‘ประชาธิปไตยต้องการคุณ’ เว็บไซต์ VOTE 62 ชวนมาเป็นอาสาจับตาดูการเลือกตั้งปี 66

vote62.com คือเว็บไซต์ที่ Opendream, The Momentum, a day BULLETIN และ iLaw ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2562 เพื่อร่วมเป็นกระบอกเสียงสร้างความเข้าใจต่อข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยเปิดให้ทุกคนนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ และยังสร้างระบบ Crowdsourcing สำหรับติดตามผลการเลือกตั้งและตรวจสอบการนับคะแนน ในช่วงเวลาที่การเลือกตั้งปี 2566 ใกล้เข้ามาทุกขณะ ทาง VOTE 62 ได้อัปเดตเว็บไซต์ใหม่ และเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครจับตาดูความโปร่งใสในการเลือกตั้ง ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ และนี่คือภารกิจ 5 ขั้นตอนที่อาสาสมัครต้องช่วยกัน  1) ไปที่หน่วยเลือกตั้งใกล้บ้านหรือหน่วยเลือกตั้งไหนก็ได้ 2) จับตาการนับคะแนนหลังปิดหีบ นับ ขาน ขีด รวม 3) ถ่ายภาพป้ายประจำหน่วย กระดาษขีดคะแนน และใบรวมคะแนน 4) รายงานผลการเลือกตั้งที่เว็บไซต์ vote62.com 5) กรอกคะแนนเป็นตัวเลข แน่นอนว่าใครๆ ก็เป็นอาสาสมัครรายงานคะแนนผลการเลือกตั้งได้ หากสนใจอยากร่วมโปรเจกต์ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ bit.ly/3YLBpAS หรือกรอกแบบฟอร์มการสมัครได้ที่ bit.ly/3YRjLM2 และอย่าลืมแอด […]

Politic 0.4 – การเมืองไทยผ่านถุงกล้วยแขก

‘ถุงกล้วยแขก’ บรรจุภัณฑ์อาหารริมทางที่ผลิตจากหน้าหนังสือพิมพ์กับแป้งเปียก เราเชื่อว่านี่คือสิ่งที่ปรากฏให้เห็นอย่างคุ้นชินในสภาพสังคมยุคหลังสงครามเย็น ข้อความต่างๆ บนถุงกล้วยแขกล้วนบ่งบอกถึงเหตุการณ์ต่างๆ ของสภาพสังคม เศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งบริบททางการเมือง ในปีพุทธศักราช 2557 ได้เกิดการรัฐประหาร โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. โดยคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองครั้งนี้ประกอบด้วย กองทัพไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเราทุกคนไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เหตุการณ์ในครั้งนั้นส่งผลกระทบต่อสภาพสังคมในหลากหลายมิติ ผลงานชุด Politic 0.4 ใช้หน้าหนังสือพิมพ์หลากหลายฉบับที่มีข้อความข่าวสารต่างๆ ปรากฏอยู่ มาประกอบสร้างเป็นถุงกล้วยแขก ซึ่งเปรียบเสมือนวัตถุจากอดีตที่ถูกผลิตซ้ำทางประวัติศาสตร์ ในยุคที่มีสงคราม เศรษฐกิจดิ่งลงเหว ชีวิตล้มเหลว ผู้คนสิ้นหวัง ความปรารถนาในการมีชีวิตที่ดีขึ้นมลายหายไป ถุงกล้วยแขกนับเป็นวัตถุง่ายๆ ที่ช่วยให้ทุกคนรับรู้ความจริง ผลงานชุดนี้ผลิตขึ้นในปีพุทธศักราช 2561 บัดนี้เวลาล่วงเลยมานับสี่ปี ข้าพเจ้าไม่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงใดที่เป็นไปตามนโยบายแผนพัฒนาเศรษฐกิจ Thailand 4.0 ข้าพเจ้าจึงหวังเพียงแค่ว่า ขอให้ทุกอย่างดีขึ้น ขอให้คุณมีแสงสว่างในการดำรงชีวิตอย่างมั่งคั่ง และขอให้ไฟแห่งความฝันของทุกคนกลับมาอย่างมั่นคงและยั่งยืนเหมือนเดิม

ร่วมบันทึกประวัติศาสตร์ปฏิวัติสยาม ผ่านโปรเจกต์กราฟิกโนเวล 2475 พรีออเดอร์ วันนี้ – 31 ส.ค. 65

