ออกแบบเมือง ‘Demon Slayer’ ให้มนุษย์อยู่ร่วมกับอสูรได้ ด้วยนโยบายที่ดาบไม่ต้องพิฆาตอสูร

‘Demon Slayer’ (Kimetsu no Yaiba) หรือ ‘ดาบพิฆาตอสูร’ เป็นหนึ่งในผลงานหนังสือการ์ตูนยอดฮิตจากญี่ปุ่น ที่เขียนโดย ‘โคโยฮารุ โกโตเกะ’ (Koyoharu Gotouge) และถูกนำไปสร้างเป็นอานิเมะและภาพยนตร์ที่หลายต่อหลายเสียงต่างบอกต่อกันมาว่า ดี! แบบตะโกน จักรวาลของ ‘ดาบพิฆาตอสูร’ เริ่มต้นด้วย ‘คามาโดะ ทันจิโร่’ เด็กหนุ่มผู้มีจมูกดมกลิ่นเป็นเลิศ ซึ่งมีครอบครัวที่อยู่ห่างไกลในหุบเขา วันหนึ่งเขาแบกถ่านไปขายในเมืองและกลับมาถึงบ้านก็พบว่า ทั้งครอบครัวถูกอสูรฆ่าอย่างโหดร้าย เหลือเพียงน้องสาวที่รอดชีวิตมาได้ และต้องกลายร่างเป็นอสูร จากเหตุการณ์นั้นกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ชีวิตของทันจิโร่ต้องเผชิญกับความหม่นหมองเศร้าตรม ทว่าในความมืดมน เขาได้พบกับนักล่าอสูรที่มองเห็นคุณค่าบางอย่างในตัวของเขา และช่วยชี้หนทางหลุดพ้นจากสถานการณ์นี้ด้วยการแนะนำให้เดินทางไปพบเสาหลักอาวุโส เพื่อทำการฝึกฝนวิชาเป็นนักล่าอสูร นำไปสู่ภารกิจแก้แค้นอสูรที่ฆ่าคนในครอบครัว และทำให้น้องสาวของเขากลับมาเป็นมนุษย์อีกครั้ง “ถ้ามนุษย์กับอสูรอยู่ร่วมกันได้ก็คงดี แต่เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ตราบใดที่อสูรยังกินมนุษย์” บทสนทนาตอนหนึ่งในเรื่องทำให้เรารู้ว่า แท้จริงแล้วไม่ว่าจะเป็นฝ่ายธรรมะหรืออธรรมก็ต่างมีเหตุผลของการต้องดิ้นรนมีชีวิต เพื่อต้อนรับการมาถึงของดาบพิฆาตอสูรภาคล่าสุด ‘หมู่บ้านช่างตีดาบ’ ที่เพิ่งเข้าฉายใน Netflix คอลัมน์ Urban Isekai จึงอยากสวมบทบาทเป็นเสาหลักเข้าไปสร้างเมืองที่ ‘มนุษย์อยู่ร่วมกับอสูรได้’ โดยนำพลังของมนุษย์และอสูรมาใช้พัฒนาให้ทุกคนและทุกตนให้เกิดความเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน นำไปสู่การพัฒนาเมืองที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกับอสูรได้ และกระจายอำนาจไปยังเมืองต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรวมศูนย์หรือผูกขาดอำนาจในอนาคต พื้นที่มืดกลางแสงแดด (Outdoor Spaces) […]

O_building เปลี่ยนเส้นทางระหว่างอาคารที่มืดทึบให้น่าเดิน ด้วยกระจกครึ่งบาน รับแสงแดดและเพิ่มพื้นที่

