ร่วมเป็นอีกเสียงช่วยเปลี่ยนเมืองกับ 13 เรื่องเบื้องต้นครอบคลุม ‘งาน เงิน คน’ ที่ กทม.ขอฟังเสียงคนกรุงผ่านร่าง พ.ร.บ.กรุงเทพฯ

รู้หรือไม่ว่า พ.ร.บ.กรุงเทพฯ ฉบับเดิมนั้นใช้มานานตั้งแต่ พ.ศ. 2528 หรือเป็นเวลากว่า 40 ปีแล้ว และเพื่อแก้ปัญหาให้ทันสมัย ตรงจุดมากขึ้น กทม.จึงเปิดให้ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อนำไปเป็นแนวทางแก้ไข พ.ร.บ.นี้ ซึ่งหลังเปิดให้แสดงความคิดเห็นได้เพียง 4 วัน ก็มีผู้เข้าร่วมกว่า 10,000 เสียงแล้ว เว็บไซต์ กทม. 2528 เป็นช่องทางแสดงความคิดเห็น และโหวตเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอจากปัญหา 13 เรื่องเบื้องต้น เพื่อนำไปเป็นแก้ไขร่างพระราชบัญญัติกรุงเทพฯ ฉบับใหม่ และนำเสนอต่อกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุม 3 ประเด็นหลักอย่าง ‘งาน เงิน คน’ ประเด็นแรก งานหรืออำนาจหน้าที่ โดยเฉพาะเงื่อนไข ปัญหา หรืออุปสรรคในการดำเนินงานของหน่วยงานภายใต้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 เป้าหมายที่จะดำเนินภารกิจภายใต้อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานเพื่อพัฒนากรุงเทพมหานคร เงิน คือรายได้และงบประมาณ ส่วนคนหรือโครงสร้างการบริหารราชการ ทั้งหมดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเมือง นอกจากจะเป็นประชามติ รับฟังความคิดเห็นปัญหาเมืองๆ ของชาวกรุงเทพฯ แล้ว เว็บไซต์นี้ยังเป็นแหล่งรวบรวมปัญหาที่คนกรุงให้ความสำคัญ รวมถึงทำให้รู้ว่าเราไม่ใช่คนเดียวที่มองว่าประเด็นเหล่านี้เป็นปัญหา เพราะยังมีเพื่อนชาวเมืองอีกกว่า 9,000 คนที่เห็นว่าปัญหาทางเท้า […]

Hakata อาณาจักรขนส่งสาธารณะที่รวมทุกการเดินทางไว้ในที่เดียว

‘ฮากาตะ’ ถ้าได้ยินชื่อนี้แล้วคิดถึงอะไรกันบ้าง กลิ่นหอมกรุ่นของราเม็งน้ำซุปกระดูกหมู ตลาด Christmas Market ย่านช้อปปิงขนาดใหญ่ที่เดินซื้อของเชื่อมต่อกันได้ไม่สะดุด หรือสถานีชื่อดังที่ถ้าอยากท่องเที่ยวในภูมิภาคคิวชูให้ครบๆ สักครั้งต้องใช้สถานีนี้เป็นจุดเชื่อมต่อ และหากใครเคยได้ยินเรื่องที่รัฐบาลไทยสนใจรวมขนส่งสาธารณะไว้ในที่เดียวเพื่อให้การเดินทางในไทยไร้รอยต่อ โมเดลที่รัฐบาลนำมาใช้เป็นต้นแบบก็คือ ฮากาตะ เมืองฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่นนี่เอง คอลัมน์ City in Focus จึงขอชวนทุกคนมาดูย่านที่ทำให้การเดินทางด้วยรถ ราง บัสเป็นเรื่องง่าย แสนสบาย เชื่อมต่อรถ-ราง-บัส ในพื้นที่เล็กๆ ของฮากาตะแห่งนี้ รู้หรือไม่ว่าที่นี่ประกอบไปด้วยศูนย์รวมการเดินทางทั้งบัส แท็กซี่ รถไฟฟ้าใต้ดิน ชินคันเซ็น และรถไฟ JR โดยเหมาะทั้งสำหรับการเดินทางในเมืองฟุกุโอกะเอง และเดินทางออกไปต่างเมือง ไม่ว่าจะโตเกียว นาโกยา หรือไปดู World Expo ที่โอซากาก็ยังได้ นอกจากสถานีกลางนี้จะรวบรวมทุกการเดินทางเอาไว้แล้ว ตำแหน่งที่ตั้งของสถานีฮากาตะยังมีความพิเศษตรงที่สถานีนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองฟุกุโอกะ ในระยะที่ไปถึงพื้นที่สำคัญๆ ได้ในเวลาเพียงน้อยนิด เช่น หากจะไปช้อปปิงที่แหล่งวัยรุ่นอย่างเทนจินก็ห่างเพียง 3 สถานี ใช้เวลาเดินทาง 5 นาทีเท่านั้น หรือจะไปสนามบินก็ใช้เวลาเพียง 2 สถานีเช่นเดียวกัน โดยปกติด้วยความยิ่งใหญ่ของรถยนต์ ราง […]

