Yeodamjae Library เปลี่ยนวัดร้างกลางภูเขาในกรุงโซล ให้กลายเป็นห้องสมุดเด็กและประวัติศาสตร์เฟมินิสต์

ในวันที่คนเกาหลีใต้ไม่ชอบเด็กจนพบเห็นป้าย ‘ห้ามเด็กเข้า’ หรือ ‘เขตปลอดเด็ก’ ทั่วไป อีกทั้งยังเป็นสังคมปิตาธิปไตยที่สร้างความเกลียดชังต่อ ‘เฟมินิสต์’ (Feminist) และ ‘ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ’ (LGBTQIA+) แต่บริเวณใจกลางภูเขา Naksan เขต Changsin-dong แขวง Jongno-gu ในเมืองโซล ยังมีพื้นที่แห่งหนึ่งที่โอบกอดพวกเขาเหล่านั้นไว้ ภายใต้สถาปัตยกรรมทางศาสนา นั่นก็คือ ‘Yeodamjae Library’ Yeodamjae Library เป็นห้องสมุดสาธารณะที่แต่เดิมเคยเป็นวัดในพุทธศาสนาชื่อ Wongaksa ที่สร้างขึ้นในปี 1983 ก่อนจะถูกทิ้งร้างในปี 2003 เนื่องจากมีการสร้างกำแพงกันดินสำหรับอะพาร์ตเมนต์ใกล้เคียง ทำให้ผู้คนเข้าไปในสถานที่ได้จากเส้นทางภูเขาทางเหนือที่ทอดจากภูเขา Naksan เท่านั้น จนกลายเป็นสถานที่มั่วสุมของเด็กและเยาวชน เดิมที Yeodamjae Library ถูกวางแผนให้เป็นห้องสมุดเทศบาลสำหรับเด็ก โดยสำนักงานเขต Jongno-gu แต่ไม่ประสบความสำเร็จในระหว่างการเจรจา ทำให้ภายหลัง รัฐบาลกรุงโซล (SMG) ที่กำลังผลักดันให้มีการก่อสร้างศูนย์วัฒนธรรมสำหรับพลเมืองหญิงในขณะนั้นได้เข้ามาสานต่อโครงการ โดยร่วมมือกับสตูดิโอออกแบบ Emer-sys แผนการคือเปลี่ยนสถาปัตยกรรมโบราณแห่งนี้ให้กลับมาสวยงามและใช้งานได้อีกครั้ง ด้วยการรื้อกำแพงกันดินเดิมที่กั้นระหว่างวัดกับสวนสาธารณะออก และสร้างอาคารกระจกเชื่อมตัววัด เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานในอนาคต โดยมีห้องสมุดเด็กและสตรีนิยมเป็นหัวใจหลัก ทำให้ภายใน […]

Nodeul Island Park เกาะสวนสาธารณะกลางแม่น้ำฮัน ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเกาะเทียมที่ถูกทิ้งร้าง

