ห้องน้ำสวย บอกต่อด้วย toiletness แอ็กเคานต์อินสตาแกรม ชี้เป้าห้องน้ำสวยตามสถานที่ต่างๆ

เราเชื่อว่าต้องมีคนจำนวนไม่น้อยที่เวลาไปร้านอาหาร เข้าคาเฟ่ หรือแฮงเอาต์ตามสถานที่เก๋ๆ แล้วชอบเข้าห้องน้ำไปถ่ายภาพเซลฟี่หน้ากระจก ตัวเองสวยเป็นหนึ่งเหตุผล แต่อีกเหตุผลคือห้องน้ำเองก็สวยมากจนอยากมีแบบนี้ที่บ้าน เพราะน่าจะอยากแบ่งปันห้องน้ำสวย บอกต่อด้วย ถึงมีคนทำ toiletness แอ็กเคานต์อินสตาแกรมที่มาชี้เป้าห้องน้ำสวยตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะร้านอาหาร คาเฟ่ บาร์ ห้างสรรพสินค้า แกลเลอรี หรือกระทั่งสถานที่งงๆ ก็ยังมี “เวลาไปสถานที่ต่างๆ เรามักชอบสังเกตการออกแบบและการตกแต่งอยู่แล้ว เพราะพื้นฐานเคยเป็นนักเรียนออกแบบ และคิดว่าอีกหนึ่งจุดสร้างประสบการณ์ที่สำคัญ (Touchpoint) ภายในสถานที่คือ ‘ห้องน้ำ’ “เราเริ่มถ่ายรูปห้องน้ำจากสถานที่ต่างๆ มาสักพักแล้ว จนมีเพื่อนบอกให้ลองสร้างเป็น คลังไว้แชร์กับคนอื่นด้วย ก็เลยเริ่มมีแรงจูงใจอยากเก็บภาพห้องน้ำที่มีสไตล์การออกแบบเฉพาะตัว เปิดเป็นแอ็กเคานต์อินสตาแกรมขึ้นมา ความรู้สึกตอนนั้นคือถึงไม่มีคนเห็นหรือสนใจ แอ็กเคานต์นี้ก็ถือเป็น Journal ส่วนตัวของเราแล้วกัน แต่สรุปว่ามีเพื่อนหลายคนทักมาบอกว่าชอบสะสมภาพถ่ายห้องน้ำเหมือนกัน เวลาไปไหนแล้วต้องแวะไปดู เราก็รู้สึกว่าเราไม่ได้บ้าห้องน้ำไปคนเดียว” เจ้าของแอ็กเคานต์ toiletness เล่าให้เราฟัง ห้องน้ำไฟสีแดงซาบซ่านใน Mod Kaew Wine Bar ห้องน้ำสไตล์ปูนเปลือยใน Nangloeng Shophouse ห้องน้ำดาร์กๆ อย่างกับห้องน้ำในภาพยนตร์ที่ Eat Me Restaurant ฯลฯ […]

ชวนดูการออกแบบ Wayfinding ของ Totetsu Training Institute ที่ทั้งเก๋ไก๋ สื่อถึงรางรถไฟ และตอบโจทย์การนำทาง