คุณก็เป็นได้นะ ฮีโรน่ะ Bangkok Keepers เหล่าฮีโรพลังวิเศษ เล่าเรื่องเมืองหลวงที่ส่งต่อเรื่องราวและความสำคัญของคนทำงานขับเคลื่อนเมือง

“ถึงจะเป็นคนกรุงเทพฯ มาตั้งแต่เกิด แต่พอมาทำโปรเจกต์นี้ก็ได้รู้ว่าเราไม่รู้จักอะไรเกี่ยวกับกรุงเทพฯ เลย เพราะที่ผ่านมาเราไม่เคยตั้งใจดูเมืองของเรา” ‘ซัน-ชาคร ขจรไชยกูล’ เจ้าของ SUNTUDIO ผู้จบจากภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม (Industrial Design) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ปัจจุบันทำงานเกี่ยวกับ Character Design วาดภาพประกอบและงานปั้นโมเดล เล่าถึงตนเองกับชีวิตในกรุงก่อนเริ่มต้นทำโปรเจกต์ Bangkok Keepers จุดเริ่มต้นของเหล่าฮีโร โปรเจกต์ Bangkok Keepers เริ่มต้นจากการเป็นธีสิสที่ซันมีความสนใจเรื่องเหล่าซูเปอร์ฮีโรมาตั้งแต่เด็กๆ ประจวบเหมาะกับช่วงนั้นเป็นเวลาที่ Marvel กำลังดังพอดี เขาจึงลองมาคิดว่าถ้าไทยมีฮีโรจะเป็นอะไรได้บ้าง ซึ่งตัวซันเองไม่ได้อยากตีความไปทางความเป็นไทยแบบดั้งเดิมเพราะมีคนทำกันเยอะแล้ว เลยอยากเล่นกับความเป็นไทยในรูปแบบอื่นๆ ที่ใกล้ตัวมากกว่าอย่างฮีโรกรุงเทพฯ หลังจากได้โจทย์ฮีโรกรุงเทพฯ ซันก็มาต่อยอดว่าสิ่งหรือบุคคลที่เหมาะกับการเป็นฮีโรของเมืองเราคือ พี่ๆ พนักงานทำความสะอาดของกรุงเทพฯ ทั้งพนักงานกวาดถนน พนักงานเก็บขยะ และพนักงานสูบสิ่งปฏิกูล เพราะเป็นกลุ่มอาชีพที่เหมือนดั่งฮีโรช่วยเหลือเมืองแต่กลับถูกมองข้ามอยู่บ่อยครั้ง สามฮีโรยอดนักดูแลเมือง ฮีโร 3 ตัวที่ซันอยากเล่าภายใต้โปรเจกต์นี้คือ Sweeprine ฮีโรสาวกวาดถนน ซึ่งเป็นฮีโรตัวแรกที่ออกแบบ เธอเป็นคนกวาดถนนที่โดนสารเคมีบางอย่างเข้าจนทำให้มีพลังวิเศษ สามารถสะสมความร้อนจากการทำงานกวาดถนนกลางแดดทั้งวันแล้วปล่อยกลับออกมาเป็นเปลวไฟได้ ตัวที่สองคือ The Plunger Man ฮีโรสูบส้วมรุ่นลุง […]

