โรงแรมรักษ์โลกใกล้กรุงเทพฯ ‘neera retreat hotel’ ที่อยากให้คนปลีกวิเวกจากความวุ่นวายมาพักกายพักใจริมแม่น้ำท่าจีน

คนทำงานในเมืองมักมีชีวิตประจำวันที่เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา บางทีความเหนื่อยล้าจากการทำงานก็ทำให้คนอยากหาเวลาอยู่กับตัวเอง และเริ่มมองหาที่พักผ่อนบรรยากาศดีๆ ที่ไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก โรงแรมรีทรีต ‘neera retreat hotel’ ดูจะตอบโจทย์คนทำงานที่กำลังหาเวลามาพักผ่อนเงียบๆ คนเดียว เพราะดีไซน์ของโรงแรมแห่งนี้ได้รับการออกแบบมาอย่างพิถีพิถัน จากบรรยากาศที่รายล้อมไปด้วยพื้นที่สีเขียวสุดร่มรื่น มองเห็นกระแสน้ำของแม่น้ำท่าจีน มีสายลมเย็นๆ พัดผ่าน ชวนคนให้หยุดตัวเองจากความเร่งรีบและหันหน้าเข้าหาธรรมชาติมากขึ้น และนอกจากจะเป็นโรงแรมที่ชวนพักผ่อนแล้ว ที่นี่ยังเป็นโรงแรมรักษ์โลกที่สร้างประโยชน์ให้สิ่งแวดล้อมด้วย คอลัมน์ Urban Guide ขอพาไปทำความรู้จักกับ neera retreat hotel พร้อมพูดคุยกับเหล่าผู้ก่อตั้ง ‘ซอย-วริวรรณ์ วิทยฐานกรณ์’, ‘ซาน-วิชฌ์ วิทยฐานกรณ์’ และ ‘ซาว-ศิษฎ์ศิริ วิทยฐานกรณ์’ สามพี่น้องครอบครัว ‘วิทยฐานกรณ์’ ถึงแนวคิดการสร้างโรงแรมรีทรีตสีเขียว ที่จะทำให้ผู้มาเยือนรักษ์โลกและเข้าใจตัวเองมากขึ้น แนวคิดที่อยากริเริ่มโรงแรมรักษ์โลก ด้วยความที่โรงแรมตั้งอยู่ในจังหวัดนครปฐมที่อยู่ติดกับเมืองกรุงเทพฯ ใช้เวลาขับรถเพียงชั่วโมงนิดๆ ก็ถึงที่หมาย ทำให้ที่นี่เหมาะกับการเป็นพื้นที่พักใจในวันหยุดสุดสัปดาห์ของคนเมืองที่มีเวลาพักน้อยนิดและไม่อยากเดินทางไกล และเมื่อเดินเข้ามาเรื่อยๆ ในโรงแรม พบกับจุดนำสายตาที่มองเห็นวิวแม่น้ำท่าจีนและธรรมชาติที่อยู่รอบๆ โรงแรม ก็ยิ่งทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายราวกับได้ถอดปลั๊กออกจากความวุ่นวาย ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นได้เพราะความตั้งใจของสามผู้ก่อตั้งที่อยากให้ผู้เข้าพักทุกคนได้รับสิ่งนี้เป็นสิ่งแรกจากที่นี่ เพราะพวกเขา ได้แก่ ซอย พี่สาวคนโตที่มีประสบการณ์ด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี และการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ซาน พี่ชายคนกลาง […]

กางพิมพ์เขียว ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ปารีส โอลิมปิก 2024 ที่ออกแบบมาให้ยั่งยืน ช่วยพลิกฟื้นเมืองในอนาคต

