สีสันบรรทัดทอง – ไฟและฟอนต์บนป้ายร้านรวงสีสัน

ถนนบรรทัดทองเต็มไปด้วยร้านอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นร้านดังเก่าแก่หรือร้านใหม่ๆ นอกจากรสชาติอาหารเด็ดโดนลิ้น แต่ละร้านล้วนแข่งขันกันเรียกลูกค้าด้วยป้ายไฟสีสันสดใส ดีไซน์เก๋ๆ เพื่อดึงดูดสายตาทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ‘ป้ายไฟหน้าร้าน’ ถือเป็นสิ่งที่ลงทุนแล้วคุ้มค่า ยิ่งป้ายไฟสว่างแค่ไหน ยิ่งทำให้หน้าร้านมีความสวยงาม โดดเด่นมาแต่ไกล ลูกค้าสังเกตเห็นร้านค้าง่ายขึ้น กระตุ้นให้อยากลิ้มลองรสชาติอาหารของร้าน ขณะเดียวกัน บรรทัดทองยังเป็นย่านใกล้ออฟฟิศ ห้างสรรพสินค้า และมหาวิทยาลัย ทำให้คนที่สัญจรไปมาแถวนั้นมีจำนวนมาก การแข่งขันจึงสูงตามไปด้วย จึงไม่แปลกใจถ้าเราจะเห็นร้านอาหารหน้าใหม่ที่เปิดตัวพร้อมป้ายร้านขนาดใหญ่ ตกแต่งแบบจัดเต็ม แฝงไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ใครแวะไปแถวนั้น กินข้าวเสร็จแล้วลองไปเดินเล่นย่อยอาหาร สังเกตหน้าร้านรวงกันได้ เพลินดีทีเดียว หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes ส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Marimekko Kafé ไลฟ์สไตล์สเปซ ที่เสิร์ฟประสบการณ์และอาหารไทย-ฟินนิช บริเวณชั้น 1 ศูนย์การค้าดิ เอ็มโพเรียม

ใครๆ ล้วนรู้จัก ‘Marimekko’ (มารีเมกโกะ) ในฐานะแบรนด์ไลฟ์สไตล์สัญชาติฟินแลนด์ ที่เป็นที่จดจำจากสีสันสดใสกับลวดลายดอกไม้ แต่หลังจากครองใจผู้คนมานานกว่า 8 ปี ทางแบรนด์ก็ฉลองความสำเร็จด้วยการเปิดตัว ‘Marimekko Kafé’ (มารีเมกโกะ คาเฟ่) ไลฟ์สไตล์สเปซที่จะมาเชื่อมต่อแรงบันดาลใจ ผ่านการครีเอตพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ได้สัมผัสกับการใช้ชีวิตแบบฉบับมารีเมกโกะ มารีเมกโกะ คาเฟ่ เตรียมพร้อมเสิร์ฟประสบการณ์คาเฟ่และร้านอาหารสไตล์โฮมมี่ ภายใต้คอนเซปต์ ‘Comfort Food, Clean & True with Essential Ingredients’ ที่ผสมผสานกลิ่นอายไทย-ฟินนิช พร้อมสมดุลทางโภชนาการอย่างลงตัว และศิลปะบนโต๊ะอาหารจาก Home Collection ของมารีเมกโกะ นอกจากบรรยากาศสเปซที่ทางมารีเมกโกะพยายามดีไซน์ให้อบอุ่นเหมือนมานั่งทานข้าวบ้านเพื่อน และสร้างแรงบันดาลใจผ่านศิลปะการตกแต่ง ที่นี่ยังมีห้องสมุดขนาดเล็ก กับมุมสำหรับเวิร์กช็อปย่อมๆ ที่ตกแต่งอย่างเรียบง่ายแต่แฝงความสนุกเหมือนทุกคนเข้ามาอยู่ใน Witty Girl’s Home Studio ด้วย อีกจุดเด่นของที่นี่คือ การนำเสนอบรรยากาศและไลฟ์สไตล์ภายใต้คอนเซปต์ ‘Witty Girl Playground’ โดย ‘พลอย จริยะเวช’ ผู้เชี่ยวชาญด้านไลฟ์สไตล์ที่เข้ามาเป็นที่ปรึกษาด้านคอนเซปต์ โดยหยิบเอาแบรนด์มารีเมกโกะมาตีความสร้างสรรค์ Marimekko […]

