มื้อนี้ไม่ง้อแมสก์ ประสบการณ์มื้ออาหารใต้โคมโบราณป้องกันโควิด-19

เรียวกังชื่อ Hoshinoya ในเมืองโตเกียวหัวใส จัดมื้ออาหารในโรงแรมที่เรียกว่า Tokyo Lantern Dinner ซึ่งมีการจัดเตรียมโคมใสที่สร้างสรรค์จากไวนิลให้บรรดาแขกที่มากินข้าว ได้ร่วมมื้ออาหารโดยไม่ต้องสวมแมสก์ให้รำคาญใจกันอีกต่อไป ซึ่งนี่คือหนึ่งในผลผลิตของงานดีไซน์ ที่ทำให้เราเห็นว่าอุตสาหกรรมการออกแบบทั่วโลกต่างก็รับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่แผงกั้นระหว่างโต๊ะกินข้าว หรือรถส่งอาหารแบบไร้การสัมผัส แสดงให้เห็นว่าดีไซเนอร์พยายามจะทำให้การกินข้าวนอกบ้านเป็นเรื่องเป็นไปได้ในช่วงสามปีที่ผ่านมา แม้แต่ในปี 2021 นี้ ผลกระทบของโควิดที่มีต่อการกินข้าวนอกบ้านก็ยังคงมีอยู่เสมอ ส่งผลให้ยังเกิด New Normal เวอร์ชันใหม่ๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ เช่นเดียวกับที่โรงแรม Hoshinoya ในย่าน Otemachi ของกรุงโตเกียว ที่ได้ออกแบบประสบการณ์การกินอาหารในยุคนี้ให้สะดวกสบายมากขึ้น โดยสร้างโคมแทนแผงกั้นใสให้แขกของโรงแรมได้ใช้งาน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิดระหว่างมื้ออาหาร สิ่งนี้ออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าได้รู้สึกถึงความเป็นอิสระ โดยที่ไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยระหว่างมื้ออาหาร แผงกั้นจากโคมนี้ถูกคิดค้นขึ้นโดยโรงแรมเอง ซึ่งบันดาลใจมาจากความคุ้นเคยในวัฒนธรรมการใช้โคมของญี่ปุ่น  โดยที่ส่วนยอดของโคมแต่ละอัน จะให้แสงอุ่นนุ่มนวลส่องลงมาจากบริเวณเหนือหัว ทำให้ใบหน้าของผู้ใช้บริการดูสว่างสดใส มองแล้วดูสบายตา เช่นเดียวกับแสงที่ตกกระทบจานอาหาร เจ้าโคมตัวนี้ผลิตโดยร้านโคมเจ้าเก่าแก่ชื่อ Kojima Shoten ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเกียวโต โดยที่โคมแต่ละชิ้นจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 75 เซนติเมตร และสูงถึง 102 เซนติเมตร ทำให้มีพื้นที่เหลือเฟือในการเพลิดเพลินกับมื้ออาหาร โดยไม่ต้องกังวลหรือกลัวว่าการทานอาหารจะหกเลอะเทอะตัวโคมที่มีความหนา 0.15 เซนติเมตร  ดีไซเนอร์ผู้อยู่เบื้องหลังมื้ออาหารที่มีโคมรูปแบบนี้ […]

พ่อก็คือพ่อ Waseda สร้างห้องสมุด Haruki Murakami 

เดือนพฤศจิกายน 2563 สถาปนิก Kengo Kuma ได้ออกแบบห้องสมุดสาธารณะที่มหาวิทยาลัย Waseda โตเกียว ซึ่งในอดีตนักเขียนชื่อดัง Haruki Murakami เคยเป็นนักศึกษาเอกการละครสมัยเรียนปริญญาตรี ห้องสมุดที่ว่านี้ชื่อ Murakami หรือชื่อทางการ Waseda International House of Literature  ห้องสมุดนี้จัดเก็บเอกสารส่วนตัว แผ่นเสียงนับหมื่นของมุราคามิ รวมถึงหนังสือและต้นฉบับงานเขียน นอกจากนี้ยังมีสำเนาการศึกษา พร้อมด้วยโต๊ะ หนังสือ และเครื่องเล่นแผ่นเสียง แถมยังมีคาเฟ่ดำเนินกิจการโดยนักศึกษาซึ่งให้บริการกาแฟคั่วเข้มที่มุราคามิชื่นชอบ และ Audio Room ที่แผ่นเสียงบางส่วนถูกประทับตรา Petercat ชื่อแจ๊สบาร์ที่มุราคามิเป็นเจ้าของหลังเรียนจบ (คาเฟ่นี้มีอีกชื่อว่า ‘แมวส้ม’ ด้วย) คุมะได้รับแรงบันดาลใจการออกแบบจากเรื่องราวของมุราคามิ ผู้เข้าชมจะได้เข้าไปในอุโมงค์ ซึ่งบริเวณชั้น B1 มีชั้นวางหนังสือไม้โค้งขนาดใหญ่ คุมะตีความว่าคือการปลุกอารมณ์ตัวละครของนักเขียนรุ่นใหญ่ที่เล่าเรื่องระหว่างความจริงและความเหนือจริง มุราคามิเล่าในงานแถลงข่าวห้องสมุดนี้ว่า เขาหวังจะเห็นสถานที่ทำนองนี้ถูกสร้างขึ้นหลังตัวเองตายมากกว่า เขาจะได้พักผ่อนอย่างสงบ และมีคนมาดูแลสิ่งของเหล่านี้ต่อไป ซึ่งมุราคามิรู้สึกประหม่าเล็กน้อย เมื่อได้เห็นห้องสมุดของตัวเองในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ Source : LITHUBPhoto : Kisa Toyoshima