เมื่อพูดถึงอาคารที่อยู่อาศัย เรามักนึกถึงตึกสูงที่ตั้งชิดกันจนแทบไม่เหลือพื้นที่ว่างให้เดิน เช่นเดียวกันกับเมือง Musashino ในเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ที่มีอาคารพาณิชย์ตั้งเรียงรายจนทำให้เกิดทางเดินที่คับแคบและมืดทึบ สตูดิโอ Yohei Kawashima Architects จึงออกแบบ ‘O_building’ อาคารที่ล้อมรอบไปด้วยกระจกครึ่งบานและทางเดินที่เต็มไปด้วยธรรมชาติ เพื่อเพิ่มมุมมองที่สวยงามของเมืองโตเกียว O_building เป็นอาคารสามชั้นที่ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อ ‘Yohei Kawashima’ มีลักษณะเป็นอาคารที่อยู่อาศัยรูปทรงเสาธง (Flagpole-shaped Residence) ที่ล้อมรอบไปด้วยธรรมชาติทั้งทิศเหนือและทิศใต้ของโครงสร้างอาคาร Yohei Kawashima Architects พยายามออกแบบให้พื้นที่ทางเดินด้านข้างมีชีวิตชีวามากขึ้นด้วยการวางแผ่นกระจกครึ่งบานไว้ตามทาง เพื่อทำหน้าที่รับแสงและเงาของแดดที่ส่องผ่านเข้ามาตามช่องว่าง ทั้งยังช่วยให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกว่ามีพื้นที่มากขึ้นจากการสะท้อนภาพอาคารและด้านหลังของอาคารอีกฝั่งหนึ่งที่อยู่ติดกันด้วย นอกจากนี้ ทางทีมสถาปนิกยังเสริมความน่ามองของทางเดินด้วยต้นไม้เขียวขจี เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยมาใช้เวลาพักผ่อนตรงบริเวณนี้ หรือผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาได้สัมผัสกับธรรมชาติ และพวกเขายังเชื่อว่าทางเดินเล็กๆ ข้างอาคารแห่งนี้จะช่วยเปลี่ยนประสบการณ์การเดินท่ามกลางแสงแดดให้สดชื่นขึ้น รวมถึงเปลี่ยนคุณภาพพื้นที่ที่เชื่อมต่อระหว่างอาคารได้อย่างแน่นอน Source :Designboom | bit.ly/40A77Cm

‘Hisaya-odori Park’ เปลี่ยนสวนสาธารณะ 60 ปี ให้คึกคักขึ้น ผ่าน 4 โซน ใจกลางนาโกยา

ญี่ปุ่นถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความสนใจพื้นที่สาธารณะสีเขียวมาก จนเกิดเป็นโครงการ ‘Park-PFI’ สำหรับพัฒนาสวนสาธารณะ พื้นที่สีเขียว และพื้นที่เกษตรในชุมชนโดยเฉพาะ นำทีมโดยสำนักพัฒนาสวนสาธารณะ พื้นที่สีเขียวและภูมิทัศน์แห่งกรมเมืองประจำกระทรวง ‘Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism’ ‘Hisaya-odori Park’ สวนสาธารณะอายุเก่าแก่กว่า 60 ปี เขตซาคาเอะ ใจกลางเมืองนาโกยาเอง ก็เป็นหนึ่งในโครงการ Park-PFI ที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ที่มีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ทั้งหมดเพื่อทำให้สวนสาธารณะเป็นมิตรต่อผู้อยู่อาศัยและนักท่องเที่ยวจากในและนอกประเทศมากขึ้น พื้นที่กว่า 8,136 ตารางเมตร ทอดยาวประมาณ 1 กิโลเมตรจากเหนือจรดใต้ ได้รับการปรับปรุงให้กลายเป็นสวนสีเขียวที่ทันสมัย ประกอบไปด้วยร้านค้ากว่า 35 ร้าน จากการออกแบบโดย ‘Nikken Sekkei Ltd., TAISEI CORPORATION’ บริษัทออกแบบสัญชาติญี่ปุ่นที่เก่าแก่และมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 100 ปี พื้นที่ของ Hisaya-odori Park แบ่งออกเป็น 4 โซนหลักที่ผสมผสานความมีสไตล์เข้ากับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยไล่ระดับจากโซนที่ 1 ที่มีความใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด ไปสู่โซนที่ […]

ญี่ปุ่นประกาศวีซ่า J-SKIP และ J-FIND หวังดึงคนเก่ง รายได้สูงเข้าประเทศ เริ่มต้นเดือนเมษายน 2023 เป็นต้นไป