Little Stove & Little Stump สนามเด็กเล่นและคาเฟ่ที่อยากให้ครอบครัวใช้เวลาคุณภาพร่วมกัน

กลิ่นขนมปังอบสดใหม่ลอยจางๆ ในอากาศ ลาเต้ร้อนแก้วหนึ่งวางอยู่ตรงหน้า เรายกขึ้นจิบเชื่องช้า ละเลียดรสขมจากกาแฟที่เบลนด์กับความหวานของน้ำผึ้งได้พอดี ความง่วงงุนจากการออกเดินทางแต่เช้าหายเป็นปลิดทิ้ง “เดือนนี้มีวันพิเศษคือวันผึ้งโลก เราอยากให้เด็กๆ เรียนรู้ว่าผึ้งเป็นสัตว์ที่สำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ในส่วนของสนามเด็กเล่นจะมีเวิร์กช็อปที่สอนเด็กๆ เรื่องนี้ ส่วนคาเฟ่ก็จะทำเมนูที่อินสไปร์ควบคู่ไปด้วยกัน” หญิงสาวคนคิดเมนูอธิบายให้ฟัง หญิงสาวคนนี้คือ ‘พีช-วงศ์ณิชา วงศ์สืบชาติ’ หุ้นส่วน ‘คาเฟ่’ ที่เสิร์ฟกาแฟให้เรา ส่วนที่นั่งข้างกันคือ ‘พราว พุทธิธรกุล’ หุ้นส่วน ‘สนามเด็กเล่น’ ที่เพิ่งถูกพูดถึง Little Stove & Little Stump คือชื่อของคาเฟ่และสนามเด็กเล่นแห่งนี้ และถึงแม้จะตั้งชื่อแยกกันชัดเจน ทว่าทั้งสองร้านตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน นั่นคือลานกว้างริมคลองบางมดในย่านพระราม 2 ที่มีต้นไทรเก่าแก่ตั้งอยู่เด่นหรา รายล้อมไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ ไม่ผิดแน่ว่าเป็นความตั้งใจ พวกเธออยากให้ทุกคนในครอบครัวได้มีพื้นที่ใช้เวลาร่วมกันได้ แต่มากกว่านั้น-ในฐานะแม่ของลูก-พวกเธออยากให้ผู้ใหญ่ไม่พลาดโมเมนต์สำคัญของเด็ก เช้าวันนี้ที่ไร้เสียงเจี๊ยวจ๊าวของน้องๆ เราเอ่ยปากขอให้พวกเธอพาทัวร์คาเฟ่และสนามเด็กเล่นพร้อมกับเล่าเรื่องราวเบื้องหลัง ท่ามกลางกลิ่นขนมปังอบสดใหม่และสีเขียวของพรรณไม้ Little Bond ย้อนกลับไปหลายปีก่อน พีชกับพราวรู้จักกันผ่านสามีที่เป็นเพื่อนกัน ทั้งคู่เจอกันบ่อยจนกลายเป็นเพื่อนสาวคนสนิท แชร์ความชอบ ความฝัน และเรื่องราวในชีวิตประจำวันให้กัน ยิ่งได้มีลูกในระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกันก็ยิ่งเข้าอกเข้าใจกันและกันมากขึ้น หนึ่งในความฝันที่ทั้งสองคนแชร์กันบ่อยๆ คือ ถ้ามีลูก […]

