Broker การเดินทางเพื่อตามหาครอบครัวที่แท้จริงบนโลกสีเทากระดำกระด่าง

บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์ “คนนิจิวะ อันนยองฮาเซโย” คือคำทักทายสองภาษาจาก ‘โคเรเอดะ ฮิโรคาสุ’ ผู้กำกับชาวญี่ปุ่นเจ้าของผลงานภาพยนตร์เกาหลีเรื่องล่าสุด Broker (2022) ที่เรากำลังจะได้รับชมในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้า  ด้วยความบังเอิญผสมกับความพยายามอีกเล็กน้อย ทำให้นักท่องเที่ยวอย่างเราหาบัตรชมภาพยนตร์เรื่องนี้ที่เกาหลีในรอบเดินสายทักทายผู้ชมของทีมนักแสดงและผู้กำกับมาได้สำเร็จ แต่นอกเหนือจากเสียงชื่นชมและการยืนปรบมือยาว 12 นาทีที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์เมื่อสองสัปดาห์ก่อนหน้า สิ่งที่เรารับรู้เกี่ยวกับ Broker มีไม่มากนัก หนึ่ง–นี่คือภาพยนตร์แนวดราม่ากึ่งโร้ดมูฟวี่ที่บอกเล่าการเดินทางของคุณแม่ยังสาวที่ตัดสินใจทอดทิ้งลูกของตัวเองไว้ที่กล่องรับทารก กับชายแปลกหน้าสองคนที่หวังจะนำเด็กไปขาย โดยมีสองตำรวจหญิงเฝ้าสะกดรอยตามอยู่ สอง–แม้นี่จะเป็นภาพยนตร์เกาหลีเรื่องแรกของโคเรเอดะ แต่เขาก็สามารถดึงนักแสดงมากฝีมือมาร่วมงานได้อย่างคับคั่ง ไม่ว่าจะเป็นซงคังโฮ จากภาพยนตร์ Parasite, คังดงวอน จากภาพยนตร์ Peninsula, แบดูนา จากซีรีส์ Kingdom, อีจีอึน (IU) จากซีรีส์ Hotel Del Luna และอีจูยอง จากซีรีส์ Itaewon Class  “ช่วงเย็นวันอาทิตย์แบบนี้เป็นเวลาที่มีค่าของทุกคน ขอบคุณที่ตัดสินใจมาชมภาพยนตร์ของพวกเรา หวังว่าทุกคนจะกลับไปพูดคุยถึงหนังของเรากันต่อได้บนโต๊ะอาหารมื้อค่ำวันนี้นะคะ” อีจีอึน ผู้รับบท โซยอง กล่าวกับผู้ชมในโรง ในตอนนั้น เราไม่แน่ใจนักว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะสร้างบทสนทนาต่อไปได้ยืดยาวแค่ไหน แต่เมื่อได้เวลาที่ไฟในโรงหนังมืดลง Broker ก็ค่อยๆ พาเราออกเดินทางไปบนถนนทอดยาว […]

รอรถเมล์แบบไม่กลัวร้อน! ชวนสำรวจป้ายรถเมล์อัจฉริยะเกาหลีใต้ มีแอร์ Wi-Fi ฟรี ป้องกันโควิด-19 ได้