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา คือวันครบรอบเหตุการณ์ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองไทย เนื่องจากเป็นวันครบรอบปีที่ 90 ของการปฏิวัติสยาม ที่เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่การปกครองแบบประชาธิปไตย โดยมีหัวหอกเป็นคณะราษฎร หลายๆ คนอาจรู้ความสำคัญของเหตุการณ์นี้ รวมถึงบุคคลผู้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติ 2475 อย่างลึกซึ้งขึ้นในเวลา 2 – 3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการผลิบานของกระแสขบวนการประชาธิปไตยที่เข้มข้นในสังคมไทย ผ่านการชุมนุม แคมเปญการเมือง และแกนนำคนรุ่นใหม่ ทว่าหากย้อนมองไปที่สื่อสมัยใหม่ กลับยังไม่มีใครนำการปฏิวัติครั้งนี้มาเล่าในรูปแบบร่วมสมัยเท่าไหร่นัก 2475 Graphic Novel คือโปรเจกต์ล่าสุดของ ‘สะอาด’ นักเขียนและนักวาดเจ้าของหนังสือ ‘การศึกษาของกระป๋องมีฝัน’ และ ‘พชรกฤษณ์ โตอิ้ม’ ร่วมกับ ‘สมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม (SYSI)’ ที่ซุ่มเก็บข้อมูลกันมานานกว่าสองปี เพื่อทำความเข้าใจบริบททางประวัติศาสตร์และสร้างสรรค์บทที่จะชวนผู้อ่านย้อนเวลากลับไปสยามช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง พวกเขาอธิบายถึงโปรเจกต์นี้ว่า เกิดขึ้นจากความหวังที่จะถ่ายทอดจิตวิญญาณแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เป็นแรงผลักดันของผู้คนจากอดีตถึงปัจจุบัน ผ่านเรื่องแต่งอิงประวัติศาสตร์ช่วงเหตุการณ์ปฏิวัติสยาม 24 มิถุนายน 2475 จากกลุ่มคนที่ประกาศเรียกตนเองว่า ‘คณะราษฎร’ เนื้อหาว่าด้วยเรื่องราวของ นิภา นักหนังสือพิมพ์สาว ได้รับแจ้งหนังสือข่าวลับจากทางการว่า นักกฎหมายรุ่นใหม่จากปารีส ผู้สอนวิชากฎหมายบ้านเมืองสุดโต่ง อาจเสี่ยงเป็นภัยต่อบ้านเมือง ด้วยการเกี่ยวพันกับขบวนการคอมมิวนิสต์เพื่อโค่นล้มราชบัลลังก์สยาม […]

ประเทศฮาบ่ใจ่ของคิง : ฮ่องเต้ ธนาธร ผู้เรียกร้องความเท่าเทียมจากล้านนาสะเทือนกรุงเทพฯ 

นัดพบฮ่องเต้ ผู้ประสบภัย 112 ในเชียงใหม่ ขณะที่หลายประเทศเตรียมพร้อมรับมือวิกฤตโลกร้อนด้วยนวัตกรรม เพราะแผ่นทวีปที่กำลังจะจมน้ำจากธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า แต่สิ่งที่รัฐไทยกำลังเลือกทำในปัจจุบัน คือการไล่ทุบกำราบคนเห็นต่างให้สยบยอมอยู่ใต้ตีนอย่างแข็งขัน  นี่คือข้อบ่งชี้ว่า ประเทศเรากำลังหมดหวังและถอยหลังลงคลองในสายตาคนรุ่นใหม่ แต่ขั้วอนุรักษนิยมกลับมองว่า นี่คือการรักษาความมั่นคงอันดีงามของชาติที่แสนสงบและดีพร้อมกว่าชาติใดใดในโลก และนี่คือสาเหตุที่ช่วงเกือบปลายปี 2564 เราตัดสินใจเดินทางไปพบนักกิจกรรมอย่าง ฮ่องเต้-ธนาธร วิทยเบญจางค์ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากเขาถูกแจ้งจับคดีมาตรา 112 ก่อนหน้านั้นเพียงไม่นานนัก ฮ่องเต้ตั้งใจนัดให้เราไปพบที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ไม่ไกลจากคณะสังคมศาสตร์ คณะที่เขากำลังศึกษาวิชาปรัชญา ชั้นปีที่ 3 ในปัจจุบัน นี่คืออาคารที่ผู้บริหารมหา’ลัยตัดสินใจสั่งริบเอาพื้นที่จอดรถของนักศึกษามาสร้างอาคารที่ผู้เรียนแทบไม่ได้ใช้งาน เราถามฮ่องเต้ถึงจำนวนคดีความที่เขาได้รับ หลังการลุกขึ้นมาเรียกร้องความเท่าเทียมบนพื้นที่สาธารณะ “เกินสิบ (หัวเราะขื่นๆ) ส่วนใหญ่เป็นคดี พ.ร.บ.ชุมนุม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.ควบคุมโรค และจะโดน 116 จำนวนหนึ่งหรือสองคดีนี่แหละ แล้วก็มี 112 อีกจำนวนหนึ่งคดี ผมคิดอยู่ว่า อีกหน่อยอาจจะมีคดีแปลกๆ โผล่ขึ้นมาอีก” เด็กหนุ่มยิ้มขื่นบางๆ หลังพูดจบ “หน้าที่ของเราคือยิ้ม และขัดขืนมัน เพื่อทำให้ประเทศนี้เปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นกว่านี้ให้ได้ ผมไม่คิดว่าเราต้องกลัวกฎหมายฉบับนี้ แค่ต้องทำงานของตัวเองต่อไป […]