ถอดโครงสร้างปฏิรูปรถเมล์ไทย ปัญหาที่แท้จริงอยู่ตรงไหนกันแน่

เชื่อว่าภาพจำของรถเมล์ในกรุงเทพฯ คงไม่ใช่สิ่งสวยงามในสายตาชาวกรุงอย่างเราเท่าไร เพราะเมื่อนึกถึงรถเมล์กรุงเทพฯ แวบแรกก็คงนึกถึงรถเมล์ร้อนสภาพเก่าที่ขับรถหวาดเสียวไปมา และยังต้องรออย่างไม่มีความแน่นอนว่ารถจะมาตอนไหน แถมยังต้องมาคอยลุ้นอีกว่าจะจอดรับหรือไม่ สถานการณ์รถเมล์เมืองกรุงยิ่งแล้วใหญ่กับเหตุการณ์ตอนนี้ที่มีการ ‘ปฏิรูป’ เส้นทางรถเมล์กรุงเทพฯ จนทำให้หลายคนรู้สึกว่าใช้เวลารอนานขึ้นกว่าเดิมมาก ระหว่างนั้นก็มีแต่รถเมล์เลขสายแปลกๆ วิ่งมาไม่หยุด พอรถมาก็ต้องพบว่าสายที่ตัวเองคุ้นเคยนั้นไม่ได้วิ่งไปปลายทางที่เคยคุ้นแล้ว สุดท้ายเมื่อต้องผิดหวังซ้ำๆ ก็เลยอดพาลคิดไม่ได้ว่า “ปฏิรูปแบบนี้ อย่าทำเลยดีกว่า” มุมมองนี้คงไม่ได้เกิดขึ้นกับเราคนเดียว เพราะเปิดดูในโซเชียลมีเดียก็เหมือนจะมีคนมองการปฏิรูปนี้ย่ำแย่ไม่แพ้กัน ทำไมการสังคายนารถเมล์ที่ควรดีขึ้นถึงกลายเป็นแบบนี้ แล้วจะมีทางไหนช่วยแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ได้ คอลัมน์ Report ขออาสาพาไปดูรากเหง้าของปัญหาเรื่องนี้กัน 01 | กำเนิดโครงการปฏิรูปรถเมล์ เชื่อหรือไม่ว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพยายามปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ในกรุงเทพฯ แต่กรมการขนส่งทางบกเคยมีความคิดจะปฏิรูปรถเมล์ถึง 4 ครั้ง เริ่มจากครั้งแรกในช่วงปี 2538 ที่มีการใช้ตัวอักษร ‘ป’ ‘ร’ ‘ท’ เข้ามา ตามด้วยช่วงปลายปี 2544 ที่มีการเปลี่ยนเลขสายจาก ‘ปอ.X’ เป็น ‘5xx’ และมีการปฏิรูปอีกครั้งในปี 2552 พร้อมกับเรียงเลขสายใหม่เป็น ‘601’ ถึง ‘755’ ก่อนจะมาลงเอยที่โครงการปัจจุบัน แต่ที่ผ่านมามีเพียงการเปลี่ยนเลขสายในปี 2544 เท่านั้นที่สามารถดำเนินการสำเร็จ […]

ความหวังใหม่เมืองกาญจน์? พาชมรถเมล์ไฟฟ้าทดลองวิ่งโฉมใหม่ ในเส้นทาง ตลาดลาดหญ้า-ท่าม่วง

