หลังโต๊ะทำงานของ KongGreenGreen อินฟลูฯ ผู้เชื่อว่าไลฟ์สไตล์สายกรีนสร้างได้ด้วยความเข้าใจ

บ้านของ ‘ก้อง-ชณัฐ วุฒิวิกัยการ’ หรือ ‘ก้องกรีนกรีน’ เป็นทั้งบ้านและออฟฟิศที่กรีนสมชื่อ หลังจากเปิดประตูบ้านต้อนรับ ก้องพาเราเข้าห้องทำงานของเขาที่เต็มไปด้วยไอเทมที่เราคุ้นเคยแต่กลับแปลกตา “โคมไฟนี่ทำมาจากพลาสติกที่เคยเป็นกล่องข้าว บ้านแมวอันนั้นทำมาจากฝาขวด” ก้องแนะนำ “เมื่อก่อนออฟฟิศอยู่แถวเลียบด่วน แต่บ้านเราอยู่แถวแจ้งวัฒนะ เราขับรถไปก็เปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ ทั้งพลังงานคนและพลังงานโลก เราเลยย้ายมาอยู่ที่นี่” บทสนทนาประมาณนี้เป็นสิ่งที่เราคาดหวังว่าจะได้ฟังจากปากก้องอยู่แล้ว เพราะอย่างที่หลายคนรู้กันดี ก้องเคยเป็นพิธีกรรายการเปิดโลกอย่างกบนอกกะลา ก่อนจะผันตัวมาเปิดแชนเนล ‘KongGreenGreen’ เพื่อรณรงค์ให้คนแยกขยะกันมากขึ้นเมื่อไม่กี่ปีก่อน วันนี้ก้องกรีนกรีนเติบโตจนมีผู้ติดตามบนเฟซบุ๊กเกือบ 3 แสนคน มีหลายคลิปใน TikTok กลายเป็นไวรัลที่มียอดวิวเป็นล้าน พูดได้เต็มปากว่าเป็นหนึ่งในคอนเทนต์ครีเอเตอร์สายกรีนแนวหน้า แนวทางของคอนเทนต์ในเพจยังขยับขยายไปเล่ามากกว่าเรื่องขยะ แต่ครอบคลุมไปถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ก้องย้ำหลายรอบว่าใกล้ตัวกว่าที่เราคิด ในวาระที่ก้องเพิ่งได้รับเลือกเป็น 1 ใน 50 ครีเอเตอร์ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงจากโครงการ TikTok Change Makers เราถือโอกาสนี้มานั่งคุยกับก้องถึงความเชื่อเบื้องหลังการทำช่อง ล้วงเคล็ดลับการทำคอนเทนต์สิ่งแวดล้อมที่ขึ้นชื่อว่าเข้าใจยากให้สนุก เข้าถึงง่าย และไม่ทำให้ใครหลายคนเบือนหน้าหนี คิดว่าเป็นเพราะอะไรที่คุณถูกเลือกเป็น 1 ใน 50 ครีเอเตอร์ของโครงการ TikTok Change Makers  อาจเป็นเพราะคอนเทนต์ของเราน่าจะตรงกับแคมเปญที่เขาตั้ง นั่นคือ Change Makers […]