The Goodcery ร้านโชห่วยแบบ Selected Shop ที่อยากให้คนเชียงใหม่ได้ชิมของกิ๋นดีๆ จากท้องถิ่นไทย

ถึงคุณจะไม่ใช่คนที่เดินเข้าร้านขายของชำบ่อยๆ หรือเข้าไปทีก็ไม่ได้ใช้เวลาอ้อยอิ่งอยู่ในร้านนานๆ แต่ถ้าได้รู้จัก ‘The Goodcery’ คุณอาจจะเปลี่ยนใจ ไม่ใช่แค่เพราะร้านขายของชำเชียงใหม่ร้านนี้ออกแบบร้านให้ช้อปสนุก เห็นอะไรก็อยากกินอยากซื้อไปเสียหมด แต่ The Goodcery ทลายกรอบของร้านขายของชำเดิมๆ ไปแบบไม่เหลือเค้า ตั้งแต่ชื่อร้าน The Goodcery ที่มาจากคำว่า Grocery Store หรือ ‘ร้านโชห่วย’ ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่าห่วยในภาษาไทย ร้านจึงหยิบคำที่มีความหมายตรงข้ามคือ ‘ดี’ หรือ Good ที่พ้องเสียงกับคำว่า Goods (สินค้า) อีกทีมาตั้งเสียเลย ถ้าถามว่าร้านมี ‘ดี’ อะไรบ้าง อย่างแรกคงเป็นสินค้าภายในร้านที่ไม่เหมือนกับร้านขายของชำร้านไหน เพราะ ‘น้ำตาล-ภัทรานิษฐ์ ศรีจันทร์ดร’ หนึ่งในหุ้นส่วนเลือกเองกับมือ โดยกำหนดเงื่อนไขไว้หลวมๆ ว่าจะต้องเป็นของโลคอลจากฝีมือชาวบ้านตัวเล็กๆ ในท้องถิ่น เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ที่สำคัญคือไม่ใช่สินค้าที่เราเห็นได้ตามห้างฯ ใหญ่ ดีอย่างที่สอง คงยกให้ไวบ์สของร้านที่ก้าวเข้ามาแล้วรู้สึกว่าไม่ได้อยู่ในร้านขายของชำเลย แต่เป็นคาเฟ่ที่มีกาแฟ ขนมปัง อาหารพร้อมเสิร์ฟ แถมยังนั่งทำงานได้ตลอดทั้งวัน (ซึ่งเราทำแบบนั้นได้จริงๆ) The Goodcery สร้าง ‘ดี’ […]

ลิ้มรสอาหารฝรั่งเศสแท้ๆ ที่ 14 ร้านอาหารทั่วกรุงเทพฯ

ในเดือนแห่งเทศกาลแสนอบอุ่นนี้ เราอยากชวนทุกคนไปเพลิดเพลินกับอาหารฝรั่งเศสรสชาติต้นตำรับในบรรยากาศที่ทันสมัยและเป็นกันเองสุดๆ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยได้จัดเทศกาลอาหารฝรั่งเศสครั้งใหญ่ชื่อว่า Good Food : Christmas Edition ที่ชวนเชฟชาวไทยและต่างชาติจาก 25 ร้านอาหารทั่วประเทศไทย มาร่วมปรุงเมนูฝรั่งเศสแท้ๆ ในธีมคริสต์มาสให้เหล่านักชิมอาหารและคนที่รักประเทศนี้ได้ลิ้มรสกันตลอดทั้งสัปดาห์ แม้ว่าเทศกาล Good Food : Christmas Edition จะจบลงไปแล้ว แต่ใครที่พลาดก็ไม่ต้องเสียใจไป เพราะว่าคอลัมน์ Urban Guide ได้รวบรวม 14 ร้านอาหารฝรั่งเศสทั่วกรุงเทพฯ ที่พร้อมเสิร์ฟอาหารฝรั่งเศสสุดคลาสสิกตลอดปีแบบที่ไม่ต้องบินไปกินไกลถึงต่างประเทศ ใครจะปักหมุดร้านเอาไว้ไปเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสช่วงปลายปี หรือจดลงลิสต์ไว้แวะเวียนไปชิมอาหารในวันสบายๆ ช่วงปีหน้าก็ไม่ติด ร้านที่เราคัดสรรมามีตั้งแต่บาร์เล็กๆ เหมาะกับการสังสรรค์ ร้านอาหารที่ใช้วัตถุดิบออร์แกนิกจากแหล่งผลิตท้องถิ่นของไทย บุฟเฟต์อาหารนานาชาติ รวมถึงห้องอาหารบนชั้นดาดฟ้าที่ปรุงอาหารด้วยวัตถุดิบนำเข้าสุดพรีเมียม 01 | Cagette Canteen & Deli เริ่มกันที่ Cagette Canteen & Deli ตั้งอยู่บนถนนเย็นอากาศ ใจกลางย่านสาทร ที่เป็นให้ทุกอย่างแล้ว ตั้งแต่ร้านอาหารฝรั่งเศสรสเลิศ ร้านขายของชำ และห้องเก็บไวน์ หากใครต้องการลิ้มรสอาหารฝรั่งเศสแบบต้นตำรับในกรุงเทพฯ […]