Motive Inc. สตูดิโอสัญชาติญี่ปุ่นได้ออกแบบระบบการบอกเส้นทาง (Wayfinding) สำหรับสถาบันฝึกอบรมของบริษัทซ่อมบำรุงทางรถไฟ Totetsu Kogyo โดยใช้เครื่องหมายที่เก๋ไก๋แต่เรียบง่าย เพื่อนำทางผู้มาเยี่ยมชมอาคาร สถาบันแห่งนี้ตั้งอยู่ในเมือง Tsukubamirai จังหวัด Ibaraki ก่อตั้งขึ้นตามความต้องการของอดีตกระทรวงการรถไฟที่ทำหน้าที่บำรุงรักษาและพัฒนาระบบรางของญี่ปุ่น Wayfinding ของที่นี่มีลักษณะเป็นเส้นทางที่ชวนให้นึกถึงรางรถไฟที่ฝังอยู่ในพื้น มุ่งนำไปสู่ห้องต่างๆ โดยอ้างอิงการออกแบบจากเอกลักษณ์ของ Totetsu Kogyo ในฐานะบริษัทให้บริการระบบรางของญี่ปุ่น และเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เข้ารับการอบรมที่ต้องมาใช้อาคารอยู่บ่อยครั้ง ทางสตูดิโอออกแบบเล่าว่า พวกเขาต้องการให้การออกแบบทำงานโดยเป็นไปตามสัญชาตญาณของผู้ใช้งาน คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยกระตุ้นการตอบสนอง และพึ่งพาข้อความน้อยที่สุด นอกเหนือจากการใช้เส้นสีบริเวณชั้นล่างไกด์ผู้คนอย่างมีประสิทธิภาพ Takuya Wakizaki ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ Motive Inc. ยังต้องการให้การออกแบบสร้างอิมแพกต์เมื่อมองจากด้านบนด้วย เนื่องจากอาคารมีเพดานที่เปิดโล่ง เส้นสีรางรถไฟที่ยึดโยงกันอย่างต่อเนื่องทั่วทั้งพื้นที่สองส่วนในอาคาร กระเบื้องเคลือบใกล้กับทางเข้าฝังด้วยเหล็กเส้นที่ใช้ในอุตสาหกรรม ส่วนบนทางเดินก็มีการใช้พื้นไวนิลสองสีเพื่อสร้างแพตเทิร์น เหล่านี้คือการออกแบบ Wayfinding ที่สื่อสารถึงความเป็นบริษัทที่ทำงานเกี่ยวกับรางรถไฟได้เป็นอย่างดี ความน่าสนใจคือ บนพื้นที่ตีเส้นราวกับรางรถไฟนั้นมีการใช้สีแดงสนิมเพื่อให้นึกถึงรางรถไฟจริงๆ และมีข้อความสีขาวเป็นภาษาญี่ปุ่นกับภาษาอังกฤษ ระบุถึงปลายทางที่เส้นทางนำไป นอกจากนี้ยังมีการใช้เศษโลหะจากอุตสาหกรรมมาทำแผ่นป้ายหลักของอาคาร และระบบรหัสสีในคีย์การ์ดสำหรับเปิดประตูห้องต่างๆ บนชั้นสอง ก็มีการออกแบบเป็นคล้ายๆ ปริศนา อ้างอิงจากแผนที่เส้นทางรถไฟที่บริษัท Totetsu Kogyo ให้บริการ ถ้าใครได้ไปอบรมงานที่นี่ คงได้แรงบันดาลใจและสนุกกับการดูแลพัฒนารางรถไฟขึ้นแน่ๆ  […]

คุยกับผู้อยู่เบื้องหลังการรีโนเวตศูนย์ฯ สิริกิติ์ จากผ้าไทย สู่โอกาสของไทยในเวทีโลก