หลังจากที่ประเทศญี่ปุ่นประสบปัญหาภาวะ ‘สมองไหล (Brain Drain)’ ทำให้คนเก่งที่มีทักษะสูงย้ายไปทำงานต่างประเทศเป็นจำนวนมาก จนเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศ ล่าสุดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2023 ทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศข้อกำหนดใหม่ในการยื่นขอวีซ่า J-SKIP และ J-FIND ขึ้น เพื่อดึงคนมีความสามารถรุ่นใหม่เข้าประเทศ  ‘J-SKIP (Japan System for Special Highly Skilled Professionals)’ เป็นวีซ่าทำงานประเภท 5 ปี สำหรับนักวิจัยและวิศวกรรายได้ 20 ล้านเยนต่อปี (5 ล้านบาท) ที่มีวุฒิปริญญาโทหรือประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 10 ปี และผู้บริหารระดับสูงประสบการณ์อย่างน้อย 5 ปี ที่มีรายได้อยู่ที่ 40 ล้านเยนต่อปี (10 ล้านบาท) โดยนักวิจัย วิศวกร และผู้บริหารระดับสูงที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดนี้ สามารถสมัครงานและย้ายถิ่นฐานมายังประเทศญี่ปุ่นได้ทันที โดยไม่ต้องสอบวัดระดับ ‘Point-Based System’ เหมือนในอดีต และหลังจากพำนักอยู่ในญี่ปุ่นเป็นเวลา 1 ปี ผู้ถือวีซ่านี้สามารถยื่นขอวีซ่าถาวรได้ […]

เธอก็มีได้นะ ตู้กาชาปองน่ะ! ‘Showy Gacha’ กระเป๋าตู้กาชาฯ ที่มาพร้อมแคปซูลและหมุนได้จริง

ในวัยเด็ก คุณเคยฝันว่าอยากมีตู้กาชาปองส่วนตัวไหม ถ้าใช่ ความฝันของคุณกำลังจะเป็นจริงได้ด้วย ‘Showy Gacha’ กระเป๋าเป้รูปทรงตู้กาชาปอง ที่เหมือนยกตู้กาชาฯ จากย่านอากิฮาบาระมาไว้บนไหล่เรา Showy Gacha เป็นส่วนหนึ่งของโปรเจคต์ ‘Let’s Play Gacha Project’ ผลงานการออกแบบของ ‘Takara Tomy Arts’ บริษัทของเล่นสัญชาติญี่ปุ่นที่หยิบเอาต้นแบบตู้กาชาปองรุ่น Gacha 2EZ ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในเด็กและผู้ใหญ่มาเป็นใช้เป็นต้นแบบ เพื่อเฉลิมฉลองให้กับวันกาชาปอง (Gacha Day) ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ของทุกปี Showy Gacha ถูกออกแบบมาให้เป็นกระเป๋าเป้ขนาดใหญ่ที่ช่องด้านหลังสามารถใส่เอกสารขนาด A4 และแล็ปท็อปขนาด 13 นิ้วได้ พร้อมช่องแบ่งสำหรับจัดเก็บสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ ภายในเพื่อความเป็นระเบียบ ขณะที่กระเป๋าส่วนหน้ามาพร้อมแคปซูลกาชาปองให้ผู้ใช้งานสามารถใส่ของสุดน่ารักไว้ภายใน แม้ว่าภายในตัวกระเป๋าจะไม่มีกลไกที่เมื่อหมุนแล้วตัวแคปซูลจะตกลงมากแบบเครื่องกาชาปองจริง แต่ด้วยตัวกลไกที่หมุนแล้วมีเสียง ‘คลิก’ ทีี่ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังหมุนกาชาปองอยู่จริงๆ และช่องด้านล่างที่สามารถเปิดซิปเพื่อสุ่มหยิบแคปซูลจากบางลูกที่เราใส่เอาไว้จำนวนมากภายใน ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ Showy Gacha กลายเป็นกระเป๋าสุดเท่ที่ใครๆ ต่างต้องการมีไว้ในครอบครอง ใครที่สนใจอยากเป็นเจ้าของ Showy Gacha สามารถสั่งจองล่วงหน้าผ่านทาง […]