ลาบเสียบ Jim Thompson Art Center ร้านกับแกล้มอีสานฟิวชันที่อยากเป็นพื้นที่เปิดบทสนทนาให้คนกรุง

ท้องฟ้ายามเย็นกำลังระบายสีส้มอ่อน เราเดินขึ้นบันไดไปสู่ชั้นดาดฟ้าของ Jim Thompson Art Center พลางถอดเสื้อตัวนอกออกเพื่อรับลม พื้นที่ข้างบนนี้กว้างขวาง เงียบสงบ บรรยากาศเหมาะกับการสูดอากาศ จิบเครื่องดื่มเย็นๆ แล้วคุยเรื่อยเปื่อยกับใครสักคน และนั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้มีร้านค้ามาตั้งอยู่ตรงนี้ ‘ร้าน’ ที่เราพูดถึงคือลาบเสียบ ร้านกับแกล้มอีสานฟิวชันที่ไม่ได้เป็นคนแปลกหน้าสำหรับคนในวงการกินดื่มแต่อย่างใด ร้านแห่งแรกก่อตั้งในปี 2563 โดย ‘ฝ้าย-อาทิตย์ มูลสาร’ ชายหนุ่มผู้เปลี่ยนโฮมสตูดิโอในซอยวัดลาดปลาดุกให้เป็นแหล่งสังสรรค์ใหม่ของชาวกรุง ด้วยการเสิร์ฟลาบเสียบไม้ย่างใหม่ๆ คู่กับเครื่องดื่มเย็นฉ่ำ  ย่างไปย่างมาได้สองปี ลาบเสียบก็คิดถึงการขยายกิจการสู่สาขาใหม่ แต่อาทิตย์เกรงว่าจะดูแลทั้ง 2 สาขาไม่ไหว จึงเปลี่ยนแผนเป็นย้ายร้านมาอยู่บนดาดฟ้าของ Jim Thompson Art Center แทน บาร์สีเลือดหมูเปิดโล่งให้ความรู้สึกคล้ายร้านอิซากายะสไตล์ญี่ปุ่น ตกแต่งด้วยอุปกรณ์ในครัวของคนอีสานบ่งบอกว่าเรามาไม่ผิดที่ ในแสงสีส้มของอาทิตย์ยามเย็น อาทิตย์ที่เป็นเจ้าของร้านเดินเข้ามาต้อนรับด้วยรอยยิ้ม เขารับออเดอร์อย่างเป็นมิตรและส่งต่อให้คนครัวรังสรรค์อย่างพิถีพิถัน ช่วงเวลารอลาบเสียบให้สุกนั้น เรามีโอกาสได้นั่งคุยกับเขาเรื่องการทำร้านและการผลักดันอาหารอีสานไปสู่ขอบเขตใหม่ๆ “พอพูดคำว่าลาบเสียบ ถ้าไม่ได้มาเห็นกับตา มากินกับปาก คนทั่วไปอาจนึกภาพไม่ออกว่าลาบเสียบเป็นยังไง ถ้าให้นิยาม คุณจะนิยามแบบไหน” คือคำถามของเราในวันนั้น และต่อจากนี้คือคำตอบสุดนัวจากปากของชายเจ้าของร้าน ลาบเสียบคือร้านกับแกล้ม สันนิษฐานแรกตอนได้ยินคำว่าลาบ เราคิดถึงเมนูลาบอีสานในร้านอาหารทันที แต่อาทิตย์ยืนยันกับเราว่า “ลาบเสียบไม่ใช่ร้านอาหารที่จะมากินเอาอิ่ม” […]