รถเมล์ไฟฟ้าอาจเป็นสิ่งปกติที่เห็นจนชินตาของคนกรุงเทพฯ แต่สำหรับจังหวัดอื่นๆ หรือแม้แต่ตัวเมืองหลายจังหวัดต่างไม่มีรถเมล์ที่รอบวิ่งแน่นอน หรือกระทั่งไม่มีรถเมล์วิ่งในพื้นที่ด้วยซ้ำไป แต่เหมือนว่าอนาคตอันใกล้นี้จะมีสัญญาณที่ดีขึ้นในจังหวัดกาญจนบุรีแล้ว เพราะเมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา ทาง ‘อบจ.กาญจนบุรี’ ได้ร่วมมือกับ ‘บริษัท ไทยแสงเจริญ เซอร์วิส จำกัด’ บริษัทนำเข้ารถโดยสารในประเทศไทย ในการนำรถเมล์แอร์พลังงานไฟฟ้าที่เป็นรถชานต่ำ ซึ่งไม่ต้องก้าวขึ้นบันไดหลายขั้นเหมือนรถเมล์แบบเดิม และมีทางลาดรองรับรถเข็นวีลแชร์เข้ามาทดลองให้บริการในตัวเมืองกาญจนบุรี เส้นทางระหว่างตลาดลาดหญ้า-ท่าม่วง นับเป็นครั้งแรกจากเดิมที่มีเพียงแค่รถสองแถวและรถเมล์พัดลมคลาสสิกวิ่งอยู่เท่านั้น ตัวรถได้ทำการทดลองออกวิ่งในช่วงเช้าและเย็นจำนวน 2 รอบ ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม จนถึง 3 กุมภาพันธ์ 2568 และคาดว่าจะเปิดให้บริการจริงในช่วงกลางปีนี้ โดยมีผู้ใช้บริการหลักเป็นนักเรียนในพื้นที่ที่จำเป็นต้องใช้รถสาธารณะในการไป-กลับโรงเรียนและที่พักอาศัยอยู่แล้ว จังหวัดกาญจนบุรีถือเป็นจังหวัดที่ 2 ที่มีการนำรถเมล์ไฟฟ้าออกมาทดลองให้บริการ ต่อจากก่อนหน้านี้ที่มีการทดลองวิ่งที่จังหวัดภูเก็ต ในเส้นทางรถเมล์ของ อบจ.ภูเก็ต มาแล้วในช่วงประมาณต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เริ่มมีแนวคิดเกี่ยวกับการเปิดเส้นทางรถสาธารณะในตัวเมืองโดย อบจ.เองมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้มีแนวโน้มเห็นรถสาธารณะในตัวเมืองต่างจังหวัดมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีความน่ากังวลใจอยู่ไม่น้อย เนื่องจากส่วนมากหลังการทดลองให้บริการ รัฐมักไม่ให้บริการเองแต่เปิดให้เอกชนที่สนใจมาให้บริการมากกว่า ส่งผลให้ถึงแม้เส้นทางมีความต้องการ แต่ถ้าเอกชนเห็นว่าให้บริการแล้วไม่คุ้มทุน เส้นทางเหล่านี้ก็จะถูกลดรอบให้น้อยลงจนไม่สะดวกสบายกับคนในพื้นที่และหายไปอีกครั้งหนึ่งในที่สุด Sources :EV-roads | tinyurl.com/yycrun5xเมืองกาญจน์.com | […]

โฆษณาข้างรถเมล์ มีความชอบธรรมขนาดไหนในการบังทิวทัศน์

ในโลกทุนนิยมนั้นคงเป็นปกติที่เราจะเห็นโฆษณาสินค้ารายล้อมอยู่ตามที่ต่างๆ ตามความสร้างสรรค์ ตั้งแต่บนป้ายบิลบอร์ด ในโซเชียลมีเดีย จนไปถึงข้าง ‘รถเมล์’ รถเมล์ไม่ได้เป็นแค่รถสาธารณะที่วิ่งรับส่งผู้โดยสารไปยังปลายทาง แต่ยังเป็นพื้นที่โฆษณารูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยนับว่าเป็น ‘สื่อเคลื่อนที่’ ที่ไม่ได้ตั้งอยู่กับที่เหมือนป้ายโฆษณาอื่นทั่วไป แต่จะวิ่งไปตามที่ต่างๆ รอบเมืองตลอดทั้งวัน โอกาสที่ผู้คนจะได้เห็นโฆษณาบนรถเมล์จึงมีมากกว่าด้วย อย่างไรก็ตาม แม้จะช่วยให้ผู้คนรับรู้ถึงการมีอยู่ของโฆษณานี้มากขึ้น แต่ดูเหมือนว่าที่ผ่านมาโฆษณาบนรถเมล์จะไม่ใช่สิ่งน่าอภิรมย์สำหรับผู้โดยสารเท่าไร เพราะหลายครั้งก็ติดทับกระจกจนคนข้างนอกรถมองไม่เห็นข้างใน ส่วนคนข้างในรถก็มองเห็นแต่ร่องจุดเล็กๆ ชวนเวียนหัว ยิ่งถ้าฝนตกเมื่อไร ร่องเล็กๆ ที่เจาะไว้ก็มักมีน้ำซึมเข้ามาจนผู้โดยสารในรถแทบจะถูกตัดขาดการมองเห็นโลกภายนอกไปเลย ไม่ใช่แค่บดบังทัศนียภาพ แต่ยังชวนสงสัยไปถึงความปลอดภัยอื่นๆ เพราะรถเมล์บางคันติดโฆษณาทับประตูฉุกเฉินไปทั้งบาน ในขณะที่รถบางคันก็เว้นไว้ จนไม่รู้ว่าสรุปแล้วสามารถติดทับได้ไหม จากคำถามมากมายเหล่านี้ทำให้เกิดความสงสัยว่า แล้วโฆษณาบนรถเมล์ที่ผ่านหน้าเราทุกวันนี้อยู่อย่างถูกต้องแค่ไหน แล้วจะมีทางติดโฆษณาแต่ไม่บังวิวบ้างหรือเปล่า คอลัมน์ Curiocity ครั้งนี้จะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน โฆษณาข้างรถเมล์มีรูปแบบไหนบ้าง ปัจจุบันรถเมล์ในกรุงเทพฯ มีรูปแบบการติดโฆษณาข้างรถอยู่ 2 แบบด้วยกัน แบบแรกคือ ‘Full Wrap’ ซึ่งเป็นการติดโฆษณาทับตัวถังรถทั้งคัน และ ‘Half Wrap’ ซึ่งเป็นการติดทับเพียงแค่ช่วงครึ่งคันหน้าหรือตรงกลางของรถเท่านั้น ความแตกต่างระหว่างการติดโฆษณาแบบ Full Wrap และ Half Wrap อยู่ตรงที่ Full […]