ใครใช้รถเมล์เป็นประจำคงรู้ดีว่า ป้ายรถเมล์อาจเป็นหนึ่งอุปสรรคของการเดินทางในแต่ละวัน เพราะจุดรอรถเมล์หลายแห่งในไทยยังไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานเท่าที่ควร เช่น ไม่มีไฟส่องสว่าง ไม่มีหน้าจอแสดงข้อมูลและระยะเวลารอรถ ที่แย่ไปกว่านั้น บางแห่งยังไม่มีหลังคากันแดด กันฝน ทำให้คนเดินทางต้องรอรถเมล์อย่างเหน็ดเหนื่อยและยากลำบากในช่วงสภาพอากาศแปรปรวน ทั้งนี้ ป้ายรถเมล์ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบขนส่งสาธารณะที่หลายประเทศให้ความสำคัญ และพยายามปรับปรุงให้ทันสมัยและตอบโจทย์ประชาชนมากที่สุด หนึ่งในประเทศที่พัฒนาป้ายรถเมล์อย่างต่อเนื่องก็คือ ‘เกาหลีใต้’  เพราะเหตุนี้ เราจึงอยากพาทุกคนไปสำรวจ ‘ป้ายรถเมล์อัจฉริยะ’ หรือ ‘Smart Shelter’ ที่เกาหลีใต้ออกแบบขึ้นเพื่อส่งเสริมการเดินทางของผู้คนอย่างรอบด้าน หน้าตาของป้ายรถเมล์นี้คล้ายกับตู้กระจกขนาดใหญ่ที่มาพร้อมกับอุปกรณ์และเทคโนโลยีทันสมัยมากมาย ก่อนเข้าใช้บริการ ผู้ใช้งานต้องสแกนใบหน้าเพื่อตรวจจับความร้อนเพื่อคัดกรองและรับมือกับการระบาดของโควิด-19 โดยประตูจะเลื่อนเปิดให้กับผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 37.5 องศาเซลเซียสเท่านั้น ส่วนภายในได้ติดตั้งระบบปรับอากาศและหลอดไฟอัลตราไวโอเลต สำหรับควบคุมอากาศให้เย็นสบายไปและฆ่าเชื้อไวรัสไปพร้อมๆ กัน โดยระบบนี้สามารถฆ่าเชื้อโรคและเชื้อไวรัสได้มากถึง 99 เปอร์เซ็นต์ ช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัสและทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น อุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นๆ ได้แก่ เครื่องกดแอลกอฮอล์อัตโนมัติ ปลั๊กชาร์จไฟ Wi-Fi ฟรี และหน้าจอดิจิทัลแสดงตารางรถเมล์ เพื่อแจ้งเตือนผู้โดยสารว่ารถเมล์กำลังจะมาถึง ที่สำคัญ ยังมีกล้องวงจรปิด กระดิ่งแจ้งเตือน และเซนเซอร์ตรวจจับเสียง ที่เชื่อมต่อกับสถานีตำรวจและสถานีดับเพลิงสำหรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ส่วนหลังคาป้ายรถเมล์ก็มีแผงโซลาร์เซลล์สำหรับกักเก็บไฟสำรองด้วย เกาหลีใต้เริ่มติดตั้งป้ายรถเมล์อัจฉริยะกรุงโซลตั้งแต่ปี 2020 และตอนนี้เมืองหลวงของประเทศมีป้ายรถเมล์โมเดลนี้ทั้งหมด 28 แห่งแล้ว ข้อมูลล่าสุดเปิดเผยว่า […]

