5 โรคฮิตที่เกี่ยวข้องกับ ‘จุลินทรีย์ในลำไส้’ - Urban Creature

ความจริงที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ว่าหลายๆ โรคที่คุณป่วยอยู่ มีส่วนเกี่ยวข้องกับ ‘จุลินทรีย์ในลำไส้’ สิ่งสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อน ระบบต่างๆ ในร่างกาย เพราะอวัยวะต่างๆ นั้นต่างต้องพึ่งพาจุลินทรีย์ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นระบบขับถ่าย ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาทและสมอง ระบบทางเดินหายใจ หรือแม้แต่การผลิตวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อให้ชีวิตดำรงต่อไปได้ ซึ่งภูมิต้านทานของคนเรามีมากถึง 70% ในลำไส้ หมายความว่า ถ้าจุลินทรีย์ในลำไส้เราไม่สมดุล ก็อาจจะส่งผลต่อโรคมากมายที่จะเกิดขึ้นมาตามมา ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักจะมาจากไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตยุคปัจจุบัน ลองมาดูว่าจุลินทรีย์ในลำไส้นั้น มีผลกับอาการเจ็บป่วยอะไรบ้างที่คนเมืองยุคนี้เป็นกัน

ถ้าคุณพยายามกินผักทั้งสวนแล้วก็ยังไม่ถ่าย หรือกินอะไรผิดสำแดงนิดหน่อยก็ท้องเสีย อาการแบบนี้เราเรียกว่า โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome; IBS) เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร มักจะมีอาการท้องผูก, ท้องเสีย หรือเป็นทั้งสองอย่าง สาเหตุของโรคนี้เกี่ยวข้องกับสภาวะไม่สมดุลของประชากรจุลินทรีย์ในลำไส้ ชื่อจุลินทรีย์ Methanogens ซึ่งสามารถสร้างก๊าซมีเทนได้ โดยผู้ป่วยจะมีจุลินทรีย์จำพวก Methanogens ในปริมาณมาก จะผลิตแก๊สมีเทนออกมามาก ทำให้เกิดอาการลำไส้แปรปรวน จึงทำให้เกิดอาการท้องอืด แน่นท้อง มีก๊าซเกินในกระเพาะและลำไส้ โดยการเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในลำไส้ จะช่วยเพิ่มความสามารถในการสร้างกรดไขมันที่จะช่วยลดการอักเสบของลำไส้ลงได้

ภูมิแพ้อากาศ จามบ่อยเป็นว่าเล่น แม้จะดูแลทำความสะอาดห้องใช้เครื่องฟอกอากาศก็แล้ว แต่อาการที่ว่าก็ยังไม่หายไปสักที สาเหตุนั้นเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ในลำไส้เหมือนกัน เพราะคนที่มีจุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุล มีโอกาสที่เซลล์เยื่อบุผนังลำไส้จะสูญเสียความสามารถในการควบคุมการผ่านเข้าออกของสารอาหาร บรรดาสารพิษ สารก่อภูมิแพ้ และเชื้อก่อโรคจึงสามารถเล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยไม่ผ่านการกรอง ซึ่งเรียกว่า “ภาวะลำไส้รั่ว” หรือ “Leaky Gut Syndrome” โดยนักวิจัยค้นพบว่าความผิดปกติในการซึมผ่านเยื่อบุผนังลำไส้มีความสัมพันธ์กับโรคลำไส้แปรปรวน, โรคภูมิแพ้, โรคหอบหืด เป็นต้น

ทำให้คนที่มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย หรือท้องเสียสลับกับท้องผูกเป็นประจำ มักจะมีอาการภูมิแพ้ร่วมด้วย เช่น ลมพิษ ผื่นแดง คัน ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ไปจนสิวอักเสบที่รักษาไม่หาย

รู้ไหมว่าการทำงานในลำไส้นั้นส่งผลกับการทำงานของสมองที่เรียกว่า Gut-brain axis คือการติดต่อสื่อสารกันระหว่างระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาทเอนเทอริก (enteric nervous system : ENS) และสมอง คือ จะเรียกว่าลำไส้ของเราเป็นเหมือนสมองที่สองของร่างกายก็ว่าได้

