ฮาวทูชาร์จแบตฯ กายใจในเมืองใหญ่ที่ดูดพลังเราทุกวัน คุยกับนักละครบำบัด ‘กิ๊ฟท์ ปรีห์กมล’

ในฐานะคนที่จากบ้านเกิดมาอยู่เมืองใหญ่หลายปี สิ่งที่ทำใจให้ชินไม่ได้สักทีคือความรู้สึกไม่มีพลังในการควบคุมสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ฉันไม่อาจเรียกตัวเองว่าเพื่อนสนิทกับขนส่งสาธารณะ ไม่ชอบความแออัด กะเวลาไม่ได้ ถ้าจะเดินทางครั้งหนึ่งก็ต้องเผื่อเวลาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง ไหนจะฝุ่นควันในอากาศและสถานการณ์บ้านเมืองที่ทำให้หัวร้อนได้ทุกวัน  ‘เมืองนี้สูบพลัง’ คือความคิดตั้งแต่วันแรกที่มาอยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน ความรู้สึกต่อมาที่หลายคนน่าจะมีเหมือนกันคือ ‘ฉันอยากออกไปจากที่นี่ แต่ยังไปไหนไม่ได้’ ด้วยเหตุผลนับร้อยพันที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกันคอยฉุดรั้งไว้ นั่นคือเหตุผลที่ฉันมาพบกับ ‘กิ๊ฟท์-ปรีห์กมล จันทรนิจกร’ หญิงสาวผู้ที่หลายคนอาจรู้จักในฐานะผู้ก่อตั้ง Ma.D Club for Better Society กิจการเพื่อสังคมที่ซัปพอร์ตกลุ่มคนผู้อยากสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีในสังคมเมื่อหลายปีก่อน ประสบการณ์เกี่ยวกับสุขภาพจิตจากตัวเธอเองและคนรอบข้างในช่วงเวลานั้น ทำให้ปรีห์กมลสนใจด้านจิตใจและการบำบัดมากขึ้นไปอีก โดยเฉพาะละครบำบัดที่ทำงานกับเธอได้ดีเป็นพิเศษ หลังจาก Ma.D ปิดตัวลงในปลายปี 2018 เธอจึงเดินทางไปเรียนต่อ MA Drama and Movement Therapy ที่ The Royal Central School of Speech and Drama ประเทศอังกฤษ และกลับมาทำงานที่นี่ในฐานะนักละครบำบัด และในฐานะคนทำงานเกี่ยวข้องกับร่างกายและจิตใจอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ปรีห์กมลคือคนที่เราอยากขอคำปรึกษาเรื่องการกลับมาดูแลกายใจในเมืองสูบพลังที่เรา (จำเป็น) ต้องใช้ชีวิตอยู่ เล่าให้ฟังหน่อยสิว่าหลักของละครบำบัดที่คุณทำอยู่คืออะไร และมันต่างจากการบำบัดแบบอื่นอย่างไร สำหรับเรา […]