ผลนิด้าโพล ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ นำโด่งจากสำรวจอยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งล่าสุด

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา สำนักนิด้าโพลได้เผยผลการสำรวจประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งแล้วในหัวข้อ ‘อยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม.’ เป็นครั้งที่ 10 ซึ่งถือเป็นครั้งล่าสุด หลังจากที่นิด้าจัดทำโพลนี้ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้า ผลลัพธ์ที่ได้ชี้ให้เห็นว่า ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ยังเป็นแคนดิเดตที่มีคะแนนนำลิ่วเป็นอันดับที่ 1 ทิ้งห่าง ‘สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์’ ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ที่ตามมาเป็นอันดับที่ 2 และ อันดับที่ 3 ตามมาติดๆ คือ ‘อัศวิน ขวัญเมือง’ เจ้าของตำแหน่งผู้ว่าฯ คนล่าสุดที่ได้รับการแต่งตั้งมาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) การสำรวจโพลโดยสำนักนิด้าครั้งล่าสุดนี้ เป็นการสำรวจความคิดเห็นของผู้คนระหว่างช่วงวันที่ 31 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2565 จากกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งมีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครได้ โดยมีกลุ่มคนทุกระดับชั้นการศึกษา หลากอาชีพ และมีรายได้ที่แตกต่างกัน รวมเป็นจำนวนทั้งหมดถึง 1,324 ตัวอย่าง  ครั้งนี้ Urban Creature ขอเลือกนำเสนอเพียง […]

‘คุก’ พื้นที่ไร้สิทธิที่ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองในมุมมอง ‘รุ้ง ปนัสยา’

รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำนักศึกษาหญิงจากแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ ถูกจองจำในเรือนจำมาแล้ว 3 ครั้ง ส่วนอีก 1 ครั้งหลังคือ การใส่กำไล EM จำกัดพื้นที่ในเคหสถาน ถ้าย้อนกลับไปเกือบสามปีก่อน เราคงจินตนาการไม่ออกเลยว่าการเรียกร้องประชาธิปไตยจะมาไกลและมีการพูดถึงปัญหาตรงไปตรงมาอย่างในตอนนี้ แต่การกล้าตั้งคำถาม การเสนอแนวทางให้สถาบันปรับตัว และการขับไล่เผด็จการ ก็ต้องแลกมาด้วยพันธนาการผู้เรียกร้องครั้งแล้วครั้งเล่า  จากการติดตามข่าวคราวของรุ้งและแกนนำคนอื่นๆ ช่วงที่อยู่ในเรือนจำ เราสังเกตเห็นว่าข่าวเหล่านี้ถูกเล่าในวงจำกัด มีการนำเสนอเฉพาะกลุ่มบนโซเชียลมีเดีย จากบุคคลหรือสำนักข่าวเจ้าเดิมๆ ส่วนสื่อกระแสหลัก หรือสื่ออนุรักษนิยม เราไม่เคยได้รับข้อมูลที่ตีแผ่ความเป็นจริงส่วนนี้เลย ช่วงเกือบสิ้นปีที่แล้ว ก่อนรุ้งเข้าเรือนจำเป็นครั้งที่สาม เราถามเธอ จากข้อสังเกตส่วนตัวว่า คิดยังไงที่ ‘ทัณฑสถาน’ หรือ ‘คุก’ เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเมืองที่แทบไม่เคยถูกพูดถึง และแน่นอน มันเป็นพื้นที่ลับแลที่คนส่วนหนึ่งไม่แยแสว่ามีปัญหามากมายสะสม นั่นหมายถึงคุณภาพชีวิตต่ำเตี้ยเรี่ยดินของผู้ต้องขังที่ไม่เคยถูกยกระดับ และกระบวนการยุติธรรมบิดเบี้ยวที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข คุก : พื้นที่ห่างไกลเมืองและศิวิไลซ์  “คุก ส่วนใหญ่อยู่ไกลจากพื้นที่ชุมชน โดยเฉพาะคุกที่เกิดขึ้นใหม่ หรือคุกในต่างจังหวัด เพื่อให้ตั้งอยู่ไกลจากเมือง และเพื่อให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เขาคงไม่อยากให้คุกอยู่ในชุมชน แต่ถ้าคุกอยู่ไกลชุมชนมากๆ ก็จะทำให้ผู้ต้องขังลำบากมาก เพราะทนายความและญาติไปเยี่ยมได้ยาก สิ่งนี้สำคัญต่อผู้ต้องขังมาก ถ้าขาดตัวกลางนี้ไปก็แปลว่าคนข้างในจะไม่ได้รู้เรื่องข้างนอกเลย “มันจะทำให้คนข้างในมีความเครียดสูงขึ้นมากๆ […]

พุทธคือยาฝิ่น จึงใช้คอมมิวนิสต์ดับทุกข์ คุยกับอดีตเณรโฟล์ค ผู้ปลดจีวรมาจับค้อนเคียว

“ขอให้พระภิกษุโปรดจดจำว่าข้าพเจ้าคือคฤหัสถ์ ขอให้พระภิกษุโปรดจดจำไว้ว่าข้าพเจ้าคือคอมมิวนิสต์” ประโยคส่งท้ายการลาสิกขาของอดีตสามเณรโฟล์ค เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมาสร้างความงุนงงให้เราไม่น้อย ขณะที่กระแสสังคมส่วนใหญ่กำลังต่อสู้เรียกร้องเพื่อ ‘ประชาธิปไตย’ (จะมีคำสร้อยห้อยท้ายว่า “อันมีพระ…” หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นทีมกี่ข้อ)  แต่นักกิจกรรมวัย 21 ปีผู้นี้ประกาศตนว่าเขาเป็น ‘คอมมิวนิสต์’ จะเรียกว่าเป็นความกล้าหาญคงไม่ผิด แต่ในมุมมองของเรา สัดส่วนที่มากกว่าคงเป็นความบ้าบิ่น  ในเมื่อสังคมไทยยังคงถูก ‘ผีคอมมิวนิสต์’ หลอกหลอนอยู่ และยังไม่ลืมกันใช่ไหมว่าเพิ่งสี่สิบกว่าปีที่แล้วเองที่พระสงฆ์รูปหนึ่งเปล่งวจีกรรมว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” เพราะเช่นนี้ เราจึงหอบหิ้วความสงสัยไปคุยกับอดีตเณรโฟล์ค ผู้บัดนี้ละผ้าเหลือง ไม่ใช่สามเณรใต้ร่มกาสาวพัสตร์​ แต่เป็น ‘สหรัฐ สุขคำหล้า’ คอมมิวนิสต์ผู้เชื่อมั่นว่าแนวทางแบบ Buddhist Marxism จะช่วยให้ประชาชนไม่ว่าศาสนาใดพ้นทุกข์อันเกิดจากความไม่เท่าเทียม อัปเดตชีวิตก่อนดีกว่า หลังจากสึกมาได้ประมาณสิบวัน คุณเป็นอย่างไรบ้าง ประเด็นแรกเลยซึ่งเป็นเรื่องแซวกันเล่นๆ ในหมู่เพื่อนผม คือการใส่กางเกงในครั้งแรกมันรู้สึกแปลกมาก เพราะมันอึดอัด และผมรู้สึกว่าเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับผม เดี๋ยวนะ ปกติพระไม่ใส่กางเกงในกันจริงๆ เหรอ ไม่ใส่ครับ ไม่ใส่ มันจะโล่งๆ สบายๆ ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว ก็เลยแก้ปัญหาตัวเองโดยซื้อบ็อกเซอร์กับกางเกงในรัดรูปมาสองแบบ  ประสบการณ์ซื้อกางเกงในครั้งแรกเป็นอย่างไร ผมเรียกคนขายว่าโยม (หัวเราะ) […]