วิธีแยกขยะง่ายๆ ไม่มีถังแยกสีก็ทิ้งได้แบบไม่ต้องเทรวม

หลังจากที่กรุงเทพมหานครเปิดตัวโครงการ ‘ไม่เทรวม’ เพื่อรณรงค์การแยกขยะเมื่อปีที่แล้ว นโยบายถัดไปที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อช่วยจัดการขยะคือ การขึ้นค่าธรรมเนียมเก็บขยะจากบ้านที่ไม่คัดแยกขยะ โดยบ้านที่เข้าร่วมการคัดแยกขยะจะเสียค่าใช้จ่าย 20 บาทต่อเดือน ส่วนบ้านที่ไม่คัดแยกขยะนั้นจะเสียค่าใช้จ่าย 60 บาทต่อเดือน หวังเป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้ครัวเรือนหันมาใส่ใจกับการแยกขยะมากขึ้น การแยกขยะนั้นไม่เพียงช่วยลดภาระการกำจัดขยะของเจ้าหน้าที่เท่านั้น แต่เรายังเรียนรู้กันมาตลอดว่าการแยกขยะเป็นหนึ่งวิธีที่ช่วยลดโลกร้อนได้ และด้วยความเคยชินที่ทิ้งขยะลงถังเดียวมาตลอดอย่างยาวนาน อาจทำให้การแยกขยะดูยุ่งยากไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้ยากเกินกว่าจะลองทำ แน่นอนว่าภาพของการแยกขยะนั้นมักมาพร้อมกับถังขยะชนิดต่างๆ ที่แบ่งแยกด้วยสีสัน ช่วยให้จำง่าย แต่หลายๆ บ้านคงไม่ได้มีถังขยะสำหรับแยกขยะแต่ละประเภทโดยเฉพาะ ทำให้เกิดความสับสนว่า หากมีถังขยะแค่ใบเดียวแล้วจะแยกขยะได้อย่างไร Urban Creature เลยจะมาบอกวิธีการแยกขยะที่ทำได้ง่ายๆ โดยแบ่งเป็นสองระดับคือ 1) การแยกขยะระดับเริ่มต้น เป็นการแยกขยะที่ไม่ยุ่งยากและไม่ซับซ้อน เพียงแค่แยกขยะออกเป็นสองประเภทก่อนทิ้งลงถัง วิธีนี้จะสะดวกกับผู้เริ่มต้นแยกขยะ คนที่มีเวลาน้อย หรือพื้นที่บ้านน้อย แบ่งออกเป็น 🍪 ขยะอินทรีย์ ขยะประเภทเศษอาหารจากการทำอาหารหรือกินเหลือ โดยเทน้ำทิ้งให้เหลือแต่เศษอาหาร และแยกถุงเอาไว้ อาจใช้เป็นถุงสีใสให้มองเห็นได้ง่ายว่าเป็นขยะประเภทไหน ขยะประเภทนี้ควรทิ้งทุกวัน เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมความสกปรกและกลิ่นเหม็นภายในบ้าน 🧃ขยะทั่วไป  ขยะแห้งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษ ซองขนม รวมถึงขยะพลาสติก ซึ่งพลาสติกบางประเภท เช่น ถุงพลาสติกหรือกล่องที่ใส่อาหาร ควรล้างให้สะอาดและตากให้แห้งก่อนจะนำไปทิ้ง เพื่อเลี่ยงไม่ให้เศษอาหารปนเปื้อนกับขยะอื่นๆ จนขยะแห้งเหล่านี้หมักหมมความสกปรกเอาไว้ […]

#กินหมดจาน Guidebook และ Restaurant Makeover โครงการที่จะชวนกินข้าวให้หมดจาน และช่วยปรับร้านอาหารให้จัดการขยะอย่างถูกวิธี

“ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า” ประโยคคุ้นหูที่ท่องจำกันมาตั้งแต่อนุบาล แต่เหมือนยิ่งโตนั้นจะได้แค่จำแต่ทำไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยเวลาที่น้อยลง รสชาติอาหารไม่ถูกปาก เครียดกินข้าวไม่ลง หรือแม้กระทั่งลืมว่ายังกินไม่หมด เช้าวันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม ทีมกินหมดจานชวนเราไปชิม 2 ใน 50 ร้านจาก ‘กินหมดจาน Guidebook’ โดยมีร้าน Karo Coffee Roasters คาเฟ่สุดเท่ย่านปรีดี พนมยงค์ ที่แนะนำโดย ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และร้าน No Name Noodle BKK แนะนำโดย ‘ปิ๊ปโป้-เปรมวิชช์ สีห์ชาติวงษ์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านราเม็งตัวจริงเสียงจริง พร้อมไปดูวิธีกำจัดขยะเศษอาหารที่เขตวัฒนา กินหมดจาน Guidebook เป็นเสมือนหนังสือรวม 50 ร้านอาหารที่เหล่า KOLs ขอการันตีว่าร้านนี้อร่อยและจัดการขยะได้ดี โดยอยู่ภายใต้โครงการ ‘Restaurant Makeover’ ที่ แพร-พิมพ์ลดา ไชยปรีชาวิทย์ หรือ ‘PEAR […]

Meltdistrict แบรนด์ที่หลอมพลาสติกรีไซเคิลจากเชียงใหม่ ให้กลายเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ที่ใช้งานได้ แถมยังเก๋ไก๋ชวนใจละลาย