Twenty Five Twenty One ท่ามกลางความโหดร้ายของยุคสมัย โชคดีแค่ไหนที่เราได้รักกัน

ค่ำวันหนึ่งของเดือนพฤศจิกายน ปี 1997 หลังจากที่ออกไปเตร็ดเตร่ตามประสาวัยรุ่นทั่วไป แพคอีจิน (รับบทโดย นัมจูฮยอก) กลับบ้านมาพบกับภาพของครอบครัวของเขาที่กำลังจะแตกสลาย เปล่าเลย มันไม่ได้เป็นเพราะพ่อกับแม่เขาผิดใจกัน และมันก็ไม่ใช่เพราะสมาชิกคนใดคนหนึ่งได้ตายจากไป ครอบครัวของเด็กหนุ่มยังคงอบอุ่น พวกเขายังคงรักกันอย่างสุดหัวใจ แต่มันเป็นเพราะเหตุการณ์หนึ่งต่างหากที่สั่นสะเทือนความมั่นคงทางการเงินของครอบครัวนี้อย่างรุนแรง รุนแรงถึงขนาดที่พ่อของอีจินถึงขั้นยื่นข้อเสนอขอหย่ากับแม่ บอกให้ลูกคนโตอย่างอีจินไปเป็นทหารเกณฑ์ ส่วนลูกคนเล็กก็ให้ย้ายไปอยู่กับญาติไปก่อน  “ครอบครัวของเราคงต้องแยกกันอยู่สักพัก” พ่อของอีจินกล่าวด้วยน้ำเสียงอ่อนล้า ท่ามกลางเสียงสะอื้นไห้ของมารดา อีจินได้แต่เพียงพยักหน้าอย่างจนปัญญาเพราะไม่รู้จะช่วยครอบครัวอย่างไร เหตุการณ์ที่สั่นสะเทือนครอบครัวอีจินไม่ใช่อะไรอื่น แต่คือวิกฤต IMF ที่ได้กระชากเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้ซึ่งกำลังพุ่งขึ้นเรื่อยๆ ให้ลงมากองอยู่กับพื้นอีกครั้ง สีสันชีวิตวัยรุ่นของอีจินดับสนิทลงในทันทีเพราะเหตุการณ์ครั้งนั้น เช่นเดียวกับความฝันที่ระเหิดหายไปกับอนาคตที่ขมุกขมัว เช้าวันหนึ่งของเดือนกรกฎาคม ปี 1998 นาฮีโด (รับบทโดย คิมแทรี) เด็กสาว ม.ปลาย และนักฟันดาบประจำโรงเรียนรีบพุ่งตัวออกจากบ้านอย่างลิงโลด เธอตรงดิ่งไปนั่งหลับในห้องเรียน จากนั้นก็แวะไปย้ำเฮียร้านเช่าการ์ตูนว่าอย่าลืมเก็บเล่มใหม่ของ ‘ฟูลเฮาส์’ การ์ตูนเรื่องโปรดไว้ให้ด้วยนะ ก่อนจะแผล็วไปยังชมรมฟันดาบของโรงเรียนอีกแห่ง ไปเกาะขอบหน้าต่างแอบดู ‘โกยูริม’ (รับบทโดย โบนา) นักกีฬาฟันดาบทีมชาติเจ้าของเหรียญทองโอลิมปิกผู้เป็นเสมือนไอดอลของเธอ ฮีโดมีฝัน และความฝันของเธอก็ไม่ใช่อะไรอื่นแต่คือการได้ประดาบเคียงข้างกับนักกีฬาฟันดาบที่เป็นดั่งแสงสว่างในชีวิต ท่ามกลางความเปราะบางของสภาพเศรษฐกิจ การเมืองที่เดือดพล่าน และความขัดแย้งของคนในชาติที่ปะทุอยู่เรื่อยๆ ฮีโดยังคงโอบกอดความฝันของตัวเองไว้อย่างแนบแน่น ไม่ได้สนใจอะไรมากไปกว่า ฟูลเฮาส์ […]

อนาคตพื้นที่สีเขียวในโซลคึกคัก เส้นทางสีเขียวจะถูกเชื่อมและขยาย 2,000 กม. ทั่วเมือง

รัฐบาลโซล (Seoul Metropolitan Government) ผุดโปรเจกต์ส่งเสริมเส้นทางสีเขียว (Green Path Project) เพื่อช่วยเชื่อมพื้นที่สีเขียวต่างๆ ทั่วทั้งโซลเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ ป่าไม้ สวนสาธารณะ และสวน ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนได้พักฟื้นจากความเหนื่อยล้าในภาวะโควิด-19 ระบาด ด้วยพื้นที่เขียวๆ ในเมืองอีกต่อหนึ่ง โซลมีแผนการสร้างเส้นทางสีเขียว หรือ Linear Landscapes ให้มีภูมิทัศน์ธรรมชาติกลมกลืนไปกับพื้นที่ต่างๆ ในเมือง และเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียวทั่วเมืองให้ประชาชนเข้าถึงสภาพแวดล้อมสีเขียวได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ประชาชนในแต่ละย่านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แม้จะยังอยู่ในสถานการณ์โรคระบาดที่จำกัดการใช้ชีวิตกลางแจ้งก็ตาม โปรเจกต์นี้ กรุงโซลจะลงทุน 180 พันล้านวอน (เทียบเป็นเงินไทยปัจจุบันเกือบ 4,900 ล้านบาท) ในช่วงห้าปีข้างหน้าเพื่อสร้างเส้นทางสีเขียวใหม่ระยะทาง 400 กม. ที่เชื่อมต่อพื้นที่สีเขียวที่มีอยู่เดิมแล้ว 1,600 กม. ทั่วกรุงโซล ทั้งยังปรับปรุงการเข้าถึงเส้นทางที่มีอยู่ อย่างเช่น Seoul Trail, Geungyosan Walkway, ทางเดินริมน้ำ และทางเดินริมถนน โครงการ Green Path ของโซลใช้กลยุทธ์หลักจำนวน สาม ข้อ […]

