‘Nifty Elderly’ แบรนด์ของเล่นที่ขอเปลี่ยนเรื่องเล่นๆ ให้เป็นการเรียนรู้ของผู้สูงวัย

อาจจะจริงอย่างที่เขาว่ากันว่า พอแก่ตัวลงก็เหมือนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง ทั้งความช้า ความงอแง หรือความคิดอะไรหลายๆ อย่างที่อาจทำให้หวนคิดถึงเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก ถึงแม้หลายสิ่งหลายอย่างของเด็กกับผู้สูงวัยจะคล้ายกัน แต่สำหรับพัฒนาการหรือระบบการเรียนรู้นั้นกลับไม่ใช่ เพราะระหว่างเด็กและผู้สูงวัยมีรูปแบบความคิดและพัฒนาการที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน วันนี้คอลัมน์ Re-desire ได้มีโอกาสพูดคุยเรื่องพัฒนาการและการคงไว้ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ของผู้สูงอายุผ่าน ‘Nifty Elderly’ ของเล่นของแต่งบ้านสำหรับผู้สูงอายุ แบรนด์ที่ขอเข้ามาใส่ใจความเป็นไปและสุขภาวะของผู้สูงอายุให้ละเอียดขึ้น หลายคนอาจเคยเห็นแบรนด์นี้ผ่านตามาจากงาน Creative Economy Agency (CEA) เพราะเจ้า Nifty Elderly ได้รับรางวัลความเป็นเลิศทางความคิดสร้างสรรค์ ประจำปี 2567 ประเภทพลังสร้างสรรค์เพื่อสังคม (Creative Social Impact Awards) ในหมวด Creative Well-Being Award โดย ‘สมฤทัย เลิศเทวศิริ’ เจ้าของแบรนด์ และ ‘รศ.พรเทพ เลิศเทวศิริ’ ผู้ออกแบบ ได้เล่าถึงแรงบันดาลใจในการสร้าง Nifty Elderly ให้เราฟังอย่างอบอุ่น “ตอนนี้สังคมโลกกำลังอยู่ในสังคมผู้สูงอายุ อัตราการเกิดน้อยลงมาก ส่วนผู้สูงอายุก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มาพร้อมกับความเสื่อมถอยในสมรรถนะ เพราะกระบวนการเรียนรู้ของผู้สูงอายุกับเด็กต่างกัน” เปรียบเทียบกระบวนการเรียนรู้ที่แตกต่างกันง่ายๆ เป็นภาพของระฆังคว่ำหรือ […]

‘Halo’ ไม้เท้าอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุที่ปรับความสูงได้อัตโนมัติตามพื้นผิว ป้องกันอุบัติเหตุระหว่างทางต่างระดับ

ในแต่ละปี สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของผู้สูงอายุ คิดเป็นจำนวนมากถึง 1 ใน 3 คือการล้ม ไม่ว่าจะเป็นการลื่นล้มในห้องน้ำ ตกเตียง หรือแม้กระทั่งตกบันได เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ อุปกรณ์ช่วยเดินอย่าง ‘ไม้เท้า’ จึงกลายเป็นตัวเลือกที่ใครหลายคนเลือกใช้ แต่การเลือกใช้ไม้เท้าที่มีขนาดความสูงไม่เหมาะกับความต้องการ และไม่สามารถปรับขนาดตามการใช้งานได้อย่างอิสระ อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ถูกต้องนัก ‘Halo’ เกิดขึ้นเพื่อลบข้อบกพร่องเหล่านั้น ด้วยการเรียกตัวเองว่าไม้เท้าอัจฉริยะที่ปรับความสูงได้อัตโนมัติตามพื้นผิวที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะช่วงเวลาการขึ้นและลงบันได ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมประจำวันที่ยากที่สุดที่ผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาในการเดินต้องพบเจอ ไม้เท้า Halo แบ่งส่วนประกอบออกได้เป็น 2 ส่วนคือ ส่วนของไม้เท้าที่ปรับความสูงได้อัตโนมัติด้วย DC Motor ภายในความสูงระหว่าง 71 – 101 เซนติเมตร และส่วนหัวไม้เท้าที่ติดกล้องแบบ 360 องศา ที่จะตรวจจับระยะทางและสภาพพื้นผิว รวมถึงสั่งการลงไปยังตัวไม้เท้าเพื่อปรับความสูงให้พอดีกับแต่ละคน วิธีการใช้เจ้าไม้เท้า Halo นั้นแสนง่าย เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของโปรดักต์ลงบนสมาร์ตโฟนและเชื่อมต่อเข้ากับหัวไม้เท้า จากนั้นกดปุ่มบริเวณด้ามจับเพื่อเข้าสู่โหมดอัตโนมัติ ก็จะใช้งานได้ทันที  ปัจจุบัน Halo อยู่ในระหว่างการยื่นจดสิทธิบัตร ซึ่งถือว่าเป็นอุปกรณ์ช่วยเดินที่น่าสนใจ ถ้ามีการวางจำหน่ายจริงในอนาคต อาจเป็นหนึ่งตัวช่วยที่ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุได้ Source : Yanko Design […]