ขออนุญาต Educate นะคะอีเก่งกิจ : ฉอดเรื่อง Political Correctness กับ เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

“เขียนชื่อผมลงไปเลยนะว่าอีเก่งกิจ เออ อีเก่งกิจนั่นแหละ เขียนแบบนั้นเลย”  รศ. ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เน้นเสียงบอกเราอย่างยียวน หลังจากการพูดคุยกันเรื่องความถูกต้องทางการเมือง PC หรือ Political Correctness จบลงสดๆ ร้อนๆ สารภาพว่าหลังจากได้ติดตามการตั้งประเด็นทางสังคมและการโต้ตอบความคิดอันดุเดือดของเขาบนโลก Twitter มาตั้งแต่ต้นปี 2564 เมื่อได้เข้าไปเยือนพื้นที่ของ @Kengkij2 วลีหนึ่งที่ผุดขึ้นมาบนหัวคือ ‘ปังสัส’ ไม่อยากจะสปอยล์ แต่อยากให้ไปหาอ่านเอาเอง เพราะตั้งแต่ไล่สายตาอ่าน Bio ของเขาที่ระบุว่า ‘ทวิตเตอร์มีไว้ด่า ไม่ได้มีไว้คุยวิชาการ #คอมทวิต non-pc’ เราก็สนใจตัวตนบนโลกออนไลน์ของเขาเข้าอย่างจัง ด้วยไบโอมันๆ และความสับในโลกนกฟ้า ซึ่งค่อนข้างตรงกันข้ามกับบทบาทอาจารย์และนักวิชาการ ยิ่งทำให้เราสนใจในวิธีคิด เพราะเก่งกิจเขวี้ยงหมวกนักวิชาการทิ้งถังขยะ แล้วใช้คีย์บอร์ดฉอดยับสับแหลก ดีเบตเผ็ดแซ่บจนนักฉอดทวิตต้องรีพลายกันร่างแหลกกันไปข้าง อีหน้าไหนจะมา War เป็นต้องเจอสรรพอาวุธสุดจะปังของเขา ด้วยฝีปากกล้าท้ารบ จบทุกสกิลในคนเดียวชนิดที่ว่า Non Stop ความ Non PC เราเลยตัดสินใจคุยเรื่องความ PC […]

กฎหมายนิรโทษกรรม : ชวน ‘เป๋า iLaw’ คุยเรื่องการลบล้างมลทินไม่ให้มัวหมอง

Welcome to Thailand ยินดีต้อนรับเข้าสู่ประเทศไทย ประเทศสุดมหัศจรรย์ ดินแดนแห่งการทำความผิด แต่ไม่ต้องรับผลกรรมใดใด มิหนำซ้ำยังถนัดกลับตาลปัตรจากเรื่องขาวให้เป็นดำ และกลับดำให้เป็นขาวได้อย่างมืออาชีพ เมื่อ ‘ระบบตุลาการ’ ของประเทศ กำลังเอื้อให้คนกลุ่มหนึ่งได้รับสิทธิพิเศษจากกฎหมาย ทำให้หลักผดุงยุติธรรมอันเท่าเทียมของคนในสังคมหล่นหาย กลายเป็นเครื่องมือเลือกปฏิบัติ ปราบปราม และกดขี่ เหล่าชนชั้นปกครองกระหยิ่มยิ้มย่องและลอยนวล ซ้ำยังถืออำนาจ ‘บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ’ อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยเฉพาะ ‘การนิรโทษกรรม’ กระบวนการล้างมลทินของรัฐเผด็จการในตอนนี้ ที่ทำต่อเนื่องมายาวนานกว่า 7 ปีแล้ว เห๊อะ…ถ้าจะให้ลิสต์วีรกรรมหมกเม็ดทางกฎหมายทั้งหมดน่ะเหรอ เสียเวลา คงต้องใช้หลายบรรทัดเหมือนกัน ในช่วงนี้ ‘นิรโทษกรรม’ เป็นประเด็นที่ถูกหยิบมาพูดถึงอีกครั้ง นั่นเพราะรัฐบาลประยุทธ์และพรรคพวกเป็น ‘บิดาแห่งการยกเว้น’ แบบไร้ที่ติ เมื่อเดือนสิงหาคม 64 หัวข้อนี้กลับมาอยู่บนหน้าข่าวและความสนใจของประชาชนจำนวนมาก เพราะคณะรัฐมนตรีจะเสนอแก้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ ด้วยการเพิ่มสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ต้องการตีเนียนละเว้นความผิดให้เจ้าหน้าที่ และนิรโทษกรรมคนตัดสินใจเรื่องการจัดการวัคซีน ซึ่งการเสนอกฎหมายเพื่อเว้นความผิดเป็นสิ่งที่ประยุทธ์และคณะทำอย่างสุดความสามารถมาตั้งแต่สมัยรัฐประหาร ปี 2557  ว่าไหม การใช้กฎหมายข่มขืนประชาชนของรัฐนี้ ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ แต่มันไม่ควรเป็นเรื่องปกติในสังคม ถ้า ‘ความยุติธรรม’ […]

