Park-PFI โปรเจกต์ดิ้นรนหาสเปซสีเขียวของญี่ปุ่น เกาะพื้นที่ไม่มากแต่ประชากรหนาแน่นมาก
รู้จัก Park-PFI โครงการที่รัฐบาลญี่ปุ่นจับมือกับภาคเอกชนเสริมสวยสวนสาธารณะเพื่อสร้างที่สีเขียวให้กระตุ้นเศรษฐกิจในนัดเดียว
รู้จัก Park-PFI โครงการที่รัฐบาลญี่ปุ่นจับมือกับภาคเอกชนเสริมสวยสวนสาธารณะเพื่อสร้างที่สีเขียวให้กระตุ้นเศรษฐกิจในนัดเดียว
ชวนส่องโปรเจกต์กระเช้าลอยฟ้า การเดินทางรูปแบบใหม่ ไอเดียโดนๆ จากสตาร์ทอัปญี่ปุ่น
Osaka Museum of Housing and Living พิพิธภัณฑ์โอซาก้าบรรยากาศ Machiya ที่สร้างโดยช่างผู้เคยสร้าง Katsura Imperial Villa
นักท่องเที่ยวสายเสพงานศิลป์ เวลามาญี่ปุ่นน่าจะพุ่งไปงานนิทรรศการกรุบกริบต่างๆ ตามมิวเซียมเก๋อย่าง Mori Art Museum หรือ 21_21 DESIGN SIGHT จริงๆ แล้วถ้าสังเกตให้ดี ในเมืองแอบมีงานศิลปะน้อยใหญ่ซ่อนตัวอยู่ตามจุดต่างๆ มากมาย และจุดที่คนน่าจะมองข้ามกันมากที่สุดคือ ‘ไซต์ก่อสร้าง’ ตั้งแต่อยู่ญี่ปุ่นมาหลายปี ไม่มีวันไหนที่ออกจากบ้านแล้วไม่เจอการก่อสร้าง ภาพที่เห็นจนชินตามาพร้อมกับความชื่นชมเรื่องความสะอาด ความเงียบ และความเอาใจใส่ชุมชนรอบๆ เช่น มีการใช้แผ่นชีตเก็บเสียง เครื่องเก็บฝุ่น และล้างล้อรถที่ใช้ในการก่อสร้างทุกครั้ง เพื่อกันไม่ให้ความสกปรกหลุดออกมาภายนอก และมีพี่ รปภ. คอยโบกอำนวยความสะดวกให้ผู้สัญจร และในช่วงหลายปีมานี้ ไซต์ก่อสร้างพัฒนาความกรุบกริบด้วยการเติมความคาวาอี้ในหลายจุด จนต้องหยุดเดินหันมาถ่ายรูป ความเก๋ที่ว่านั้นมีหลากหลาย เช่น ผ้าใบลายเดียวกับสิ่งที่กำลังสร้าง รั้วกั้นเขตลายการ์ตูน (คนไทยน่าจะเคยเห็น AKIRA, ART OF WALL รั้วก่อสร้างลาย Akira ที่ชิบุยะ ซึ่งเมื่อก่อสร้างเสร็จก็จัดนิทรรศการแสดงผลงานเหล่านั้นต่อ แล้วเอารั้วก่อสร้างมาทำของเล่นขายด้วย) ผนังรั้วก่อสร้างผลงานออกแบบของศิลปิน รวมไปถึงกรวยเรืองแสง ไฟกะพริบลายดอกซากุระ บางครั้งเลยเถิดถึงขั้นเอาดวงรายเดือนตามราศีมาให้อ่านที่กำแพงด้วย แม้แต่ไซต์ก่อสร้างก็ยังคาวาอี้ ความเวรี่เจแปนนีสนี้มีที่มาอย่างไร ไปสำรวจที่มาความน่ารักเหล่านั้นกัน Animal Guard […]
หลายคนที่รู้จัก ‘อนเซ็น’ อาจจะยังไม่รู้จัก ‘เซนโต’ หรือโรงอาบน้ำสาธารณะ อธิบายง่ายๆ อนเซ็นใช้น้ำแร่ เซนโตใช้น้ำร้อน เป็นวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ใช้การแช่ช่วยคลายความเหนื่อยล้าและเสริมสุขภาพให้คนญี่ปุ่นมานาน สมัยก่อนในโตเกียวมีเซนโตเยอะพอๆ กับร้านสะดวกซื้อ แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป คนสะดวกอาบน้ำที่บ้านมากกว่า