Acousticity | ภูมิจิต ชีพจร Live Session @ป้ายรถเมล์

‘เช้าที่ตื่นขึ้นมารีบขึ้นรถเมล์สาย 29 ยืนเบียดๆ เสียดๆ จุดหมายปลายทางคือหมอชิต กว่าจะลงรถก็ติดเหลือเกิน’ หนึ่งท่อนในเนื้อเพลง ‘ชีพจร’ ที่สะท้อนชีวิตและภาพของเมืองกรุงเทพฯ ได้เป็นอย่างดี ความวุ่นวายจากชีวิตที่ต้องตื่นเช้าไปทำงานในทุกวันที่หลายคนคงมีจุดร่วมกันภายใต้เมืองนี้ จนหลายๆ ครั้งเรามัวแต่เสียเวลาชีวิตไปกับการทำงาน จนหลงลืมความฝันหรือจุดหมายปลายทางที่ตัวเองเคยตั้งไว้ หากวันนี้พลังของคุณเหลือน้อยเต็มที เราอยากให้คุณลองฟังเพลงนี้ เพื่อหวังว่าชีพจรของคุณจะกลับมามีแรงอีกครั้งและก้าวเดินต่อไปอย่างมีพลัง วันนี้ Urban Creature ชวน ‘ภูมิจิต’ ศิลปินอิสระ มาบรรเลงเพลง ชีพจร ให้ทุกคนฟังกันที่ป้ายรถเมล์ย่านเอกมัย ในรายการ Acousticity รายการที่จะนำศิลปินมาเล่นเพลงในพื้นที่สาธารณะของเมือง พร้อมอบอวลไปด้วยเสียงบรรยากาศของพื้นที่นั้น และรับรู้เบื้องหลังภายใต้เสียงเพลงที่เราได้ยิน สามารถติดตามวงภูมิจิตได้ที่ : www.facebook.com/poomjitband และ www.instagram.com/poomjitband

24 Hours Journey in Bangkok ขนส่งของคนกรุงฯ

“รถติดอีกละ”“โห…ทำไมคนเยอะจัง”“คนเยอะจัง เดี๋ยวดึกๆ เราค่อยกลับดีกว่า” ประโยคเหล่านี้มักเป็นสิ่งที่หลายๆ คนแอบคิดขึ้นมาในหัว ขณะที่เราต้องเดินทางโดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ ซึ่งเราเองก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน  ตั้งแต่เข้ามาเรียนต่อที่นี่ เราตั้งคำถามเกี่ยวกับจำนวนคนที่ใช้ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ อยู่บ่อยครั้ง จนกลายเป็นภาพจำของหลายๆ คนเวลามองเข้ามาเห็นชีวิตของคนเมืองกรุง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้นำไปสู่การสร้างผลงานภาพถ่ายชุด Journey in Bangkok ที่ต้องการจะเล่าถึงการเดินทางในแต่ละวันของคนเมืองกรุง เพื่อสะท้อนภาพการเดินทางในรูปแบบต่างๆ ผ่านระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานคร รับชมภาพเพิ่มเติมได้ที่ : 24 Hours Journey in Bangkok หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

ขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ หันไปทางไหนก็เจอแต่อันตราย?