ชวนคิดนวัตกรรมเผื่อผู้สูงอายุและคนพิการกับ Jump Thailand Hackathon 2024 เปิดรับสมัครวันนี้ – 30 เม.ย. 67

เคยคิดกันเล่นๆ ไหมว่า ในวันที่โลกดิจิทัลกำลังหมุนไปข้างหน้า เราจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ทิ้งผู้สูงอายุและคนพิการไว้ข้างหลัง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ผู้สูงอายุและคนพิการ AIS Academy กรมกิจการผู้สูงอายุ และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ร่วมกันเปิดระดมไอเดียด้วยการเชิญชวนนิสิตนักศึกษาจากทุกมหาวิทยาลัย มาปล่อยพลังกันในโครงการ ‘Jump Thailand Hackathon 2024’ ตัวโครงการมาพร้อมกับแนวคิด ‘ภารกิจคิดเผื่อ ขับเคลื่อนอนาคตด้วยนวัตกรรม’ ผ่านการพัฒนานวัตกรรมที่สามารถแก้ไขปัญหาที่แท้จริงของผู้สูงอายุและคนพิการได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน พิชิตเงินรางวัลรวมมูลค่า 200,000 บาท พร้อมโอกาสในการร่วมงานกับ AIS เพื่อพัฒนาไอเดียจาก Hackathon ครั้งนี้ ให้เกิดขึ้นจริงร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ Hackathon ครั้งนี้จะจัดขึ้นภายใต้โจทย์ ‘เราจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและคนพิการได้อย่างไร’ ที่มุ่งเน้นแก้ไขประเด็นทางสังคมด้วย Digital Technology เพื่อนำมาต่อยอดให้ใช้งานได้จริง ผ่าน 4 โจทย์ ดังนี้ 1) Better Elders : เราจะทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและใจดีขึ้นได้อย่างไร2) Super Senior : เราจะทำให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตประจำวันด้วยตนเองได้อย่างไร3) Disable : เราจะทำให้คนพิการสามารถทำงานได้ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมได้อย่างไร4) Handy-Cap : เราจะทำให้คนพิการดำรงชีวิตประจำวันด้วยตนเองได้อย่างไร […]