เมื่อพูดถึงแม่น้ำฮัน เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึงภาพการต้มรามยอนด้วยเครื่องอัตโนมัติ หรือนั่งปิกนิกกินไก่ทอดกับเบียร์ในสวนสาธารณะริมแม่น้ำแบบชิลๆ แต่รู้หรือไม่ว่า นอกจากสวนสาธารณะตามแนวยาวริมแม่น้ำฮันแล้ว ตรงบริเวณเกาะกลางแม่น้ำก็มีสวนสาธารณะแบบลอยน้ำกับเขาด้วยเหมือนกัน ‘Nodeul Island Park’ เป็นสวนสาธารณะที่กินพื้นที่ทั้งหมดของ ‘เกาะโนดึล’ เกาะเทียมกลางแม่น้ำที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับน้ำหนักสะพานข้ามแม่น้ำฮันในปี 1917 ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกปล่อยทิ้งร้างมานานหลายทศวรรษ เนื่องจากมีระยะทางไกลจากริมแม่น้ำ ทำให้เดินทางไปได้ยาก แต่หลังจาก ‘MMK+’ บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมและผังเมืองสัญชาติเกาหลีใต้ เข้ามารับผิดชอบในการปรับรูปแบบพื้นที่ของเกาะใหม่ให้เป็นพื้นที่สาธารณะหลายระดับที่คงไว้ซึ่งความสวยงามของธรรมชาติ ก็ทำให้เกาะโนดึลกลับมาคึกคักอีกครั้งในปี 2019 พื้นที่ Nodeul Island Park แบ่งออกเป็นสองระดับ โดยระดับพื้นดินเดิมของเกาะถูกเปลี่ยนให้เป็นสถานที่พักผ่อนในรูปแบบต่างๆ ที่เชื้อเชิญให้ผู้คนมาเยือนดื่มด่ำไปกับธรรมชาติและวัฒนธรรมผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ที่หลากหลาย ในขณะที่แพลตฟอร์มชั้นบนที่อยู่ในแนวเดียวกับสะพานเชื่อมเกาะถูกเปลี่ยนให้เป็นลานสาธารณะและจุดชมวิวพระอาทิตย์ รวมไปถึงเป็นแหล่งรวมสำนักงาน ร้านค้า แกลเลอรี ร้านหนังสือ ห้องโถงอเนกประสงค์ และห้องจัดแสดงที่จุคนได้กว่า 450 คน นอกจากนี้ ส่วนธรรมชาติที่มีอยู่เดิมของเกาะโนดึลยังได้รับการฟื้นฟูผ่านความร่วมมือจากหลายสาขาวิชา เพื่อให้ Nodeul Island Park ไม่ใช่แค่พื้นที่สำหรับผู้คน แต่ต้องเป็นพื้นที่ที่อยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตบนเกาะได้ด้วย ปัจจุบันเกาะที่เคยถูกลืมแห่งนี้ได้กลายมาเป็นสวนสาธารณะและสถานที่ทางวัฒนธรรมยอดนิยมของชาวเกาหลีใต้และผู้มาเยือนจากต่างถิ่น ใครมีแพลนไปเกาหลีใต้ ลองเดินข้ามสะพานไปยัง Nodeul Island Park ดู บรรยากาศดีไม่แพ้การปิกนิกริมแม่น้ำฮันเลยทีเดียว Sources […]

กลับมาอีกครั้งกับ Reading Seoul Plaza ห้องสมุดกลางแจ้งบนพื้นที่สีเขียวในโซล ให้คนพักผ่อน ทำกิจกรรมฟรีถึงปลายปี

เมื่อปีที่แล้ว กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ได้ริเริ่มโปรเจกต์เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองให้กลายเป็นห้องสมุดกลางแจ้งสุดชิล พร้อมต้อนรับนักอ่านและนักกิจกรรมทุกเพศทุกวัย ซึ่งในปีนี้ทางรัฐบาลกรุงโซลก็นำกลับมาจัดกิจกรรมอีกครั้ง เพื่อเพิ่มชีวิตชีวาให้กับเมือง ‘โซลพลาซา’ (Seoul Plaza) คือพื้นที่บริเวณลานกว้างที่ตั้งอยู่หน้าศาลาว่าการกรุงโซล ที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นห้องสมุดกลางแจ้งขนาดใหญ่ในชื่อ ‘Reading Seoul Plaza’ ซึ่งโปรเจกต์นี้เกิดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล (World Book and Copyright Day) หลังจากได้รับกระแสตอบรับที่ดี รัฐบาลกรุงโซลได้อัปเกรดและปรับปรุงพื้นที่แห่งนี้ให้ดีขึ้นสำหรับประชาชนที่จะมาอ่านหนังสือ นอกจากบรรยากาศอันอบอุ่นแสนสบายที่มาพร้อมกับบีนแบ็กหลากสีสันและร่มกันแดด ปีนี้หนังสือจะมีให้เลือกหลากหลายประเภทขึ้น ทั้งยังเพิ่มโปรแกรมปรึกษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้ชาวพนักงานออฟฟิศ ตลอดจนกิจกรรมสนุกๆ ให้เด็กๆ มามีส่วนร่วมในวันหยุดสุดสัปดาห์ด้วย ใครที่มีแพลนไปเกาหลีช่วงนี้ อย่าลืมแวะไปอาบแดดอุ่นๆ อ่านหนังสือในพื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองที่ Reading Seoul Plaza กันนะ ห้องสมุดกลางแจ้งโซลพลาซาเปิดให้ประชาชนนั่งอ่านหนังสือชิลๆ ‘ฟรี’ ทุกวันพฤหัสบดี-วันศุกร์ เวลา 11.00 – 17.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00 – 17.00 น. ระหว่างวันที่ 23 เมษายน – 2 […]