ค.ศ. 1924 คือปีที่ปารีสได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกเป็นครั้งแรก และเป็นปีแรกของโอลิมปิกที่มีการสร้าง ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้เหล่านักกีฬา เพราะก่อนหน้านั้น นักกีฬาต้องหอบหิ้วกระเป๋าไปนอนตามโรงแรม โรงเรียน หรือแม้แต่บนเรือที่พวกเขาใช้เดินทางมาแข่งขัน หมู่บ้านนักกีฬาตอนนั้นเป็นเพียงโครงสร้างชั่วคราว เมื่อการแข่งขันปิดฉาก อาคารทั้งหลายก็ถูกรื้อทิ้งจนหมด แม้หมู่บ้านนักกีฬาแห่งแรกจะถึงจุดจบ แต่นี่คือจุดเริ่มต้นของประเพณีการสร้างหมู่บ้านนักกีฬาในงานโอลิมปิกครั้งต่อๆ มา ค.ศ. 2024 หนึ่งร้อยปีให้หลัง ปารีสได้โอกาสเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกอีกครั้ง พร้อมการเตรียมตัวขนานใหญ่เพื่อให้เมืองสามารถรองรับนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ชมหลายแสนหลายล้านคนที่แห่แหนมาในเมือง แน่นอน ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ก็เกิดขึ้นตามมาด้วย ในบริบทโลกที่เผชิญปัญหาสิ่งแวดล้อม แทนที่หมู่บ้านนักกีฬาจะสร้างมาแล้วรื้อทิ้ง หมู่บ้านนักกีฬาแห่งใหม่ในปารีส โอลิมปิก 2024 กลับสร้างด้วยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยึดหลักความยั่งยืนเป็นสำคัญ และคิดมาตั้งแต่แรกเลยว่า อาคารทั้งหลายจะกลายสภาพเป็นเมืองขนาดย่อมที่ประกอบด้วยที่อยู่อาศัย ร้านค้า ออฟฟิศ สวนสาธารณะ เป็นต้น หมู่บ้านนักกีฬาแห่งนี้ตั้งอยู่ในจังหวัดแซน-แซ็ง-เดอนี (Seine-Saint-Denis) จังหวัดชานเมืองตอนเหนือของปารีส และอยู่ติดกับแม่น้ำแซน (Seine) แม่น้ำสายหลักของกรุงปารีส โครงการมีพื้นที่ใหญ่โตกว่า 119,000 ตารางเมตร และได้ Dominique Perrault Architecture ออฟฟิศสถาปัตยกรรมจากฝรั่งเศส เป็นหัวเรือวางแผนแม่บท (Master […]

‘ปารีส’ เมือง 15 นาที ที่อยากให้ผู้คน ‘ใกล้ชิด’ กับ ‘ชีวิตดีๆ’ มากขึ้น

ย้อนไปเมื่อปี 2020 แอนน์ อีดัลโก (​​Anne Hidalgo) นายกเทศมนตรีแห่งกรุงปารีส ได้เสนอแนวคิดที่จะเปลี่ยนเมืองหลวงของฝรั่งเศสที่แสนจะวุ่นวายและเต็มไปด้วยกิจกรรมคึกคัก ให้กลายเป็น ‘เมือง 15 นาที’ (15-minute City) แนวคิดนี้คือการปรับปรุงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คน โดยการสร้างเมืองที่ผู้อยู่อาศัยสามารถเข้าถึงสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ในระยะเวลา 15 นาทีด้วยการเดินหรือปั่นจักรยาน เพื่อลดการเดินทางจากบ้านไปยังสถานที่ต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุด เช่น สถานที่ทำงาน โรงเรียน โรงพยาบาล สวนสาธารณะ ร้านอาหาร ร้านค้า ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นไปโดยหวังว่าปารีสโฉมใหม่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนให้คล่องตัว มีสุขภาพดี และยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงต้องการสร้างสังคมที่โอบรับคนทุกกลุ่มและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านมา 4 ปี มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นกับปารีสบ้าง และมหานครแห่งนี้เข้าใกล้การเป็นเมือง 15 นาทีมากขนาดไหนแล้ว คอลัมน์ City in Focus ขอชวนไปสำรวจและหาคำตอบพร้อมกัน เปลี่ยนจากการขับรถเป็นปั่นจักรยาน เป้าหมายแรกของกรุงปารีสคือการเปลี่ยนให้คนใช้รถยนต์น้อยลง และหันมาปั่นจักรยานมากขึ้น นายกฯ อีดัลโกอธิบายว่า การใช้จักรยานในเมืองจะแสดงให้เห็นว่าชาวปารีสสามารถปรับวิถีชีวิตของตัวเองได้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กรุงปารีสได้ออกข้อจำกัดเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ เช่น กำหนดให้เขตเมืองเป็นเขตควบคุมมลพิษต่ำ และกำหนดให้ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือนเป็นวันปลอดรถยนต์ […]