We have to MELT because the world is MELTING. หากจะถามว่า Meltdistrict คือใครและทำอะไร ประโยคนี้บนหน้าเว็บไซต์พวกเขาเล่าความตั้งใจของพวกเขาได้ดี Meltdistrict เป็นแบรนด์ที่หลอมพลาสติกรีไซเคิลให้เป็นสินค้าใหม่ โดยสร้างสรรค์จากพลาสติก 100 เปอร์เซ็นต์ และสามารถรีไซเคิลต่อได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ก่อตั้งโดย ‘โบ-สลิลา ชาติตระกูลชัย’ และ ‘ฟ้า-ขวัญชีวา พงศ์สิมภากรณ์’ สองสาวที่พบกันด้วยความสนใจเรื่องความยั่งยืนที่ตรงกัน พวกเธอจึงขอใช้ขยะพลาสติกส่วนหนึ่งจากโรงงานรับขยะของครอบครัวขวัญชีวา ลองผิดลองถูกกับการรีไซเคิลอยู่พักใหญ่ ก่อนจะผลิตเป็นบอร์ดพลาสติกที่แปรรูปเป็นสินค้าได้อเนกประสงค์ ดีไซน์สนุก ใช้งานได้จริง กิ๊บติดผม เฟอร์นิเจอร์ กระเบื้องตกแต่งคาเฟ่ นี่คือตัวอย่างของสินค้าที่บางคนอาจจะไม่เคยคิดว่าพลาสติกรีไซเคิลก็ทำได้ คอลัมน์ Sgreen ตอนนี้ ขอพาคุณบุกเชียงใหม่ ไปสืบความลับของการหลอมพลาสติกให้กลายเป็นสินค้าหน้าตาน่าใช้ ฟังสองสาวเจ้าของแบรนด์เล่าความตั้งใจในการเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสินค้าไลฟ์สไตล์ที่เก๋และยั่งยืนไปพร้อมกัน โรงงานขยะ ครอบครัวของขวัญชีวาทำธุรกิจแปรรูปพลาสติกมาเนิ่นนาน ภาพที่เธอคุ้นชินตั้งแต่ยังเด็กจึงเป็นภาพโรงงานรับซื้อขยะของพ่อแม่ในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ กับกระบวนการป่นพลาสติกชิ้นใหญ่ให้เป็นเม็ดเล็กๆ แล้วส่งให้โรงหลอมเพื่อรีไซเคิลต่อ เมื่อโตขึ้น ขวัญชีวารับช่วงต่อแล้วขยายธุรกิจรับซื้อสิ่งของเหลือใช้มาที่อำเภอสันป่าตอง Meltdistrict ก็เกิดขึ้นที่นั่นเช่นกัน “เราซึมซับการรีไซเคิลมาตั้งแต่เด็ก และทำเรื่องรณรงค์ไฟป่าหรือเรื่องลดหลอดมาตั้งแต่สมัยเรียน […]

‘Data Driven EV- ชักลาก’ นวัตกรรมแก้ปัญหาขยะตกค้างด้วย Waste Tech ในชุมชนและพื้นที่ที่รถเก็บขยะเข้าไปไม่ถึง

แม้ว่าทางภาครัฐจะมีการจัดเก็บขยะอยู่เป็นประจำทุกๆ สัปดาห์ แต่ด้วยข้อจำกัดของผังเมืองกรุงเทพฯ ทำให้มีพื้นที่เส้นเลือดฝอยจำนวนมากที่การจัดเก็บขยะไม่สามารถเข้าถึงได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ด้วยพื้นที่ที่แคบและอยู่ลึก รถขยะจึงเข้าไปไม่ถึง รวมถึงพนักงานเก็บขยะก็ไม่สามารถรวบรวมขยะทั้งหมดออกมาได้ ทำให้เกิดขยะตกค้างในหลายพื้นที่ ก่อให้เกิดความสกปรกและส่งผลกระทบอื่นๆ ตามมา จากปัญหานี้ ทำให้ทาง ‘กรุงเทพมหานคร’ ร่วมมือกับ ‘GEPP Sa-Ard’ สตาร์ทอัปที่พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการขยะ จัดทำนวัตกรรมแก้ปัญหาการจัดเก็บขยะตกค้างในพื้นที่เล็กๆ และอยู่ลึกในชุมชนต่างๆ ที่รถขยะคันใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ‘โดม บุญญานุรักษ์’ CMO และผู้ร่วมก่อตั้ง GEPP Sa-Ard บอกกับเราว่า นอกจากจะมีปัญหาขยะตกค้างแล้ว พนักงานชักลากขยะของทางกรุงเทพมหานครที่ต้องเข้าไปจัดการขยะในพื้นที่เล็กๆ เหล่านั้น ต้องใช้เวลาในการชักลากขยะวันละ 3 – 4 รอบ รอบละ 100 – 200 กิโลกรัม นับเป็นการเสียเวลาในการทำงานไปอย่างน่าเสียดาย เพนพอยต์นี้นำมาสู่ไอเดียการนำ ‘EV-Bike’ มาพัฒนาเข้ากับส่วนพ่วงลาก เพื่อช่วยทุ่นแรงและเวลาในการชักลาก รวมถึงยังมีการทดลองติดตั้งระบบการจัดเก็บข้อมูล เช่น น้ำหนักหรือรายละเอียดขยะแบบแยกชนิดลงไปในตัวพ่วงด้วย โดยทางทีมจะนำปัญหาที่เจอในระยะทดลองช่วงแรกไปพัฒนาประสิทธิภาพการชักลากขยะ และจัดเก็บข้อมูล เพื่อนำไปศึกษาพัฒนานวัตกรรมต่อไปในอนาคต ที่ผ่านมารถชักลากขยะ EV-Bike ถูกนำมาใช้งานนำร่องทดลองในสองพื้นที่ คือ […]