เหมือนเพิ่งจะรู้สึกเศร้าเสียดายกับการปิดปรับปรุงไปไม่นาน แต่รู้ตัวอีกทีก็ผ่านไปเกือบ 3 ปี จนได้เวลาที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์จะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้แล้ว แถมยังมีคิวงานยาวเหยียดรออยู่ ไม่ว่าจะเป็นงานหนังสือซึ่งจะกลับมาสู่บ้านหลังเดิมอีกครั้ง หรือการประชุมใหญ่อย่าง APEC Thailand 2022 ที่เราน่าจะได้เห็นการใช้งานศูนย์ประชุมใหม่แห่งนี้อย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก ‘ความเป็นไทย’ เราเฝ้าครุ่นคิดถึงนิยามของคำคำนี้ตลอดบทสนทนากับ ‘ออ–อริศรา จักรธรานนท์’ ในห้องประชุมของ ONION บริษัทสถาปนิกผู้อยู่เบื้องหลังการออกแบบและตกแต่งภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ โดยมี Frasers Property Thailand เป็นผู้บริหารงานก่อสร้าง ในโลกที่เปรียบเสมือนหม้อใบใหญ่ เคี่ยวกรำวัฒนธรรมอันหลากหลายเข้าจนบางอย่างแทบจะกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน อะไรคือสิ่งที่เราพอจะบอกได้ว่านี่แหละคือเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร ภาษา สถาปัตยกรรม ดนตรี หรือว่าอาหาร “สืบสาน รักษา ต่อยอด” คือสามคำที่เธอเล่าว่าเป็นแก่นของการออกแบบในครั้งนี้ สิ่งที่อริศราและทีมต่อยอดออกมานั้น ไม่ใช่ความเป็นไทยในแบบที่จับต้องไม่ได้หรือถูกยกไว้บนหิ้ง แต่เป็นสิ่งที่สามารถอยู่ร่วมกับชีวิตประจำวันของเราได้อย่างไม่ประดักประเดิด ขณะเดียวกันก็ต้องเป็นที่เชิดหน้าชูตาให้กับคนไทยได้ในฐานะศูนย์ประชุมแห่งชาติ แม้จะยังไม่สามารถเข้าไปดูศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ให้เห็นกับตา แต่เราก็ขอให้อริศราช่วยพาเราไปสำรวจเบื้องหลังการรีโนเวตในครั้งนี้ ซึ่งท้าทายตั้งแต่ขนาดพื้นที่ที่รับผิดชอบ อย่างการออกแบบอย่างไรไม่ให้คนเดินแล้วหลง ที่สำคัญคือต้องคำนึงถึงการแข่งขันในระดับนานาชาติอีกต่างหาก น้อยแต่มาก ไทยแต่เท่ จากโครงสร้างเดิมของศูนย์ฯ สิริกิติ์ที่สร้างขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2534 การรีโนเวตครั้งนี้ได้เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ไม่เพียงพอ พื้นที่อาคารแห่งใหม่จึงถูกขยายให้ครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่จอดรถเดิม จนได้พื้นที่ใช้สอยรวมกว่า […]

Notre Dame’s New Landscape โปรเจกต์ออกแบบพื้นที่นอกมหาวิหารนอเทรอดาม ที่เต็มไปด้วยต้นไม้และฟังก์ชันเพื่อคนเมือง

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2562 เกิดเหตุไฟไหม้มหาวิหารนอเทรอดาม (Notre Dame) ศาสนสถานอายุ 850 ปีในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่สร้างความตกใจและความเสียดายให้คนทั่วโลก เพราะเพลิงที่ลุกไหม้สร้างความเสียหายให้ศาสนสถานอายุหลายศตวรรษแห่งนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากโครงสร้างส่วนใหญ่ทำจากไม้ หลังจากเกิดเหตุ ฝรั่งเศสก็เริ่มแผนซ่อมแซมบูรณะตัวอาคาร ซึ่งคาดว่าอาจต้องใช้เวลาฟื้นฟูนานถึง 5 ปี ควบคู่ไปกับการเปิดประกวดแข่งขันด้านการออกแบบเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมหรือบริเวณโดยรอบมหาวิหารขึ้นมาใหม่ โดยเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565 คณะกรรมการได้ประกาศรางวัลผู้ชนะเลิศอันดับหนึ่งคือ โปรเจกต์การออกแบบที่พัฒนาโดยภูมิสถาปนิก Bas Smets, บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมและผังเมือง GRAU และบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านมรดกทางสถาปัตยกรรม Neufville-Gayet  การออกแบบพื้นที่โดยรอบมหาวิหารนอเทรอดามของทีมนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อเชื่อมโยงสถานที่ทางประวัติศาสตร์ กับแม่น้ำแซนที่โอบล้อมมหาวิหารให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น จัตุรัสที่อยู่หน้ามหาวิหารถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่เปิดโล่ง ช่วยให้ด้านหน้าของอาคารสูงเด่นเป็นสง่ากว่าเดิม และเพิ่มต้นไม้สีเขียวขจีที่รายล้อมอาคารและให้ร่มเงาแก่พื้นที่นั่งเล่น  ส่วนบริเวณด้านหลังของมหาวิหารจะถูกรวมเข้ากับสวนที่อยู่ติดกัน เปลี่ยนเป็นสวนสาธารณะริมแม่น้ำขนาดใหญ่ที่ทอดยาว 400 เมตร และจะมีการปลูกต้นไม้ใหม่เพิ่มถึง 131 ต้น กลายเป็นพื้นที่สีเขียวที่เหมาะแก่การเดินเล่นหรือนั่งพักผ่อนหย่อนใจเป็นที่สุด นอกจากนี้ ผู้ออกแบบยังติดตั้งระบบระบายความร้อนให้แก่พื้นด้วยการใช้ม่านน้ำความหนาเพียง 5 มิลลิเมตร ซึ่งจะช่วยลดอุณหภูมิได้หลายองศาฯ อีกทั้งยังทำให้กำแพงโดยรอบมหาวิหารสะท้อนแสงแวววับ และกลายเป็นจุดถ่ายรูปสวยๆ สำหรับนักท่องเที่ยวด้วย อีกหนึ่งการออกแบบที่น่าสนใจคือ การเปลี่ยนลานจอดรถที่อยู่ใต้จัตุรัสด้านหน้ามหาวิหารให้เป็นสถานที่ต้อนรับแขกขนาดใหญ่กว่า […]