Urasando Public Toilet ห้องน้ำสาธารณะที่ออกแบบด้วยความเรียบง่าย ใช้งานสะดวก สวยงามด้วยสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม

เวลาต้องใช้ห้องน้ำสาธารณะ ทุกคนจะนึกถึงเรื่องความสะอาด สุขอนามัย และความปลอดภัยเป็นสำคัญ แน่นอนว่าห้องน้ำสาธารณะหลายๆ แห่งในบ้านเรานั้นไม่ค่อยน่าพิสมัยเสียเท่าไหร่  วันนี้เราอยากพาไปดูอีกหนึ่งไอเดียการออกแบบห้องน้ำสาธารณะในประเทศญี่ปุ่น ในโครงการ ‘The Tokyo Toilet’ ซึ่งจัดขึ้นโดยมูลนิธินิปปอน (Nippon Foundation) เนื่องในโอกาสการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่โตเกียว 2020 ที่ผ่านมา  โครงการ The Tokyo Toilet ได้ชวนเหล่านักออกแบบและสถาปนิกมาออกแบบห้องน้ำสาธารณะหลายแห่งทั่วเขตชิบูยาของกรุงโตเกียว เพื่อสร้างการออกแบบที่อบอุ่น เชิญชวน และโดดเด่น และทำให้ประชาชนสามารถใช้ห้องน้ำนอกบ้านกันได้อย่างสุขใจ โดยหนึ่งในนักออกแบบที่ไม่ใช่คนญี่ปุ่นอย่าง ‘Marc Newson’ นักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชาวออสเตรเลีย ได้ออกแบบห้องน้ำสาธารณะแห่งที่ 14 จากทั้งหมด 17 แห่ง ชื่อว่า ‘Urasando Public Toilet’ ซึ่งเริ่มเปิดให้ใช้งานไปในวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา ด้านในของห้องน้ำสาธารณะแห่งนี้ทาด้วยสีเขียวพาสเทลเป็นหลัก เพื่อให้เกิดความนุ่มนวลสบายตา ดูสว่าง ให้ความรู้สึกสะดวกสบาย เกิดเป็นความเรียบง่ายที่สามารถมองเห็นทุกสิ่งได้อย่างทั่วถึง ส่วนวัสดุที่เลือกใช้มีความทนทาน ทำความสะอาดง่าย ส่งผลให้พื้นที่สาธารณะมีเสน่ห์เชื้อชวนให้ผู้คนมาใช้บริการ นอกจากนี้ Marc Newson ยังได้หยิบหัวใจของสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมญี่ปุ่นมาใช้เพื่อทำให้สไตล์งานออกแบบของเขาเข้ากับรากเหง้าของแดนอาทิตย์อุทัย ด้วยการดีไซน์หลังคาทองแดงมิโนโกะ […]

สำรวจดราม่า ความรัก และวิถีชีวิตญี่ปุ่น ใน Japanese Film Festival 2023 วันที่ 10 – 19 / 25 – 26 ก.พ. 2566 กทม.และเชียงใหม่