โซล เมืองคนเดินเท้าเป็นใหญ่ รัฐเพิ่มทางม้าลายซัปพอร์ตประชาชน

ถ้าเคยไปเยือนโซล ประเทศเกาหลีใต้ คุณน่าจะเคยได้สัมผัสทางเท้าที่มีคุณภาพ และการข้ามถนนที่แสนสะดวกสบาย แถมยิ่งนานวัน ระบบการสัญจรของเมืองก็ยิ่งพัฒนาขึ้น ล่าสุด ทางรัฐบาลกรุงโซล (The Seoul Metropolitan Government) รายงานว่า ได้ขยายการติดตั้งทางม้าลายใหม่ๆ ทั่วเมืองทั้งสิ้น 28 แห่งในปี 2021 โดยคำนึงถึงการสร้างสภาพแวดล้อมของทางเท้าที่ปลอดภัยต่อไป ยิ่งไปกว่านั้นยังมีแผนการที่จะติดตั้งทางม้าลายอีก 31 แห่งในปี 2022 ก่อนหน้านี้ รัฐบาลกรุงโซลดำเนินหลายๆ โปรเจกต์ เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านนโยบายการจราจรบนยานพาหนะ จนกระทั่งนำมาสู่นโยบายการสัญจรทางเท้า โดยส่วนสำคัญของโครงการ คือการติดตั้งและขยายทางม้าลาย ซึ่งสามารถเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนเดินถนนได้อย่างมาก และด้วยประสบการณ์ด้านบวก ที่ชาวเมืองได้รับจากการใช้งานได้ดีจริงๆ จึงทำให้โปรเจกต์นี้ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนในวงกว้าง ทั้งนี้ รัฐบาลกรุงโซลได้ติดตั้งทางม้าลายแนวทแยงบริเวณทางแยก 14 ทาง ในจุดที่มีการจราจรคับคั่ง เช่น ย่านสถานี Itaewon หน้าห้างสรรพสินค้าชื่อ Shinsegae ใกล้ๆ โรงเรียนประถมฯ หลายแห่ง เพื่อบรรเทาความไม่สะดวกของคนเดินเท้า ที่เคยต้องเดินอ้อมเส้นทางไกลๆ ในช่วงก่อนหน้า ขณะเดียวกันก็สร้างสภาพแวดล้อมของทางข้ามที่ปลอดภัยสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว และยังมีการอำนวยความสะดวกด้วยการติดตั้งทางม้าลายต่างๆ เพิ่มเติมในส่วนทางเดินเท้าที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับทางเดินอื่นๆ ด้วย สำหรับการขยายทางม้าลายอย่างต่อเนื่องในปี […]