‘Low Carbon Skies by Bangkok Airways’ ส่องกลยุทธ์ลดคาร์บอนของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เพื่อมุ่งสู่สายการบินที่ยั่งยืน

การสั่งสมของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศโลกอย่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) คือตัวการที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน สภาพอากาศแปรปรวน อุณหภูมิโลกพุ่งสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อคนทุกภาคส่วน ด้วยเหตุนี้เอง หลายองค์กรจึงหันมาจริงจังกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ‘บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)’ หรือ ‘สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส’ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยโครงการ ‘Low Carbon Skies by Bangkok Airways’ ที่มาพร้อมกลยุทธ์ลดการปล่อยคาร์บอนในการดำเนินธุรกิจทั้งระบบ การบินแต่ละครั้งต้องใช้เชื้อเพลิงจำนวนมากในการขับเคลื่อนเครื่องบิน ซึ่งโดยปกติแล้ว เชื้อเพลิงอากาศยานจะผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มี Carbon Footprint สูง เพื่อติดปีกสู่การเป็นสายการบินโลว์คาร์บอน บางกอกแอร์เวย์สจึงจับมือกับ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR มาใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน หรือ Sustainable Aviation Fuel (SAF) SAF ที่บางกอกแอร์เวย์สใช้ เป็นเชื้อเพลิงที่ผลิตจากน้ำมันทำอาหารที่ใช้แล้ว หรือที่เรียกว่า UCO (Used Cooking Oil) โดย SAF […]

Sustainable Coffee Project โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน ที่ทำให้แค่การดื่มกาแฟแก้วเดียวก็ถือว่าช่วยโลกแล้ว

วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็น ‘วันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day)’ เพื่อสร้างความตระหนักและตื่นตัวด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั่วโลกให้กับทุกคน เพราะแค่เราเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตประจำวันเพียงเล็กน้อย ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมแล้ว ยิ่งในปีนี้ที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมทวีความรุนแรงขึ้นจากภาวะโลกเดือด การรักษาสิ่งแวดล้อมให้อยู่คู่เราไปนาน ๆ การเปลี่ยนแปลงจึงต้องเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นผู้มีอำนาจ ตัวเราเอง หรือกระทั่งผู้ประกอบการรายเล็กหรือใหญ่ ‘OR’ ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ผ่านแนวทางการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน หรือ OR SDG ด้วยการพัฒนา ‘โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน (Sustainable Coffee Project)’ ที่มีส่วนช่วยทำให้การดื่มกาแฟเพียงหนึ่งแก้วจาก Café Amazon ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้ และนำเสนอผ่านโฆษณา จุดเริ่มต้นของโอกาส บนช่องทางของ OR Official ว่าแต่ โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน จะช่วยให้การดื่มกาแฟเพียงแก้วเดียวช่วยขับเคลื่อนสังคมได้อย่างไร Urban Creature ขอพาทุกคนไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันในบทความนี้ ก่อนอื่นเราอยากพูดถึงความน่าสนใจของหนังโฆษณา ‘จุดเริ่มต้นของโอกาส’ ที่ชวนให้เราอยากติดตามต่อ กับการเปิดด้วยสองพ่อลูกใน Café Amazon ที่เพียงแค่คนพ่อยกกาแฟแบล็คคอฟฟี่ร้อนขึ้นดื่ม ทันใดนั้นฝุ่น PM […]