จำนวนเซนโตจึงค่อยๆ ลดลงอย่างน่าใจหาย จากปี 1975 ที่เคยมี 2,500 แห่ง ตอนนี้เหลือเพียง 473 แห่ง โชคดีที่ Koganeyu เป็นหนึ่งในนั้น ฃเซนโตแห่งย่านคินชิโจนี้เป็นเซนโตเก่าแก่ที่อยู่คู่ชุมชนมานาน ดำเนินกิจการมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และเพิ่งรีโนเวตเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2020 Koganeyu กลับมาในดีไซน์สุดเท่ที่ได้ดีไซเนอร์ชื่อดังหลายคนมาช่วยออกแบบ พร้อมคราฟต์เบียร์บาร์และบูทดีเจ แจ่มไม่แจ่มก็ได้ลง Monocle และนิตยสารอีกเพียบ รวมไปถึงได้รางวัล Suanachelin (รางวัลสำหรับซาวน่ากรุบกริบ) ประจำปี 2020 ด้วย กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ไม่ใช่การเดินทางที่สะดวกรวดเร็วเหมือนชินคันเซ็น วัฒนธรรมชวนแช่อันเวรี่เจแปนนีสนี้จะอยู่รอดได้อย่างไร วันนี้เราได้สองสามีภรรยา Shinbo เจ้าของ Koganeyu มาเล่าให้ฟังถึงเสน่ห์ของการอาบน้ำนอกบ้านและการปรับตัวเข้ากับยุคสมัยได้อย่างน่าทึ่ง Glocal Sento ภารกิจเผยแพร่วัฒนธรรมการแช่ Koganeyu […]
ในวันที่รู้สึกเบื่อๆ เคยลองเสิร์ชเล่นๆ ว่าโตเกียวมีพิพิธภัณฑ์อะไรน่าสนใจบ้าง ผลลัพธ์ที่ออกมาชวนกรี๊ดมาก เมืองนี้ช่างอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพิพิธภัณฑ์นานาประเภท สิ่งพื้นฐานอย่างอาร์ตมิวเซียมและพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์มีแทบทุกแขนง พิพิธภัณฑ์การ์ตูนก็เนืองแน่น ของแปลกที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีก็มากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์เกลือ พิพิธภัณฑ์อุปกรณ์และประวัติศาสตร์การดับเพลิง พิพิธภัณฑ์ค่าเงิน พิพิธภัณฑ์ปรสิต ฯลฯ ใครจะไปคิดว่าโตเกียวซึ่งเป็นเมืองหลวงมาตั้งแต่ปี 1869 เพิ่งนึกขึ้นได้ว่า… เฮ้ย! เรายังไม่มีพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์! หลังจากทางการโตเกียวไหวตัวทันว่ายังไม่มีพิพิธภัณฑ์ที่เล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกรุงโตเกียวเลย Edo-Tokyo Museum จึงถูกก่อตั้งในปี 1993 ที่เขต Sumida โดยมีสาขาย่อยที่เล่าเรื่องราวผ่านสถาปัตยกรรมและชีวิตของผู้คนคือ Edo-Tokyo Open-Air Architectural Museum ที่เขต Musashino ซึ่งตั้งอยู่คนละฟากของเมืองเลยทีเดียว เพราะต้องใช้พื้นที่ในการจัดแสดง นอกจากจะเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง Edo-Tokyo Open-Air Architectural Museum ยังต่างกับพิพิธภัณฑ์อื่นๆ ตรงที่ไม่ได้เล่าแค่ประวัติศาสตร์และคุณค่าของสิ่งก่อสร้าง แต่เน้นเรื่องวิถีชีวิตของคนสมัยก่อนไม่แพ้กัน เดินดูเองก็ว่าสนุกแล้ว แต่เมื่อได้ Hidehisa Takahashi ภัณฑารักษ์ผู้คร่ำหวอดในวงการจาก Edo-Tokyo Open-Air Architectural Museum มาเล่าให้ฟังถึงความพิเศษของอาคาร 30 หลังบนพื้นที่ […]