กชกร วรอาคม กับปณิธานการออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อผู้คนในยุคนี้และยุคหน้า

“Can we fix the climate problem in one generation?” เป็นคำถามที่กชกร วรอาคม ถามกับตัวเอง เป็นคำถามที่ทำให้เธอที่เป็นมนุษย์ตัวเล็กๆ บนโลก เริ่ม ‘ลงมือทำ’ หลายสิ่งหลายอย่าง เป็นคำถามที่เธอพูดในคลิป ที่ท่านเซอร์ เดวิด แอทเทนเบอเรอห์ นักธรรมชาติวิทยาคนสำคัญ นำไปเปิดประกอบสปีชที่ COP26 หรือการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งกชกรได้เข้าร่วมเพื่อรับรางวัลด้านการออกแบบจาก UN เป็นคำถามที่เธอถามกับผู้คนที่มาร่วมงานประกาศเดินหน้าธุรกิจควบคู่กับการกู้วิกฤตโลกของ SCG หรือ SCG ESG Pathway เริ่มด้วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก ในครั้งนี้ และ My answer would be yes. We have to. เป็นประโยคที่เธอตอบคำถามของตัวเอง ‘กชกร วรอาคม’ หรือที่หลายคนเรียกว่า ‘อาจารย์กช’ ตามบทบาทภูมิสถาปนิก พ่วงด้วยอาจารย์พิเศษด้านภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นทีมงานออกแบบโปรเจกต์พื้นที่สาธารณะเด่นๆ หลายที่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ, สวนหลังคาอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ที่ธรรมศาสตร์ รังสิต, Siam Green Sky สวนเกษตรลอยฟ้า สยามสแควร์, สวนบำบัดลอยฟ้าที่โรงพยาบาลรามาธิบดี, ทางเดินคนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ที่ดัดแปลงจากโครงสร้างเดิมของโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน, สวนสาธารณะเลียบคลองช่องนนทรี และงานอื่นๆ อีกมากมาย สาวแพสชันสูงคนนี้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีระดับโลกต่างๆ เธอเป็นคนไทย 1 ใน 3 คน ที่ติดอยู่ในลิสต์ ‘TIME 100 […]

