที่รัฐสภาให้ผ่านกฎหมายแต่งงานเพศเดียวกันตั้งแต่ปี 2019 สื่อไต้หวันยังทำคอนเทนต์ที่ขับเคลื่อนสิทธิของคนเพศหลากหลายจำนวนไม่น้อย หนึ่งในนั้นคือภาพยนตร์เรื่อง Your Name Engraved Herein ที่กวาดรายได้ไปกว่า 100 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน ภาพยนตร์ดราม่าเรื่องนี้ พาผู้ชมย้อนกลับไปในยุคหลังยกเลิกกฎอัยการศึก (Martial Law : 1949 […]

My Fluffy and Worthy Love : ความรักที่อยากแก่ชราไปด้วยกัน

เราชอบถ่ายรูปผ่านสมาร์ตโฟน เพราะมันบันทึกความทรงจำได้ไวและง่ายที่สุด บวกกับโตมาในยุคของ Instagram รูปถ่ายส่วนใหญ่ของเราจึงเป็นภาพสี่เหลี่ยมจัตุรัสไปโดยปริยาย เรามีความสุขกับการเก็บภาพผ่านกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัสนี้มาก มุมเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน อาหารที่กินแล้วอยากกินอีก แสงแดดที่เห็นแล้วชอบ ท้องฟ้าที่เห็นแล้วประทับใจ กระทั่งความทรงจำธรรมดาที่ผ่านตาแบบไม่ทันคิดอะไรแต่อยากบันทึกไว้ พูดง่ายๆ ว่าชีวิตในแต่ละช่วงของเราล้วนได้ถูกบอกเล่าในภาพถ่ายทั้งหมด และในช่วงชีวิตที่ผ่านมา ภาพที่เราถ่ายไว้มากที่สุดคือ ‘คุณ’ เรากับคนรักที่เป็นผู้หญิงเหมือนกันคบกันมา 7 ปีแล้ว ความรักของเราคือความรักธรรมดาทั่วไป อยากเห็นเขาได้รับสิ่งดีๆ เจออะไรน่ารักก็คิดถึงเขา การมีความรักเป็นเรื่องที่งดงามและล้ำค่ามากๆ สำหรับเรา เพราะมันเป็นการได้รับพลังที่ส่งต่อจากคนคนหนึ่ง การถูกรัก การได้ส่งความรัก ทำให้เรามีพลังในการใช้ชีวิตและรักตัวเองมากขึ้น เราแชร์กับเขาได้ทุกความรู้สึก ความทุกข์ไม่ต้องถูกซุกซ่อนไว้ วันไหนที่ใจไม่ค่อยดี แค่คิดว่ากลับบ้านไปแล้วได้เจอเขา เรื่องหม่นใจก็ถูกปัดเป่าไปหมด  คนรักเราชอบอ่านหนังสือ ชอบจดบันทึก ไม่ชอบฟังเพลงเท่าไหร่ ชอบถ่ายพุ่มหญ้าต้นไม้ และชอบเขียนการ์ดขอบคุณ หน้าตาตอนมีความสุขกับของกินอร่อยๆ ตายิ้มๆ มือก้อนๆ ที่ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ เราอยากบันทึกไว้ทั้งหมด เพราะภาพถ่ายชีวิตประจำวันไม่ได้บรรจุแค่ความทรงจำเท่านั้น มันมีทั้งความรักความรู้สึกที่เรามีต่อเขาและสิ่งต่างๆ ที่รวมอยู่ด้วยในตอนนั้น เวลาย้อนกลับมานั่งดูมันชื่นใจ ความฝันของเรากับคนรักคือ อยากมีชีวิตที่ดี เติบโต และแก่ชราไปด้วยกัน แต่เราทั้งคู่กลับต้องสงสัยอยู่เสมอว่าจะมีชีวิตไปด้วยกันจนแก่ในฐานะคนรักได้ไหม หรือต้องถูกเข้าใจว่าเป็นเพื่อนสนิทกันไปแบบนี้ […]