MADE LIM Café เปลี่ยนโบสถ์คริสต์ 120 ปีในเกาหลีใต้ เป็นคาเฟ่และพื้นที่ศิลปะสมัยใหม่ แฝงด้วยร่องรอยประวัติศาสตร์และแนวคิดธรรมชาติ

กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ คือเมืองหลวงที่ใครหลายคนขนานนามให้เป็นเมืองแห่งคาเฟ่ เพราะไม่ว่าจะเดินไปทางไหนก็ต้องพบเข้ากับคาเฟ่สุดเก๋ ที่มาพร้อมคอนเซปต์หลากหลาย ตั้งแต่การออกแบบสไตล์มินิมอลไปจนถึงแนวคิดล้ำๆ แต่ความจริงแล้ว ไม่ไกลจากตัวสนามบินอินชอนเองก็มีคาเฟ่ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะแต่เดิมที่นี่คือ ‘โบสถ์วังซาน’ โบสถ์คริสต์อายุ 120 ปี ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ‘NONE SPACE’ สตูดิโอออกแบบและก่อสร้างสัญชาติเกาหลีใต้ ได้รีโนเวตโบสถ์ 3 ชั้นแห่งนี้ให้กลายเป็น ‘MADE LIM Café’ คาเฟ่และพื้นที่จัดแสดงศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ยังคงไว้ด้วยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันเก่าแก่ NONE SPACE เลือกใช้อิฐและกระจกสีเป็นวัสดุหลักในการรีโนเวต เพื่อแสดงถึงความตั้งใจที่คงไว้ซึ่งวัสดุตกแต่งเดิมของโบสถ์ให้ได้มากที่สุด และไม่ทำการรื้อถอนภายในหากไม่จำเป็น โดยมีคอนเซปต์คือ ‘MADE 林’ ที่สะท้อนถึงปรัชญาที่มองว่ามนุษย์จะกลับคืนสู่ธรรมชาติ MADE LIM Café แบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามการใช้งาน ได้แก่ ‘Forest Hall’ ห้องโถงหลักที่ประกอบด้วยคาเฟ่ ห้องรับประทานอาหาร และห้องโถงสำหรับจัดงาน ในขณะที่ ‘Detached Forest House’ และ ‘Heritage Hall’ ถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการศิลปะเชิงประสบการณ์ที่แตกต่างและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากนี้ […]