NUSANTARA เมืองหลวงใหม่ของอินโดนีเซีย ที่ทั้งไฮเทคและเน้นความยั่งยืน

‘กรุงจาการ์ตา’ คือเมืองหลวงของอินโดนีเซียที่ขึ้นชื่อเรื่องปัญหาความแออัด เพราะมีประชากรอยู่ราว 10.5 ล้านคน ในพื้นที่เพียง 661.5 ตารางกิโลเมตร ทำให้เกิดปัญหาเมืองแสนซับซ้อนตามมา เช่น ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม การจราจรติดขัด ปัญหาน้ำท่วม แผ่นดินทรุดตัว และมลพิษทางอากาศอย่างฝุ่น PM 2.5 เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น ในปี 2019 รัฐบาลอินโดนีเซียจึงประกาศย้ายเมืองหลวงจากกรุงจาการ์ตาไปยังผืนป่าในจังหวัดกาลีมันตัน บนฝั่งตะวันออกของเกาะบอร์เนียว โดยเมืองหลวงใหม่มีชื่อว่า ‘นูซันตารา’ (Nusantara) ซึ่งแปลว่า ‘หมู่เกาะ’ ในภาษาอินโดนีเซีย อินโดนีเซียต้องการสร้างนูซันตาราให้เป็นเมืองที่ยึดเรื่องสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และเทคโนโลยีเป็นหัวใจสำคัญ โดยหวังว่าจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทำให้ตัวเมืองมีชีวิตชีวา และเป็นอีกหนึ่งเมืองต้นแบบเรื่องความรักษ์โลก เมืองอัจฉริยะที่ปกป้องผืนป่า นูซันตารามีพื้นที่ครอบคลุม 2,560 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าเมืองหลวงเดิมเกือบ 4 เท่า โดยจะจัดสรรพื้นที่ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ให้เป็น ‘พื้นที่เมือง’ ส่วนอีกประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์จะรักษาไว้เป็น ‘พื้นที่สีเขียว’ สัดส่วนราว 65 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่สีเขียวจะปกคลุมไปด้วยป่าเขตร้อนที่ทำหน้าที่กักเก็บคาร์บอน สอดคล้องกับเป้าหมายออกแบบเมืองให้เป็น ‘เมืองป่าไม้ที่ยั่งยืน’ (Sustainable […]

The Body Shop แบรนด์สกินแคร์สายกรีน ลมหายใจเฮือกสุดท้ายกับจิตวิญญาณที่ยืนหยัดเพื่อสิ่งแวดล้อม

ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์เครื่องประทินผิวหลายแบรนด์ต่างให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เห็นได้จากการรณรงค์งดใช้กลิตเตอร์ผสมในผลิตภัณฑ์เพื่อลดการเกิดขยะไมโครพลาสติก หรือการยกเลิกการทารุณกรรมสัตว์จากการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องประทินผิวและเครื่องสำอาง แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่า ที่ผ่านมามีแบรนด์เครื่องประทินผิวแบรนด์หนึ่งที่ยึดมั่นและมุ่งมั่นทำเพื่อสิ่งแวดล้อมมาก่อนกาล จนต้องพบเจอกับโศกนาฏกรรมทางธุรกิจ ล้มพับหน้าร้านในหลายประเทศทั่วโลกไป หลายคนคงเคยได้ยินหรือคุ้นตากับแบรนด์ผลิตภัณฑ์สกินแคร์ชื่อดังจากสหราชอาณาจักร The Body Shop ที่วางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศไทยและทั่วโลก แต่หลังจากที่บริษัทประกาศล้มละลายไปเมื่อต้นปี 2024 ทำให้ต้องปิดสาขากว่า 198 สาขาในสหราชอาณาจักร และปัจจุบันในประเทศไทยก็ไม่มีสาขาเหลืออยู่แล้ว จะหาซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น ในช่วงเวลาที่ผู้คนหันมาใส่ใจความโปร่งใสเรื่องความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น Urban Creature ขอพาไปสำรวจที่มาที่ไปของแบรนด์ที่เป็นหนึ่งในโมเดลธุรกิจรักษ์โลกมาช้านาน และสิ่งที่พวกเขาพยายามขับเคลื่อนพร้อมกับการทำธุรกิจ รวมถึงปัจจัยที่ทำให้แบรนด์ยักษ์ใหญ่ขนาดนี้ล้มละลาย The Body Shop แบรนด์สกินแคร์ที่แคร์โลก ย้อนกลับไปเมื่อปี 1976 ร้าน The Body Shop แห่งแรกได้ถือกำเนิดขึ้นริมถนนเมืองไบรตัน ประเทศอังกฤษ โดย ‘แอนนิตา ร็อดดิก’ (Anita Roddick) ผู้ขับเคลื่อนวงการเครื่องสำอางในยุคนั้น แอนนิตามีแนวคิดที่อยากมอบทั้งความงามจากภายในสู่ภายนอก ไปพร้อมๆ กับให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เพราะเธอเชื่อมั่นว่า การทำธุรกิจนั้นสามารถเป็นแรงผลักดันไปสู่สิ่งดีๆ ได้ ภายใต้อุดมการณ์ ‘การค้าปลีกอย่างมีจริยธรรม’ (Ethical Retailing) ว่าด้วยการสร้างแบรนด์ที่เป็นธรรม ยึดถือความซื่อสัตย์และซื่อตรงต่อลูกค้าในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ […]

