The Vessel สถาปัตยกรรมเก๋ทำให้คนอยากตายจริงหรือ?

ในช่วงระยะเวลาเพียงปีกว่าๆ The Vessel แลนด์มาร์กไอคอนิกสุดหรูในแมนฮัตตัน มหานครนิวยอร์ก มีคนเลือกมาจบชีวิตแล้วถึง 4 คน และใช่ ที่น่าตกใจกว่าเดิมคือทั้งสี่เป็นเพียงคนหนุ่มสาวอายุ 14, 19, 21 และ 24 ปีเท่านั้น ทำไมสถานที่พักผ่อนหย่อนใจภาพลักษณ์หรูมากด้วยดีเทลนี้ ถึงกลายเป็นพื้นที่ของการฆ่าตัวตายติดต่อกันเสียอย่างนั้น ทั้งๆ ที่ภาคเอกชนก็พยายามปั้นให้เป็นพื้นที่ที่มีดีไซน์แปลกใหม่ แถมยังมองเห็นทิวทัศน์ของนิวยอร์กได้อย่างน่าตื่นใจ ใครผ่านไปมาก็ต้องหยุดมองเพราะมันโดดเด้งจากพื้นที่แบบไม่มีใครเทียบรัศมี The Vessel เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาสเปซริมแม่น้ำ Hudson ฝั่งตะวันตกของเมือง โปรเจกต์นี้มีทั้งสำนักงานออฟฟิศ ที่พักอาศัย ห้างร้าน และพื้นที่สาธารณะ บนเนื้อที่ 70 ไร่ ซึ่งถูกเรียกว่า Pseudo-Public Space ถ้าให้นิยามง่ายๆ มันคือพื้นที่สาธารณะที่สร้างและพัฒนาโดยเอกชน กรณีของสถาปัตยกรรมวงกตที่หลายคนขนานนามว่ามีลักษณะเหมือนรวงผึ้ง เป็นส่วนหนึ่งในโปรเจกต์อลังการงานสร้างของ Hudson Yards Redevelopment พื้นที่นี้เปิดให้เข้าชมฟรีในชั่วโมงแรกที่เปิดทำการ นอกเหนือจากเวลานี้จะคิดค่าตั๋วบุคคลทั่วไปราคา 10 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบก็เข้าชมได้แบบฟรีๆ  ก่อนไปถึงเรื่องการฆ่าตัวตาย สถาปัตยกรรมนี้เป็นงานศิลปะแบบ Interactive ที่คิดค้นโดย […]

หอพักพยาบาลจุฬาฯ ลบภาพอาคารซ้ำๆ ปั๊มๆ ด้วยฟังก์ชันที่พยาบาลเลือกเอง

มองไกลๆ ‘หอพักพยาบาล’ หลังใหม่ ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ประกอบด้วยอาคารสูงฉาบปูนสีขาวสบายตา 26 ชั้น เรียงรายไปด้วยห้องพัก 523 ห้อง ดีไซน์ระเบียงสลับเป็นแพตเทิร์นฟันปลายึกยัก (นึกถึงศิลปะกระดาษแบบ Pop-up Craft เหมือนกัน) กลางตึกคว้านเป็นรูปทรงบวก หรือสัญลักษณ์อุณาโลมแดง โลโก้สภากาชาดไทยในอดีต  มากกว่าดีไซน์ด้านนอกที่ไม่ค้านสายตาว่าสวย เก๋ ปัง เขยิบไปมองใกล้ๆ อีกนิด จะพบฟังก์ชันที่ตอบโจทย์การใช้งานจริงมากมาย ทั้งอาคารหอพักถูกแยกออกเป็นสองซีก เว้นตรงกลางและด้านข้างไว้รับลมธรรมชาติ พร้อมเปลี่ยนลานจอดรถเก่าให้เป็นพื้นที่สีเขียวหรือ Public Space ที่พยาบาลสามารถออกมานั่งหย่อนใจ คลายเครียดระหว่างพัก เช่นเดียวกับบริเวณตราอุณาโลมแดงที่ตั้งใจไว้เป็นส่วนกลาง ให้นำต้นไม้มาปลูกได้ แค่นั้นยังไม่พอ มุมอินไซด์ใกล้ชิดคนอยู่อาศัยสุดๆ ที่ Plan Architect บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรม เจ้าของผลงานลงไปนั่งล้อมคุยกับพยาบาลว่า “หอพักแบบไหนโดนใจทุกคน” ก็ว้าวตั้งแต่ดีไซน์ระเบียงห้องให้มีองศาเฉียงหลบตาตึกตรงข้ามเพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัว แยกฝั่งห้องนอนและสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นสองฝั่ง เพราะไม่ใช่ทุกคนจะสนิทกับรูมเมต (โคตรเรียล) และคำนึงถึงการลดค่าแอร์สูงลิ่วจากสภาพอากาศบ้านเราด้วยเทคนิคระบายความร้อนรอบอาคารยันห้องนอน 01 หอพักพยาบาลที่เป็นมากกว่าห้องติดๆ กัน วรา จิตรประทักษ์ และ เมฆ-นภสร เกียรติวิญญู […]