หนึ่งในเทศกาลภาพยนตร์ที่คอหนังชาวไทยรอมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ คงหนีไม่พ้น Japanese Film Festival หรือเทศกาลภาพยนตร์ญี่ปุ่น ที่ทางเจแปนฟาวน์เดชั่นเป็นตัวตั้งตัวตีจัดมาหลายปี เพราะนี่คือโอกาสดีที่ชาวไทยจะได้ชมภาพยนตร์ญี่ปุ่นนอกกระแสที่ปกติอาจไม่มีโอกาสชมในโรงภาพยนตร์ ทั้งยังมีหลากหลายแนวและรสชาติให้ได้เปิดมุมมองทำความเข้าใจญี่ปุ่นในบริบทอื่นๆ ด้วย ปีนี้ Japanese Film Festival 2023 กลับมาพร้อมโปรแกรมภาพยนตร์คุณภาพกว่า 10 เรื่อง ยิ่งไปกว่านั้นยังมีกิจกรรมอื่นๆ ให้ผู้ชมภาพยนตร์ร่วมสนุกที่โรงหนัง House Samyan ซึ่งเป็นสถานที่ฉายหนังของเทศกาลที่กรุงเทพฯ ส่วนชาวเชียงใหม่ชมฟรี 4 เรื่องที่สมาคมฝรั่งเศสเชียงใหม่ โปรแกรมภาพยนตร์ใน Japanese Film Festival 2023 มีดังนี้ – 𝗕𝗟 𝗠𝗲𝘁𝗮𝗺𝗼𝗿𝗽𝗵𝗼𝘀𝗶𝘀 (2022)– 𝗜𝗡𝗨-𝗢𝗛 (2021)– 𝗞𝗶𝗱𝘀 𝗞𝗼𝗻𝗳𝗲𝗿𝗲𝗻𝗰𝗲 (2022)– 𝗧𝗵𝗲 𝗙𝗶𝘀𝗵 𝗧𝗮𝗹𝗲 ลูกปลาน้อย (2022)– 𝗔𝗻𝗱 𝗦𝗼 𝘁𝗵𝗲 𝗕𝗮𝘁𝗼𝗻 𝗶𝘀 𝗣𝗮𝘀𝘀𝗲𝗱 แล้วไม้วิ่งผลัดก็ถูกส่งต่อ (2021)– 𝗠𝗮𝘆 […]

‘mui Board’ กระดานไม้อัจฉริยะ อุปกรณ์ควบคุมเครื่องใช้ในบ้าน สงบ เรียบง่าย กลืนไปกับบ้าน

ใครจะรู้ว่าแผ่นไม้กระดานที่ติดอยู่บริเวณผนังบ้านอย่างเรียบง่าย ความจริงแล้วคือ ‘mui Board’ กระดานไม้อัจฉริยะที่ใช้ควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านร่วมกับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออื่นๆ อย่าง Apple, Google และ Amazon ได้อย่างง่ายดาย mui Board เป็นผลงานการออกแบบของ ‘mui Lab’ บริษัทเทคโนโลยีของญี่ปุ่น ที่ต้องการทำให้อุปกรณ์อัจฉริยะชิ้นนี้กลืนไปกับผนังบ้าน คล้ายเฟอร์นิเจอร์ไม้เรียบๆ ชิ้นหนึ่ง โดยระบบไฟแสดงการทำงานจะสว่างขึ้นเมื่อมีการสัมผัสเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะ mui Lab ให้ความสำคัญกับการใช้เวลาร่วมกันของคนในครอบครัว โดยไม่ต้องการให้มีสิ่งรบกวนจากแสง LED ที่มักแสดงผลบนเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านตลอดเวลา mui Board ทำหน้าที่เป็นเสมือนสื่อกลางของบ้านที่ทำงานร่วมกับ mui Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอเนกประสงค์ที่ช่วยมอบประสบการณ์บ้านอัจฉริยะอันสงบเงียบไม่เหมือนใครให้เจ้าของบ้านได้อย่างเป็นเอกลักษณ์  หน้าที่หลักของมันคือ การเป็น Smart Home IoT Remote Control ที่สามารถควบคุมอุปกรณ์และเครื่องใช้ IoT (Internet of Things) ที่หลากหลายได้จากระยะไกล ตั้งแต่ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ ลำโพง และอุปกรณ์อัจฉริยะภายในบ้านอื่นๆ  mui Board ยังเป็นบอร์ดข้อมูลประจำวันที่ใช้ตรวจสอบสภาพอากาศ จับเวลา […]