เบื้องหลังความเปล่งประกายของวงการ K-POP ที่เต็มไปด้วยความจริงอันยากจะยอมรับ

‘เกาหลีใต้’ คือหนึ่งในประเทศที่ตลาดเพลงเติบโตเร็วที่สุดในโลก ส่วนสำคัญเกิดจากอุตสาหกรรม ‘เคป็อป (K-POP)’ ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศมากถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ราว 327,000 ล้านบาท) สื่อบันเทิงประเภทนี้กำลังสร้างปรากฏการณ์และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก จึงไม่แปลกใจที่เคป็อปจะกลายเป็นหนึ่งใน Soft Power ส่งออกวัฒนธรรมเกาหลีใต้ได้อย่างทรงพลัง เคป็อปก้าวเข้าสู่เวทีระดับโลกจากแนวดนตรีที่มีเมโลดีฟังง่าย สนุกสนาน ฟังครั้งแรกก็ติดหู พร้อมกับการเต้นที่แข็งแรง พร้อมเพรียง และเป๊ะแบบสุดๆ ไม่เพียงเท่านั้น ‘ศิลปินเคป็อป’ หรือ ‘ไอดอลเคป็อป’ ยังมีภาพลักษณ์ที่โดดเด่น น่าหลงใหล และมีเสน่ห์เฉพาะตัว แต่เบื้องหลังของวงการที่หลายคนมองว่าสมบูรณ์แบบนั้นอาจไม่ได้น่าชื่นชมเหมือนภาพลักษณ์ที่ถูกนำเสนอ คอลัมน์ Report ประจำเดือนนี้ขอพาไปสำรวจหลากหลายด้านมืดของวงการเคป็อป ไม่ว่าจะเป็นสัญญาทาสที่เอาเปรียบศิลปิน การล่วงละเมิดทางเพศ และการทำให้ผู้เยาว์เป็นวัตถุทางเพศ ซึ่งล้วนเป็นพิษและอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อทั้งศิลปินและแฟนคลับทั่วโลก Promise Youสัญญาทาสที่เอาเปรียบศิลปิน ช่วงเวลาก่อนไอดอลเคป็อปไม่ว่าเดี่ยวหรือกลุ่มจะเปิดตัวในฐานะศิลปินสู่สาธารณชนอย่างเป็นทางการ หรือที่เรียกว่า ‘เดบิวต์’ พวกเขาต้องผ่านการเข้าร่วมโปรแกรมเทรนนิงในฐานะ ‘เด็กฝึก’ หรือ ‘เทรนนี’ ของค่ายเพลง เพื่อพัฒนาและฝึกฝนทักษะต่างๆ อย่างหนักหน่วง ทั้งการเต้น การร้องเพลง การแสดง ฯลฯ ภายใต้ตารางกิจวัตรประจำวันและกฎที่เข้มงวด […]

ส่องปรากฏการณ์บุลลี่ในสังคมเกาหลีผ่าน The Glory ที่คว้ารางวัลซีรีส์ยอดเยี่ยมแห่งปี

ประเทศเกาหลีใต้มีคำสามัญที่ใช้เรียกความรุนแรงในโรงเรียนว่า ‘학교폭력’ (ฮักกโยพงนย็อก) และมีคำศัพท์เฉพาะอย่างคำว่า ‘왕따’ (วังต้า) ที่ไม่มีคำแทนความหมายแบบแน่นอนในภาษาอังกฤษ แต่แปลความได้ราวๆ ว่า ‘เหยื่อที่ถูกบุลลี่’ โดยคำขั้วตรงข้ามของวังต้าคือ ‘일진’ (อิลจิน) หมายถึง ‘คนที่ชอบรังแกคนอื่นๆ และทำผิดกฎเป็นประจำ’ แค่ชุดคำไม่กี่คำ น่าจะพอทำให้เราเห็นกันแล้วว่า ศัพท์ที่ถูกบัญญัติขึ้นมาโดยเฉพาะเหล่านี้ คือหลักฐานและชื่อเรียกของสิ่งที่มีอยู่จริงและเกิดขึ้นอย่างเข้มข้นในสังคมเกาหลีใต้ นี่คือความรุนแรงที่เกิดจริง ทั้งในกรณีที่มีคนออกมาพูดถึงปัญหาที่ตัวเองเผชิญ หรือเรียกร้องความเป็นธรรมจากสิ่งที่เกิดขึ้น และในกรณีที่มันถูกเก็บงำไว้กับผู้ที่ถูกกระทำตลอดไป และใช่ นั่นหมายถึงความเจ็บปวดรวดร้าวที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ และวัยรุ่นชาวเกาหลีใต้ ซึ่งเกิดขึ้นมานานหลายปีแล้ว The Glory เป็นซีรีส์เรื่องล่าสุดของนักแสดงสาวชื่อดัง ‘ซงฮเย-กโย’ ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในผลพวงของเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมเกาหลี และไม่ใช่แค่ซีรีส์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงหนัง นวนิยาย และเรื่องราวใน WEBTOON ที่เป็นผลผลิตสะท้อนแง่มุมของสังคมที่ผู้คนกำลังเผชิญกับปรากฏการณ์เลวร้ายรูปแบบนี้ หลังจากปล่อยซีรีส์พาร์ต 1 ออกมาไม่นาน The Glory ก็กวาดอันดับ 1 ในด้านยอดการรับชมบนแพลตฟอร์ม Netflix ได้ถึง10 ประเทศ ตั้งแต่เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย […]