คนเป็นไมเกรนส่วนใหญ่มักจะไปรักษาที่ปลายเหตุด้วยการกินยาแก้ปวด ซึ่งกินทีก็หายที เดี๋ยวก็กลับมาเป็นใหม่แต่บางครั้งอาการปวดไมเกรน อาจจะเกิดจากสาเหตุการแพ้อาหาร เนื่องจากการขาดจุลินทรีย์ในลำไส้ตัวดีที่ไปช่วยย่อยทำให้มีจุลินทรีย์ตัวไม่ดีที่คอยสร้างสารสื่อประสาท ไหลไปตามเส้นเลือดแล้วไหลไปกระตุ้นให้สมองเกิดการลัดวงจร (Short Circuit) แล้วส่งผลให้สมองเกร็งตัว เกิดเป็นอาการปวดไมเกรนขึ้นมา

จุลินทรีย์ในลำไส้นั้นสามารถส่งผลถึงระบบการทำงานของประสาทและสมอง หากเรามีจุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุลก็มีผลต่ออาการซึมเศร้า วิตกกังวลอีกด้วย โดยจุลินทรีย์จะมีการสร้างและหลั่งสารสื่อประสาทบางประเภทคล้ายกับการทำงานของสมอง ซึ่งสารเหล่านี้เกี่ยวข้องกับสภาวะจิตใจ อารมณ์ การนอนหลับ ความรู้สึก ซึ่งมีการทดลองในสัตว์ เช่น นำจุลินทรีย์ในลำไส้ของคนไข้โรคซึมเศร้าไปฉีดให้หนูทดลอง ปรากฏว่าทำให้หนูมีภาวะผิดปกติทางจิต ซึ่งผลตรงกันข้ามกับการนำจุลินทรีย์ในคนปกติไปฉีดให้หนูทดลอง

ทั้งๆ ที่กินเหมือนคนอื่นแต่ไม่ผอมลงสักที แต่รู้ไหมว่า โรคอ้วนนั้นมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมดำเนินชีวิต พันธุกรรม หรือแม้กระทั่งความผิดปกติของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร ทำให้ระบบภายในลำไส้แต่ละคนต่างกัน ส่งผลทำให้เกิดโรคอ้วนได้

จุลินทรีย์ในทางเดินอาหารนั้นสัมพันธ์กันภาวะอ้วนโดยจากงานวิจัยมีการยกตัวอย่างการเปรียบเทียบองค์ประกอบของกลุ่มจุลินทรีย์ในคนอ้วน 12 คนและคนผอม 5 คน พบว่า คนอ้วนมีปริมาณจุลินทรีย์ Firmicutes (จุลินทรีย์ชวนอ้วน) มากกว่า และมีปริมาณ Bacteroidetes (จุลินทรีย์ชวนผอม) น้อยกว่าคนผอม ซึ่งเจ้าจุลินทรีย์ Firmicutes นั้นจะชอบกินไขมัน ยิ่งเรารับประทานอาหารที่มีไขมันสูง รับประทานเส้นใยอาหารน้อย จุลินทรีย์ชวนอ้วนก็เจริญเติบโตได้ดี ซึ่งจุลินทรีย์ชวนอ้วนเหล่านี้จะกระตุ้นให้ร่างกายกักเก็บไขมันมากขึ้น จึงส่งผลให้คนที่มีจุลินทรีย์ตัวอ้วนนี้ในปริมาณมาก อ้วนง่ายกว่าคนที่มีจุลินทรีย์ตระกูลนี้น้อย

ถ้าคุณพยายามจะรักษาโรคเหล่านี้มานานแต่ก็ยังไม่ดีขึ้นไปหาหมอ กินยา หรือทานอะไรที่คนอื่นเขาบอกว่าหาย แต่คุณกลับไม่หายสักที มันอาจมีสาเหตุมาจากจุลินทรีย์ในลำไส้ที่ไม่สมดุลและการเติมจุลินทรีย์ดีๆ อย่างโยเกิร์ต โพรไบโอติกส์ ก็อาจไม่ได้ผลเสมอไป เพราะความจริงที่หลายคนไม่รู้มาก่อนก็คือ “จุลินทรีย์ในลำไส้เราแต่ละคนต่างกัน วิธีการดูแลรักษาก็เลยต่างกันไปด้วย”