Healthy City จำลองเมืองสุขภาพดีให้คนสุขภาพดีตามแบบฉบับ WHO

‘เมืองสุขภาพดี’ คือเมืองที่เอื้อให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย ตอบสนองความต้องการพื้นฐาน และเปิดโอกาสให้คนมีปฏิสัมพันธ์จากการทำกิจกรรมร่วมกัน แต่ปัจจุบันเมืองใหญ่จำนวนไม่น้อยมีสุขภาพย่ำแย่ลงเรื่อยๆ เนื่องจากคนจากต่างจังหวัดหรือพื้นที่อื่นๆ ย้ายเข้ามาอยู่มากขึ้น ด้วยความหวังว่าจะมีชีวิตดีและก้าวหน้ามากกว่าเดิม  เมื่อคนส่วนใหญ่มารวมตัวกันอยู่ในเมือง ปัญหาที่ตามมาก็คือประชากรมีมากเกินไป ทำให้โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่แล้วไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยทุกคนได้ ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ที่อยู่อาศัยคับแคบ ความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุข ระบบขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุม พื้นที่สาธารณะมีจำกัด มลพิษทางอากาศ หรือแม้แต่อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนสร้างผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของชาวเมืองได้ทั้งสิ้น ดังนั้น คอลัมน์ Urban Sketch จึงขออาสาจำลองเมืองสุขภาพดีตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในระยะยาว ปัจจัยอะไรบ้างที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของทั้งเมืองและผู้คนอย่างถ้วนหน้า ไปติดตามพร้อมกันได้เลย  1. ดูแลสุขภาพจิตของผู้คน ปัญหาที่คนเมืองต้องพบเจอในทุกๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นความกดดันในการใช้ชีวิตและการทำงาน ความยากจน มลภาวะ โครงสร้างพื้นฐานที่ย่ำแย่ ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเครียดจนนำไปสู่อาการป่วยทางจิตได้ ดังนั้น ผู้คนควรมีสิทธิ์เข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพจิตมากขึ้น เช่น การเข้าถึงการปรึกษาหรือการรักษาผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งจะช่วยให้คนได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่พวกเขาเจอในแต่ละวันและระบายความเครียดได้ 2. เพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียว การสร้างตึกและอาคารคือการเจริญเติบโตของเมืองที่ทำให้เมืองแออัด และทำให้มีพื้นที่ในการใช้ชีวิตน้อยลงเรื่อยๆ ไม่เพียงเท่านั้น เมืองที่หนาแน่นจนรู้สึกอึดอัดยังอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้อยู่อาศัยอีกด้วย เพราะฉะนั้นการเพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวจึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคมและกิจกรรมทางกายของผู้คน รวมถึงเปิดโอกาสให้คนที่ใช้ชีวิตคนเดียวได้พบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนอื่นๆ ซึ่งจะช่วยลดความเครียด […]

7 กลุ่มโรคร้ายที่คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด

เดือนแห่งการเริ่มต้นใหม่เวียนกลับมาอีกครั้ง เชื่อว่าหลายคนคงตั้ง New Year’s Resolution หรือเป้าหมายชีวิตที่อยากทำให้สำเร็จในปีกระต่ายเอาไว้บ้างแล้ว ทั้งเรื่องการงาน การเงิน การใช้ชีวิต รวมถึงการดูแลสุขภาพ  ‘สุขภาพ’ ถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ที่หลายคนอยากปฏิวัติให้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะหากละเลยหรือปล่อยให้สุขภาพย่ำแย่ วันใดวันหนึ่งอาจล้มป่วยจนต้องเข้าโรงพยาบาล แย่ที่สุดคือการเป็นโรคร้ายที่รุนแรงถึงชีวิต ใครๆ ก็อยากสุขภาพดีปลอดโรคกันทั้งนั้น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีคนไทยเสียชีวิตจากโรคร้ายแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คอลัมน์ City By Numbers จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจว่า โรคใดบ้างที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดในปีที่ผ่านมา และต้นตอสาเหตุของโรคต่างๆ มาจากอะไร เผื่อใครลองปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตให้รอบคอบมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคร้ายเหล่านี้ ข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB) ปี 2564 เปิดเผยว่า หากจำแนกตามอัตราเสียชีวิตต่อประชากร 100,000 คน สามารถแบ่งสาเหตุการเสียชีวิตได้เป็น 7 กลุ่มโรคร้ายดังต่อไปนี้ 1) มะเร็งและเนื้องอกทุกชนิด 128.50 คน2) หลอดเลือดในสมอง 55.50 คน3) ปอดบวม 49.70 คน4) หัวใจขาดเลือด 33.50 […]

