‘Floating Glass Museum’ สร้างความตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนผ่านงานศิลปะที่หลอมรวมวัฒนธรรมเข้ากับสิ่งแวดล้อม

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบันอยู่ในระดับสูงที่สุดในประวัติการณ์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฉับพลันของสภาพภูมิอากาศ และส่งผลกระทบในหลายภาคส่วนทุกทวีปทั่วโลก ทั้งอากาศที่ปั่นป่วนอย่างรุนแรง รวมไปถึงระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น และอาจจะมากขึ้นกว่าเดิมในอนาคต Luca Curci สถาปนิกชาวอิตาลี เห็นว่าปัญหานี้ไม่สามารถมองข้ามต่อไปได้ จึงร่วมกับ Giulia Tassi Design และทีมสถาปนิกและนักออกแบบระดับนานาชาติ ทำโปรเจกต์ออกแบบ ‘Floating Glass Museum’ หรือ ‘พิพิธภัณฑ์แก้วลอยน้ำ’ ด้วยการเปลี่ยนผืนน้ำเป็นผืนผ้าใบในการแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัย ในพื้นที่กว่า 3,800 ตารางเมตร เพื่อสร้างความตระหนักถึงความรุนแรงของสภาพอากาศที่อาจจะย่ำแย่กว่าเดิม หากมนุษย์เรายังคงปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไป พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากวัฒนธรรมที่มั่งคั่งของเวนิส และงานฝีมือการทำแก้ว พวกเขาจึงนำทั้งสองสิ่งมาผสมผสานเข้ากับการออกแบบและการวิจัยเกี่ยวกับวัสดุและความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ให้เป็นตัวแทนของความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ศิลปะ ธรรมชาติ และประเพณีที่มาบรรจบกัน โครงการนี้มีแผนการนำไปจัดแสดงในหลายๆ เมืองที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นดูไบ นิวยอร์ก ฮ่องกง สิงคโปร์ และปูซาน Sources :Designboom | tinyurl.com/4u8uz7rsLuca Curci | tinyurl.com/4f8hxz8a

จัดคอนเสิร์ต 1 ปี ปล่อย Carbon Footprint 400,000 ตัน

ปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) เป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกต่างตื่นตัว เพราะสภาพแวดล้อมทุกวันนี้อยู่ในช่วงวิกฤต โลกมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น และสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงหนัก (Climate Change) ส่งผลให้ความเป็นอยู่ของทุกสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมทุกพื้นที่แปรเปลี่ยนไปตามๆ กัน คำว่า ‘ทั่วโลกตื่นตัว’ ในที่นี้ ไม่ใช่แค่เรื่องใหญ่ระดับชาติที่เหล่าผู้นำประเทศกังวลเท่านั้น แต่มันยังลงลึกไปถึงหน่วยย่อยในทุกอุตสาหกรรมและการใช้ชีวิตของทุกคน เพราะทุกกิจกรรมของมนุษย์ล้วนก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม  ไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้ชีวิต การทำธุรกิจ อุตสาหกรรม ภาคการผลิต การบริการ หรือสิ่งบันเทิงอย่าง ‘คอนเสิร์ต’ ก็เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ทำให้เกิดโลกร้อนไม่แพ้กัน ยิ่งหลังผ่านพ้นช่วงกักตัว คอนเสิร์ตก็กลับมาจัดขึ้นบ่อยครั้ง และมีคนให้ความสนใจจำนวนมาก เพราะทุกคนต่างโหยหากิจกรรมและความบันเทิงนอกบ้านที่ห่างหายไปนานหลายปี ในทางกลับกัน ปัญหาโลกร้อนยังคงมีอยู่และเกิดสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหนักจากฝีมือมนุษย์อย่างต่อเนื่อง จัดคอนเสิร์ต 1 ปี ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 400,000 ตัน ปัจจุบันหลายองค์กรในอุตสาหกรรมพยายามควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซมีเทนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยลงตามเป้าหมายที่กำหนด จึงต้องมีค่ากลางในการประเมิน และเกิดการจัดทำ ‘Carbon Footprint’ หนึ่งวิธีการวัดและประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยขององค์กร โดยคิดตั้งแต่การผลิต การใช้งาน และการกำจัดของเสีย คำนวณออกมาเป็นตัวเลขหน่วยกรัม กิโลกรัม หรือตัน เพื่อนำผลลัพธ์ไปจัดการและบริหารการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในองค์กรได้ตามเป้าหมายที่กำหนด รายงาน Tyndall […]