Kolon Sport ร้านอุปกรณ์กีฬาบนเกาะเชจู ที่ออกแบบและตกแต่งด้วยขยะจากทะเล

หากพูดถึงขยะจากท้องทะเล หลายคนคงนึกออกแต่การกำจัดทิ้ง เพื่อไม่ให้ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมและธรรมชาติใต้น้ำ แต่ทางสตูดิโอ Schemata Architects เลือกที่จะเปลี่ยนจากการทำลายมาชุบชีวิตใหม่ให้ขยะเหล่านั้นด้วยการนำมาเป็นส่วนหนึ่งในคอนเซปต์สโตร์ของแบรนด์อุปกรณ์กีฬา Kolon Sport สาขาเกาะเชจู ประเทศเกาหลีใต้ ด้วยความที่แบรนด์ Kolon Sport ขึ้นชื่อในเรื่องของการอัปไซเคิลเสื้อผ้าจากโปรดักต์ของตัวเอง ทางสตูดิโอ Schemata Architects จึงออกแบบร้านให้ออกมาสอดคล้องกับแนวคิดความยั่งยืนของแบรนด์ ด้วยการนำขยะจากทะเลอย่างแกลลอนน้ำมันและบล็อกโพลีสไตรีนมาใช้ตกแต่งภายในร้าน และนำซากปรักหักพังกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบของไม้แขวนเสื้อ ชั้นวางของ และโต๊ะ ส่วนการตกแต่งภายในนั้น ทางสตูดิโอพยายามทำให้ร้านมีความมินิมอลมากที่สุด โดยผนังมีลวดลายของสีที่ลอก คอนกรีตเปลือย อิฐช่องลม และใช้แสงจากหลอดไฟแบบธรรมดา “ขยะทะเลจำนวนสองหมื่นตันถูกเผาทุกปีบนเกาะเชจูโดยไม่มีวิธีนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งนำไปสู่การทำลายสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ” สตูดิโอ Schemata Architects พูดถึงสาเหตุการนำขยะมาใช้ประโยชน์ในครั้งนี้ นอกจากนี้ ทางสตูดิโอยังเล่าว่านี่คือแนวทางการพัฒนาเมืองที่เรียกว่า ‘การพัฒนาที่มองไม่เห็น (Invisible Development)’ นั่นคือ เมื่อมองภายนอกจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อเข้าไปใกล้ๆ หรือกระทั่งเข้าไปในอาคาร จะเห็นถึงความน่าสนใจของมัน ทั้งยังทำให้เกิดความสงสัยว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงทำนองนี้ในอาคารหลังถัดไปหรือไม่ ร้าน Kolon Sport เป็นอีกหนึ่งผลงานของ Arario Project ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาชุมชนบนเกาะเชจู ที่มีเป้าหมายในการป้องกันสิ่งแวดล้อม และต้องการเป็นศูนย์กลางแห่งความยั่งยืนของเมือง […]