ไขปัญหา Service Charge ไม่จ่ายกรณีไหนได้บ้าง

หากเราไม่ประทับใจบริการของร้านค้า ขอเลือกไม่จ่ายค่า Service Charge ได้หรือไม่ จากประเด็นสังคมเกี่ยวกับ ‘Service Charge’ หรือการเรียกเก็บเงินค่าบริการลูกค้าในอัตราประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของราคาสินค้า ที่ส่วนใหญ่มักจะพบเห็นบ่อยๆ ในธุรกิจสายบริการโดยเฉพาะร้านอาหาร หากลูกค้ารู้สึกว่าไม่ได้รับการใส่ใจหรือบริการพิเศษจากทางร้านเท่าที่ควร พวกเราสามารถปฏิเสธจ่ายค่า Service Charge ได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือเปล่า และต่างประเทศมีเหมือนเราไหม วันนี้ Urban Creature จะไปหาคำตอบกัน Service Charge เหมือน Tip ไหม แรกเริ่มชวนเข้าใจความหมายของ Service Charge กันก่อน อ้างอิงจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือค่าบริการพิเศษที่ผู้ประกอบธุรกิจเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายต่างๆ ในการรับประทานอาหารในร้าน ยกตัวอย่างค่าบริการดังกล่าว เช่น ล้างจาน เก็บโต๊ะ เสิร์ฟอาหาร หรือทำอาหารให้เรากิน ซึ่งค่า Service Charge ที่ลูกค้าจ่ายทั้งหมด ส่วนหนึ่งนำมาแบ่งเป็นรายได้ให้กับพนักงานทุกคนในแต่ละเดือน แตกต่างจากทิป (Tip) เป็นสินน้ำใจที่ลูกค้าให้โดยความสมัครใจ หรือบางร้านถือว่าทิปนั้นเป็นค่าตอบแทนที่พนักงานจะได้รับโดยตรง Service Charge […]

ห้องน้ำสวย บอกต่อด้วย toiletness แอ็กเคานต์อินสตาแกรม ชี้เป้าห้องน้ำสวยตามสถานที่ต่างๆ