ถุงลมนิรภัยแบบสวมใส่ เพิ่มความปลอดภัยให้ผู้สูงวัยด้วยการพองตัวทันทีเมื่อลื่นล้ม

เมื่อหลายเมืองเริ่มก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ การเข้ามาของเทคโนโลยีต่างๆ ก็ต้องหันมาให้ความสำคัญกับผู้ใช้งานสูงวัยเพิ่มขึ้นด้วย เพราะสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นเครื่องมือที่จะช่วยรักษาสวัสดิภาพให้คนวัยเกษียณใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัยและยาวนานมากขึ้น ดังนั้นในปี 2019 ‘Suzhou Yidaibao’ บริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีในจีนจึงได้ออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่จะช่วยเรื่องความปลอดภัยให้กับผู้สูงอายุหากเกิดอุบัติเหตุลื่นล้ม สิ่งประดิษฐ์ที่ว่านี้คือ ‘ถุงนิรภัยแบบสวมใส่ได้’ ที่จะช่วยลดแรงกระแทกและลดความเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บจากการลื่นล้ม โดยถุงนิรภัยนี้มีการทำงานเหมือนกับถุงลมนิรภัยในรถยนต์ที่บริษัทเคยผลิต และมีฟังก์ชันตรวจจับการเคลื่อนไหวและมุมการตก ทำให้ถุงลมภายในพองตัวออกมาภายในเวลา 0.18 วินาที ซึ่งเร็วกว่าเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการกระแทกกับพื้น ถุงนิรภัยนี้ออกแบบมาในรูปแบบของเสื้อกั๊กและเข็มขัด โดยภายในจะมีไมโครชิปที่รวบรวมข้อมูลการเคลื่อนไหวของมนุษย์ 200 ครั้งต่อวินาที และอัลกอริทึมที่จะช่วยวิเคราะห์ท่าทางของผู้สวมใส่ ทำให้เป็นเกราะป้องกันจากเทคโนโลยี ‘One-Piece Woven (OPW)’ การทอผ้าแบบชิ้นเดียว ที่จะช่วยให้ถุงลมนี้มีความทนทานและพองตัวได้หลายวินาที ทำให้มั่นใจได้ว่าจะปลอดภัยกับผู้ใช้งานจริงๆ Sources :DesignTAXI | tinyurl.com/bdzjh2a2Euronews | tinyurl.com/m9bs3v83Global Safety Textiles | tinyurl.com/m5nxda9ySuzhou Yidaibao | tinyurl.com/324xmwyh

GREY NATION ไทยชราเป็นเรื่องของคนทุกเจนฯ เวทีทอล์กจากงาน ‘มนุษย์ต่างวัย Talk 2023’

‘สังคมสูงวัย’ ไม่ใช่เรื่องน่ากังวลสำหรับคนวัยเกษียณเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น แต่เป็นความท้าทายที่คนทุกเจเนอเรชันต้องเผชิญและอาจได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า หากเราไม่เตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ตอนนี้ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 Urban Creature ได้เข้าร่วมงานมนุษย์ต่างวัย Talk 2023 ‘Out of the Box Aging’ ที่รวบรวมกิจกรรมเกี่ยวกับสังคมสูงวัย ไม่ว่าจะเป็นเวทีทอล์ก เวิร์กช็อปด้านการงานและการใช้ชีวิต ไปจนถึงโซน Market & Space ที่ชวนคนรุ่นใหญ่มองเห็นโอกาสในการทำงาน พบปะเพื่อนใหม่ และสร้างคุณค่าให้ตัวเอง แต่กิจกรรมที่เรามองว่าสะท้อนภาพใหญ่และทำให้ผู้ฟังมองเห็นปัญหาของสังคมสูงวัยได้ครอบคลุมที่สุดคือเวทีทอล์กในหัวข้อ ‘Grey Nation จากเจนฯ B – เจนฯ Z : ไทยชรา เป็นเรื่องของคนทุกเจนฯ’ บรรยายโดย ‘รศ. ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง’ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ผู้ดูแลงานนโยบายสาธารณะให้กับวงการสื่อสารมวลชน มิติเกี่ยวกับสังคมผู้สูงอายุที่ประเทศไทยต้องกังวลมีอะไรบ้าง และทำไมคนทุกเจนฯ ถึงต้องให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ คอลัมน์ Events ชวนไปสำรวจปรากฏการณ์นี้พร้อมกัน สังคมสูงวัยคือเรื่องของคนทุกเจนฯ รศ. ดร.เจิมศักดิ์ เปิดเวทีทอล์กด้วยการโยนคำถามว่า […]

ชวนมองสังคมผู้สูงอายุแบบนอกกรอบที่งาน ‘มนุษย์ต่างวัย Talk 2023 Out of the Box Aging’ เข้าร่วมฟรี 18 พ.ย. 66 ที่ True Digital Park