ปรับ Mindset เปลี่ยนสังคม ลดก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ไปกับ Together To Net Zero

ในภาวะที่โลกเรากำลังเสี่ยงพบกับหายนะทางสภาพภูมิอากาศ ทั้งภาวะหิมะตกหนัก ฮีตเวฟ น้ำท่วม และภัยแล้ง ล้วนมาจากอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่ใครคนใดคนหนึ่งที่ต้องตระหนักรู้ แต่เป็นทั้งโลกที่ต้องลุกขึ้นมาช่วยเหลือกัน เกิดเป็นการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ขึ้น โดยภายในการประชุมมี 132 ประเทศได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ก่อนปี 2050 ส่วนประเทศไทยก็ได้มีการวางเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ก่อนปี 2065 เช่นเดียวกัน ทำให้ทางบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC จัดเวที ‘GC Circular Living Symposium 2022: Together To Net Zero’ เวทีการประชุมระดับนานาชาติที่รวมพลังขับเคลื่อนสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ที่จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 เพื่อ Update Trend แนวทางการลดโลกร้อนผ่าน Speakers ชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศ ที่ไม่ใช่แค่บรรลุเป้าหมายขององค์กรในการลดก๊าซเรือนกระจก หากแต่ยังช่วยสนับสนุนภาพใหญ่ของไทยและโลกใบนี้ผ่านการสร้างการตระหนักรู้ให้กับทุกภาคส่วนได้ตื่นตัว โดยภายในงาน ดร.ชญาน์ จันทวสุ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานความยั่งยืน GC […]

ออสเตรเลียผลิตนมสังเคราะห์ ลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากโคนม เพื่อแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน

หลังจากซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งได้เพิ่มพื้นที่ชั้นวางสินค้าให้กับนมจากพืชอย่างข้าวโอ๊ต ถั่วเหลือง หรืออัลมอนด์ ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่อีกไม่นานบรรดาห้างสรรพสินค้าอาจต้องจัดสรรพื้นที่อีกส่วนให้กับเครื่องดื่มทางเลือกใหม่แห่งอนาคตอย่าง ‘นมสังเคราะห์’ ก็เป็นได้ เพราะล่าสุด ‘Eden Brew’ บริษัทสตาร์ทอัปสัญชาติออสเตรเลีย ร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยอิสระ CSIRO และสหกรณ์โคนมที่เก่าแก่ที่สุดของออสเตรเลีย Norco เพื่อพัฒนานมสังเคราะห์ขึ้นมาผ่านการใช้เทคนิคทางเทคโนโลยีชีวภาพที่เรียกว่า ‘Precision Fermentation’ ซึ่งเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์สังเคราะห์ขึ้นด้วยการเพาะเซลล์ในห้องแล็บ ที่ผู้ผลิตอ้างว่าทำให้นมสังเคราะห์มีรสชาติ รูปลักษณ์ และเนื้อสัมผัสเหมือนกับนมวัวทั่วไป ทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกดื่มนมสังเคราะห์นี้แทนนมวัวได้โดยที่รสชาติไม่แตกต่างไปจากเดิม Eden Brew คาดว่านมชนิดนี้จะวางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วออสเตรเลียได้ภายในกลางปี 2023 ผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Eden Brew น่าจะตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับปัญหาภาวะโลกร้อนได้ไม่น้อย เพราะคาดว่าจะช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนของฟาร์มโคนม ซึ่งเป็นปัจจัยอันดับสองที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกรองลงมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากนมสังเคราะห์นี้ไม่ได้เกิดจากวัวภายในฟาร์ม แต่เกิดจากเทคโนโลยีชีวภาพ จึงไม่ก่อให้เกิดก๊าซมีเทนในกระบวนการผลิต นมสังเคราะห์จึงอาจกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ไม่แน่ว่าในอนาคต การดื่มนมประเภทใหม่นี้อาจกลายเป็นเทรนด์ที่มาแทนการดื่มนมวัวแบบเดิมๆ ก็เป็นได้ Sources : ABC News | t.ly/yG6nDaily Mail Online | t.ly/cPZWScienceAlert | t.ly/q67l