City Checkup ตรวจสุขภาพเมือง ประจำปี 2566

ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีใหม่ เราเชื่อว่าทุกคนก็ยังคงใช้ชีวิตไม่ต่างจากเดิมเท่าไรนัก แต่หนึ่งสิ่งที่ทุกคนมักแอดเข้าลิสต์ของ New Year’s Resolution คือเรื่องการดูแลตัวเอง ยิ่งหลังจากที่อยู่กับโรคระบาดมาเป็นเวลานาน สุขภาพร่างกายและจิตใจก็กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องหันมาใส่ใจกันอย่างจริงจังมากขึ้น ว่าแล้วก็ถึงเวลาที่ต้องตรวจสุขภาพประจำปี เราไม่ได้แค่อยากเตือนให้ทุกคนหาเวลาดูแลตัวเองอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังอยากชวนมาตรวจเช็กสุขภาพเมืองของเราไปพร้อมๆ กันด้วย เพราะถ้าหากเมืองเจ็บป่วยแค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ย่อมเกิดผลกระทบต่อเนื่องแน่นอน ซึ่งผู้ได้รับความเดือดร้อนก็หนีไม่พ้นชาวเมืองอย่างพวกเรานี่แหละ Urban Creature ขอรับบทเป็นคุณหมอมาตรวจสุขภาพโดยรวมของเมืองกัน ตอนนี้อวัยวะสำคัญยังใช้งานได้ดีหรือถึงเวลาแล้วที่ต้องเยียวยารักษา ต่อแถวเข้าคิวเช็กอัปใน คอลัมน์ Overview ประจำซีรีส์เดือนนี้ได้เลย เมืองอาจเป็นโรคหัวใจ เพราะพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของประชาชน หากพูดถึง ‘หัวใจของเมือง’ ก็คงหนีไม่พ้น ‘ผู้คน’ ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนให้เมืองดำเนินชีวิตต่อไปได้ ซึ่งพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมืองอย่างการทำงานหนักจนแทบไม่มีเวลาดูแลตัวเอง รวมถึงปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดบ่อยขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หรือแม้แต่โควิด-19 ที่ยังคงระบาดอยู่ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสุขภาพของผู้คน และอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเมือง รายงานจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเผยว่า ในไตรมาสที่สามของปี 2565 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 275.4 เปอร์เซ็นต์ โดยโรคที่คนเป็นเยอะที่สุดคือโรคมือเท้าปาก ซึ่งมีผู้ป่วยมากถึง 77,349 ราย สูงกว่าปีก่อนหน้าประมาณ 56 เท่า รองลงมาคือโรคไข้หวัดใหญ่ […]

คนไทยหมดเงินไปเท่าไหร่ เพื่อแลกความมั่นใจกับคำว่า ‘น้ำดื่มสะอาด’

บ้านหลังนั้นมีตุ่มสีดินแดงสี่ใบไว้เก็บน้ำฝนสำหรับดื่ม และในตู้เย็นมีขันเงินใส่น้ำฝนแช่ไว้ดื่มเย็นชื่นใจ มาถึงวันนี้น้ำฝนฟรีจากฟ้ามีสารเคมีปนเปื้อนเพิ่มขึ้น การดื่มเข้าไปมากๆ ย่อมส่งผลร้ายต่อร่างกาย การซื้อน้ำดื่มจากขวดบรรจุภัณฑ์ย่อมให้ความรู้สึกที่สะอาดกว่า ด้วยเหตุนี้ ทำให้บ้านเรามีน้ำดื่มที่วางขายตามห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต หรือตามร้านขายของชำ จำนวนหลายสิบยี่ห้อให้เลือกดื่มตามราคา และเนื่องจากน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญของร่างกาย มนุษย์ทุกคนไม่ว่ายากดีมีจนต้องดื่มน้ำเป็นประจำทุกวันอยู่แล้ว โดยข้อมูลจากสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Academy of Sciences : NAS) และ สถาบันแพทยศาสตร์ (The Institute of Medicine : IOM) ให้คำแนะนำสำหรับการดื่มน้ำไว้ว่า – ผู้หญิง ควรดื่มน้ำวันละประมาณ 2.7 ลิตร หรือประมาณ 11.5 แก้ว– ผู้ชาย ควรดื่มน้ำวันละประมาณ 3.7 ลิตร หรือประมาณ 15.5 แก้ว ในช่วงเวลาที่มีการถกเถียงกันเรื่องน้ำสะอาดและค่าครองชีพ คอลัมน์ City by Numbers ขอพาไปดูกันว่า ในดินแดนที่ขึ้นชื่อว่าอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติแห่งนี้ คนไทยหมดเงินกันไปเท่าไหร่กับการแลกความมั่นใจในคำว่า ‘น้ำดื่มสะอาด’ ราคาของการเข้าถึงน้ำดื่มสะอาด สมมติว่าในหนึ่งวันคนเราต้องดื่มน้ำประมาณ […]