กรุงเทพฯ คือเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขนส่งสาธารณะหลากประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือข้ามฟาก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสองแถว รถตุ๊กตุ๊ก ฯลฯ ที่พร้อมพาผู้โดยสารฝ่าทุกรถติดและซิ่งไปให้ถึงทุกพื้นที่เส้นเลือดฝอยที่กระจายอยู่ทั่วเมือง ถือเป็นยานพาหนะที่เกิดมาเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์แสนเร่งรีบของชาวกรุง ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาเครือข่ายขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุมของมหานครแห่งนี้ด้วย แต่ถ้าสังเกตดีๆ นอกจากความรวดเร็วและความสะดวกสบาย การใช้บริการขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ เหล่านี้ยังมาพร้อมความเสี่ยงและอันตรายรอบด้าน เช่น รถเมล์ขับเร็วและกระชาก เรือข้ามฟากเจอคลื่นลมแรงจนเกือบจม หรือแม้แต่วินมอเตอร์ไซค์ที่พาขี่ซิกแซกปาดซ้ายขวา จนผู้โดยสารต้องนั่งลุ้นตัวเกร็งและรู้สึกไม่ปลอดภัยเอาเสียเลย ในเมืองที่ผู้คนเดินทางแทบจะตลอดทั้งวัน มีขนส่งสาธารณะประเภทไหนบ้างที่ดูไม่ค่อยปลอดภัย เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุต่อทั้งคนขับและผู้โดยสาร คอลัมน์ Report ขอชวนไปสำรวจอันตรายใกล้ตัวผ่านบทความนี้ โดยหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการชี้ปัญหาซึ่งนำไปสู่การเสริมสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้กับขนส่งสาธารณะไทย รถเมล์ : รถโดยสารประจำทางที่ทั้งเร็วและแรง เริ่มกันด้วยขนส่งสาธารณะที่คนส่วนมากเลือกใช้อย่าง ‘รถเมล์’ เพราะค่าเดินทางถูกกว่ารถไฟฟ้าบีทีเอสหรือรถไฟฟ้าใต้ดินหลายเท่าตัว แต่ข้อเสียที่ผู้โดยสารต้องเจอคือการจราจรที่ติดขัด ทำให้การเดินทางหนึ่งเที่ยวอาจใช้เวลานานเป็นชั่วโมง เท่านั้นยังไม่พอ การเดินทางด้วยรถเมล์ไทยยังมาพร้อมกับอันตรายและความเสี่ยง โดยเฉพาะ ‘รถเมล์ธรรมดา’ หรือ ‘รถเมล์ร้อน’ ที่มีสภาพเก่าคร่ำครึ ประตูหน้าต่างชำรุด แถมยังไม่เหมาะกับสภาพอากาศร้อนหรือฝนตกชุกของเมืองไทยอีกด้วย ที่อันตรายไปกว่านั้นคือ รถเมล์ไทยที่มีสภาพทรุดโทรมยังอาจก่อให้เกิดเหตุไฟลุกไหม้ได้เช่นกัน โดยระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2561 มีรายงานข่าวรถเมล์เกิดเพลิงไหม้อย่างน้อย 13 ครั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ […]

น้ำมันแพง ประชาชนลำบากทั้งประเทศ รถโดยสารลดเที่ยววิ่ง 80 % และปิดกิจการ กระทบการเดินทางข้ามจังหวัด