“เซ็นทรัล อยุธยา” โครงการที่ใช้ Kyoto Model ส่องสปอตไลต์ให้เมืองเก่ามรดกโลก

แพลนท่องเที่ยวอยุธยาในหนึ่งวันของคุณมีอะไรบ้าง กินกุ้งแม่น้ำตัวโตและโรตีสายไหมหวานฉ่ำ แต่งชุดไทยเป็นออเจ้ากับพี่หมื่น แวะชมวัดและโบราณสถาน แล้วจากนั้นล่ะ จะทำอะไรต่อดี เพราะระยะทางที่ห่างจากกรุงเทพฯ ไม่มาก ทำให้หลายๆ คนมักจัดอยุธยาให้เป็นจังหวัดสำหรับไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจในเวลาสั้นๆ อาจมาเพียงไปเช้าเย็นกลับ แวะกินกุ้ง เดินชมวัด มีแพลนไว้เพียงหลวมๆ ท่องเที่ยวเพียงไม่กี่ที่ จากนั้นก็เดินทางกลับเข้าเมืองแต่เพื่อให้การท่องเที่ยวอยุธยาของทุกคนครบขึ้น สนุกขึ้น ศูนย์การค้า เซ็นทรัล อยุธยา จึงจับเอาแนวคิด ‘อัศจรรย์อยุธยา’ มาเป็นธีมหลัก ผสมผสานเอาของดีอยุธยามาจับคู่กันกับความโมเดิร์นของศูนย์การค้า ให้ที่แห่งนี้เป็นเสมือนจุดเช็กอินแห่งใหม่ของแขกเมืองผู้มาเยือน ซึ่งนี่เป็นแนวคิดแบบเดียวกันกับ Kyoto Model ที่ไม่เพียงแต่มีเมืองเก่าให้เดินชม แต่ยังมีแหล่งช้อปปิ้งที่ทันสมัยไว้รับรอง โครงการเซ็นทรัล อยุธยา จึงถือเป็นโครงการมิกซ์ยูสที่ครบครันทั้งศูนย์การค้า Tourist Attraction โรงแรม ที่พักอาศัย และคอนเวนชันฮอลล์ ที่ไม่เพียงแต่ต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน แต่คนในจังหวัดเองก็ยังใช้พื้นที่นี้รองรับการทำกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วย มาดูกันว่าหากเราปักหมุดที่เซ็นทรัล อยุธยา เป็นที่แรก ซึ่งใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ไม่เกิน 1 ชั่วโมง ที่นี่จะมีอะไรให้ทำบ้าง Capital of Histagram เพียงแรกเห็นตัวอาคารสีขาวทอง ที่ภายนอกดูเรียบหรูผิดตาไปจากศูนย์การค้าเซ็นทรัลในจังหวัดอื่นๆ ที่เราเคยเห็น ก็พนันได้เลยว่าศูนย์การค้าแห่งนี้จะตรึงใจผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาให้สนใจอยากเข้ามาสัมผัสประสบการณ์ความเป็นอยุธยาในรูปแบบใหม่เช่นเดียวกันกับเราได้ไม่ยาก ยิ่งเมื่อรู้ว่าผู้หนึ่งในทีมผู้ออกแบบศูนย์การค้าแห่งนี้คือผู้ออกแบบศาลาอยุธยา โรงแรมที่นำเสนอความสวยงามของอยุธยาให้คนตะลึงมาแล้วก่อนหน้าก็ยิ่งไม่แปลกใจ เพราะตั้งใจจะนำความเรืองรองของเมืองที่เป็น Unesco […]