เราเชื่อว่าต้องมีคนจำนวนไม่น้อยที่เวลาไปร้านอาหาร เข้าคาเฟ่ หรือแฮงเอาต์ตามสถานที่เก๋ๆ แล้วชอบเข้าห้องน้ำไปถ่ายภาพเซลฟี่หน้ากระจก ตัวเองสวยเป็นหนึ่งเหตุผล แต่อีกเหตุผลคือห้องน้ำเองก็สวยมากจนอยากมีแบบนี้ที่บ้าน เพราะน่าจะอยากแบ่งปันห้องน้ำสวย บอกต่อด้วย ถึงมีคนทำ toiletness แอ็กเคานต์อินสตาแกรมที่มาชี้เป้าห้องน้ำสวยตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะร้านอาหาร คาเฟ่ บาร์ ห้างสรรพสินค้า แกลเลอรี หรือกระทั่งสถานที่งงๆ ก็ยังมี “เวลาไปสถานที่ต่างๆ เรามักชอบสังเกตการออกแบบและการตกแต่งอยู่แล้ว เพราะพื้นฐานเคยเป็นนักเรียนออกแบบ และคิดว่าอีกหนึ่งจุดสร้างประสบการณ์ที่สำคัญ (Touchpoint) ภายในสถานที่คือ ‘ห้องน้ำ’ “เราเริ่มถ่ายรูปห้องน้ำจากสถานที่ต่างๆ มาสักพักแล้ว จนมีเพื่อนบอกให้ลองสร้างเป็น คลังไว้แชร์กับคนอื่นด้วย ก็เลยเริ่มมีแรงจูงใจอยากเก็บภาพห้องน้ำที่มีสไตล์การออกแบบเฉพาะตัว เปิดเป็นแอ็กเคานต์อินสตาแกรมขึ้นมา ความรู้สึกตอนนั้นคือถึงไม่มีคนเห็นหรือสนใจ แอ็กเคานต์นี้ก็ถือเป็น Journal ส่วนตัวของเราแล้วกัน แต่สรุปว่ามีเพื่อนหลายคนทักมาบอกว่าชอบสะสมภาพถ่ายห้องน้ำเหมือนกัน เวลาไปไหนแล้วต้องแวะไปดู เราก็รู้สึกว่าเราไม่ได้บ้าห้องน้ำไปคนเดียว” เจ้าของแอ็กเคานต์ toiletness เล่าให้เราฟัง ห้องน้ำไฟสีแดงซาบซ่านใน Mod Kaew Wine Bar ห้องน้ำสไตล์ปูนเปลือยใน Nangloeng Shophouse ห้องน้ำดาร์กๆ อย่างกับห้องน้ำในภาพยนตร์ที่ Eat Me Restaurant ฯลฯ […]

Tinder แจกฟรี! Explore Guide รวมแหล่งแฮงเอาต์ กิน-ดื่ม-เที่ยว จาก 4 อินฟลูเอนเซอร์ไทยรุ่นใหม่

หลายคนคงรู้จักและคุ้นเคยกับ ‘Tinder’ หนึ่งในแอปพลิเคชันหาคู่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ปัจจุบันให้บริการมากกว่า 40 ภาษาในกว่า 190 ประเทศทั่วโลก นอกจาก Tinder จะเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ช่วยผู้ใช้งานตามหา ‘คู่แมตช์’ ที่อาจพัฒนาเป็นคนรู้ใจในอนาคต แอปพลิเคชันนี้ยังพร้อมช่วยสร้างคอนเนกชันใหม่ๆ ให้กับกลุ่มคนที่มีความชอบและไลฟ์สไตล์คล้ายๆ กันด้วย ล่าสุด Tinder ได้เปิดตัว ‘Tinder Explore Guide’ ดิจิทัลไกด์บุ๊กรวบรวมสถานที่กิน ดื่ม เที่ยว และทำกิจกรรม เพื่อให้คนทุกเจเนอเรชันได้เชื่อมต่อและสัมผัสประสบการณ์แบบออฟไลน์มากขึ้น ซึ่งเป็นการคัดเลือกร้านโปรดจาก 4 อินฟลูเอนเซอร์ไทยรุ่นใหม่ ได้แก่  1) มีเธอ ลพอุทัย TikToker ชื่อดัง tiktok.com/@meturr 2) มิ้น-มิณฑิตา วัฒนกุล นักร้องและนักแสดง instagram.com/mint.tita 3) ต๋อง-อานนท์ ธิติประเสริฐ บาริสต้าแชมป์โลกและเจ้าของร้าน Roast8ry instagram.com/ristr8to/ 4) เชฟชานนท์-ชานนท์ เรืองศรี ผู้เข้าแข่งขันมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซัน 3 instagram.com/chacn_ […]