การก้าวเข้าสู่ ‘สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ’ (Aged Society) เป็นความท้าทายสำคัญที่ประเทศไทยต้องเตรียมรับมือทั้งเชิงรับและเชิงรุก เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของคนวัยเกษียณทุกคน เพราะเชื่อว่าชีวิตดีๆ สร้างได้ทุกวัย สื่อที่ถ่ายทอดเรื่องราวของสังคมผู้สูงวัยในมุมที่สนุกและสร้างสรรค์อย่าง มนุษย์ต่างวัย ได้จัดงาน ‘มนุษย์ต่างวัย Talk 2023 Out of the Box Aging’ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่จะชวนให้คนทุกวัยมองสังคมผู้สูงอายุแบบนอกกรอบ และลบภาพจำเดิมๆ ที่มีต่อประชากรกลุ่มนี้ ภายในงานจะมี ‘เวทีทอล์ก’ ที่ช่วยเปิดมุมมอง กระตุกต่อมคิด สร้างแรงบันดาลใจ และให้ข้อมูลอินไซต์จากเหล่าผู้บรรยายจากไทยและต่างประเทศ ที่จะมานำเสนอความเป็นไปได้ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นมุมมองทางธุรกิจในสังคมสูงวัย ข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพดีๆ ที่อาจเปลี่ยนชีวิตเราไปอย่างคาดไม่ถึง รวมถึงเรื่องราวการร่วมมือกันระหว่างคนต่างวัย และประสบการณ์ชีวิตของคนรุ่นใหญ่ที่จะทำให้ใจผู้เข้าร่วมงานมีพลังในการเติบโตอย่างไม่รู้จบ เท่านั้นยังไม่พอ งานนี้ยังมี 5 เวิร์กช็อปด้านการงานและการใช้ชีวิตสำหรับคนเตรียมตัวเกษียณและทุกคนที่สนใจ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องการท่องเที่ยว แฟชั่นวินเทจ การเสริมสร้างพลังกายและพลังใจ โอกาสในโลกดิจิทัล และการเงิน รวมถึงโซน Market & Space ตลาดที่ไม่ได้ขายแค่สินค้าเท่านั้น แต่ยังนำเสนอไอเดีย สร้างแรงบันดาลใจ ชวนคนรุ่นใหญ่ให้มองเห็นโอกาสในการงานและการใช้ชีวิตในหลากหลายแง่มุม เพื่อสร้างรายได้ สร้างคุณค่าในตัวเอง […]

‘ออสโล’ กับแผนการสร้างเมืองให้ผู้คนสูงวัยได้อย่างแข็งแรงและมีความสุข

โลกของเรามีประชากรสูงอายุเยอะขึ้นทุกปี และตัวเลขนี้ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผู้คนมีอายุขัยยาวนานกว่าเดิม องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้คาดการณ์ว่า ภายในปี 2025 โลกจะมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 2 พันล้านคน หรือราว 20 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกทั้งหมด เพราะเหตุนี้หลายประเทศทั่วโลกจึงเริ่มทยอยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ รวมถึงพัฒนาแผนการรับมือที่จะทำให้เมืองของตัวเองรองรับประชากรวัยชราได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งเมืองที่ตื่นตัวรับมือกับความท้าทายนี้ได้ดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลกคือ ‘ออสโล’ ประเทศนอร์เวย์ เมืองหลวงแห่งนี้กลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ และส่งเสริมให้ทุกคนเติบโตอย่างมีความสุขได้อย่างไร คอลัมน์ City in Focus ขอชวนไปหาคำตอบกัน การเปลี่ยนเมืองให้เป็นมิตรกับประชากรสูงวัย “เมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัยคือ เมืองที่มีสภาพแวดล้อมครอบคลุมและเข้าถึงได้ ซึ่งส่งเสริมให้ประชากรมีอายุมากขึ้นได้อย่างแข็งแรงและมีสุขภาพดี” นี่คือคำนิยามของ ‘เมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัย’ หรือ ‘Age-friendly City’ ที่ระบุไว้ในแผนปฏิบัติงาน ‘Action Plan for an Age-friendly City’ และ ‘Plan for Safe and Diversified Care of Older People’ […]