สี Pantone แห่งปี 2022 PANTONE 17-3938 Very Peri

พอถึงช่วงสิ้นปีทีไร ราวกับธรรมเนียมที่แวดวงออกแบบทั่วโลกเป็นต้องได้ตื่นเต้นกันทุกครั้ง เพราะทุกปีจะมีการประกาศสีแห่งปีสีใหม่ล่าสุดจากทาง Pantone ออกมาอย่างสม่ำเสมอ และเป็นเหมือนการบอกเล่าเทรนด์สีที่จะได้รับความนิยมต่อไปด้วย ซึ่งในปีนี้ Pantone Color of the Year 2022 ก็คือ… PANTONE 17-3938 Very Peri  หน่วยงานผู้เชี่ยวชาญด้านสีระดับโลกอย่าง PANTONE ได้ประกาศว่านี่คือสี Blue-ish สีใหม่ เจ้าสีล่าสุดนี้เป็น ‘สี Periwinkle Blue ที่มีไดนามิกและมีอันเดอร์โทนสีม่วงแดงแสนมีชีวิตชีวา’ ซึ่งแพนโทนได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ด้วยว่า ‘เฉดสีฟ้าเปี่ยมความสุขและอบอุ่นที่สุดนี้เป็นการผสมผสานพลังของสิ่งใหม่ๆ เข้าด้วยกัน’  ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 23 ปี นับตั้งแต่เปิดตัวโปรแกรม Color of the Year Pantone ขึ้นมา Laurie Pressman รองประธาน Pantone Color Institute กล่าว ถึงการสร้างสรรค์สีใหม่ล่าสุดอย่าง Very Peri ว่า “สีนี้สะท้อนถึงนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับโลก” “เมื่อเราทุกคนก้าวเข้าสู่โลกแห่งการเปลี่ยนแปลง การเลือก […]

Wuhan City Pavilion & Kindergarten อาคารในอู่ฮั่นที่เป็นทั้งพาวิลเลียน โรงเรียนอนุบาล และที่จัดนิทรรศการ

เมื่อไม่นานมานี้ ทีมสตูดิโอสถาปนิกสัญชาติจีนชื่อ ATELIER XI ได้ออกแบบสร้างอาคารพาวิลเลียนและโรงเรียนอนุบาลเมืองอู่ฮั่น (Wuhan City Pavilion & Kindergarten) จนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งตัวอาคารแห่งนี้ตั้งอย่างโดดเด่นอยู่ใน Hankou ซึ่งห่างจากจุดที่เคยมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ครั้งแรกเพียง 1 กิโลเมตร สถาปัตยกรรมนี้เพิ่งสร้างเสร็จแบบสดๆ ร้อนๆ หลังแผนการสร้างได้ถูกระงับไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2019 เพราะเชื้อโควิดที่ปะทุขึ้นมาทั่วทั้งเมือง ทว่าเมื่อเมืองกลับมาเปิดได้ใหม่อีกครั้ง โครงการก็สามารถดำเนินการต่อได้อย่างราบรื่นดี ในปี 2019 ทีมสถาปนิก ATELIER XI ได้รับการว่าจ้างให้ดีไซน์โรงเรียนอนุบาลที่มีขนาด 6 ห้องเรียนมาตรฐานในเมืองอู่ฮั่น นอกจากความท้าทายด้านงานก่อสร้างตึกในช่วงวิกฤติเชื้อไวรัสแพร่ระบาด โจทย์แสนยากต่อมา ก็คือการสร้างอาคารที่รับบทบาทเป็นทั้งพาวิลเลียนขายสินค้าชั่วคราว เป็นห้องโถงจัดแสดงนิทรรศการในปีแรกที่สร้างแล้วเสร็จ และจะเป็นโรงเรียนอนุบาลสำหรับเด็กๆ ในภายหลัง โดยทำให้อาคารมีความพร้อมต่อการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันได้ในช่วงเวลาต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ โครงการนี้จึงตั้งใจสร้างด้วยแนวคิดการประหยัดต้นทุน เพื่อให้ใช้สอยพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าและอรรถประโยชน์ โดยหลีกเลี่ยงการรื้อถอนตึกซึ่งจะสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคต ทีมออกแบบ ATELIER XI พยายามจะแบ่งย่อยอาคารนี้ให้เป็นยูนิตต่างๆ ที่ปรับเปลี่ยนได้ ฟังก์ชันเชิงพื้นที่จึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ โดยตัวโครงสร้างที่เสร็จสมบูรณ์ของอาคารจะมี ‘ช่องว่าง’ ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันด้วยช่องว่างภายในที่มีรอยพับอันซับซ้อน ซึ่งเราสังเกตเห็นได้ทั้งในบริเวณด้านหน้าและหลังคาที่อยู่ภายนอกอาคาร ช่วงเริ่มต้นของการออกแบบ […]