เช็กสุขภาพง่ายๆ จากผิวหนัง! นักวิจัยเยอรมันพัฒนารอยสักเปลี่ยนสีได้ เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น-ต่ำลง

ในอนาคต ‘รอยสัก’ อาจจะไม่ใช่ศิลปะบนเรือนร่างที่สะท้อนตัวตนและความเชื่อเท่านั้น แต่ลวดลายเหล่านี้อาจเป็น ‘เครื่องมือ’ ที่ช่วยชี้วัดสุขภาพของผู้คนได้ด้วย  เพราะล่าสุดทีมนักวิทยาศาสตร์ในเยอรมนี นำโดย Ali Yetisen วิศวกรเคมีจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งมิวนิกได้คิดค้น ‘รอยสักเปลี่ยนสีได้’ เมื่อระดับน้ำตาลกลูโคส อัลบูมิน และค่าความเป็นกรด-เบส (pH) ในเลือดสูงขึ้นหรือต่ำลง เป็นเสมือนเซนเซอร์บนผิวหนังที่ช่วยให้ผู้ป่วยหรือคนที่มีรอยสักนี้ติดตามสุขภาพของตัวเองได้แบบเรียลไทม์ โดยไม่ต้องเดินทางไปพบแพทย์หรือใช้เครื่องมือต่างๆ ให้ยุ่งยาก รอยสักนี้เรียกอีกอย่างว่า ‘Biosensors’ หรือ ‘อุปกรณ์ตรวจวัดทางชีวภาพ’ โดยทางทีมวิจัยกำหนดให้รอยสักวัดระดับน้ำตาลกลูโคส อัลบูมิน และค่า pH ในเลือด เนื่องจากทั้งสามส่วนนี้คือตัวชี้วัดสำคัญที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์อย่างค่อนข้างชัดเจน  ยกตัวอย่าง ค่า pH ของร่างกายที่ไม่สมดุลอาจเป็นสัญญาณบอกว่าไตและปอดอาจไม่สามารถควบคุมความเป็นกรดของร่างกายได้แล้ว สำหรับระดับอัลบูมิน (ระดับโปรตีนในเลือด) ที่ผิดปกติอาจบ่งบอกถึงปัญหาเกี่ยวกับไต ตับ หรือหัวใจ ส่วนน้ำตาลกลูโคสในเลือดคือระดับที่ควรได้รับการควบคุมอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน วิธีการสัก Biosensors นั้นมีลักษณะเหมือนกับการสักทั่วไปที่ใช้เข็มเจาะบนชั้นหนังกำพร้า ซึ่งเป็นผิวหนังชั้นบนสุดของร่างกาย ก่อนจะปล่อยเม็ดสีเข้าไปในชั้นหนังแท้ ทำให้รอยสักอยู่บนผิวหนังถาวร แต่ทางทีมวิจัยไม่ได้เปิดเผยว่าตัวสีที่ใช้ผลิตมาจากอะไรและต้องใช้ปริมาณเท่าไหร่ ทั้งนี้ สิ่งที่ทำให้เจ้า Biosensors ต่างจากรอยสักทั่วไปคือสีที่เปลี่ยนได้ตามสุขภาพของร่างกาย เช่น เมื่อระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดต่ำ รอยสักจะเป็น ‘สีเหลือง’ […]

ASICS 15:09 UPLIFT CHALLENGE ออกกำลัง 15:09 นาที ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น และร่วมบริจาคให้ Wall of Sharing