ขาดแคลนแรงงานต่างชาติ เกาหลีใต้ดึงผู้สูงอายุทำงาน ทดแทนแรงงานที่หายไป

ช่วงนี้ ตม.เกาหลีใต้ดูจะเข้มงวดกว่าเดิม เมื่อคนไทยจำนวนไม่น้อยตั้งใจจะไปเที่ยวให้สมกับที่ไม่ได้ออกนอกประเทศมาหลายปี แต่กลับถูกส่งตัวกลับเนื่องจากมาตรการป้องกันชาวต่างชาติลักลอบเข้าไปทำงานในประเทศของเจ้าที่รัฐ โดยเฉพาะช่วงนี้ที่เกาหลีใต้กำลังขาดแคลนแรงงานต่างชาติ (ถูกกฎหมาย) เป็นพิเศษ ด้วยสถานการณ์โรคระบาดที่ผ่านมา ทำให้เกาหลีใต้ต้องเผชิญกับสภาวะขาดแคลนแรงงานต่างชาติที่เป็นกลไกสำคัญในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ส่งผลให้มีจำนวนแรงงานผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น 58 เปอร์เซ็นต์ โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพราะกลุ่มคนหนุ่มสาวไม่ค่อยสนใจทำงานใช้แรงงานเท่าไรนัก หลายบริษัทจึงไม่มีทางเลือกและต้องหันมาจ้างงานผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นแทน แม้ว่าหลายหน้าที่นั้นอาจเหมาะสมกับคนทำงานวัยหนุ่มสาวมากกว่าก็ตาม ขณะเดียวกัน เกาหลีใต้เรียกได้ว่าเป็นประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเร็วที่สุดในโลก เพราะกว่า 33.1 เปอร์เซ็นต์ของผู้มีอายุระหว่าง 70 – 74 ปีนั้นยังคงทำงานอยู่ ซึ่งถือว่าติดอันดับต้นๆ ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดการจ้างงานประชากรในแต่ละกลุ่มอายุใน 38 ประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก แถมยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD ถึง 15.2 เปอร์เซ็นต์อีกด้วย ข้อมูลจากธนาคารกลางเผยให้เห็นว่า ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปกว่า 230,000 คนนั้นมองหางานในโรงงานและงานก่อสร้างมาตั้งแต่ช่วงปี 2020 แล้ว ในขณะที่กลุ่มคนหนุ่มสาวต่างพยายามเลี่ยงงานในส่วนนี้ และถึงแม้ว่าปี 2020 จะมีแรงงานต่างชาติเข้าไปทำงานที่เกาหลีใต้ได้บ้างแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการเพราะเมื่อเทียบกันแล้ว มีจำนวนแรงงานต่างชาติอยู่ที่ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนทั้งหมดที่มีในปี 2019 […]

Fantaci (ty) ความเหมือนกันของความแปลกแยกแตกต่าง

อสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยมนุษย์ ไม่ว่าจะเพศ อายุ สถานะ หรืออะไรก็ตามแต่ ไม่ว่าที่ไหนก็มีภาพสะท้อนของกันและกัน ในโลกใบเล็กแคบเดียวกัน นั่นจึงทำให้เราเลือกนำเสนอภาพถ่ายเป็นแบบคอลลาจ

Broker การเดินทางเพื่อตามหาครอบครัวที่แท้จริงบนโลกสีเทากระดำกระด่าง

บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์ “คนนิจิวะ อันนยองฮาเซโย” คือคำทักทายสองภาษาจาก ‘โคเรเอดะ ฮิโรคาสุ’ ผู้กำกับชาวญี่ปุ่นเจ้าของผลงานภาพยนตร์เกาหลีเรื่องล่าสุด Broker (2022) ที่เรากำลังจะได้รับชมในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้า  ด้วยความบังเอิญผสมกับความพยายามอีกเล็กน้อย ทำให้นักท่องเที่ยวอย่างเราหาบัตรชมภาพยนตร์เรื่องนี้ที่เกาหลีในรอบเดินสายทักทายผู้ชมของทีมนักแสดงและผู้กำกับมาได้สำเร็จ แต่นอกเหนือจากเสียงชื่นชมและการยืนปรบมือยาว 12 นาทีที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์เมื่อสองสัปดาห์ก่อนหน้า สิ่งที่เรารับรู้เกี่ยวกับ Broker มีไม่มากนัก หนึ่ง–นี่คือภาพยนตร์แนวดราม่ากึ่งโร้ดมูฟวี่ที่บอกเล่าการเดินทางของคุณแม่ยังสาวที่ตัดสินใจทอดทิ้งลูกของตัวเองไว้ที่กล่องรับทารก กับชายแปลกหน้าสองคนที่หวังจะนำเด็กไปขาย โดยมีสองตำรวจหญิงเฝ้าสะกดรอยตามอยู่ สอง–แม้นี่จะเป็นภาพยนตร์เกาหลีเรื่องแรกของโคเรเอดะ แต่เขาก็สามารถดึงนักแสดงมากฝีมือมาร่วมงานได้อย่างคับคั่ง ไม่ว่าจะเป็นซงคังโฮ จากภาพยนตร์ Parasite, คังดงวอน จากภาพยนตร์ Peninsula, แบดูนา จากซีรีส์ Kingdom, อีจีอึน (IU) จากซีรีส์ Hotel Del Luna และอีจูยอง จากซีรีส์ Itaewon Class  “ช่วงเย็นวันอาทิตย์แบบนี้เป็นเวลาที่มีค่าของทุกคน ขอบคุณที่ตัดสินใจมาชมภาพยนตร์ของพวกเรา หวังว่าทุกคนจะกลับไปพูดคุยถึงหนังของเรากันต่อได้บนโต๊ะอาหารมื้อค่ำวันนี้นะคะ” อีจีอึน ผู้รับบท โซยอง กล่าวกับผู้ชมในโรง ในตอนนั้น เราไม่แน่ใจนักว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะสร้างบทสนทนาต่อไปได้ยืดยาวแค่ไหน แต่เมื่อได้เวลาที่ไฟในโรงหนังมืดลง Broker ก็ค่อยๆ พาเราออกเดินทางไปบนถนนทอดยาว […]