ทำไมกรุงเทพฯ ถึงมีปัญหารถเก่าใช้งานไม่ได้ทิ้งตามรายทางอยู่เต็มไปหมด

กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีประชากรต่อพื้นที่หนาแน่นมากที่สุดในประเทศไทย ทุกพื้นที่มีความสำคัญและมูลค่าที่ทุกคนต้องแย่งชิง ไม่เว้นแม้แต่พื้นที่ของรถยนต์ ด้วยระบบขนส่งมวลชนของบ้านเราที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ทำให้หลายคนเลือกที่จะซื้อรถยนต์ส่วนตัวเพื่อความสะดวกสบาย บ้านบางหลังมีรถยนต์มากกว่าหนึ่งคันแต่กลับไม่มีที่จอด เราจึงพบเห็นผู้จอดรถไว้ตามริมทางได้ทั่วเมือง บางคันเป็นรถเก่าที่ไม่มีที่เก็บและปล่อยทิ้งไว้เลยตามเลยจนกลายสภาพเป็น ‘ซากรถ’ ซากรถจำนวนมากถูกทิ้งด้วยความมักง่าย เกิดเป็นปัญหาสะสมที่ขัดขวางทั้งทางคนเดินและทางเดินรถ อีกทั้งยังเป็นแหล่งทิ้งขยะมูลฝอยสร้างความสกปรกให้กับพื้นที่ ถึงอย่างนั้น ต้นตอของปัญหาซากรถเต็มเมืองอาจมีมากกว่าจิตสำนึกของคน เพราะกฎหมายและนโยบายการจัดการซากรถเองก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน คอลัมน์ Curiocity ขอพาไปสำรวจถึงต้นตอของปัญหาการทิ้งซากรถ ทั้งค่าใช้จ่ายจุกจิกในการกำจัดรถ ขั้นตอนการดำเนินการที่มากมาย และนโยบายการแก้ไขที่ทางภาครัฐกำลังทำอยู่ ขั้นตอนมากมายกับค่าใช้จ่ายท่วมหัวในการกำจัดรถ คงไม่มีเจ้าของรถคนไหนอยากปล่อยรถของตนทิ้งไว้ริมทาง แต่ด้วยค่าซ่อมแซมที่มากโขในช่วงเศรษฐกิจซบเซา หรือจะขยายพื้นที่ทำที่จอดรถก็จำเป็นต้องใช้เงินสูง ส่งผลให้บางคนเลือกปล่อยเลยตามเลยทิ้งรถไว้ริมทางโดยไม่สนใจผลกระทบต่อสาธารณะ ครั้นจะเป็นพลเมืองดีนำรถไปกำจัด พอเห็นค่าใช้จ่ายและขั้นตอนก็ทำเอาหลายคนถอดใจไปก่อน ประกันภัยรถยนต์เป็นหนึ่งในตัวช่วยสำหรับการกำจัดรถที่น่าสนใจ เพราะหากรถยนต์คันหนึ่งเสียหายหนัก ต้องจ่ายค่าซ่อมมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของทุนประกัน เจ้าของรถสามารถเลือกขายซากรถคันนั้นให้ทางบริษัทประกัน เพื่อรับค่าชดเชยทุนประกันได้ทั้งหมด แต่ถ้าไม่มีประกันภัยรถยนต์ซึ่งรถเก่าส่วนใหญ่มักไม่มีอยู่แล้ว เจ้าของรถจำเป็นต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วยตัวเองทั้งหมด ทั้งเรียกรถมายก ตรวจสภาพ ดำเนินเรื่องซื้อขายกับอู่ที่รับซื้อ และเตรียมเอกสารแจ้งกับทางขนส่ง ซึ่งแน่นอนว่าทุกขั้นตอนจำเป็นต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา ทำให้หลายคนเลือกปล่อยทิ้งซากรถเหล่านั้นไว้ริมถนนเพราะเป็นตัวเลือกที่ง่ายที่สุด แต่สำหรับผู้มีทุนทรัพย์ที่พร้อมจ่ายค่าดำเนินการต่างๆ ก็ใช่ว่าจะทำได้สะดวกสบาย เพราะยังต้องพบเจอกับปัญหาสุสานรถยนต์หรือสถานที่กำจัดรถอย่างถูกต้องที่มีไม่เพียงพอ จนกลายเป็นการสร้างมลพิษจากการกำจัดรถยนต์ที่ไม่ถูกวิธี ขาดแคลนสถานที่กำจัดซากรถ แถมยังสร้างมลพิษ สถานที่ในการกำจัดรถยนต์ส่วนใหญ่มักตั้งอยู่นอกเมือง เพราะต้องใช้เนื้อที่กว้างขวางในการปฏิบัติงาน แค่ลำพังการหาพื้นที่โล่งขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ ก็เป็นเรื่องยากระดับหนึ่ง แต่การได้รับการยินยอมจากชาวบ้านในพื้นที่อาจยากยิ่งกว่า […]