ASICS (เอซิคส์) เปิดตัวกิจกรรม ASICS 15:09 Uplift Challenge ชวนทุกคนมาออกกำลังกายและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยยกจิตใจคนและสังคมตลอดทั้งเดือนมิถุนายนนี้ เนื่องในโอกาสวันวิ่งโลก พร้อมทั้งเผยผลลัพธ์จากการทดลอง Mind Race ซึ่งเป็นการทดลองผลกระทบที่เกิดกับสภาวะทางจิตใจเมื่อคนเราไม่ออกกำลังกาย  โดยการทดลอง Mind Race ได้แสดงให้เห็นว่าการที่เราหยุดออกกำลังกาย 1 สัปดาห์ ทำให้เกิดผลกระทบกับจิตใจใกล้เคียงกับคนที่นอนหลับไม่สนิทมาเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมในการทดลองได้รายงานถึงการเกิดสภาวะคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน (Racing Thoughts) ที่เพิ่มขึ้นกว่า 23 เปอร์เซ็นต์ ​​ศาสตราจารย์เบรนดอน สตับส์ (Brendon Stubbs) นักวิจัยด้านการออกกำลังกายและสุขภาพจิต ได้เฝ้าสังเกตดัชนีชี้วัดสุขภาพจิต (State of Mind Scores) ของผู้เข้าร่วมในงานวิจัย ซึ่งเป็นคนที่มีสุขภาพดีและออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยผู้เข้าร่วมจะหยุดออกกำลังกายเป็นเวลา 1 สัปดาห์เพื่อเข้าร่วมการทดลอง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นพบว่าการไม่ออกกำลังกายส่งผลต่อการรับรู้และอารมณ์ของพวกเขา เพราะเมื่อคนที่มีไลฟ์สไตล์ที่แอ็กทีฟหยุดออกกำลังกาย ความมั่นใจของพวกเขาจะลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ ความคิดเชิงบวกลดลง 16 เปอร์เซ็นต์ ระดับพลังงานลดลง 23 เปอร์เซ็นต์ และความสามารถในการจัดการความเครียดลดลง […]

เซนเซอร์ติดหน้ากากอนามัย FaceBit วัดชีพจร ช่วยเช็กรอยรั่วที่หน้ากาก และรายงานผลสุขภาพผ่านแอปพลิเคชัน

ตั้งแต่โลกนี้มีโควิด-19 นวัตกรรมเกี่ยวกับหน้ากากอนามัยก็พัฒนาให้ล้ำได้อย่างไม่รู้จบ เพราะทุกวันนี้หน้ากากอนามัยแทบจะกลายเป็นอวัยวะใหม่ของร่างกายไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ต้องใส่หน้ากากนานถึง 12 ชั่วโมง/วัน นอกจากจะใส่ในชีวิตประจำวัน ยังต้องใส่ทำงานและป้องกันการรับไวรัสโดยตรงอีกด้วย แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าหน้ากากที่เราใช้อยู่ป้องกันไวรัสได้ดีแค่ไหน? เทคโนโลยีล่าสุดของการตรวจวัดข้อมูลสุขภาพไม่ได้อยู่แค่รูปแบบนาฬิกา (Fitness Tracker) อีกต่อไป แต่นักวิจัยจาก Illinois’ Northwestern University ได้คิดค้นอุปกรณ์ต้นแบบตัวใหม่ในชื่อ ‘FaceBit’ มีฟังก์ชันคล้ายกับ Fitbit แต่เป็นเซนเซอร์ขนาดเล็กใช้สำหรับติดบนหน้ากากอนามัยทุกประเภท เซนเซอร์อัจฉริยะ FaceBit ตัวนี้มีขนาดเท่าเหรียญ 25 เซ็นต์เท่านั้น สามารถติดไว้ข้างในหน้ากากประเภทไหนก็ได้ด้วยแม่เหล็กขนาดเล็ก ไม่ว่าจะเป็น หน้ากาก N95, หน้ากากผ้า, หรือหน้ากากทางการแพทย์  เซนเซอร์ FaceBit ตัวนี้ สามารถจับลมหายใจได้ มีฟังก์ชันในการวัดสัญญาณชีพจร สามารถคำนวณอัตราการหายใจ วัดอัตราการเต้นของหัวใจจากการขยับศีรษะที่สอดคล้องกับจังหวะหัวใจ และตรวจสอบได้ว่ามีรอยรั่วบนหน้ากากหรือไม่ เพื่อช่วยในการป้องกันไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เซนเซอร์นี้ยังใช้แบตเตอรี่เสริมด้วยระบบ Onboard ที่รวบรวมพลังงานมาจากการเคลื่อนไหว แสง ความร้อน และแรงจากลมหายใจในขณะที่เราสวมใส่ ทำให้แบตเตอรี่อึดมากๆ อยู่ได้ราว 11 วัน ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง […]