Home De Cafe คาเฟ่ในลำปางที่ให้ความรู้สึกเหมือนมาบ้านเพื่อน

เมื่อไม่กี่ปีมานี้ กระแส ‘กลับบ้านเกิด’ ของคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ เริ่มก่อร่างสร้างตัวให้เห็นชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ที่เกิดปรากฏการณ์ The Great Resignation หรือการลาออกครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษย์เงินเดือนทั่วโลก ทำให้คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยเริ่มคิดถึงการกลับไปตั้งตัวที่บ้านเกิด บางคนกลับไปสานต่อกิจการของครอบครัว บางคนกลับไปเรียนรู้การทำไร่สวนบนที่ดินของที่บ้าน และบางคนก็กลับไปเริ่มต้นทำธุรกิจของตัวเอง ซึ่งนั่นทำให้ที่ผ่านมาเราได้เห็นพื้นที่สร้างสรรค์ใหม่ๆ เกิดขึ้นเรื่อยๆ ในต่างจังหวัด บ้างซัปพอร์ตชุมชนและคนในท้องถิ่นโดยตรง บ้างซัปพอร์ตพื้นที่รอบๆ โดยทางอ้อม อาจเป็นการสร้างแลนด์มาร์กใหม่ขึ้นมา หรือกระทั่งนำพาวิถีชีวิตใหม่ๆ สู่คนในท้องถิ่น ‘HOME De CAFE’ ร้านอาหารกึ่งคาเฟ่สไตล์ฟิวชันภายในหมู่บ้านสามัคคีฝั่งตะวันออกในตำบลพิชัย จังหวัดลำปางเองก็เป็นหนึ่งในพื้นที่เหล่านั้น  ด้วยเหตุผลที่อยากกลับมาอยู่กับครอบครัว ทำให้ นิก-สุริยา บุตรพิชัย อดีตช่างภาพวัย 29 ปีตัดสินใจทำคาเฟ่เล็กๆ แห่งนี้โดยใช้พื้นที่บ้านที่อาศัยอยู่ รวมถึงความสนใจในศิลปะและประสบการณ์ตอนที่ได้ไปเรียนและทำงานด้านอาหารที่ประเทศออสเตรเลียก่อร่างสร้างสถานที่นี้ขึ้นมาด้วยตัวเองจนตอนนี้ HOME De CAFE เปิดมาได้ปีกว่าแล้ว และพร้อมเติบโตทดลองอะไรใหม่ๆ ตามขวบวัยของเจ้าของ คาเฟ่ในบ้าน เนื่องจากเติบโตมาในครอบครัวข้าราชการ แม่ทำงานราชการ พ่อเป็นทหาร ทำให้นิกต้องใช้ชีวิตอยู่ในกรอบมาตลอด จนกระทั่งในวันที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษา เขาตัดสินใจไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ เพื่อพบเจอผู้คนและบรรยากาศใหม่ๆ ได้ลองดิ้นรนใช้ชีวิตด้วยตัวเอง ถึงอย่างนั้น นิกก็ออกตัวกับเราว่าทุกสิ่งที่ทำล้วนไม่ได้มาจากความตั้งใจแรก […]