กระแสเกาหลีมาแรง จนยอดส่งออกกิมจิเพิ่มจาก 61 เป็น 89 ประเทศ

Soft Power ของประเทศเกาหลีปังแค่ไหน ให้ดูจากยอดการส่งออกกิมจิไปทั่วโลก ใช่แล้ว กิมจิจากเกาหลีกำลังบูมอย่างมาก ในปี 2021 ข้อมูลจากกระทรวงเกษตร อาหาร และกิจการชนบทของเกาหลีใต้ ระบุว่ามูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์กิมจิของประเทศพุ่งสูง จนแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่จำนวนเงินกว่า 159.9 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 5,000 ล้านบาท) ทำให้การค้าเกินดุลไปถึง 19.2 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 640 ล้านบาท) นั่นหมายความว่าประเทศต้องมีการส่งออกมากกว่าการนำเข้าในจำนวนที่สูงขึ้นหลายเท่า ถ้าย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ประเทศเกาหลีใต้มีการค้าขายกิมจิเกินดุลเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2009 ทำให้ภายในประเทศต้องนำเข้ากิมจิจากประเทศจีนมาบริโภคเป็นหลัก ในปี 2012 มีการส่งออกกิมจิไปยังประเทศญี่ปุ่นประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ยิ่งไปกว่านั้นเครื่องปรุงรสเผ็ดของประเทศยังเพิ่มจำนวนตลาดในต่างประเทศเป็น 82 ประเทศ ซึ่งรวมถึงสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียด้วย กระทรวงเกษตรยังระบุอีกว่าในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา การส่งออกกิมจิของประเทศเติบโตขึ้นถึง 18 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจำนวนประเทศผู้นำเข้าทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 61 ประเทศในปี 2016 จนเป็น 89 ประเทศในปีที่ผ่านมา ปัจจัยสำคัญมาจากความนิยมของกระแสเพลงป็อปเกาหลี (K-POP) และซีรีส์ (K-DRAMA) […]

เกาหลีใต้กำลังมีครัวเรือนที่มีสมาชิกเพียงคนเดียวสูงขึ้นเรื่อยๆ

เกาหลีใต้กำลังมีครัวเรือนที่มีสมาชิกเพียงคนเดียวสูงขึ้นเรื่อยๆ ปีที่แล้วมีครัวเรือนที่มีสมาชิกคนเดียว (One-person Household) เกือบหนึ่งในสามของครัวเรือนในประเทศเกาหลีใต้ คิดเป็นจำนวน 31.7 เปอร์เซ็นต์ของยอดรวมในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นจากที่เคยคิดเป็น 30.2 เปอร์เซ็นต์ในช่วงปีก่อนหน้า จากสถิติครัวเรือนที่ประกอบด้วยสมาชิกคนเดียวมีจำนวนทั้งสิ้น 6.64 ล้านคนในปี 2020 เพิ่มจำนวนขึ้นจาก 6.15 ล้านคนในปี 2019 สัดส่วนครัวเรือนที่มีสมาชิกคนเดียวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2015 ซึ่งในปีดังกล่าวเคยมีครัวเรือนแบบสมาชิกคนเดียวเพียง 27.2 เปอร์เซ็นต์ ข้อมูลเหล่านี้ล้วนสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรของประเทศ เพราะหนุ่มสาวชาวเกาหลีใต้แต่งงานช้า หรืออาจเลือกไม่แต่งงานจำนวนมากขึ้น ด้วยปัญหาด้านเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งส่งผลให้อัตราการเกิดนั้นลดลงไปด้วย ขณะเดียวกัน เกาหลีใต้ก็กำลังก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดว่าในปี 2025 สัดส่วนของผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจะสูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์จากประชากรทั้งหมด ในปีที่ผ่านมา ครัวเรือนที่มีสมาชิกคนเดียว ประกอบไปด้วยคนวัย 20 ปี ซึ่งมีสัดส่วนขนาดใหญ่ที่สุดที่ 19.1 เปอร์เซ็นต์ ตามมาด้วยคนกลุ่มอายุ 30 ปี จำนวน 16.8 เปอร์เซ็นต์ และคนกลุ่มอายุ 50 […]

บุก 5 โลเคชัน ‘ร่างทรง’ เพื่อปลุกย่าบาหยันให้ขลัง และเสกอีมิ้งให้เฮี้ยนไกลถึงเกาหลี