100 ภาคีจัด Good Society แบบ Virtual Event ธีม Hope In Crisis เพื่อสังคมที่ดีของทุกคน

เมื่อเชื่อว่าเราทุกคนต้องอยู่ด้วยกันให้ดีและมีความสุขให้ได้ Good Society หรือเครือข่ายสังคมดี เลยชักชวนทุกคนออกมาสร้างสรรค์สังคมที่พวกเราอยากจะอยู่ไปพร้อมกันในวันที่ 19-21 พฤศจิกายน 2564 ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่หมดไป ในปีนี้เครือข่าย Good Society จึงกลับมาอีกครั้งในรูปแบบ Virtual Event ที่ชวนทุกคนมาร่วมกิจกรรมดีๆ อย่าง Good Society Summit 2021 และในช่วงเวลาเช่นนี้ ที่ ‘ความหวัง’ เป็นสิ่งสำคัญ งานในครั้งนี้จึงมาในธีม “Hope In Crisis ในวิกฤติยังมีหวัง” ครอบคลุมกิจกรรมที่น่าสนใจถึง 3 รูปแบบ ทั้ง Learn, Action และ Scale Impact จัดเต็มตลอด 3 วันแบบจุใจ หนึ่งคือ Learn เวทีระดมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสังคม ที่จะชวนทุกคนร่วมกันคิดและพูดคุยถึงเป้าหมายของประชาชน ในประเด็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มคุณภาพชีวิต โดยไม่ลืมที่ชวนจะเป็น Active Citizen พลเมืองที่มีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม […]

Elmhurst Ballet School โรงเรียนที่สนับสนุนให้นักบัลเลต์รุ่นใหม่มั่นใจในรูปร่างของตัวเอง