Japan Again ในวันที่แสงแดดอบอุ่น

ขึ้นปีใหม่เลยคิดถึงเรื่องเก่า เปิดลิ้นชักออกมาแล้วไม่เจอเครื่องไทม์แมชชีนย้อนเวลาเหมือนในห้องของโนบิตะ วิธีเดียวที่ใช้นึกถึงวันที่ผ่านมาให้จดจำได้มากที่สุดคงไม่พ้นการดูภาพถ่าย ภาพแทนสายตาที่บันทึกไว้เป็นเครื่องกันลืมว่าครั้งหนึ่งเราเคยรู้สึกอย่างไรต่อช่วงเวลาเหล่านั้น ‘เซโตะอุจิ’ เป็นอาณาจักรทะเลที่ใหญ่สุดในญี่ปุ่น แวดล้อมไปด้วย 7 จังหวัดที่มีสไตล์ต่างกันออกไปตามแต่ละวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นๆ แต่สิ่งที่ไม่ต่างกันคือการจัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยอย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะชนบท ชุมชนริมฝั่ง หรือในเมืองใหญ่ ทุกวิถีชีวิตล้วนดำรงด้วยความเป็นระเบียบ สะอาดตา มองแล้วไม่มีอะไรเกะกะ มีแต่ความสบายใจ ประเทศโลกที่สามกับประเทศโลกที่หนึ่งช่างแตกต่าง ญี่ปุ่นครั้งแรกของเราในฐานะผู้มาเยือนจึงมีแต่ภาพแปลกใหม่ สิ่งรอบตัวไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ สำคัญมากหรือน้อย ล้วนแล้วแต่มีรายละเอียดราวกับชิ้นงานศิลปะให้ชวนมอง เป็นเมืองที่คนเดินได้แบบไม่ต้องกังวล ปั่นจักรยานไปทำงานได้อย่างปลอดภัย ผู้สูงอายุเองก็ยังยืนหลังตรงทำมาหากินได้จำนวนไม่น้อย เกือบทุกคนแข็งแรงจนมีกล้ามขาเป็นมัดๆ  อีกความดึงดูดของญี่ปุ่นคือ ดินแดนแห่งนี้เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมตึกสูงต่ำลดหลั่นกันไป ประกอบกับเป็นเมืองที่อุดมไปด้วยความร่วมสมัยและยังคงผสานความดั้งเดิมไว้อย่างลงตัว แสงแดดอบอุ่นที่ญี่ปุ่นช่วยให้กล้องโลหะตัวเก่าที่เราพกติดตัวไปบันทึกภาพความทรงจำออกมาได้อย่างถูกต้องที่สุดเทียบเท่าที่เคยได้มองเห็น  ญี่ปุ่นเมื่อสี่ปีที่แล้วกลายเป็นภาพจำเลือนๆ ตามขวบปีที่เพิ่มขึ้น ไม่รู้ว่าหลังจากยุคโรคระบาด ที่นั่นจะเป็นอย่างไรบ้าง เริ่มปีใหม่ที่คนบนโลกสามารถเดินทางทั่วถึงกันได้แล้วแบบนี้ ยิ่งทำให้รู้สึกอยากจองตั๋วเครื่องบินขึ้นมา แต่เปิดลิ้นชักอีกทีคราวนี้ก็พบว่า ยังไม่มีตังค์นี่หว่า ดูท่าคงต้องทำงานเก็บเงินก่อน หวังว่าจะได้พบกันอีกนะ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected]

‘ญี่ปุ่น’ กับการสร้างชาติด้วยวัฒนธรรมการเดินทาง ‘ระบบรถไฟ’