Seashore Sadness ขยะริมทะเลหาดลับ พัทยา

พัทยาคือหนึ่งในเมืองที่ไม่เคยหลับใหล และเป็นจุดมุ่งหมายของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ เท่าไรนัก ใช้เวลาแค่สองชั่วโมงก็มาพักผ่อนพักใจที่ริมทะเลได้แล้ว ภาพความทรงจำของเรากับพัทยาคือ การได้มานั่งเล่นริมชายหาด ใช้เวลานั่งมองท้องฟ้า หาดทราย และน้ำทะเลกับเพื่อนๆ หรือแม้กระทั่งกับครอบครัว ซึ่งก็ผ่านมาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสกลับไปที่พัทยาอีกครั้งเพื่อพักผ่อนในช่วงวันหยุดยาวหน้าร้อนกับเพื่อนๆ และก็อดไม่ได้ที่อยากจะสำรวจความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ว่าแตกต่างจากครั้งสุดท้ายที่เราได้มีโอกาสมาไหม เราเลือกไปเดินสำรวจ ‘หาดลับ’ หนึ่งในหาดที่มีชื่อเสียงสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย ภาพของชายหาดสีขาวกับโขดหินเล็กใหญ่รูปทรงแปลกตามักจะปรากฏอยู่ในโลกออนไลน์ เป็นแบ็กกราวนด์ให้เหล่าหนุ่มสาวมาถ่ายรูป อวดความงามของตนเองและภูมิทัศน์รอบข้างอยู่เสมอ แต่ความจริงแล้วริมหาดไม่ได้งดงามอย่างที่รู้กัน ความทรงจำไม่ได้ถูกบันทึกไว้ด้วยแค่ภาพถ่าย แต่เหล่าผู้มาเยือนยังคงทิ้งร่องรอยไว้ ด้วย ภาพขยะจากถุงพลาสติก ขวดน้ำ และเศษขยะที่นำเข้ามาโดยนักท่องเที่ยวถูกทิ้งไว้เป็นอนุสรณ์ที่ธรรมชาติไม่ต้องการ ภาพถ่ายชุดนี้เป็นการบอกเล่าถึงความจริงที่ถูกมองข้ามอย่างตรงไปตรงมา เพื่อไม่ให้ธรรมชาติหรือสิ่งสวยงามสูญสลายไปในอนาคตอันใกล้ เราหวังเพียงแค่ให้มนุษย์ทุกคนช่วยรักษาความสะอาดและระเบียบวินัย เพื่อที่ธรรมชาติจะได้อยู่กับเราไปนานๆ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

PepsiCo ถูกรัฐนิวยอร์กยื่นฟ้องฐานสร้างมลพิษพลาสติกรายใหญ่ จนอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ

ถือเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังพบว่ามีขยะพลาสติกและซองขนมที่ถูกพบในแม่น้ำบัฟฟาโลกว่า 1,916 ชิ้น ซึ่งทั้งหมดอยู่ภายใต้ชื่อ ‘PepsiCo’ แบรนด์ขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มข้ามชาติสัญชาติอเมริกัน คิดเป็น 17 เปอร์เซ็นต์ของขยะพลาสติกทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ รัฐนิวยอร์กได้ยื่นฟ้องต่อบริษัทผู้ผลิตพลาสติกรายใหญ่ PepsiCo ฐานสร้างมลพิษจากการผลิตพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งเป็นจำนวนมาก โดยอ้างว่าบริษัทจำเป็นต้องรับผิดชอบในการทำให้น้ำในเมืองเกิดการปนเปื้อน จนอาจเป็นอันตรายต่อชาวเมืองและสัตว์น้ำ เพราะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งถือเป็นแหล่งกำเนิดไมโครพลาสติกขนาดเล็ก ที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ กระตุ้นอัตราการเกิดมะเร็งให้สูงขึ้น ทั้งยังส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำดื่มของชาวนิวยอร์กหรือสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำบริเวณใกล้เคียง ทำให้ในเวลาต่อมา โฆษกของ PepsiCo ออกมาแถลงการณ์เน้นย้ำว่า ทาง PepsiCo มุ่งมั่นที่จะลดขยะพลาสติกในอุตสาหกรรม และให้ความสำคัญต่อการรีไซเคิลเพื่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในอนาคต Sources : BBC NEWS | t.ly/nKKUwSky News | t.ly/cmqwT

ดอกไม้จากธรรมชาติ อาจไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเสมอไป

‘ดอกไม้’ เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายหลากหลายและแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภท จึงมักถูกนำมาใช้ในโอกาสสำคัญและเทศกาลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความยินดี แสดงความรัก ให้เป็นของขวัญ หรือแม้แต่การมูเตลูเองก็ต้องใช้ดอกไม้ในการกราบไหว้ขอพรด้วยเหมือนกัน แต่หลายคนอาจนึกไม่ถึงว่า ดอกไม้แสนสวยเหล่านี้คือตัวการที่ทั้งสร้างขยะและส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เพราะถึงแม้ว่าผลผลิตจากธรรมชาติเหล่านี้จะย่อยสลายกลับไปเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติได้ด้วยตัวเอง แต่กว่าจะถึงเวลาย่อยสลายนั้น ทั้งดอกไม้และขยะจากดอกไม้กลับสร้างมลพิษที่ค่อยๆ ทำลายสิ่งแวดล้อม ดอกไม้สร้างมลพิษ ในบางภูมิประเทศไม่สามารถปลูกดอกไม้บางประเภทได้ ทำให้ต้องอาศัยการขนส่งดอกไม้ทางไกลทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งในกระบวนการขนย้ายนั้นจำเป็นต้องใช้การทำความเย็นเพื่อรักษาความสดใหม่ของดอกไม้เอาไว้ แม้ว่าตัวดอกไม้จะไม่ได้ปล่อยมลพิษออกมาโดยตรง แต่ไม่ว่าจะเป็นพาหนะอย่างเครื่องบิน รถยนต์ หรือเครื่องทำความเย็นจากการขนส่งนั้น ต่างก็มีส่วนในการปล่อยคาร์บอนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมออกมา ไม่ใช่แค่การขนส่งดอกไม้ข้ามพื้นที่เท่านั้นที่ปล่อยของเสียซึ่งไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม แต่การสะสมของดอกไม้สดที่รอวันย่อยสลายเอง เมื่อถูกทับถมกันเป็นจำนวนมากจนกลายเป็นขยะอินทรีย์นั้น ก็ยังเป็นแหล่งผลิตก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่าเลยทีเดียว หรือในประเทศอินเดียที่มักใช้ดอกไม้ในการสักการบูชาเทพเจ้า ซึ่งตามความเชื่อแล้ว ดอกไม้ที่นำไปบูชาไม่สามารถทิ้งลงถังขยะได้ สุดท้ายจึงถูกนำไปคืนสู่ธรรมชาติด้วยการปล่อยลงแม่น้ำสายใหญ่ โดยที่เราไม่รู้เลยว่าในดอกไม้แต่ละดอกนั้นมียาฆ่าแมลงและสารเคมีตกค้างอยู่มากเท่าไหร่ และสารเคมีเหล่านั้นจะแพร่กระจายอยู่ในแหล่งน้ำที่ผู้คนนำน้ำมาใช้ประกอบกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เป็นอันตรายต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและชีวิตของประชาชนในประเทศอีกด้วย เปลี่ยนขยะจากดอกไม้ให้กลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง การจะห้ามใช้ดอกไม้เพื่อลดการสร้างขยะอาจเป็นไปได้ยาก แต่หากมีวิธีลดขยะดอกไม้ลงได้บ้าง ก็อาจจะช่วยรักษาความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมไปได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ดังนั้นจึงมีธุรกิจที่ยังมองเห็นถึงความสำคัญของดอกไม้ไปพร้อมๆ กับการหาทางแก้ไขปัญหาขยะดอกไม้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทั้งการรีไซเคิลและการอัปไซเคิลด้วยการเปลี่ยนดอกไม้ที่ดูเหมือนจะนำไปใช้งานต่อไม่ได้แล้วให้กลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง อย่างในประเทศอินเดียที่ในแต่ละปีมีจำนวนดอกไม้หลายล้านตันจากการบูชาเทพเจ้า และกลายเป็นมลพิษทางน้ำอย่างเลี่ยงไม่ได้ ก็มีธุรกิจอย่าง ‘Phool.co’ ที่นำขยะดอกไม้เหล่านั้นมารีไซเคิลใหม่ให้กลายเป็นธูปหอม กระดาษ และสีน้ำ ทำให้ช่วยลดดอกไม้ที่กำลังจะถูกทิ้งไปได้ในปริมาณมาก และยังช่วยลดขยะจากบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ในทางชีวภาพได้ด้วย หรือในประเทศไทยเองก็มีร้านดอกไม้อย่าง ‘Flower in […]