ปลุกคน ผี ปีศาจ ผ่าน 5 พื้นที่ประวัติศาสตร์ 6 ตุลาฯ ในกรุงเทพฯ

5 สถานที่ซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวและเลือดเนื้ออันเกี่ยวเนื่องกับวันที่ 6 ตุลาฯ 19 แม้การจดจำความเจ็บปวดอาจขื่นขม แต่การคืนความเป็นธรรมให้ทุกคนเป็นเรื่องจำเป็น เพราะนี่คือเรื่องราวที่เกิดจริง

พลอยวรินทร์ ชิวารักษ์ : “กลัวว่าวันที่มีประชาธิปไตยจริงๆ จะไม่มีเพนกวินอยู่ด้วย”

ไม่ว่า เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ จะเป็นแกนนำอันเป็นที่รักของมวลชนแค่ไหน จะเป็นเด็กก้าวร้าวรุนแรงในสายตาใคร จะเป็นพลเมืองจองหองของรัฐผู้แสนดี หรือจะเป็นผีร้ายหลอกหลอนชนชั้นปกครอง แต่สำหรับน้องสาวอย่าง พ้อย-พลอยวรินทร์ ชิวารักษ์ เพนกวินคือพี่ชายเพียงคนเดียว ที่เธอมี ถึงจะขี้แกล้ง ชอบยียวนกวนตีน แต่เขาโคตรจะห่วงน้องยิ่งกว่าใคร โลกภายนอกเพนกวินคือผู้กล้าที่ออกมาเคลื่อนไหวสั่นคลอนขั้วอำนาจทางการเมืองตั้งแต่เขาเรียนมัธยมฯ ถูกยุดยื้อออกจากห้องประชุมที่มีผู้นำทหารบ้าน้ำลายบนเวที  แต่เมื่อก่อนเรื่องการเมืองก็ยังดูจะเป็นเรื่องไกลสายตาพ้อยอยู่ดี  และแม้เพนกวินจะเป็นแค่นักศึกษา แต่เมื่อลงสนามรับบทแกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เพื่อเรียกร้องให้ประเทศเน่าเฟะนี้ได้มีประชาธิปไตยจริงๆ สักที เขาก็ต้องแลกอุดมการณ์กับการถูกคุกคาม ไม่ใช่แค่คุกคามเพนกวิน แต่อันตรายยังทอดเงาสีดำไปยังครอบครัวชิวารักษ์ ถูกตีตราเป็นครัวเรือนคนชังชาติ และเป็นไอ้พวกตัวน่ารำคาญของผู้กดขี่  จากไกล การเมืองกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวพ้อยขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีอีกแล้วครอบครัวชนชั้นกลางที่เคยใช้ชีวิตสามัญ เพราะวันนี้พวกเขาสะกดคำว่าสงบ ร่วมกับพวกเผด็จการคลั่งอำนาจไม่ได้อีกต่อไป นี่จึงเป็นแรงขับสำคัญให้เด็กสาวที่ไม่เคยออกมาเคลื่อนไหว และไม่ไยดีการเมือง ตัดสินใจออกตามหาความยุติธรรม ด้วยการลุกมาต่อสู้ และทวงคืนความสุขที่แท้จริงให้สังคม เรารู้ว่าพ้อยไม่ได้คาดหวังให้คุณเห็นด้วยกับตัวเธอหรอก แต่ถ้ามองเพนกวินเป็นคนในครอบครัวตัวเอง คุณจะเลือกแสยะยิ้มอย่างสะใจ หรือเสียใจที่วัยรุ่นคนหนึ่งกำลังถูกทำร้าย เพียงเพราะเขาแค่อยากเห็นอนาคตที่ดีของทุกคน ไม่ว่าใครจะคิดยังไงก็ช่าง แต่พ้อยตัดสินใจหนักแน่นแล้วว่าจะออกมายืนเคียงข้างพี่ชาย ผู้ฝันจะได้เห็นประชาธิปไตยเต็มใบ แม้ต้องแลกกับความมอดไหม้ของตัวเองก็ตาม ลำปาง พีทกับพ้อยเป็นสองพี่น้องสายประชาธิปไตย “ตั้งแต่เกิดกวินชื่อพีท แต่นางบอกว่าอุ๊ย นกเพนกวินน่ารักจังเลย ขอเปลี่ยนชื่อเป็นเพนกวินดีกว่า (หัวเราะ) แล้วตอนเด็กๆ เราจะชอบเอาสีมาเขียนกำแพง […]