เบื้องหลัง USE LOOP REPEAT อีเวนต์โดย Loopers ที่อยากชวนทุกคนมาจอยน์ไลฟ์สไตล์ยั่งยืนอย่างสนุก

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Urban Creature มีโอกาสนั่งคุยกับ Loopers แพลตฟอร์มส่งต่อเสื้อผ้าที่อยากให้การซื้อขายเสื้อผ้ามือสองนั้นเป็นเรื่องง่ายและไม่น่ากลัว จำได้ว่าวันที่เราเจอกันครั้งแรก Loopers ยังมีเสื้อผ้าอยู่ในแพลตฟอร์มไม่ถึง 200 ตัว แต่ในขวบปีที่ 3 ‘เกด-พิชามาศ ชัยงาม’ ผู้ก่อตั้งเล่าอย่างตื่นเต้นว่า ตอนนี้ในแพลตฟอร์มมีเสื้อผ้าทั้งหมดในสต๊อกกว่า 20,000 ตัว มี ‘นักลูป’ ที่กลับมาซื้อขายซ้ำกันมากมาย และมีแผนจะขยับขยายให้ด้อมนักลูปนั้นแข็งแรงกว่าเดิม แต่ความสำเร็จเหล่านั้นไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่พาให้เรามานั่งคุยกับ Loopers ในวันนี้ อันที่จริงมันคืออีเวนต์ชื่อ USE LOOP REPEAT ที่นับว่าเป็นแผนการขยับขยายที่เกดพูดถึง และสำหรับเธอ อีเวนต์นี้ถือว่าเป็นอีเวนต์แรกของ Loopers ที่มีสเกลใหญ่เกินตัวไปมาก แม้ไม่เคยผ่านงานด้านออร์แกไนเซอร์มาก่อน แต่เธอก็อยากลงมือทำมันให้สำเร็จ อธิบายคร่าวๆ USE LOOP REPEAT คืออีเวนต์ที่รวมทั้งตลาด ทอล์ก และเวิร์กช็อปเกี่ยวกับความยั่งยืนมาไว้ในงานเดียว โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 24 – 28 เมษายน 2567 ที่จะถึงนี้ บน Open House ชั้น […]

Atelier Gardens HAUS 1 อาคารสำนักงานสีเหลืองสดใสในกรุงเบอร์ลิน ที่ทำให้การฟื้นฟูอาคารแบบยั่งยืนสนุกขึ้นได้