เดชรัต สุขกำเนิด กับปรัชญาการทำงานในสังคมต่างวัย

ในวันที่ ‘คนรุ่นใหม่’ มีบทบาทในสังคมมากกว่าทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมาแล้ว ‘ผู้อาวุโส’ จะอยู่ตรงไหนในสังคมการทำงานและการใช้ชีวิตร่วมกัน สนทนาถึงประเด็นนี้กับ ‘อาจารย์เดชรัต สุขกำเนิด’ ผู้อำนวยการ Think Forward Center แห่งพรรคก้าวไกล ที่ใครๆ ก็เห็นว่าเป็นองค์กรที่เต็มไปด้วยคนรุ่นใหม่ คนสูงวัยหรือผู้อาวุโสควรวางตัวอย่างไร ต้องปรับมายด์เซตแบบไหนให้ไม่เป็นพิษกับเด็กๆ รอบข้าง ตามไปฟังคำแนะนำจากผู้อาวุโสคนหนึ่งที่พยายามไม่ใช้ความอาวุโสไปกดทับใครในบทสัมภาษณ์นี้ ‘Super Seniors’ คือซีรีส์คอนเทนต์จาก Urban Creature ที่ต้องการฉายภาพสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุที่ไทยและหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญ พร้อมกับชวนไปสำรวจโครงสร้าง นโยบาย และมายด์เซตที่เมืองของเราได้เตรียมพร้อมไว้ให้คนกลุ่มนี้

The Old Men and The Park สูงวัยในสวนสาธารณะ

ในเมืองใหญ่แห่งนี้มีพื้นที่สาธารณะที่เหมาะสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุให้ได้มาพบปะ สังสรรค์ ทำกิจกรรมร่วมกันค่อนข้างน้อย จะมีก็แต่สวนสาธารณะที่ดูเข้าถึงง่ายหน่อย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักออกมาทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายที่สวนสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง รำมวยจีน เต้นลีลาศ หรือแอโรบิก บางคนมาเป็นประจำทุกวันจนกลายเป็นกิจวัตรไปแล้ว เริ่มตั้งแต่ตอนเกษียณจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า 10 – 20 ปี แต่หากพูดถึงการเดินทางมาสวนสาธารณะ เราได้พูดคุยกับผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งที่มาสวนเป็นประจำ ได้รับคำตอบว่า เพราะสวนอยู่ใกล้บ้านมากๆ ทำให้พวกเขาเดินเท้ามาได้เลย ถึงอย่างนั้นกับบางคนก็ใช้ระยะเวลาในการเดินทางค่อนข้างนาน มีความยากลำบากอยู่ไม่น้อย แต่พวกเขาก็ยอมเดินทางมา เพราะพื้นที่สวนสาธารณะในกรุงเทพฯ ไม่ได้มีตัวเลือกมากมายขนาดนั้น เราคิดว่า ถ้ามีสวนสาธารณะในกรุงเทพฯ มากขึ้นกว่านี้ก็คงดี เพราะนอกจากส่งผลดีต่อผู้สูงอายุในแง่พื้นที่การออกกำลังกายและนัดหมายพบปะเพื่อนฝูงแล้ว ยังทำให้วัยรุ่นและวัยทำงานได้ออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน แถมยังเป็นหนทางปลีกตัวออกจากสังคมเมืองที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย แล้วมาผ่อนคลายท่ามกลางธรรมชาติ หากไปดูในต่างประเทศ ทุกชุมชนล้วนมีสวนสาธารณะขนาดย่อมตั้งอยู่ ทำให้ใครๆ ต่างอยากออกมาเดินเล่นและพักผ่อนหย่อนใจ เนื่องจากอยู่ใกล้บ้าน เดินทางสะดวก หรือในบางประเทศที่ออกแบบสวนสาธารณะได้สวยงามมากๆ ก็ต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นได้ด้วย

‘แม้เราจะมีลูก แต่ก็ยังโดดเดี่ยว’ มองสังคมผู้สูงวัยแต่ละประเทศผ่าน 8 หนังและซีรีส์