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ : ไทยจะรอดโควิดได้ รัฐต้องไว้ใจศักยภาพประชาชน

ถ้าพูดถึง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ วัย 55 ปี บทบาทและหน้าที่ไหนของเขาที่อยู่ในความทรงจำคุณ นักการเมือง อาจารย์ วิศวกร หรือบุรุษผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี  ไม่ว่าบทบาทไหน แต่ทุกวันนี้หัวใจของชัชชาติยังคงเต้นเป็นคำว่า “ทำงาน ทำงาน ทำงาน” จนเป็นที่มาของคำตัวเป้งบนเสื้อยืดสกรีนทีมงานตัวเอง และไม่ใช่แค่งานที่ทำเพื่อส่วนตัวหรอก เพราะทุกๆ งานที่ชัชชาติทำมักมีคนอื่นๆ อยู่ในสมการเสมอ 2 ปีผ่านไป แม้ไม่ได้เห็นเขาในสภา แต่บุรุษคนแกร่งไม่ได้หายตัวไปไหน เขายังขยันลงพื้นที่ตามชุมชนต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เพราะมนุษย์พลังล้นอย่างชัชชาติได้ก่อตั้งกลุ่ม Better Bangkok ขึ้นเพื่อช่วยชุมชนแก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญ และนำองค์ความรู้ไปสนับสนุนการพัฒนาคนและพื้นที่อย่างยั่งยืน ยิ่งในภาวะวิกฤติการณ์โควิด-19 ของไทยทวีความสาหัส จนไม่มีทีท่าจะเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ ทีม Better Bangkok ยิ่งทำงานหนัก  ขณะที่ปัญหาโควิดอยู่กับไทยมานาน ถ้ามองแง่โอกาส ภาครัฐน่าจะได้พิสูจน์ตัวผ่านการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผลกลับตรงข้าม ถ้าพูดกันตรงๆ หลายคนส่ายหน้าให้กับการบริหารงานในปัจจุบัน ซ้ำร้ายยังทำให้รอยร้าวระหว่างรัฐ เอกชน และประชาชนแตกร้าวเกินกอบกู้ โควิดจึงไม่ใช่แค่เรื่องระบบสาธารณสุข  แต่ปัญหาที่ชัชชาติเห็นชัดเจนคือเรื่องความไว้ใจ ไม่สิ ความไม่ไว้ใจที่รัฐไม่คิดจะมอบให้ประชาชนต่างหาก เมื่อรัฐบาลแก้ปัญหาอย่างไร้แก่น มิหนำซ้ำยังไม่กล้ามอบความไว้เนื้อเชื่อใจให้คนในสังคมร่วมจัดการปัญหา การเปลี่ยนสังคมให้ดีจึงดูเป็นความหวังลมๆ แล้งๆ  ถึงอย่างนั้นบทสนทนากับชัชชาติต่อจากนี้ ก็ยังทำให้เรามองเห็นสิ่งที่เรียกว่าความหวัง […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 64 MB.