เข้าสู่ช่วงยากลำบากของประชาชนของจริง เพราะนอกจากเศรษฐกิจที่ย่ำแย่แล้ว สินค้าเกือบทุกรายการก็ปรับราคาสูงขึ้นจนหลายคนตั้งตัวไม่ทัน แต่ถึงกระนั้น สิ่งที่ปรับราคาสูงขึ้นแล้วกระทบชีวิตประชาชนอย่างเห็นได้ชัด คงหนีไม่พ้นราคาน้ำมันที่แพงขึ้นเรื่อยๆ ว่ากันว่าจากเดิมที่เติมน้ำมันเต็มถังราคา 1,000 บาท แต่ตัดภาพมาปัจจุบัน ราคากลับดีดตัวสูงขึ้นไปเกือบอีกเท่าหนึ่ง ควักแบงค์พันสองใบมาจ่ายก็เหลือเงินทอนไม่เท่าไหร่แล้ว นอกจากผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัวที่อ่วมกับค่าน้ำมันแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจรถโดยสารเองก็หนักหนาสาหัสไม่แพ้กัน ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา นายกกิจการรถโดยสารประเทศไทย ได้ประชุมหารือกับผู้ประกอบการขนส่ง และบริษัทรถร่วมทั่วประเทศ เนื่องจากต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง จนได้เป็นมติกำหนดให้รถโดยสารลดเที่ยววิ่งลง 80 % ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป โดยจะมีการประเมินสถานการณ์กันว่าจะสามารถดำเนินกิจการต่อได้หรือไม่ โดยประชาชนที่จะเดินทาง สามารถตรวจสอบเที่ยววิ่งรถในแต่ละวันได้ทางเว็บไซต์หรือช่องทางติดต่อของทุกบริษัท ที่เป็นแบบนั้นเพราะอัตราค่าโดยสารปัจจุบันที่ใช้กันอยู่คือ อัตราที่ใช้เมื่อปี 2562 เป็นตอนที่น้ำมันเชื้อเพลิงราคาลิตรละ 27 บาท แต่ตอนนี้น้ำมันเชื้อเพลิงปรับราคาขึ้นมาที่ลิตรละ 35 บาท ทั้งยังมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ที่ผ่านมาผู้ประกอบการหลายเจ้าก็แบกค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นส่วนนี้ไม่ไหวแล้ว บางเจ้าถึงกับขายรถไปเป็นร้อยคัน หรือกระทั่งตัดเป็นเศษเหล็กชั่งกิโลขายก็มี หากพิจารณาดีๆ จะเห็นว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ใช่ปรากฏการณ์แรกที่สะท้อนถึงวิกฤติค่าน้ำมันที่ส่งผลต่อรถโดยสารในไทย เพราะเมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 เจ๊เกียว หรือ นางสุจินดา เชิดชัย นายกสมาคมผู้ประกอบการรถร่วมโดยสาร บขส.และเจ้าของอู่เชิดชัย […]

รอรถเมล์แบบไม่กลัวร้อน! ชวนสำรวจป้ายรถเมล์อัจฉริยะเกาหลีใต้ มีแอร์ Wi-Fi ฟรี ป้องกันโควิด-19 ได้

ใครใช้รถเมล์เป็นประจำคงรู้ดีว่า ป้ายรถเมล์อาจเป็นหนึ่งอุปสรรคของการเดินทางในแต่ละวัน เพราะจุดรอรถเมล์หลายแห่งในไทยยังไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานเท่าที่ควร เช่น ไม่มีไฟส่องสว่าง ไม่มีหน้าจอแสดงข้อมูลและระยะเวลารอรถ ที่แย่ไปกว่านั้น บางแห่งยังไม่มีหลังคากันแดด กันฝน ทำให้คนเดินทางต้องรอรถเมล์อย่างเหน็ดเหนื่อยและยากลำบากในช่วงสภาพอากาศแปรปรวน ทั้งนี้ ป้ายรถเมล์ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบขนส่งสาธารณะที่หลายประเทศให้ความสำคัญ และพยายามปรับปรุงให้ทันสมัยและตอบโจทย์ประชาชนมากที่สุด หนึ่งในประเทศที่พัฒนาป้ายรถเมล์อย่างต่อเนื่องก็คือ ‘เกาหลีใต้’  เพราะเหตุนี้ เราจึงอยากพาทุกคนไปสำรวจ ‘ป้ายรถเมล์อัจฉริยะ’ หรือ ‘Smart Shelter’ ที่เกาหลีใต้ออกแบบขึ้นเพื่อส่งเสริมการเดินทางของผู้คนอย่างรอบด้าน หน้าตาของป้ายรถเมล์นี้คล้ายกับตู้กระจกขนาดใหญ่ที่มาพร้อมกับอุปกรณ์และเทคโนโลยีทันสมัยมากมาย ก่อนเข้าใช้บริการ ผู้ใช้งานต้องสแกนใบหน้าเพื่อตรวจจับความร้อนเพื่อคัดกรองและรับมือกับการระบาดของโควิด-19 โดยประตูจะเลื่อนเปิดให้กับผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 37.5 องศาเซลเซียสเท่านั้น ส่วนภายในได้ติดตั้งระบบปรับอากาศและหลอดไฟอัลตราไวโอเลต สำหรับควบคุมอากาศให้เย็นสบายไปและฆ่าเชื้อไวรัสไปพร้อมๆ กัน โดยระบบนี้สามารถฆ่าเชื้อโรคและเชื้อไวรัสได้มากถึง 99 เปอร์เซ็นต์ ช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัสและทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น อุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นๆ ได้แก่ เครื่องกดแอลกอฮอล์อัตโนมัติ ปลั๊กชาร์จไฟ Wi-Fi ฟรี และหน้าจอดิจิทัลแสดงตารางรถเมล์ เพื่อแจ้งเตือนผู้โดยสารว่ารถเมล์กำลังจะมาถึง ที่สำคัญ ยังมีกล้องวงจรปิด กระดิ่งแจ้งเตือน และเซนเซอร์ตรวจจับเสียง ที่เชื่อมต่อกับสถานีตำรวจและสถานีดับเพลิงสำหรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ส่วนหลังคาป้ายรถเมล์ก็มีแผงโซลาร์เซลล์สำหรับกักเก็บไฟสำรองด้วย เกาหลีใต้เริ่มติดตั้งป้ายรถเมล์อัจฉริยะกรุงโซลตั้งแต่ปี 2020 และตอนนี้เมืองหลวงของประเทศมีป้ายรถเมล์โมเดลนี้ทั้งหมด 28 แห่งแล้ว ข้อมูลล่าสุดเปิดเผยว่า […]