เมื่อไม่กี่เดือนก่อน ‘ร่างทรง’ กลายเป็นหนังผีที่โจษจันเรื่องความเฮี้ยนไปทั่วเกาหลีใต้ ซึ่งความสำเร็จมาจากฝีมือการกำกับของ โต้ง–บรรจง ปิสัญธนะกูล และโปรดิวเซอร์ชาวเกาหลีชื่อดังอย่าง Na Hong-jin และเป็นครั้งแรกที่ค่าย GDH จับมือร่วมทุนสร้างกับ ShowBox ค่ายหนังเกาหลีเพื่อถ่ายทอดความผวานี้ร่วมกัน ความเฮี้ยนสุดหฤโหดที่ปรากฏบนจอ ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย เพราะนอกจากทีมงานคุณภาพจะเนรมิตทุกอย่างออกมาหลอนคนดูจนเสียวสันหลัง โลเคชันที่ปรากฏในเรื่องยังโดดเด่นไม่แพ้องค์ประกอบอื่นของหนัง เพราะสถานที่ถ่ายทำ ทั้งสวย ลึกลับ น่าสะพรึง และเต็มไปด้วยมนต์ขลังศักดิ์สิทธิ์ของอำนาจเหนือธรรมชาติ เราจึงยกให้สถานที่ต่างๆ ในเรื่องอยู่ในฐานะของตัวละครนำที่เต็มไปด้วยลูกเล่นไม่แพ้นักแสดงที่เป็นมนุษย์ ยิ่งไปกว่านั้นคือการใช้สถานที่เพื่อสร้างความน่ากลัว ตั้งแต่บ้าน ต้นไม้ หุบเขา ตึกร้าง และพื้นที่ต่างๆ ที่ปรากฏในแต่ละซีน เชื่อไหมว่า หนังผีเรื่องนี้ใช้เกือบทุกอำเภอในจังหวัดเลยถ่ายทำ พ่วงท้ายด้วยบางโลเคชันในกรุงเทพฯ นครนายก และนครปฐม เพื่อเปิดทางให้ตัวละครมีพื้นที่โลดแล่น สาดความบ้าคลั่งอันดุเดือดเลือดพล่าน ถ่ายทอดเรื่องราวความเฮี้ยนที่เกิดขึ้นกับ ‘นิ่ม’ ร่างทรงย่าบาหยันและครอบครัวของเธอที่มี ‘อีมิ้ง’ หลานสาว ผู้ตกอยู่ในภาวะอาการของคนที่ต้องรับทรงคนต่อไปตั้งแต่ต้นจนจบ  ความน่าสนใจก็คือทีมโลเคชันกะเทาะโจทย์จากผู้กำกับอย่างโต้งจนแตก และหาพื้นที่ถ่ายทำหลัก อย่างหุบเขากลางม่านหมอกที่คลุ้มคลั่งด้วยห่าฝนในอีสานมาถ่ายทำได้อย่างลงตัว เราจึงยกคุณงามความดีนี้ให้กับ เชี่ยวเวช ดนตรี Location Manager และ ศิริชัย […]

เกาหลีใต้เตรียมยก ‘Jeju Keungut’ พิธีกรรมหมอผี-ร่างทรงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

ก่อนจะขยับร่างไปดู ‘ร่างทรง’ ที่เพิ่งเข้าโรงภาพยนตร์ไปสดๆ ร้อนๆ จากฝีมือผู้กำกับหนังสยองขวัญ อย่าง ‘โต้ง-บรรจง ปิสัญธนะกูล’ และ ‘นา ฮงจิน’ ในบทบาทของโปรดิวเซอร์ ซึ่งใครที่เป็นแฟนหนังของเขาต้องเคยเห็นลีลาการเล่าเรื่องหมอผี และพิธีกรรมไสยศาสตร์ฉบับเกาหลีเอาไว้ในภาพยนตร์เรื่อง ‘The Wailing (2016)’ ที่สร้างความหลอนแก่คนดูได้อยู่หมัด พิธีกรรมทางไสยศาสตร์ของเกาหลีเป็นหนึ่งในประเพณีที่เก่าแก่และสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น โดยเฉพาะ ‘เกาะเชจู’ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการทำพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ชื่อว่า ‘Jeju Keungut (เชจู คึนกุต)’ มาอย่างยาวนาน และยึดโยงเข้ากับประวัติศาสตร์ของชุมชน ทำให้ Cultural Heritage Administration (CHA) หรือองค์การบริหารมรดกวัฒนธรรมของเกาหลี ไม่มองเรื่องหมอผี-ร่างทรง-ไสยศาสตร์ เป็นแค่สิ่งงมงาย แต่มองลึกไปถึงแก่นของวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ควรค่าแก่การรักษาเอาไว้ เพราะการปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายในแต่ละครั้ง ครอบคลุมรูปแบบศิลปะดั้งเดิมเอาไว้หลายแขนง ทั้งดนตรีดั้งเดิม การเต้นรำ การร่ายบทกวี การละเล่นพื้นบ้าน ภาษาถิ่น หรือวัฒนธรรมท้องถิ่นอื่นๆ ซึ่งเนื้อหาในบทเพลงจะสะท้อนถึงมุมมองของชาวเชจูที่มีต่อการสร้างโลก ชีวิต และความตาย  โดยรูปแบบจะเริ่มจาก ‘Yeongsin (ยองชิน)’ คือขั้นตอนการอัญเชิญเทพเจ้านำทางมายังโลก จากนั้นหมอผีจะเต้นรำและร้องเพลงเพื่อให้ความบันเทิงและสรรเสริญพระเจ้า ซึ่งเรียกว่า ‘Osin […]