Edo-Tokyo มิวเซียม 70,000 ตร.ม. ที่ยกบ้านหลังประวัติศาสตร์มาทำหมู่บ้านแห่งสถาปัตย์ญี่ปุ่น

ในวันที่รู้สึกเบื่อๆ เคยลองเสิร์ชเล่นๆ ว่าโตเกียวมีพิพิธภัณฑ์อะไรน่าสนใจบ้าง ผลลัพธ์ที่ออกมาชวนกรี๊ดมาก เมืองนี้ช่างอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพิพิธภัณฑ์นานาประเภท สิ่งพื้นฐานอย่างอาร์ตมิวเซียมและพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์มีแทบทุกแขนง พิพิธภัณฑ์การ์ตูนก็เนืองแน่น ของแปลกที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีก็มากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์เกลือ พิพิธภัณฑ์อุปกรณ์และประวัติศาสตร์การดับเพลิง พิพิธภัณฑ์ค่าเงิน พิพิธภัณฑ์ปรสิต ฯลฯ ใครจะไปคิดว่าโตเกียวซึ่งเป็นเมืองหลวงมาตั้งแต่ปี 1869 เพิ่งนึกขึ้นได้ว่า… เฮ้ย! เรายังไม่มีพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์! หลังจากทางการโตเกียวไหวตัวทันว่ายังไม่มีพิพิธภัณฑ์ที่เล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกรุงโตเกียวเลย Edo-Tokyo Museum จึงถูกก่อตั้งในปี 1993 ที่เขต Sumida โดยมีสาขาย่อยที่เล่าเรื่องราวผ่านสถาปัตยกรรมและชีวิตของผู้คนคือ Edo-Tokyo Open-Air Architectural Museum ที่เขต Musashino ซึ่งตั้งอยู่คนละฟากของเมืองเลยทีเดียว เพราะต้องใช้พื้นที่ในการจัดแสดง นอกจากจะเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง Edo-Tokyo Open-Air Architectural Museum ยังต่างกับพิพิธภัณฑ์อื่นๆ ตรงที่ไม่ได้เล่าแค่ประวัติศาสตร์และคุณค่าของสิ่งก่อสร้าง แต่เน้นเรื่องวิถีชีวิตของคนสมัยก่อนไม่แพ้กัน เดินดูเองก็ว่าสนุกแล้ว แต่เมื่อได้ Hidehisa Takahashi ภัณฑารักษ์ผู้คร่ำหวอดในวงการจาก Edo-Tokyo Open-Air Architectural Museum มาเล่าให้ฟังถึงความพิเศษของอาคาร 30 หลังบนพื้นที่ […]

ถอดปรัชญาการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ว่าด้วยพื้นที่และเวลา l Shape of Wisdom EP.1

ชวนมาถอดปัญญาของ ‘ผู้ช่วยศาตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต’ อาจารย์และอดีตหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาปนิกผู้มีงานออกแบบอันเป็นเอกลักษณ์ และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญงานในลักษณะ Modern Tropical เบื้องหลังงานเหล่านี้ล้วนมีที่มาจากแนวคิดที่คำนึงถึงผู้คน สถานที่ สภาพแวดล้อม ทั้งหมดนี้หลอมรวมเป็นปัญญาใน ‘Shape of Wisdom ปัญญาสภาวะ’ รายการที่ชวนนักออกแบบมาพูดคุยเพื่อถอดปัญญาของเขา เหล่านั้นผ่านการตกผลึก ความจริง ความดี และความงามที่อยู่ในงาน

อาคิเต็ก (พาไป) เจอเมืองในมุมมองแบบไท้ยไทย

มองมุมเมืองสไตล์ไท๊ยไทย ท่ามกลางแสงแดดเจิดจ้า วันนี้โชคดีที่สายฝนไม่โปรยลงมาเลย เมื่อเราเดินทางมาถึง ‘Everyday Architect & Design Studio’ ที่แฝงตัวกลมกลืนอยู่ในย่านฝั่งธนบุรี

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.