ปัญหาอาคารที่พบได้บ่อยคงไม่พ้นเรื่องความเสื่อมโทรมของตึกเก่า ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์ และขณะเดียวกันก็อาจสร้างความเบื่อหน่ายให้กับผู้คนในเมืองด้วยรูปร่างโครงสร้างอาคารที่หน้าตาเป็นบล็อกๆ เหมือนกันไปหมด แต่สำหรับอาคาร ‘HAUS 1’ ที่ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ ‘Atelier Gardens’ ของสตูดิโอภาพยนตร์ในเมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี กลับแตกต่างออกไป ด้วยฝีมือการออกแบบของสตูดิโอ Hirschmüller Schindele Architekten และ MVRDV เนื่องจากทางสตูดิโอได้เปลี่ยน HAUS 1 จากอาคารสำนักงานเก่าล้าสมัยที่สร้างขึ้นในปี 1990 ให้เป็นอาคารสำนักงานใหม่ที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างเดิมที่มีอยู่แทนการรื้อถอน และใช้สีเหลืองสดใสเพื่อชุบชีวิตอาคารหลังนี้ให้กลับมามีชีวิตชีวามากขึ้น อีกทั้งตัวอาคารเองยังต่อเติมบันไดสีเหลืองซิกแซ็กแบบไดนามิกบริเวณด้านหน้าอาคาร และเมื่อเดินตามบันไดขึ้นไปบนจุดสูงสุด ก็จะพบกับดาดฟ้าบนอาคารที่มีจุดชมวิวล้อมรอบทิวทัศน์ของเมืองเบอร์ลิน อีกทั้งพื้นที่ชั้นบนของดาดฟ้ายังมีอาคารกระจกสำหรับนั่งทำงานซึ่งสร้างขึ้นจากไม้รีไซเคิล และสวนสีเขียวที่ช่วยลดความร้อนในฤดูร้อน รวมไปถึงให้ความรู้สึกดีต่อสุขภาพจิต นอกจากนี้ ภายใน HAUS 1 ยังเป็นสถานที่นั่งทำงานของสตูดิโอ Atelier Gardens ที่ตกแต่งผนังและเพดานจากดินเผา ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่นำกลับมารีไซเคิลเพื่อยืดอายุการใช้งานของอาคาร แถมยังมีคาเฟ่คอยให้บริการแก่ชาวออฟฟิศที่อ่อนล้าจากการทำงาน HAUS 1 แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงอาคารสามารถทำไปพร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืนได้ ด้วยการนำโครงสร้างเก่ากลับมาใช้ใหม่ให้ได้มากที่สุด รวมถึงการให้ความสำคัญกับวัสดุทางชีวภาพที่ทั้งทนทานและมีคุณสมบัติรีไซเคิลได้ด้วย Sources : ArchDaily | t.ly/ZPCAIMVRDV | […]

จับตามอง 5 อีเวนต์และความเปลี่ยนแปลงทั่วโลก ที่จะเกิดขึ้นภายในปี 2024

เริ่มต้นปีใหม่แบบนี้ หลายคนคงสงสัยว่าตลอดทั้งปีจะมีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้นบ้าง และเราจำเป็นต้องรู้มากน้อยขนาดไหน Urban Creature รวบรวม 5 กิจกรรมและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นทั่วโลกภายในปี 2024 ให้ทุกคนเตรียมตัวและตั้งตารอไปพร้อมกัน มีตั้งแต่มหกรรมกีฬาระดับโลก การย้ายเมืองหลวงของอินโดนีเซีย ไปจนถึงการเลือกตั้งใหญ่ในหลายประเทศทั่วโลก รับรองว่าน่าสนใจและน่าติดตามไม่แพ้ปีที่ผ่านมาแน่นอน! มหกรรมกีฬา ‘โอลิมปิก ปารีส 2024’ อย่างที่รู้กันว่า ทุก 4 ปีจะมีการจัดมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติที่ทั่วโลกตั้งตารอ นั่นคือ ‘โอลิมปิกฤดูร้อน’ และในปี 2024 ก็เป็นอีกครั้งที่การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศจะถูกจัดขึ้นโดยเมืองเจ้าภาพอย่างกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม 2024 ต่อด้วย ‘พาราลิมปิก ปารีส 2024’ ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 8 กันยายน 2024 ความพิเศษของโอลิมปิก ปารีส 2024 คือ จะเป็นการแข่งขันครั้งแรกที่บรรลุความเท่าเทียมทางเพศได้อย่างสมบูรณ์ (Gender Parity) เพราะมีจำนวนนักกีฬาชายและหญิงที่เข้าร่วมแข่งขันเท่ากันในสัดส่วน 50 […]

Hora Vertikale โครงการหมู่บ้านแนวตั้ง ในแอลเบเนีย จากการซ้อนกันของหอคอยลูกบาศก์ 13 ก้อน