สำรวจการจัดการขยะใน 6 เมืองใหญ่กับนิทรรศการภาพถ่าย Wasteland ที่สวนลุมพินี วันนี้ – 25 ต.ค. 65

‘ขยะ’ ถือเป็นปัญหาสำคัญที่ทั่วโลกต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อประหยัดงบประมาณกำจัดขยะและพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน นอกจากจะต้องจัดการขยะอย่างถูกวิธีแล้ว ประเทศต่างๆ ยังจำเป็นต้องหาทางลดปริมาณขยะที่สร้างขึ้นในแต่ละปี เพื่อฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อมให้คนรุ่นต่อไปด้วย เพราะเชื่อว่าปัญหาขยะคือเรื่องของทุกคน จึงเป็นที่มาของ Wasteland นิทรรศการภาพถ่ายของคาเดีย ฟัน โลฮูสเซิน (Kadir van Lohuizen) ช่างภาพข่าวแนวสารคดีชาวเนเธอร์แลนด์ ที่ได้สะท้อนเรื่องราวเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะทั้งที่ถูกวิธีและไม่ถูกวิธี ผ่านชุดภาพถ่ายจาก 6 เมืองใหญ่ของโลก ได้แก่ จาการ์ตา โตเกียว ลากอส นิวยอร์ก เซาเปาโล และอัมสเตอร์ดัม ระหว่างที่ทำโปรเจกต์นี้ คาเดียได้ค้นพบว่า ประชากรโลกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว การอุปโภคบริโภคจึงเพิ่มสูงขึ้น ผลที่ตามมาก็คือปริมาณขยะถูกสร้างขึ้นมากกว่าที่เคย ที่น่าสนใจก็คือ ภาพถ่ายชุดนี้ยังนำเสนอมิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับขยะของแต่ละเมือง เช่น การเผาขยะ การฝังกลบ ขยะอาหาร ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ฯลฯ คาเดียหวังว่า Wasteland จะสร้างความตระหนักเรื่องปัญหาขยะที่น่ากังวลขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับขยะ และร่วมกันแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังเสียที ใครสนใจเยี่ยมชมนิทรรศการ Wasteland ได้ฟรี ที่ลานตะวันยิ้ม สวนลุมพินี ตั้งแต่วันนี้ – 25 […]