‘ความรักอัดกระป๋อง’ ขายในตู้อัตโนมัติ บริการใหม่จากบริษัทหาคู่ในญี่ปุ่น

ตู้ขายสินค้าอัตโนมัติเป็นเหมือนอีกสัญลักษณ์หนึ่งของญี่ปุ่นไปแล้ว ไม่ใช่แค่ปริมาณที่มีอยู่ทั่วเมืองเท่านั้น แต่ความล้ำของสินค้ายังพัฒนาและใส่ไอเดียไปต่อได้ไม่มีที่สิ้นสุด มีขายตั้งแต่เครื่องดื่มสารพัดชนิด ไปจนถึงขนมและอาหารหลากหลายยี่ห้อ จนล่าสุดบริษัทหาคู่ในญี่ปุ่นเกิดไอเดียสนุกๆ เอา ‘ความรัก’ มาอัดกระป๋องขายในตู้อัตโนมัติ ให้คนโสดได้แวะเลือกช้อปโปรไฟล์คนที่อยากเดตได้ เพราะอยากให้คนญี่ปุ่นมีความรักและแต่งงานกันมากขึ้น  ‘ความรักอัดกระป๋อง’ คือไอเดียของบริษัทจัดหาคู่ Matching Advisor Press (MAP) ที่นำเจ้าตู้สุดแปลกนี้ไปตั้งไว้ที่เมืองคาตายามะในโตเกียว มองภายนอกดูไม่ต่างจากตู้เครื่องดื่มทั่วไปเลยสักนิด เพราะเป็นกระป๋องอะลูมิเนียมเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ไม่มีเครื่องดื่มข้างใน และคุณจะได้โอกาสในการคุยกับบริษัทจัดหาคู่แทน (ไม่ได้คุยกับคนในกระป๋องโดยตรงอย่างที่คิด) กระป๋องสีชมพูคือโปรไฟล์ของผู้หญิง ส่วนสีครีมคือของผู้ชาย ซึ่งบริการนี้ของ MAP ไม่ได้ทำเอาสนุกเท่านั้น แต่พวกเขาหวังจะช่วยให้คนโสดในญี่ปุ่นได้เจอความสัมพันธ์ที่จริงจัง ไปจนถึงขั้นแต่งงานกันเลย  ความรักกระป๋องสนนราคาอยู่ที่ 3,000 เยน (ประมาณ 900 บาท) ถือว่าราคาไม่ได้โหดร้ายเกินไป เมื่อแลกกับโอกาสที่อาจจะเจอรักแท้ แต่ถึงจะเลือกคนที่เราอยากเดตได้ บริการนี้ก็ไม่ได้การันตีว่าซื้อไปแล้วจะได้ออกเดตจริงๆ และคนที่เราได้เดตอาจจะไม่ใช่คนจากกระป๋องที่เราเลือกจริงๆ ก็ได้ ที่กระป๋องจะมีแค่โปรไฟล์สั้นๆ ที่เขียนโดยที่ปรึกษาของ MAP ซึ่งทำหน้าที่เป็นแม่สื่อแปะอยู่ และระบุอายุเอาไว้ให้จินตนาการต่อเท่านั้น ไม่ได้มีรูปหรือข้อมูลส่วนตัวแปะไว้แต่อย่างใด เช่น “ฉันคือที่ปรึกษาของอิชิกาวะ เธออายุ 27 ปี และอยากแต่งงาน ฉันสามารถแนะนำให้คุณได้นะ” […]