รอรถเมล์แบบไม่กลัวร้อน! ชวนสำรวจป้ายรถเมล์อัจฉริยะเกาหลีใต้ มีแอร์ Wi-Fi ฟรี ป้องกันโควิด-19 ได้

ใครใช้รถเมล์เป็นประจำคงรู้ดีว่า ป้ายรถเมล์อาจเป็นหนึ่งอุปสรรคของการเดินทางในแต่ละวัน เพราะจุดรอรถเมล์หลายแห่งในไทยยังไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานเท่าที่ควร เช่น ไม่มีไฟส่องสว่าง ไม่มีหน้าจอแสดงข้อมูลและระยะเวลารอรถ ที่แย่ไปกว่านั้น บางแห่งยังไม่มีหลังคากันแดด กันฝน ทำให้คนเดินทางต้องรอรถเมล์อย่างเหน็ดเหนื่อยและยากลำบากในช่วงสภาพอากาศแปรปรวน ทั้งนี้ ป้ายรถเมล์ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบขนส่งสาธารณะที่หลายประเทศให้ความสำคัญ และพยายามปรับปรุงให้ทันสมัยและตอบโจทย์ประชาชนมากที่สุด หนึ่งในประเทศที่พัฒนาป้ายรถเมล์อย่างต่อเนื่องก็คือ ‘เกาหลีใต้’  เพราะเหตุนี้ เราจึงอยากพาทุกคนไปสำรวจ ‘ป้ายรถเมล์อัจฉริยะ’ หรือ ‘Smart Shelter’ ที่เกาหลีใต้ออกแบบขึ้นเพื่อส่งเสริมการเดินทางของผู้คนอย่างรอบด้าน หน้าตาของป้ายรถเมล์นี้คล้ายกับตู้กระจกขนาดใหญ่ที่มาพร้อมกับอุปกรณ์และเทคโนโลยีทันสมัยมากมาย ก่อนเข้าใช้บริการ ผู้ใช้งานต้องสแกนใบหน้าเพื่อตรวจจับความร้อนเพื่อคัดกรองและรับมือกับการระบาดของโควิด-19 โดยประตูจะเลื่อนเปิดให้กับผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 37.5 องศาเซลเซียสเท่านั้น ส่วนภายในได้ติดตั้งระบบปรับอากาศและหลอดไฟอัลตราไวโอเลต สำหรับควบคุมอากาศให้เย็นสบายไปและฆ่าเชื้อไวรัสไปพร้อมๆ กัน โดยระบบนี้สามารถฆ่าเชื้อโรคและเชื้อไวรัสได้มากถึง 99 เปอร์เซ็นต์ ช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัสและทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น อุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นๆ ได้แก่ เครื่องกดแอลกอฮอล์อัตโนมัติ ปลั๊กชาร์จไฟ Wi-Fi ฟรี และหน้าจอดิจิทัลแสดงตารางรถเมล์ เพื่อแจ้งเตือนผู้โดยสารว่ารถเมล์กำลังจะมาถึง ที่สำคัญ ยังมีกล้องวงจรปิด กระดิ่งแจ้งเตือน และเซนเซอร์ตรวจจับเสียง ที่เชื่อมต่อกับสถานีตำรวจและสถานีดับเพลิงสำหรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ส่วนหลังคาป้ายรถเมล์ก็มีแผงโซลาร์เซลล์สำหรับกักเก็บไฟสำรองด้วย เกาหลีใต้เริ่มติดตั้งป้ายรถเมล์อัจฉริยะกรุงโซลตั้งแต่ปี 2020 และตอนนี้เมืองหลวงของประเทศมีป้ายรถเมล์โมเดลนี้ทั้งหมด 28 แห่งแล้ว ข้อมูลล่าสุดเปิดเผยว่า […]