FYI

PROVIDENCE LANE Ekkamai-Ramintra อนาคตแห่งการอยู่อาศัย ในวันที่โลกหมุนไปไม่หยุด

ปัจจุบันโลกของเรากำลังผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนด้วยอัตราเร่งที่เร็วกว่าครั้งไหน แม้สถานการณ์โลกมีแนวโน้มจะกลับคืนสู่สภาวะปกติ แต่รูปแบบการใช้ชีวิตของเราได้เปลี่ยนไปเรียบร้อยและหน้าตาของที่อยู่อาศัยก็กำลังจะเปลี่ยนตามไปด้วย  บ้านสำหรับอนาคตอาจจะเปรียบได้กับผืนผ้าใบสีขาว ที่พร้อมให้เราแต่งแต้มและสะบัดแนวทางการใช้ชีวิตลงไปเติมเต็มให้สมบูรณ์ PROVIDENCE LANE Ekkamai-Ramintra คือโครงการบ้านระดับลักซูรี ที่นำเสนอความเป็นตัวเองออกมาเป็นอันดับแรก ลดทอนทุกส่วนที่ไม่จำเป็น แต่ในขณะเดียวกันก็เปิดกว้างสำหรับทุกจินตนาการและพร้อมสำหรับทุกความเป็นไปได้ในอนาคต  Translucent Design อนาคตบ้านคือที่ทำงานของเรา  ต้นไม้กระถางเล็กที่มุมโต๊ะไว้เติมสีเขียว ข้างๆ กันมีรูปจากทริปผจญภัยครั้งล่าสุดไว้กระตุ้นความโปรดักทีฟ ถัดไปมีโปสเตอร์หนังโรแมนติก-คอเมดี้ไว้เติมกำลังใจหลังมีตติ้งรอบบ่ายอันหนักหน่วง ก่อนจะต้องฝ่ารถติดออกไปสนทนาภาษาธุรกิจระหว่างมื้อเย็นใจกลางเมือง  ย้อนกลับไปราวสองปีที่แล้วเราคุ้นกับการปรับสภาพโต๊ะทำงานให้เป็นมิตรกับตัวเองมากที่สุด แต่เมื่อเวลาหมุนไปชีวิตก็ไม่ได้ผูกติดอยู่ที่ออฟฟิศอีกแล้ว การทำงานที่บ้านกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้น Work from Home จะเป็นเทรนด์สำคัญในอนาคตที่จะกลายเป็นความปกติใหม่และอยู่กับเราไปอีกนาน  งานวิจัยหลายชิ้นพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าการทำงานอยู่ที่บ้านช่วยกระตุ้นให้กระตือรือร้นและจดจ่อกับงานได้มากขึ้น แต่มีข้อเสียคือทำให้ชีวิตทางสังคมหายไป หลายบริษัทจึงเลือกที่จะทำงานแบบไฮบริด คือเข้าออฟฟิศมาเจอกันบ้างแต่จะอาศัยการทำงานที่บ้านเป็นหลัก ทีนี้เมื่อการทำงานที่บ้านกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้น แทนที่จะแต่งแค่โต๊ะหรือห้องทำงานส่วนตัว เรามีบ้านทั้งหลังไว้คอยรองรับไอเดียที่เอ่อล้นอยู่เต็มหัว บ้านที่ดีจึงต้องพร้อมที่จะตอบรับทุกฟังก์ชันการใช้งานในอนาคตตามไปด้วย  ตอบอีเมลรอบเช้าที่ Café Area กับกาแฟร้อนหอมกรุ่น ประชุมรอบสายในพื้นที่ส่วนตัวเพื่อขับสมาธิให้พุ่งถึงขีดสุด PROVIDENCE LANE ออกแบบอย่างสอดคล้องให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ที่ไม่หยุดนิ่ง แต่ก็ไม่ละทิ้งสุนทรียะของผู้อยู่อาศัย เรียกได้ว่าคุณสามารถปรับสมดุลชีวิตให้คล่องแคล่วไม่ติดขัด และเพลิดเพลินกับการอยู่บ้านไปได้พร้อมกัน  เพราะใช้ปรัชญาการออกแบบที่ลดทอนส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปทั้งหมด จนสามารถสร้างสรรค์การใช้งานที่เหมาะกับตัวเองได้ทันที มีพื้นที่การใช้งานที่เชื่อมทะลุถึงกัน เพื่อกระชับมิตรสังคมภายในบ้านให้แน่นแฟ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีพื้นที่มากและเพียงพอสำหรับการแยกกันทำงาน และเปลี่ยนฟังก์ชันการใช้งานได้อย่างอิสระตามคอนเซปต์ Defining Me ที่สะท้อนถึงตัวตนของเราได้ในทุกตารางเมตร  […]