เปิดมุมมองสังคม LGBTQ+ ในดินแดนญี่ปุ่นผ่าน ‘เกาะกะเทย’ ใน “One Piece” มังงะที่สะท้อนภาพความหลากหลายทางเพศได้อย่างชัดเจน และหลายแง่มุม ทั้งตัวละคร การสร้างเกาะ การนำเรื่องราว สังคม วัฒนธรรม ในโลกแห่งความจริงมาแต่งแต้มสีสันให้กับโลกของวันพีซ นับว่าเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้วันพีซนั้นประสบความสำเร็จไปทั่วโลก และเป็นอีกหนึ่งมังงะที่กลายเป็นเครื่องมือซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในการสื่อสารตั้งแต่วัฒนธรรม เยาวชน สู่ผู้คนทั่วโลก ทั้งยังสะท้อนวัฒนธรรม และภาพสังคม LGBTQ+ ในประเทศญี่ปุ่นได้อย่างดีเยี่ยม
ชวนดูการออกแบบ YORIDOKO ศูนย์จ้างงานสำหรับคนพิการ ประเทศญี่ปุ่น โดยสถาปนิกท้องถิ่น
ชวนฟังเสียงเด็กไทยที่อยู่ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในญี่ปุ่น กับการรับมือสุดชิลของรัฐบาล
เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักสิ่งที่เรียกว่า ‘โอทอป (OTOP)’ ผลิตภัณฑ์อันโด่งดังของคนไทย วันนี้ Urban Creature จึงพาบินลัดฟ้าไปทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ไปดูพื้นที่ต้นแบบของโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของไทย ที่อยู่ใน โออิตะ (Oita) จังหวัดที่ได้รับฉายาว่าเป็น “เกียวโตน้อยแห่งคิวซู” เมืองเล็กๆ ที่ไม่ได้หรูหราฟู่ฟ่า แต่เปี่ยมไปด้วยมนต์เสน่ห์มากมาย ทั้งจากธรรมชาติ อาหารการกิน ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่แสนเรียบง่ายของผู้คน รวมไปถึงวิธีการพัฒนาท้องถิ่นของตัวเองจนเกิดความยั่งยืน ผ่านโครงการ One Village, One Product (OVOP) หรือหนึ่งชุมชนหนึ่งผลิตภัณฑ์ จนกลายเป็นต้นแบบการพัฒนาให้กับหลายประเทศทั่วโลก | หมู่บ้านโอยามา ณ ที่แห่งนี้ คือต้นกําเนิด OVOP เพราะความยากจนแร้นแค้นของผู้คน จนนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในปี พ.ศ 2504 ชาวบ้านกว่า 1000 หลังคาเรือนในหมู่บ้านโอยามา จังหวัดโออิตะจึงได้รวมตัวกันลุกขึ้นมา คิดริเริ่ม สร้างสรรค์โครงการ “บ๊วย และเกาลัดแบบใหม่” (New Plum and Chestnut: NPC) ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมการเพาะปลูกบ๊วยและเกาลัดโดยใช้รูปการเกษตรแบบผสมผสานเข้ามาแทนการปลูกข้าวที่เป็นพืชหลักเดิม […]