‘ญี่ปุ่น’ ถือเป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์และความก้าวหน้าในหลายๆ ด้าน ทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน วัฒนธรรมอาหารที่โด่งดังไปทั่วโลก รวมถึงสวัสดิการและโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการใช้ชีวิตของประชาชนอย่างรอบด้าน จนทำให้แดนปลาดิบติดท็อป 10 ประเทศน่าอยู่ที่สุดในโลกแทบทุกปี หนึ่งในสิ่งอำนวยความสะดวกของญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรมากที่สุดคือ ‘เครือข่ายรถไฟ’ ที่มาพร้อมชื่อเสียงเรื่องความทันสมัย ความสะอาด และการตรงต่อเวลา ขนาดที่ว่าถ้ารถไฟขบวนไหนออกเร็วหรือช้าแค่หลักวินาที ทางบริษัทรถไฟจะรีบออกแถลงการณ์ขอโทษผู้โดยสารทันที จากความสะดวกสบายของระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้ชีวิตของชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ผูกติดอยู่กับการเดินทางด้วยรถไฟ เห็นได้จากสัดส่วนผู้โดยสารที่ใช้งานระบบรถไฟในกรุงโตเกียวที่มีมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นตัวเลขค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับมหานครนิวยอร์กและกรุงลอนดอน ที่มีสัดส่วนดังกล่าวประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ และ 19 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ คอลัมน์ Report ประจำเดือนนี้ชวนไปสำรวจว่า ปัจจัยใดที่ทำให้ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในเครือข่ายรถไฟที่ดีที่สุดในโลก โดยพาผู้โดยสารไปส่งยังจุดหมายปลายทางได้เกือบทุกที่ทั่วประเทศ แถมยังครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนทุกกลุ่ม เปลี่ยนให้เอกชนดูแลเครือข่ายรถไฟ ต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า ผู้ดูแลบริหารเครือข่ายรถไฟทั่วเกาะญี่ปุ่นคือ ‘กลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น’ หรือ ‘Japan Railways Group (JR Group)’ ที่แต่เดิมรัฐเป็นเจ้าของ แต่เมื่อปี 1987 รัฐบาลได้ดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization) โอนกิจการให้เอกชนเข้ามาดูแล เพื่อแก้ไขสองปัญหาหลักๆ ได้แก่ การเป็นองค์กรขนาดใหญ่อุ้ยอ้ายจนบริหารงานยาก และการดำเนินงานภายใต้อิทธิพลทางการเมืองจนสร้างความเสียหายให้องค์กร อย่างการสร้างเส้นทางรถไฟที่ไม่ทำกำไรเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง […]

ชวนดูการออกแบบ Wayfinding ของ Totetsu Training Institute ที่ทั้งเก๋ไก๋ สื่อถึงรางรถไฟ และตอบโจทย์การนำทาง

Motive Inc. สตูดิโอสัญชาติญี่ปุ่นได้ออกแบบระบบการบอกเส้นทาง (Wayfinding) สำหรับสถาบันฝึกอบรมของบริษัทซ่อมบำรุงทางรถไฟ Totetsu Kogyo โดยใช้เครื่องหมายที่เก๋ไก๋แต่เรียบง่าย เพื่อนำทางผู้มาเยี่ยมชมอาคาร สถาบันแห่งนี้ตั้งอยู่ในเมือง Tsukubamirai จังหวัด Ibaraki ก่อตั้งขึ้นตามความต้องการของอดีตกระทรวงการรถไฟที่ทำหน้าที่บำรุงรักษาและพัฒนาระบบรางของญี่ปุ่น Wayfinding ของที่นี่มีลักษณะเป็นเส้นทางที่ชวนให้นึกถึงรางรถไฟที่ฝังอยู่ในพื้น มุ่งนำไปสู่ห้องต่างๆ โดยอ้างอิงการออกแบบจากเอกลักษณ์ของ Totetsu Kogyo ในฐานะบริษัทให้บริการระบบรางของญี่ปุ่น และเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เข้ารับการอบรมที่ต้องมาใช้อาคารอยู่บ่อยครั้ง ทางสตูดิโอออกแบบเล่าว่า พวกเขาต้องการให้การออกแบบทำงานโดยเป็นไปตามสัญชาตญาณของผู้ใช้งาน คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยกระตุ้นการตอบสนอง และพึ่งพาข้อความน้อยที่สุด นอกเหนือจากการใช้เส้นสีบริเวณชั้นล่างไกด์ผู้คนอย่างมีประสิทธิภาพ Takuya Wakizaki ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ Motive Inc. ยังต้องการให้การออกแบบสร้างอิมแพกต์เมื่อมองจากด้านบนด้วย เนื่องจากอาคารมีเพดานที่เปิดโล่ง เส้นสีรางรถไฟที่ยึดโยงกันอย่างต่อเนื่องทั่วทั้งพื้นที่สองส่วนในอาคาร กระเบื้องเคลือบใกล้กับทางเข้าฝังด้วยเหล็กเส้นที่ใช้ในอุตสาหกรรม ส่วนบนทางเดินก็มีการใช้พื้นไวนิลสองสีเพื่อสร้างแพตเทิร์น เหล่านี้คือการออกแบบ Wayfinding ที่สื่อสารถึงความเป็นบริษัทที่ทำงานเกี่ยวกับรางรถไฟได้เป็นอย่างดี ความน่าสนใจคือ บนพื้นที่ตีเส้นราวกับรางรถไฟนั้นมีการใช้สีแดงสนิมเพื่อให้นึกถึงรางรถไฟจริงๆ และมีข้อความสีขาวเป็นภาษาญี่ปุ่นกับภาษาอังกฤษ ระบุถึงปลายทางที่เส้นทางนำไป นอกจากนี้ยังมีการใช้เศษโลหะจากอุตสาหกรรมมาทำแผ่นป้ายหลักของอาคาร และระบบรหัสสีในคีย์การ์ดสำหรับเปิดประตูห้องต่างๆ บนชั้นสอง ก็มีการออกแบบเป็นคล้ายๆ ปริศนา อ้างอิงจากแผนที่เส้นทางรถไฟที่บริษัท Totetsu Kogyo ให้บริการ ถ้าใครได้ไปอบรมงานที่นี่ คงได้แรงบันดาลใจและสนุกกับการดูแลพัฒนารางรถไฟขึ้นแน่ๆ  […]