‘ศูนย์พักคอยตันปัน’ เปลี่ยนตึก 30 ปีเป็นที่ที่ผู้ป่วยโควิด-19 อยู่แล้วไม่เครียดกว่าเดิม

01 ปัดฝุ่นตึกเก่าอายุ 30 ปี ให้เป็นพื้นที่ช่วยคน 30 กว่าปีที่แล้ว อาคารสูง 8 ชั้น ประดับด้วยเสา และฟอร์มสไตล์โรมันตั้งเด่นอยู่ทางเข้าย่านสถานบันเทิง RCA เคยเป็นสตูดิโอถ่ายรูปแต่งงาน ที่หนุ่มสาวแถวนั้นแวะเวียนมาใช้บริการเมื่อถึงวันสำคัญ และตึกนี้ยังเป็นตึกแรกในชีวิตที่ ตัน ภาสกรนที ซื้อมาทำธุรกิจส่วนตัว “ตึกนี้ติดถนนใหญ่ ชั้นละสี่ร้อยตารางเมตร มีดาดฟ้า และ Penthouse เล็กๆ ข้างบน ผมใช้สอยพื้นที่เป็นร้านถ่ายรูปแต่งงานได้สบาย โดยกลุ่มลูกค้าเราก็คือคนที่มาเที่ยว RCA ที่วันหนึ่งแต่งงานก็จะนึกถึงเรา แต่พอเวลาผ่านไป ผมพบว่าจริงๆ ตึกนี้ไม่ใช่สไตล์ผมเลย ขัดกับตัวเองสุดๆ ก็เลยปล่อยเช่าไปยาวๆ” นักธุรกิจอย่างเขา ปล่อยเช่าให้คนอื่นทำธุรกิจแทนจนแทบไม่ได้ไปเหยียบตึกเก่าที่เคยซื้อไว้ในอดีต กระทั่งได้ยิน สรยุทธ สุทัศนะจินดา พูดถึงตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในรายการ เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งตัวเลขคนตายไม่ได้มีแค่ที่โรงพยาบาล แต่ตายที่บ้านก็มี ตายข้างถนนก็มี  “สถานการณ์ในประเทศหดหู่มาก ประชาชนพบปัญหาเดียวกันคือไม่มีเตียง เพื่อนผมเองก็โทรมาถามว่า คุณตันรู้จักใครไหม ช่วยหาเตียงหน่อย ซึ่งเราก็หาให้เขาไม่ได้ ผมก็คิดว่า ถ้าเป็นผมที่ติด จะไปหาเตียงที่ไหน […]

รัฐสภาแบบไหนที่ใช่ ส่องการออกแบบที่ฟังเสียงประชาชน

รัฐสภาในแต่ละประเทศที่ถูกสร้างขึ้นมาสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดการปกครองของพื้นที่นั้นด้วย เมื่อสิทธิ์และเสียงของประชาชนต้องการถูกยอมรับ การออกแบบรัฐสภาก็ควรคำนึงถึงประชาชนมาเป็นอันดับแรก

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.