น้ำมันแพง คนใช้รถสาธารณะลำบาก เมื่อค่ารถไฟฟ้าสูงลิบและค่ารถเมล์ขึ้นรวดเดียว 17 บาท

เชื่อไหม ถ้าเราบอกว่า เดือนมีนาคม 2565 คือเดือนที่มีแต่ของขึ้นราคา ไม่ใช่เรื่องเกินจริง เพราะราคาน้ำมันที่กลับมาสูงแตะราคา 50 บาทต่อลิตร ทำให้หน่วยงานรัฐออกมาบอกประชาชนว่าต้องใช้ขนส่งสาธารณะเพื่อประหยัดน้ำมันแทน ตัดภาพมาที่อีกมุมหนึ่งของกรุงเทพฯ ในวันที่ 1 มีนาคม 2565 มีการประกาศยกเลิกให้บริการรถเมล์ครีม-แดงในเส้นทาง ‘สาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง’ ซึ่งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) เดินรถเมล์ธรรมดาในเส้นทางสายนี้มากว่า 46 ปี โดยได้ส่งไม้ต่อให้กับบริษัทเอกชนที่ใช้รถเมล์ปรับอากาศพลังงานไฟฟ้าเพื่อให้บริการในเส้นทาง ‘สาย 7 ศึกษานารีวิทยา-หัวลำโพง’ ฟังเผินๆ ดูจะมีแต่ข้อดี เพราะการผลัดใบให้ภาคเอกชนที่มีศักยภาพนำรถเมล์ไฟฟ้าเข้ามาให้บริการแทนรถเมล์เก่า ถือเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคนในเมืองให้ดียิ่งขึ้น แต่ทำไมรถเมล์ใหม่นี้กลับกลายเป็นเรื่องคนนำมาถกเถียงขึ้นมาได้… ว่าแต่จะเถียงกันเรื่องอะไร ตามเรามาสำรวจการเปลี่ยนแปลงนี้ไปพร้อมๆ กันได้เลย รถเมล์ใหม่มาพร้อมราคาใหม่ที่สูงขึ้น แม้ข้อดีของรถเมล์ไฟฟ้ามาใหม่ จะมาพร้อมกับความเป็นมิตรต่อผู้คนในเมืองมากขึ้น ทั้งเรื่องมลภาวะทางอากาศและมลภาวะทางเสียงที่หายไป ผู้ใช้รถเข็นก็สามารถขึ้นรถได้ง่ายกว่าเดิม เพราะทางขึ้นรถเมล์รุ่นนี้ไม่มีขั้นบันได แต่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกลับมาพร้อมกับค่าเดินทางที่สูงขึ้นเป็นเงาตามตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากรถเมล์ สีครีม-แดงธรรมดา ที่เก็บค่าโดยสารราคา 8 บาทตลอดสาย เมื่อเปลี่ยนเป็นรถใหม่ก็เปลี่ยนการคิดค่าโดยสารมาเป็นเรตตามระยะทาง เริ่มต้นที่ 15 บาท แตะเรตสูงสุด 25 บาท […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.