‘ประเทศแอลเบเนีย’ อาจเป็นชื่อที่ไม่คุ้นหูใครหลายคน เนื่องจากเป็นประเทศขนาดเล็กในภูมิภาคยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ แต่ความน่าสนใจของสถานที่นี้คือ แอลเบเนียเป็นหนึ่งในประเทศที่เริ่มให้ความสำคัญกับการรับมือการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ไปพร้อมๆ กับการตระหนักรู้เรื่องความยั่งยืน และสิ่งที่ทำให้เราเห็นถึงความตั้งใจนี้ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุดคือ ‘Hora Vertikale’ โครงการหมู่บ้านแนวตั้งในเมืองติรานา จากผลงานการออกแบบโดย ‘OODA’ สตูดิโอสถาปัตยกรรมโปรตุเกส ที่เพิ่งได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง โดยมีกำหนดสร้างในฤดูใบไม้ผลิปีหน้า Hora Vertikale ได้รับการออกแบบมาในลักษณะเฉพาะตัว ด้วยการประกอบขึ้นจากลูกบาศก์สี่เหลี่ยมขนาด 22.5 เมตร x 22.5 เมตร ทั้งหมด 13 ก้อน จัดเรียงต่อขึ้นไปเป็นแนวตั้งจนมีความสูง 7 ชั้น หรือ 140 เมตรเหนือพื้นดินขนาด 55,000 ตารางเมตร ในความสูง 7 ชั้นนี้ประกอบไปด้วยลูกบาศก์ที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปทั้งหมด 7 แบบ อันเกิดจากการรวบรวมแนวคิดที่เป็นเอกลักษณ์เกี่ยวกับงานศิลปะและแรงบันดาลใจจากภาษาท้องถิ่น เพื่อผสมผสานองค์ประกอบในเมืองและชนบทเข้าไว้ด้วยกัน อีกทั้งการก่อสร้าง Hora Vertikale ยังเลือกใช้วัสดุที่มาจากท้องถิ่นให้ได้มากที่สุด เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ไม่จำเป็น และสนับสนุนเศรษฐกิจในพื้นที่อีกทางหนึ่งด้วย จากความพยายามนี้เอง ส่งเสริมให้ Hora Vertikale กลายเป็นโครงการสำคัญที่โดดเด่นด้วยเอกลักษณ์บริเวณใจกลางเมืองติรานา ภายใต้แนวคิดที่คำนึงถึงความยั่งยืน […]

ร่วมออกแบบอนาคตจังหวัดของตัวเอง UNDP ชวนประชาชนใน 15 จังหวัดนำร่องทำแบบสอบถามเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

‘การพัฒนาที่ยั่งยืน’ ถือเป็นเป้าหมายที่หลายภาคส่วนต้องการผลักดันให้เกิดขึ้น เพราะจะช่วยส่งเสริมความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของผู้คนอย่างรอบด้านในระยะยาว แต่แนวคิดนี้จะเกิดขึ้นได้จริงและพัฒนาเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อประชาชนทุกคนช่วยกันส่งเสียงและระบุต้นตอปัญหาในพื้นที่ของตัวเอง เพราะเชื่อว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นเรื่องของทุกคน โครงการ SDG Localization จาก UNDP อยากชวนประชาชนใน 15 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก อุดรธานี นครราชสีมา อุบลราชธานี กรุงเทพมหานคร เพชรบุรี ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ร่วมกันทำแบบสอบถามเพื่อออกแบบสังคมที่ยั่งยืนในจังหวัดของตัวเอง UNDP จะนำข้อมูลเกี่ยวกับความเร่งด่วนของปัญหาและความต้องการของประชาชนที่ได้รับจากแบบสอบถามนี้ ไปร่างและออกแบบแผนพัฒนาระดับจังหวัดให้สอดคล้องกับ 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และสอดรับกับปัญหาที่มีความเฉพาะตัวในแต่ละพื้นที่ ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป ร่วมทำแบบสอบถามออนไลน์และแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นเรื่องความยั่งยืนได้ที่ bit.ly/3TtWjoN

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.