‘พื้นที่สาธารณะน้อยลง คนโสดก็ยิ่งเยอะขึ้น’ ดูความสัมพันธ์ที่แปรผันไปกับเมือง

ถ้าคุณเคยดูหนังรอมคอมผ่านตามาบ้าง คิดว่าฉากไหนโรแมนติกมากกว่ากัน ระหว่างดาราสาวสวยระดับโลกมาพบรักกับคนขายหนังสือเดินทางในร้านสถานะใกล้เจ๊งที่ย่านนอตติงฮิลล์ หรือวิศวกรหนุ่มหล่อที่เข้างานกะดึกบังเอิญมาเจอกับสาวออฟฟิศบนรถไฟฟ้าที่แน่นขนัด แม้จะเป็นเรื่องราวความรักที่สวยงามที่สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะด้วยกันทั้งคู่ แต่ฉากหลังของภาพยนตร์สองเรื่องนี้ถ้าเปรียบกันแบบน่ารักๆ ก็เรียกว่าพลิกจากหน้ามือกับหลังมือ เพื่อหาคำตอบว่าทำไมฉากหลังของกรุงเทพฯ  ถึงดูเหมือนจะไม่ค่อยตอบโจทย์คู่รักหรืออบอวลไปด้วยกลิ่นอายโรแมนติกเหมือนในลอนดอนหรือเมืองชั้นนำในหลายประเทศ เราจึงชวน ‘รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา’ หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ‘ไอติม-พริษฐ์ วัชรสินธุ’ มาหาคำตอบร่วมกันว่าปัจจัยอะไรที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีงามให้เกิดขึ้นในเมืองหลวงของเรา และจะมีวันไหนที่กรุงเทพฯ จะกลายเป็นมหานครที่เต็มไปด้วยความโรแมนติกกับเขาบ้าง  จำเลยรัก คนเราจะรักกันได้อย่างไรถ้าไม่เคยเจอหน้ากัน และจะมีความสัมพันธ์กันแบบไหนหากไม่มีพื้นที่สาธารณะ ก่อนจะท่องไปในโลกของความสัมพันธ์อันแสนล้ำลึกอาจารย์พนิตชวนเราก้าวถอยหลังออกมามองบริบทของกรุงเทพฯ เพื่อให้เห็นภาพต่างๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น  “เมืองเรามีปัญหาอยู่อย่างหนึ่งคือเป็น Gated Community หรือสังคมล้อมรั้ว มีหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียม ที่ดึงเอาสวนสาธารณะ ลานออกกำลังกาย หรือพื้นที่ที่คนจะมารวมตัวกันเข้าไปอยู่ในพื้นที่ของตัวเอง ทำให้เกิดเป็นชุมชนปิดเพราะมีแต่คนประเภทเดียวกันที่มีราคาบ้านเป็นตัวกำหนด “จะเห็นว่าคนไทยมีคนรักที่อยู่ในสังคมเดียวกันเป็นหลัก เป็นเพื่อนที่เรียนหรือทำงานด้วยกันด้วยกัน เพราะโอกาสที่จะรู้จักกับคนอื่นมีน้อยมาก หากจะเริ่มความสัมพันธ์กับใครคุณจะไปเจอเขาที่ไหน ยิ่งมีพื้นที่ส่วนตัวมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้มีคนโสดมากขึ้น” นอกจากสังคมแบบปิดจะทำให้คนรักไม่มีวันได้พบกันแล้ว ยังทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ตามมาอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย อาจารย์พนิตบอกว่า สังคมปิดจะทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างชนชั้นชัดเจน และความหลากหลายทางเศรษฐกิจก็จะลดลง เพราะเราเคยชินกับการมีพื้นที่ของตัวเองจนลดการปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นลงไป สินค้าทุกอย่างก็จะกลายเป็นแบบเฉพาะกลุ่มมากขึ้น Economy of Scale หรือสินค้าที่ผลิตปริมาณมากเพื่อขายราคาถูกก็จะน้อยลง เศรษฐกิจจะกระจุกตัวอยู่กับคนแต่ละชนชั้นเท่านั้น  เศรษฐกิจสีชมพู ค่าครองชีพที่สูงชะลูดเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยอาจจะทำให้ความสัมพันธ์ของใครหลายคนต้องเป็นหมัน […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.