Seoul Fashion Week 2022 จากวังสู่รันเวย์แบบใหม่

แม้ยังอยู่ในช่วงโควิด แต่ Seoul Fashion Week (SFW) ปี 2022 ก็ยังคงสุดจะปัง และจัดเต็มไม่ยอมแพ้ปีไหนๆ เพราะอีเวนต์บิ๊กเบิ้มของเมืองหลวง และประเทศเกาหลีใต้ในปีนี้ จะสำแดงให้คนทั่วโลกได้เห็นถึงการผสานมรดกทางวัฒนธรรมที่ยาวนานกว่า 600 ปีให้โดดเด่นไปพร้อมกับเสื้อผ้า K-fashion สมัยใหม่ ภายใต้โจทย์ความโมเดิร์นที่ไม่ทิ้งลายอัตลักษณ์วัฒนธรรมดั้งเดิม ซึ่งถ่ายทอดแฟชั่นโชว์เก๋ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศบนแพลตฟอร์ม Naver TV, VLive, TikTok, YouTube และเว็บไซต์ทางการของอีเวนต์อย่างยิ่งใหญ่ งานสัปดาห์แห่งแฟชั่นในเมืองโซลที่จัดขึ้นในเดือนนี้ จะนำเสนอแนวคิดอันสร้างสรรค์ให้เข้าถึงผู้ชมทุกคนได้มากที่สุด ส่วนหลักของงานจึงนำเสนอเป็นแฟชั่นโชว์รูปแบบดิจิทัล โดยจะมีวิดีโอคลิปที่บันทึกการแสดงบนรันเวย์สับๆ ที่ถ่ายทำล่วงหน้าจำนวนถึง 37 คลิป ซึ่งดีไซเนอร์เสื้อผ้าชั้นนำสัญชาติเกาหลี จะจัดแสดงผลงานสร้างสรรค์คอลเลกชันล่าสุดของพวกเขาให้โลกรู้แบบจัดเต็ม อาทิ แบรนด์ SEOKWOON YOON, NOHANT, KUMANN YOO HYE JIN, NOTKNOWING และ A.BELL เป็นต้น ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าล้วนเป็นผลงานที่หลากหลาย เจิดจรัส และทรงอิทธิพลต่อเทรนด์แฟชั่นทั้งโลกมากขึ้นทุกปี  สำหรับลูกเล่นของงานปีนี้ไม่มีคำว่า ‘ธรรมดา’ เพราะการจัดทัพโชว์แฟชั่น […]