Twenty Five Twenty One ท่ามกลางความโหดร้ายของยุคสมัย โชคดีแค่ไหนที่เราได้รักกัน

ค่ำวันหนึ่งของเดือนพฤศจิกายน ปี 1997 หลังจากที่ออกไปเตร็ดเตร่ตามประสาวัยรุ่นทั่วไป แพคอีจิน (รับบทโดย นัมจูฮยอก) กลับบ้านมาพบกับภาพของครอบครัวของเขาที่กำลังจะแตกสลาย เปล่าเลย มันไม่ได้เป็นเพราะพ่อกับแม่เขาผิดใจกัน และมันก็ไม่ใช่เพราะสมาชิกคนใดคนหนึ่งได้ตายจากไป ครอบครัวของเด็กหนุ่มยังคงอบอุ่น พวกเขายังคงรักกันอย่างสุดหัวใจ แต่มันเป็นเพราะเหตุการณ์หนึ่งต่างหากที่สั่นสะเทือนความมั่นคงทางการเงินของครอบครัวนี้อย่างรุนแรง รุนแรงถึงขนาดที่พ่อของอีจินถึงขั้นยื่นข้อเสนอขอหย่ากับแม่ บอกให้ลูกคนโตอย่างอีจินไปเป็นทหารเกณฑ์ ส่วนลูกคนเล็กก็ให้ย้ายไปอยู่กับญาติไปก่อน  “ครอบครัวของเราคงต้องแยกกันอยู่สักพัก” พ่อของอีจินกล่าวด้วยน้ำเสียงอ่อนล้า ท่ามกลางเสียงสะอื้นไห้ของมารดา อีจินได้แต่เพียงพยักหน้าอย่างจนปัญญาเพราะไม่รู้จะช่วยครอบครัวอย่างไร เหตุการณ์ที่สั่นสะเทือนครอบครัวอีจินไม่ใช่อะไรอื่น แต่คือวิกฤต IMF ที่ได้กระชากเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้ซึ่งกำลังพุ่งขึ้นเรื่อยๆ ให้ลงมากองอยู่กับพื้นอีกครั้ง สีสันชีวิตวัยรุ่นของอีจินดับสนิทลงในทันทีเพราะเหตุการณ์ครั้งนั้น เช่นเดียวกับความฝันที่ระเหิดหายไปกับอนาคตที่ขมุกขมัว เช้าวันหนึ่งของเดือนกรกฎาคม ปี 1998 นาฮีโด (รับบทโดย คิมแทรี) เด็กสาว ม.ปลาย และนักฟันดาบประจำโรงเรียนรีบพุ่งตัวออกจากบ้านอย่างลิงโลด เธอตรงดิ่งไปนั่งหลับในห้องเรียน จากนั้นก็แวะไปย้ำเฮียร้านเช่าการ์ตูนว่าอย่าลืมเก็บเล่มใหม่ของ ‘ฟูลเฮาส์’ การ์ตูนเรื่องโปรดไว้ให้ด้วยนะ ก่อนจะแผล็วไปยังชมรมฟันดาบของโรงเรียนอีกแห่ง ไปเกาะขอบหน้าต่างแอบดู ‘โกยูริม’ (รับบทโดย โบนา) นักกีฬาฟันดาบทีมชาติเจ้าของเหรียญทองโอลิมปิกผู้เป็นเสมือนไอดอลของเธอ ฮีโดมีฝัน และความฝันของเธอก็ไม่ใช่อะไรอื่นแต่คือการได้ประดาบเคียงข้างกับนักกีฬาฟันดาบที่เป็นดั่งแสงสว่างในชีวิต ท่ามกลางความเปราะบางของสภาพเศรษฐกิจ การเมืองที่เดือดพล่าน และความขัดแย้งของคนในชาติที่ปะทุอยู่เรื่อยๆ ฮีโดยังคงโอบกอดความฝันของตัวเองไว้อย่างแนบแน่น ไม่ได้สนใจอะไรมากไปกว่า ฟูลเฮาส์ […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.