Scientist Rebellion กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ประท้วงให้โลกหยุดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก่อนที่มนุษย์จะเจอกับหายนะโลกร้อน

ใครเป็นคอหนังคงรู้จักหรือเคยดู Don’t Look Up ภาพยนตร์เกี่ยวกับนักดาราศาสตร์สองคนที่ออกมาเตือนมนุษยชาติเกี่ยวกับดาวหางที่ใกล้จะทำลายโลก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ นักการเมือง นักข่าว และผู้คนจำนวนมากกลับไม่สนใจ อีกทั้งยังทำให้คำเตือนถึงหายนะครั้งใหญ่นี้กลายเป็นเรื่องตลกอีกด้วย ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในหนังไม่ได้ไกลตัวแต่อย่างใด เพราะตอนนี้เหตุการณ์ลักษณะเดียวกันกำลังเกิดขึ้นจริงในโลกของเรา 6 เมษายน 2565 ปีเตอร์ คาลมุส (Peter Kalmus) นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศจากนาซา (NASA) ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่ง ได้รวมตัวประท้วงอยู่ที่หน้าสำนักงานของบริษัทเจพีมอร์แกนเชส (JPMorgan Chase) ในนครลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา พวกเขามัดข้อมือของตัวเองไว้กับประตูของบริษัท และยังมีผู้ประท้วงรายอื่นๆ ยืนปักหลักอยู่บริเวณหน้าสำนักงานด้วย นักวิทยาศาสตร์และผู้ประท้วงเลือกมารวมตัวที่หน้าสถาบันทางการเงินและการลงทุนยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ เนื่องจากระหว่างปี 2559 – 2564 ในบรรดาธนาคารเพื่อการลงทุนทั้งหมดของโลก เจพีมอร์แกนเชสคือบริษัทที่ระดมทุนสนับสนุนโครงการเชื้อเพลิงฟอสซิลมากที่สุด หรือกว่า 382 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 12,900 ล้านบาท)  นักวิทยาศาสตร์เรียกร้องให้เจพีมอร์แกนเชส รวมถึงบริษัทอื่นๆ หยุดสนับสนุนเงินทุนให้แก่โครงการเชื้อเพลิงฟอสซิล เพราะผลผลิตสุดท้ายของการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลคือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกให้ค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศโลก โครงการเหล่านี้จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โลกเผชิญกับหายนะจากภาวะโลกร้อน  คาลมุสกล่าวพร้อมน้ำเสียงสั่นเครือว่า “ผมมาประท้วงที่หน้าบริษัทแห่งนี้ เพราะไม่มีใครฟังเสียงของนักวิทยาศาสตร์เลย ผมพร้อมเสี่ยงชีวิตและอาชีพเพื่อโลกที่สวยงามใบนี้ นักวิทยาศาสตร์พยายามเตือนพวกคุณมาหลายสิบปีแล้วว่าโลกกำลังมุ่งหน้าสู่หายนะที่เลวร้ายและใหญ่หลวง” แม้ว่าการประท้วงเป็นไปอย่างสงบ แต่ทางการได้ส่งเจ้าหน้าที่ในชุดปราบจลาจลกว่า […]

ชั้นบรรยากาศบาง โอโซนลด ต้นเหตุอากาศร้อนจนปาดเหงื่อ

ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ แหล่งโอโซนที่ดูดซับแสงอาทิตย์เยอะที่สุดกำลังบางลง เพราะก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้อากาศร้อนจนปาดเหงื่อ

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.