แพคเกจ “ชุดตรวจจุลินทรีย์ในลำไส้” ในแบบของคุณโดยเฉพาะ จากสถาบัน modgut โดยความร่วมมือกับนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านจุลินทรีย์ในลำไส้จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) ที่จะช่วยวิเคราะห์ว่าในลำไส้ของคุณมีปริมาณจุลินทรีย์สมดุลหรือไม่ มีจุลินทรีย์ตัวดีและตัวร้ายสมดุลกันรึเปล่า และมีความหลากหลายของสายพันธุ์จุลินทรีย์มากน้อยแค่ไหน
แล้วจุลินทรีย์เหล่านี้กำลังส่งผลต่ออาการเจ็บป่วยอะไรบ้าง รวมถึงมีความเสี่ยงต่อโรคอะไรบ้าง นอกจากนี้คุณยังได้รู้ถึงประสิทธิภาพในการเผาผลาญอาหาร การสังเคราะห์วิตามิน สภาวะแพ้อาหาร ฯลฯ พร้อมคำแนะนำในการวางแผนโภชนาการ ปรับเมนูอาหาร ที่ช่วยสร้างสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ของคุณโดยเฉพาะ เพื่อให้ลำไส้กลับมาทำงานสมดุล และหายจากอาการเจ็บป่วยที่คุณพยายามรักษามานานสักที

ตรวจจุลินทรีย์ในลำไส้ ที่ modgut ดียังไง?

1. ตรวจจุลินทรีย์ครบทุกตัว จุลินทรีย์ตัวดีที่ช่วยเสริมสร้างผนึกกำลังการทำงานทุกส่วนของระบบในร่างกายจำนวน 10 ตัว และจุลินทรีย์ตัวร้ายที่หากพบเจอในร่างกายที่อาจจะส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และ โรคไม่ติดต่อแบบเรื้อรังในอนาคตอีก 12 ตัว มีความแม่นยำจากฐานข้อมูลของคนไทย

2. ตรวจจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ : อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องผูก ลำไส้แปรปรวน กรดไหลย้อน ภูมิแพ้อากาศ ภูมิแพ้ผื่นคัน สิวอักเสบเรื้อรัง ไมเกรน ลำไส้รั่ว ลำไส้อักเสบ หากไม่รักษาที่ต้นตอของสาเหตุ ก็สามารถพัฒนาเป็นโรคไขมันพอกตับ เบาหวานชนิดที่ 2 โรคทางเมตาบอลิค โรคอ้วน อัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคมะเร็งได้

  • 4 กลุ่มอาการ : การแพ้อาหารแฝง, อาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร,
    อาการผิดปกติในระบบเผาผลาญอาหาร, สุขภาวะองค์รวม
  • 3 ตัวช่วยเสริมสร้าง : ระบบย่อยอาหาร ระบบสังเคราะห์วิตามิน ระบบภูมิคุ้มกัน

3. มีทีมผู้เชี่ยวชาญ ที่ให้คำแนะนำเฉพาะบุคคล (personalization) ทั้งเรื่องการปรับอาหารและกิจวัตรประจำวัน

4. ผลการตรวจวิเคราะห์ที่เข้าใจง่าย พร้อมคำอธิบายที่ตรงประเด็น สามารถใช้ผลเพื่อติดตามสุขภาพ (Tracking)

5. สะดวก เก็บตัวอย่างได้เองที่บ้าน คุ้มค่า มีหลากหลายแพ็กเกจให้เลือกตามความเหมาะสมและช่วงวัย

มาเช็กดูกันว่าอาการเจ็บป่วยของคุณ กำลังส่งผลต่อ “ภาวะลำไส้รั่ว” รึเปล่า? ทำแบบทดสอบ คลิก leakygut.modgut.com

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการตรวจจุลินทรีย์ในลำไส้ได้ที่ www.modgut.com

สอบถามและสั่งซื้อบริการตรวจ LINE ID : @modgut

บริษัท Mod Gut จำกัด ถูกจัดตั้งขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับบริษัท ไบโอเทค โกลเบิ้ล อินโนเวชั่น จำกัด (BGIC) ที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน ได้แก่ แพทย์, นักโภชนาการ, นักจุลชีววิทยา, นักชีววิทยาโมเลกุล, นักสรีรวิทยาของจุลินทรีย์ และนักชีวสารสนเทศ ซึ่งมีประสบการณ์และความเข้าใจด้านจุลชีววิทยาในทางเดินอาหารของมนุษย์ โดยเฉพาะของคนไทยแบบรอบด้าน เพื่อช่วยแนะนำวิธีดูแลสุขภาพของคุณได้อย่างเหมาะสมที่สุด

Writer

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.