Lampang to Bangkok อาหารที่ปรุงจากวัตถุดิบระหว่างทางจากบ้านเกิดที่ลำปางถึงบางกอก

‘ลำปาง-บางกอก’ แค่ได้ยินชื่อก็พอจะนึกออกแล้วว่าต้องเป็นร้านอาหารที่มีกลิ่นอายของภาคเหนือผสมอยู่ด้วยแน่ๆ แต่ที่น่าสนใจคือไอเดียเบื้องหลังอาหารที่เล่าเรื่องราวระหว่างทางจากลำปางถึงบางกอก ‘Lampang to Bangkok’ หรือ ‘ลำปาง-บางกอก’ เป็นคาเฟ่และร้านอาหารในซอยเอกมัย 12 ของ มิ้นท์-วรามล ชุนชาติประเสริฐ เจ้าของแบรนด์เซรามิก Cone Number 9 ที่ต่อยอดเอาความรักในการกินอาหารและความเป็นสาวเหนือแท้ๆ มาถ่ายทอดผ่านอาหารที่ปรุงขึ้นจากวัตถุดิบที่ค้นพบระหว่างเดินทางจากบ้านเกิดที่ลำปางถึงกรุงเทพฯ และเสิร์ฟความอร่อยด้วยจานชามเซรามิกสวยๆ ของ Cone Number 9 ที่อิมพอร์ตมาจากโรงงานที่ลำปาง ทุกวันนี้ร้านอาหารเหนือในกรุงเทพฯ มีเยอะมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เราเชื่อว่าอาหารเหนือในสไตล์ของลำปาง-บางกอกนั้นไอเดียจัดจ้านและไม่ซ้ำกับร้านไหนอย่างแน่นอน นอกจากอาหารจะสนุกแล้ว ยังทำเองตั้งแต่จาน ชาม ไปจนถึงผนังร้าน ให้สมกับเป็นลูกหลานโรงงานเซรามิก ใส่กิมมิกการเดินทางลงไปในอาหารทุกจาน ทำให้เราเหมือนได้แวะกินเที่ยวระหว่างทางไปพร้อมๆ กับเธอ เกิดที่ลำปาง โตที่กรุงเทพฯ มิ้นท์เล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นของลำปาง-บางกอก มาจาก  Cone Number 9  แบรนด์เซรามิกที่เธอต่อยอดมาจากธุรกิจของคุณป้าที่ทำโรงงานเซรามิกที่ลำปางมากว่า 20 ปี มีคอนเซปต์เป็นจานชามแก้วน้ำที่ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน แต่จะมีการดีไซน์ใหม่ ที่ผสมผสานกับสีดั้งเดิมที่มีอยู่ เพื่อให้ทันสมัยและเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคนเมืองมากขึ้น เดิมทีแบรนด์ Cone Number 9 […]

Noodles Head : ชวนสั่ง 10 ร้านอาหารแนะนำสำหรับคนรักเมนูเส้น

อยู่บ้านกันมานาน เมนูอาหารเริ่มจะหมดสต็อก หลายเดือนที่ผ่านมากินร้านเดิมวนไปจนครบทั้งซอย เริ่มนึกไม่ออกว่าวันต่อไปจะกินอะไรดี เรารู้ว่าชาว Work from Home กำลังเจอปัญหานี้กันอยู่ และเนื่องจากมาตรการห้ามนั่งในร้านอาหารทำให้เราออกไป #Saveร้านอาหาร และกระตุ้นเศรษฐกิจกันไม่สะดวกนัก เราจึงอยากชวนทุกคนมาอุดหนุนผู้ประกอบการนอกเขตบ้านกันบ้าง (หรืออาจจะอยู่ใกล้บ้านแต่ยังไม่เคยลอง) สัปดาห์นี้เรามาพร้อมกับ 10 ร้านเมนูเส้นที่พวกเรารักและไม่อยากให้หายไป ใครเป็นสาวกเส้นขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว พาสต้า ราเมน ข้าวซอย คั่วไก่ เราคัดสรรมาแล้วแบบนานาชาติ ใครชอบเส้นประเภทไหนเลือกแล้วตามไปสั่งได้ในโพสต์นี้  1. พาสต้า | Knock Knock Cafe & Bar Picks By ธนาวดี แทนเพชร ช่วง WFH แบบนี้ใครอยู่ใกล้ละแวกย่านอารีย์เราอยากชวนมาชิมพาสต้าโฮมเมดที่ Knock Knock Cafe & Bar เพราะร้านนี้เป็นคาเฟ่ที่เด่นเมนูพาสต้า เส้นดีและเครื่องแน่นทุกจาน เมนูที่ชวนลองคือ Capellini Aglio e Olio w/ Bacon & […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.