What Did You Eat Yesterday? หนังฟีลกู้ดไม่ขายจิ้น แต่ถ่ายทอดชีวิตจริงของเกย์ญี่ปุ่นที่ดูแล้วยิ้ม + หิว

What Did You Eat Yesterday? หรือ เมื่อวานคุณทานอะไร น่าจะเข้าไปอยู่ใน Watchlist ของใครหลายคนตอนที่สตรีมมิงเจ้าใหญ่นำมาเผยแพร่ให้คนไทยดู พร้อมกับเสียงลือเสียงเล่าอ้างจากนักรีวิวที่ดูแล้วว่า นี่คือซีรีส์ญี่ปุ่นแนว Slice of Life ที่ดูแล้วทั้งฟินและหิวไปพร้อมกัน  ที่ว่าฟิน เพราะมันถ่ายทอดเรื่องราวของคู่รักเกย์วัยกลางคนอย่างสมจริงและแสนจะอบอุ่นใจ โดยไม่ได้เน้นขายความจิ้น ความโป๊ หรือการแสดงความรักด้วยการแตะเนื้อต้องตัว กอดจูบกัน เหมือนซีรีส์ชายรักชายส่วนหนึ่งในสื่อเมนสตรีมจะเป็น อันที่จริง ถ้าจะมีอะไรในเรื่องนี้ที่นับเป็น ‘การแสดงความรัก’ ได้ มันคงจะเป็นบทสนทนาเรียบง่ายที่ตัวละครถามไถ่ความเป็นไปของกันและกันทุกวัน รวมไปถึงการทำอาหารอันละเอียดลออ ใส่ใจของ ‘ชิโร่’ ที่สอดแทรกเป็นกิมมิกในทุกๆ ตอน นำมาซึ่งความหิวของทั้ง ‘เคนจิ’ และคนดูอย่างเราและเพราะติดใจความฟิน/ความหิวของมันนี่แหละ เราจึงไม่พลาดจะเดินเข้าโรงหนังทันที เมื่อ What Did You Eat Yesterday? เวอร์ชันภาพยนตร์เข้าฉาย ย้อนกลับไปก่อนที่เรื่องนี้จะกลายเป็นซีรีส์ฮิต What Did You Eat Yesterday? เคยเป็นมังงะที่มียอดพิมพ์กว่า 5 ล้านเล่มในญี่ปุ่น ในความนิยมอันล้นหลาม Fumi […]

1 2 3 4 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.