การจัดการขยะในเมือง กับ ก้อง Konggreengreen | Unlock the City EP.10

ขยะคือหนึ่งสาเหตุของน้ำท่วมเมือง  หลายคนน่าจะเห็นภาพฟูกที่นอน โซฟา และขยะชิ้นใหญ่เบิ้มที่ทางเจ้าหน้าที่เก็บกู้มาจากแหล่งน้ำ นอกจากความสกปรก ส่งกลิ่นเหม็นแล้ว ขยะพวกนี้ยังสร้างปัญหาอุดตัน ทำให้เก็บกักน้ำได้น้อยลง แม้จะมีความพยายามในการผลักดันการจัดการขยะมาหลายยุคสมัย แต่ในเมืองที่มีปัญหาขยะเรื้อรังมาอย่างเนิ่นนาน ถึงขนาดมีรายงานว่าคนกรุงเทพฯ ทิ้งขยะเฉลี่ยแล้ว คนละ 2.2 กิโลกรัม/วัน ภาพรวมเรื่องนี้ก็ยังไม่ดีขึ้นนัก นั่นเพราะเรายังมีนโยบายการจัดเก็บและจัดการขยะที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ ประชาชนที่อยากลดการสร้างขยะก็ทำได้ไม่ค่อยสะดวกนัก เพราะสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์รายการ Unlock the City ชวน ‘ก้อง-ชณัฐ วุฒิวิกัยการ’ หรือ ก้องแห่ง Konggreengreen อินฟลูเอนเซอร์สายเขียว มาสนทนาถึงสถานการณ์การจัดการขยะในกรุงเทพฯ อะไรคืออุปสรรคที่ทำให้บ้านเราไม่สามารถจัดการขยะได้ดีแบบญี่ปุ่นหรือเยอรมนี วิธีการจัดการขยะแบบปัจเจกและสเกลเมืองควรเป็นแบบไหน ไปจนถึงการตั้งคำถามว่าแท้จริงแล้วประเทศไทยเหมาะกับการจัดการขยะแบบไหนกันแน่ ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/3U2dBYQLeAU Spotify : https://spoti.fi/3qUXgXz Apple Podcasts : https://apple.co/3ShtnfO Podbean : https://bit.ly/3BXGhu4 #UrbanCreature#UrbanPodcast#UnlocktheCity

เยอรมนีทำอย่างไรถึงเป็นประเทศที่รีไซเคิลขยะมากที่สุดในโลก

คนส่วนใหญ่คงรู้อยู่แล้วว่า ‘การแยกขยะ’ หรือ ‘การรีไซเคิลขยะ’ นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ หลายประเทศทั่วโลกผลักดันนโยบายเรื่องนี้มานานแล้ว และจำนวนไม่น้อยสามารถเปลี่ยนการแยกขยะให้เป็นความรับผิดชอบและวิถีชีวิตของประชาชนทุกคนได้สำเร็จ ‘เยอรมนี’ ถือเป็นหนึ่งในต้นแบบของการจัดการและการรีไซเคิลขยะ เพราะข้อมูลปี 2021 ระบุว่า เยอรมนีคือประเทศที่รีไซเคิลขยะมากที่สุดในโลก นั่นคือมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนขยะทั้งหมดที่ประเทศผลิตออกมา Urban Creature อยากพาทุกคนไปหาคำตอบว่า เยอรมนีทำอย่างไรถึงกลายเป็นดินแดนที่ยืนหนึ่งเรื่องการนำของเสียและวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ผ่านการสำรวจนโยบายและโครงการที่เข้มแข็งของภาครัฐ ไปจนถึงการให้ความสำคัญเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมของภาคประชาชน 01 | นโยบายจัดการขยะที่เข้มแข็ง รัฐบาลเยอรมนีมีส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางการจัดการขยะ รวมไปถึงการรีไซเคิลขยะภายในประเทศ เหตุผลหนึ่งมาจากการออกกฎหมายและนโยบายที่เข้มแข็ง ทำให้ภาคส่วนต่างๆ และประชาชนมีส่วนร่วมในการแยกขยะอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามนโยบายหลักที่เยอรมนีใช้ควบคุมและจัดการขยะภายในประเทศ ได้แก่ 1) ‘Packaging Ordinance (1991)’ หรือ ‘กฤษฎีกาว่าด้วยบรรจุภัณฑ์’ คือกฎหมายฉบับแรกของเยอรมนีที่กำหนดให้บรรดาผู้ผลิตสินค้าต้องจัดการขยะของแพ็กเกจจิ้งต่างๆ ซึ่งรวมทั้ง ‘บรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่ง (Primary Packaging)’ ที่ห่อหุ้มตัวสินค้าเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวสินค้าเสียหาย, ‘บรรจุภัณฑ์ขั้นที่สอง (Secondary Packaging)’ ที่ห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่งมาอีกทีเพื่อป้องกันความเสียหายและเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้า สุดท้ายคือ ‘บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Shipping Packaging)’ ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เก็บรักษาและขนส่งตัวสินค้านั่นเอง รัฐบาลเยอรมนีมองว่า แพ็กเกจจิ้งหลายรูปแบบนี้ก่อให้เกิดขยะจำนวนมหาศาลที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.