‘แม่จ๋า อันนี้เอาไว้ทำอะไร’ หนังสือภาพกลไกสิ่งของรอบตัวสำหรับเด็กญี่ปุ่นช่วยพ่อแม่ตอบคำถามลูกแบบละเอียดยิบ

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หรือมือเก่าหลายๆ คนคงเคยต้องตอบคำถามลูกๆ วัยเจ้าหนูจำไมอยู่เรื่อยๆ คำถามบางคำถามไม่ได้ยากจนโลกแตก เช่น ‘แม่จ๋า น้ำในชักโครกไหลมาจากไหน’ แต่ก็ไม่ง่ายที่จะอธิบายให้เด็กฟัง หนังสือภาพจากญี่ปุ่นเล่มนี้เลยรวบรวมคำตอบพร้อมภาพประกอบสุดน่ารักไว้ให้คุณพ่อคุณแม่แล้ว! หนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า ‘きかいのしくみ図鑑’ หรือ ‘อันนี้ทำงานอย่างไรนะ’ เป็นหนังสือภาพที่อธิบายโครงสร้างภายในและกลไกต่างๆ ของสิ่งรอบตัวว่าทำงานอย่างไร โดยแบ่งสิ่งของออกเป็น 3 ส่วน คือ สิ่งของที่อยู่ในบ้าน (พัดลม ไฟฉาย นาฬิกา กบเหลาดินสอ เครื่องดูดฝุ่น) สิ่งของที่อยู่ในเมือง (บันไดเลื่อน ตู้กดน้ำ ลิฟต์) และยานพาหนะ (รถขยะ รถดับเพลิง จรวด) ทั้งยังมีลูกเล่นเป็นภาพป็อปอัปเสริมการเรียนรู้ให้เด็กวัยอนุบาลได้ดีอีกด้วย หนังสือภาพป็อปอัปเล่มนี้สนนราคาอยู่ที่ 2,178 เยน หรือ 645.55 บาท หาซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไปในญี่ปุ่น Source : Tonari ญี่ปุ่น | https://www.facebook.com/tonarijapanth/posts/1703424116531478

RIP ร่วมวางดอกไม้จันทน์ให้ตัวละครที่ตายจากมังงะเรื่องโปรด ณ สุสานในนิทรรศการ 2 D Afterlife

‘2 D Afterlife’ นิทรรศการจากศิลปนิพนธ์ของ จิณห์นิภา นิวาศะบุตร ผู้จัดงานไว้อาลัยให้การ์ตูนตัวโปรดที่ตายเป็นงานศิลปะ

Park-PFI โปรเจกต์ดิ้นรนหาสเปซสีเขียวของญี่ปุ่น เกาะพื้นที่ไม่มากแต่ประชากรหนาแน่นมาก

รู้จัก Park-PFI โครงการที่รัฐบาลญี่ปุ่นจับมือกับภาคเอกชนเสริมสวยสวนสาธารณะเพื่อสร้างที่สีเขียวให้กระตุ้นเศรษฐกิจในนัดเดียว

รถติดนัก งั้นเหาะซะเลย! กระเช้าลอยฟ้า ‘Zippar’ ขนส่งใหม่ของญี่ปุ่น จุคนได้ 3,000 คน/ชม. คาดใช้จริงปี 2025

ชวนส่องโปรเจกต์กระเช้าลอยฟ้า การเดินทางรูปแบบใหม่ ไอเดียโดนๆ จากสตาร์ทอัปญี่ปุ่น

Osaka กับแผน Soft Power เรียกคืนเสน่ห์ Manchester of East Asia ด้วยมิวเซียมบ้านโอซาก้าแท้แห่งแรกในญี่ปุ่น