แม้จะมีภาพยนตร์หรือซีรีส์จำนวนไม่มากที่เลือกถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตหรือบริบทสังคมผู้สูงอายุโดยมีพวกเขาเป็นคนแสดงนำ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ผู้กำกับหยิบเรื่องของพวกเขาในแง่มุมต่างๆ มานำเสนอ ก็มักจะกินใจผู้ชมอยู่เสมอ เพราะไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลก กลุ่มผู้สูงอายุก็เป็นหนึ่งฟันเฟืองที่ทำให้สังคมดำเนินต่อไปได้  และในขณะเดียวกัน การนำเสนอภาพผู้สูงอายุจากฝั่งตะวันตกหรือฝั่งเอเชียที่อยู่ในบริบททางสังคมที่แตกต่างกันในจอภาพยนตร์ ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้เราได้ทำความเข้าใจกับแนวคิดหรือปัญหาผู้สูงวัยที่แต่ละประเทศกำลังเผชิญ เพื่อเรียนรู้หรือหาหนทางแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมกัน คอลัมน์ ‘เนื้อหนัง’ ชวนทุกคนมาร่วมมองประเด็นสังคมผู้สูงอายุผ่าน 8 ภาพยนตร์และซีรีส์ที่ล้วนสะท้อนถึงบริบททางสังคมและการจัดการเมืองที่เกี่ยวข้องกับคนกลุ่มนี้ 01 | Plan 75 (2022)เมื่อญี่ปุ่นเปิดโอกาสให้คนอายุ 75 ปี เลือกตายอย่างสมัครใจ(การการุณยฆาตและสังคมที่ไม่มีโอกาสให้ผู้สูงอายุ) ถ้าพูดถึงหนังที่มีตัวเอกดำเนินเรื่องเป็นผู้สูงอายุในยุคนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่อง ‘Plan 75’ (2022) ที่หยิบจับเอาประเด็นเรื่องสังคมผู้สูงอายุและการการุณยฆาตมาเล่าผ่านบริบทความเป็นประเทศญี่ปุ่นได้อย่างเจ็บแสบ จนได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนภาพยนตร์ญี่ปุ่นเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์นานาชาติเวทีออสการ์ปี 2023 ผู้ชมจะรับรู้ถึงความยากลำบากของสถานการณ์ผู้สูงอายุประเทศนี้ได้ผ่านการเล่าเรื่องราวสุดดิสโทเปีย เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นออกกฎหมาย Plan 75 เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีอายุ 75 ปีขึ้นไป เลือกการุณยฆาตตนเองได้อย่างสมัครใจ แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมรับเงินชดเชยถึง 1 แสนเยน เพื่อหวังแก้ปัญหาตัวเลขผู้สูงอายุล้นเมือง และจากตัวกฎหมายนี้เองที่ทำให้เราเห็นถึงเบื้องลึกในจิตใจของคนแต่ละกลุ่ม ตั้งแต่คนที่มองว่าผู้สูงอายุเป็นภาระของสังคม ไปจนถึงตัวผู้สูงอายุบางคนที่มองว่าการการุณยฆาตอาจไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการ แต่เป็นเพราะสังคมที่ไม่มีโอกาสให้พวกเขาได้ใช้ชีวิตต่างหากที่กำลังบังคับให้พวกเขาเลือกเส้นทางนี้อย่างเลี่ยงไม่ได้ 02 | C’mon C’mon (2021)การออกเดินทางสัมภาษณ์เด็กในอเมริกาของลุงและหลาน(การมองโลกของคนสองวัยในมุมมองที่แตกต่างกัน) ‘เรานึกภาพอนาคตของตัวเองไว้แบบไหน’‘ถ้าเราสามารถมีพลังพิเศษได้ […]