จะดีไหมถ้าฉันผอมกว่านี้ แขนเล็กกว่านี้ หรือขาเล็กกว่านี้? ถ้ามีรูปร่างที่เพอร์เฟกต์จะทำให้ฉันเป็นนักเต้นที่เก่งที่สุดได้หรือเปล่า?  คำถามเหล่านี้คือสิ่งที่อยู่ในใจของนักบัลเลต์หลายคนที่ต้องแบกรับความรู้สึกกดดันกับค่านิยมการมีรูปร่างที่สมบูรณ์แบบ ต้องผอมเท่านั้นถึงจะดูเหมาะสมกับการเป็นนักบัลเลต์ การจะเป็นนักบัลเลต์มืออาชีพได้ต้องทุ่มสุดตัวทั้งร่างกายและจิตใจเพื่อให้การแสดงออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด แค่คิดว่าต้องซ้อมให้หนัก แต่กินให้น้อยเพื่อรักษาความผอมเอาไว้ให้ได้ ก็คงไม่ใช่เรื่องดีต่อสุขภาพของนักบัลเลต์เลย ค่านิยมความสมบูรณ์แบบนี้เองที่ทำให้นักบัลเลต์หลายคนต้องเจ็บปวดกับเส้นทางการตามฝันเพื่อที่จะเป็นมืออาชีพ เพราะระหว่างทางทำให้หลายคนมีปัญหาสุขภาพจิต ต้องไดเอตอยู่ตลอด จนทำให้มีพฤติกรรมการกินอาหารที่ผิดปกติ (Eating Disorder) หรือเป็นโรคกลัวอ้วน (Anorexia) ส่งผลเสียกับสุขภาพกายและสุขภาพจิตในระยะยาว ที่สำคัญกระทบกับการยืนระยะเป็นนักบัลเลต์อาชีพด้วยเช่นกัน  Elmhurst Ballet School โรงเรียนสอนบัลเลต์คลาสสิกเก่าแก่ในอังกฤษที่ตั้งมาตั้งแต่ ค.ศ. 1923 เปิดสอนสำหรับเด็กอายุ 11 – 19 ปี ที่อยากเป็นนักบัลเลต์มืออาชีพ เห็นว่าปัญหาสุขภาพจิตเป็นเรื่องสำคัญของคนรุ่นใหม่ และความกดดันเรื่องรูปร่างคือปัญหาที่เด็กในวัยนี้ไม่ควรต้องเผชิญโดยลำพัง จึงได้ก่อตั้งทีมพิเศษขึ้นมาเพื่อดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของนักเรียนอย่างใกล้ชิด และช่วยให้พวกเขาเป็นนักบัลเลต์ที่เก่งกาจได้โดยที่ยังมั่นใจในรูปร่างของตัวเองด้วย Annelli Paevot หนึ่งในทีมผู้ดูแลด้านสุขภาพของนักเรียนเล่าว่า โรงเรียนจะมีขั้นตอนการให้การช่วยเหลือที่เป็นระบบ มีแนวทางในการปฏิบัติตัวให้กับนักเรียนที่มีพฤติกรรมการกินอาหารที่ผิดปกติอย่างละเอียด สามารถให้คำแนะนำในการดูแลตัวเองและรักษา และพร้อมให้ข้อมูลกับนักเรียนและผู้ปกครองที่กำลังต้องการความช่วยเหลือในเรื่องนี้โดยเฉพาะ    เพื่อให้นโยบายนี้เกิดขึ้นจริง Elmhurst จึงใช้วิธีการประเมินสุขภาพนักเรียนทั้งหมด 6 ครั้งตลอด 1 ปี เพื่อติดตามดูพัฒนาการและปัญหาสุขภาพของนักเรียน หากทีมผู้ดูแลเริ่มสังเกตเห็นว่านักเรียนคนใดมีพฤติกรรมการกินที่เริ่มผิดปกติ จะมีการพูดคุยและให้คำแนะนำเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมถึงแจ้งครอบครัวให้รับทราบเพื่อที่จะได้ช่วยดูแลอีกทาง เพราะเธอคิดว่ายิ่งรู้เร็วเท่าไรว่านักเรียนมีปัญหาจะทำให้โรงเรียนสามารถให้ความช่วยเหลือพวกเขาได้ทันท่วงที ก่อนที่สุขภาพของนักเรียนจะทรุดโทรมไปมากกว่านี้  […]

อายุยา ดูยังไง ?

เก็บยา เก็บได้ แต่อย่าลืมดูวันหมดอายุ ! เราเลยมีวิธีดูวันหมดอายุยา ครบทั้งยาเม็ด ยาน้ำ เม็ดชนิดผง และยาทามาฝากกัน

‘นอน เดิน นั่ง’ ให้ถูกวิธี สุขภาพดีทั้งกายใจ

เคยสังเกตตัวเองไหมว่า ทุกวันนี้เรานอนอย่างไร เดินแบบไหน และท่านั่งทำงานเป็นอย่างไร โดยในบทความนี้เราได้รวบรวมพฤติกรรมการ ‘นอน เดิน นั่ง’ ที่ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากทำตามแล้ว นอกจากจะช่วยปกป้องสุขภาพกายของเราให้แข็งแรง ยังช่วยให้สุขภาพใจดีขึ้นอีกด้วย

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 64 MB.