Osaka Museum of Housing and Living พิพิธภัณฑ์โอซาก้าบรรยากาศ Machiya ที่สร้างโดยช่างผู้เคยสร้าง Katsura Imperial Villa

เมื่อมังงะ ดวงรายเดือน พระ ทำให้รั้วไซต์ก่อสร้างเป็นมากกว่าที่กั้นและเซฟแบบคาวาอี้

นักท่องเที่ยวสายเสพงานศิลป์ เวลามาญี่ปุ่นน่าจะพุ่งไปงานนิทรรศการกรุบกริบต่างๆ ตามมิวเซียมเก๋อย่าง Mori Art Museum หรือ 21_21 DESIGN SIGHT จริงๆ แล้วถ้าสังเกตให้ดี ในเมืองแอบมีงานศิลปะน้อยใหญ่ซ่อนตัวอยู่ตามจุดต่างๆ มากมาย และจุดที่คนน่าจะมองข้ามกันมากที่สุดคือ ‘ไซต์ก่อสร้าง’ ตั้งแต่อยู่ญี่ปุ่นมาหลายปี ไม่มีวันไหนที่ออกจากบ้านแล้วไม่เจอการก่อสร้าง ภาพที่เห็นจนชินตามาพร้อมกับความชื่นชมเรื่องความสะอาด ความเงียบ และความเอาใจใส่ชุมชนรอบๆ เช่น มีการใช้แผ่นชีตเก็บเสียง เครื่องเก็บฝุ่น และล้างล้อรถที่ใช้ในการก่อสร้างทุกครั้ง เพื่อกันไม่ให้ความสกปรกหลุดออกมาภายนอก และมีพี่ รปภ. คอยโบกอำนวยความสะดวกให้ผู้สัญจร และในช่วงหลายปีมานี้ ไซต์ก่อสร้างพัฒนาความกรุบกริบด้วยการเติมความคาวาอี้ในหลายจุด จนต้องหยุดเดินหันมาถ่ายรูป ความเก๋ที่ว่านั้นมีหลากหลาย เช่น ผ้าใบลายเดียวกับสิ่งที่กำลังสร้าง รั้วกั้นเขตลายการ์ตูน (คนไทยน่าจะเคยเห็น AKIRA, ART OF WALL รั้วก่อสร้างลาย Akira ที่ชิบุยะ ซึ่งเมื่อก่อสร้างเสร็จก็จัดนิทรรศการแสดงผลงานเหล่านั้นต่อ แล้วเอารั้วก่อสร้างมาทำของเล่นขายด้วย) ผนังรั้วก่อสร้างผลงานออกแบบของศิลปิน รวมไปถึงกรวยเรืองแสง ไฟกะพริบลายดอกซากุระ บางครั้งเลยเถิดถึงขั้นเอาดวงรายเดือนตามราศีมาให้อ่านที่กำแพงด้วย แม้แต่ไซต์ก่อสร้างก็ยังคาวาอี้ ความเวรี่เจแปนนีสนี้มีที่มาอย่างไร ไปสำรวจที่มาความน่ารักเหล่านั้นกัน Animal Guard […]

Koganeyu เซนโต 88 ปีที่รีโนเวตตัวเองให้มีบาร์คราฟต์เบียร์ บูท DJ และภาพวาดศิลปินให้แช่ ชน ชิล

หลายคนที่รู้จัก ‘อนเซ็น’ อาจจะยังไม่รู้จัก ‘เซนโต’ หรือโรงอาบน้ำสาธารณะ อธิบายง่ายๆ อนเซ็นใช้น้ำแร่ เซนโตใช้น้ำร้อน เป็นวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ใช้การแช่ช่วยคลายความเหนื่อยล้าและเสริมสุขภาพให้คนญี่ปุ่นมานาน สมัยก่อนในโตเกียวมีเซนโตเยอะพอๆ กับร้านสะดวกซื้อ แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป คนสะดวกอาบน้ำที่บ้านมากกว่า จำนวนเซนโตจึงค่อยๆ ลดลงอย่างน่าใจหาย จากปี 1975 ที่เคยมี 2,500 แห่ง ตอนนี้เหลือเพียง 473 แห่ง โชคดีที่ Koganeyu เป็นหนึ่งในนั้น ฃเซนโตแห่งย่านคินชิโจนี้เป็นเซนโตเก่าแก่ที่อยู่คู่ชุมชนมานาน ดำเนินกิจการมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และเพิ่งรีโนเวตเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2020 Koganeyu กลับมาในดีไซน์สุดเท่ที่ได้ดีไซเนอร์ชื่อดังหลายคนมาช่วยออกแบบ พร้อมคราฟต์เบียร์บาร์และบูทดีเจ แจ่มไม่แจ่มก็ได้ลง Monocle และนิตยสารอีกเพียบ รวมไปถึงได้รางวัล Suanachelin (รางวัลสำหรับซาวน่ากรุบกริบ) ประจำปี 2020 ด้วย กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ไม่ใช่การเดินทางที่สะดวกรวดเร็วเหมือนชินคันเซ็น วัฒนธรรมชวนแช่อันเวรี่เจแปนนีสนี้จะอยู่รอดได้อย่างไร วันนี้เราได้สองสามีภรรยา Shinbo เจ้าของ Koganeyu มาเล่าให้ฟังถึงเสน่ห์ของการอาบน้ำนอกบ้านและการปรับตัวเข้ากับยุคสมัยได้อย่างน่าทึ่ง Glocal Sento ภารกิจเผยแพร่วัฒนธรรมการแช่ Koganeyu […]