Super Seniors ผู้สูงวัยเยอะ สวัสดิการน้อย คุ้มครองแต่ไม่ครอบคลุม

ถ้าเด็กในวันนั้นคือผู้ใหญ่ในวันนี้ ดังนั้นผู้ใหญ่ในวันนี้ก็คือ ‘ผู้สูงอายุ’ ในวันหน้าแบบที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เช่นเดียวกัน ยิ่งในทุกวันนี้ที่สภาพคล่องทางการเงินของคนส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ไหนจะภาวะเงินเฟ้อที่สูงสวนทางกับรายได้ ทำให้เราหลายคนต้องใช้เงินแบบเดือนชนเดือน หรือบางเดือนอาจไม่พอเลยด้วยซ้ำ แบบนี้จะเก็บเงินก้อนไว้ใช้ชีวิตในช่วงสูงวัยได้ยังไงกันฃ และปัญหาเหล่านี้ยังเป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้วัยรุ่นหลายคนเริ่มวางแผนการใช้ชีวิตช่วงบั้นปลายของตัวเองกันไว้แต่เนิ่นๆ เพราะดูเหมือนปัจจัยและบริบทต่างๆ ในสังคมไทยจะไม่ค่อยส่งเสริมให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีกันสักเท่าไหร่ คอลัมน์ Overview ประจำเดือนสิงหาคมนี้ ขอพาทุกคนไปสำรวจสถานการณ์ประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ไปจนถึงสิทธิและสวัสดิการที่คนเหล่านี้จะได้รับจากภาครัฐ และมองหาบ้านพักหลังสุดท้ายอย่างบ้านพักคนชราที่ผกผันไปตามเม็ดเงินในกระเป๋าในบั้นปลายชีวิตไปพร้อมๆ กัน 01 | ไทยเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด หลายคนอาจจะได้ยินกันมาตลอดว่าไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย แต่กับเหตุการณ์ในปัจจุบันไม่ใช่แค่ ‘กำลัง’ แต่ประเทศไทยของเราได้ก้าวเข้ามายืนในสังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มตัวแล้ว เพราะจากการสำรวจประชากรในประเทศไทยปี 2023 พบว่า ประเทศของเรามีประชากรทั้งสิ้น 71,801,279 คน และในจำนวนนี้มีกลุ่มคนที่อยู่ในเกณฑ์ ‘ผู้สูงอายุ’ หรือกล่าวคือ บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย มากถึง 16,405,119 คน โดยแบ่งเป็นเพศชาย 7,297,175 คน และเพศหญิง 9,107,944 คน ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จะพบว่า จำนวนผู้สูงอายุในประเทศมีสัดส่วนจากประชากรทั้งหมดมากถึง 22.85 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ทำให้ปัจจุบันสามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า ไทยเราได้เข้าสู่ ‘สังคมสูงวัยระดับสุดยอด’ […]

ชวน Gen Z ออกแบบแพ็กเกจจิ้งเพื่อผู้สูงวัยในงาน ‘SCGP Packaging Speak Out 2023’ เปิดรับสมัครผลงานวันนี้ – 7 ก.ย. 66

ปัจจุบันเมืองไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยอย่างเดียวอาจไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภคอีกต่อไป เพราะกลุ่มคนที่มีอายุมากขึ้นมักมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย  ดังนั้นผลิตภัณฑ์และบริการยุคใหม่จึงจำเป็นต้องออกแบบอย่างเข้าใจผู้สูงวัย เพื่อทำให้พวกเขาสามารถใช้สินค้าต่างๆ อย่างสะดวกสบายและมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบรูปลักษณ์ให้เห็นและเข้าใจทันทีว่าคือผลิตภัณฑ์อะไร การออกแบบฉลากให้อ่านและเข้าใจง่าย หรือรูปแบบที่ง่ายต่อการใช้งาน มีน้ำหนักเหมาะสม และที่สำคัญสามารถเกิดใช้งานสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ได้อย่างปลอดภัย เพื่อรวบรวมไอเดียการออกแบบที่สร้างสรรค์และเป็นมิตรกับผู้สูงวัยจากคนรุ่นใหม่ ทาง ‘SCGP’ ผู้ให้บริการโซลูชันบรรจุภัณฑ์ครบวงจร พร้อมนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ทุกความยั่งยืน จึงจัดงาน ‘SCGP Packaging Speak Out 2023’ ซึ่งเป็นการประกวดออกแบบแพ็กเกจจิ้งในหัวข้อ ‘แพคเกจจิ้งเพื่อผู้สูงวัย (Packaging for Seniors)’ ภายใต้แนวคิด ‘Possibilities for the Betterment’ เพื่อชิงเงินรางวัลรวม 200,000 บาท ​​โดยแนวคิด Possibilities for the Betterment ที่ว่าจะเป็นการออกแบบแพ็กเกจจิ้งที่ดีขึ้น โดยคำนึงถึงการใช้งานที่ตอบโจทย์และรองรับพฤติกรรมของผู้สูงวัยที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะร่างกายและการใช้ชีวิต รวมถึงต้องคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าด้วย เพราะทาง SCGP เชื่อว่าเราไม่ได้ออกแบบแค่บรรจุภัณฑ์ แต่เราออกแบบคุณภาพชีวิตด้วย บรรจุภัณฑ์จึงเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้ผู้สูงวัยใช้ชีวิตได้สะดวกสบายมากขึ้น SCGP Packaging Speak Out 2023 เปิดรับผู้สมัครอายุ 17 […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.