‘หยุดเลือกปฏิบัติทางเพศ’ ความหวัง LGBTQ+ เกาหลีที่ถูกกดทับหลายสิบปี

I 01 ชีวิต LGBTQ+ ในเกาหลีไม่ง่าย สิทธิการรับบริการขั้นพื้นฐานที่สะดวกสบายของประชาชนเกาหลีใต้ อาจเป็นเรื่องยากมากเพียงเพราะคุณเป็น LGBTQ+ Park Edhi หญิงข้ามเพศชาวเกาหลี ที่อาศัยในโซล เป็นผู้ประสานงานประจำ DDing Dong ศูนย์ช่วยเหลือเยาวชน LGBTQ แห่งเดียวในเกาหลี ยังต้องเจอกับปัญหามากมาย เพียงเพราะเอกสารราชการระบุว่าเธอเป็นผู้หญิงข้ามเพศ ตัวตนของเธอจึงถูกตั้งคำถามตลอดเวลา ดังนั้นเรื่องง่ายๆ อย่างการสมัครบัตรเครดิต ก็ต้องใช้เวลานานมาก เพราะต้องมีการเช็กเวชระเบียนเพื่อรับรองว่าเธอเทคฮอร์โมนเพศหญิงอยู่ ดังนั้นเลยพูดอย่างเต็มปากได้ว่าชุมชน LGBTQ ในเกาหลีใต้ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก สำหรับกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยกัน อัตราการยอมรับความหลากหลายทางเพศของเกาหลี ถือว่าอยู่ในอันดับต่ำมาก ซ้ำยังไม่มีการคุ้มครองด้านกฎหมายสำหรับ LGBTQ+ ด้วย ต้นปี 2564 นี้มีเคสคนข้ามเพศเลือกจบชีวิตในบ้านบนหน้าสื่อถึงสองคน คนแรกคือ Kim Ki-hong นักเคลื่อนไหวและนักการเมืองข้ามเพศ และคนถัดมาคือ Byun Hee-soo ที่ต้องออกจากกองทัพ เพื่อเข้ารับการผ่าตัดยืนยันเพศสภาพ I 02 โควิด-19 กำลังทำร้าย LGBTQ+ เกาหลี ไม่น่าเชื่อว่า COVID-19 จะสร้างผลกระทบร้ายแรงต่อชุมชน […]

ปี 2025 โซลจะมีสวนวัฒนธรรมริมน้ำที่ตอบโจทย์ทุกคน

กรุงเทพฯ มี ‘โอ่งอ่าง’ คลองที่สวยที่สุดในเมืองกรุง แต่ในปี 2025 ‘โซล’ เมืองหลวงของประเทศเกาหลีใต้กำลังจะมีสวนสาธารณะวัฒนธรรมริมน้ำ ที่มีสามดีเทลสำคัญเป็นหัวใจหลักของการดีไซน์พื้นที่ หนึ่ง. ศิลปะ  สอง. วัฒนธรรม สาม. สเปซที่เชื่อมต่อทั้งย่าน Seongdong เข้าด้วยกันให้เดินไปมาหาสู่กันได้แบบทะลุปรุโปร่ง  ทั้งสามรายละเอียด ถูกคิดค้น ออกแบบเพื่อตอบโจทย์วิถีการใช้ชีวิตของคนเมืองให้ทุกคนเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย และได้พักผ่อนหย่อนใจ คลายเครียดทั้งร่างกายและจิตใจกันถ้วนหน้า ทั้งนี้ในปี 2025 เรากำลังจะได้ยลโฉมสเปซบริเวณลำธาร Jungnangcheon (중랑천) ซึ่งจะถูกแปลงโฉมใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ประชาชนเกาหลีได้มีพื้นที่ทางวัฒนธรรมริมน้ำแห่งใหม่ ซึ่งผสมผสานระหว่างศิลปะและการพักผ่อนหย่อนใจเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว  คลองหรือลำธารจุงนังเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำฮัน มีต้นกำเนิดมาจากหุบเขา Dorak ใน Yangju จังหวัด Gyeonggi ซึ่ง Cheonggyecheon ก็เป็นลำน้ำสาขาของ Jungnangcheon ลุ่มน้ำทั้งหมดมีพื้นที่ 299.9 ตารางกิโลเมตร ลำธารส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองอึยจองบูและกรุงโซล อภิมหาโปรเจกต์ของรัฐบาลโซล (The Seoul Metropolitan Government) ครั้งนี้จะมีการสร้างถนนใต้ดินระหว่างสะพาน Changdonggyo และสะพาน Sanggyegyo ภายใต้ลำธาร […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.