Edo-Tokyo มิวเซียม 70,000 ตร.ม. ที่ยกบ้านหลังประวัติศาสตร์มาทำหมู่บ้านแห่งสถาปัตย์ญี่ปุ่น

ในวันที่รู้สึกเบื่อๆ เคยลองเสิร์ชเล่นๆ ว่าโตเกียวมีพิพิธภัณฑ์อะไรน่าสนใจบ้าง ผลลัพธ์ที่ออกมาชวนกรี๊ดมาก เมืองนี้ช่างอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพิพิธภัณฑ์นานาประเภท สิ่งพื้นฐานอย่างอาร์ตมิวเซียมและพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์มีแทบทุกแขนง พิพิธภัณฑ์การ์ตูนก็เนืองแน่น ของแปลกที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีก็มากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์เกลือ พิพิธภัณฑ์อุปกรณ์และประวัติศาสตร์การดับเพลิง พิพิธภัณฑ์ค่าเงิน พิพิธภัณฑ์ปรสิต ฯลฯ ใครจะไปคิดว่าโตเกียวซึ่งเป็นเมืองหลวงมาตั้งแต่ปี 1869 เพิ่งนึกขึ้นได้ว่า… เฮ้ย! เรายังไม่มีพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์! หลังจากทางการโตเกียวไหวตัวทันว่ายังไม่มีพิพิธภัณฑ์ที่เล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกรุงโตเกียวเลย Edo-Tokyo Museum จึงถูกก่อตั้งในปี 1993 ที่เขต Sumida โดยมีสาขาย่อยที่เล่าเรื่องราวผ่านสถาปัตยกรรมและชีวิตของผู้คนคือ Edo-Tokyo Open-Air Architectural Museum ที่เขต Musashino ซึ่งตั้งอยู่คนละฟากของเมืองเลยทีเดียว เพราะต้องใช้พื้นที่ในการจัดแสดง นอกจากจะเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง Edo-Tokyo Open-Air Architectural Museum ยังต่างกับพิพิธภัณฑ์อื่นๆ ตรงที่ไม่ได้เล่าแค่ประวัติศาสตร์และคุณค่าของสิ่งก่อสร้าง แต่เน้นเรื่องวิถีชีวิตของคนสมัยก่อนไม่แพ้กัน เดินดูเองก็ว่าสนุกแล้ว แต่เมื่อได้ Hidehisa Takahashi ภัณฑารักษ์ผู้คร่ำหวอดในวงการจาก Edo-Tokyo Open-Air Architectural Museum มาเล่าให้ฟังถึงความพิเศษของอาคาร 30 หลังบนพื้นที่ […]

สะท้อนสังคม LGBTQ+ ในดินแดนญี่ปุ่นผ่านมังงะ ‘One Piece’

เปิดมุมมองสังคม LGBTQ+ ในดินแดนญี่ปุ่นผ่าน ‘เกาะกะเทย’ ใน “One Piece” มังงะที่สะท้อนภาพความหลากหลายทางเพศได้อย่างชัดเจน และหลายแง่มุม ทั้งตัวละคร การสร้างเกาะ การนำเรื่องราว สังคม วัฒนธรรม ในโลกแห่งความจริงมาแต่งแต้มสีสันให้กับโลกของวันพีซ นับว่าเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้วันพีซนั้นประสบความสำเร็จไปทั่วโลก และเป็นอีกหนึ่งมังงะที่กลายเป็นเครื่องมือซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในการสื่อสารตั้งแต่วัฒนธรรม เยาวชน สู่ผู้คนทั่วโลก ทั้งยังสะท้อนวัฒนธรรม และภาพสังคม LGBTQ+ ในประเทศญี่ปุ่นได้อย่างดีเยี่ยม

1 2 3 4 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.